วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การพรรณนาภาษาเกอลาวในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน.(ส่วนที่2)

เมชฌ สอดสองกฤษ.(2559) การพรรณนาภาษาเกอลาวในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารศาสนาและวัฒนธรรม.วิทยาลัยศาสนศึกษา.มหาวิทยาลัยมหิดล. ปีที่ 10  ฉบับที่ 1  (มกราคม– มิถุนายน 2559) หน้า 53-82.

(ส่วนที่ 2)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2.4   ระบบไวยากรณ์
          ภาษาเกอลาวเป็นภาษาคำโดด คำแต่ละคำมีความหมายในตัวเองและใช้ได้โดยอิสระ ไม่มีการเติมหน่วยเสียงลงในคำเพื่อทำให้คำเปลี่ยนแปลงหน้าที่หรือลักษณะทางไวยากรณ์ รูปแบบการประกอบคำและประโยคเป็นการนำคำมาเรียงต่อๆกันตามลำดับและโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่กำหนด โดยมีรูปแบบไวยากรณ์ที่สำคัญๆ ดังนี้ 
2.4.1  โครงสร้างประโยคความเดียวพื้นฐาน คือ [ S.V.O ] ตัวอย่างประโยคเช่น  
i33 ta13 tau33
ฉัน อ่าน  หนังสือ
ฉันอ่านหนังสือ

i33 ʑu31 ts’ei44 klau55
ฉัน  พูด  ภาษา   เกอลาว
ฉันพูดภาษาเกอลาว
ntai44 lai13 zǝɯ13
วัว      ไถ    นา
วัวไถนา
ŋkau44  tau24 tɕ’i44
งู           กัด     คน
งูกัดคน
          2.4.2 การใช้คำลักษณนาม ภาษาเกอลาวมีการใช้คำลักษณนามเหมือนกับภาษาไทแขนงอื่นๆ  ซึ่งรูปแบบของคำลักษณนามจะมีวิธีการใช้แตกต่างกันไปตามคำที่แวดล้อม ดังนี้ (cl.=clasifier)
คำลักษณนามของคำนาม
ta33 san33 ȵʨau13
สาม  cl.    ม้า
ม้าสามตัว
si33 qan24 qen33
หนึ่ง cl.       ถนน
ถนนหนึ่งสาย
คำลักษณนามของสกรรมกริยา
xɒ33 si11 tsɒ13 mpǝɯ44
กิน    หนึ่ง มื้อ     ข้าว
กินข้าวหนึ่งมื้อ
 ta13 ta33 plei33 tau33
เรียน สาม  ปี       หนังสือ
เรียนหนังสือสามปี
คำลักษณนามของอกรรมกริยา
mu33 ta33 van31
มา     สาม  cl.
มาสามครั้ง
zu13 si11 van31
ดู     หนึ่ง  cl.
ดูหนึ่งครั้ง
คำนามที่ใช้เป็นลักษณนาม
si33 la44 ǝɯ55
หนึ่ง ถ้วย น้ำ
น้ำหนึ่งถ้วย
tsu13 si11 tau33
ดู      หนึ่ง  ตา

ดูหนึ่งครั้ง(ที)
คำกริยาที่ใช้เป็นลักษณนาม
pau55 si11 lu13 an24
แบก   หนึ่ง  มัด  ฟืน
แบกฟืนหนึ่งมัด
mei24 si1    pau55 xaŋ33
หาบ    หนึ่ง  แบก    หญ้า
หาบหญ้าหนึ่งแบก
คำลักษณนามที่มีคำบ่งชี้
ta33 san33 ȵʨau13 ni31
สาม  cl.      ม้า          นี้
ม้าสามตัวนี้
nen33 nu31
cl.       นั้น
อันนั้น
            2.4.3 รูปแบบการใช้คำบ่งชี้  คำสรรพนามประเภทบ่งชี้ในภาษาเกอลาวมีสองคำคือ คำบ่งชี้ระยะใกล้ /ni31/ “นี่/นี้” และคำบ่งชี้ระยะไกล /nu31/ “นั่น/นั้น” ยังมีคำถามถึงตำแหน่งคือ /na13/ “ไหน” ก็ใช้รูปแบบเดียวกันคือ คำบ่งชี้(คำถามตำแหน่ง) จะวางไว้ท้ายสุดของคำหรือวลี คือวางไว้ต่อจากส่วนที่ต้องการบ่งชี้ หากใช้บ่งชี้คำก็วางไว้หลังคำ ใช้บ่งชี้วลีก็วางไว้หลังวลี โครงสร้างคือ [ส่วนที่ต้องการบ่งชี้ + คำบ่งชี้ ] ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 
คำบ่งชี้ระยะใกล้
/ni31/ “นี่/นี้”
ta33 xen33 tɕ’i44 ni31
สาม  cl.      คน    นี้
คนสามคนนี้

