วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การพรรณนาภาษาต้งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

เมชฌ สอดสองกฤษ.(2559) การพรรณนาภาษาต้งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 7 ฉบับที่ (1) หน้า.11-45.

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


การพรรณนาภาษาต้งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
บทคัดย่อ
          บทความนี้มุ่งนำเสนอข้อมูลทางภาษาศาสตร์ของชนกลุ่มน้อยเผ่าต้งในประเทศจีน  โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากผลงานของนักวิชาการจีน เนื้อหาของบทความนำเสนอประเด็นสำคัญสามเรื่อง คือ 1.ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต้ง  2.การพรรณนาทางภาษาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย (1) การจัดแบ่งตระกูลภาษา (2) ระบบเสียง (3) ระบบคำ (4) ระบบไวยากรณ์ (5) ภาษาถิ่น และ 3.ระบบการเขียนอักษรภาษาต้ง จากการศึกษาพบว่า ภาษาต้งที่นักภาษาศาสตร์ต่างชาติศึกษากับมุมมองของนักวิชาการจีนยังมีข้อแตกต่างกันหลายประการ เช่น การจัดแบ่งตระกูลภาษา ระบบเสียง ระบบคำและระบบไวยากรณ์ เนื่องจากนักภาษาศาสตร์จีนใช้วิธีที่เป็นแบบแผนทางภาษาศาสตร์จีนในการวิเคราะห์ ที่ผ่านมานักวิชาการไทยมีโอกาสศึกษาข้อมูลภาษาต้งจากผลงานของนักภาษาศาสตร์ตะวันตกและนักภาษาศาสตร์ไทย แต่ยังไม่มีข้อมูลที่เป็นข้อเขียนของนักวิชาการจีนผู้ซึ่งใกล้ชิดกับชาวต้งมากทีสุด ในบทความนี้จึงจะได้นำเสนอเพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการชาวไทยได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
คำสำคัญ : ต้ง  กัม  ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต ภาษาตระกูลไท   

A Description of Dong Language in China
Abstract
Dong or [Kam1] is a language spoken by Dong ethnic group in China. Chinese scholars have classified Dong language in Sino – Tibetan language family, Zhuang-Dong branch, Dong-Sui group. This article is a description of linguistic style of Dong language. The data is mainly based on Chinese scholars’ researches. The article presents three main issues: 1. Dong ethnic information, 2. Language description which consists of (1) Language category (2) Phonology (3) wording system (4) Grammar (5) Dialect, and 3.The Dong Character. By investigating, it is revealed that there are different point of view from the   foreign and Chinese linguistician, such as language category, phonology, word system and grammars. The previous of Thai researchers mostly study some of Dong language information from foreign scholars’ researches, but without from Chinese scholars who is the most closely with Dong people. This article will provide information from Chinese scholars for the Thai scholars who conduct further research related to the topic in the future.     
 Keywords: Dong, Tung, Kam, Sino-Tibetan language family, Tai language family     



บทนำ : ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต้ง
“ต้ง” เป็นชื่อของภาษาและชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานในสามมณฑลของประเทศจีน  คือ กุ้ยโจว[1]
ยูนานและหูหนาน ชาวต้งเรียกตัวเองว่า [kam1][2] มีบางพื้นที่ส่วนน้อยออกเสียงว่า [ȶam1] หรือ [ȶ«m1]  นักภาษาศาสตร์แยกออกมาจากสมาชิกในภาษาตระกูลไท โดยจัดให้เป็นภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษา ตระกูลไท เรียกชื่อว่าตระกูลภาษากัม-สุ่ย(หรือสุย)[3] ในขณะที่มุมมองของนักวิชาการจีนจัดไว้ในตระกูลใหญ่จีน-ทิเบต สาขาภาษาจ้วง-ต้ง แขนงภาษาต้ง(กัม)-สุ่ย ความสำคัญของภาษาต้งประการแรกคือเป็นภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาตระกูลไทที่มีพูดอยู่แต่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น  และประการที่สองซึ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ การมีระบบเสียงวรรณยุกต์ที่ซับซ้อนมากที่สุดในบรรดาภาษาตระกูลไท  เนื่องจากการเกิดระบบเสียงวรรณยุกต์ในภาษาต้งเป็นผลมาจากสระพยางค์ปิดและสระพยางค์เปิด  “อันเป็นหลักฐานที่นักภาษาศาสตร์ เช่น โอดฺริกูรต์นำไปสู่การสร้างทฤษฎีมาตรฐานถึงการอธิบายการกำเนิดของเสียงวรรณยุกต์” (Haudricourt,1961 อ้างในสุริยา,2548)
ข้อมูลจากทางการจีน (เมชฌ:2554) ระบุว่าชนเผ่าต้งมีถิ่นฐานอยู่ในสามมณฑล ได้แก่
มณฑลกุ้ยโจว (贵州省Guìzhōushěnɡ) บริเวณอำเภอหลีผิง (黎平Lípínɡ) ฉงเจียง(从江Cónɡjiānɡ)  หรงเจียง  (榕江Rónɡjiānɡ) เทียนจู้ (天柱Tiānzhù) จิ่นผิง(锦屏 Jǐnpínɡ) ซานซุ่ย(三穗Sānsuì) เจิ้นหย่วน(镇远Zhènyuǎn) เจี้ยนเหอ (剑河Jiànhé)  ยวี่ผิง(玉屏Yùpínɡ) ชาวต้งในมณฑลกุ้ยโจวมีจำนวนประชากรมากที่สุด คือ 480,000 คน (ข้อมูล ปี 1979)
มณฑลหูหนาน (湖南省Húnánshěnɡ)  บริเวณอำเภอซินห่วง(新晃Xīnhuǎnɡ) จิ้งเซี่ยน(靖县Jìnɡxiàn) ทงเต้า (通道Tōnɡdào) ในเขตปกครองตนเองเผ่าจ้วง ชาวต้งในมณฑลหูหนานมีจำนวนประชากรรองลงมา คือ 190,000 คน (ข้อมูล ปี 1979)
มณฑลกว่างซี (广西Guǎnɡ) บริเวณอำเภอซานเจียง (三江Sānjiānɡ) หลงเซิ่ง(龙胜Lónɡshènɡ)  หรงสุ่ย(融水Rónɡshuǐ) ชาวต้งในมณฑลยูนานมีจำนวนประชากรน้อยที่สุด คือ 140,000 คน (ข้อมูล ปี 1979)
ข้อมูลจากการสำรวจประชากรในปี 1979 ชาวต้งมีประชากรราว 8 แสนคน แต่จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่าต้งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก โดยมีประชากรทั้งสิ้น 2,960,293 คน
ในชุมชนที่มีชาวต้งอาศัยอยู่ โดยเฉพาะถิ่นต้งใต้ที่มีผู้พูดจำนวนมาก (เกี่ยวกับภาษาถิ่น จะอธิบายในหัวข้อภาษาถิ่นเป็นลำดับต่อไป)  ภาษาต้งเป็นภาษาหลักที่ชาวต้งใช้ในการสื่อสาร ในโรงเรียน สถานที่ราชการต่างๆก็ใช้ภาษาต้งเป็นภาษากลาง ทำให้ชาวต้งใต้ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางภาษาไว้ได้ แต่เหตุนี้ทำให้ชาวต้งใต้รู้ภาษาจีนน้อยกว่าชาวต้งเหนือ ขณะเดียวกันชาวต้งเหนือซึ่งมีจำนวนประชากรน้อยกว่าก็มีแนวโน้มในการใช้ภาษาจีนมากกว่าเช่นกัน ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมของประเทศจีน(1949) เป็นต้นมา เหตุที่เป็นประชาชนของประเทศจีน การกระจายอำนาจทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและการศึกษาของรัฐบาลจีน ทำให้ภาษาของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนเป็นอย่างมาก ในพื้นที่ที่มีชาวต้งอาศัยอยู่ไม่มาก หากอยู่ใกล้กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากกว่า ชาวต้งก็จะสามารถพูดภาษาอื่นนั้นได้ หรือไม่ก็ใช้ภาษาจีนเป็นภาษากลางในชีวิตประจำวันในการติดต่อสื่อสารกับชนเผ่าอื่น  แม้กระทั่งในกลุ่มชาวต้งด้วยกันเอง         

การพรรณนาภาษาต้งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
1. การจัดแบ่งตระกูลภาษา   
หนังสือเล่มสำคัญที่ผู้เขียนอ้างอิงคำศัพท์และข้อมูลภาษามาเรียบเรียงในบทความนี้ คือ หนังสือเรื่อง “ปริทรรศน์ภาษาต้ง” เขียนโดย เหลียงหมิ่น นักภาษาศาสตร์รู้จักหนังสือเล่มนี้ในชื่อ Dong Yu Jianzhi และรู้จักชื่อผู้เขียนในชื่อ Liang Min ตรงกับชื่อภาษาจีนคือ《侗语简志Dòngyǔ jiǎn zhì (梁敏Liáng Mǐn:1979) โดยเก็บข้อมูลคำศัพท์และศึกษาวิเคราะห์ภาษาต้งที่เขตชุมชนเชอเจียง(车江Chē jiāng) ในชุมชนนี้ประกอบด้วยหมู่บ้านต่างๆ หลายหมู่บ้าน เช่น บ้านเชอจ้าย (车寨Chē zhài) บ้านจ้ายโถว(寨头Zhài tóu) บ้านจางหลวี่(章鲁Zhāng lǔ) บ้านม่ายจ้าย(麦寨Mài zhài) บ้านเยว่จ้าย(月寨 Yuè zhài) บ้านโข่วจ้าย (口寨Kǒu zhài) เป็นต้น  
ภาษาที่ชาวต้งใช้คือภาษาต้ง(侗语Dònɡ) ชาวต้งเรียกภาษาของตัวเองว่า /kam1/  นักวิชาการจีนจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (汉藏语系Hàn Zànɡ yǔxì) สาขาภาษาจ้วง-ต้ง (壮侗语族 Zhuànɡ Dònɡ yǔZú) แขนงภาษาต้ง-สุ่ย (侗水语支 Dònɡ Shuǐ yǔzhī) แบ่งออกเป็นสองสำเนียงภาษาคือ สำเนียงต้งเหนือและสำเนียงต้งใต้ ไม่มีภาษาอักษรเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีน มีการประดิษฐ์ภาษาอักษรโดยใช้อักษรโรมันขึ้นใช้ เมื่อปี  ค.ศ. 1958
ภาษาต้งมีลักษณะร่วมที่ใกล้เคียงกับภาษาต่างๆในแขนงต้ง-สุ่ย ได้แก่(เนื้อหารายละเอียดและตัวอย่างคำ จะได้อธิบายในลำดับถัดไป)
1.    พยางค์ทุกพยางค์ประกอบด้วยพยัญชนะสระและวรรณยุกต์ ซึ่งระบบเสียงวรรณยุกต์ถือเป็น
ลักษณะร่วมที่สำคัญ คือ หางสระมีอิทธิพลต่อการเกิดเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกัน   
2.    มีเสียงหางสระ ภาษาต้งมี 8 เสียง แบ่งเป็น อัฒสระ/i,u/ และพยัญชนะ /m, n, N, p, t, k/
3.    มีคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย ส่วนมากเป็นคำโดดพยางค์เดียว  วิธีการประสมคำมีรูปแบบและลักษณะ
เหมือนกัน  
4.    ลักษณะทางไวยากรณ์เหมือนกัน โครงสร้างไวยากรณ์พื้นฐานคือ [S+V+O]  มีการวางคำขยาย
ไว้หลังคำหลัก  
          เนื่องจากคำภาษาต้งมีทั้งคำเฉพาะเผ่าพันธุ์ คำร่วมเชื้อสายในตระกูลไท มีบางคำพ้องกับภาษาไทยถิ่นต่างๆ และคำพ้องที่คล้ายกับภาษาจีน ตลอดทั้งบทความนี้หากพบคำประเภทนี้จะได้ทำอรรถาธิบายไว้ โดยใช้รูปแบบดังนี้ ภาษาจีน (จ.= คำจีน พินอิน,ความหมาย)  ภาษาไทยถิ่นอีสาน (อ.=คำ, ความหมาย) ภาษาไทยถิ่นเหนือ (น.=คำ, ความหมาย)  ซึ่งในการระบุความหมายของคำนั้น หากมีความหมายต่างกันจะระบุความหมายของภาษาที่นำมาเปรียบเทียบ หากมีความหมายเหมือนกันก็จะไม่ระบุความหมาย

