วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

บรรทัดห้าเส้นที่ยาวที่สุดในโลก: ประติมากรรมทางดนตรีของจีนที่ได้รับบันทึกใน Guinness Book of World Records



ที่มาของบรรทัดห้าเส้นที่ยาวที่สุดในโลกนี้ มีที่มาจากเพลงจีนที่ชื่อ กู่ ลั่ง หยวี่ จือ โป《鼓浪屿之波》Gǔlànɡyǔ zhī bō แปลเป็นภาษาไทยว่า คลื่นทะเลแห่งเกาะกู่ลั่ง ประพันธ์คำร้องโดย  张藜 และ红曙(Zhānɡ Lí、Hónɡ Shǔ) ประพันธ์ทำนองโดย  钟立民(Zhōnɡ Lìmín) จง หลี่ หมิน ผู้ประพันธ์เพลงนี้เล่าให้ฟังว่า ในช่วงปี 1981 สมาพันธ์นักแต่งเพลงแห่งมณฑลฝูเจี้ยนได้เชิญนักประพันธ์ชื่อดังจากทั่วประเทศจีน มาร่วมกิจกรรมการศึกษาดนตรีพื้นเมือง ในหัวข้อ มหกรรมดนตรี พี่น้องร่วมสายเลือดสองฝั่ง ที่มณฑลฝูเจี้ยน  ก่อนออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆของมณฑลฝูเจี้ยน ท่านได้พยายามเขียนเพลงที่เกี่ยวกับการสดุดีมาตุภูมิ ด้วยหวังให้เป็นที่ระลึกในการเดินทางมาฝูเจี้ยนในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีจินตนาการเพียงพอที่จะเขียนออกมาได้ จนสุดท้ายเดินทางมาถึงเมืองเซี่ยเหมิน อันเป็นที่ตั้งของ เกาะกู่ลั่ง จง หลี่ หมิน เดินเล่นอยู่บนเกาะกับเพื่อนๆนักเพลง ขณะนั้นลมและคลื่นแรงมาก เสียงคลื่นซัดสาดกระทบฝั่งลูกแล้วลูกเล่า แน่นอนว่าในจินตนาการของนักเพลง นั่นคือเสียงเพลงอันแสนไพเราะ สร้างความรักในมาตุภูมิขึ้นในใจของ จง หลี่ หมิน เป็นทวีคูณ  ทำให้ช่วงเวลาสิบวันที่พำนักอยู่ที่เกาะกู่ลั่ง ท่านประพันธ์เพลงได้มากถึงเจ็ดเพลง ต่อมาเพลงของท่านสี่เพลงได้รับเชิญมาแสดงในคอนเสิร์ต เสียงแห่งสองฝั่งครั้งที่หนึ่งได้แก่เพลง  ฉงหยางเจี๋ย 《重阳节》chónɡyánɡjiéเทศกาลฉงหยาง[1]เพลงเติงกวาง《灯光》dēnɡɡuānɡแสงไฟเพลงเซียง ซือ ซู่ เย่《相思树叶》xiānɡsī shùyèครุ่นคำนึงถึงใบไม้ และเพลงกู่ ลั่ง หยวี่ 《鼓浪屿之波》  คลื่นทะเลแห่งเกาะกู่ลั่งนับเป็นครั้งแรกที่เพลงนี้ได้นำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน ต่อมาในปี 1984 ได้นำออกขับร้องอีกครั้งในงานเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่แห่งชาติ ปี 1988 ได้รับรางวัลงานวรรณกรรมเพลงชั้นเยี่ยมของเซี่ยเหมิน ทำให้ทั้งเพลงนี้เป็นดั่งตัวแทนของเกาะกู่ลั่ง เป็นตัวแทนของเซี่ยเหมิน เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของชาวจีนตลอดกาล นานตราบเท่าที่เสียงแห่งคลื่นยังคงกระทบฝั่งเกาะกู่ลั่ง


