วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ร้อยเพลง “รักชาติ” จีน

เมชฌ สอดส่องกฤษ เรียบเรียง



สงครามกลางเมือง (Chinese Civil War) ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรค กว๋อ หมิน ตั่ง (ชื่อที่ชาวไทยรู้จักคือ ก๊กมินตั๋ง ชื่อทางการว่า : พรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีน) สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1949 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจบลงด้วยการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนพรรคกว๋อ หมิน ตั่ง ได้เข้าปกครองไต้หวัน และเกาะบางเกาะในมณฑลฝูเจี้ยน และในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949 เหมาเจ๋อตง ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์


การดำเนินนโยบายของรัฐบาลจีนภายหลังการปฏิวัติการปกครอง โดยการนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การโน้มน้าว ปลูกฝังให้ประชาชนยอมรับ ศรัทธา เชื่อมั่นและรักในระบอบคอมมิวนิสต์ ตลอดจนคณะปฏิวัติ ที่สามารถนำพาปวงชนชาวจีนให้หลุดพ้นจากการถูกกดขี่ข่มเหงของระบบศักดินาในอดีต นโยบายสำคัญอย่างหนึ่งที่รัฐบาลใช้ก็คือ “เพลง” เนื่องจากเพลงเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ง่ายและลึกซึ้ง สิ่งที่รัฐบาลต้องการบอกกับประชาชน สามารถส่งผ่านเนื้อเพลงได้อย่างครบถ้วนและได้ผลดีเยี่ยม เพลงในลักษณะนี้ ภาษาจีนเรียกว่า อ้าย กว๋อ เกอ (爱国歌) หมายถึง “เพลงรักชาติ” ซึ่งหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นต้นมา มีเพลงในลักษณะนี้เกิดขึ้นนับพันเพลง เพลงที่มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจ ท่วงทำนองไพเราะ สามารถสร้างสำนึกความเป็นเจ้าของประเทศ ความเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ความศรัทธา ความรักและเชื่อมั่นในพรรคคอมมิวนิสต์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ผ่านกาลเวลากว่า 60 ปีแห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เสียงเพลงรักชาติเหล่านี้ก็ไม่เคยสิ้นเสียงไปจากแผ่นดินจีนเลย ทั้งยังยังคงดังกึกก้องประกาศความภาคภูมิใจในความเป็นชาติจีนอันยิ่งใหญ่เกรียงไกรของชาวจีนทุกคนอย่างไม่ขาดสาย

ปี ค.ศ. 2009 เป็นปีครบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน สมาคมวัฒนธรรมและอารยธรรมแห่งชาติจีน ได้มีโครงการสำรวจความนิยม “เพลงรักชาติ” ของชาวจีนทั้งประเทศร้อยอันดับขึ้นเพื่อให้เป็นมรดกเพลงแห่งความทรงจำ จากการสำรวจ มีประชาชนลงคะแนนทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเลือกเพลงรักชาติที่อยู่ในใจประชาชน 2,3350,000 เสียง จากนั้น คณะกรรมการได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงและดนตรีระดับชาติ มาร่วมพิจารณาคัดเลือกบทเพลงอีกขั้นหนึ่ง และได้ประกาศ “ร้อยเพลงรักชาติ” อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2009

บทเพลงที่ได้รับการคัดเลือก เป็นเพลงที่มีท่วงทำนองไพเราะ ได้รับความนิยมกว้างขวาง และมีประวัติความเป็นมาที่ทรงคุณค่าต่อวงการเพลงและดนตรีของประเทศอย่างใหญ่หลวง ทั้งยังทรงคุณค่าต่อการสร้างจิตสำนึกรักชาติอย่างมาก เพราะเป็นเพลงที่สื่อถึงความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจชาวจีน ที่มีต่อการปฏิวัติวัฒนธรรม และการสร้างชาติ ทำให้ประเทศมีความยิ่งใหญ่เกรียงไกรจนทุกวันนี้

อันดับที่ 1. เพลง สือ ซ่ง หง จวิน《十送红军》(สิบส่งทหารแดง) ประพันธ์คำร้องโดย Zhang Shixie ( 张士燮) ประพันธ์ทำนองโดย Zhu Zhengben (朱正本) เพลงนี้สะท้อนให้เห็นถึงภาพความผูกพันอันลึกซึ้งของประชาชนกับกองทัพทหารแดงที่กำลังก้าวสู่เส้นทางแห่งสมรภูมิ ทุกครั้งที่ทหารแดงออกรบ ชาวบ้านชาวเมืองจะออกไปส่งเหล่าทหาร ร่ำไห้อาลัยด้วยไม่รู้ว่าหนทางข้างหน้าจะลำบากตรากตรำเพียงไร และจะได้มีชีวิตรอดกลับมาพบกันอีกหรือไม่ ทำนองเพลงเชื่องช้า ไพเราะ แต่อ้อยสร้อยอาลัย จับจิตจับใจยิ่งนัก ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง http://www.youtube.com/watch?v=rKW0G0WcwiQ
http://www.tudou.com/programs/view/_CawgUo01zA/

อันดับที่ 2. เพลง หงจวิน จ้านซื่อ เสี่ยงเนี่ยน เหมาเจ๋อตง 《红军战士想念毛泽东》 (ทหารแดงราญศึกคิดถึงเหมาเจ๋อตง) ประพันธ์คำร้องโดย Chen Yanding และ Ren Hongju (陈亚丁,任红举) ประพันธ์ทำนองโดย Shi Lemeng และ Yan Ke (时乐濛,彦克) ในช่วงปี 1930 -1933 ท่านเหมาเจ๋อตงและท่านจูเต๋อ ได้นำกองทัพแดงต้านการล้อมปราบครั้งใหญ่ของกั๋วหมินตั่ง ได้รับชัยชนะมาโดยตลอด แต่ต่อมา อำนาจการนำกองทัพถูกแย่งชิงไป ส่วนกลางกีดกัน ขัดขวาง ไม่ยอมรับฟังยุทธวิธีที่ถูกต้องของท่านเหมาเจ๋อตง จนสุดท้ายพ่ายแพ้ย่อยยับต้องละทิ้งฐานที่มั่น บทเพลงเพลงนี้พรรณนานาถึงเหล่าทหารแดงที่คิดถึงคำบัญชาการรบของท่านเหมาเจ๋อตง ที่ตกอยู่ในสภาวะที่หนทางรบมืดมน จิตใจที่ท้อแท้เหลือคณา
http://www.youtube.com/watch?v=ByzwMd2wi3w http://www.tudou.com/programs/view/leknNLQ-B3A/

อันดับที่ 3. เพลง หง ซิง เกอ《红星歌》(เพลงดาวแดง) ประพันธ์คำร้องโดย Wu Dawei และ Wei Baogui (邬大为,魏宝贵) ประพันธ์ทำนองโดย Fu Gengchen (傅庚辰) เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ส่าน ส่าน เตอะ หง ซิง《闪闪的红星》(ระยิบพราวดาวแดง) ดาวแดง เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ของประชาชนในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ต่อมาใช้เป็นสัญลักษณ์บนธงชาติจีน เมื่อประธานประเทศ
เหมาเจ๋อตงได้ประกาศต่อมวลชน ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนบนหอประตูเทียนอันเหมิน และเชิญธงดาวแดงขึ้นสู่ยอดเสา เป็นการเริ่มต้นนับศักราชใหม่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949http://www.youtube.com/watch?v=_klGVMFY3xE http://www.tudou.com/programs/view/xvARz4gWT3U/

อันดับที่ 4. เพลง อิ้ง ซาน หง《映山红》(ชบาป่า) ประพันธ์คำร้องโดย Lu Zhuguo (陆柱国) ประพันธ์ทำนองโดย Fu Gengchen (傅庚辰) เหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งการปฏิวัติอย่างหนึ่งคือการเดินทัพของกองกำลังทหารแดง ซึ่งมีช่วงหนึ่ง เดินทางผ่านหุบเขาเสี่ยวเหลียงซาน ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนกลุ่มน้อยเผ่าอี๋ แม่ทัพและกองทัพทหารแดงได้ผูกพันเป็นพันธมิตรกับหัวหน้าเผ่าอี๋และชาวอี๋ อันเป็นเรื่องราวและสัญญาณการรวมชาติจีนเป็นปึกแผ่นอีกเรื่องหนึ่ง ดอกอิ้งซานหง หรือดอกชบาป่านี้ เป็นดอกไม้ประจำเผ่าของชนกลุ่มน้อยเผ่าอี๋ การยกย่องความงามของดอกชบาป่าในเพลงนี้ ก็เป็นสัญลักษณ์ที่ทัพทหารแดงเดินทางผ่านชุมชนชาวอี๋นั่นเอง http://www.youtube.com/watch?v=xPxdNsiiyVI
http://www.tudou.com/programs/view/gpRk9fpwi-o/

อันดับที่ 5 เพลง ฉิง เซิน อี้ ฉาง《情深谊长》(รักลึกซึ้งไมตรียืนยง) ประพันธ์คำร้องโดย Wang Yinquan (王印泉) ประพันธ์ทำนองโดย Zang Dongsheng (臧东升) เพลงนี้เป็นเพลงที่ตัดตอนมาจากละครระบำอิงประวัติศาสตร์ชุด ตง ฟาง หง《东方红》(บูรพาแดง) นักร้องต้นฉบับคือนักร้องโอเปร่าเสียงสูงอันดับหนึ่งของจีน ชื่อ Deng Yuhua (邓玉华) เนื้อเพลงบรรยายเหตุการณ์ในช่วงที่กองทัพแดงเดินทางไกลสองพันกว่าลี้ ช่วงที่เดินทัพผ่านหุบเขาเสี่ยวเหลียงซาน ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวเผ่าอี๋ นายพล Liu Bocheng ได้ผูกพันเป็นพันธมิตรกับหัวหน้าเผ่าอี๋ คำว่า “รักลึกซึ้งไมตรียืนยง” ในเพลงนี้ก็หมายถึงมิตรภาพระหว่างกองทัพทหารแดงกับชาวเผ่าอี๋นั่นเอง http://www.youtube.com/watch?v=xPxdNsiiyVI

http://www.tudou.com/programs/view/WyDVqJhHt2w/

อันดับที่ 6. เพลง กั้ว เสวี่ย ซาน ฉ่าว ตี้《过雪山草地》(ข้ามผ่านขุนเขาหิมะทุ่งหญ้ากว้าง) ประพันธ์คำร้องโดย Xiao Hua (肖华) ประพันธ์ทำนองโดย Chen Geng ,Sheng Mao,Tang He และ Yu Qiu (晨耕,生茂,唐诃,遇秋) เพลงนี้พรรณนาเหตุการณ์ ในปี 1937 ที่กองทัพทหารแดงเดินทางรอนแรมแสนไกลขึ้นเหนือ ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากนานัปการ ต้องเดินข้ามภูเขาหิมะที่หนาวเหน็บลูกแล้วลูกเล่า ต้องเดินผ่านทุ่งหญ้าเวิ้งว้างที่มีแต่ความแห้งแล้งกันดาร จนในที่สุดก็เดินทางมาถึงฐานทัพ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและจิตวิญญาณของทหารแดงที่พร้อมจะรบและต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งระบอบ “สาธารณรัฐ” นับเป็นบทเพลงแห่งการเฉลิมฉลองชัยชนะอีกบทหนึ่งของการเดินทัพทางไกลของกองทัพทหารแดง
http://www.youtube.com/watch?v=60vUEzzjtZc http://www.tudou.com/programs/view/nyx4SAl5NH8/

อันดับที่ 7. เพลง อู่ เยวี่ย เตอะ เซียน ฮวา《五月的鲜花》 (ดอกไม้ในเดือนห้า) ประพันธ์คำร้องโดย Guang Weiran (光未然) ประพันธ์ทำนองโดย Yan Shushi (阎述诗) ในปี 1935 Guang Weiran แต่งกลอนบทเล็กๆบทหนึ่ง ว่า “ศัตรูหยุดก้าวย่างผองข้าด้วยคมกระบี่ หลายชีวีสละเลือดบุกฟันฝ่า แม้ตัวตายไม่คิดเสียดายชีวา ฮึกเหิมกล้าไม่คิดถอยสักก้าวเดียว” ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประจำวัน เมื่อ Yan Shushi ได้อ่าน ก็ คิดถึงภาพเมื่อครั้งร่วมการชุมนุมปฏิวัติต่อต้านการรุกรานของทหารญี่ปุ่นของกลุ่มนักศึกษารักชาติ เกิดแรงบันดาลใจในการแต่งทำนองเพลงให้กับกลอนบทนี้ และได้นำไปมอบให้กับกลุ่มนักศึกษาในคืนวันเดียวกันนั้นเอง ต่อมามีการนำเพลงนี้ไปใช้เป็นเพลงลั่นกลองศึก ทำให้เพลงนี้มีอานุภาพปลุกใจให้ทัพทหารหาญมีจิตใจที่ฮึกเหิมทระนง http://www.tudou.com/programs/view/c6z7umDerfo/
http://www.youtube.com/watch?v=JEOYaBCkebI

อันดับที่ 8. เพลง เป่า เว่ย หวง เหอ《保卫黄河》(ปกป้องฮวงเหอ) ประพันธ์คำร้องโดย Guang Weiran (光未然) ประพันธ์ทำนองโดย Xian Xinghai (冼星海) เพลงนี้เป็นเพลงที่เจ็ดในเพลงชุด หวงเหอ ต้า เหอ ชั่ง《
黄河大合唱》“เพลงประสานเสียงฮวงเหอ” ความเด่นของเพลงนี้อยู่ที่ทำนองและจังหวะเพลง กล่าวคือ เป็นการขับร้องประสานเสียงและการร้องโต้ตอบสลับกัน จึงทำให้เพลงนี้มีลักษณะของการมีส่วนร่วมของการร้องบนเวทีและการร่วมร้องของผู้ชม เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างมากอีกเพลงหนึ่ง ในยุคสงครามต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น จังหวะเพลงเป็นแบบเพลงมาร์ชสวนสนาม มีจังหวะหนักแน่น ทรงพลัง เพื่อการก้าวย่างที่สั้นและกระชับ ปลุกเร้าจิตใจให้เต้นเป็นจังหวะที่มั่นคง เพื่อบอกสัญญาณการรุกไปข้างหน้าพร้อมรุกรบประจัญบาน http://www.tudou.com/playlist/playindex.do?lid=6894955
http://www.youtube.com/watch?v=h_vBhb9CO8k

อันดับที่ 9. เพลง จ้าย ไท่ สิง ซานซ่าง《在太行山上》(บนเขาไท่สิงซาน) ประพันธ์คำร้องโดย Gui Taosheng (桂涛声) ประพันธ์ทำนองโดย Xian Xinghai (冼星海) เพลงนี้แต่งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 1935 ผู้แต่งแต่งเพลงนี้เพื่อสรรเสริญชาวเมืองซานซี ที่อาบเลือดท่วมกาย ต้านทานการรุกราญของทหารญี่ปุ่นเพื่อปกป้องดินแดนมาตุภูมิอย่างกล้าหาญ ท่วงทำนองเพลงเป็นการประสมประสานระหว่างทำนองไพเราะหวานละมุน กับทำนองเพลงมาร์ชสวนสนามที่เข้มแข็งหนักแน่นมีพลังได้อย่างกลมกลืน จึงเป็นเพลงที่มีทั้งความงดงามอ่อนหวาน แต่แฝงด้วยอารมณ์ฮึกเหิมทรงพลังอยู่ในที เป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ปลุกหัวใจรักชาติให้ตื่นอยู่หัวใจชาวจีนถ้วนทั่ว
http://www.youtube.com/watch?v=xOaI1uYpDjE
http://www.tudou.com/programs/view/lp4UcCJUDno/

อันดับที่ 10. เพลง เอ้อร์ เยว่ หลี่ หลาย《二月里来》 (กุมภามาแล้ว) ประพันธ์คำร้องโดย Sai Ke (赛克) ประพันธ์ทำนองโดย Xian Xinghai (冼星海) เพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1939 เป็นหนึ่งในชุดเพลงขับร้องประสานเสียงชุด “เพลงเพาะปลูก” นำออกแสดงครั้งแรกที่เมืองเหยียนอาน ได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอันมาก ต่อมาจึงแยกออกมาเป็นเพลงขับร้องเดี่ยว สามารถสื่อถึงท่วงทำนองที่นุ่มนวล รื่นหู มีชีวิตชีวา ให้ความรู้สึกของชีวิตชาวนา วิถีการเพาะปลูกและทำนองเพลงพื้นบ้านของชาวเจียงหนานได้อย่างลึกซึ้งชัดเจน เนื้อเพลงพรรณนาเหตุการณ์ในช่วงการรุกรานของทหารญี่ปุ่น ชาวบ้านในเขตชายแดนทุ่มเทแรงกาย เพาะปลูกพืชอาหารเพื่อส่งให้ทหารกล้าที่รบอยู่แนวหน้า ปกป้องรักษาบ้านเมือง
http://www.youtube.com/watch?v=cBNNlsbAfSQ
http://www.tudou.com/programs/view/IdxAwzkaHLE/

อันดับที่ 11. เพลง โหยว จี ตุ้ย เกอ《游击队歌》 (เพลงมาร์ชกองจรยุทธ) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย He Lvting (贺绿汀) หลังจากการประทุของสงครามญี่ปุ่น ชาวจีนถูกทหารญี่ปุ่นรุกราน ต้องตกอยู่ในสภาพที่แร้นแค้นและทุกข์ยากลำเค็ญแสนสาหัส แต่ความองอาจ กล้าแกร่ง และจิตวิญญาณแห่งนักรบของแม่ทัพ จอมพลและเหล่าทหารกล้า เป็นแรงบันดาลใจอันแรงกล้าในการประพันธ์เพลงนี้ ผู้แต่งแต่งเพลงนี้ขึ้นเมื่อปลายปี 1937 เพื่อใช้เป็นเพลงมาร์ชสวนสนามในกองทหาร ด้วยอารมณ์เพลงแข็งแกร่งทรงพลัง กระฉับกระเฉงหนักแน่น คำร้องใช้ภาษาสามัญธรรมดา ทำให้เข้าถึงจิตใจผู้คนได้อย่างลึกซึ้งและง่ายดาย จึงได้รับความนิยมแพร่หลายสู่ประชาชนทั่วทุกหมู่เหล่า อรรถรสของเพลงทำให้ผู้ได้ยินได้ฟังรู้สึกฮึกเหิมลำพอง พร้อมสู้ศึกที่ขวางหน้าอย่างไม่หวั่นเกรงภัยอันตรายใดๆ
http://www.youtube.com/watch?v=LaI3f9zQm2E&feature=related

อันดับที่ 12. เพลง เหยียน อัน ซ่ง《延安颂》(สรรเสริญนักรบแห่งสมรภูมิเหยียนอัน) ประพันธ์คำร้องโดย Mo Ye (莫耶) ประพันธ์ทำนองโดย Zheng Lvcheng (郑律成) เพลงนี้เป็นเพลงที่มีความสำคัญมากที่สุดเพลงหนึ่งในประวัติศาสตร์การปฏิวัติวัฒนธรรมจีน เป็นเพลงที่สื่อถึงภาพของวีรบุรุษ ภาพแห่งห้วงเวลาและเหตุการณ์แห่งประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจีน และจิตวิญญาณแห่งสมรภูมิเหยียนอัน เนื้อเพลงถ่ายทอดภาพเหตุการณ์ของผู้คนที่มีจิตใจและจิตวิญาณที่เปี่ยมเปี่ยมไปด้วยความรัก ความหวัง ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีนับหมื่นนับล้านคนมุ่งหน้าสู่เมืองเหยียนอัน เมืองอันเป็นศูนย์กลางการรบต่อต้านทหารญี่ปุ่น เป็นเมืองศูนย์กลางแห่งการปฏิวัติ เป็นศูนย์รวมของความศรัทธาและความหวังของผู้คนถ้วนหน้า เพื่อต้านการรุกรานของข้าศึกอย่างองอาจทระนง
http://www.youtube.com/watch?v=Tc8pJhIVoGg

อันดับที่ 13. เพลง หนาน หนี วาน《南泥湾》(อ่าวหนานหนี) ประพันธ์คำร้องโดย He Jingzhi (贺敬之) ประพันธ์ทำนองโดย Ma Ke (马可) เพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อปี 1943 ณ เมืองเหยียนอาน ในขณะนั้นเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน คณะคีตศิลปินจากวิทยาลัยศิลปะหลู่ซวิ่น แห่งเมืองเหยียนอาน มาเปิดการแสดงที่อ่าวหนานหนี เพื่อสดุดีวีรบุรุษแห่งกองจรยุทธ์ 359 ที่กำลังเดินทางมุ่งหน้าสู่ดินแดนทางใต้ ผ่านมาทางเมืองเหยียนอานแห่งนี้ เพลง อ่าว หนาน หนี – ดินแดนแสนสุข นี้เป็นเพลงพิเศษสำหรับการแสดงในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นเพลงที่มีทำนองไพเราะ รื่นหู เนื้อหาลึกซึ้งกินใจ สื่อถึงกองทัพทหารที่เดินทางรอนแรมจากดินแดนอันหนาวเหน็บและยากลำบากทางเหนือ เข้าสู่ดินแดนที่แสนอบอุ่นและงดงามแห่งดินแดนใต้ที่เรียกว่า“เจียงหนาน” ทั้งยังสรรเสริญสดุดีการก่อตั้งกองทัพทหารสายที่ 8 กองจรยุทธ์ที่ 359 ที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรอีกด้วย
http://www.youtube.com/watch?v=ERHeNtK2DCw