2. ระบบเสียง
             2.1 พยัญชนะ นักวิชาการจีนแบ่งเสียงพยัญชนะในภาษาต้งเป็นสามประเภท คือ  
(1)    เสียงพยัญชนะเดี่ยว เป็นพยัญชนะเสียงเดียว ฐานกรณ์ไม่เลื่อน
(2)    เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก ภาษาจีนเรียกว่า 唇化声母Chún huà shēngmǔ
ได้แก่พยัญชนะที่มีการออกเสียงฐานกรณ์ของพยัญชนะเดิมแล้วเลื่อนไปริมฝีปาก คล้ายกับพยัญชนะควบกล้ำ กว- คว- ในภาษาไทย 
(3)    เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดาน ภาษาจีนเรียกว่า 腭化声母È huà shēngmǔ ได้แก่
พยัญชนะที่มีการออกเสียงฐานกรณ์ของพยัญชนะเดิมแล้วเลื่อนไปเพดาน เสียงชนิดนี้คล้ายกับการออกเสียงภาษาไทย พย- สย-
           ข้อมูลระบบเสียงในหนังสือ “ปริทรรศน์ภาษาต้ง” (Liang Min: อ้างแล้ว) มีเสียงพยัญชนะต้น 31 เสียง แบ่งเป็น 1) เสียงพยัญชนะเดี่ยว 21 เสียง 2) เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดาน 7 เสียง และ 3) เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก 3 เสียง   ดังข้อมูลในตารางต่อไปนี้    
p
ph
m
f
w

pj
phj
mj

wj
ts
tsh

s






t
th
n

l
tj
thj


lj
ȶ
ȶh
ȵ
ɕ
j





k
kh
N


kw
khw
Nw


ʔ


h






คำอธิบายเสียงพยัญชนะ
1.       เสียงพยัญชนะภาษาต้งมีการเปรียบต่างของเสียงพ่นลมกับไม่พ่นลม จัดว่าเป็นภาษาไทกลุ่ม พ.
2.       เสียงพยัญชนะฐานกรณ์ริมฝีปาก /p,ph,m,w/ และฐานกรณ์ปลายลิ้น /t,th,l/ ทั้งเสียงไม่พ่นลมและเสียงพ่นลม มีคู่เปรียบต่างกับเสียงเปลี่ยนเป็นเพดาน คือ /pj,phj,mj,wj/ และ/tj,thj,lj/
3.       เสียงพยัญชนะฐานกรณ์โคนลิ้น /k,kh,N/ ทั้งเสียงไม่พ่นลมและเสียงพ่นลม มีคู่เปรียบต่างกับเสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก คือ / kw,khw,Nw/
4.       เสียง /tj,thj,ts,tsh,f,wj/ เป็นพยัญชนะที่ได้รับอิทธิพลมาจากคำยืมภาษาจีน คนหนุ่มสาวที่เรียนภาษาจีนจะออกเสียงเหล่านี้ได้ แต่ผู้สูงอายุที่ไม่ได้เรียนภาษาจีนจะออกเสียงเหล่านี้เป็น /ȶ, ȶh,s (สำหรับเสียง ts,tsh), w, j/ ตามลำดับ
5.       คำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ คือคำที่มีพยัญชนะ /ʔ/ นำหน้า ในบทความนี้จะละไว้   
จุดที่น่าสนใจของระบบเสียงพยัญชนะในภาษาต้งคือ การสูญหายของเสียงก้อง จากหลักฐานคำศัพท์ภาษาต้งบางถิ่นชี้ให้เห็นว่าภาษาต้งเคยมีพยัญชนะต้นเสียงก้อง คือ ภาษาต้งสำเนียงหรงสุ่ย (融水Róng shuǐ) ออกเสียงแบบมีเสียงก้องนำหน้า เช่น /dja1/ “ตา(eye)” /djam1/ “บ่อน้ำ”
จากการเปรียบเทียบกับภาษาอื่นๆในสาขาจ้วง-ต้ง พบว่า ยังมีเสียงก้องอยู่สองเสียงหรือสองชุด
กล่าวคือ ภาษาจ้วง และภาษาปู้อี มีเสียง  ʔb, ʔd ภาษาสุ่ยมีเสียง ʔb, ʔd และ  ͫ b,ⁿd ภาษาเหมาหนานมีเสียง ʔb, ʔd และ  ͫ b,ⁿd, ᶯȡ ,ᵑɡ แต่ภาษาต้งไม่หลงเหลือเสียงเหล่านี้แล้ว เมื่อเปรียบเทียบคำศัพท์ที่ภาษาในสาขาเดียวกันออกเสียงก้อง พบว่าภาษาต้งออกเสียงเป็นเสียงอื่นที่มีฐานกรณ์ใกล้เคียงกันและออกเสียงอย่างไม่มีเสียงก้องนำ คือ
ตัวอย่างคำ
จ้วง
สุ่ย
เหมาหนาน
ต้ง
ʔb, ʔd
ʔb, ʔd

m,l

  ͫ b,d
  ͫ b,d
p,t
บาง
ʔba:ŋ1
ʔba:ŋ 1
ʔba:ŋ 2
ma:ŋ1
ดี
ʔdei1
ʔda:i1
ʔda:i2
la:i1
ผู้ชาย
sa:i1
  ͫ ba:n1
  ͫ ba:n1
pa:n1
ตา(eye)
ta1
da1
da1
ta1
2.2 เสียงสระ
          หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์เสียงสระในทางภาษาศาสตร์จีน มีดังนี้
1.       เสียงสระเดี่ยว  
2.       เสียงสระที่มีมากกว่าหนึ่งเสียง แบ่งเป็น หัวสระ ท้องสระและหางสระ[4] ดังนี้
2.1   หัวสระ คือสระตัวแรก  
2.2   ท้องสระคือสระตัวที่สองในสระที่มีสามเสียง เช่น /ian/ เสียง /i/ เป็นหัวสระ /a/ เป็นท้องสระ และ /n/ เป็นหางสระ
2.3   หางสระ แบ่งเป็น
(1)    หางสระที่เป็นอัฒสระ /i,u/ เช่น สระ /iu/ เสียง /i/ เป็นเสียงสระเดี่ยว เสียง /u/ เป็นหางสระที่เป็นอัฒสระ
(2)    หางสระที่เป็นเสียงนาสิก /m,n, N/ เช่น สระ /in/ เสียง /i/ เป็นเสียงสระเดี่ยว เสียง /n/ เป็นหางสระที่เป็นเสียงนาสิก
(3)    หางสระที่เป็นพยัญชนะเสียงกัก /p,t,k/  เช่น สระ /ip/ เสียง /i/ เป็นเสียงสระเดี่ยว เสียง /p/ เป็นหางสระที่เป็นเสียงพยัญชนะเสียงกัก
จากหลักเกณฑ์ของหางสระในข้อ 2.3 ข้างต้น หางสระแบบที่ (1) และแบบที่ (2) เรียกว่าสระเปิด หางสระแบบที่ (3) เรียกว่าสระปิด ดังนั้นนักภาษาศาสตร์จีนจึงวิเคราะห์ให้ภาษาต้งมีเสียงสระจำนวน ทั้งสิ้น 56 เสียง ดังนี้
a
a:i
a:u
a:m
a:n
a:N
a:p
a:t
a:k



am
an
aN
ap
at
ak

 ǝi
ǝu
ǝm
ǝn
ǝN
ǝp
ǝt
ǝk
e:

eu
em
en
eN
ep
et
ek
i:

iu
im
in
iN
ip
it
ik
o:
oi

om
on
oN
op
ot
ok
u:
ui

um
un
uN
up
ut
uk
ɿ:








คำอธิบายเสียงสระ
1.       สระเดี่ยวมีทั้งหมด 6 เสียง คือ /a,e,i,o,u, ɿ / โดยที่สระทุกตัวเมื่อเกิดตามลำพังจะออกเสียงเป็น
เสียงยาว แต่จะออกเสียงเป็นเสียงสั้นเมื่อมีหางสระและไม่มีการเปรียบต่าง ยกเว้นเสียงสระ /a/ มีการเปรียบต่างของเสียงสั้นกับเสียงยาวเมื่อมีหางสระ    
2.       เสียงสระ /ǝ/ ไม่ปรากฏเป็นเสียงสระเดี่ยว   
3.       เสียงสระ /ɿ/ เป็นเสียงสระภาษาจีน มีเฉพาะในคำยืมจากภาษาจีน เกิดกับพยัญชนะของคำ
ภาษาจีน /ts,tsh,s/ เท่านั้น
4.     เสียงสระภาษาต้งทุกเสียงสามารถปรากฏกับหางสระที่เป็นพยัญชนะนาสิก /m,n, N/ และพยัญชนะเสียงกัก /p,t,k/ ได้ทุกเสียง  
5.    เสียงสระทุกเสียงสามารถปรากฏกับหางสระที่เป็นอัฒสระได้ ยกเว้น
-          /e/ เกิดกับหางสระ /u/ เท่านั้น ไม่เกิดกับ /i/
-          /a/ เสียงสั้น ไม่เกิดกับหางสระที่เป็นอัฒสระ
6.    หางสระที่เป็นพยัญชนะเสียงกัก /p,t,k/ ออกเสียงกัก แต่ไม่ระเบิด

2.3 เสียงวรรณยุกต์
ดังที่ได้เกริ่นไว้ตอนต้นว่าภาษาต้งเป็นภาษาที่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ที่ซับซ้อนมาก ความแตกต่างของ
เสียงวรรณยุกต์ไม่เพียงแต่มีความซับซ้อนในภาษาถิ่นเดียวกัน แต่ระหว่างภาษาถิ่นต่างๆก็ยังมีความแตกต่างกันที่ซับซ้อนมากด้วย สิ่งที่ทำให้เสียงวรรณยุกต์ภาษาต้งมีความซับซ้อนนอกจากระดับสูงต่ำ และการหักเหแล้ว ยังเกิดจากอิทธิพลของเสียงสระที่แบ่งเป็นสระปิดและสระเปิดด้วย  ทั้งนี้ความสั้นยาวของเสียงสระก็มีผลต่อการเกิดเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันด้วยเช่นกัน จากข้อมูลการวิเคราะห์พบว่าภาษาต้งมีเสียงวรรณยุกต์ 15 เสียง แบ่งเป็นวรรณยุกต์สระเปิด 9 เสียง และวรรณยุกต์สระปิด 6 เสียง  ดังนี้ (ว.หมายถึง วรรณยุกต์)