ภาพจาก http://www.williamlong.info/google/upload/063_1.jpg

กู่ลั่งหยวี่ (鼓浪屿Gǔlànɡyǔ) คือชื่อเกาะแห่งหนึ่งในเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน เกาะแห่งนี้ห่างจากฝั่งเมืองเซี่ยเหมินทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้เพียง 1,000 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 1.77 ตารางกิโลเมตร  บนเกาะมีศิลาใจกลวงก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เมื่อคลื่นซัดเข้าจะมีเสียงดังเหมือนกับเสียงตีกลอง จึงเป็นที่มาของชื่อ กู่ลั่งหยวี่  ซึ่งหมายถึง เกาะคลื่นกลอง นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่บนเกาะมีพรรณไม้ดอกขึ้นมากมาย จึงได้รับขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า สวนบุปผากลางทะเลประชากรบนเกาะมีจำนวนไม่ถึง 2 หมื่นคน  ในอดีตเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลเปิดให้ต่างชาติเช่าอยู่อาศัยได้ มีชาวต่างชาติมาเช่ามากมาย อาทิ อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส ฮอลแลนด์ ญี่ปุ่นเป็นต้น อันเป็นที่มาของสิ่งปลูกสร้างบนเกาะ ที่ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกโบราณและยังคงอนุรักษ์มาจนปัจจุบัน จนทำให้เกาะกู่ลั่งได้รับยกย่องให้เป็น พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมร้อยชาตินอกจากนี้ ยังได้รับอิทธิพลของดนตรีตะวันตกได้ฝังรากอย่างลึกซึ้งในหัวใจของชาวเกาะกู่ลั่งแห่งนี้  ผู้คนบนเกาะชื่นชอบดนตรีเป็นอันมาก  โดยเฉพาะเปียโน ทุกๆบ้านฝึกฝนดนตรี ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ก็จะได้ยินเสียงเปียโนต่อๆกันไปไม่ขาดสาย ทำให้ทางการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เปียโนขึ้นที่นี่ นับเป็นพิพิธภัณฑ์เปียโนที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดของจีน จนบางครั้งเรียกกันติดปากว่า เกาะเปียโน
          ความผูกพันของชาวเซี่ยเหมินกับเพลง  คลื่นทะเลแห่งเกาะกู่ลั่ง นี้แสดงให้เห็นชัดเจนบนถนนในเมืองเซี่ยเหมิน ที่ได้รับยกย่องว่างดงามที่สุดในประเทศจีน คือ ถนนรอบเกาะ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 1997 เสร็จสิ้นในปี  2002  ถนนรอบเกาะนี้ มีความกว้าง 60 เมตร เป็นถนน 6 เลน เป็นถนนสายสำคัญอันดับหนึ่งของเมืองเซี่ยเหมิน  ข้างทางสร้างเป็นสวนสนามหญ้าขนานไปกับถนนตลอดทาง ความยาวทั้งหมด 247.59 เมตร บนสนามหญ้าสร้างเป็นบรรทัดห้าเส้น มีตัวโน้ตอยู่บนบรรทัดห้าเส้นนี้ ซึ่งก็คือเพลง คลื่นทะเลแห่งเกาะกู่ลั่ง นี่เอง งานประติมากรรมนี้ สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 8 เดือนกันยายน ปี 1998  ต่อมาในปี 2000 ได้รับบันทึกในกินเนสบุ๊คให้เป็น บรรทัดห้าเส้นที่ยาวที่สุดในโลก ฝั่งตรงข้ามของถนนเส้นนี้ ซึ่งก็คือชายฝั่งทะเลของเมืองเซี่ยเหมิน เป็นชายฝั่งของเกาะไต้หวัน อันเป็นสัญลักษณ์ของพี่น้องที่แม้ว่าจะมีทะเลขวางกั้น แต่ก็ยังชะเง้อชะแง้แลมองหากันด้วยความเป็นห่วงเป็นใยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ฝั่งตรงข้ามดังกล่าวนี้คือท่าเรือที่ชื่อ จีหลงกั่ง ที่กล่าวถึงในเนื้อเพลงนั่นเอง
               