อันดับที่ 14. เพลง ตง ฟาง หง 《东方红》 (แดงแห่งบูรพา) ประพันธ์คำร้องโดย Li Youyuan และ Gong Mu (李有源,公木) ทำนองเพลงพื้นเมืองมณฑลสานเป่ย เพลงนี้แต่งขึ้นเพื่อแสดงความสดุดีต่อท่านประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตง สรรเสริญพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในยุคต่อต้านสงครามญี่ปุ่น ด้วยความรู้สึกสำนึกในบุญคุณอย่างสุดซึ้ง หลังจากที่ประเทศจีนปฏิวัติการปกครองนับเป็นเวลา 60 ปีมานี้ ประเทศจีนใหม่ได้พัฒนาไปอย่างรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่เกรียงไกรและแข็งแกร่ง ประชาชนรัก เคารพศรัทธาท่านเหมาเจ๋อตง พร้อมๆกับความรักและภาคภูมิในชาติทวีความเข้มข้นขึ้น เพลงนี้จึงได้รับความนิยมอย่างสูงไปพร้อมๆกัน
http://www.youtube.com/watch?v=SRBuwhaUczA

อันดับที่ 15. เพลง เกอ ช่าง เอ้อร์เสี่ยว ฟ่าง หนิว หลาง 《歌唱二小放牛郎》 (ลำนำเพลงหนุ่มเลี้ยงวัว) ประพันธ์คำร้องโดย Fang Bing (方冰) ประพันธ์ทำนองโดย Jie Fu (劫夫) เพลงนี้เป็นเพลงเยาวชนเพลงหนึ่งที่มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติ มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจอย่างมาก “วัวน้อยเล็มหญ้าริมเชิงเขา คนเลี้ยงเล่าหายไปอยู่แห่งหนไหน” เป็นท่อนหนึ่งของเนื้อเพลงที่พรรณนาเล่าเรื่องราวอันน่าประทับทับใจของวีรบุรุษตัวน้อยวัยสิบสามปี ชื่อว่า “หวาง เอ้อร์ เสี่ยว” ในยุคที่ทหารญี่ปุ่นที่ทำสงครามกวาดล้างชาวจีนให้สิ้นซากนั้น ที่อำเภอโม่หยวน มณฑลเหอเป่ย เด็กน้อยผู้นี้ออกกลอุบายล่อลวงทหารญี่ปุ่นให้ข้าสู่หลุมพราง เพื่อปกป้องให้ชาวบ้านและทหารจีนปลอดภัย แต่ด้วยความเดือดดาลโทสะที่ถูกหลอก เด็กน้อยถูกทหารญี่ปุ่นใช้มีดปลายปืนสังหารจนเสียชีวิตบนก้อนหินที่เนินผา ฝูงวัวก็เฝ้าแต่รอคอยว่าเมื่อไหร่เจ้าของจะมาต้อนกลับบ้านเสียที
http://www.youtube.com/watch?v=ZHatgsWpZlg

อันดับที่ 16. เพลง ถวน เจี๋ย จิ้ว ซื่อ ลี่ เลี่ยง 《团结就是力量》(สามัคคีคือพลัง) ประพันธ์คำร้องโดย Mu Hong (牧虹) ประพันธ์ทำนองโดย Lu Su (卢肃) ก่อนการปฏิวัติประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นด้วยถูกกดขี่ข่มเหงจากชนชั้นศักดินา ต่อมาเมื่อกองทัพทหารญี่ปุ่นโจมตีเข้ามาทางชายแดน แย่งชิงเสบียงอาหาร เผาทำลายฆ่าทำลายล้างเผ่าพันธุ์ชาวจีนให้สิ้นซาก ชนชั้นเกษตรกรชาวนาของจีนจากซีเป่ย สมทบเข้ากับกองกำลังเหอเป่ยร่วมต้านศึก และเพื่อสนับสนุนการออกศึกครั้งนี้ คีตกร Mu Hong และ Lu Su ได้ร่วมกันแต่งละครเพลงเกร็ดขนาดเล็กขึ้นเพื่อปลุกใจให้ฮึกเหิม การต่อต้านเรียกร้องการลดค่าเช่าที่ ดอกเบี้ยค่าเช่าที่ รวมทั้งการสร้างพลังสนับสนุนการออกศึกสงครามในครั้งนี้ถ่ายทอดอยู่ใน เพลง ถวน เจี๋ย จิ้ว ซื่อ ลี่ เลี่ยง (สามัคคีคือพลัง) นี่เอง
http://www.youtube.com/watch?v=1aAPLumuqFU

อันดับที่ 17. เพลง เส่ย ปู้ ซัว อ่าน เจีย เซียง ห่าว 《谁不说俺家乡好》 (ใครบ้างไม่ว่าบ้านข้าดี) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Lv Qiming, Yang Shuzheng และ Xiao Peiheng (吕其明,杨庶正,肖培珩) เพลงนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง หง รื่อ 《红日》 “ตะวันแดง” ถ่ายทำในปี 1961 และเมื่อวันที่ 24 เดือนตุลาคม ปี 2007 การส่งยานอวกาศของจีนชื่อ“ฉางเอ๋อ” (เทพธิดาพระจันทร์) ขึ้นสู่ดวงจันทร์ เพลงนี้เป็นหนึ่งใน 31 รายการเพลงที่ใช้ในกิจกรรมประชาสัมพันธ์การปล่อยยาน เนื้อเพลงสะท้อนความรักชาติของประชาชน และจิตวิญญาณการปกป้องบ้านเมืองของทหารปลดแอกประชาชน ที่มีอุดมการณ์แห่งการปฏิวัติอันแน่วแน่ ทำนองและจังหวะเพลง แสดงถึงความดุดัน รุนแรง รุกไล่ประจัญ ดึงผู้ชมเข้าสู่ภาพบรรยากาศและอารมณ์ของสมรภูมิอันโอ่อ่า ฮึกเหิม น่าเกรงขาม
http://www.youtube.com/watch?v=IDR6TwoPsPM

อันดับที่ 18. เพลง หง เหมย จ้าน (ชมดอกเหมยแดง) 《红梅赞》ประพันธ์คำร้องโดย Yan Su (阎肃) ประพันธ์ทำนองโดย Yang Ming ,Jiang Chunyang และ Jin Sha (词羊鸣,姜春阳,金砂) เป็นเพลงบรรเลงประกอบละครเพลงเรื่อง หงเจี่ย 《江姐》“ พี่หง” ที่ชาวจีนทั้งประเทศรู้จัก ประทับใจและหลงใหล ภาพยนตร์เรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นตัวแทนของคนในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ที่ต้องประสบกับชะตาชีวิตที่ทุกข์ยากลำบาก ต้องผ่านประสบการณ์อันเลวร้าย พร้อมๆกับการต่อสู้ของกองกำลังทหารแดงเพื่อให้ได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อันหมายถึงการมีชีวิตใหม่ที่สดใส เพลงนี้ใช้ท่วงทำนองเพลงพื้นเมืองเสฉวน ที่มีความเข้มแข็ง และอ่อนโยนอยู่ในที สื่อถึง “ดอกเหมยแดง” ที่มีความอ่อนหวาน สวยสดงดงาม แต่แฝงความเข้มแข็ง เหมือนกับคุณลักษณะเฉพาะตัวของดอกเหมยนั่นเอง
http://www.youtube.com/watch?v=jMfopBIDtug


อันดับที่ 19. เพลง เหมย โหย่ว ก้ง ฉัน ตั่ง จิ้ว เหมยโหย่ว ซิน จงกั๋ว 《没有共产党就没有新中国》 (ไม่มีพรรคคอมมิวนิสต์ก็ไม่มีประเทศจีนใหม่) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย ฉาว หั่ว ซิง (曹火星) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 1943 นักเขียนชื่อ เจี่ยง เจี้ย สือ (蒋介石) ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ จงกั๋ว จือ มิ่งยวิ่น《中国之命运》(ชะตาชาติจีน) ในหนังสือเล่มนี้มีคำขวัญสำคัญคือ “ไม่มีพรรคก็ไม่มีประเทศจีน”ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้นได้ตีพิมพ์บทความลงในหนังสือพิมพ์ชื่อ เจี่ยฟ่าง รือป้าว《解放日报》(หนังสือพิมพ์ปลดแอก) ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม ในปีเดียวกัน สรุปประเด็นสำคัญตอนจบของบทความว่า “ถ้าหากประเทศจีนในวันนี้ ไม่มีพรรคคอมมิวนิสต์จีน เช่นนั้นก็ประหนึ่งว่า ไม่มีประเทศจีน” ฉาว หั่ว ซิง ผู้ประพันธ์เพลงนี้ ได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ดังกล่าวประพันธ์คำร้องเพลงนี้ขึ้น โดยตั้งชื่อว่า “ไม่มีพรรค ก็ไม่มีประเทศจีน” ท่านเหมาเจ๋อตง ให้ความเห็นว่า ก่อนหน้าที่จะมีพรรคคอมมิวนิสต์ ประเทศจีนก็ยังคงเป็นประเทศจีน แต่หลังจากมีการปฏิวัติ ประเทศจีนได้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นประเทศจีนใหม่ จึงเสนอให้เติมคำว่า “ใหม่” เป็น “ไม่มีพรรคคอมมิวนิสต์ ก็ไม่มีประเทศจีนใหม่” ดังปรากฏเป็นชื่อเพลงและใช้มาจนปัจจุบัน
http://www.youtube.com/watch?v=ZEJbNPeYNz8

อันดับที่ 20. เพลง จ๋าน เมิน กงเหริน โหย่ว ลี่เลี่ยง《咱们工人有力量》 (เราเหล่ากรรมกรมีพลัง) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Ma Ke(马可) เป็นเพลงที่มีท่วงทำนองแข็งแกร่ง ทรงพลัง องอาจและผึ่งผาย แสดงออกถึงผู้คนชนชั้นกรรมกรที่ทุ่มเทพละกำลังกายใจต่อสู้อดทนอยู่หน้าเตาเผา ถลุง หลอมและตีเหล็ก ทั้งร้อนทั้งเหน็ดเหนื่อยทั้งวันทั้งคืน เพื่อผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์ส่งให้ทหารแนวหน้า สนับสนุนการปลดแอกประชาชนของรัฐบาลจีนใหม่ สร้างภาพพจน์ใหม่ให้กับชนชั้นกรรมกรในภาพของวีรบุรุษ ที่ทุ่มเทสุดกำลังแรงกายเพื่อปวงชน เพื่อปลอดปล่อยทั่วทั้งผืนแผ่นดินจีน ราวประหนึ่งเสียงประกาศก้องของเหล่ากรรมกรที่มีใจเดียวกันในการ “ร่วมสร้างชาติ” ให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกร
http://www.youtube.com/watch?v=YEBAfvsXoZs

อันดับที่ 21. เพลง เก๋อมิ่งเหริน หยงหย่วน เหนียนชิง 《革命人永远是年轻》 (ผู้ปฏิวัติหนุ่มสาวตลอดกาล) ประพันธ์คำร้องโดย Jie Fu (劫夫) ประพันธ์ทำนองโดย Jie Fu และ Zhong Yi (劫夫,中艺) ตลอดระยะเวลาหกสิบกว่าปีแห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพลงนี้เปรียบประหนึ่งคานหลักสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ร่วมกันสร้างความยิ่งใหญ่เกรียงไกรให้แก่มาตุภูมิ ท่วงทำนองเพลงอันไพเราะ สดใส เต็มไปด้วยพลังแห่งวัยหนุ่มสาว ปลุกผู้คนให้รู้สึกภาคภูมิ ฮึกเหิม รักชาติ ทุกครั้งที่ได้ยินเพลงนี้ ความสุขสนุกสนานในอดีตแสดงออกให้เห็นเป็นรอยยิ้มที่เกิดจากการหวนรำลึกถึงความทรงจำในวัยเยาว์ เพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ถือเป็นตัวแทนของสังคมในยุค 50 เลยก็ว่าได้ เห็นได้จากการที่มักนำเพลงนี้ไปใช้ประกอบสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ บุคคลสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ใช้ประกอบภาพยนตร์ และการแสดงละครเวทีต่างๆมากมาย เพลง “ผู้ปฏิวัติหนุ่มสาวตลอดกาล” นี้ จึงจะยังดังก้องในใจของคนปฏิวัติที่จะคงความเยาว์วัยตลอดกาลเช่นกัน
http://www.youtube.com/watch?v=-PdDXru2Vw0

อันดับที่ 22. เพลง เกอช่าง จู่กว๋อ 《歌唱祖国》 (สดุดีมาตุภูมิ) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Wang Shen (王莘) เพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ปี 1950 เนื้อเพลงสื่อให้เห็นถึงบรรยากาศของความรุ่งเรืองก้าวหน้า การลุกขึ้นมาผงาดยิ่งใหญ่ลำพอง เป็นการเริ่มต้นถือกำเนิดของชาติจีนใหม่ เป็นเสมือนบันทึกการก้าวเดินไปข้างหน้าของจีนใหม่อย่างยิ่งใหญ่เกรียงไกรภายหลังการปฏิวัติปลดปล่อย เนื้อเพลงมีความกระชับกระฉับกระเฉง สื่อให้เห็นภาพของความมีชีวิตชีวา ความสดใหม่ ท่วงทำนององอาจผึ่งผาย หนักแน่นด้วยเลือดรักชาติที่เต็มเปี่ยม เป็นผลงานการประพันธ์ที่พลิกโฉมหน้าใหม่ของรูปแบบเพลงของจีน เป็นผลงานวรรณกรรมเพลงอันทรงคุณค่าของวงการเพลงปลุกใจ และเป็นสัญลักษณ์การปลดปล่อยชาติจีนใหม่ชิ้นสำคัญ
http://www.youtube.com/watch?v=EOIxYdTWUwI

อันดับที่ 23. เพลง ฉ่าวหยวน ซ่าง เซิง ฉี่ ปู๋ ลั่ว เตอะ ไท่หยาง 《草原上升起不落的太阳》 (พระอาทิตย์ที่ไม่ตกดินลอยเด่นบนทุ่งหญ้ากว้าง) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Mei Li Qi Ge (美丽其格) เพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อต้นยุค 50 เป็นเพลงที่มีลักษณะเด่นกว่าเพลงจีนอื่นทั่วไป ผู้แต่งซึ่งมีเชื้อสายมองโกล ใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองของชนเผ่ามองโกลเป็นหลัก ส่วนเนื้อเพลงเป็นบทกวีที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ สื่อถึงผู้คนที่อยู่ในท่ามกลางทุ่งหญ้าอันกว้างแห่งมองโกล เปี่ยมไปด้วยเลือดความรักความผูกพันที่มีต่อบ้านเกิดเมืองนอนแผ่ซ่านทั่วกาย จิตวิญญาณรักชาติแผ่ขยายขจรขจายไปทั่วทุกหนแห่ง ความสำนึกที่มีต่อบุญคุณของพรรคและมาตุภูมิยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด ฉ่ำเย็นดุจสายน้ำหล่อเลี้ยงทุ่งหญ้าให้ชุ่มชื่นเติบโตไม่เคยหยุดไหล อบอุ่นดั่งแสงตะวันส่องให้ไออุ่นไม่เคยสิ้นแสง แม้เมฆทึบทะมึน หรือพายุฝนกระหน่ำก็มิอาจทาน เหมือนความรักความห่วงใยที่พรรคคอมมิวนิสต์และท่านประธานเหมาเจ๋อตง มีต่อพี่น้องชาวจีนทั่วถ้วนหน้า ทำให้เพลงนี้ได้รับความนิยมถึงขีดสุด จนได้รับรางวัลเพลงยอดนิยมแห่งชาติในปี 1954
http://www.youtube.com/watch?v=-01ZzvIyQ40&feature=related

อันดับที่ 24. เพลง หว่อ เตอะ จู่กว๋อ《我的祖国》 (มาตุภูมิของฉัน) ประพันธ์คำร้องโดย Qiao Yu (乔羽) ประพันธ์ทำนองโดย Liu Chi (刘炽) เพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อฤดูร้อน ปี 1956 เดิมชื่อเพลง อี้ เถียว ต้า เหอ 《一条大河》“ลำน้ำใหญ่สายหนึ่ง” เป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง ซ่าง กาน หลิ่ง《上甘岭》(ปีนเทือกเขากันหลิ่ง) ผู้แต่งใช้ท่วงทำนองที่ไพเราะนุ่มนวล ผสานกับทำนองที่ฮึกเหิม โอ่อ่า ยิ่งใหญ่ แสดงถึงความองอาจรักชาติของเหล่าทหารหาญ และจิตวิญญาณความรักความศรัทธาของมวลชนที่มีต่อการปฏิวัติประเทศ ถ่ายทอดความรู้สึกจากก้นบึ้งหัวใจของชาวจีนที่รักชาติ รักพรรคคอมมูนอย่างเข้มข้น ราวกับจะกู่ร้องประกาศก้องทั่วแผ่นพสุธาว่า “นี่คือมาตุภูมิอันงดงามของฉัน” สร้างความปลาบปลื้มปิติ ความภาคภูมิ และทระนงในความเป็นชาติจีน สุดจะหาใดเปรียบปาน
http://www.youtube.com/watch?v=xAjyLWxPRws

อันดับที่ 25. เพลง อิง สย๋ง จ้าน เกอ《英雄赞歌》 (สดุดีวีรชน) ประพันธ์คำร้องโดย Gong Mu (公木) ประพันธ์ทำนองโดย Liu Chi (刘炽) เพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อปี 1964 เพื่อใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง อิง สย๋ง เอ๋อร์ หนวี่《英雄儿女》 “ลูกหลานวีรชน” เนื้อเพลงถ่ายทอดเหตุการณ์ในยุคปี 60 ซึ่งเป็นยุคแห่งการถือกำเนิดของวีรชนจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน เช่น วีรบุรุษต่ง ฉุนรุ่ย(董存瑞) หัวหน้ากองทหารวีรชนแนวหน้าผู้พลีชีพในสมรภูมิ วีรบุรุษหวง จี้กวาง(黄继光) ทหารอาสาสมัครผู้พลีชีพในสงครามเกาหลีที่แนวเขากานหลิ่งในปี 1952 ชิว ซ่งหยวิน (邱少云) วีรชนผู้หาญกล้าในสมรภูมิสงครามเกาหลีที่เขากานหลิ่งในปี 1952 ที่ถูกระเบิดจนไฟลุกท่วมตัว แต่เพื่อไม่ให้ศัตรูเห็นเป้าหมายฐานทัพ อดทนแน่นิ่งจนชีพวาย ภาพยนตร์เรื่อง 《英雄儿女》 นี้เกิดขึ้นตามกระแสการสดุดีวีรชนผู้หาญกล้า ในขณะที่เพลงประกอบภาพยนตร์ก็กลายมาเป็นตัวแทนของเครื่องสดุดีวีรชนแห่งยุคด้วยเช่นกัน
http://www.youtube.com/watch?v=LTrXMRKCgEQ

อันดับที่ 26. เพลง เหมา จู่สี เตอะ ฮว่าร์ จี้ ซิน ซ่าง《毛主席的话儿记心上》 (คำของท่านเหมาจดจำไว้ในใจ) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Fu Gengchen (傅庚辰) เพลงนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องเอกเรื่องหนึ่งของจีน ชื่อเรื่อง ตี้ ต้าว จ้าน《地道战》(สงครามอุโมงค์) เป็นเพลงสรรเสริญท่านเหมา เจ๋อตง ที่ได้รับความนิยมมาตลอด ไม่เคยจางหายไปจากใจชาวจีนแม้สักครา และได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในเพลงสำคัญของประวัติศาสตร์การปฏิวัติชาติจีน ภาพยนตร์เรื่อง”สงครามอุโมงค์” เป็นภาพยนตร์เรื่องเอกเรื่องหนึ่งของจีน ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 1960 ถ่ายทอดเรื่องราวในยุคที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน ในปี 1942 – 1944 บริเวณที่ราบของเมืองเกาเจีย มณฑลเหอเป่ย เพื่อต่อต้านการรุกราน วีรชนชายหญิงคนหนุ่มสาวผู้กล้า รวมตัวกันด้วยจิตวิญญาณที่ สละชีพเพื่อชาติ ภายใต้การนำทัพของพรรคคอมมูน โดยใช้ยุทธวิธีการรบแบบใหม่ คือ การรบในอุโมงค์เป็นอุบายอันแยบยล ล่อหลอกให้ทหารฝ่ายข้าศึกหลงกลเข้ามาตกอยู่ในวังวนวงล้อม แล้วสังหารพร้อมทั้งกอง จนได้รับชัยชนะในที่สุด
http://www.youtube.com/watch?v=38BF5YP4-bg

อันดับที่ 27. เพลง หย่วนฟาง เตอะ เค่อเหริน ฉิ่ง หนี่ หลิว เซี่ย หลาย《远方的客人请你留下来》 (แขกจากแดนไกลโปรดอยู่ต่อด้วยกันเถิด) ประพันธ์คำร้องโดย Fan Yu (范禹) ประพันธ์ทำนองโดย Jin Guofu (金国富) เรียบเรียงเสียงประสานโดย Mai Ding (麦丁) แต่งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ปี1953 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความกระตือรือร้น ดีอกดีใจในการต้อนรับแขกผู้มาเยือนของชนเผ่ากลุ่มน้อยชาวอี๋ ที่อาศัยอยู่บริเวณมณฑลหยวินหนาน โดยนำทำนองเพลงพื้นเมืองของชาวอี๋กลุ่มซานีมาใข้เป็นทำนองหลัก เพลงต้นแบบที่นำมาชื่อเพลง 《放羊调》ฟ่าง หยาง เตี้ยว “เพลงเลี้ยงแกะ” 《远方的客人请你留下来》มีท่วงทำนองสนุกสนานรื่นเริง เป็นการขับร้องประสานเสียง สลับกับเสียงร้องเดี่ยวที่อ่อนหวานสดใส แสดงถึงเมื่อมีแขกมาเยือน ชาวเผ่าอี๋จะต้อนรับผู้มาเยือนอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา และอบอุ่น ด้วยความยินดีปรีดายิ่ง หลังจากเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่แล้ว ก็ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การแข่งขันเพลงของนักประพันธ์เพลงรุ่นเยาว์ระดับโลกครั้งที่ 6 ในปี 1947 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงมอสโกว์ เพลงนี้ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอีกด้วย
http://www.youtube.com/watch?v=Uysdu95Or-g

