คัดลอกภาพจาก http://img7.itiexue.net/1173/11733643.jpg
ชาวมู่หล่าวเป็นเผ่าชาวเขาของจีนที่มีจำนวนประชากรไม่มากนัก เรียกตัวเองว่า “หลิง” (伶 Línɡ) บ้างเรียกว่า “จิ่น” (谨 Jǐn) ชาวจ้วงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ปู้จิ่น” (布谨 Bùjǐn) ชาวฮั่นเรียกชื่อชนกลุ่มนี้ว่า “หมู่หลาว” (姆佬 Mǔlǎo) หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเรียกชื่อชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการว่าชนเผ่ามู่หล่าว ประชากรชาวมู่หล่าวส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณอำเภอปกครองตนเองเผ่ามู่หล่าวในเมืองหลัวเฉิง (罗城Luóchénɡ) ของมณฑลกว่างซี(广西Guǎnɡxī) นอกจากนี้ยังมีกระจัดกระจายอยู่ตามตำบลอื่นๆ เช่น ซินเฉิง(忻城 Xīnchénɡ) อี๋ซาน(宜山 Yíshān) หลิ่วเฉิง (柳城 Liǔchénɡ) ตูอาน (都安 Dū’ān) หวนเจียง(环江 Huán jiānɡ) เหอฉือ(河池 Héchí) เป็นต้น ซึ่งอยู่ปะปนกับชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นได้แก่ จ้วง(壮 Zhuànɡ) ฮั่น(汉Hàn) เหยา(瑶Yáo) เหมียว(苗 Miáo) ต้ง(侗 Dònɡ) เหมาหนาน(毛南 Máonán) และสุ่ย (水Shuǐ)
จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่ามู่หล่าว มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 207,352 คน พูดภาษามู่หล่าว ซึ่งเป็นภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาเหมาหนาน (毛难语 Máonányǔ) ภาษาต้ง(侗语 Dònɡyǔ) และภาษาสุ่ย(水语 Shuǐyǔ) ปัจจุบันชาวมู่หล่าวส่วนใหญ่รู้ภาษาจีนและใช้อักษรจีน
ชาวมู่หล่าวมีวิวัฒนาการมาจากชาวชนเผ่าในอดีตชื่อว่า ชาวเหลียว (僚人Liáorén) ในบทประพันธ์ของฉางฉวี (常璩Chánɡ Qú) ในสมัยจิ้น (晋Jìn) เรื่อง “บันทึกจีนภาคใต้และภาคกลาง” กล่าวถึงชาวเหลียวว่า “ชาวเหลียวดำรงชีวิตและตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนใต้ของเทือกเขาหยวินหลิ่ง (云岭Yúnlǐnɡ) ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงหยวินกุ้ย (云贵Yúnɡuì)” หลังจากยุคราชวงศ์ถังและซ่งเป็นต้นมา เอกสารประวัติศาสตร์ล้วนมีกล่าวถึงชาวเหลียว (僚 Liáo) หรือชาวหลิง(伶Línɡ) ในบันทึกราชวงศ์ชิงมีกล่าวถึงชาวเหลียวและชาวหลิงว่า “ชาว หลิงมีอีกชื่อว่าชาวเหลียว ชื่อเรียกพื้นเมืองว่าหมู่หล่าว (姆佬Mǔlǎo)” นักวิชาการมีความเห็นว่า ชาวมู่หล่าวแยกตัวออกมาจากชาวหลิ่งและชาวเหลียว จากนั้นหลอมรวมและก่อตัวกันเป็นชนเผ่าใหม่ในสมัยซ่ง