tɕ’i44 na13
คน    ไหน
คนไหน
คำบ่งชี้ระยะไกล
/nu31/ “นั่น/นั้น”
su33 kla55 en55      nu31
สอง  cl.      กระโปรง นั้น
กระโปรงสองตัวนั้น
kla55 na13
cl.     ไหน
ตัวไหน
          2.4.4 การขยายความ การขยายความในที่นี้คือการวางตำแหน่งของคำหลักที่ถูกขยายและตำแหน่งของคำที่ทำหน้าที่ขยายคำอื่น มีรูปแบบ ดังนี้   
1) คำคุณศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยายคำนามมีทิศทางการขยายไปข้างหลัง รูปแบบคือ [คำหลัก + คำขยายตัวอย่างประโยคเช่น  
ตัวอย่าง
ความหมาย

ตัวอย่าง
ความหมาย
ntai44 su33
วัว    ใหญ่
วัวใหญ่
qɚ33  mu33
เรือน ใหม่
บ้านใหม่
ts’a44  vi44
ภูเขา   สูง
ภูเขาสูง
mpa33 nan44
หมู    อ้วน
หมูอ้วน
            2) การขยายคำคุณศัพท์และกริยา คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์และกริยาเพื่อบอกระดับ ความเข้มข้น คุณภาพ ปริมาณ เวลา ขอบเขต ปฏิเสธ จะวางไว้หลังคำที่ต้องการขยาย ซึ่งก็เป็นรูปแบบเดียวกันกับภาษาไทแขนงอื่นๆ แต่จากข้อมูลคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาเกอลาวพบว่า มีชุดคำวิเศษณ์ที่ยืมมาจากภาษาจีน ซึ่งคำกลุ่มนี้ใช้รูปแบบไวยากรณ์อย่างภาษาจีนคือวางไว้หน้าคำที่ต้องการขยาย แต่บางครั้งก็ใช้คำจีนในรูปแบบไวยากรณ์เกอลาวก็มี  จึงทำให้พบปรากฏการณ์ที่ไวยากรณ์ในเรื่องเดียวกัน คำเดียวกัน แต่สามารถใช้ได้ทั้งสองรูปแบบสลับกันไปมา  ตัวอย่างคำวิเศษณ์ภาษาเกอลาวที่ยืมมาจากภาษาจีนเช่น 
hen33
 hěn
มาก (very)
t’ai24
tài
เกินไป
tsuei24
zuì
ที่สุด   
ken24
gèng
ยิ่ง

คำ
ไวยากรณ์เกอลาว

ไวยากรณ์จีน
ตัวอย่าง
ความหมาย
ตัวอย่าง
ความหมาย
บอกระดับ ความเข้มข้น คุณภาพ ปริมาณ
hen33
pla24   hen33   
แดง     มาก     
แดงมาก