อันดับที่ 28. เพลง ไคว่เล่อ เตอะ เจี๋ย รื่อ《快乐的节日》(วันแห่งความสุข) ประพันธ์คำร้องโดย Guan Hua (管桦) ประพันธ์ทำนองโดย Li Qun (李群) เป็นเพลงเด็กที่ร้องสืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน แต่งขึ้นในปี 1953 โดยเผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสารชื่อ เกอ ฉวี่《歌曲》 “เพลง” ฉบับที่ 4 ปี 1954 การนำออกเผยแพร่ในครั้งแรกนั้น เพลงนี้เดิมเป็นเพลงร้องเดี่ยว จากนั้นจึงปรับปรุงมาเป็นเพลงเด็ก ขับร้องหมู่โดยใช้เสียงเด็กเป็นหลัก เนื้อเพลงใช้นกน้อย ทุ่งหญ้า กังหันลม ต้นไม้ เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงภาพของบรรยากาศท้องทุ่งหญ้าหญ้าที่เต็มไปด้วยเหล่าเด็กน้อยที่มีแต่ความอยากรู้อยากเห็น วิ่งเล่น เต้นรำ กระโดดโลดเต้น หัวเราะร่าเริงด้วยอิสรเสรีและเบิกบานครื้นเครง ราวกับจะโลดแล่นไปสู่ชีวิตข้างหน้าที่แสนงดงาม ทำนองเพลงมีความร่าเริงสดใส กระโดดโลดโผน กระชับฉับไว บรรยายภาพบรรยากาศงานฉลองรื่นเริงที่สนุกครึกครื้นในเทศกาลแห่งความสุขได้อย่างชัดเจน เพลงนี้ได้รับรางวัลที่สองในการประกวดเพลงเด็กแห่งชาติประจำปี 1954 ด้วย
http://www.youtube.com/watch?v=HfC_rVGXF7U

อันดับที่ 29. เพลง หว่อ เมิน เตอะ เถียน เหย่《我们的田野》(ท้องทุ่งของเรา) ประพันธ์คำร้องโดยจิตรกรชื่อ Guan Hua (管桦) ประพันธ์ทำนองโดย Zhang Wengang (张文纲) เป็นเพลงที่ขับร้องประสานเสียงโดยใช้เสียงเด็ก เป็นเพลงที่สามในชุดเพลง เซี่ย เทียน หลวี่ สิง จือ เกอ《夏天旅行之歌》 “เพลงท่องเที่ยวฤดูร้อน” ด้วยเหตุที่เพลงมีท่วงทำนองไพเราะอภิรมย์ เนื้อเพลงได้จังหวะกลมกลืน จดจำได้ง่ายกว่าเพลงอื่นๆ จึงได้รับความนิยมไปทั่ว และกลายมาเป็นเพลงเดี่ยวในเวลาต่อมา ด้วยความที่ผู้แต่งเนื้อเพลงเป็นทั้งจิตรกร และเป็นทั้งกวี เนื้อเพลงจึงเป็นภาษาที่สละสลวย บรรยายอารมณ์ความรู้สึกเป็นกลอนที่ไพเราะ งดงาม พรรณนาภาพที่ถ่ายทอดจากสายตาของเด็กน้อยคนหนึ่งที่ยืนมองท้องทุ่งอันงดงามแห่งมาตุภูมิที่อยู่เบื้องหน้า จากไกลสุดสายตาเข้ามาถึงสิ่งรอบกาย บรรยายความเงียบสงบจนค่อยๆแว่วเสียงแผ่วพลิ้วจนดังก้อง ถ่ายทอดความสดชื่นบนผืนหญ้าเขียวชอุ่มจนถึงท้องฟ้าสีครามสดใส ในเพลงเล่าถึงขุนเขา น้ำใสไหลริน อาทิตย์ส่องแสงกระทบเกล็ดปลาสะท้อนแสงสีทองระยิบระยับจับตา แหวกว่ายกอบัวไหวๆ แกะ ม้า ลา เก้ง กวางสัตว์ป่าน้อยใหญ่เล็มหญ้า ณ ทุ่งกว้างเขียวขจีที่เชิงเขา กอรปกับทำนองเพลงที่ไพเราะ อ้อยสร้อย ดั่งการบรรเลงทิพย์ดนตรีจากฝีมือธรรมชาติ และภาพวาดด้วยภาษาของจิตรกวี สามารถดึงดูดผู้คนให้หลงใหลภิรมย์รื่นอยู่ในวังวนของจินตภาพแห่งธรรมชาติอันงดงามได้อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว ในปี 1980 เพลงนี้ได้รับรางวัลที่หนึ่งในการประกวดเพลงเยาวชนแห่งชาติ เป็นเพลงที่ยังคงได้รับความนิยมนำมาเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ มากที่สุดมาตลอด
http://www.youtube.com/watch?v=XG8tVOiMSq4

อันดับที่ 30. เพลง ร่าง หว่อเหมิน ต้าง ฉี่ ซวง เจี่ยง《让我们荡起双桨》 (ขยับฝีพายกันเถิดผองเรา) ประพันธ์คำร้องโดย Qiao Yu (乔羽) ประพันธ์ทำนองโดย Liu Chi (刘炽) เพลงนี้เป็นเพลงที่ดังที่สุดในยุคปี 50 ในยุคนั้นไม่มีใครไม่รู้จักเพลงนี้ ไม่มีใครไม่รู้จักร้องเพลงนี้ และก็ไม่มีใครไม่ชอบเพลงนี้ เดิมเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง 《祖国的花朵》จู่ กว๋อ เตอะ ฮวา ตั่ว “บุปผาแห่งมาตุภูมิ” เป็นภาพยนตร์ที่สร้างโดยโรงถ่ายภาพยนตร์เมืองฉางชุน ถ่ายทำเมื่อปี 1955 นับเป็นภาพยนตร์เด็กเรื่องแรกของจีน เนื้อหาและความหมายของเพลงสื่อถึงเรื่องราวของภาพยนตร์ที่แฝงข้อคิดที่ผู้แต่งต้องการนำเสนอคือ “ฉันขอถามพวกพ้องอันเป็นที่รักหน่อยเถิด ใครกันลิขิตชีวิตที่สุขสันต์วันหน้าให้ผองเรา” ผู้ที่อยู่ในยุคนั้น ไม่ว่าลูกเล็กเด็กแดง ไม่ต้องมีใครบอก ก็รู้ว่า คำตอบคือ “พรรคคอมมิวนิสต์จีนลิขิตชีวิตที่สุขสันต์วันหน้าให้ผองเรา” ผู้ประพันธ์นำทำนองเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งยังถูกกำหนดด้วยเอกลักษณ์ของเพลงสำหรับเด็กที่จะต้องสื่อถึงความไร้เดียงสา ความบริสุทธิ์ แต่ผู้แต่งก็สามารถนำมาเรียงร้อยสอดประสานกันได้อย่างกลมกลืนและชาญฉลาด ในขณะเดียวกัน เนื้อเพลงที่เป็นการตั้งคำถามที่ทุกคนรู้คำตอบ ยิ่งมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และต้องจิตต้องใจผู้ฟังยิ่งนัก ความสงบ ราบรื่น เสียงแห่งความสุขของเด็ก ๆ กับคุณูปการของวีรบุรุษ ก็สื่อออกมาในเนื้อเพลงได้อย่างแนบเนียน เพลงนี้จึงทำหน้าที่เป็นภาพบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ความทรงจำแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมของประเทศจีนที่งดงามและทรงคุณค่าอเนกอนันต์ และสมบูรณ์
http://www.youtube.com/watch?v=w_TvWab5MuU


อันดับที่ 31. เพลง เหรินหมิน จวินตุ้ย จ้ง หยวี ตั่ง《人民军队忠于党》 (กองทหารประชาชนภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์) ประพันธ์คำร้องโดย Zhang Yongmei (张永枚) ประพันธ์ทำนองโดย Xiao Min (肖民) เป็นหนึ่งในชุดเพลงทหาร แต่งขึ้นเมื่อปี 1960 มีจังหวะกระฉับกระเฉง เข้มแข็ง ออกเผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือชื่อ เจี่ย ฟ่าง จวิน เกอ ฉวี่《解放军歌曲》“เพลงทหารปลดแอกประชาชน” และได้รับความนิยมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมาในปี 1961 คณะกรรมการกิจการทหารได้จัดให้เป็นหนึ่งใน 13 เพลงสำคัญที่กองทัพต้องร้อง ในปี 1964 ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติให้เป็นเพลงยอดเยี่ยมของกิจการทหาร นับตั้งแต่เพลงนี้ได้ถือกำเนิดขึ้นจนปัจจุบัน ยังคงส่งเสียงดังกึกก้องทั่วผืนแผ่นดินจีน และได้รับการคัดเลือกให้ร้องในงานยิ่งใหญ่ระดับชาติมาตลอด และในพิธีตรวจพลสวนสนามในวันเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันชาติจีน 1 ตุลาคม ปี 2009 เพลงนี้ก็ได้ดังกระหึ่มประกาศศักดาอีกครั้ง
http://www.youtube.com/watch?v=6mL8-9oQKS0

อันดับที่ 32. เพลง หว่อ อ้าย จู่กว๋อ เตอะ หลันเทียน《我爱祖国的蓝天》 (ข้ารักฟ้าครามแห่งมาตุภูมิ) ประพันธ์คำร้องโดย Yan Su (阎肃) ประพันธ์ทำนองโดย Yang Ming (羊鸣) แต่งขึ้นในยุคปี 60 ของศตวรรษที่ 20 เนื้อเพลงสื่อถึงความรักและความภาคภูมิใจของทหารอากาศที่มีต่อประเทศชาติ ยอมสละชีพ สู้ศึกทุกสมรภูมิอย่างไม่หวาดหวั่น เพื่อปกป้องฟ้าครามแห่งมาตุภูมิด้วยความองอาจ ผู้แต่งกล่าวถึงเพลงนี้ว่า “เป็นเพลงทหารที่ไม่เหมือนเพลงทหารเลยสักนิด” ด้วยเป็นเพลงที่ถ่ายทอดจิตวิญาณและสำนึกรักชาติของทหารอากาศ เป็นเพลงที่ร้องออกมาจากก้นบึ้งหัวใจของทหารอากาศส่งผ่านผืนแผ่นฟ้าแว่วก้องทั่วผืนแผ่นดิน สู่หัวใจชาวจีนทั่วทุกคน แม้กาลเวลาผ่านเลยเนิ่นนาน แต่เพลงนี้ยังคงความนิยม ชื่นชอบ ทั้งในเหล่าทหารอากาศ และประชาชนทั่วไปอย่างไม่เสื่อมคลาย
http://www.youtube.com/watch?v=mpyD_E3cVB0&feature=related

อันดับที่ 33. เพลง หว่อ เหมิน โจ่ว จ้าย ต้า ลู่ ซ่าง《我们走在大路上》 (เราเดินอยู่บนหนทาง) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Li Jiefu (李劫夫) เพลงนี้กลั่นกรองออกมาจากหัวใจของผู้ประพันธ์ในฤดูร้อนปี 1962 และนำออกเผยแพร่ครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิปี 1963 ผู้แต่งได้แรงบันดาลใจในการแต่งเพลงนี้ จากการที่ได้พบกับท่านนายกรัฐมนตรี โจว เอิน ใหล ในช่วงสามปีแห่งการเผชิญกับความโหดร้ายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ประชาชนทั่วถ้วนทุกผู้คนก้มหน้ากัดฟันต่อสู้ชะตากรรมชีวิตอย่างลำบากยากเข็ญ สร้างแรงบันดาลใจอันแรงกล้าให้ผู้แต่งกลั่นร้อยถ้อยคำ พรรณนาออกมาเป็นภาษา เพื่อให้กำลังใจเพื่อนร่วมชาติให้ผ่านพ้นความลำบากนี้ไปได้ จนกลายเป็นเพลงที่สามารถกระตุ้นให้ผู้คนมีกำลังใจ มีความเข้มแข็งฮึดสู้กับความท้อแท้ต่อไปได้ ท่านนายกรัฐมนตรีโจวเอินใหล ก็ชื่นชอบเพลงนี้เป็นอย่างมาก ในปี 1966 การแสดงคอนเสริตเพื่อมวลชนของกองกำลังปกป้องพลเรือนที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ท่านโจว เอิน ใหล ลงมือเป็นผู้กำกับและนำการขับร้องเพลงนี้ด้วยตนเอง
http://www.youtube.com/watch?v=CL7aBfD_xEU

อันดับที่ 34. เพลง ช่าง จือ ซาน เกอ เก๋ย ตั่ง ทิง 《唱支山歌给党听》 (ร้องเพลงชาวเขาให้ท่านฟังสักเพลง) ประพันธ์คำร้องโดย Jiao Ping (焦萍) ประพันธ์ทำนองโดย Jian Er (践耳) แต่งขึ้นในปีค.ศ. 1964 ผู้แต่งปรับปรุงเนื้อความมาจากกลอนของกวีท่านหนึ่งชื่อ เหยา เสี่ยว โจว (姚筱舟) ที่จดไว้ในบันทึกของ เหลย ฟง (雷锋) ผู้ขับร้องครั้งแรกคือ นักร้องหญิงชื่อดังชาวทิเบต ฉาย ตาน จัว หม่า (才旦卓玛) จากนั้นก็โด่งดังและได้รับความนิยมไปทั่วในชั่วพริบตา และกลายเป็นเพลงที่สืบทอดต่อมาถึงปัจจุบันที่ยังคงความลึกซึ้งกินใจ ฝังลึกในจิตใจชาวจีนทุกคนอย่างไม่เคยจืดจาง เนื้อเพลงถ่ายทอดความจงรักภักดีที่ผู้คนมีต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน และกล่าวเปรียบเทียบสังคมที่แร้นแค้นในอดีต กับสังคมที่พรรคคอมมิวนิสต์ชุบชีวิตใหม่ให้ชนชาวจีน
http://www.youtube.com/watch?v=ulrjTw2LrTQ&feature=PlayList&p=C7BDD987C277329C&playnext_from=PL&playnext=1&index=10

อันดับที่ 35. เพลง ฟาน เซิน หนงนู๋ ป่า เกอ ช่าง 《翻身农奴把歌唱》 (ทาสเป็นไทขับร้องลำนำ) ประพันธ์คำร้องโดย Li Kun (李堃) ประพันธ์ทำนองโดย Yan Fei (阎飞) หลังจากการปฏิวัติวัฒนธรรม และการปลดปล่อยเสร็จสิ้นลง การรวมชาติกับทิเบตเป็นผลสำเร็จแล้ว ในปี 1965 โรงถ่ายภาพยนตร์ของสำนักบันทึกสารคดีส่วนกลาง ได้ถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีขนาดใหญ่เกี่ยวกับชนชาวทิเบตขึ้น คือตอน จิน รื่อ ซี จั้ง《今日西藏》 “ทิเบตวันนี้” และสารคดีเรื่อง ฟาน เซิน หนงนู๋ ป่า เกอ ช่าง 《翻身农奴把歌唱》 “ทาสเป็นไทขับร้องลำนำ” ซึ่งเพลงที่แต่งเพื่อใช้ประกอบสารคดีเรื่องนี้ก็คือเพลงที่มีชื่อเดียวกันนี้นี่เอง เนื้อเพลงเรียงร้อยเรื่องราวประวัติศาสตร์การปลดปล่อย การรวมชาติของจีนกับทิเบต ความรู้สึกภักดี ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเป็นชาติ ซึ่งเป็นความรู้สึกส่วนลึกในใจของชนชาวทิเบตที่อยากจะบอกเล่าให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ฟัง ความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ ได้บอกเล่าไว้ในเพลงๆนี้ทั้งหมดแล้ว
http://www.youtube.com/watch?v=IcwqVreJXGo

อันดับที่ 36. เพลง หว่อ เว่ย จู๋กว๋อ เซี่ยน สือโหยว 《我为祖国献石油》 (ฉันมอบหินน้ำมันแด่มาตุภูมิ) ประพันธ์คำร้องโดย Xue Zhuguo (薛柱国) ประพันธ์ทำนองโดย Qin Yongcheng (秦咏诚) ผู้ขับร้องคนแรกคือ หลิว ปิ่ง อี้ (刘秉义) เนื้อเพลงถ่ายทอดความรู้สึกส่วนลึกในใจทุกดวงของกรรมกรถ่านหินน้ำมัน ในขณะเวลาที่กิจการถลุงหินน้ำมันกำลังพัฒนารุ่งเรือง เพลงนี้ถือได้ว่าเป็นเพลงที่ทรงพลัง จับจิตจับใจของกรรมกรเหมืองแร่ถ่านหินน้ำมันยากที่จะหาคำบรรยายใดๆมาเปรียบเปรย กรรมกรเหมืองแร่ถ่านหินน้ำมัน ผู้อุทิศทุ่มเทสิ้น สละเลือดเนื้อและแรงกาย ฝ่าฟันอันตราย ทุ่มเทเพื่อประเทศชาติอย่างไม่เคยย่อท้อ เป็นเสียงแห่งตัวแทนของกรรมกรทุกคนที่กู่ก้องร้องประกาศด้วยน้ำเสียงที่องอาจ ว่า ข้าไม่กลัวฟ้า ไม่หวั่นดิน เป็นเพลงที่กระหึ่มในใจเหล่ากรรมกร และสะเทือนวงการเพลงปลุกใจอีกเพลงหนึ่งที่ไม่อาจละเลยได้เลย
http://www.youtube.com/watch?v=1Z_Uh5yFogM&feature=related

อันดับที่ 37. เพลง เปียนเจียง ชู่ชู่ ไซ่ เจียงหนาน 《边疆处处赛江南》 (ชายแดนทุกถิ่นเหนือเจียงหนาน) ประพันธ์คำร้องโดย Yuan Ying (袁鹰) ประพันธ์ทำนองโดย Tian Ge (田歌) เพลงนี้ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และจิตวิญญาณของกองกำลังทหารรักษาชายแดนที่แกร่งกล้า ทุ่มเทและเสียสละ เป็นเพลงที่ใช้ประกอบภาพยนตร์สารคดีเรื่อง จวิน เขิ่น จ้าน เกอ 《军垦战歌》 “เพลงแห่งสงครามกองพลทหารชายแดน” สารคดีเรื่องนี้ถ่ายทอดวิถีชีวิตการเพาะปลูกของชาวซินเจียง และการก่อตั้งกองพลทหารรักษาชายแดนในพื้นที่มณฑลซินเจียง ดังนั้นทำนองเพลงนี้จึงมีท่วงทำนองเพลงที่เป็นกลิ่นไอของเพลงพื้นเมืองซินเจียง หลังจากภาพยนตร์สารคดีนี้ออกเผยแพร่ เพลงนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และได้รับความนิยมอย่างสูงไปในขณะเดียวกัน
http://www.youtube.com/watch?v=9noxMx_bZsY

อันดับที่ 38. เพลง กงเหริน เจียจี๋ อิ้ง กู่โถว 《工人阶级硬骨头》 (ชนชั้นกรรมกรกระดูกเหล็ก) ประพันธ์คำร้องโดย Xi Yang (希扬) ประพันธ์ทำนองโดย Qu Wei (瞿维) ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1964 ชื่อเดิมเมื่อครั้งออกเผยแพร่ครั้งแรกคือ อู๋ ห่าว หง ฉี โส่ว จือ เกอ 《五好红旗手之歌》 “เพลงสรรเสริญความดีห้าประการแห่งวีรบุรุษ” ต่อมาผู้แต่งได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น กงเหริน เจียจี๋ อิ้ง กู่โถว (ชนชั้นกรรมกรกระดูกเหล็ก) ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม สังคมจีนตกอยู่ในความวุ่นวาย สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศพังทลาย ในยุคนั้นการดำเนินชีวิตทุกอย่างอยู่ในกำกับดูแลของทางการอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อาหาร ข้าวของเครื่องใช้จะต้องใช้บัตรที่ทางการแจกให้แต่ละครัวเรือนประจำเดือน แล้วนำไปแลกกับหน่วยงานของทางการตามที่กำหนด ในยุคนั้นรัฐบาลเน้นนโยบายด้านการผลิตอุตสาหกรรมอย่างหนักหน่วง และดำเนินนโยบายตามความคิดของท่านเหมาเจ๋อตงที่ให้ประชาชนทุกคนเชื่อฟังการชี้นำของรัฐบาล อย่าก่อความวุ่นวาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชาติบ้านเมือง ชนชั้นกรรมกรจึงเป็นชนชั้นที่ทำงานหนักมากที่สุดในยุคนี้ บทเพลงนี้เป็นเพลงที่ยกย่อง ให้กรรมกรซึ่งเป็นพลังของชาติให้มีกำลังใจ และพร้อมจะทุ่มเทเพื่อร่วมกันสร้างชาติให้เข้มแข็งขึ้นมาใหม่
http://www.tudou.com/programs/view/ettFjtFrRwY/