จากบันทึกประวัติศาสตร์ การจัดการปกครองของจักรพรรดิราชวงศ์ซ่งก่อตั้งบริเวณเมืองหลินก้ง(琳洞Líndònɡ) กุ้ยโจว (桂州Guìzhōu) รวมเป็นตำบลหลัวเฉิง (罗城Luóchénɡ) อยู่ในเขตการปกครองของเขตลี่หรง(隶融Lìrónɡ) ต่อมาจัดอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดชิ่งหย่วน(庆远Qìnɡyuǎn) ชาวมู่หล่าวในปลายสมัยหยวนและต้นสมัยหมิงตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณตำบลหลัวเฉิง (罗城Luóchénɡ) ประชาชนอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของราชสำนักหมิง ต้องส่งเครื่องบรรณาการและภาษีเป็นพืชธัญญาหารให้แก่ราชสำนักทุกปี ในสมัยราชวงศ์ชิงได้จัดการปกครองในเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมู่หล่าว โดยก่อตั้งชุมชนเป็น “หลี่” (里lǐ) ภายใต้หลี่แบ่งเป็นหมู่บ้านย่อยๆ ที่ประกอบด้วยประชากรสิบกว่าหลังคาเรือน เรียกว่า “ตง” (冬dōnɡ) ในแต่ละตง มีหัวหน้าที่เลือกโดยสมาชิกในหมู่บ้าน ทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่เก็บรวบรวมภาษีส่งให้ทางการ ด้วยความที่ชาวมู่หล่าวที่เป็นเครือญาติกันจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกัน ดังนั้น การปกครองที่ย่อยลงไปจาก “ตง” ก็คือ “ฝัง” (房fánɡ) ซึ่งก็หมายถึงสมาชิกในแต่ละครัวเรือนนั่นเอง หลังจากปี 1933 ตามการปกครองของกว๋อหมินตั่ง แบ่งการปกครองเป็นเขต ตำบล หมู่บ้าน หัวหน้าในแต่ละส่วนเป็นสมาชิกคณะกรรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาในชุมชนของตนด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายปกครองของอำนาจกว๋อหมินตั่ง ผู้ที่จะรับหน้าที่ตามการจัดการปกครองของกว๋อหมินตั่งนี้ก็มาจากพื้นฐานเดิมของหัวหน้า หลี่ ตง และฝังของชาวมู่หล่าวเดิมนั่นเอง การต่อต้านการปกครองแบบราชสำนัก การปกครองแบบศักดินา การต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นล้วนได้รับพลังที่เข้มแข็งจากชาวมู่หล่าวร่วมกัน จนก่อตั้งเป็นประเทศจีนมาจนปัจจุบัน
จากบันทึกประวัติศาสตร์ การจัดการปกครองของจักรพรรดิราชวงศ์ซ่งก่อตั้งบริเวณเมืองหลินก้ง(琳洞Líndònɡ) กุ้ยโจว (桂州Guìzhōu) รวมเป็นตำบลหลัวเฉิง (罗城Luóchénɡ) อยู่ในเขตการปกครองของเขตลี่หรง(隶融Lìrónɡ) ต่อมาจัดอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดชิ่งหย่วน(庆远Qìnɡyuǎn) ชาวมู่หล่าวในปลายสมัยหยวนและต้นสมัยหมิงตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณตำบลหลัวเฉิง (罗城Luóchénɡ) ประชาชนอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของราชสำนักหมิง ต้องส่งเครื่องบรรณาการและภาษีเป็นพืชธัญญาหารให้แก่ราชสำนักทุกปี ในสมัยราชวงศ์ชิงได้จัดการปกครองในเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมู่หล่าว โดยก่อตั้งชุมชนเป็น “หลี่” (里lǐ) ภายใต้หลี่แบ่งเป็นหมู่บ้านย่อยๆ ที่ประกอบด้วยประชากรสิบกว่าหลังคาเรือน เรียกว่า “ตง” (冬dōnɡ) ในแต่ละตง มีหัวหน้าที่เลือกโดยสมาชิกในหมู่บ้าน ทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่เก็บรวบรวมภาษีส่งให้ทางการ ด้วยความที่ชาวมู่หล่าวที่เป็นเครือญาติกันจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกัน ดังนั้น การปกครองที่ย่อยลงไปจาก “ตง” ก็คือ “ฝัง” (房fánɡ) ซึ่งก็หมายถึงสมาชิกในแต่ละครัวเรือนนั่นเอง หลังจากปี 1933 ตามการปกครองของกว๋อหมินตั่ง แบ่งการปกครองเป็นเขต ตำบล หมู่บ้าน หัวหน้าในแต่ละส่วนเป็นสมาชิกคณะกรรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาในชุมชนของตนด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายปกครองของอำนาจกว๋อหมินตั่ง ผู้ที่จะรับหน้าที่ตามการจัดการปกครองของกว๋อหมินตั่งนี้ก็มาจากพื้นฐานเดิมของหัวหน้า หลี่ ตง และฝังของชาวมู่หล่าวเดิมนั่นเอง การต่อต้านการปกครองแบบราชสำนัก การปกครองแบบศักดินา การต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นล้วนได้รับพลังที่เข้มแข็งจากชาวมู่หล่าวร่วมกัน จนก่อตั้งเป็นประเทศจีนมาจนปัจจุบัน
ด้านสังคม ในอดีตชาวมู่หล่าวใช้ชื่อเผ่าเป็นนามสกุล ต่อมาได้รับอิทธิพลในเรื่องการตั้งชื่อและนามสกุลจากชาวฮั่น ชาวมู่หล่าวเริ่มใช้แซ่อย่างชาวฮั่น ยุคใกล้ปัจจุบัน (近代Jìndài) แซ่ของชาวมู่หล่าวมี หลัว (罗Luó) อิ๋น (银Yín) อู๋ (吴Wú) เซี่ย (谢Xiè) พาน (潘Pān) เหลียง (梁 Liánɡ) โจว(周Zhōu) เหวย(韦Wéi) จาง(张Zhānɡ) หวง(黄Huánɡ) หลวี่(吕Lǚ) เปา (包Bāo) ถาน (覃Tán) เป็นต้น สายตระกูลใหญ่ของชาวมู่หล่าวคือสายตระกูลหลัว อิ๋น อู๋ และเซี่ย
ที่ตั้งชุมชนของชาวมู่หล่าวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ โอบล้อมด้วยหุบเขา และสายน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของริมฝั่งน้ำเป็นทรัพย์ในดินที่ชาวมู่หล่าวเก็บเกี่ยวสร้างผลผลิตการเกษตรหล่อเลี้ยงชุมชนชาวมู่หล่าวมาตลอด พืชหลักที่ชาวมู่หล่าวปลูกก็คือข้าวเจ้า ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มัน งา พืชน้ำมัน ชาวมู่หล่าวรู้จักใช้เครื่องมือเกษตรที่ทำด้วยเหล็กมาตั้งแต่สมัยหมิงแล้ว ปริมาณการผลิต เทคโนโลยีการเกษตรเทียบเท่ากับชาวฮั่นและจ้วงซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเจริญมากในยุคนั้น งานหัตถกรรมของชาวมู่หล่าวก็มีพัฒนาการล้ำหน้า ดังบันทึกราชวงศ์ชิงที่กล่าวถึงชาวมู่หล่าวว่า “เป็นกลุ่มชนที่มีฝีมือผลิตมีดชั้นเยี่ยม” งานหัตถกรรมด้านการเผา หลอมเหล็ก และการเผาเครื่องกระเบื้องของชาวมู่หล่าวก็มีวิวัฒนาการมานับร้อยปี ในสมัยหมิงชาวมู่หล่าวผลิตขวานเหล็กใช้เองได้แล้ว นอกจากนี้ยังมีงานหัตถกรรมทำกระปุก เครื่องปั้นดินเผาที่ทำจากทรายที่มีชื่อเสียงอีกด้วย
ด้วยเหตุที่บริเวณที่อยู่อาศัยของชาวมู่หล่าวอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ขนาดที่ได้ชื่อว่า “เมืองแห่งถ่านหิน” ด้วยเหตุนี้ ชาวมู่หล่าวเริ่มจากการเก็บถ่านหินตามธรรมชาติ พัฒนาจนเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ถ่านหินในปัจจุบัน
ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงก็มีบันทึกเกี่ยวกับการเก็บแร่ถ่านหินของชาวมู่หล่าวไว้ว่า “คนมู่หล่าวเก็บแร่ดำรงชีวิต ขุดดินทำเตา เผากระอบทราย” ในยุคหมินกว๋อ การทำอุตสาหกรรมเก็บแร่ถ่านหินของชาวมู่หล่าวขยายปริมาณและพื้นที่กว้างใหญ่ขึ้น เหมืองแร่กว่า 31 แห่งในยุคนั้นต้องจ้างการแรงงานจำนวนมาก ชาวมู่ หล่าวเกือบทั้งชนเผ่ารับจ้างเป็นกรรมกรในเหมืองแร่ นอกจากการทำเหมืองแร่ถ่านหินแล้ว ยังมีการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมากมายในชุมชนชาวมู่หล่าว เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานผลิตปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์ โรงงานยา โรงงานผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรม โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น งานด้านการจราจรพัฒนาเจริญก้าวหน้า ทำให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมู่หล่าวดีขึ้นมาโดยตลอด
ด้านศิลปวัฒนธรรม ชาวมู่หล่าวรักการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ บทเพลงชาวเขาของชาวมู่หล่าวเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวิถีชีวิตอารมณ์ความรู้สึก ตลอดจนวัฒนธรรมประจำเผ่าได้เป็นอย่างดี เพลงของชาวมู่หล่าวมีหลายแบบ เช่น “การโต้เพลง ”เป็นบทเพลงทำนองสั้นๆ ที่หนุ่มสาวใช้ร้องโต้ตอบ เกี้ยวพาราสีกันในการรื่นเริงต่างๆ ลักษณะคำร้องมีแบบเพลงสี่วรรคกับเพลงหกวรรค ในแต่ละวรรคบังคับคำเจ็ดคำ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคสัมผัสคล้องจองกัน “เพลงตับโบราณ” คือบทเพลงขนาดยาวที่ประกอบด้วยเพลงเล็กๆเป็นสิบๆเพลงร้องต่อกันเป็นตับ ใช้บรรยายเรื่องราว นิทาน ตำนาน เทพนิยายของชนเผ่าและนอกจากนี้ยังใช้ประกอบการระบำอีกด้วย นอกจากนี้มี “เพลงลมปาก” เป็นเพลงประเภทร้องโต้ตอบกัน เนื้อหาเสียดสีประชดประชัน เนื้อเพลงใช้วิธีด้นสด ถ้อยคำเป็นภาษาพื้นบ้าน บางครั้งถึงขั้นไม่สุภาพหรือหยาบโลนก็มี เป็นเพลงที่ใช้ร้องเพื่อสร้างอารมณ์ตลกขบขัน และบรรยากาศที่เร้าใจได้เป็นอย่างดี
กวีชาวมู่หล่าวที่มีชื่อเสียงเช่น เปายวี่ถาง (包玉堂 Bāo Yùtánɡ) กวีผู้ซึ่งรักษาและสืบทอดขนบวิธีการแต่งบทกลอนและเพลงของเผ่ามู่หล่าว บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงเช่น เรื่อง เรื่อง《凤凰山下百花开》Fènɡ huánɡ shānxià bǎihuā kāi “ ร้อยบุปผาบานเชิงภูพานพญาหงส์” เรื่อง《歌唱我的民族》Gēchànɡ wǒ de mínzú “ขับลำเพลงเผ่าข้า” เรื่อง《在天河两岸》Zài tiānhé liǎnɡ àn “สองฝั่งนที” เรื่อง《清清的泉水》Qīnɡ qīnɡ de quán shuǐ “น้ำพุพราวใส”เป็นต้น