hen33  pla24  
มาก    แดง     
แดงมาก
                      
O
hen33ɯ55 mpǝɯ44
มาก     ชอบ
ชอบมาก
t’ai24

O
t’ai24 ta55
เกิน    ร้อน
ร้อนเกินไป
tsuei24

O
tsuei24 ɒ33
ที่สุด      ดี
ดีที่สุด
บอกเวลา
ɯ33
pai33 ɯ33
ไป     ก่อน
ไปก่อน


O
len44

mu33 len44
มา     หลัง
มาหลัง


O
บอกปฏิเสธ
a33
xɒ33 ti33 a33
กิน    ได้   ไม่
กินไม่ได้


O
mpa31
xɒ33 za44 mpa31
กิน    มื้อเย็น ยังไม่
ยังไม่กิน
มื้อเย็น


O
            2.4.5 การแสดงความเป็นเจ้าของ รูปประโยคของการแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาเกอลาว มีสองแบบคือ (1) แบบคำและไวยากรณ์เกอลาว /mi55/ “ของ” รูปแบบคือ [ส่วนที่ถูกเป็นเจ้าของ + mi55+ เจ้าของ] คำแสดงความเป็นเจ้าของสามารถละได้ และแบบที่ (2) แบบคำยืมและไวยากรณ์ภาษาจีน คือคำว่า de “ของ รูปแบบคือ [เจ้าของ+ti33 + ส่วนที่ถูกเป็นเจ้าของ] คำแสดงความเป็นเจ้าของนี้ไม่สามารถละได้  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
รูปแบบ
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง
(1) แบบคำและ
ไวยากรณ์ภาษาเกอลาว
/mi55/
ntai44 mi55  i33
วัว      ของ  ฉัน
“วัวของฉัน”
ni31 ts’u44 mi55 u33
นี่     เป็น   ของ    เขา
“นี่เป็นของเขา”
tsǝɯ31 u33
น้องชาย  เขา
“น้องชายของเขา”
(2) แบบคำยืมและ
ไวยากรณ์ภาษาจีน
/ti33/
lei31tau33 ti33 tau33
นักเรียน    ของ  หนังสือ
“หนังสือของนักเรียน”
ni31 ts’u44 u33 ti33
นี่     เป็น    เขา  ของ
“ของเขา”
i33 ti33 liaŋ31 si31*
ฉัน ของ  อาหาร
“อาหารของฉัน”
*จ.=粮食liángshí อาหาร
          ในเรื่องการแสดงความเป็นเจ้าของนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับภาษากลุ่มไทอื่นๆ ที่อยู่ในประเทศจีนแทบทุกภาษามีการยืมคำแสดงความเป็นเจ้าของจากภาษาจีนมาใช้  บ้างยืมทั้งคำและไวยากรณ์ บ้างยืมเฉพาะคำแต่ไวยากรณ์เป็นของภาษาดั้งเดิม สำหรับภาษาเกอลาวมีคำและไวยากรณ์ของตนเองแบบหนึ่ง  และอีกแบบหนึ่งเป็นการยืมคำและรูปแบบไวยากรณ์ภาษาจีนมาใช้ สิ่งที่ทำให้รู้ว่าเป็นการยืมภาษาจีนมาใช้เนื่องจากว่า ในบางภาษา เช่น ภาษาต้ง ภาษามู่หล่าว ภาษาเหมาหนาน ภาษาสุ่ย ก็มีโครงสร้างการแสดงความเป็นเจ้าของสองแบบใช้ควบคู่กันไปเช่นเดียวกัน     
2.4.6 ประโยคเปรียบเทียบ คำแสดงความหมายเปรียบเทียบคือคำว่า /pi33/ “กว่า” (จ.= กว่า) โครงสร้างประโยคเปรียบเทียบคือ [A+/pi33/+B+คุณศัพท์] จะเห็นว่าโครงสร้างประโยคแบบนี้แตกต่างไปจากภาษาแขนงจ้วง-ไต คือ [A + คุณศัพท์ + กว่า+ B]  ในขณะที่ภาษาแขนงต้ง-สุ่ยมีสองรูปแบบ คือ รูปแบบที่เหมือนกับภาษาแขนงจ้วง-ไต และรูปแบบ(และคำ)ที่ยืมมาจากภาษาจีน คือ [A + (กว่า) + B + คุณศัพท์] และก็เป็นรูปแบบเดียวกันกับภาษาเหมียว-เหยาด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้       
[A+/pi33/+B+คุณศัพท์]  
mu31 pi33 u33 ɒ33
เธอ   กว่า   เขา  ดี
เธอดีกว่าเขา
mu31 pi33 i33 vi44
เธอ   กว่า   ฉัน  สูง
เธอสูงกว่าฉัน
               2.4.7 การบอกตำแหน่ง โครงสร้างของคำบอกตำแหน่ง เช่น บน ล่าง หน้า หลัง ซ้าย ขวา คำเหล่านี้จะวางไว้หน้าคำนามหรือสรรพนามที่เป็นจุดอ้างอิง รูปแบบคือ [คำบอกตำแหน่ง + คำนาม/สรรพนาม] ดังตัวอย่างต่อไปนี้       
ʨ’i55 an33 klǝɯ55 qɚ33
คน     อยู่    ใน         เฮือน
คนอยู่ในบ้าน