อันดับที่ 39. เพลง หว่อ อ้าย เป่ยจิง เทียน อัน เหมิน 《我爱北京天安门》 (ฉันรักปักกิ่ง เทียนอันเหมิน) ประพันธ์คำร้องโดย Jin Guolin (金果临) ประพันธ์ทำนองโดย Jin Yueling (金月苓) เป็นบทเพลงที่สรรเสริญท่านเหมาเจ๋อตง ผู้สร้างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นำออกเผยแพร่เมื่อเดือนกันยายนปี 1970 ผู้ประพันธ์ทำนองเพลง Jin Yueling เล่าให้ฟังว่า ในปีนั้นตนเองอายุ 19 ปี ขณะที่เปิดหนังสือเพลงก็พบว่ามีคำศัพท์สำคัญที่ถ่ายทอดความเป็นชาติจีนในยุคนั้น ที่เด่นชัดคือ เทียนอานเหมิน ปักกิ่ง เหมาเจ๋อตง ประธานาธิบดี คำศัพท์เหล่านี้ทำให้หัวใจดนตรีของผู้แต่งเต้นเป็นจังหวะ จนเรียงร้อยและถ่ายทอดออกมาเป็นทำนองเพลง หลังจากที่นำออกเผยแพร่ เพลงนี้ไม่เพียงได้รับความนิยมอย่างสูงในปักกิ่งและประเทศจีน แต่ยังโด่งดังไปถึงต่างประเทศ โดยในปี 1979 เติ้งเสี่ยวผิง เดินทางเยือนอเมริกา นายกรัฐมนตรีของสหรัฐอเมริกา James Earl Carter ได้จัดการแสดงคอนเสริตเพื่อต้อนรับการมาเยือนที่ John F. Kennedy Center for the Performing Arts การแสดงชุดสุดท้าย เป็นการขับร้องประสานเสียงโดยคณะเยาวชนชาวอเมริกัน เพลงที่ขับร้องก็คือเพลง ฉันรักปักกิ่ง เทียนอันเหมิน นี่เอง
http://www.youtube.com/watch?v=XS-osLl0e3E&feature=related

อันดับที่ 40. เพลง เป่ยจิง ซ่ง เกอ《北京颂歌》 (สดุดีปักกิ่ง) ประพันธ์คำร้องโดย Hong Yuan (洪源) ประพันธ์ทำนองโดย Tian Guang และ Fu Jing (田光、傅晶) แต่งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1971 ด้วยอารมณ์แห่งความรักชาติ ผสมผสานกับกลเม็ดแห่งคีตศิลป์ ทำให้เพลงนี้เป็นเพลงชั้นแนวหน้าเพลงหนึ่งของจีน ผู้แต่งมิได้อาศัยทำนองเพลง รูปแบบเพลงมาจากชนเผ่าใดเผ่าหนึ่ง(ประเทศจีนมีประชากรแตกต่างกัน 56 ชาติพันธุ์) แต่ใช้พื้นฐานของดนตรีประจำชาติจีนสรรค์สร้างคีตกรรมอันทรงพลังแห่งท่วงทำนองนี้ขึ้น ทั้งยังมีความไพเราะลึกซึ้งอยู่ในที โดยในท่อนแรกของเพลงใช้ทำนองหลักของเพลงชาติและเพลงบูรพาแดง(“บูรพาแดง”เป็นเรื่องราวแห่งการปรับเปลี่ยน ปฏิวัติวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากเก่าเข้าสู่ใหม่ เป็นเรื่องราวของการเดินทางของ “สาธารณรัฐประชาชนจีน”) เพื่อถ่ายทอดภาพของความผงาดเกรียงไกรของ” ปักกิ่ง” ดุจดั่งอาทิตย์แผ่ขยายรังสีในยามรุ่งอรุณ ท่อนต่อมาใช้วิธีดำเนินทำนองแบบซ้อนทำนอง ให้ความรู้สึกเหมือนพลังที่ผลักดันที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ จนเข้าสู่ท่อนที่สามเป็นจังหวะแบบเพลงมาร์ชที่มีความหนักแน่นเข้มแข็ง เพื่อสื่อถึงความยิ่งใหญ่และทรงพลัง เหมือนกับการก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่ของชาติจีนอย่างองอาจเกรียงไกร
http://www.youtube.com/watch?v=_p5FXd5qOFI

อันดับที่ 41. เพลง จู่ กว๋อ ซ่ง 《祖国颂》 (สดุดีมาตุภูมิ) ประพันธ์คำร้องโดย Qiao Yu (乔羽) ประพันธ์ทำนองโดย Liu Chi (刘炽) เป็นหนึ่งในสองเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อประกอบการถ่ายทำสารคดีชุด “สดุดีมาตุภูมิ” ในปี ค.ศ. 1957 อีกเพลงหนึ่งคือ จิ่น เย่ ต้าวชู่ โหย่ว เกอเซิง《今夜到处有歌声》 “ราตรีนี้ทุกที่มีเสียงเพลง” เพลงสดุดีมาตุภูมินำออกเผยแพร่ครั้งแรกในการฉลองวันชาติจีนเมื่อเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน ต่อมาภาพยนตร์สารคดีนำออกเผยแพร่ในอีกครั้งในวันขึ้นปีใหม่ปี 1958 ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมต่อมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาปี ค.ศ. 1964 ได้นำเพลงนี้มาประกอบละครกลอนโอเปร่าจีน เรื่อง “บูรพาแดง” ด้วยท่วงทำนองเพลงอันไพเราะละเมียดละไม ความหมายของเนื้อเพลงที่สรรเสริญวีรบุรุษ และวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ คุณูปการอันประเสริฐที่มีต่อประเทศชาติ ทำให้เพลงนี้ได้รับความนิยมชื่นชอบเป็นอย่างมาก ทุกปีในงานฉลองวันชาติ งานขึ้นปีใหม่ และการแสดงคอนเสริตของทางการ ไม่มีแม้สักครั้งที่จะไม่ได้ยินเพลงนี้
http://www.youtube.com/watch?v=IDwfl1c5uOM

อันดับที่ 42. เพลง หว่อ อ้าย เจ้อ หลานเส้อ เตอะ ไห่ หยาง 《我爱这蓝色的海洋》 (ฉันรักทะเลครามผืนนี้) ประพันธ์คำร้องโดย Hu Baoshan (胡宝善) ประพันธ์ทำนองโดย Hu Baoshan และ Wang Chuanliu (胡宝善、王川流) เพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อปี 1972 ผู้แต่งได้เดินทางออกทะเลไปพร้อมกับทหารเรือที่ออกทะเลซ้อมรบ ออกจากท่าหนานผิงถึงซัวเถา รอนแรมบนเรือสามวันสามคืน ได้สัมผัสกับชีวิตของทหารเรือที่รอนแรมอยู่กลางทะเล ก้มหน้าเป็นท้องน้ำเวิ้งว้างสุดสายตา แหงนหน้าเป็นท้องฟ้าสีครามกว้างใหญ่ จึงเกิดแรงบันดาลใจแต่งเนื้อเพลงนี้ขึ้น ต่อมานักประพันธ์อีกท่านคือ Wang Chuanliu ได้ปรับแต่งเนื้อเพลงเพิ่มเติม จากนั้นแต่งทำนองเพลงโดยใช้จังหวะ Waltz เนื้อเพลงสื่อถึงความเสียสละ ความทุกข์ยาก ลำบากของทหารเรือที่ฝากชีวิตไว้บนเรือที่แล่นตระเวนไปเพื่อปกป้องเขตแดนของมาตุภูมิ มองไม่เห็นจุดหมายและทิศทาง มองไปทางใดก็เห็นแต่น้ำทะเลสีคราม กับโลกที่โอนเอนไปตามเกลียวคลื่นซัดโหมที่ไม่เคยหยุดหย่อน
http://www.youtube.com/watch?v=xuvOJctbJ_A

อันดับที่ 43. เพลง ไท่หยาง จุ้ย หง เหมา จู่สี จุ้ย ชิน《太阳最红毛主席最亲》(ตะวันแดงที่สุด ท่านประธานเหมาผูกพันลึกซึ้งที่สุด) ประพันธ์คำร้องโดย Fu Lin (付林) ประพันธ์ทำนองโดย Wang Xiren (王锡仁) เพลงนี้แต่งขึ้นเพื่อให้เป็นที่ระลึกและไว้อาลัยในการจากไปของท่านประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตง เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 เดือนกันยายน ปี ค.ศ. เนื้อเพลงถ่ายทอดความรู้สึกของประชาชนชาวจีนที่รำลึกห่วงหา อาลัยอาวรณ์ในการจากไปของนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่อย่างสุดซึ้ง ด้วยรักและสำนึกในพระคุณที่ท่านได้เปลี่ยนชีวิตใหม่ให้ชนชาวจีน สั่งสอนและวางนโยบายของชาติ จนสามารถสร้างประเทศจีนใหม่ที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรมาจนจวบปัจจุบัน ทำนองเพลงเป็นทำนองที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติจีนโดยแท้
http://www.youtube.com/watch?v=jaDDBMV7Hso&feature=related


อันดับที่ 44. เพลง หว่อ เว่ย เหว่ยต้า จู่กว๋อ จ้าน กั่ง《我为伟大祖国站岗》 (ฉันยืนหยัดในสมรภูมิเพื่อมาตุภูมิ) ประพันธ์คำร้องโดย Wei Baogui (魏宝贵) ประพันธ์ทำนองโดย Zhaobang และ Tie Yuan (钊邦、铁源) ออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1971 เนื้อเพลงใช้ภาพเหตุการณ์สงครามที่เกาะเจินเป่าเมื่อปี 1969 เป็นแรงจินตนาการ บรรยายภาพการเดินทางรอนแรมของกองกำลังทหารไปตามลำน้ำเฮยหลง นำพาผู้ฟังสัมผัสกับความลำบาก ลมหนาวที่เสียดแทงเข้าถึงกระดูก ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าสิ้นแรงกาย แต่ยังสู้ต่อไปด้วยหัวใจอันเปี่ยมพลังของเหล่าทหารกล้าที่รอนแรมเดินทางไกล เพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งการปลดปล่อย ผู้ขับร้องเพลงนี้เป็นคนแรกคือทหารในกองพลเมืองเสิ่นหยางชื่อ ต่ง เจิ้น โฮ่ว ด้วยพลังเสียงสูงใหญ่ ก้องดังกังวานมีอำนาจที่เป็นเอกลักษณ์ของนักร้องท่านนี้ ทำให้บทเพลงแห่งสงครามยิ่งเพิ่มความแกร่งกร้าว เข้มแข็ง ดุดันเป็นทวีคูณ
http://www.youtube.com/watch?v=H7K92paGIGg

อันดับที่ 45.เพลง หว่อ อ้าย อู๋ จื่อ ซาน หว่อ อ้าย ว่าน เฉวียน เหอ《我爱五指山,我爱万泉河》(ฉันรักเขาอู๋จื่อ ฉันรักแม่น้ำว่านเฉวียน) ประพันธ์คำร้องโดย Zheng Nan (郑南) ประพันธ์ทำนองโดย Liu Chang ‘an (刘长安) เพลงนี้เผยแพร่และได้รับความนิยมอย่างสูงสุดนับตั้งแต่ยุคปี 80 เป็นต้นมา เนื้อเพลงพรรณนาภาพสงครามในยุคปฏิวัติที่เมืองไห่หนาน(ไหหลำ) ถ่ายทอดจิตวิญญาณความรักและหวงแหนที่ทหารและประชาชนมีต่อแผ่นดินเกิด ในขณะเดียวกันก็แสดงถึงความศรัทธาและสดุดีเหล่าวีรชนที่ต่อสู้ในสงครามปฏิวัติอย่างกล้าหาญ ที่ปกป้องบ้านเมืองและนำพาประชาชนเข้าสู่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อให้ได้มาซึ่งชีวิตใหม่ที่สุขสดใส ล้มล้างการกดขี่ข่มเหงของชนชั้นศักดินาให้หมดสิ้นไป
http://www.youtube.com/watch?v=TbNee7h-VRc

อันดับที่ 46. เพลง จงกว๋อ จงกว๋อ เซียน หง เตอะ ไท่หยาง หย่ง ปู๋ ลั่ว《中国,中国,鲜红的太阳永不落》(ชาติจีน ชาติจีน ตะวันแดงสดใสที่ไม่เคยตกดิน) ประพันธ์คำร้องโดย Ren Hongju และ He Dongjiu (任红举、贺东久) ประพันธ์ทำนองโดย Zhu Nanxi (朱南溪) เพลงนี้เป็นเพลงปลุกใจ มีเนื้อหาสดุดีมาตุภูมิ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดสำนึกรักชาติ ต่อมา คณะกรรมการเพลงประชาชนส่วนกลาง ได้คัดเลือกให้เพลงนี้ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยม และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารชื่อ “เพลง” ในปี 1980 ซึ่งเป็นวารสารที่ตีพิมพ์เรื่องราวด้านเพลงชั้นแนวหน้าในสมัยนั้น
http://www.youtube.com/watch?v=JacoP4dHBII

อันดับที่ 47. เพลง เปียนเจียง เฉวียนสุ่ย ชิง โย่ว ฉุน《边疆泉水清又纯》 (น้ำพุชายแดนใสและบริสุทธิ์) ประพันธ์คำร้องโดย Kai Chuan (凯传) ประพันธ์ทำนองโดย Wang Ming (王酩) เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เฮย ซาน เจี่ยว《黑三角》”สามมุมมืด” ถ่ายทำในปี ค.ศ. 1977 โดยผู้กำกับชื่อ หลิว ชุน หลิน และ หลิว ฟาง เชียน(刘春霖,陈方千) ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวการทำคดีของกองปราบในการจับกุมจารชน เป็นภาพยนตร์แนวลึกลับสืบสวนในวงการตำรวจ ปมเรื่องมีความสลับซับซ้อน และยังนำเสนอความเสมอภาคเท่าเทียม ความรักความสามัคคีความผูกพัน ความอบอุ่นระหว่างกันของญาติ พี่น้อง เพื่อนร่วมงาน คู่รักและผู้คนที่มีต่อกัน เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงมีเนื้อหาเน้นหนักในเรื่องของความรัก ความเอื้ออาทรของญาติพี่น้อง มิตรสหาย และผู้คนในสังคม และหัวใจที่สำคัญที่สุดก็คือ ความรักที่ประชาชนต่อทหาร และมาตุภูมิ
http://www.youtube.com/watch?v=tDwmZ8cTpBg
   
อันดับที่ 48.เพลง หว่อ อ้าย หนี่ จงกว๋อ《我爱你,中国》 (ฉันรักเธอ ประเทศจีน) ประพันธ์คำร้องโดย Qu Cong (瞿琮) ประพันธ์ทำนองโดย Zheng Qiufeng (郑秋枫) เป็นเพลงสดุดีมาตุภูมิที่แต่งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1979 ลักษณะของเพลงแบ่งเป็นสามท่อน คือ หัว ตัว ท้าย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโครงสร้างเพลงของจีน เริ่มต้นเพลงมีทำนองและจังหวะอิสระ ฟังดูเหมือนเสียงที่ลอยล่องก้องกังวานทั่วแผ่นดินและผืนฟ้า ให้บรรยากาศที่กว้างไกล ยิ่งใหญ่ ดึงผู้ฟังให้เข้าสู่ดินแดนแห่งเพลงและดนตรีที่กว้างใหญ่ไพศาล แสดงถึงศิลปะดนตรีที่ให้อารมณ์องอาจยืนยงของจีน การไล่เสียงจากต่ำขึ้นสูง แล้วลากลงต่ำเป็นช่วงกว้างกลับไปกลับมา ให้ความรู้สึกฮึกเหิมลำพอง ราวกับลอยล่องเหิรร่อนบนผืนนภาอันกว้างใหญ่ ในขณะที่การใช้ตัวโน้ตแบบต่อเนื่องสามเสียง และเสียงสั่นเป็นระลอก เพื่อแทนเสียงร้องของนกยักษ์อันไพเราะ แต่แฝงด้วยอำนาจ ก็ให้ความรู้สึกสบายแต่ผยองลำพอง การจัดอันดับเพลงยอดนิยมมวลชนในปี 1980 เพลงนี้ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยม ต่อมาในปี 1983 มีการพิจารณาคัดเลือกเพลงยอดเยี่ยมแห่งชาติครั้งที่หนึ่ง เพลงนี้ได้รับรางวัลที่หนึ่ง
http://www.youtube.com/watch?v=opNks9aWi_w&feature=related

อันดับที่ 49.เพลง หว่อ เหมิน เตอะ เซิงหัว ชงหม่าน หยางกวาง《我们的生活充满阳光》 (ชีวิตของเรา เปี่ยมด้วยแสงตะวันฉาย) ประพันธ์คำร้องโดย Qin Zhiyu (秦志钰) ประพันธ์ทำนองโดย Lv Yuan และTang He (词吕远、唐诃) เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เถียนมี่ เตอะ ซื่อ เย่《甜蜜的事业》”กิจการหวานชื่น” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับนโยบายการวางแผนครอบครัวของรัฐบาลจีน เผยแพร่ในปี 1978 เป็นเพลงที่มีอารมณ์บันเทิงเบิกบาน สนุกสนานเริงใจ คละคลุ้งด้วยกลิ่นไอของความเป็นเพลงพื้นเมืองจีน ผู้ขับร้องเพลงนี้คนแรกชื่อ หยวี ซู เจิน (于淑珍) นักร้องผู้นี้มีวิธีการร้องเพลงที่ลึกซึ้งกินใจ แต่แจ่มใสรื่นเริง ยิ่งส่งให้เพลงนี้กลายเป็นเพลงยอดนิยมขึ้นอย่างรวดเร็ว
http://www.youtube.com/watch?v=y7vjeC7i_rM&feature=related

อันดับที่ 50. เพลง เหม่ยลี่ เตอะ ฉ่าวหยวน หว่อ เตอะ เจีย《美丽的草原我的家》 (ทุ่งหญ้าแสนงาม บ้านของฉัน) ประพันธ์คำร้องโดย Huo Hua (火华) ประพันธ์ทำนองโดย A La Teng Ao Le (阿拉腾奥勒) เป็นเพลงสำเนียงมองโกลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเพลงหนึ่ง เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1977 ผู้ขับร้องคนแรกคือ นักร้องหญิงชาวมองโกลชื่อดัง ชื่อ เต๋อ เต๋อ หม่า (德德玛) ภาพของทุ่งหญ้ามองโกลอันกว้างใหญ่ ลมระเรื่อย ยอดหญ้าไหวเอน ฝูงแกะ ขนสีขาวพราวระยิบหยอกล้อแสงอาทิตย์อยู่เต็มท้องทุ่ง กระโจมที่พักคือบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวมองโกล เป็นความงดงามที่พลังแห่งภาษาและอานุภาพแห่งทำนองเพลงดึงดูดผู้ฟังเข้าสู่จินตภาพของดินแดนมองโกล ท่วงทำนองเรื่อยเรื่อย เอื่อยระริน ราวกับลมรำเพยพัดแผ่ว ยอดหญ้าเขียวขจีทั้งท้องทุ่งไล่ล้อเอนไหวเล่นลมและปุยเมฆขาวที่คลอเคลียโลมไล้ท้องทุ่ง ด้วยเนื้อเพลงที่บรรยายความงามชัดเจน ท่วงทำนองที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลงมองโกล ดุจน้ำจันทน์ชั้นดีที่จะมอมเมาผู้ฟังให้จับจิตจับใจเพลินฤทัยใหลหลง จนไม่อาจจะจากดินแดนงดงามแห่งนี้ไปไหนได้อีกเลย ในปี ค.ศ.1980 เพลงนี้ได้รับคัดเลือกจาก United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization – UNESCO ให้เป็นเพลงยอดเยี่ยมและบันทึกไว้เป็นเพลงสำหรับการศึกษาใน “รวมเพลงยอดเยี่ยมแห่ง Asia Pacific” ต่อมาในปี ค.ศ. 2000 ได้รับคัดเลือกให้เป็น “เพลงสากลยอดเยี่ยมอันดับหนึ่ง”
http://www.youtube.com/watch?v=-ue2KvoyojA

อันดับที่ 51. เพลง หว่อเมิน เหม่ยลี่ เตอะ จู่กว๋อ 《我们美丽的祖国》 (มาตุภูมิแสนงามของฉัน) ประพันธ์คำร้องโดย Zhang Minghe (张名河) ประพันธ์ทำนองโดย Xiao Dan (晓丹) เป็นเพลงสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีชื่อเสียงเพลงหนึ่ง เนื้อเพลงใช้วิธีการเขียนแบบอุปลักษณ์ เปรียบเทียบความสามัคคีกับฝูงผึ้งที่ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างรัง เปรียบเทียบความงดงามและยิ่งใหญ่ของธงแดงห้าดาว เป็นเมฆขาวพราวระยิบปลิวพริ้มยามสายัณห์ เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก ๆ ส่งเสริมความรู้สึกและมีสำนึกต่อความรักชาติ มีสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษที่ร่วมสร้างชาติจนเป็นปึกแผนตราบปัจจุบัน ให้เด็ก ๆ รู้สึกว่า ตนเอง คือดอกไม้ของมาตุภูมิ ผู้ที่จะเบ่งบานเป็นดอกไม้งามและผลผลิตที่งดงามของมาตุภูมิในอนาคต ในปี ค.ศ. 2009 สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาครบรอบ 60 ปี เพลงนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นเพลงสำคัญเพลงหนึ่งในกิจกรรมครั้งนี้
http://www.tudou.com/programs/view/Dgdhue_9-Q8/

อันดับที่ 52. เพลงตั่ง อา ชิน อ้าย เตอะ มามา《党啊,亲爱的妈妈》 (ตั่งเอ๋ย แม่ผู้เป็นที่รัก /ตั่ง หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ประพันธ์คำร้องโดย Gong Ai shu และ She Zhidi (龚爱书、佘致迪) ประพันธ์ทำนองโดย Ma Dianyin และ Zhou You (马殿银、周右) เพลงนี้นำออกเผยแพร่ครั้งแรกในงานวันเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ของชาติจีนปี ค.ศ. 1984 โดยศิลปินหญิงชื่อดัง ชื่อ อิน ซิ่ว เหมย (殷秀梅) คำร้องที่ว่า “แม่ จ๋า แม่ แม่ผู้เป็นที่รัก แม่ให้น้ำนมแสนหวานเลี้ยงฉันเติบใหญ่ แม่จ๋าแม่ แม่ผู้เป็นที่รัก แม่คอยให้กำลังใจให้ฉันข้ามผ่านการปฏิวัติสู่ชีวิตใหม่” ถ่ายทอดความในใจที่ประชาชนคนหนึ่งมีสำนึกในบุญคุณ รักและผูกพันกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างลึกซึ้ง ที่ได้เติบโตมาด้วยน้ำนมและไออุ่นของมาตุภูมิภายใต้ธงแดงห้าดาว ประกอบกับน้ำเสียงที่หนักแน่น ทุ้มลึกทรงพลังของนักร้อง วิธีการร้องที่ผสมผสานระหว่างการขับร้องแบบจีน และการขับร้องแบบโอเปร่าของตะวันตกผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ทำให้เพลงนี้ฝังรากลึกลงในจิตใจชาวจีนทั่วประเทศอย่างรวดเร็วและมั่นคง ในการเฉลิมฉลองวันชาติจีน เดือนตุลาคม ปี 2007 มีมหกรรมคอนเสริตรวมเพลงรักชาติ โดยได้ตั้งชื่อคอนเสริตครั้งนี้ว่า “ตั่งเอ๋ย แม่ผู้เป็นที่รัก” และเพลงนี้ก็เป็นเพลงเอกในกิจกรรมครั้งนี้
http://www.youtube.com/watch?v=4P7QwrW9Spw&feature=related

อันดับที่ 53. เพลง จ้าย ซีวั่ง เตอะ เถียน เหย่ ซ่าง《在希望的田野上》 (บนทุ่งหญ้าแห่งความหวัง) ประพันธ์คำร้องโดย Xiao Guang (晓光) ประพันธ์ทำนองโดย Shi Guangnan (施光南) เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในยุคปี 80 แห่ง ศตวรรษที่ 20 เพลงนี้เป็นผลมาจาก ในปี 1978 การประชุมพรรคครั้งที่ 11 เน้นนโยบายที่เกี่ยวกับพัฒนาชนบท ต่อมาในเวลาไม่กี่ปี ชนบทของจีนเปลี่ยนแปลงและพัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว คุณภาพชีวิตของชาวชนบทดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเดินทางไปถึงชนบทแห่งใด ก็จะได้พบเห็นชาวชนบทที่เต็มไปด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม เปี่ยมด้วยความสุขที่ได้รับจากรัฐบาล สิ่งนี้เองเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้นักประพันธ์เพลงเขียนเนื้อเพลงขึ้นเพื่อสดุดีการปฏิวัติวัฒนธรรมของชาติจีน เพลงนี้เคยใช้เป็นเพลงรณรงค์พรรคคอมมูนเยาวชนแห่งรัฐบาลกลาง และใช้เป็นเพลงประกอบการแสดงชุด “เฉลิมฉลองวันชาติครบรอบ 35 ปี” ในปี ค.ศ. 1984 อีกด้วย เพลงนี้ขับร้องครั้งแรกโดยศิลปินชื่อดัง ชื่อ เผิง ลี่ หยวน (彭丽媛) และนับเป็นเพลงเอกที่สร้างชื่อให้ศิลปินท่านนี้ เนื้อเพลงที่เป็นการสดุดีบ้านเกิดเมืองนอน สรรเสริญพรรคคอมมูน ทำนองเพลงพื้นเมืองที่ให้อารมณ์เบิกบาน สบายอุรา ทำให้เพลงนี้ติดหูและจับใจชาวจีนได้ย่างง่ายดาย ได้รับความนิยมสูงสุดมาจนปัจจุบัน
http://www.youtube.com/watch?v=tAghJ4IzCo8

อันดับที่ 54.เพลง ฉางเจียง จือ เกอ《长江之歌》 (ลำนำแห่งแยงซี) ประพันธ์คำร้อง
โดย Hu Hongwei (胡宏伟) ประพันธ์ทำนองโดย Wang Shiguang (王世光) เป็นเพลงเอกประกอบสารคดีขนาดใหญ่ระดับชาติของจีน เรื่อง ฮว่า ซัว ฉางเจียง 《话说长江》“เล่าเรื่องฉางเจียง” มีท่วงทำนองเพลงองอาจ ฮึกเหิม เนื้อเพลงสื่อถึงความทระนงน่าเกรงขาม พรรณนาความยิ่งใหญ่อลังการ ความงดงาม คุณูปการของแม่น้ำแยงซีที่มีต่อชนชาวจีน แสดงออกถึงความรักความผูกพันอันลึกซึ้งของชาวจีนที่มีต่อมาตุภูมิ จุดเด่นที่ผู้แต่งต้องการนำเสนอในเพลงนี้ก็คือ “ร้องเพลงลำนำฉางเจียง สดุดีฉางเจียง” แม่น้ำฉางเจียง หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นแม่น้ำสายหลักของจีน มีจุดกำเนิดจากธารน้ำแข็งบริเวณหุบเขาถางกู่ลา มณฑลชิงไห่ มีความยาวตลอดสาย 6,300 กิโลเมตรโดยประมาณ ไหลผ่านพื้นที่ 11 เมือง เขตปกครองตนเองและมณฑล ลงสู่ทะเลทางทิศตะวันออก เป็นแม่น้ำสายใหญ่ควบคู่กับแม่น้ำฮวงโห ชาวจีนเปรียบเป็นสายเปลที่กล่อมไกว หล่อเลี้ยงชาวจีนทั่วทั้งแผ่นดิน
http://www.youtube.com/watch?v=ZK_1UmGnzIo

อันดับที่ 55.เพลง หว่อ อ้าย หนี่ ไซ่ เป่ย เตอะ เสวี่ย《我爱你,塞北的雪》 (ฉันรักเธอ ปุยหิมะขาวพราวแดนเหนือ) ประพันธ์คำร้องโดย Wang De (王德) ประพันธ์ทำนองโดย Liu Xijin (刘锡津) เป็นเพลงที่มีทำนองเป็นเอกลักษณ์เพลงพื้นเมืองแถบมณฑลเฮยหลงเจียง และก็เป็นผลงานการประพันธ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคีตกวีชาวเฮยหลงเจียงด้วยเช่นกัน เพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1980 เป็นช่วงเวลาที่คีตกวีทั้งสองทำงานอยู่ในกองศิลปากรแห่งมณฑลเฮยหลงเจียง ผู้ขับร้องเพลงนี้เป็นคนแรกเป็นศิลปินตาบอดชาวเฮยหลงเจียงชื่อ (周琪华) เนื้อเพลงพรรณนาความงามของทัศนียภาพดินแดนทางเหนือที่มีอากาศเหน็บหนาว ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวดุจปุยสำลี เป็นดั่งสัญญาณบอกช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ และการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของผู้คน
http://www.youtube.com/watch?v=-pR2UWfruM0

อันดับที่ 56. เพลง กู่ ลั่ง หยวี่ จือ โป 《鼓浪屿之波》 (คลื่นทะเลแห่งเกาะกู่ลั่ง) ประพันธ์คำร้องโดย Zhang Li Hong Shu (张藜、红曙) ประพันธ์ทำนองโดย Zhong Limin (钟立民) กู่ลั่งหยวี่ คือชื่อเกาะแห่งหนึ่งในเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน เป็นดินแดนที่หันหน้าเข้าหาเกาะใต้หวัน จึงถือเอาว่า เป็นชายแดนของสองฝั่งพี่น้องร่วมท้องจีนและใต้หวัน จง หลี่ หมิน ในช่วงปี 1981 ผู้ประพันธ์ได้เดินทางมาร่วมงานสมาพันธ์นักแต่งเพลงแห่งมณฑลฝูเจี้ยนเพื่อศึกษาดนตรีพื้นเมือง ในหัวข้อ “มหกรรมดนตรี พี่น้องร่วมสายเลือดสองฝั่ง” ที่มณฑลฝูเจี้ยน เมื่อเดินทางมาถึงเมืองเซี่ยเหมิน อันเป็นที่ตั้งของ “เกาะกู่ลั่ง” เสียงคลื่นลมซัดสาดกระทบฝั่งลูกแล้วลูกเล่า เป็นแรงบันดาลใจอันวิเศษ จึงได้ประพันธ์เพลงได้มากถึงเจ็ดเพลง ต่อมาเพลงของท่านสี่เพลงได้รับเชิญมาแสดงในคอนเสริต “เสียงแห่งสองฝั่งครั้งที่หนึ่ง” ได้แก่เพลง ฉงหยางเจี๋ย 《重阳节》“เทศกาลฉงหยาง” (วันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน เป็นวันเทศกาลเก่าแก่ของจีน ชื่อเทศกาลฉงหยาง ตามประเพณีของจีน เทศกาลฉงหยางเรียกได้อีกว่า “เทศกาลเก้าคู่” “เทศกาลผู้สูงอายุ” เมื่อถึงวันเทศกาล ชาวจีนมีประเพณีไต่เขาชมดอกเก๊กฮวย ปักต้นจูหรู และกินขนมฮวาเกา) เพลงเติงกวาง《灯光》“แสงไฟ” เพลงเซียง ซือ ซู่ เย่《相思树叶》“ครุ่นคำนึงถึงใบไม้” และเพลงกู่ ลั่ง หยวี่《鼓浪屿之波》“คลื่นทะเลแห่งเกาะกู่ลั่ง” นับเป็นครั้งแรกที่เพลงนี้ได้นำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน ต่อมาในปี 1984 ได้นำออกขับร้องอีกครั้งในงานเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่แห่งชาติ ทำให้ทั้งเพลงนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของชาวจีนตลอดกาล นานตราบเท่าที่เสียงแห่งคลื่นยังคงกระทบฝั่งเกาะกู่ลั่ง
http://www.youtube.com/watch?v=lGzfsgopnPI

อันดับที่ 57. เพลง ตีลี ตีลี 《嘀哩嘀哩》 (ต้อยตะริดติ๊ดตี่) ประพันธ์คำร้องโดย Wang An (望安) ประพันธ์ทำนองโดย Pan Zhensheng (潘振声) เป็นเพลงสำหรับเด็กที่มีท่วงทำนองร่าเริงแจ่มใส เนื้อเพลงสื่อถึงภาพความงดงามของฤดูใบไม้ผลิ เด็กๆ สามารถจดจำถ้อยคำพรรณนาและสัมผัสประสบการณ์ความสุข ความงามของฤดูใบไม้ผลิได้จากเพลงนี้ โดยกระทรวงศึกษาธิการจีน ได้บรรจุให้เพลงนี้เป็นเพลงที่ใช้สอนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทางอารมณ์ และความคิดทางศิลปะ เนื้อเพลงที่ขึ้นต้นด้วยประโยคที่ว่า “ฤดูใบไม้ผลิอยู่หนใด” กระตุ้นความสนใจของเด็ก ๆ ให้สอดส่ายสายตามองหาฤดูใบไม้ผลิรอบๆกาย ต่อจากนั้นก็ได้พรรณนาความงามของฤดูใบไม้ผลิ เป็นบทกลอนไพเราะว่า “ป่าเขาเขียวมรกตขจี ส่องสะท้อนที่ผืนน้ำใส” คำร้องที่ว่า “ตี ลี ลี” คือสัญลักษณ์เลียนเสียงนกร้อง เป็นการนำเสียงจากธรรมชาติเข้ามาไว้ในเพลง ด้วยทำนองเพลงที่เรียงร้อยด้วยตัวโน้ตแบบง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน สื่อถึงความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสาของเด็ก ๆ จึงเป็นที่ชื่นชอบของเยาวชนทั่วไป
http://www.youtube.com/watch?v=e82rtn9F-cA

อันดับที่ 58. เพลง ซ่าวเหนียน ซ่าวเหนียน จู่กว๋อ เตอะ ชุนเทียน《少年,少年,祖国的春天》 (เด็กน้อย เด็กน้อย เจ้าคือฤดูใบไม้ผลิของมาตุภูมิ) ประพันธ์คำร้องโดย Li Yourong (李幼容) ประพันธ์ทำนองโดย Ji Ming (寄明) เด็กน้อย เด็กน้อย เจ้าคือฤดูใบไม้ผลิของมาตุภูมิเป็นเพลงที่มีความสดใส ร่าเริงดั่งแสงทองแห่งอรุณรุ่ง เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง อิง สย๋ง เสี่ยว ปา ลู่《英雄小八路》“วีรบุรุษน้อยแห่งกองทัพสายที่แปด” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับยุคสงครามต้านทหารญี่ปุ่น เพลงนี้ได้รับรางวัลเพลงเด็กยอดเยี่ยมติดต่อกันตั้งแต่ปี ค.ศ.1976 จนถึงปี ค.ศ.1981 เนื้อเพลงบอกถึงความสำคัญของเด็กว่าเป็น สติปัญญาของชาติ เด็กเป็นทรัพย์สมบัติอันมีค่าของชาติ เด็กเป็นกำลังอันแข็งแกร่งของชาติ เด็กเป็นความหวังของชาติ เป็นดั่งฤดูใบไม้ผลิที่งดงาม ประเทศชาติต้องพัฒนาไปข้างหน้า ด้วยพลังของเด็กๆ ในวันนี้
http://www.youtube.com/watch?v=i0VonBRfdHI

อันดับที่ 59. เพลง เกอเซิง หยวี่ เวยเซี่ยว《歌声与微笑》 (เสียงเพลง และรอยยิ้ม) ประพันธ์คำร้องโดย Wang Jian (王健) ประพันธ์ทำนองโดย Gu Jianfen (谷建芬) เพลงนี้แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1989 นำออกเผยแพร่ครั้งแรกในงานฉลองปีใหม่แห่งชาติในปีเดียวกัน ถือเป็นเพลงเอกที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับมากที่สุดในยุคปี 80 ต่อมาในกิจกรรมการปล่อยยานสำรวจอวกาศชื่อ ฉางเอ๋อ อี ฮ่าว (嫦娥一号) “ธิดาพระจันทร์หมายเลข 1” ก็ได้บรรจุเพลงนี้ให้เป็นเพลงสำคัญในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย เนื้อเพลงถ่ายทอดอารมณ์ความงดงามความรักและและความสุขจากก้นบึ้งของหัวใจที่ผู้คนมีต่อชีวิตได้อย่างลึกซึ้ง เสียงเพลงและรอยยิ้ม สื่อถึงเด็กๆวัยสดใสที่มุ่งหน้านำพาประเทศชาติสู่ความยิ่งใหญ่เกรียงไกรในอนาคต และสื่อถึงมิตรภาพของชาวจีนที่มีต่อเพื่อนร่วมชาติและเพื่อนร่วมโลก
http://www.youtube.com/watch?v=IUA3-Qi_N6U

อันดับที่ 60.เพลง ตง ฟาง จือ จู《东方之珠》 (มุกงามแห่งบูรพา) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Luo Dayou (罗大佑) เป็นเพลงที่ระลึกและเป็นตัวแทนในการคืนสู่มาตุภูมิจีนของเกาะฮ่องกง ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่โลกต้องจารึก และอยู่ในความทรงจำของชาวจีนทั่วทั้งแผ่นดิน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1997 เกาะฮ่องกง ซึ่งอยู่ในการปกครองของอังกฤษมาเป็นเวลาร้อยกว่าปี ในที่สุดก็ได้กลับคืนสู่อ้อมกอดของแผ่นดินแม่ นับเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองแข็งแกร่งของประเทศจีนอีกประการหนึ่ง ระบบการปกครองแบบหนึ่งประเทศสองระบอบได้พัฒนาขึ้น สร้างการรวมชาติที่เข้มแข็ง “มุกงามแห่งบูรพา” จึงเป็นทั้งการสดุดียกย่องความงาม ความเจริญก้าวหน้าของฮ่องกง และยังเป็นการจดบันทึกประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของจีนและฮ่องกง
http://www.youtube.com/watch?v=-SBIQ-kRiPA

อันดับที่ 61.เพลง หว่อ เตอะ จงกว๋อ ซิน《我的中国心》 (หัวใจชาติจีนของฉัน) ประพันธ์คำร้องโดย Huang Zhan (黄霑) ประพันธ์ทำนองโดย Wang Fuling (王福龄) เผยแพร่ครั้งแรกในงานฉลองปีใหม่แห่งชาติจีน ปี ค.ศ. 1984 หลังจากเพลงนี้จบลง เสียงเพลง และความหมายที่แฝงอยู่ในเนื้อเพลงสร้างความประทับใจให้กับสายเลือดจีนทั่วทั้งแผนดินกว้างใหญ่อย่างลึกซึ้ง สร้างมิติใหม่ให้กับวงการเพลงรักชาติ เพลงปลุกใจที่โดยมากจะเน้นคำขวัญ ถ้อยคำปลุกใจเพื่อให้รำลึกถึงพรรคคอมมิวนิสต์ ให้เชื่อมั่นในระบบการปกครองของรัฐบาล แต่เนื้อเพลงนี้สื่อถึงหัวจิตหัวใจของลูกหลานมังกร ที่เป็นจีนทั้งเลือดเนื้อและจิตวิญญาณ โดยใช้สัญลักษณ์ “แม่น้ำแยงซี กำแพงหมื่นลี้ หุบเขาหวงซาน แม่น้ำฮวงโห” สร้างความรู้สึกสำนึกรัก หวงแหนและภาคภูมิใจในความยิ่งใหญ่ เกรียงไกร และความองอาจทระนงในความเป็น “คนจีน” ทั้งตัวและหัวใจ ในงานประกาศผลรางวัลของสมาคมบรรณาธิการเพลงแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เพลงนี้ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลที่หนึ่งประจำปี 1984
http://www.youtube.com/watch?v=d8imbGkjEWw&feature=related

อันดับที่ 62. เพลง หลง เตอะ ฉวน เหริน《龙的传人》 (ผู้สืบทอดเผ่าพันธุ์มังกร) ประพันธ์คำร้องโดยนักประพันธ์ชาวใต้หวันชื่อ Huang Zhan (黄霑) ประพันธ์ทำนองโดย Hou Dejian (侯德健) เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1978 ขับร้องโดยนักร้องชาวใต้หวันชื่อ หลี่ เจี้ยน ฟู่ (
李建复) จากนั้นนักร้องชาวฮ่องกงชื่อ จาง หมิง หมี่น (张明敏)นำไปขับร้อง จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ในเวลาต่อมา ต่อมาปี 1989 ผู้แต่งได้เปลี่ยนเนื้อเพลงบางท่อน ที่ว่า “ตาสีดำ ผมสีดำ ผิวสีเหลือง เป็นผู้สืบสายเลือดมังกรชั่วนิรันดร์” เปลี่ยนเป็น “ไม่ว่าคุณจะยอม หรือไม่ยอม คุณก็เป็นสายเลือดมังกรตลอดกาล” เป็นเนื้อหาที่เสียดแทงหัวใจของกลุ่มคนที่ไม่ยอมรับการรวมชาติเป็นหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1999 ต่อมาในปี ค.ศ. 2000 นักร้องยอดนิยมชาวจีนชื่อ หวางลี่หง (王力宏) ได้นำเพลงนี้มาเรียบเรียงดนตรีใหม่เป็นแนวเพลงยอดนิยมสมัยใหม่ จนกลายเป็นเพลงยอดนิยมและรู้จักกันไปทั่ว นับได้ว่าเป็นตัวแทนของ “ผู้สืบทอดเผ่าพันธุ์มังกร” ในยุคนี้ก็ว่าได้ โดยในปี ค.ศ. 2008 พิธีวิ่งคบเพลิงกีฬาโอลิมปิค นักร้องผู้นี้ได้ถือคบเพลิงเป็นคนแรกเพื่อส่งต่อให้กับผู้วิ่งคนต่อไปทั่วทั้งแผ่นดินจีน จนถึงพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิคเมื่อวันที่ 8 เดือน 8 ค.ศ 2008 เวลา 08.00 หวางลี่หงก็ได้ขับร้องเพลงนี้ในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิคเช่นเดียวกัน http://www.youtube.com/watch?v=xwhdafQDIOg

อันดับที่ 64. เพลง ต้า ไห่ อา, กู้เซียง 《大海啊,故乡》 (โอ้ ทะเล บ้านเกิด) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดยโดย Wang Liping (王立平) เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ต้า ไห่ เตอะ ฮู ฮ่วน 《大海在呼唤》 “เสียงเพรียกจากท้องทะเล” สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1983 ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการสดุดีมิตรภาพจากนานาประเทศ เหมือนกับคลื่นในท้องทะเลที่เดินทางไกลหลายพันลี้รอบทิศรอบทางสู่ดินแดนแสนไกลหลายร้อยหลายพันแห่ง แต่ไม่ว่าจะเดินทางไปไกลสักเพียงใด ทะเลก็ยังอยู่ข้างกายฉัน ไม่เคยทอดทิ้งฉันไปไหน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่สร้างขึ้นในยุคที่ประเทศจีนปิดประเทศ เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้มีท่วงทำนองฟังง่าย แต่โอ่อ่า สูงส่ง ไพเราะ งดงาม ถ่ายทอดความรู้สึกได้ลึกซึ้งกินใจ ประทับใจผู้คนในยุคนี้อย่างไม่ลืมเลือน และกลายมาเป็นตัวแทนแห่งยุคปฏิวัติวัฒนธรรมอีกเพลงหนึ่ง นับจากเพลงนี้ออกเผยแพร่พร้อมกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็มีเพลงในลักษณะเดียวกันนี้ออกมาบ้าง แต่ก็ไม่มีเพลงใดสร้างความประทับใจ และได้รับความนิยมเหมือนเพลงนี้http://www.youtube.com/watch?v=8vVkg1Di8rs&feature=related