ประเภทสระ
ว.
ระดับ
เสียง
ตัวอย่าง
คำศัพท์
ตัวอย่าง
คำศัพท์

ว.
ระดับ
เสียง
ตัวอย่าง
คำศัพท์
ตัวอย่าง
คำศัพท์
วรรณยุกต์
สระเปิด
1
55
pa1 ปลา
ja1 ผ้า
1+
35
pha1+ สีเทา
ja1+
เธอสองคน
2
11
pa2 คราด
(จ.= )
ja2 สอง

3
323
pa3 ป้า
ja:i3 ยาว
3+
13
phja3+ พลิก
ja3+ ผ้าขี้ริ้ว
4
31
pa4  ตั๊กแตนตำข้าว
ja4 ร้าย

5
53
pa5 ใบ
ja5 นา
5+
453
pha5+ แตก
(จ.= )
ja5+ แดง
6
33
pa6 รำข้าว
ja6 ก็

วรรณยุกต์
สระปิด
7
55
pak7 ทิศเหนือ
(จ.= běi )
jak7 เปียก
7+
35
phok7 สาด
(จ.= pō)
jak7+ ขยัน
8
21
pak8 หัวผักกาด
jak8  สงสาร

9
24
pa:k9 ปาก
ja:k9 หิว
9+
13
pha:k9+ ตี
ja:k9+
ลอบดักปลา
10
31
pa:k10 ขาว(เผือก)
ja:k10 ปัก

          คำอธิบายเสียงวรรณยุกต์
          1.ตารางข้างต้นจะเห็นว่าตัวเลขกำกับเสียงวรรณยุกต์มี 2 ชุด คือชุดตัวเลขเดี่ยวกับชุดตัวเลข+ หมายความว่า เสียงวรรณยุกต์ที่มีตัวเลข+ ในภาษาต้งสำเนียงเชอเจียงมีการเปรียบต่างทั้งสองชุดรวมเป็น 15 เสียง   แต่ภาษาต้งถิ่นย่อยบางสำเนียง เสียงวรรณยุกต์ /1+ 3+ 5+ 7+ 9+/ เป็นเสียงเดียวกันกับวรรณยุกต์ /1 3 5 7 9/ ตามลำดับ เท่ากับว่ามีวรรณยุกต์เพียง 10 เสียง  
          2.หากพิจารณาเฉพาะระดับหักเหของเสียงวรรณยุกต์ ไม่พิจารณาการมีหรือไม่มีหางสระ จะเห็นว่ามีระดับเสียงวรรณยุกต์ของสระเปิดซ้ำกับเสียงวรรณยุกต์สระปิด (สระเปิด=สระปิด)  คือ 1=7(ระดับเสียง55) , 4=10 (ระดับเสียง31), 1+=7+ (ระดับเสียง35), 3+=9+(ระดับเสียง31) นอกจากนี้ยังมีวรรณยุกต์ของสระเปิดกับเสียงวรรณยุกต์สระปิดบางคู่ที่ใกล้เคียงกันมาก ซึ่งในบางท้องถิ่นก็เป็นเสียงเดียวกัน คือ 2=8(11/21) , 3=9(323/24) เมื่อตัดเสียงวรรณยุกต์ที่ซ้ำกันออกแล้ว  จะเห็นว่าภาษาต้งมีระดับเสียงวรรณยุกต์ที่แท้จริงเท่ากับ 11 เสียง และเมื่อตัดเสียงวรรณยุกต์ที่คล้ายกันออกก็จะมีวรรณยุกต์เหลือเพียง 9 เสียง ซึ่งตรงกับระบบเสียงภาษาต้งที่เป็นยอมรับในปัจจุบัน (欧亨元Ōu Hēngyuán:2004) (จะอธิบายในหัวข้อระบบการเขียนภาษาต้งในลำดับต่อไป) 
          2.4 โครงสร้างพยางค์ (C=Consonant ,V=vowel) นักวิชาการจีนตัดสินให้พยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก /-w/ กับพยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นเพดาน /-j/ เป็นพยัญชนะต้นเดี่ยว เพราะมองว่าเป็นการออกเสียงของฐานกรณ์เดิมแล้วเปลี่ยนไปเป็นฐานกรณ์อื่นเท่านั้น  แต่ฐานกรณ์ของเสียงพยัญชนะที่แท้จริงยังคงตัดสินว่าเป็นพยัญชนะเดิมอยู่ ดังนั้นพยัญชนะต้นในภาษาต้งจึงมีเพียงเสียงเดียวคือ /C/ ส่วนเสียงสระมีสระเดี่ยวกับสระประสม โดยมองว่าสระมีหัวสระ(V) ท้องสระ(V) และหางสระ จะเห็นว่าส่วนที่เป็นหัวสระคือ /V/ แต่ส่วนที่เป็นท้องสระคือ (V) แต่ส่วนที่เป็นหางสระอาจจะเป็นสระ/V/ หรือพยัญชนะ /C/  ก็ได้ ดังข้อมูลต่อไปนี้   
C V

ti6
ที่ (จ.=)
kwe2
ควาย
ŋu5+
งู
C V V
C+หัวสระ+หางสระ
ma:i4
เมีย
khwa:u3+
เหล้า
ȵeu5
เยี่ยว (จ.=尿niào)
C V C
C+หัวสระ+หางสระ

la:m2
ลืม
pǝt7
เป็ด
thot9+
ถอด (จ.=t)
3 ระบบคำ คำในภาษาต้งมีคำที่พ้องกับภาษาในสาขาและแขนงเดียวกันจำนวนมาก เช่น จ้วง ปู้อี ไต มู่หล่าว สุ่ย เหมาหนาน หลี เป็นต้น ซึ่งจากการเปรียบเทียบพบว่ามีคำศัพท์ที่ร่วมเชื้อสายกับภาษาในแขนงเดียวกัน ได้แก่ มู่หล่าว สุ่ย เหมาหนานมากที่สุด รองลงมาพ้องกับภาษาจ้วงและไต ส่วนภาษาหลีมีคำศัพท์ร่วมกันน้อยที่สุด และก็มีคำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ภาษาต้งที่ไม่ร่วมเชื้อสายกับภาษาอื่นอยู่จำนวนหนึ่ง คำศัพท์ส่วนใหญ่เป็นคำโดดพยางค์เดียว คำสองพยางค์เกิดจากการประสมคำของคำโดด แต่ก็มีคำโดดสองพยางค์อยู่จำนวนหนึ่ง นอกจากนี้พบคำโดดสามพยางค์หรือสี่พยางค์บ้างเล็กน้อยแต่เป็นลักษณะการซ้ำหรือเสริมน้ำเสียง ดังรายละเอียดต่อไปนี้   
                   3.1.1 คำโดด แบ่งได้ดังนี้  
(1)     คำโดดพยางค์เดียว  เป็นคำหนึ่งพยางค์ที่มีความหมายในตัวเอง  สามารถใช้โดย
อิสระได้  ตัวอย่างคำต่อไปนี้ ภาษาแขนงจ้วง-ไต และแขนงต้ง-สุ่ย คัดมาจาก หวางจวิน, เจิ้งกว๋อเฉียว(1979,หน้า.2) ส่วนคำศัพท์ภาษาหลีสืบค้นจาก โอวหยางเจวี๋ยย่า, เจิ้งอี๋ชิง. (1979,หน้า 109-136)    
คำศัพท์ร่วมเชื้อสาย
จ้วง-ไต
ไทย
ไป
ตาย
เอา
เรา
ลืม
ลูก
ไต
pai1
ta:i1
au1
hau2
lɯm2
luk8
จ้วง
pai1
ta:i1
au1
rau2
lun2
lɯk8
ปู้อี
pai1
ta:i1
au1
zau1
lun2
lɯk8
ต้ง-สุ่ย
ต้ง
pa:i1
tǝi1
a:u1
ta:u1
la:m2
la:k8
สุ่ย
pa:i1
tai1
a:u1
da:u1
la:m2
la:k10
เหมาหนาน
pa:i1
tai1
a:u1
da:u1
la:m2
la:k8
มู่หล่าว
pa:i1
tai1
a:u1
hɣa:u1
la:m2
la:k8
หลี
หลี
hei1
ɬa:u2
deɯ1
hou1
lɯ:m5
ɬɯ:k7



คำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ภาษาต้ง
คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย
ȶǝn2
ภูเขา
ȶhit9
จอบ
ja:k10
รั้ว
je1
กบ
woŋ5+
ถัง
ma:k10
โคลน
pun1
หมอน
ǝm3
ยา
ke1
ด้านข้าง
นอกจากนี้ พบลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ มีคำนามเรียกชื่อสัตว์ พืช หรือสิ่งของที่มีลักษณะเดียวกัน  กลุ่มก้อนเดียวกัน หรือประเภทเดียวกัน แต่แยกชนิด เช่น นก - นกแก้ว นกกระจิบ นกยูง/ปลา – ปลาช่อน ปลาดุก ปลาไหล/ ต้น – ต้นไทร ต้นสน ต้นหลิว ภาษาต้งจะมีชื่อเรียกเฉพาะพยางค์เดียวสำหรับทุกๆชื่อ ไม่ใช้วิธีประสมคำเหมือนภาษาอื่น ๆ ตัวอย่างคำเช่น
คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย
nok8
นก
pa1
ปลา
se1
เครื่องมือจับสัตว์
a1
กา
ljo4
ปลาดุก
tiu1
เครื่องดักนก
lja:i3+
นกกระจอก
ŋo8
ปลาไหล
tam5
เครื่องดักหนู
ȵa1+
นกหัวขวาน

ŋwǝt8
ปลาช่อน

pit9
เครื่องดักเสือ
(2)   คำโดดสองพยางค์ คำที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ แต่ละพยางค์หรือส่วนใดส่วน
หนึ่งของพยางค์ไม่สามารถแยกออกจากกันและมีความหมายโดยอิสระได้ ไม่ใช่ลักษณะของการเติมหน่วยคำเติมเพื่อให้มีความหมายทางไวยากรณ์ใดๆ และไม่ใช่คำประสม ตัวอย่างคำเช่น
คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย
lǝm2 leŋ6
จักจั่น
tok7 uk9
นกกาเหว่า

ta5 man1
ตะวัน
ŋo5 ŋet9
ด้วง
ma4 ȶa:i4
แมลงสาบ

pa5 na3+
ธนู
                   3.1.2 คำประสม คือการนำคำโดดที่มีความหมายในตัวเองมาประสมกัน แล้วเกิดเป็นคำที่มีความหมายที่ใกล้เคียงกับรากคำเดิม หรือเกิดความหมายใหม่ มีหลายวิธีได้แก่ 1.แบบรวมคำ คือการนำคำโดดสองคำที่มีความหมายในตัวเองมาประสมกัน เมื่อประสมกันแล้วคำทั้งสองต่างแสดงความหมายเท่าๆกัน ความหมายใหม่ที่เกิดขึ้นใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกับคำเดิมทั้งสองคำ 2.แบบขยายความ คือการนำคำสองคำมาเรียงต่อกัน คำหน้าทำหน้าที่บอกความหมายหลัก คำหลังทำหน้าที่ขยายความหมายของคำหน้าให้ชัดเจนขึ้น 3. แบบกริยากรรม คือ คำประสมที่คำหน้าเป็นคำกริยาและคำที่ตามมาเป็นกรรมที่รับการกระทำของกริยาข้างหน้านั้น  เมื่อประสมแล้วเกิดเป็นความหมายใหม่ที่แปรมาจากความหมายเดิมของคำทั้งสอง 4. แบบประธานกริยา คือ คำประสมที่คำหน้าทำหน้าที่เป็นประธาน คำที่ตามมาเป็นภาคแสดงบอกลักษณะหรือการกระทำของประธานข้างหน้านั้น 5. แบบเสริมความ คือ คำประสมที่คำข้างหน้าเป็นคำที่แสดงความหมายหลักส่วนคำที่ตามมาทำหน้าที่เสริมความหมายของคำข้างหน้าให้ชัดเจนขึ้นแต่ไม่ใช่การขยายความ  ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้     