เนื้อเพลง
鼓浪屿四周海茫茫,         海水鼓起波浪,
鼓浪屿遥对着台湾岛,            台湾是我家乡.
登上日光岩眺望,          只见云海苍苍,
我渴望,我渴望,快快见到你,   美丽的基隆港!
母亲生我在台湾岛,         基隆港把我滋养,
我紧紧偎依着老水手,            听他讲海龙王.
那迷人的故事吸引我,            他娓娓的话语刻心上,
我渴望,我渴望,快快见到你,   美丽的基隆港!
鼓浪屿海波在日夜唱,       唱不尽骨肉情长,
舀不干海峡的思乡水,       思乡水鼓动波浪.
思乡思乡啊思乡,          鼓浪鼓浪啊鼓浪,
我渴望,我渴望,快快见到你,   美丽的基隆港!

ความหมายของเนื้อเพลง
เกาะกู่ลั่งทะเลกว้างรอบสี่ทิศ       ทะเลคลั่งคลื่นประชิดซัดเข้าหา
ฝั่งตรงข้ามเกาะไต้หวันแต่นานมา      ร่วมชายคาเกาะไต้หวันบ้านของเรา
มองอาทิตย์เปล่งประกายจากยอดผา  สาดลงมาอาบทะเลเมฆหมอกขาว
ฉันเพ่งมอง ใจร้อนรน อยากพบเจ้า    จีหลงกั่ง ถิ่นลำเนา งามเหนือใคร
แม่กำเนิดฉันเอาไว้ที่ไต้หวัน              จีหลงกั่ง ฟูมฟักฉัน จนเติบใหญ่
ชาวประมงฉันรักมั่นผูกพันใจ            ฟังนิทาน ไห่ หลง หวาง พญามังกร
ตำนานนั้นชวนหลงใหลมัดใจฉัน       ถ้อยจำนรรจ์ฉันจดจำได้ทุกท่อน
ฉันเพ่งมอง อยากพบเจ้า เฝ้าอาวรณ์  จีหลงกั่ง ถิ่นรังนอน งามวิไล
เพลงกู่ลั่งทะเลคลื่นวันคืนร้อง           ดั่งเลือดเนื้อ เสียงพี่น้องไม่จางหาย
น้ำสองฝั่งไม่อาจวิดให้แห้งได้            ความคิดถึงฝากนำไปกับคลื่นทะเล
คิดถึงบ้าน โอ้เอ๋ย คิดถึงบ้าน            เสียงคลื่นลั่น จิตใจไม่หันเห
ฉันเพ่งมอง อยากพบเจ้า ไม่รวนเร      ถิ่นพื้นเพ จีหลงกั่ง ฝั่งแสนงาม 

                                         










            พิพิธภัณฑ์เปียโน ตั้งอยู่บนเกาะกู่ลั่งของเมืองเซี่ยเหมิน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม ปี 2000 มีพื้นที่ 450 ตารางเมตร มี 2 ชั้น ภายในเก็บรวบรวมเปียโนเก่าแก่ ซึ่งเป็นสมบัติส่วนตัวของชาวจีนโพ้นทะเลรักชาติชื่อ หู โหย่วอี้ จำนวน 40 กว่าหลัง ในจำนวนนี้ มีเปียโนล้ำค่าที่มีชื่อเสียงของโลก คือ เปียโนชุบทองคำ ตั้งแสดงอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมี เปียโนที่เก่าแก่ที่สุดของโลกอีกหลายชิ้นตั้งแสดงด้วย  เช่น Clavichord, Harpsichord, Accordion, และเปียโนที่มี 8 pedal เป็นต้น
      

  




[1] วันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน เป็นวันเทศกาลเก่าแก่ของจีน ชื่อเทศกาลฉงหยาง ตามประเพณีของจีน เทศกาลฉงหยางเรียกได้อีกว่า เทศกาลเก้าคู่” “เทศกาลผู้สูงอายุเมื่อถึงวันเทศกาล ชาวจีนมีประเพณีไต่เขาชมดอกเก๊กฮวย ปักต้นจูหรู และกินขนมฮวาเกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น