อันดับที่ 64. เพลง จู่กว๋อ ฉือเสียง เตอะ หมู่ชิน 《祖国,慈祥的母亲》 (มาตุภูมิ มารดาผู้การุณย์) ประพันธ์คำร้องโดย Zhang Hongxi (张鸿西) ประพันธ์ทำนองโดย Lu Zaiyi (陆在易) แต่งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1981 แต่ไม่ว่ากาลเวลาจะล่วงเลยมานานเพียงใด ทุกครั้งที่เพลงนี้ดังขึ้น ใครที่ได้ยินเพลงนี้จะมีความรู้สึกอย่างเดียวกัน นั่นก็คือ “รักชาติ” เพราะว่า ความรักชาติเป็นสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ เหมือนกับที่รักมารดาและรักตนเอง เนื้อเพลงพรรณนาความรักที่ลูกมีต่อแม่ ความจงรักภัคดีที่ประชาชนมีต่อประเทศ มีท่วงทำนองแตกต่างจากเพลงปลุกใจทั่วไปที่ต้องแสดงออกถึงความแข็งแกร่ง องอาจทระนง แต่เพลงนี้กลับใช้ท่วงทำนองที่บรรยายได้ด้วยคำว่า “งดงาม” มาดึงดูดใจผู้ฟัง จังหวะเพลง ¾ ที่เพลงนี้เลือกมาใช้ ก็ยิ่งสร้างความโดดเด่นให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเพลงนี้เป็นเพลงหนึ่งที่ผู้เรียนขับร้องจำเป็นต้องเรียน และใช้ในการฝึกเสียง
http://www.youtube.com/watch?v=BcRi7qhB0LM

อันดับที่ 65. เพลง หนาน วั่ง จิน เซียว 《难忘今宵》 (ราตรีนี้ยากจะลืมเลือน) ประพันธ์คำร้องโดย Qiao Yu (乔羽) ประพันธ์ทำนองโดย Wang Ming (王酩) เพลงนี้เป็นเพลงที่คณะกรรมการจัดงานฉลองวันปีใหม่ชาติจีนประจำปี ค.ศ. 1984 เชิญนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงแต่งขึ้น และเชิญนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงระดับชาติในขณะนั้นชื่อ หลี กู่ อี (李谷一) เป็นผู้ขับร้อง ด้วยทำนองที่หวานแว่ว ประกอบกับลีลาการร้องที่อ่อนหวาน เนื้อเพลงที่บรรยายถึงความรัก ความสุขที่ได้อยู่ร่วมกันในงานเฉลิมฉลองเทศกาล แม้งานเลี้ยงจะเลิกรา แต่จิตใจยังห่วงหาอาวรณ์ พันผูกสนิทชิดแน่นตราบชั่วนิรันดร์ รอวันที่จะได้มาพบกันใหม่ ทำให้เพลงนี้เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนทั่วไป และนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเพลงที่ขาดมิได้ในงานคอนเสริต งานเฉลิมฉลองทุกรายการ โดยใช้เป็นเพลงขับร้องปิดรายการ โดยเฉพาะงานฉลองปีใหม่แห่งชาติจีน เป็นเสมือนข้อกำหนดว่าต้องใช้เป็นเพลงปิดรายการทุกปี
http://www.youtube.com/watch?v=zYZx6Abh5c0

อันดับที่ 66.เพลง เสียว ไป๋ หยาง 《小白杨》 (ต้นไป๋หยางต้นเล็ก) ประพันธ์คำร้องโดย Liang Shangquan (梁上泉) ประพันธ์ทำนองโดย Shi Xin (士心) แต่งขึ้นในยุคปี 80 เป็นเพลงที่ถ่ายทอดเสียงจากหัวใจของเหล่าทหารที่เฝ้าปกป้องมาตุภูมิอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน แม้จะเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ตรากตรำในถิ่นทุรกันดารห่างไกลและอันตราย แต่ด้วยเลือดรักชาติที่คุกรุ่นแผ่ซ่านเต็มเปี่ยมทั่วทั้งกายา ไม่ว่าเหล่าข้าศึกศัตรูจะโรมรันเมื่อใดก็พร้อมรบทุกขณะไม่เคยหวั่นเกรง ความองอาจทระนงนี้สร้างความศรัทธาให้กับประชาชนมาโดยตลอด ซึ่งเพลงนี้ก็ยังถ่ายทอดเสียงของประชาชนแนวหลังที่ส่งความรัก ความห่วงใยผ่านไปในเพลงส่งถึงทหารแนวหน้า ในการแต่งเพลงครั้งนี้ เพื่อให้ได้จิตนาการในการแต่งเพลง ผู้แต่งได้เดินทางไปในเขตชายแดน สัมผัสชีวิตของเหล่าทหารด้วยตนเอง จึงเขียนเป็นเพลงออกมาสำเร็จ ปัจจุบันเพลงนี้นิยมร้องกันในหมู่ทหาร เป็นเพลงสำคัญในวงการทหารอีกเพลงหนึ่ง
http://www.youtube.com/watch?v=PiH_FmsjVMo

อันดับที่ 67.เพลง ซัว จวี้ ซินหลี่ ฮว่า《说句心里话》 (พูดความในใจสักคำ) ประพันธ์คำร้องโดย Shi Shunyi (梁上泉) ประพันธ์ทำนองโดย Shi Xin (士心) เป็นเพลงมารช์ทหาร แต่งขึ้นในยุคปี 80 ผู้ขับร้องคนแรกเป็นนักร้องของกองดุริยางค์ทหารที่มีชื่อเสียงระดับชาติชื่อ เหยียน เหวย เหวิน (阎维文) นับเป็นเพลงสร้างชื่อของศิลปินท่านนี้ เนื้อหาของเพลง บอกเล่าถึงจิตใจของเหล่าทหาร คนเราทุกคนรักอิสรเสรี รักที่จะมุ่งทะยานไปข้างหน้าเพื่อไขว่คว้าความฝันของตน แต่ชีวิตของทหารกลับเรียบง่าย ต้องทรหดอดทนกับการฝึกที่หนักหน่วง เพราะภาระปกป้องประเทศอันหนักอึ้งเต็มสองบ่าที่ไม่อาจละทิ้งได้ สิ่งเดียวที่จิตใจทหารทุกคนปรารถนาและคิดถึงอยู่คตลอดเวลาคือชัยชนะในการปกป้องคุ้มครองผืนแผ่นดิน มีบางคืนท่ามกลางเวิ้งฟ้ามืดมิด รู้สึกท้อแท้ คิดถึงครอบครัว คิดถึงบิดามารดา ก็มีกำลังใจฮึดสู้ ทำหน้าที่ของตนตราบชีวิตจะหาไม่ ด้วยเหตุที่เพลงนี้มีท่วงทำนองเพลงเรียบง่าย ใช้ภาษาตรงไปตรงมา ความหมายของเพลงที่กินใจทหารทุกนาย จึงได้รับความนิยมว่าเป็นตัวแทนหัวใจของทหารจีนทุกดวง และในปี ค.ศ. 1990 ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมแห่งกองทัพจีน
http://www.youtube.com/watch?v=LHDkaJAZPYA&feature=related

อันดับที่ 68.เพลง ว่าน หลี่ ฉางเฉิง หย่ง ปู้ ต่าว《万里长城永不倒》 (กำแพงหมื่นลี้ยืนยงนิรันดร์) ประพันธ์คำร้องโดย Lu Guozhan (卢国沾) ประพันธ์ทำนองโดย Li Xiaotian (黎小田) ผู้ขับร้องคนแรกชื่อ เย่ เจิ้น ถาง (叶振棠) แต่งขึ้นในปี 1983 ใช้เป็นเพลงประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง ต้า เสีย ฮั่ว หยวน เจี่ย《大侠霍元甲》”จอมกระบี่ฮั่วหยวนเจี่ย” เป็นละครโทรทัศน์ฮ่องกงเรื่องแรกที่นำเข้ามาฉายในจีนแผ่นดินใหญ่ ภาษาพูดที่ฮ่องกงใช้เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง เพลงประกอบละครเรื่องนี้ก็เป็นภาษากวางตุ้ง ทำให้ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ได้ฟังรู้สึกอยากรู้อยากเห็น คลางแคลงสงสัยระคายใจเป็นอย่างยิ่ง ว่าเพลงประกอบละครเรื่องนี้มีความหมายว่าอย่างไร ซึ่งนับเป็นจุดแรกเริ่มที่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ให้ความสนใจเพลงจีนภาษากวางตุ้ง และนับเป็นก้าวแรกของประวัติศาสตร์เพลงกวางตุ้งในแผ่นดินใหญ่
http://www.youtube.com/watch?v=W1BJtLnM2ac


อันดับที่ 69.เพลง ซ่าวเหนียน จ้วงจื้อ ปู้ เหยียน โฉว 《少年壮志不言愁》 (เยาวชนผู้แกร่งกล้าไม่ท้อถอย) ประพันธ์คำร้องโดย Lin Ruweui (林汝为) ประพันธ์ทำนองโดย Lei Lei (雷蕾) ผู้ขับร้องคนแรกคือศิลปินรุ่นใหญ่ที่มีชื่อเสียง และยอมรับทั่วไปในประเทศจีนชื่อ หลิว ฮวน (刘欢) ใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เปี้ยน อี จิ่ง ฉา 《便衣警察》”ตำรวจนอกเครื่องแบบ” เนื้อเพลงสื่อถึงเยาวชนผู้เป็นกำลังสำคัญของชาติ มีจิตใจกล้าหาญ ฝ่าฟันอันตราย เพื่อแลกมาซึ่งรอยยิ้มของปวงชน และความผาสุกของมาตุภูมิ เป็นเพลงเก่าอีกเพลงหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนปัจจุบัน และยังเป็นเพลงที่นักร้องนิยมนำไปขับร้องมากที่สุดเพลงหนึ่ง
http://www.youtube.com/watch?v=-GsCkeUCW5Y

อันดับที่ 70.เพลง ก้ง เหอ กว๋อ จือ เลี่ยน《共和国之恋》(รักแห่งสาธารณรัฐจีน) ประพันธ์คำร้องโดย Liu Yiran (刘毅然) ประพันธ์ทำนองโดย Liu Weiguang (刘为光) ออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1988 เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์โทรทัศน์ในชื่อเรื่องเดียวกัน ผู้ขับร้องคนแรกชื่อ เหยียน ตาง ตาง (严当当) และเป็นผู้แสดงตัวเอกของเรื่องนี้ด้วย สิ่งที่แฝงอยู่ในเพลงนี้คือ “ประเทศจีนใหม่ เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ยามอรุณรุ่ง สาดแสงทองทั่วทุ่งท้องแผ่นดิน ปราชญ์แห่งชาติที่ระเหเร่ร่อนอยู่ต่างถิ่น เดินทางกลับเพื่อร่วมกันพัฒนาชาติ ตอบแทนคุณของแผ่นดิน ฝากชีวินไว้ที่แผ่นดินเกิด พร้อมกับพี่น้องเชื้อสายมังกรอันเป็นที่รักทั่วทุกคน” ทำนองเพลงที่กระหึ่ม หนักแน่น ให้อารมณ์ที่ทระนงองอาจ น่าเกรงขาม ประหนึ่งตัวแทนของแผ่นดินจีนและสายเลือดจีนอันยิ่งใหญ่
http://www.youtube.com/watch?v=aZLB76PPM3c

อันดับที่ 71.เพลง ย่าโจว สยง เฟิง《亚洲雄风》 (พลังพายุเอเชีย) ประพันธ์คำร้องโดย Zhang Li (张藜) ประพันธ์ทำนองโดย Xu Peidong (徐沛东) แต่งขึ้นในปี ค.ศ. 1990 เป็นเพลงที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ในการจัดกีฬาครั้งนี้มีเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะหลายเพลง เช่น เพลงชื่อ กวางหรง หยวี่ ม่งเสี่ยง 《光荣与梦想》 “เกียรติยศและความฝัน” เพลงชื่อ เฮย โถวฟ่า เพียว ฉี่ หลาย 《黑头发飘起来》”ผมดำปลิวไสว” แต่เพลงที่ได้รับความนิยม และแพร่หลายมาจนปัจจุบันก็คือเพลง “พลังพายุเอเซีย” เพลงนี้มีทำนองฟังสบายรื่นหู มีชีวิตชีวา แต่ให้ความรู้สึกถึงการแผ่ขยายที่กว้างไกล สูงสง่า และยิ่งใหญ่ เนื้อเพลงสื่อถึงภาพแห่งความรัก สมัครสมานสามัคคี กลมเกลียวของชาวเอเชีย
http://www.youtube.com/watch?v=w2q7Ra_13XY

อันดับที่ 72.เพลง เชาเยว่ เมิ่งเสี่ยง《超越梦想》(ก้าวข้ามความฝัน) ประพันธ์คำร้องโดย Han Bao และ Hu Zheng (韩葆、胡峥) ประพันธ์ทำนองโดย Wang Xiaofeng (王晓峰) เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นเพลงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่จัดที่ปักกิ่งในปี 2008 โดยเมื่อวันที่ 6 กันยายน ปี ค.ศ. 1999 รัฐบาลจีนได้ก่อตั้งคณะกรรมการการยื่นขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคขึ้น หนึ่งในภารกิจก็คือ การจัดทำสื่อเพลงที่จะใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค เพลง “ก้าวข้ามความฝัน” นี้ได้บันทึกเสียงสำเร็จและนำออกเผยแพร่สู่ประชาชนเป็นครั้งแรกในปี 1999 ทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางและกระหึ่มไปทั่วแผ่นดินจีน ก่อนการยื่นขอเป็นเจ้าภาพเสียอีก เป็นการแสดงให้เห็นศักยภาพของรัฐบาลจีนที่จะยื่นขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค แม้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ปักกิ่งจะปิดฉากลงแล้ว แต่เนื้อเพลงที่สื่อถึงจิตวิญญาณของความรักชาติที่นับวันมีแต่จะทวีคูณมากขึ้น ความกล้าหาญที่จะเผชิญไปข้างหน้าอย่างไม่เกรงกลัวต่อความเหน็ดเหนื่อย ท่วงทำนองเพลงอันหนักแน่น แข็งแกร่ง ผึ่งผาย เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังเพลงนี้ ยังคงกระตุ้น ปลุกย้ำให้ชาวจีนได้รู้สึกถึงบรรยากาศอันคึกคัก ความยิ่งใหญ่อลังการของมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ และความภาคภูมิใจในฐานะที่เป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค
http://www.youtube.com/watch?v=O5BxXgnkD1M

อันดับที่ 73.เพลง จินเทียน ซื่อ หนี่ เตอะ เซิงรื่อ《今天是你的生日》(วันนี้เป็นวันเกิดท่าน) ประพันธ์คำร้องโดย Han Jingting (韩静霆) ประพันธ์ทำนองโดย Gu Jianfen (谷建芬) วันที่ 1 เดือนตุลาคม ของทุกปี เป็นวันชาติของจีน เป็นวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี และเป็นวันที่ชาวจีนทั่วทั้งประเทศจะได้รำลึกถึงความสำคัญ และบุญคุณของคณะปฏิวัติที่ล้มล้างการกดขี่ของระบบศักดินา เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม ซึ่งถือเป็นการให้ชีวิตใหม่กับประชาชน เพลงนี้เป็นเพลงสดุดีชาติจีนที่มีเนื้อหาสื่อถึงการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน การถือกำเนิดของมาตุภูมิอันเป็นอันเป็นที่รักยิ่ง แสดงถึงความรักที่ประชาชนมีต่อมาตุภูมิ เหมือนลูกมีต่อแม่ ทำนองเพลงโออ่า แผดเสียงก้องสะท้อนอย่างไม่มีวันสิ้นเสียง สื่อถึงชาติจีนอันยิ่งใหญ่ยืนยง ให้ความรู้สึกฮึกเหิม จิตใจลำพอง และเกิดความภาคภูมิใจเหนือสิ่งอื่นใด
http://www.youtube.com/watch?v=ERvptgNcpm8&feature=related

อันดับที่ 74.เพลง ต้า จงกว๋อ《大中国》(ประเทศจีนยิ่งใหญ่) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Gao Feng (高枫) เป็นเพลงยอดนิยมสมัยปัจจุบันที่แต่งขึ้นในปี 1995 โดยศิลปินชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เผยแพร่ครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลาง ด้วยความชาญฉลาดของผู้แต่ง ที่ใช้วิธีหลอมรวมทำนองเพลงพื้นเมืองเป็นหนึ่งเดียว เนื้อเพลงสื่อถึงภูมิทัศน์ของชาติจีน แม่น้ำสายยาว เทือกเขายิ่งใหญ่ แผ่นดินกว้างไกล และหัวใจทระนง การใช้คำเปรียบเทียบประเทศจีนว่าเป็น “บ้านหนึ่งหลัง” ในเพลงนี้สร้างความสนิทใจ แน่นแฟ้นให้ผู้ฟังอย่างไม่ต้องสงสัย การรักชาติ รักพี่น้องร่วมชาติก็เปรียบเสมือนความรักที่มีต่อคนในครอบครัว ด้วยทำนองที่เป็นตัวแทนแห่งชาติจีน เนื้อเพลงที่เป็นตัวแทนแห่งจิตชาวจีนถ้วนทั่วทุกคน ทำให้เพลงนี้ติดหูผู้ฟังอย่างง่ายดาย และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและรวดเร็วในเวลาไม่นาน และยังคงเป็นเพลงที่ติดหู ตรึงใจชาวจีนมาจนทุกวันนี้
http://www.youtube.com/watch?v=W28mLjVzMMM

อันดับที่ 75.เพลง ตัง ปิน เตอะ เหริน《当兵的人》(คนเป็นทหาร) ประพันธ์คำร้องโดย Wang Xiaoling (王晓岭) ประพันธ์ทำนองโดย Zang Yunfei และ Liu Bin (臧云飞、刘斌) แต่งขึ้นเมื่อปี 1994 ด้วยเหตุที่ผู้แต่งเป็นทหาร เพลงนี้จึงถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของผู้เป็นทหารได้อย่างลึกซึ้งกินใจ คำว่า “คนเป็นทหาร” เป็นคำเรียกที่ใช้เรียกทหารปลดแอกประชาชน เป็นคำที่แฝงด้วยความรู้สึกยกย่อง เทิดทูน และให้เกียรติ ซึ่งผู้ที่เป็นทหารเองก็รู้สึกภาคภูมิใจ และหยิ่งในศักดิ์ศรีของความเป็นทหารของตน เนื้อเพลงบอกเล่าถึงจิตวิญญาณแห่งความความเสียสละของเหล่าทหารกล้าที่หันหลังให้กับความสุขทุกอย่าง มุ่งหน้าสู่สมรภูมิแห่งภยันตราย เพื่อปกป้องมาตุภูมิและประชาชนของตน ความรักชาติยิ่งชีพ ความแกร่งกล้าอาจหาญ เลือดรักชาติเปี่ยมล้นในใจกายทหารทุกนาย ถูกบันทึกเอาไว้ในเพลงนี้อย่างไม่มีวันลบเลือน
http://www.youtube.com/watch?v=hUoBlOM8SPw

อันดับที่ 76.เพลง จงกว๋อเหริน 《中国人》 (คนจีน) ประพันธ์คำร้องโดย Li Anxiu (李安修) ประพันธ์ทำนองโดย Chen Yaochuan (陈耀川) ผู้ขับร้องต้นฉบับคนแรกคือ นักร้องชาวฮ่องกงชื่อ หลิว ต๋อ หัว (刘德华) ออกเผยแพร่ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 นับถึงปัจจุบันยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย และในวันที่ 1 เดือน กรกฎาคม ปีค.ศ. 2007 ในงานฉลองการกลับคืนสู่แผ่นดินจีนของเกาะฮ่องกง เพลงนี้ก็ได้นำมาขับร้องในงานดังกล่าวด้วย จนดังกระหึ่มไปทั่วแผ่นดินจีนในเวลาต่อมา ประเทศจีนเป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์ เรียกได้ว่าไม่เพียงมีคนผิวเหลืองเท่านั้นที่เป็นคนจีน แต่ยังประกอบไปด้วยคนผิวขาว ผิวคล้ำ หลากสีผิว ซึ่งก็หมายความว่าพี่น้องร่วมชาติมีหลากหลายสีผิว หลากหลายเผ่าพันธุ์ สิ่งนี้ทำให้เกิดการแบ่งแยก นำมาซึ่งความแตกแยกและแบ่งชนชั้น แต่ในเพลงนี้เลือกเอาลักษณะเด่นของผิวสีเหลือง ตาสีดำ มาเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่มีผิวสีเดียวกัน เลือดสีเดียวกัน คนกลุ่มเดียวกันให้โลกรู้ว่านี่คือลักษณะของ “คนจีน” ตอกย้ำความเป็นลักษณะเด่น และน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวจีนทั่วประเทศ ทุกพื้นที่ และโลก ปฏิเสธการแบ่งแยกชนชั้น แบ่งแยกชาติพันธุ์ และแบ่งสีผิวของคนในชาติและระหว่าง “คนจีน” ด้วยกันเอง
http://www.youtube.com/watch?v=8X_I8D2KLwg