รูปแบบคำประสม
ตัวอย่างคำ
แบบรวมคำ
tin1 mja2
ตีน   มือ
“ฝีมือ,น้ำมือ,การกระทำ”
oŋ3 ma:ŋ6
ปู่    ทวด
“บรรพบุรุษ”
lui2 la:n6 (จ.=làn)
ลุ่ย   เปื่อย
“เน่าเปื่อย,ผุพัง”
แบบขยายความ
nam4 ta1  “น้ำตา”
น้ำ      ตา
ŋwa1+ lam1
หมา     ไล่“หมาล่าเนื้อ”
la:k8 sip9 “ลูกเลี้ยง”
ลูก    รับ
แบบกริยากรรม
sa5 so6 “พักผ่อน”
พัก  แรง (อ.=ซา,เบา)
pa:i1 sa:u4 “แต่งงาน”
ไป    ผัว
to3 ta1 “ใส่ใจ,ระมัดระวัง”
ต่อ  ตา
แบบประธานกริยา
ǝp7 kuŋ2  “ปากจัด
ปาก มาก
loŋ2 sok7ใจแคบ
ท้อง  แคบ
sa:i3 ja:i3  “อดทน
ไส้    ยาว
แบบเสริมความ
we4 ma:k9
ทำ   ใหญ่“อวดเบ่ง,ลำพอง”
ȵu5 tha3+ “ดูถูกดูแคลน”
ดู    เบา
ljak7+ sai3 “ผิดหวัง,เจ็บปวด”
หนาว  ไส้
  3.1.3 การเติมหน่วยคำเติมหน้า มีลักษณะเป็นการเติมเพื่อรวมกลุ่มคำ หรือเพื่อ
บอกความหมายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หรือมีรูปลักษณะอย่างเดียวกัน วิธีการเติมหน่วยคำแบบนี้เป็นการเติมคำที่มีความหมายในตัวเอง แต่ละคำสามารถเป็นอิสระจากกันได้
ตำแหน่งคำ
คำเติม
ความหมาย
ตัวอย่างคำ
เติมหน้า
la:k10 ~
ลูก
ใช้กับสิ่งของที่มีลักษณะ
เป็นก้อน เป็นเม็ด
la:k10 mui6 “ดักแด้”
ลูก      ไหม
la:k10 ɕok7+ “ดวงดาว”
ลูก      ดาว
a2 ~ (จ.=ā)
คำนำหน้า”(นน.)
ใช้เป็นคำนำหน้า
คำเรียกญาติ
a2 noŋ4น้อง
นน. น้อง
a2 o5   “อา” (น้องชายพ่อ)
นน. อา
taŋ1~
กัน
บอกความหมายว่า
ทำกริยาทั้งสองฝ่าย
taŋ1 heu1+ทะเลาะกัน
กัน    ตี
taŋ1 m1พบกัน
กัน    พบ
an1~
ตอน
นำหน้าเพื่อบอกเวลา
an1 na:i6ปัจจุบัน
ตอน  นี้
an1 man1กลางวัน
ตอน  วัน
mǝi4~
ไม้”
นำหน้าคำกริยาหรือ
คุณศัพท์ เติมแล้วทำให้มีความหมายคล้ายกับคำว่า “การ”หรือ “ความ” ในภาษาไทย)
mǝi4 ȶan1 
ไม้   กิน
การดำรงชีวิต
mǝi4 hu3+ 
ไม้  ขม
“ความทุกข์”
(.=kǔ, ขม ทุกข์ )
3.1.4 คำซ้ำ คือการพูดคำเดียวกันซ้ำกัน โดยมีรูปแบบการซ้ำสำหรับคำหนึ่งพยางค์
เป็น AA และรูปแบบ AABB สำหรับคำสองพยางค์ เมื่อซ้ำกันแล้วจะเกิดการแปรทางความหมายที่ใกล้เคียงกับคำเดิม เช่น การซ้ำคำนามเพื่อเปลี่ยนจากเอกพจน์เป็นพหูพจน์ การซ้ำคำกริยาเพื่อบอกการกระทำซ้ำ หรือทำแบบไม่ตั้งใจ ทำเรื่อยๆ ทำต่อเนื่อง การซ้ำคำคุณศัพท์เพื่อทำให้เกิดความหมายที่เข้มข้นขึ้น หรือเบาบางลง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
AA

man1 วัน
man1 man1
ทุกวัน
mǝi4 ไม้
mǝi4 mǝi4
ป่าไม้
ljak8 ลัก
ljak8 ljak8
แอบๆ
ɕo5+ แหลม
ɕo5+ ɕo5+
แหลมๆ
AABB
ȶha5+ lui6 ขึ้น ลง
ȶha5+ ȶha5+ lui6 lui6
ขึ้นๆลงๆ
la:u3 uk9 เข้า ออก
la:u3 la:u3 uk9 uk9
เข้าๆออกๆ
pǝt7 a:i5 เป็ดไก่
pǝt7 pǝt7 a:i5 a:i5
เป็ดๆไก่ๆ (หมายถึงอาหารการกิน)
phan5+ pju5+ โยกเยก
phan5+ phan5+ pju5+ pju5+
โยกๆ เยกๆ
3.1.5 คำซ้อน คือการนำคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน แต่ความหมายที่
แท้จริงอยู่ที่คำใดคำหนึ่งเท่านั้น มักมีรูปแบบของคำแน่นอนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือสลับที่ได้ รูปแบบที่พบคือคำซ้อนสี่พยางค์แบบ /ABAC/ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
en5 ta1 en5 naŋ1
ลาย ตา  ลาย  หู
หน้ามืดตาลาย
weŋ2 ka:u3 weŋ2 kha1+
ขวาง   หัว    ขวาง   หู
ขวางหูขวางตา
3.1.6 คำเสริมสร้อย เป็นลักษณะของการใช้เสียงที่ไม่มีความหมายในตัวเองซ้ำกัน
สองครั้ง เติมไว้หลังคำกริยาหรือคำคุณศัพท์เพื่อทำหน้าที่เสริมน้ำเสียง บอกสภาพ ลักษณะ หรือเพื่อให้เกิดภาพพจน์และอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ya5+ แดง
ya5+ɕe3 ɕe3  
แดงแป้ดๆ
ja:i3 ยาว
ja:i3 ye4 ye4
ยาว(บอกลักษณะว่ายาวๆ)
ȶo3 ลาก
ȶo3 ȶa:t7 ȶa:t7
ดึง (บอกลักษณะการดึงฉุดๆ)
pǝn5 เหงื่อ
pǝn5 ɕep7 ɕep7
เหงื่อซิบๆ
3.1.7 คำยืมจากภาษาจีน จากข้อมูลคำศัพท์พบว่า ภาษาต้งมีคำที่สัมพันธ์กับ
ภาษาจีนจำนวนมาก แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้  
(1)   คำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับคำศัพท์ยืมเก่า ในแวดวงนักวิชาการจีนตัดสิน
ว่าคำศัพท์ในภาษาของชนกลุ่มน้อยที่พ้องกันกับภาษาจีนนั้นเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีน แบ่งเป็นสองชุดคำคือ กลุ่มหนึ่งเป็นคำศัพท์ที่ยืมมาตั้งแต่อดีตเรียกว่า “คำยืมเก่า” เป็นคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาจีนยุคกลาง ประวัติศาสตร์[5] และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นคำที่ยืมมาภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมจีน ค.ศ.1949 เรียกว่า “คำยืมใหม่” แต่ขณะเดียวกัน ในแวดวงนักวิชาการที่ศึกษาภาษาไท-จีน ก็มีผลงานการศึกษาส่วนหนึ่งที่พยายามพูดถึงคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน ซึ่งก็มีความเห็นว่ามีคำศัพท์ในภาษาไทหลายๆภาษากับคำศัพท์ภาษาจีนเป็นคำศัพท์ที่เคยใช้ร่วมกันในอดีต คำศัพท์กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นคำโดดหนึ่งพยางค์ ซึ่งสามารถหาคำที่พ้องกันได้ในภาษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตระกูลไท ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ต้ง
ȶǝm1
ti6
ȵan2
ja:n2
pjin5
sǝm3+
thoi5+
tha:n5
mok8
สุ่ย
ȶum1
ti6
ȵan3
ɣa:n2
pjen5
hum3
ⁿdut7
tha:n5
nok8
มู่หล่าว
cǝm1
ti6
ȵan2
ɣa:n2
pjen5
ǝm3
thoi5
tha:n5
nɔk8
ไต
xam2
ti6
ŋǝn2
n2
pin1
som3
thɔi1
tha:n5
nok8
จ้วง
kim1
ti6
ŋǝn2
ɣa:n2
pi:n5
som3
thoi5
tha:n5
ɣok8
ปู้อี
tɕim1
zi6
ŋan2
za:n2
pi:n5
som3
tui1
tan5
zok8
ไทย
คำ(ทอง)
ที่
เงิน
บ้าน
เปลี่ยน
ส้ม(เปรี้ยว)
ถอย
ถ่าน
นก
จีน
jīn[6]
yín
jiā
biàn
suān
退tuì
tàn
niǎo
                   อย่างไรก็ตาม ยังพบคำยืมเก่าในภาษาต้ง(อาจกระจายไปถึงภาษาสุ่ยด้วย) ที่ไม่ปรากฏในภาษาไทอื่นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คำที่ภาษาไทอื่นๆมีคำร่วมเชื้อสายกัน แต่ภาษาต้งไม่มี เพราะใช้คำยืมเก่ามาจากภาษาจีน  ตัวอย่างคำเช่น
จีน
pí
cūn
nián
shān
ต้ง
pi2
sǝn1 (อ.=ซุม)
ȵin2
ȶǝn2
สุ่ย
pi2
ba:n3
ͫ be1
tsǝn2
ไต
naŋ1
ba:n3
pi1
dɔi1 (น.=ดอย)
จ้วง
naŋ1
ba:n3
pi1
pja1
ไทย
หนัง
บ้าน
ปี
ภูเขา
(2)   คำยืมเก่ากับคำเฉพาะเผ่าพันธุ์ ในภาษาต้งมีคำยืมจากภาษาจีนชุด
หนึ่งเป็นคำยืมเก่า แต่ขณะเดียวกันก็มีคำเรียกที่มีความหมายเหมือนกันนั้นในภาษาต้ง สองคำนี้จึงกลายเป็นคำพ้องความหมายใช้ควบคู่กันไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้  
คำภาษาต้ง
คำยืมภาษาจีนเก่า
ภาษาจีน
ภาษาไทย
mja:i1
ɕin6
线xiàn
เส้น/ไหม
woŋ5+
thoŋ3+
tǒng
ถัง
nuk9
wa1+
huā
ดอก
mje6
ɕaŋ5+
xiǎng
คิด
(3)   คำยืมเก่ากับคำยืมใหม่ ลักษณะเดียวกันกับหัวข้องข้างต้นคือมีคำศัพท์
สองคำที่มีความหมายเหมือนกันและใช้ควบคู่กันไป คำหนึ่งเป็นคำยืมเก่ามักใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ อีกคำหนึ่งเป็นคำยืมใหม่ใช้ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้เรียนภาษาจีน ซึ่งคำยืมเก่านี้อาจเกี่ยวข้องกับคำศัพท์ร่วมเชื้อสายดังที่กล่าวไปแล้วในข้อ 1. ข้างต้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้