klǝɯ55 qɚ33 tsan31
ใน        เฮือน  มืด
ในบ้าน มืด
u33 an33 tsen13 tai33
เขา  อยู่    ใต้       ต้นไม้
เขาอยู่ใต้ต้นไม้
ntau31 an33 hu33 tai33 qai55
นก      อยู่    บน   ต้นไม้ ร้อง
นกร้องอยู่บนต้นไม้
               2.4.8 โครงสร้างคำบุพบท   การเรียงลำดับประโยคที่มีคำบุพบทในภาษาเกอลาว คือ [A + คำบุพบท + B + กริยา] รูปแบบนี้ (รวมถึงคำที่ใช้) เหมือนกันกับภาษาแขนงต้ง-สุ่ย ซึ่งเป็นรูปแบบ(รวมถึงคำที่ใช้) เดียวกันกับภาษาจีนด้วย แต่ภาษาแขนงจ้วง-ไต มีรูปแบบเป็น  [A + กริยา + คำบุพบท + B] คำที่ใช้เป็นคนละคำกับคำในภาษาจีนและคำในภาษาแขนงต้ง-สุ่ย ดังนี้ 
ts’uŋ44
จ.= cóng จาก
ts’uŋ44 hu33 tai33  tau24 tsǝɯ55
จาก       บน   ต้นไม้ ตก    ลง
ตกลงมาจากบนต้นไม้
tuei24
จ.= d ต่อ/กับ
u33 tuei24 su33 ta33 ʑu31
เขา  ต่อ     พวกเรา     พูด
พูดกับพวกเรา
ts’au44
จ.= cháo ไปทาง ไปยัง
ntau31 ts’au44 pe31 p’au24
นก      ไปยัง    เหนือ  บิน
นกบินไปยังทิศเหนือ