อันดับที่ 77.เพลง อู่ ซิง หง ฉี 《五星红旗》 (ธงแดงห้าดาว) ประพันธ์คำร้องโดย Tian Ming (天明) ประพันธ์ทำนองโดย Liu Qing (刘青) เพลงนี้โด่งดังไปทั่วแผ่นดินจีนทันทีหลังจากที่นำออกเผยแพร่ในครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1999 นับเป็นเพลงที่สร้างชื่อให้กับนักประพันธ์ Tian Ming ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักประพันธ์ท่านนี้ใช้เวลาว่างในการเขียนเพลง มีอีกหลายเพลงกลั่นออกมาจากอารมณ์สุนทรีย์ของนักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ เช่น เพลง จู่กว๋อ หนีห่าว 《祖国你好》“สวัสดีมาตุภูมิ” เพลง อี๋ เก้อ จงกว๋อ 《一个中国》 “ชาติจีนหนึ่งเดียว” เพลง ธงแดงห้าดาว นี้ได้รับรางวัลดีเยี่ยมในการประกวดเพลงหลายรางวัล เช่น รางวัลเพลงยอดเยี่ยมอันดับหนึ่งแห่งวันแรงงาน รางวัลดาวระยิบอันดับหนึ่ง จากสถานีโทรทัศน์จีน รางวัลที่หนึ่งมหกรรมการประกวดดนตรีแห่งชาติ รางวัลศิลปะเพลงดนตรีอันดับหนึ่งแห่งรัฐบาลจีน รางวัลที่หนึ่งเพลงยอดนิยมของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลาง นักร้องที่นำเพลงนี้ไปร้อง ก็โด่งดังมีชื่อเสียง เป็นศิลปินยอดนิยมกันถ้วนหน้า ต่อมาเพลงนี้ได้รับการคัดเลือกให้บรรจุอยู่ในหลักสูตรการสอนในระดับอุดมศึกษาhttp://www.youtube.com/watch?v=MPZfh6x9_Vo

อันดับที่ 78.เพลง หง ฉี เพียว เพียว 《红旗飘飘》 (ธงแดงโบกสะบัด) ประพันธ์คำร้องโดย Qiao Fang (乔方) ประพันธ์ทำนองโดย Li Jie (李杰) แต่งขึ้นในปีค.ศ.1997 ผู้ขับร้องคนแรกคือนักร้องยอดนิยมของจีนชื่อ ซุน หนาน (孙楠) เป็นเพลงที่มีเสียงสูง ดังก้องไกล เนื้อเพลงถ่ายทอดอารมณ์รักชาติ ภาคภูมิ ทระนง เคยใช้เป็นเพลงประกอบรายการถ่ายทอดกีฬาโอลิมปิคที่ Athens ของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน จึงกลายเป็นเสมือนเพลงโอลิมปิคที่ได้รับความนิยมไปพร้อมกับเพลงโอลิมปิคเพลงอื่นอย่างกว้างขวางไปโดยปริยาย ธงแดงกับประวัติศาสตร์ชาติจีนเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก เพราะชาวจีนผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านชีวิตที่ลำเค็ญแสนสาหัสในอดีต จนถึงความรุ่งโรจน์ชัชวาลในปัจจุบัน ธงแดงยังคงโบกไสว ประกาศศักดา อยู่คู่กับผืนฟ้าแห่งแผ่นดินจีนอย่างมิเคยหลับใหลเลยแม้พริบตาเดียว
http://www.youtube.com/watch?v=Qqxsn3jWOvQ&feature=related

อันดับที่ 79.เพลง ชิง จั้ง เกา หยวน 《青藏高原》 (ที่ราบสูง ชิง - จั้ง) ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Zhang Qianyi (张千一) เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1997 ผู้ขับร้องคนแรกชื่อ หลี่น่า (李娜) เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เทียนลู่ 《天路》 “ทางสายสวรรค์” เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในโลก และอยู่เหนือระดับน้ำทะเลสูงที่สุดในโลก นั่นก็คือ ทางรถไฟสายชิงไห่ - ทิเบต เนื้อหาของเพลงนี้บรรยายถึงทัศนียภาพอันงดงามของทิเบต ท่วงทำนองก็ใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองเอกลักษณ์ของทิเบต เป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการเพลงยอดนิยมของจีนที่นำทำนองเพลงแบบพื้นเมือง มาทำเป็นเพลงสมัยปัจจุบัน ทำลายกำแพงภาษาและม่านแห่งหุบเขา ทำให้ผู้คนรู้จักเพลงทิเบตและเข้าใจชนชาวทิเบตมากขึ้นจากเพลงนี้
http://www.youtube.com/watch?v=ulG-Py436UU&feature=related

อันดับที่ 80.เพลง จ้าย จงกว๋อ ต้า ตี้ ซ่าง 《在中国大地上》 (บนผืนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่) ประพันธ์คำร้องโดย Xiao Guang (乔方) ประพันธ์ทำนองโดย Shi Xin (士心) เผยแพร่ครั้งแรกในงานฉลองปีใหม่แห่งชาติจีนเมื่อปี ค.ศ. 1991 ผู้ขับร้องคนแรกคือ เผิง ลี่ หยวน (彭丽媛) เป็นเพลงสดุดีการปฏิวัติการปกครอง ด้วยคุณความดีของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มานะบากบั่น ฝ่าฟันทุกข์ยากลำบากเพื่อนำพาชาวจีนและประเทศจีนสู่ชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น ชีวิตที่สดใส รุ่งเรือง ประเทศชาติพัฒนาก้าวไกล นับเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่พรรคคอมมิวนิสต์สร้างให้กับแผ่นดินจีน ต่อแต่นี้ไปความหวังของประเทศฝากไว้กับประชาชนชาวจีนถ้วนหน้า ที่จะร่วมใจเดินตามแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อร่วมกันสร้างชาติจีนให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกรต่อไปในภายภาคหน้า
http://www.youtube.com/watch?v=LiMkNTTasT8

อันดับที่ 81.เพลง หว่อ เหอ หว่อ เตอะ จู่กว๋อ《我和我的祖国》(ฉันกับมาตุภูมิของฉัน) ประพันธ์คำร้องโดย Zhang Li (张藜) ประพันธ์ทำนองโดย Qin Yongcheng (秦咏诚) แต่งขึ้นและเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1985 ผู้ขับร้องคนแรกคือศิลปินระดับชาติชื่อ หลี่ กู่ อี (
李谷一) ผู้ประพันธ์ผสมผสานอารมณ์เพลงแบบฮึกเหิมลำพองกับอารมณ์เพลงแบบรื่นหู รื่นรมย์ได้อย่างลงตัว เนื้อเพลงก็ผสมผสานระหว่างความงดงามของถ้อยคำ และความบริสุทธิ์ตรงไปตรงมาได้อย่างกลมกลืน สื่อถึงความรักและความซื่อสัตย์ที่ประชาชนชาวจีนมีต่อมาตุภูมิอันยิ่งใหญ่เกรียงไกร ได้หยั่งรากลึกลงสู่ธรณีหัวใจลูกหลานชาวจีนอย่างแนบแน่นและลึกซึ้งเป็นนิรันดร์http://www.youtube.com/watch?v=0mSALf6saNQ

อันดับที่ 82.เพลง ชุนเทียน เตอะ กู่ซื่อ 《春天的故事》 (นิทานฤดูใบไม้ผลิ) ประพันธ์คำร้องโดย Jiang Kairu และ Ye Xuquan (蒋开儒、叶旭全) ประพันธ์ทำนองโดย Wang Yougui (王佑贵) เมื่อเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1994 รายการเพลงดนตรี ของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งชาติจีนได้เผยแพร่เพลงนี้เป็นครั้งแรก และในการประกวดมหกรรมเพลงของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางครั้งที่สอง ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมอันดับหนึ่ง เพลงนี้จึงได้รับความนิยมและโด่งดังไปทั่วแผ่นดินจีนอย่างรวดเร็ว ต่อมาได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในเพลงประกอบสารคดีของผู้นำจีนคนสำคัญและเป็นผู้ที่นำจีนเข้าสู่วิถีทุนนิยม ชื่อ เติ้งเสี่ยวผิง ในปี 1995 ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมในวันแรงงานแห่งชาติ ได้รับรางวัลระฆังทอง ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดในวงการเพลงของจีน เป็นเพลงที่ได้รับรางวัลระดับชาติมากที่สุด นับเป็นแบบอย่างและแบบแผนของเพลงจีนในยุคต่อมา และเป็นตัวแทนของเพลงจีนชั้นแนวหน้าอีกเพลงหนึ่ง เนื้อเพลงบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของจีน ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1979 ท่านผู้นำเติ้งเสี่ยงผิงวางแผนพัฒนาพื้นที่เมืองเสิ่นเจิ้น และความพยายามในการเปลี่ยนแปลงประเทศจีนครั้งยิ่งใหญ่ นำมาซึ่งความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของชาติจีนในปัจจุบัน ทำให้ชาวจีนทุกคนล้วนสำนึกและรำลึกถึงคุณความดีของผู้นำท่านนี้ อย่างไม่มีวันลืมเลือน
http://www.youtube.com/watch?v=_oRZs4V0Kjo

อันดับที่ 83.เพลง โจ่ว จิ้น ซิน สือไต้ 《走进新时代》 (ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่) ประพันธ์คำร้องโดย Jiang Kairu (蒋开儒) ประพันธ์ทำนองโดย Yin Qing (印青) ผู้ขับร้องเพลงนี้ครั้งแรกเป็นนักร้องหญิงชั้นแนวหน้าของจีนชื่อ จาง เหย่ (张也) เป็นเพลงที่มีท่วงทำนองไพเราะ งดงาม แต่แฝงด้วยความผยอง องอาจ เสียงของศิลปินนักร้องท่านนี้ที่มีความอ่อนหวานละมุนละไม แต่หนักแน่นอยู่ในที ยิ่งส่งให้เพลงนี้แว่วหวานติดหูต้องใจของผู้ที่ได้ยินอย่างมิอาจจะละใจไปจากเสียงเพลงได้เลย เนื้อเพลงเต็มไปด้วยจิตวิญญาณแห่งความรักความศรัทธาในชาติสุดคณา บรรยายถึงความยิ่งใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประชาชาติจีน ที่ก้าวเข้าสู่ความเจริญ ก้าวหน้า และการพัฒนาสู่ศตวรรษใหม่อย่างแข็งแกร่งเกรียงไกร รุ่งโรจน์ชัชวาล
http://www.youtube.com/watch?v=gYsUZWm-3U0

อันดับที่ 84.เพลง จู้ฝู จู่กว๋อ《祝福祖国》 (อวยพรมาตุภูมิ) ประพันธ์คำร้องโดย Qing Feng (清风) ประพันธ์ทำนองโดย Meng Qingyun (孟庆云) เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1999 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี แห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมาคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งเมืองเสิ่นเจิ้นได้คัดเลือกเพลงนี้เพื่อถ่ายทำเป็นภาพยนตร์เพลง โดยเชิญผู้กำกับชั้นแนวหน้า ชื่อ จาง อี้ โหมว (
张艺谋) เป็นผู้กำกับการถ่ายทำ นับเป็นงานด้านการถ่ายทำภาพยนตร์เพลงครั้งแรกของผู้กำกับท่านนี้ หลังจากภาพยนตร์เพลงนี้ได้นำออกเผยแพร่ ก็เป็นที่รู้จักได้รับความนิยมชมชอบอย่างแพร่หลาย ได้รับการนำออกเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ทั่วประเทศจีน ต่อมาการประกวดเพลงรักชาติ ในฉลองครบรองห้าสิบปีแห่งชาติจีน เพลงนี้ได้รับรางวัลที่หนึ่ง และในปี ค.ศ. 2000 ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยม “เหยี่ยวทองคำ” จากสถานีโทรทัศน์แห่งชาติจีน คณะถ่ายทำภาพยนตร์ก็ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทการถ่ายทำภาพยนตร์เพลงเช่นเดียวกัน เนื้อเพลงเป็นการสดุดีความงดงาม ความยิ่งใหญ่เกรียงไกร และความรุ่งเรืองของมาตุภูมิ “ฉัน” ในฐานะประชาชนชาวจีนคนหนึ่ง ขออวยพรมาตุภูมิด้วยหัวใจที่ซื่อสัตย์ จงรักภัคดีไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ให้กับมาตุภูมิอันเป็นที่รักตลอดกาลhttp://www.youtube.com/watch?v=hdxmcgnpS8o

อันดับที่ 85.เพลง ถง อี้ โส่ว เกอ 《同一首歌》 (เพลงเดียวกัน) ประพันธ์คำร้องโดย Chen Zhe และ Ying Jie (陈哲、迎节) ประพันธ์ทำนองโดย Meng Weidong (孟卫东) แต่งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1990 ขับร้องครั้งแรกโดยนักร้องชื่อ หลิว ช่าง (刘畅) และมีนักร้องหลายคนนำมาขับร้องต่อ เช่น นักร้องหญิงชื่อ เหมา อา หมี่น (毛阿敏) นักร้องชายชื่อ ช่าย กว๋อ ชิ่ง (蔡国庆) เป็นต้น ต่อมาสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางได้สร้างเวทีรายการเพลงขึ้นรายการหนึ่งตั้งชื่อว่า ถง อี้ โส่ว เกอ (同一首歌) และได้นำเพลงนี้มาเป็นเพลงหลักประจำรายการ รายการนี้เป็นรายการเพลงที่เผยแพร่ไปทั่วประเทศจีนซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ได้เปิดเวทีแสดงคอนเสริตนับร้อยเวที สู่สถานที่นับร้อยเมืองของจีน รวมถึงต่างประเทศด้วย แต่เนื่องจากการนำเพลงนี้มาใช้ ผู้จัดรายการมิได้ขออนุญาตจากเจ้าของเพลง จึงเกิดปัญหาการฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์กันขึ้น ในทางกลับกันเจ้าของรายการก็เห็นว่าเพลงนี้โด่งดังขึ้นได้ก็เพราะรายการนี้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าการฟ้องร้องคดีจะสร้างความทุกข์ให้กับเจ้าของผลงาน และผู้ละเมิดเพียงใด แต่ด้วยความที่เพลงนี้ มีทำนองไพเราะ ติดหู เนื้อเพลงมีความหมาย ส่งผลให้ผู้คนที่มี “ความรู้สึกอย่างเดียวกัน ทำให้พวกเรามีความปรารถนาอย่างเดียวกัน ความสุขอย่างเดียวกัน สร้างบทเพลงไพเราะเพลงเดียวกันให้เรา” ยังคงครองหัวใจชาวจีนทั่วทุกคนอย่างไม่มีวันสิ้นเสียง
http://www.youtube.com/watch?v=nri7xKHcRo8

อันดับที่ 86.เพลง อ้าย หว่อ จง หัว 《爱我中华》 (รักชาติจีนของฉัน) ประพันธ์คำร้องโดย Qiao Yu (乔羽) ประพันธ์ทำนองโดย Xu Peidong (徐沛东) เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ในพิธีเปิดงานมหกรรมชนกลุ่มน้อยแห่งชาติครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นในปี 1999 ที่มณฑลกวางสี ผู้แต่งใช้ทำเพลงพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยในเขตพื้นที่มณฑลกวางสี มณฑลหยวินหนานและบริเวณใกล้เคียงเป็นหลัก เพลงนี้จึงมีกลิ่นไอของความเป็นชาติพันธุ์กลุ่มน้อยของบริเวณดังกล่าว มีความกระฉับกระเฉง ร่าเริง ช่วงเสียงไม่กว้างมาก อันเป็นเอกลักษณ์ของเพลงพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยถิ่นนี้ เนื้อเพลงบรรยายถึงพี่น้อง 56 คน ร่วมท้องเดียวกัน ดอกไม้ 56 ดอกบานบนผืนดินเดียวกัน ภาษา 56 ภาษา พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ฉันรักชาติจีน” 56 ในนี้ก็หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศจีนทั้ง 56 กลุ่มนั่นเอง หลังจากที่เพลงนี้ออกเผยแพร่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ต่อมานักร้องเพลงพื้นเมืองชั้นแนวหน้าของจีนชื่อ ซ่ง จู่ อิง (宋祖英) ได้นำมาขับร้องและถ่ายทำเป็นภาพยนตร์เพลงออกเผยแพร่ ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง นับได้ว่าเป็นเพลงสร้างชื่อ และเพลงประจำตัวของนักร้องผู้นี้ในเวลาต่อมา
http://www.youtube.com/watch?v=DS8j2_wd_UM


อันดับที่ 87.เพลง เว่ย เลอ เสย 《为了谁》 (เพื่อใครกัน) ประพันธ์คำร้องโดย Ju Youkai (邹友开) ประพันธ์ทำนองโดย Meng Qingyun (孟庆云) ผู้ขับร้องคนแรกชื่อ จู่ ไห่ (祖海) เพลงนี้แต่งขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1998 เพื่อเป็นที่ระลึกและมอบให้แก่วีรบุรุษที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ของจีน เมื่อปี 1998 บริเวณปลายแม่น้ำแยงซี เกิดอุทกภัยแปดระลอก มีปริมาณน้ำ 6 หมื่นลูกบาศก์เมตรทำลายพื้นที่กว้าง ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน รัฐบาลส่งทหารตำรวจเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเข้าสู่พื้นที่ภัยพิบัติจำนวนแปดล้านคน วีรบุรุษเหล่านี้ต้านอุทกภัย บุกฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากเพื่อช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติ จิตวิญญาณอันองอาจกล้าหาญ และเสียสละนี้สร้างความซาบซึ้งให้กับประชาชนอย่างมาก ท่วงทำนองอันไพเราะที่แฝงไว้ด้วยจิตใจอันเป็นหนึ่งเดียวของเพื่อนร่วมชาติ เมื่อ“ที่หนึ่งมีภัย แปดทิศร่วมใจ” เพลงนี้จึงสร้างความประทับใจให้กับผู้คนทั่วไป ในฐานะ “หนึ่งแรงร่วมใจ ช่วยเหลืออุทกภัย”
http://www.youtube.com/watch?v=HjXIK6pKrWo

อันดับที่ 88.เพลง ห่าว รื่อจึ่อ 《好日子》 (วันดี) ประพันธ์คำร้องโดย Che Xing (车行) ประพันธ์ทำนองโดย Li Xin (李昕) เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1998 เป็นเพลงเอกอีกเพลงหนึ่งของนักร้องเพลงพื้นเมืองชั้นแนวหน้าของจีน นามว่า ซ่ง จู่ อิง (宋祖英) ทำนองเพลงสนุกสนาน ครึกครื้น รื่นเริง เสียงดนตรีเร่งเร้า จังหวะกลองอึกทึกบันเทิงใจ สื่อถึงจิตใจและบรรยากาศที่เปี่ยมไปด้วยความสุขในเทศกาลเฉลิมฉลอง เนื้อเพลงบรรยายถึงการปฏิวัติวัฒนธรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ นำมาซึ่งการปลดปล่อยจากพันธนาการของสังคมศักดินา นำพาประชาชนชาวจีนสู่ชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น ทำให้ทุกๆวันเป็นวันแห่งความสุข ทุกๆวันเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลอง เพลงนี้ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมจากสถานีโทรทัศน์ส่วนกลาง ได้รับรางวัลที่หนึ่ง “ประกายดารา” ของสถานีโทรทัศน์แห่งชาติจีน ได้รับรางวัลที่หนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานแห่งจิตวิญญาณและการสร้างอารยธรรมแห่งชาติ และได้รับคัดเลือกให้เป็นเพลงที่ใช้ขับร้องในงานวันเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตจีน-ออสเตรเลีย โดยจัดแสดงที่ Opera House ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปี ค.ศ. 2002 ด้วย
http://www.youtube.com/watch?v=eArbMp-BWS8

อันดับที่ 89.เพลง จุ้ย เหม่ย หาย ซื่อ หว่อ ซินเจียง 《最美还是我们新疆》 (งามที่สุดก็ยังเป็นซินเจียง) ประพันธ์คำร้องโดย Zhao Si ‘en(赵思恩) ประพันธ์ทำนองโดย Wubuli Tuohuti (吾布力·托乎提) เมื่อปี ค.ศ. 1992 ในงานคอนเสริตครั้งใหญ่ของกรมทหารแห่งชาติจีน ระหว่างการคัดเลือกเพลง เพลงของนักประพันธ์ Wubuli Tuohuti ถูกตัดทิ้งทั้งเจ็ดเพลง เนื่องจากมีเพลงที่เข้าสู่การคัดเลือกเป็นจำนวนมาก และด้วยเหตุผลที่ว่าเพลงยังไม่มีความโดดเด่น ซึ่งในเจ็ดเพลงนั้น ก็มีเพลง “งามที่สุดก็ยังเป็นซินเจียง” รวมอยู่ด้วย เหตุผลก็คือว่า นักร้องไม่มีความสามารถพอที่จะร้องเพลงที่ลึกซึ้งกินใจแบบนี้ได้ ทำให้ภาพการแสดงบนเวทีไม่สามารถแสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงนี้ก็ได้ให้กำลังใจจนทำให้เพลงนี้พลิกผันจากเม็ดทรายกลายเป็นทองขึ้นมาได้ในที่สุด สามปีให้หลัง ในปี ค.ศ. 1995 งานฉลองครบรอบ 40 ปี การปกครองแบบเขตปกครองตนเองแห่งชาติจีน สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางได้คัดเลือกเพลงนี้เพื่อเผยแพร่ทางโทรทัศน์อย่างต่อเนื่อง นับแต่นั้นมา เพลงนี้ก็แทรกซึมเข้าสู่ทุกอนูของแผ่นดินจีน และได้รับรางวัลเพลงยอดนิยมแห่งการปกครองแบบเขตตนเองในเวลาต่อมา นักร้องท่านนี้กล่าวขอบคุณนักประพันธ์คำร้องด้วยภาษิตจีนคำหนึ่งว่า “ม้างามหาย หาใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไปไม่”
http://www.youtube.com/watch?v=qAF9KlLwfR8&feature=related