คำยืมเก่า
คำยืมใหม่
ภาษาจีน
ภาษาไทย
mjuŋ6
wa:ŋ1
wàng
หวัง
kwak7
kwe2
guó
ก๊ก (ประเทศ)
pak7
pe2
běi
ทิศเหนือ
a1
ko6
เพลง
(4)   คำยืมใหม่ ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม รัฐบาลจีนปกครองและดูแล
ความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศอย่างทั่วถึง ทำให้คำศัพท์เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การศึกษา วิทยาการต่างๆ หลั่งไหลเข้าสู่ภาษาของชนกลุ่มน้อยเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง โดยที่ชนกลุ่มน้อยต่างๆยืมคำศัพท์ภาษาจีนมาจากภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นที่ใกล้เคียง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำภาษาจีน
คำอ่านพินอิน
คำภาษามู่หล่าว
ความหมาย
共产党
gòngchǎndǎng
koN1 tsha:n4 ta:N4
พรรคคอมมิวนิสต์
工厂
gōngchǎng
koN6 tsha:N4
โรงงาน
人民
rénmín
jǝn2 mjǝn2
ประชาชน
革命
gémìng
kjǝ2 mjǝn1
ปฏิวัติ
发展
 fāzhǎn
fa2 tsa:n4
พัฒนา
4. ระบบไวยากรณ์  ภาษาต้งเป็นภาษาคำโดด คำแต่ละคำมีความหมายในตัวเองและใช้ได้โดยอิสระ ไม่มีการเติมหน่วยคำเติมลงในคำเพื่อทำให้เปลี่ยนแปลงหน้าที่หรือลักษณะทางไวยากรณ์ รูปแบบการประกอบคำและประโยคเป็นการนำคำมาเรียงต่อๆกันตามลำดับและโครงสร้างทางไวยากรณ์ โดยมีรูปแบบไวยากรณ์ที่สำคัญๆ ดังนี้ 
          4.1  โครงสร้างประโยคความเดียวพื้นฐาน คือ [ S.V.O ]  ตัวอย่างประโยคเช่น  
ta:u1 lam1+ ja5
เรา    ดำ       นา
เราดำนา

noN4 ȶi1 ǝu4
น้อง   กิน  ข้าว
น้องกินข้าว
ja:u2 tu1 ka3
ฉัน    ถอน  กล้า
ฉันถอนกล้า
ja:u2 sak7 uk8
ฉัน     ซัก    ผ้า
ฉันซักผ้า
          4.2 มีการใช้คำลักษณนาม คำลักษณนามของภาษาต้ง แบ่งเป็นคำลักษณนามสำหรับคำนามและลักษณนามสำหรับคำกริยา  โครงสร้างการใช้คำลักษณนามของคำทั้งสองไม่เหมือนกัน คือ โครงสร้างคำลักษณนามสำหรับคำนามเป็น [ตัวเลข+ลักษณนาม+คำนาม] ส่วนโครงสร้างคำลักษณนามสำหรับคำกริยาเป็น [คำกริยา+ ตัวเลข + ลักษณนาม] การซ้ำคำลักษณนามแสดงความเป็นพหูพจน์ว่า “ทุก~” หรือ “แต่ละ~” ดังตัวอย่างต่อไปนี้  
คำลักษณนามของคำนาม
[ตัวเลข+ลักษณนาม+คำนาม]
ja2 oN1 mǝi4
สอง  ต้น  ไม้
(จ.=mù ,ไม้)
ต้นไม้สองต้น

si5+ tu2 kwe2
สี่    ตัว     ควาย
ควายสี่ตัว
sa:m1+ ta:p9 ǝu4
สาม       หาบ   ข้าว
ข้าวสามหาบ
nan1 nan1*
อัน     อัน
แต่ละอัน/ทุกอัน
คำลักษณนามของคำกริยา
[คำกริยา+ตัวเลข+ลักษณนาม]
pa:i1 sa:m1 ta:u5
ไป      สาม    ครั้ง
(น.=เตื้อ) (อ.=เทือ)
(จ.=tàng)
ไปสามครั้ง

nu5 i1 ta1
ดู  หนึ่ง  ตา
ดูหนึ่งครั้ง
(ดูหน่อยหนึ่ง)
tat7 i1 mja4
ตัด  หนึ่ง   มีด
ฟันหนึ่งมีด
 (ครั้ง)
ta:u5 ta:u5
ครั้ง    ครั้ง
แต่ละครั้ง/ทุกครั้ง
*ในภาษาต้งคำว่า /nan1/ แปลว่า อันออกเสียงคล้ายกับภาษาไทย คือคำว่า หนึ่ง-อัน และคล้ายกับภาษามู่หล่าว /n8«5 at7/ แต่ในภาษามู่หล่าวเกิดการหลอมเสียงเป็น ว่า /n8at7/ แปลว่า “หนึ่งอัน” แต่ว่าเลขหนึ่ง ในภาษาต้งไม่ได้ออกเสียง /n8«5/ แต่ออกเสียงว่า /i1/ “อ้าย(ใช้สำหรับนับเลขหนึ่ง)” หรือ /«t7/  “เอ็ด” (ใช้วางหลังเลขอื่นหรือหลังคำอื่น เช่น   /ɕǝp8  «t7/ สิบเอ็ด” /ȶi6 «t7/ “ที่เอ็ด/ที่หนึ่ง)  
4.3    รูปแบบการใช้คำบ่งชี้ คำสรรพนามประเภทบ่งชี้และคำถามในภาษาต้งจะวางไว้
ตำแหน่งท้ายสุด คือวางไว้ต่อจากส่วนที่ต้องการบ่งชี้หรือต้องการถามถึง หากใช้บ่งชี้คำก็วางไว้หลังคำ ใช้บ่งชี้วลีก็วางไว้หลังวลี  โครงสร้างคือ [ส่วนที่ต้องการบ่งชี้ + คำบ่งชี้ ] ดังตัวอย่างต่อไปนี้  
le2     ȶa5
หนังสือ นั้น
หนังสือนั้น

ja2 tu2 sǝn2 ma:n3+ na:i6
สอง ตัว  วัว     สีเหลือง  นี้
วัวสีเหลืองสองตัวนี้
pǝn3 le2     ȶa5
เล่ม   หนังสือ  นั้น
หนังสือเล่มนั้น
mǝi4 uk9 mǝi5+ ȶa:i4 ȶiu1 na:i6
ตัว     เสื้อ  ใหม่      พี่     ฉัน   นี้  
เสื้อใหม่ของพี่ชายฉันตัวนี้
oŋ1 mǝi4 na:i6
ต้น    ต้นไม้     นี้
ต้นไม้ต้นนี้
ȶak8 nu1+
อัน    ไหน
อันไหน
4.4    การขยายความ การขยายความในที่นี้คือการวางตำแหน่งของคำหลักที่ถูกขยายและ
ตำแหน่งของคำที่ทำหน้าที่ขยายคำอื่น มีรูปแบบต่างๆ  ดังนี้   
การขยายคำนาม คำคุณศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยายคำนามมีทิศทางการขยายไปข้างหลังต่อจาก
คำนามหลัก รูปแบบคือ [คำหลัก + คำขยายตัวอย่างประโยคเช่น  
ตัวอย่าง
ความหมาย

ตัวอย่าง
ความหมาย
uk9 mǝi5+
เสื้อ  ใหม่     
เสื้อใหม่
mǝi4 pha:ŋ1+
ต้นไม้   สูง
ต้นไม้สูง
sǝn2 la:u4
วัว     ใหญ่
วัวใหญ่
sǝn2 ma:n3+
วัว     เหลือง
วัวเหลือง
การขยายคำคุณศัพท์และคำกริยา  คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์และคำกริยาที่
แปลว่า “มาก” มีสองคำ คือ /kuŋ2/ โครงสร้างการใช้คำคือ วางไว้หลังต่อจากคำที่ต้องการขยายเหมือนอย่างการขยายคำนาม  และมีอีกคำหนึ่งเป็นคำยืมจากภาษาจีนคือคำว่า hěn ภาษาต้งออกเสียงว่า /hǝn4/ ซึ่งโครงสร้างการใช้คำก็เป็นแบบภาษาจีน คือ วางไว้หน้าคำที่ต้องการขยาย รูปแบบคือ [คำวิเศษณ์ + คำคุณศัพท์/คำกริยาตัวอย่างคำเช่น   




ตัวอย่าง
ความหมาย

ตัวอย่าง
ความหมาย
คำต้ง
ไวยากรณ์ต้ง
/kuŋ2/
hoi5+ kuŋ2
เร็ว       มาก
เร็วมาก
ni5 kuŋ2
เล็ก  มาก
เล็กมาก
la:i1 kuŋ2
หลาย  มาก
เยอะมาก
ja:k9 kuŋ2
อยาก   มาก
อยากมาก
คำยืมจีน
ไวยากรณ์จีน
/hǝn4/
hǝn4 ka:i1
มาก   ไกล
ไกลมาก
hǝn4 ɕa:ŋ5+ (จ.=xiǎng คิด,อยาก)
มาก   อยาก
อยากมาก
hǝn4 la:i1
มาก    ดี
ดีมาก
hǝn4 ja:k9 nam4
มาก  อยาก  น้ำ
หิวน้ำมาก
                    เหตุที่มีคำศัพท์ภาษาต้งและคำยืมจากภาษาจีนใช้ควบคู่กันไปนั้น เมื่อใช้คำภาษาต้งจะใช้ระบบไวยากรณ์แบบภาษาต้ง เมื่อใช้คำยืมจากภาษาจีนก็ใช้ระบบไวยากรณ์จากภาษาจีน แต่บางครั้งก็ใช้สลับสับสนกันไปมาก็มี ดังตัวอย่าง  
คำจีน /hǝn4/ ไวยากรณ์จีน