2.5   ภาษาถิ่น
          2.5.1 การแบ่งภาษาถิ่น เฮ่อเจียซ่าน (Hè Jiāshàn:1983,p.61) ใช้เกณฑ์ระบบเสียง วงคำศัพท์ และไวยากรณ์  แบ่งภาษาถิ่นเกอลาวได้ 4 ถิ่น ดังนี้
                    1) ภาษาถิ่นก่าว (稿 Gǎo) พูดอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลกุ้ยโจว บริเวณบ้านต้าโก่ว อำเภอผิงป้า (平坝县的大狗场Píng bà xiàn de Dàgǒu chǎng) บ้านวานจื่อ บ้านเฮย อำเภออานซุ่น (安顺县的湾子寨和黑寨 Ānshùn xiàn de Wān zi zhài hé Hēi zhài) บ้านโวจื่อ อำเภอผู่ติ้ง (普定县的窝子Pǔdìng xiàn de Wōzi) บ้านหนิวต้ง อำเภอจือจิน (织金县的牛洞 Zhījīn xiàn de Niúdòng) ในจังหวัดลิ่วจือ สองอำเภอ คือ อำเภอหล่งเจี๋ย และอำเภอสุ่ยเฉิง  ในพื้นที่บ้านต้งโข่ว (六枝市的陇戛,水城县的洞口 Liùzhī shì de Lǒngjiá, Shuǐchéng xiàn de Dòngkǒu) จำนวนผู้พูดภาษาถิ่นนี้ประมาณ 2,000 คน
                        2) ภาษาถิ่นอาโอว ( Ā ōu) พูดอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลกุ้ยโจว บริเวณบ้านหลงเจีย อำเภอจือจิน (织金县的龙家寨 Zhījīn xiàn de Lóngjiā zhài) บ้านซาโว บ้านล่านหนีโกว บ้านซินคายเถียน อำเภอเฉียนซี (黔西县的沙窝、滥泥沟和新开田Qiánxī xiàn de Shāwō,Lànnígōu hé Xīnkāitián) และบ้านผูตี่ อำเภอต้าฟาง (大方县的普底 Dàfāng xiàn de Pǔdǐ) จำนวนผู้พูดภาษาถิ่นนี้ประมาณ 1,500 คน
                    3) ภาษาถิ่นฮาเก่ย (哈给Hāgěi) พูดอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลกุ้ยโจว บริเวณบ้านชิงหลง อำเภอจุนอี้   (遵义县的青龙 Zūnyì xiàn de Qīnglóng)  บ้านอานเหลียง บ้านไท่หยาง อำเภอเหรินหวย (仁怀县的安良,太阳  Rénhuái xiàn de Ānliáng, Tàiyáng)  บ้านม่ายเซี่ยง อำเภอชิงเจิ้น (清镇县的麦巷 Qīngzhèn xiàn de Màixiàng) ตำบลติ่งอิ๋ง ตำบลหมาเผิง ตำบลฮวาเจียง ของอำเภอเจิ้นหนิง (镇宁县的顶营、麻堋和花江镇 Zhènníng xiàn de Dǐngyíng,Mápéng hé Huājiāng zhèn) บ้านเหลียงสุ่ยอิ๋ง อำเภอผู่อาน (普安县的凉水营 Pǔānxiàn de Liángshuǐyíng) และบ้านซานชง ของอำเภอปกครองตนเองหลงหลิน เขตปกครองตนเองชาวจ้วงกว่างซี (广西壮族自治区 隆林各族自治县的三冲Guǎngxī Zhuàngzú zìzhìqū Lónglín gè zú zìzhìxiàn de Sānchōng) จำนวนผู้พูดภาษาถิ่นนี้ประมาณ 1,700 คน
                    4) ภาษาถิ่นตัวลัว (多罗 Duō luō) พูดอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลกุ้ยโจว บริเวณบ้านอากง อำเภอจือจิน (织金县的阿弓Zhījīn xiàn de Āgōng) บ้านติ่งอิ๋นซ่าว อำเภอเจิ้นหนิง (镇宁县的顶银哨 Zhènníng xiàn de Dǐngyínshào) บ้านตั้วเจี่ยว บ้านเหยียนเจี่ยว จังหวัดลิ่วจือ (六枝市的堕脚、岩脚 Liùzhī shì de Duòjiǎo,Yánjiǎo) บ้านเจียนซาน อำเภอจุนอี้ (遵义县的尖山Zūnyì xiàn de Jiānshān) และบ้านมู่จี ของอำเภอปกครองตนเองหลงหลิน เขตปกครองตนเองชาวจ้วงกว่างซี (广西壮族自治区 隆林各族自治县的三冲 Guǎngxī Zhuàngzú zìzhìqū Lónglín gèzú zìzhìxiàn de  Mùjī ) จำนวนผู้พูดภาษาถิ่นนี้ประมาณ 1,200 คน


2.5.2 ข้อเปรียบต่างของเสียงในภาษาถิ่น จากการเปรียบเทียบการออกเสียงของภาษาถิ่นแต่ละถิ่น พบข้อแตกต่างที่เด่นชัดของเสียงพยัญชนะ สรุปได้ดังนี้