อันดับที่ 90.เพลง ชีจื่อ จือ เกอ – อ้าว เหมิน 《七子之歌--澳门》 (ลำนำบุตรทั้งเจ็ด- มาเก๊า) ประพันธ์คำร้องโดย Wen Yiduo (闻一多) ประพันธ์ทำนองโดย Li Haiying (李海鹰) เดิมเป็นกลอนกลุ่มหนึ่ง ประพันธ์ขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1925 กวีท่านนี้หลังจากที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิงหัว ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นได้สัมผัสกับวัฒนธรรมตะวันตก และรับรู้ถึงการดูถูกเหยียดหยามทางชาติพันธุ์ เป็นแรงผลักดันให้เกิดสำนึกรักในศักดิ์ศรีของตนอย่างแรงกล้า ภายใต้ความกดดันและดูแคลนอย่างหนักหน่วงนี้ กวีเหวิน อี้ ตัว ได้พรรณนาความรักในศักดิ์ศรีและความคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน โดยใช้วิธีการเขียนแบบบุคลาธิษฐาน ถ่ายทอดออกมาเป็นบทกวีชื่อ “ลำนำบุตรทั้งเจ็ด” ผู้แต่งเปรียบเทียบดินแดนของจีนที่ถูกแบ่งแยก และครอบครองโดยประเทศอาณานิคมอื่นว่า เป็นลูกเจ็ดคนที่พลัดพรากจากอกแม่ ไปตกอยู่ในความควบคุมดูแล และถูกกดขี่รังแกจากผู้อื่น เด็กน้อยร้องหาแม่เสียงหลง โหยหาละห้อยให้ คอยวันค่ำเช้าที่จะกลับคืนสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของแม่ดังเดิม ดินแดนทั้งเจ็ดได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า ใต้หวัน จิ่วหลง เวยไห่เว่ย อ่าวกวางตุ้ง และ หลวี่ต้า หลังจากที่บทกวีนี้ ออกเผยแพร่ ก็ตอกย้ำความเจ็บช้ำ และความคิดถึงโหยหาอลัยอาวรณ์ของแม่และลูกสุดแสนจะพรรณนา หลังจากนั้นเจ็ดสิบกว่าปี คีตกวีผู้มีเชื่อเสียงชื่อ หลี ไห่ อิง ได้แต่งทำนองให้กับบทกวีท่อน “มาเก๊า” เพื่อเฉลิมฉลองการกลับคืนสู่มาตุภูมิของมาเก๊าในปี ค.ศ. 1999
http://www.youtube.com/watch?v=EQFKaL34SzM

อันดับที่ 91.เพลง เทียน ลู่《天路》 (ทางสวรรค์) ประพันธ์คำร้องโดย Qu Yuan (屈塬) ประพันธ์ทำนองโดย Yin Qing (印青) เพลงที่ชื่อว่า “Tian Lu (天路) ทางสวรรค์” เป็นเพลงที่โดดเด่นและได้รับความนิยมมาก ความโดดเด่นของเพลงนี้อยู่ที่ความหมาย และเหตุการณ์ที่นับได้ว่าเป็นการให้ความสำคัญอย่างใหญ่หลวงของรัฐบาลจีนต่อดินแดนทิเบตและชนชาวทิเบต นั่นก็คือ การสร้างทางรถไฟสาย ชิงไห่-ทิเบต ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟบนที่ราบสูงที่สูงที่สุดและยาวที่สุดของโลก มีความยาวตลอดทั้งสาย 1956 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟสูงที่สุดในโลกคือ สถานี
ถังกู่ลา-ซาน ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 5,072 เมตร ทางรถไฟสายนี้หรือกว่า 960 ก.ม. ทอดยาวไปบนพื้นที่ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,000 เมตร นับเป็นมหัศจรรย์งานวิศวกรรมชิ้นเอกที่รัฐบาลจีนทุ่มเทอย่างมหาศาลเพื่อนำความเจริญและความผาสุกเข้าสู่ดินแดนหลังคาโลก บทเพลง เทียนลู่ จึงมิใช่เพียงบทเพลงที่บันทึกเหตุการณ์ความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายชิงไห่ – ทิเบต เท่านั้น หากแต่เป็นบทเพลงที่ประสานมิตรภาพของคนสองเชื้อชาติบนแผ่นดินเดียวกัน ที่ทั่วโลกขนานนามว่า “แผ่นดินมังกร” ให้เป็นหนึ่งเดียว ด้วยคำร้องที่กินใจว่า “ฝ่าความหนาวฝากรถไฟสายสวรรค์ อ้อมอุ่นนั้นมาตุภูมิส่งมาให้ นับแต่นี้เขาไม่สูงทางไม่ไกล เผ่าพี่น้องรวมใจรักนิรันดร์”http://www.youtube.com/watch?v=P7Rq0yFNvKs

อันดับที่ 92.เพลง จู่กว๋อ ปู๋ ฮุ่ย วั่งจี้ 《祖国不会忘记》 (มาตุภูมิไม่เคยลืม) ประพันธ์คำร้องโดย Yue Tan (月潭) ประพันธ์ทำนองโดย Cao Jin (曹进) เพลงนี้แต่งขึ้นเพื่ออุทิศให้กับผู้ที่ปิดทองหลังพระ ทุ่มเท เสียสละเพื่อสร้างชาติอย่างไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย และไม่เคยคิดให้ใครมายกย่อง หรือตอบแทนใด ๆ เพราะทุกสิ่งที่ทุ่มเทลงไป ก็เพื่อสร้างชาติให้เข้มแข็งยืนยง แม้จะเป็นเพียงหนึ่งแรงเล็ก ๆ แต่ก็ทุ่มเทสุดแรงกายแรงใจ ผู้ขับร้องคนแรกเป็นศิลปินนักร้องเพลงระดับชาติ ชื่อ อิน ซิ่ว เหมย (殷秀梅) ทำนองเพลงองอาจ ฮึกเหิม และเข้มแข็ง กระฉับกระเฉง สื่อถึงจิตใจที่เด็ดเดี่ยว มั่นคง มุ่งมั่น อาจหาญต่อสู้กับความยากลำบากอย่างไม่เคยย่อท้อ และไม่เคยคิดท้อถอย แม้จะไม่มีใครเห็น แต่ท้องฟ้ามองเห็น ดวงดาวมองเห็น หุบเขามองเห็น แม่น้ำมองเห็น และมาตุภูมิมองเห็น มาตุภูมิไม่เคยลืมฉัน เพียงเท่านี้ฉันก็สุขใจเพียงพอแล้ว
http://www.youtube.com/watch?v=qDBHKpNr4Ck

อันดับที่ 93.เพลง ซัว จง กว๋อ 《说中国》 (พูดถึงประเทศจีน) ประพันธ์คำร้องโดย Zeng Xianrui (曾宪瑞) ประพันธ์ทำนองโดย Jiang Dawei (蒋大为) 我喜爱的歌唱家⑥蒋大为歌曲100首-音色明亮浑厚奔放万人传唱蒋大为是我国最著名的男高音歌唱家,是歌坛上的一棵长青树,具有深厚的声乐造诣。1947年1月22日出生于天津, 1975年调到中央民族歌舞团任独唱演员,曾任中央民族歌舞团团长。他的演唱甜美,音色明亮,感情真挚。他的歌唱受到全国各族人民的欢迎和喜爱。
เป็นเพลงสดุดีพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปฏิวัติวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงการปกครอง ช่วยให้พี่น้องชาวจีนหลุดพ้นจากการถูกกดขี่ข่มเหงของชนชั้นศักดินาอย่างในอดีต หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศจีนพัฒนารุดหน้าอย่างเข้มแข็ง เป็นผลมาจากการนำของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั่นเอง จนปัจจุบัน ชาติจีน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ความเป็นอยู่ของประชาชน อารยธรรมจีน ล้วนเป็นแนวหน้า และยังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำนองเพลงแสดงออกถึงความโอ่อ่า ใจกว้าง เปิดเผย ทำนองช้า แต่ตัวโน้ตและจังหวะมั่นคง แสดงถึงการก้าวไปทีละก้าวอย่างหนักแน่น ความไพเราะของเพลงนี้ แทรกซึมสู่หัวใจชาวจีนทุกหนแห่ง และทุกผู้ทุกคน
http://www.tudou.com/programs/view/05giw6LcG9M/

อันดับที่ 94.เพลง หง ฉวน เซี่ยง เว่ยหลาย 《红船向未来》 (เรือแดงมุ่งสู่อนาคต) ประพันธ์คำร้องโดย Zhou Yuqiang (周羽强) ประพันธ์ทำนองโดย Zhang Hongqi (张红旗) แต่งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2006 เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สาธารณรัฐจีนครบรอบ 85 ปี หลังจากถ่ายทำภาพยนตร์เพลงสำเร็จ ได้นำออกเผยแพร่ครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางหลายครั้ง จนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดเพลงในคอนเสริตของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลาง เนื้อเพลงสดุดีพรรคคอมมิวนิสต์จีน เดิมเป็นเพลงที่ผู้แต่งท่านนี้เขียนขึ้นมาก่อนแล้ว ชื่อเพลงว่า หง ฉวน ฉวี่《红船曲》 “เพลงเรือแดง” ผู้แต่งได้นำเอาสำนวนเพลงเดิมนี้มาปรับปรุงแก้ไขเนื้อร้องใหม่ โดยเพิ่มเติมคำร้องที่สื่อถึงสัญลักษณ์ร่วมสมัย เช่น “รวมใจเป็นหนึ่ง ลงเรือลำเดียว รวมความรัก รวมหัวใจ ร่วมใจสร้างอนาคต” ด้านดนตรี เพลงนี้มีท่วงทำนองไพเราะงดงาม สื่อถึงหัวใจที่งดงามของประชาชนที่ร่วมแรงร่วมใจ รักภัคดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ และมุ่งมั่นร่วมสร้างชาติไปด้วยกัน
http://www.tudou.com/programs/view/S_SUKmasnp8/

อันดับที่ 95.เพลง กวาง หมิง สิง 《光明行》 (เส้นทางแสงทอง) ประพันธ์คำร้องโดย Yu Wenqin (虞文琴) ประพันธ์ทำนองโดย Lei Yuansheng (雷远生) เป็นเพลงที่มีเนื้อหาสดุดีพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ผ่านร้อนผ่านหนาว บุกฝ่าความยากลำบากนับร้อยนับพันแรมคืน ข้ามน้ำข้ามเขาสูงชันนับพันลูก ฝ่าแดดร้อนลมแรง รอนแรมทางไกลหลายพันลี้ เพื่อเสาะหาแสงสว่างให้กับมวลชน ขับไล่ความทุกข์ยาก เดือดร้อน แร้นแค้น และการกดขี่ข่มเหงรังแกของชนชั้นศักดินาในอดีต แสงสว่างในเพลงนี้ก็หมายถึงความผาสุก สภาพชีวิตที่ดีขึ้นของมวลชน และความเจริญรุ่งเรืองของชาติที่ส่องแสงรออยู่ด้านหน้า ทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดขึ้นมาจากความวิริยะอุตสาหะของเหล่าทหารกล้าแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ต่อสู้เพื่อประชาชนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป
http://v.youku.com/v_show/id_XMTA4ODg3NTQ4.html

อันดับที่ 96.เพลง ก้ง เหอ กว๋อ เสวี่ยน เจ๋อ เลอะ หนี่《共和国选择了你》 (สาธารณรัฐเลือกท่านแล้ว) ประพันธ์คำร้องโดย Qu Cong (瞿琮) ประพันธ์ทำนองโดย Ning Lin (宁林) เป็นเพลงสดุดีพรรคคอมมิวนิสต์จีน แสดงออกถึงความผูกพันของพรรคที่มีต่อประชาชน และประชาชนมีต่อพรรค พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ทำหน้าที่เหมือนคนวิ่งคบเพลิงส่งผ่านรุ่นแล้วรุ่นเล่า เพื่อนำพาความรุ่งโรจน์ ความอยู่ดีมีสุขไปสู่ประชาชนทุกหัวระแหง ที่ใดมีทุกข์ ที่ใดมีภัย พรรคจะไปช่วยเหลือโดยทันที เพราะท่านเป็นลูกหลานชาวจีน เป็นประชาชนชาวจีน ซึ่งนับเป็นบุคคลที่พรรคเลือกแล้วให้เป็นพลเมืองของประเทศจีน และอยู่ในความคุ้มครองดูแลของพรรค ท่วงทำนองหนักแน่น แต่อ่อนหวาน ซึ้งใจ แสดงถึงความซาบซึ้งที่ประชาชนมีต่อพรรค และพรรคมีต่อประชาชน เป็นความรักผูกพันกลมเกลียวระหว่างกันที่มิอาจแยกขาดจากกัน
http://www.youtube.com/watch?v=xGcVI9e-wxg

อันดับที่ 97.เพลง เจียง ซาน《江山》 (ธารา ภูเขา ) ประพันธ์คำร้องโดย Xiao Guang (晓光) ประพันธ์ทำนองโดย Yin Qing (印青) เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์โทรทัศน์ในชื่อเดียวกัน เป็นเพลงที่มีเนื้อหาสดุดีพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ.1949 อันเป็นสัญลักษณ์ของการล้มล้างระบอบศักดินาให้สิ้นซาก คืนอิสรภาพและความอยู่เย็นเป็นสุขให้กับประชาชน สื่อให้เห็นถึงความจริงใจของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ทุ่มเท ทำทุกอย่างเพื่อความผาสุกของประชาชน ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ พลังสำคัญที่ส่งเสริมให้พรรคฯ ทำงานได้สำเร็จ ก็คือพลังจากประชาชนนั่นเอง ความสำเร็จนี้เป็นไปตามปณิธานของพรรคฯที่ว่า “มุ่งสู่การพัฒนาเพื่อประชาชน การพัฒนาต้องอาศัยพลังจากประชาชน ผลสำเร็จของการพัฒนากลับคืนสู่ประชาชน” ทำนองเพลงนี้ไพเราะซาบซึ้งใจ สร้างความกระหึ่มลำพองให้กับหัวใจของผู้ได้ฟัง จึงได้รับความนิยมอย่างมาก โดยในพิธีสวนสนามวันครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลง 4 เพลง ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงประวัติศาสตร์ผู้นำประเทศทั้งสี่ยุค http://www.youtube.com/watch?v=YTD0vxd-Q2U

อันดับที่ 98.เพลง ฉี จื้อ ซ่ง《旗帜颂》 (สรรเสริญธงไสว) ประพันธ์คำร้องโดย Yan Su (阎肃) ประพันธ์ทำนองโดย Yin Qing (印青) เนื้อเพลงพรรณนาถึงเขตแดนของจีน ประชาชนชาวจีน วัฒนธรรมจีน ที่ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใด ก็จะมีธงแดงโบกปลิวพลิ้วไสวในใจชาวจีนทุกดวง ธงแดงในเพลงใช้เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการรวมใจของชนในชาติที่ร่วมแรงร่วมใจสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกร ยืนหยัดอย่างเข้มแข็ง ไม่ว่าหนทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ขอเพียงเรารวมใจเป็นหนึ่ง เดินตามพรรคคอมมิวนิสต์ ก็จะสามารถนำพาชาติไปสู่ความรุ่งเรือง โครงสร้างของเพลงเริ่มต้นด้วยการร้องแบบประสานเสียงให้อารมณ์เสมือนการรวมพลังรวมใจอย่างมุ่งมั่น แล้วขับร้องเดี่ยวสื่อถึงการนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพื่อนำพาชาวจีนและชาติจีนมุ่งสู่จุดหมายที่ชัชวาล ท่อนต่อมาเป็นเสียงร้องเดี่ยวผสมผสานกับเสียงประสานเป็นเบื้องหลัง เปรียบเสมือนการก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน ของประชาชนและพรรคคอมมิวนิสต์ แล้วจบด้วยเสียงประสานที่กระหึ่มดัง สื่อถึงความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของชาติจีน ทำนองเพลงโอ่อ่า กึกก้อง เข้มแข็ง มั่นคง นับเป็นเพลงปลุกใจที่มีเนื้อหาสดุดีมาตุภูมิจีนที่สร้างความภาคภูมิใจให้ชาวจีนเป็นอย่างมากอีกเพลงหนึ่ง
http://www.youtube.com/watch?v=azFc6PFi-xE&feature=related

อันดับที่ 99.เพลง เหอ เสีย เจีย หยวน《和谐家园》 (บ้านเกิดเมืองนอนอันกลมเกลียว) ประพันธ์คำร้องโดย Yi Nanxin (易南新) ประพันธ์ทำนองโดย Jiang Dawei (蒋大为) ประเทศจีนและประชาชนชาวจีนตกอยู่ภายใต้สังคมศักดินา และสงครามการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพนานหลายปี ในที่สุดก็ได้รับชัยชนะภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จากนั้นพรรคก็ได้นำพาประเทศก้าวสู่ศตวรรษแห่งความเข้มแข็งยิ่งใหญ่และรุ่งเรือง ชนในชาติมีแต่ความรื่นรมย์ สงบสุขและมีชีวิตที่ดีขึ้น เพลงนี้พรรณนาภาพความรื่นรมย์ ความงามของธรรมชาติ ความงามของภูมิประเทศ ความงามของแสงทองในฤดูใบไม้ผลิของชาติจีน เพื่อสื่อให้ผู้ฟังได้รับรู้ว่า บนดินแดนที่งดงามแห่งนี้เป็นดินแดนแห่งความสุข สงบ ร่มเย็น และรื่นรมย์ ทำนองเพลงไพเราะนุ่มนวล เต็มเปี่ยมด้วยความอิ่มเอิบ ภาคภูมิในดินแดนที่ความงดงามแห่งนี้
http://www.youtube.com/watch?v=3aEZx7bz_Ho

อันดับที่ 100.เพลง กว๋อ เจีย《国家》(ประเทศ) ประพันธ์คำร้องโดย Wang Pingjiu (王平久) ประพันธ์ทำนองโดย Jin Peida (金培达) เป็นหนึ่งในชุดเพลง เป่ยจิง ฮวนอิ๋ง หนี่ 《北京欢迎你》 “ปักกิ่งต้อนรับคุณ” ซึ่งเป็นโครงการเพลงต้อนรับกีฬาโอลิมปิคปี 2008 ที่จัดที่ปักกิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปี 2008 เป็นปีครบรอบ 60 ปี แห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย เนื้อเพลงถ่ายทอดให้เห็นถึงเส้นทางที่ประชาชนและรัฐบาลฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการตั้งแต่อดีต มาสู่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างปัจจุบัน ประชาชนกับรัฐบาลเปรียบเสมือนเลือดกับเนื้อที่ไม่อาจแยกจากกันได้ ชื่อเพลงนี้ประกอบด้วยคำสองคำ คือ คำว่า กว๋อ (国) หมายถึงประเทศ คำว่า เจีย(家) หมายถึงบ้าน ประเทศไม่ว่าจะใหญ่โตเพียงใด หากไม่มีบ้านของประชาชนก็ไม่อาจเข้มแข็งได้ ดังนั้นคำว่า “ประเทศ” จึงต้องเกิดจากคำสองคำนี้ จึงจะเป็นประเทศได้ ดังเนื้อเพลงท่อนหนึ่งที่ว่า “บ้านคือประเทศที่เล็กที่สุด หมื่นล้านบ้านรวมเป็นหนึ่งประเทศ” เป็นคำคมที่สร้างสำนึกความเป็นชาติ และความรักชาติในใจชาวจีนอย่างลึกซึ้ง
http://www.youtube.com/watch?v=Y2xsdr4odQY


การก่อกำเนิดวัฒนธรรมเพลงรักชาติของจีน เกิดขึ้นบนเส้นทางการฝ่าฟันอุปสรรคและความยากลำบาก ด้วยความวิริยะอุตสาหะและอดทนของรัฐบาลและชนชาวจีนมายาวนาน เพลงที่เกิดขึ้นล้วนเป็นเพลงที่กลั่นกรองออกมาจากจิตวิญญาณรักชาติของนักประพันธ์ ถ่ายทอดสู่หัวใจรักชาติของผู้ฟัง เป็นอีกหนึ่งบทบันทึกประวัติศาสตร์ความเป็นชาติของจีนอันทรงคุณค่า การยกย่องร้อยเพลงรักชาติจีนในการเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการรวบเพลงอันทรงคุณค่าของชาติ หากแต่เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความรัก ความศรัทธาที่ชาวจีนมีต่อชาติ ได้หยั่งรากลึกลงในหัวใจชาวจีนทุกดวง

เนื้อหานี้เป็นเพียงข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับร้อยเพลงรักชาติของจีน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือตามข้อมูลบรรณานุกรมข้างล่างนี้

เมชฌ สอดส่องกฤษ.(2553) ร้อยเพลงรักชาติจีน.(พิมพ์ครั้งที่1).อุบลราชธานี: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(504 หน้า) ISBN : 978-974-523-240-2