หรือพูดว่า
คำจีน /hǝn4/ ไวยากรณ์ต้ง
hǝn4 la:i1  ดีมาก
มาก    ดี
la:i1  hǝn4 ดีมาก
 ดี      มาก
4.5    การแสดงความเป็นเจ้าของ รูปประโยคของการแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาต้งใต้
คือ [ส่วนที่ถูกเป็นเจ้าของ + เจ้าของ] แต่ภาษาต้งเหนือใช้คำยืมและรูปประโยคแบบภาษาจีน คือคำว่า de “ของ” โครงสร้าง [เจ้าของ + /tji6/ + ส่วนที่ถูกเป็นเจ้าของ] ซึ่งรูปแบบนี้สาสามารถละคำแสดงความเป็นเจ้าของก็ได้ ในขณะที่ก็ยังมีบางถิ่น คำที่ยืมมาจากภาษาจีน  /tji6/ แปรเป็น  /li6/ แต่รูปแบบยังคงใช้แบบจีน อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงคำที่ยืมมาจากภาษาจีน ทั้งภาษาต้งใต้และต้งเหนือจะเลือกใช้ทั้งคำและรูปประโยคแบบภาษาจีน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ต้งใต้
[ส่วนที่ถูกเป็นเจ้าของ + เจ้าของ]
pu4 ja:u2
พ่อ  ฉัน
พ่อของฉัน
ja:n2 pu4
บ้าน  พ่อ
บ้านของพ่อ
ต้งเหนือ
[เจ้าของ ± /tji6/ +
ส่วนที่ถูกเป็นเจ้าของ]
ja:u2  (tji6) noŋ4
ฉัน      ของ  น้อง
น้อง(ของ)ฉัน
ja:u2  (li6) ja:n2
ฉัน      (ของ)  บ้าน
บ้าน(ของ)ฉัน
ต้งใต้ / ต้งเหนือ (คำยืมภาษาจีน)
[เจ้าของ ± /tji6,li6/ +
ส่วนที่ถูกเป็นเจ้าของ]
ta:u1 (tji6) kwe6 ȶa6*
เรา     (ของ)  ประเทศ
* (.=国家Guójiā)
ประเทศ(ของ)เรา
4.6    ประโยคเปรียบเทียบ ภาษาต้งมีโครงสร้างประโยคเปรียบเทียบสองแบบ คือ
(1)      แบบที่ใช้คำว่า /ta6/ “กว่า” รูปแบบประโยค [A + คุณศัพท์ + /ta6/ + B]
(คำและรูปแบบนี้เหมือนกับภาษามู่หล่าวและภาษาไทอื่นๆ
(2)      แบบที่ใช้คำว่า bǐ “กว่า”  ซึ่งยืมมาจากภาษาจีน ภาษาต้งออกเสียงว่า /pi3/ ซึ่ง
ยืมทั้งคำและรูปแบบ  คือ [A + /pi3/ +B +คุณศัพท์]  และหากการเปรียบเทียบนั้นมีคำบอกปริมาณต่อท้าย ก็จะมีโครงสร้างเป็นอีกแบบ คือ [A + คุณศัพท์ + B + คำบอกปริมาณ] ซึ่งก็เป็นรูปประโยคแบบภาษาจีนเช่นกัน  ดังตัวอย่างต่อไปนี้     
ภาษาต้ง  
[A + คุณศัพท์ + /ta6/ + B]
oŋ1 mǝi4 nai6 pha:ŋ1+ ta6 oŋ1 ȶa5
ต้น  ไม้      นี้     สูง         กว่า  ต้น   นั้น
ต้นไม้นี้สูงกว่าต้นนั้น   
คำยืมภาษาจีน “กว่า”
[A + /pi3/ +B +คุณศัพท์]  
ma:u6 pi3 ȵa2 jaŋ3+
เขา       กว่า  เธอ แข็ง
“เขาแข็งแรงกว่าเธอ”
รูปประโยคภาษาจีน
[A + คุณศัพท์ + B + คำบอกปริมาณ]
ja:u2 pha:ŋ1+ ȵa2 ŋo2 sǝn5+(จ.=cùn)
ฉัน     สูง           เธอ   ห้า   นิ้ว
“ฉันสูงกว่าเธอห้านิ้ว”
                   4.7 การบอกตำแหน่ง โครงสร้างของคำบอกตำแหน่ง เช่น บน ล่าง หน้า หลัง ซ้าย ขวา คำเหล่านี้จะวางไว้หน้าคำนามหรือสรรพนาม รูปแบบคือ [คำบอกตำแหน่ง + คำนาม/สรรพนาม] ดังตัวอย่างต่อไปนี้      
wu1 ȶǝn2
บน   ภูเขา
บนภูเขา

ke1 ȵa2
ข้าง  แม่น้ำ
ข้างแม่น้ำ
ta5 ȵa:n1
กลาง  เดือน
กลางเดือน
ȵa:u6 wu1 ȶa5
อยู่     บน   นั้น
อยู่บนนั้น
4.8  โครงสร้างประโยคที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน รูปประโยคความเดียวที่ภาษาต้ง
แตกต่างจากภาษาอื่นในตระกูลไท ที่พบคือโครงสร้างที่ภาษาตระกูลไทเป็นประโยคที่ไม่ต้องการกรรมมารับ คือ [ประธาน+กริยา + Ø ] แต่ภาษาต้งใช้รูปประโยคแบบไม่มีประธาน คือ [ Ø + กริยา+กรรม] ซึ่งโครงสร้างแบบดังกล่าวนี้เป็นแบบเดียวกันกับภาษาจีน ดังตัวอย่างต่อไปนี้     
tok7 pjǝn1
ตก   ฝน
ฝนตก

tǝŋ5 mǝn1
มืด    วัน
ฟ้ามืด
5.      ภาษาถิ่น
นักวิชาการจีนอาศัยเกณฑ์วงคำศัพท์ และข้อเปรียบต่างบางประการของระบบเสียงและไวยากรณ์แบ่ง
ภาษาต้งออกเป็นสองถิ่น เรียกว่า ภาษาต้งถิ่นเหนือและภาษาต้งถิ่นใต้ การสำรวจเมื่อปี 1958 (ปีที่จัดทำหนังสือ “ปริทรรศน์ภาษาต้ง”:อ้างแล้ว) มีจำนวนประชากรต้งใต้ 5 แสนคน ประชากรต้งเหนือ 3 แสนคน และการสำมะโนประชากรจีนครั้งที่ 5 ปี 20000 พบว่ามีประชากรชาวต้งเพิ่มขึ้นเป็น 2,960,293 คน ในจำนวนนี้ มีประชากรชาวต้งเหนือราว 1 ล้านคน(Baidu Baike:2015) ภายในภาษาถิ่นทั้งสองยังแบ่งภาษาถิ่นย่อยได้อีกถิ่นละ 3 ถิ่นย่อย โดยใช้เกณฑ์เรื่องระบบเสียงดังนี้
           5.1 ภาษาต้งเหนือ แบ่งเป็นสามถิ่นย่อยดังนี้
(1)   ถิ่นย่อยที่หนึ่ง พูดอยู่ที่ มณฑลกุ้ยโจว ในเขตตำบลสือต้ง(石洞Shí dòng) ของอำเภอ
เทียนจู้ (天柱tiān zhù) อำเภอซานซุ่ย(三穗sān suì) และอำเภอเจี้ยนเหอ (剑河jiàn hé)
(2)   ถิ่นย่อยที่สอง พูดอยู่ที่ มณฑลกุ้ยโจว ในเขตตำบลจู้ซี (Zhù xī) ของอำเภอเทียนจู้
( tiān zhù) และมณฑลหูหนาน ในเขตอำเภอซินห่วง(新晃Xīn huǎng)
(3)   ถิ่นย่อยที่สาม พูดอยู่ที่มณฑลกุ้ยโจว ในเขตตำบลต้าถง (大同Dàtóng) ของอำเภอ
จิ่นผิง (锦屏jǐn píng) และอำเภอจิ้งเซี่ยน (靖县jìng xiàn) ของมณฑลหูหนาน  
  5.2 ภาษาต้งใต้ แบ่งเป็นสามถิ่นดังนี้
(1) ถิ่นย่อยที่หนึ่ง พูดอยู่ที่ อำเภอหรงเจียง(榕江Róng jiāng) และจิ่นผิง (锦平Jǐn píng)
ของมณฑลกุ้ยโจว  อำเภอทงต้าว(通道Tōngdào) ของมณฑลหูหนาน อำเภอหลงเซิ่ง(龙胜Lóng shèng) และตำบลตู๋ถง(Dú dòng) อำเภอซานเจียง(三江Sānjiāng) ของมณฑลกว่างซี
(2) ถิ่นย่อยที่สอง พูดอยู่ที่อำเภอหลีผิง(黎平Lípíng) อำเภอฉงเจียง(从江Cóng jiāng)
ของมณฑลกุ้ยโจว และ ตำบลเหอหลี่(和里Hé lǐ) อำเภอซานเจียงของ ของมณฑลกว่างซี
(3) ถิ่นย่อยที่สาม พูดอยู่ที่อำเภอหรงสุ่ย(融水Róng shuǐ) และอำเภอเจิ้นหย่วน(镇远
Zhènyuǎn) ของมณฑลกว่างซี  
            5.3 เกณฑ์การแบ่งภาษาต้งถิ่นเหนือและถิ่นใต้
                   5.3.1 เกณฑ์ระบบเสียง
                    (1) ในอดีตภาษาต้งเหนือและต้งใต้เคยมีการเปรียบต่างของเสียงสระสั้นยาว แต่ปัจจุบันลักษณะดังกล่าวไม่ชัดเจน แทบจะสูญหายไปแล้ว แม้จะยังพอมีหลักฐานอยู่ในคำบางคำ แต่ก็เป็นคำต้องสงสัยว่าเป็นคำยืมจากภาษาจีน
                   (2) มีการปฏิภาคของเสียงสระ/ǝ/ ในภาษาต้งเหนือ กับสระ /a/ ในภาษาต้งใต้
                   (3) มีการปฏิภาคของหางสระ(พยัญชนะท้าย) /Ɂ/ ในภาษาต้งเหนือ (ถิ่นซินห่วง เทียนจู้      จิ่นผิงออกเสียงเป็น -Ɂ / ถิ่นจิ้งเซี่ยน ออกสียงเป็น -t ) กับหางสระ /k/ ในภาษาต้งใต้
ตัวอย่างเสียงปฏิภาค
ในภาษาต้งเหนือกับต้งใต้
ตั่ง
(จ.=dèng)
จำนำ
(จ.=dàng)
เช้า
ฝน(มีด)
อก*
ต้งเหนือ
สั้น
taŋ5
taŋ5
sǝm1+
pǝn2
taɁ7
ยาว