บ้านเรือนของชาวมู่หล่าวสร้างด้วยกำแพงดิน หลังคามุงกระเบื้อง ภายในบ้านมีเตาเผาใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง อาหารหลักของชาวมู่หล่าวคือข้าวเจ้า ข้าวโพด มัน มีข้อห้ามรับประทานเนื้อแมวและเนื้องู เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนิยมสีเขียวหรือสีน้ำเงินเข้ม ตั้งแต่อดีตมาจนถึงสมัยชิง หญิงชาวมู่หล่าวนิยมสวมผ้าถุง แต่ปัจจุบันนิยมสวมกางเกงขากว้าง เสื้อผ่าอกติดกระดุม ประดับร่างกายด้วยตุ้มหู กำไล แหวน ชายสวมเสื้อผ่าอกติดกระดุมอย่างชาวฮั่น สวมกางเกงขากว้าง
ในอดีตการแต่งงานของชายหญิงชาวมู่หล่าวล้วนจัดการโดยญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย หรือหากรักใคร่ชอบพอกันเองต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจึงจะแต่งงานกันได้ หนุ่มสาวชาวมู่หล่าวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย หลังแต่งงานฝ่ายหญิงยังคงอาศัยอยู่บ้านพ่อแม่ตนเอง ต่อเมื่อคลอดบุตรคนแรกแล้วจึงจะสามารถย้ายเข้าไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชายได้ พิธีการแต่งงานจัดอย่างใหญ่โต ครึกครื้น และเอิกเริก สามารถแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวฮั่น ชาวจ้วงได้
พิธีศพของชาวมู่หล่าวจัดอย่างยิ่งใหญ่ การฝังศพยึดถือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ “เฟิงสุ่ย”อย่างเคร่งครัด
เทศกาลมีมากมาย เทศกาลสำคัญมี เทศกาลจ้าวโผหวาง (婆王节 Pówánɡjié) เป็นเทศกาลบูชาประจำหมู่บ้าน จัดขึ้นวันที่ 3 เดือนมีนาคม เทศกาลวัว (牛节 Niújié) เป็นเทศกาลบูชาเทพวัว ปล่อยให้วัวได้พักผ่อน จัดขึ้นในวันที่ 8 เดือนเมษายน นอกจากนี้ยังมีเทศกาลที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากชาวฮั่นเช่น เทศกาลตวนอู่ (端午节 Duānwǔjié) เทศกาลสำคัญได้แก่ เทศกาลคนหนุ่มสาว (后生节 Hòushēnɡjié) เป็นเทศกาลที่หนุ่มสาวจะได้มีโอกาสมาพบกัน ในวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม นอกจากนี้มีเทศกาลทำบุญข้าว จัดปีละครั้งหรือสองปีสามปีครั้ง จัดในวันสุดท้ายของการเก็บเกี่ยว กิจกรรมที่สำคัญมีการบูชาด้วยเนื้อหมู แกะ และมีกิจกรรมรื่นเริงอีกหลายอย่าง เช่น การแสดงอุปรากร เชิดสิงโต ร้องเพลงภูเขา
ด้านศาสนาความเชื่อ ชาวมู่หล่าวนับถือผี และวิญญาณของสรรพสิ่งมาแต่บรรพบุรุษ ต่อมาบางส่วนนับถือศาสนาพุทธ และศาสนาเต๋า เทพเจ้าที่ชาวมู่หล่าวนับถือมีมากมาย แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ เทพนอกบ้านกับเทพในบ้าน แต่ปัจจุบันชาวมู่หล่าวที่ยังคงนับถือตามแบบบรรพบุรุษมีจำนวนไม่มากแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น