ต้งใต้
สั้น
taŋ5

sam1+
pan2
tak7
ยาว

ta:ŋ5



          * คำนี้น่าสนใจมาก เนื่องจากพบคำในภาษาต้งบางคำที่ออกเสียงคล้ายกับคำภาษาไทย แต่ความหมายคลาดเคลื่อนกัน เช่น คำว่า /tak7/ คล้ายกับคำว่า “ตัก” ในภาษาไทย แต่ภาษาต้งหมายถึง “อก” คำว่า /ja:i3/ คล้ายกับคำว่า “ใหญ่” ในภาษาไทย แต่ภาษาต้งหมายถึง “ยาว” แต่คำที่แปลว่า “ใหญ่” มีสองคำคือ /ma:k9/ กับ /la:u4/ ซึ่งคำว่า /la:u4/  คล้ายกับคำภาษาจีนว่า lǎo แต่คำนี้ภาษาจีนแปลว่า  “แก่”   
5.3.2 เกณฑ์วงคำศัพท์ ข้อมูลจากหนังสือ “ปริทรรศน์ภาษาต้ง” ระบุว่าจากการเก็บข้อมูล
คำศัพท์ในปี ค.ศ. 1956 ได้เก็บข้อมูลคำศัพท์จาก 20 ชุมชน แล้วเลือกชุมชนที่มีลักษณะเด่นมาเป็นตัวแทน 8 ชุมชน แล้วเปรียบเทียบคำศัพท์ที่ใช้บ่อยจำนวน 1500 คำศัพท์ จากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์และความแตกต่างของระบบเสียง คำศัพท์ และไวยากรณ์ จนสามารถแบ่งภาษาต้งออกเป็นถิ่นเหนือและใต้
จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ภายในภาษาถิ่นต้งเหนือมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างของวงคำศัพท์ระหว่างกันของแต่ละชุมชนค่อนข้างสูง น้อยที่สุดคิดเป็น 18.4% มากที่สุดคิดเป็น 22.1% ค่าเฉลี่ยของ วงคำศัพท์ที่สัมพันธ์กันในภาษาถิ่นต้งเหนือคิดเป็น 80.1
           ภายในภาษาถิ่นต้งใต้ ความแตกต่างของวงคำศัพท์ระหว่างกันของแต่ละชุมชนน้อยกว่าภาษาถิ่นต้งเหนือ น้อยที่สุดคิดเป็น 4.2% มากที่สุดคิดเป็น 12.7% ค่าเฉลี่ยของวงคำศัพท์ที่สัมพันธ์กันในภาษาถิ่นต้งใต้คิดเป็น 93%
          ส่วนค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างกันของภาษาถิ่นต้งเหนือกับถิ่นต้งใต้ อยู่ระหว่าง 24.6%-35.3%  ข้อบ่งชี้ความแตกต่างที่ชัดเจนคือ ถิ่นต้งเหนือและต้งใต้ต่างฝ่ายต่างมีคำศัพท์เฉพาะถิ่นชัดเจน นอกจากนี้ภาษาถิ่นต้งเหนือมีคำยืมจากภาษาจีนมากกว่าภาษาถิ่นต้งใต้  ตัวอย่างคำศัพท์ต่อไปนี้เป็นตัวแทนภาษาถิ่นต้งใต้อำเภอหรงเจียง กับตัวแทนภาษาถิ่นต้งเหนือ อำเภอจิ่นผิง     

คำศัพท์เฉพาะถิ่น
คำศัพท์เฉพาะถิ่นกับคำยืมภาษาจีน
จีน
rén
yào
yán
qián
xióng
yīn
làn
màn
เหนือ
pu1
sa2
pau2
kho1+
ȶiŋ2
ɕǝŋ2
khu1
jǝn4
lan2
men6
ใต้
muŋ4
ǝm3
ko1
ja:u3+
ȵip9
me1
so5
wom5
lui2
an1
อ.=



ย่าน


ส่ง
ฮ่ม


ไทย
คน
ยา
เกลือ
กลัว
แหนบ
หมี
กางเกง
ร่ม(ไม้)
ลุ่ย
ช้า
                    5.3.3 เกณฑ์ไวยากรณ์ พบความแตกต่างของระบบไวยากรณ์บางอย่างเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งระบบ
แต่ส่วนที่ต่างนั้นพบว่าภาษาต้งเหนือมีแนวโน้มเหมือนกับภาษาจีน ภาษาต้งใต้มีแนวโน้มมาทางภาษาอื่นๆในตระกูลไท  ดังนี้
                   (1) การแสดงความเป็นเจ้าของ ภาษาต้งเหนือใช้ว่า [เจ้าของ + นามที่ถูกเป็นเจ้าของซึ่งเหมือนกับภาษาจีน ส่วนภาษาต้งใต้ใช้ว่า [นามที่ถูกเป็นเจ้าของ + เจ้าของ]  ซึ่งเหมือนกับภาษาตระกูลไท
                   (2) การใช้คำลักษณนาม คำลักษณนามที่ใช้กับคำเรียกญาติ ภาษาต้งเหนือต้องมีคำลักษณนาม แต่ภาษาต้งใต้สามารถละคำลักษณนามได้
                   (3) การใช้สรรพนามที่มีคำบอกจำนวน ภาษาต้งเหนือมีรูปแบบเดียวคือ [สรรพนาม + เลข + ลักษณนาม] แต่ภาษาต้งใต้สามารถพูดได้หลายรูปแบบซึ่งมีความสับสนมาก ทั้งแบบที่เหมือนภาษาตระกูลไทและแบบที่เหมือนภาษาจีนรวมทั้งยังสามารถละหรือมีคำลักษณนามได้ด้วย      
1.การแสดง
ความเป็นเจ้าของ
เหนือ
jau2 ȶa3  “พ่อของฉัน
ฉัน   พ่อ
jau2 ja:n2บ้านของฉัน
ฉัน   บ้าน
ใต้
pu4 jau2พ่อของฉัน
พ่อ  ฉัน
ja:n2 jau2บ้านของฉัน
บ้าน  ฉัน
2.การใช้
คำลักษณนาม
เหนือ
i1 wu1 ȶa:i1   พี่ชาย 1 คน  
หนึ่ง  คน พี่            
ja2 pu1 noŋ4น้อง 2 คน
สอง  ผู้     น้อง
ใต้
i1 ȶa:i1   พี่ชาย 1 คน  
หนึ่ง  พี่            
ja2 noŋ4น้อง 2 คน
สอง  น้อง
3.การใช้
สรรพนาม
ที่มีคำ
บอกจำนวน
เหนือ
ɕa:u1+ sa:m1 pu1พวกคุณสามคน
พวกเจ้า   สาม     ผู้
ไม่สามารถพูดแบบอื่นได้
ใต้
sa:m1+ ɕa:u1+  พวกคุณสามคน
สาม       พวกเจ้า
ɕa:u1+ sa:m1 muŋ4
พวกเจ้า   สาม      คน
พวกคุณสามคน

sa:m1+ muŋ4 ɕa:u1+ 
สาม       คน        พวกเจ้า
พวกคุณสามคน

ระบบการเขียนอักษรภาษาต้ง
          ชาวต้งไม่มีตัวหนังสือเป็นของตนเอง นับแต่อดีตเป็นต้นมาปราชญ์ชาวต้งที่มีโอกาสได้เรียนหนังสือจีนใช้อักษรจีนในการจดบันทึกภาษาต้ง ซึ่งวิธีการจดบันทึกน่าสนใจมาก ดังนี้
          1.ใช้อักษรจีนที่ออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาต้งในการจดบันทึก เมื่ออ่านออกเสียงก็จะอ่านอย่างคำภาษาต้ง โดยไม่คำนึงถึงความหมายตามตัวอักษรจีนนั้น เช่น อักษร高锦Gāo jǐn จดคำภาษาต้งว่า /ka:u3 ȶǝn2/ “ภูเขา” อักษร Xiāo จดคำภาษาต้งว่า / ɕa:u1+/ “เจ้า(สรรพนามบุรุษที่2)”
          2.ใช้อักษรจีนจดความหมายในภาษาต้ง คือ เลือกอักษรจีนที่มีความหมายเดียวกันกับภาษาต้งมาจดบันทึกภาษาต้ง ลักษณะเช่นนี้เมื่อคนจีนอ่านก็จะอ่านตามเสียงภาษาจีนแต่ไม่ใช่ไวยากรณ์แบบจีน เป็นไวยากรณ์แบบต้ง ในขณะที่ชาวต้งอ่านจะอ่านโดยการแปลจากอักษรที่เห็นนั้นออกเสียงเป็นคำภาษาต้ง เช่นอักษร คนจีนอ่านว่า Fēng คนต้งอ่านว่า /lǝm2/ “ลม” อักษร คนจีนอ่าน tiāo คนต้งอ่าน /ta:p9/ เลือก
          3.ใช้วิธีการประสมพยัญชนะสระโดยใช้อักษรจีน อย่างที่ภาษาจีนเรียกว่า反切fǎnqiè [7]  เช่นคำภาษาต้งว่า /ȵa2/ “เธอ” ใช้วิธี反切fǎnqiè ว่า /尼亚ní yǎ/ เสียงอ่านที่ได้คือ /na/ คำภาษาต้งว่า /ȶha:m3+/ “เดิน” ใช้วิธี反切fǎnqiè ว่า /其阿姆Qí ā mǔ/ เสียงอ่านที่ได้คือ /qam/ เป็นต้น
          วิธีทั้งสามสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของบรรพบุรุษชาวต้งที่จะสร้างภาษาเขียนขึ้น  แต่เนื่องจากวิธีทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของอักษรจีน ความที่ไม่สามารถใช้แทนเสียง แทนความหมาย หรือใช้ได้อย่างมีระบบระเบียบ  อีกทั้งชาวต้งน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้เรียนอักษรจีน ทำให้วิธีข้างต้นไม่เป็นที่นิยมใช้แพร่หลาย 
          ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมจีนเป็นต้นมา  มีการทำงานเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยอย่างกว้างขวางและหลากหลายด้าน ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1955 การประชุมคณะวิชาการทางภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ได้กำหนดแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับภาษาของชนกลุ่มน้อยขึ้น และเริ่มดำเนินงานด้านการสำรวจภาษาต่างๆ  กระทั่งเดือนกันยายน ปี ค.ศ.1957 ได้มีการประชุมคณะทำงานเกี่ยวกับภาษาต้งขึ้นที่กุ้ยหยาง และเริ่มดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างอักษรภาษาต้งจนเป็นผลสำเร็จ และมีมติยอมรับในการประชุมคณะทำงานอีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1958 ระบบการเขียนนี้ใช้อักษรโรมัน และยึดระบบเสียงของภาษาต้งใต้สำเนียงชุมชนเชอเจียง(车江Chē jiāng) อำเภอหรงเจียง (榕江Róng jiāng)เป็นเสียงมาตรฐาน ระบบการเขียนภาษาต้งในปัจจุบันเป็นดังนี้ (โอวเฮิงหยวน:2004)
พยัญชนะ มี 32 เสียง ในจำนวนนี้ เสียง f, z, c, zh, ch, sh, r เป็นเสียงที่มาจากคำยืมภาษาจีน ดังนี้
อักษรต้ง
IPA
อักษรต้ง
IPA
อักษรต้ง
IPA
อักษรต้ง
IPA
เสียงคำยืม
ภาษาจีน
p
b
t
d
ʨ
j
k
g
ʈʂ
zh
p
t
ʨʰ
q
k
ʈʂʰ
ch
m
m
n
n
ȵ
ny
ŋ
ng
ʂ
sh
w
w
s
s
ɕ
x
h
h
ɻ
r
bi
l
l
j
y
gu
f
f
pʰʲ
pi
li
kʷʰ
ku
ʦ
z
mi
ŋʷ
ngu
ʦʰ
c
          สระ มี 64 เสียง ในจำนวนนี้มีเสียงสระคำยืมภาษาจีนอยู่ 14 เสียง เฉพาะเสียงสระภาษาต้งแสดงในตารางต่อไปนี้
อักษรต้ง
อักษรต้ง
อักษรต้ง
อักษรต้ง
อักษรต้ง
อักษรต้ง
อักษรต้ง
a
a
ə
e
e
ee
i
i
o
o
u
u/uu
aj
ai
əj
ei
oj
oi
uj
ui
aw
ao
ew
eeu
iw
iu
ow
ou
am
am
ɐm
aem
əm
em
em
eem
im
im
om
om
um
um
an
an
ɐn
aen
ən
en
en
een
in
in
on
on
un
un
ang
ɐŋ
aeng
əŋ
eng
eeng
ing
ong
ung
ap
ab
ɐp
ab
əp
eb
ep
eb
ip
ib
op
ob
up
ub
at
ad
ɐt
ad
ət
ad
et
ed
it
id
ot
od
ak
ag
ɐk
ag
ək
eg
ek
eg
ik
ig
ok
og
uk
ug

          วรรณยุกต์ ดังที่กล่าวมาข้างต้นในเรื่องเสียงวรรณยุกต์ภาษาต้งว่ามีความซับซ้อนมาก  ความสั้นยาวของสระประกอบกับเสียงหางสระมีผลต่อระดับเสียงวรรณยุกต์โดยตรง ทำให้ภาษาต้งมีเสียงวรรณยุกต์มากถึง 15 เสียง  แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า ระดับสูงต่ำและการหักเหของระดับเสียงในคำสระเปิดกับคำสระปิดบางเสียงใกล้เคียงกันมาก เมื่อจับคู่เสียงที่ใกล้เคียงกันแล้วจะทำให้เสียงวรรณยุกต์เหลือเป็น 9 เสียง ดังนั้นในระบบเขียนอักษรภาษาต้งจะใช้อักษรโรมันเขียนกำกับเสียงวรรณยุกต์ไว้ท้ายคำ 9 ตัวอักษร ดังนี้
ระดับเสียง
55
35
เปิด212
ปิด 21
323
13
31
53
453
33
สัญลักษณ์
-l
-p
-c
-s
-t
-x
-v
-k
-h
สระเปิด

เลขวรรณยุกต์
1
1+
2
3
3+
4
5
5+
6
ตัวอย่างคำ
bal
pap
bac
bas
qat
miax
bav
pak
bah
ความหมาย
ปลา
สีเทา
คราด
ป้า
เบา
มีด
ใบ
แตก
รำข้าว
สระปิด

เลขวรรณยุกต์
7
7+
8
9
9+
10
ตัวอย่างคำ
bedl
sedp
medc
bads
pads
bagx
ความหมาย
เป็ด
เจ็ด
มด
ขันน้ำ
เลือด
ขาว

ตัวอย่างการเขียนอักษรภาษาต้ง

gail
naih
jangs
Leecl
Gaeml
Gaeml 
daol
meec 
beds

อัน
นี้
เป็น
อักษร
กัม(ต้ง)
ต้ง
เรา
มี
แปด
xebc
weenh 
nyenc
nyaoh
Guiv Xul
Fuc Namc
Guuangs Xih
Fuc Beec 


สิบ
หมื่น
คน
เนา(อยู่)
กุ้ยโจว
หูหนาน
กว่างซี
หูเป่ย



บทสรุป
          บทความนี้เป็นบทความเชิงพรรณนาลักษณะของภาษาต้ง ในมุมมองของนักวิชาการจีน ภาษาต้งเป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อยของจีนชื่อ ต้ง หรือ กัม มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศจีน นักวิชาการจีนยังคงจัดภาษาต้งไว้ในภาษาตระกูลใหญ่จีน–ทิเบต สาขาจ้วง-ต้ง แขนงต้ง-สุ่ย แต่นักภาษาศาสตร์ปัจจุบันแยกภาษาตระกูลไทออกมาจากตระกูลใหญ่จัน-ทิเบตแล้ว ภายในตระกูลไทแบ่งเป็นภาษาไทแท้ ภาษาที่ใกล้ชิดกับภาษาไทและภาษาที่เกี่ยวข้องกับตระกูลไท ภาษาต้งที่กล่าวถึงในบทความนี้จัดเป็นภาษาที่ใกล้ชิดกับตระกูลไท เป็นระดับความสัมพันธ์แบบลูกพี่ลูกน้องกับภาษาไทแท้ นักภาษาศาสตร์เรียกชื่อว่า ตระกูลกัม-สุ่ย  คำว่า “กัม” ก็มีที่มาจากชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของภาษาต้งนั่นเอง  ซึ่งในการจัดแขนงภาษาของนักวิชาการจีน ก็มีแขนงต้ง-สุ่ย  ซึ่งก็ตรงกับตระกูลกัม-สุ่ย ที่แยกออกมานี้เอง
          จากการจัดตระกูลภาษาแบบนักวิชาการจีน จะเห็นว่าในระดับแขนง มีจ้วง-ไต ต้ง-สุ่ย และหลี ซึ่งในแขนงจ้วง-ไต มีภาษาจ้วง ภาษาไต และภาษาปู้อี ทั้งสามภาษานี้มีระบบเสียง วงคำศัพท์ ไวยากรณ์ใกล้ชิดกันมากพื้นที่อยู่อาศัยก็ใกล้ชิดกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาต้งซึ่งเป็นคนละแขนง แม้จะมีลักษณะร่วมของภาษาไทอยู่ คือ มีเสียงพยัญชนะท้าย มีเสียงวรรณยุกต์ มีคำศัพท์ร่วมเชื้อสายส่วนหนึ่ง แต่ก็จะเห็นความแตกต่างในเรื่องของวงคำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ที่ไม่ร่วมเชื้อสาย ตลอดจนระบบไวยากรณ์ที่สามารถแยกออกมาจากแขนงจ้วง-ไตได้ชัดเจน        
         
บรรณานุกรม
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2554) สารานุกรมชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. อุบลราชธานี:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 365 หน้า.  
สุริยา  รัตนกุล.(2548) นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท.กรุงเทพฯ:สหธรรมิก.
欧亨元.(2004) 《侗汉词典》(Cic deenx Gaeml Gax); 北京, 民族出版社。(โอวเฮิงหยวน.(2004)
          พจนานุกรมภาษาต้ง-ฮั่น.ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ชนเผ่า.)
欧阳觉亚,郑贻青(1980) 《黎语简志》民族出版社,北京(โอวหยางเจวี๋ยย่า, เจิ้งอี๋ชิง.
          (1979) ปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว.สำนักพิมพ์ชนชาติ, ปักกิ่ง.)  
王均,郑国乔. (1979)《仫佬语简志》民族出版社,北京(หวางจวิน, เจิ้งกว๋อเฉียว. (1979)   ปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว.สำนักพิมพ์ชนชาติ, ปักกิ่ง.)
中国百度百科网。(2015)《侗族》网站:http://baike.baidu.com/view/4133.htm
搜索日期:2015526日。(Zhongguo Baidu Baike.(2015)กลุ่มชาติพันธุ์ต้ง.
[เว็บไซต์] เข้าถึงได้ทาง http://baike.baidu.com/view/4133.htm สืบค้นเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม
2558.)
Long, Y., Zheng, G., & Geary, D. N. (1998). The Dong language in Guizhou Province, China.
          Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington publications
          in linguistics, publication 126. Dallas, TX: Summer Institute of Linguistics.






[1] ชื่อมณฑลกุ้ยโจวนี้ ในเอกสารต่างๆมีชื่อเรียกต่างกันหลายชื่อ เช่น ไกวเจา, Kweichow, Guizhou คือชื่อเดียวกัน หมายถึง มณฑลกุ้ยโจว (贵州 Guìzhōu)
[2] คำเรียกชื่อนี้น่าสนใจ เนื่องจากมีหลายภาษาในตระกูลไทเรียกชื่ออย่างภาษาไทกลุ่ม ป.และภาษาไทกลุ่ม พ.ว่า ว่า “กำ (กัม)” หรือ “คำ” เช่น กำเมือง (คำเมือง,ภาษาไทยถิ่นเหนือ) กำตี่(คำตี่,ภาษาตระกูลไทในอินเดียและพม่า) กำยัง (คำยัง,ภาษาตระกูลไทในอินเดีย) 
[3] ผู้เขียนเรียกชื่อว่า สุ่ย เพราะออกเสียงตามอักษรจีนที่เรียกภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า Shuǐ
[4] การวิเคราะห์ระบบเสียงสระแบบจีน ส่วนที่อยู่ถัดจากพยัญชนะต้นนับเป็นเสียงสระทั้งหมด เช่น คำว่า tian  เสียงสระทั้งหมดของคำนี้คือ   /ian/ เสียง /t/ เป็นพยัญชนะต้น ในสระทั้งหมดของคำๆนี้ เสียง /i/ เป็นหัวสระ(韵头yùntóu) เสียง /a/ เป็นท้องสระ (韵腹yùn fùและเสียง /n/ เป็นหางสระ (韵尾yùnwěi)   
[5] การแบ่งประวัติศาสตร์เสียงภาษาจีนโบราณมีสองยุคคือ ภาษาจีนยุคก่อนประวัติศาสตร์ (หมายถึงช่วงเวลานับตั้งแต่ 1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล ) ภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์(หมายถึงช่วงเวลา ค.ศ. 420 - 927
[6] ภาษาจีนโบราณออกเสียงว่า [krim] ภาษาจีนถิ่นกว่างโจว [kam1] ภาษาถิ่นหมิ่นหนาน [gim1] ภาษาถิ่นแคะ [gim1] ข้อมูลนี้สืบค้นจากเว็บไซต์ชื่อ 汉语方言发音字典Hànyǔ fāngyán fāyīn zìdiǎn “พจนานุกรมเสียงภาษาถิ่นจีน” เข้าถึงได้ทาง http://cn.voicedic.com/   
[7] 反切fǎnqiè คือวิธีการจดเสียงอ่านอักษรจีนในสมัยโบราณ เนื่องจากอักษรจีนเป็นลักษณะของอักษรภาพ ไม่มีเสียงอ่าน หากไม่เคยเรียนมาก่อนก็จะไม่สามารถอ่านอักษรตัวนั้นได้ จึงมีการคิดวิธีจดเสียงอ่านขึ้น เรียกชื่อว่า反切fǎnqiè สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในยุคที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในประเทศจีน    คือยุคเว่ยจิ้น หนานเป่ย (魏晋南北朝Wèi jìn nánběicháo) เพื่อจดคำอ่านอักษรธรรม อีกกระแสหนึ่งเชื่อว่า เกิดขึ้นในช่วงปลายยุคตงฮั่น (东汉末年Dōnghàn mò nián) โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤต มีการใช้反切fǎnqiè ปรากฏในหนังสือภาษาศาสตร์จีนโบราณชื่อ 《尔雅音义Ěr yǎ yīnyì ผู้เขียนชื่อ 孙炎Sūn Yán เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเสียงและความหมายของภาษาจีน นักภาษาศาสตร์จีนถือว่านักอักษรศาสตร์จีนโบราณท่านนี้เป็นผู้ประดิษฐ์และริเริ่ม反切fǎnqiè วิธีการจดเสียงอ่านแบบ反切fǎnqiè นี้ทำโดยเลือกอักษรจีนสองตัวเขียนต่อกัน ตัวแรกแทนเสียงพยัญชนะต้น และตัวที่สองแทนเสียงสระและวรรณยุกต์ เช่นคำว่า เสียงอ่านปัจจุบัน Qīng เสียงอ่าน 反切fǎnqiè  คือ 仓经Cāng jīng qiè  ดังนั้นเสียงอ่านโบราณคำนี้คือ /cing/  เอกสารการจดเสียงคำอ่านอักษรจีน反切fǎnqiè นี้นี่เองที่นักภาษาศาสตร์ปัจจุบันใช้เป็นหลักฐานในการสืบสาวเสียงโบราณของภาษาจีน