ถิ่นก่าว
ถิ่นอาโอว
ถิ่นฮาเก่ย
ถิ่นตัวลัว
1.ถิ่นฮาเก่ยมีเสียงกัก-โฆษะ(Voiced plosive) แต่ภาษาถิ่นอื่นไม่มี อีกกรณีหนึ่งคือ เสียงพยัญชนะที่ภาษาถิ่นอื่นเป็น พยัญชนะปกติ แต่ถิ่นตัวลัวจะออกเสียงอย่างมีนาสิกนำ (prenasalization)        
ข้อเปรียบต่าง
p,t,t’,ts’,ts’
p,z,z,t,t
b,d,d,dʑ,dʐ
mp,nt,nt,nt.nt
ตัวอย่างคำ
ถ้ำ
p’u44  
poŋ21
bu21
mpau21
กระดูก
taŋ31
zo24
daŋ42
nte35
ทำ
t’a44
za21
dau21
nta21
คำพูด
ts’ei44
ti33
dʑi21
ntoŋ21
เห็บ
ts’en44
ti33
dʐɛ21
ntoŋ21
2.พยัญชนะ uvular plosive /q/  มีในถิ่นก่าวและถิ่นตัวลัว ปฏิภาคกับเสียง /k,k’/ ในถิ่นอาโอวและถิ่นฮาเก่ย   อีกกรณีหนึ่งคือ ถิ่นตัวลัวมีพยัญชนะที่มีเสียงกักนำ /ˀl/ แต่ถิ่นอื่นไม่มี
ข้อเปรียบต่าง
q,q,q,q’,q’
k’,k’,x,x,k’
k,k,k,k,ʨ
q,ˀl, ˀl,q,q’
ตัวอย่างคำ
ไก่
qai33
k’e21
kai55
qei21
เห็ด
qau33
k’ɤu33
kei55
ˀlau21
ทาง
qen33
xeŋ33
kuŋ55
ˀlã21
ขิง*
q’ei33*
xe21
ki55
qei21
แขก**
q’ei24**
k’ei24
ʨ’e42
q’a35
*จ.= , จ.โบ.= khräk  ** จ.= jiāng, จ.โบ.kiang
3.พยัญชนะเสียงกักส่วนหนึ่งในภาษาถิ่นก่าว ถิ่นฮาเก่ย และถิ่นตัวลัว เป็นพญัชนะกลุ่ม ป. ส่วนภาษาถิ่นอาโอวเป็นพยัญชนะกลุ่ม พ.
ข้อเปรียบต่าง
p,t,t,q
f,s,s,x
p,t,t,k
p,t,t,q
ตัวอย่างคำ
ไฟ
pai33
fe33
pai55
pi21
ต้นไม้
tai33
se33
tai55
ti21
ตา(eye)
tau33
sɤu33
to55
tau21
ขวาน
qu33
xei33
ka55
qei21
4.ภาษาถิ่นก่าว ถิ่นฮาเก่ย และถิ่นตัวลัว เป็นพยัญชนะกลุ่ม ป. ส่วนภาษาถิ่นอาโอวเป็นพยัญชนะกลุ่ม พ. 
ข้อเปรียบต่าง
p,t,k
p’,t’,k’
p,t,k
p,t,k
ตัวอย่างคำ
แบก
pau55
p’ɤu55
po42
pau33
ต้ม
taŋ24
t’aŋ24
taŋ42
t35
สวม/ใส่
qa33
k’a21
kau55
qɔ21
5.พยัญชนะ  /l/ ใน ภาษาถิ่นก่าว ถิ่นฮาเก่ย และถิ่นตัวลัว ปฏิภาคกับพยัญชนะ /t/ ในภาษาถิ่นอาโอว
ข้อเปรียบต่าง
l
t
l
l
ตัวอย่างคำ
ลัก(ขโมย)
len13
toŋ55
leŋ42
la33

ผัก
luŋ44
toŋ21
luŋ21
luŋ21
ต้นป่าน
lɒ31
tai24
lie42
lia35
      จากการเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาถิ่นของภาษาเกอลาวข้างต้นพบว่า ภาษาถิ่นที่แตกต่างจากถิ่นอื่นมากที่สุดคือ ภาษาถิ่นอาโอว ในขณะที่ภาษาถิ่นก่าว ถิ่นฮาเก่ย และถิ่นตัวลัวค่อนข้างสัมพันธ์กัน แตกต่างกันเพียงเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นการปฏิภาคระหว่างกัน หรือสระบางเสียงซึ่งเกิดจากการเลื่อน หรือกร่อน หรือไม่ก็มีบางเสียงสูญหายไปเท่านั้น    
2.5.3 คำศัพท์เฉพาะภาษาถิ่น ความแตกต่างกันของคำศัพท์เฉพาะภาษาถิ่นเกิดจากคำศัพท์บางถิ่นมีที่มาแตกต่างจากถิ่นอื่น กล่าวคือ ไม่ใช่คำศัพท์ร่วมเชื้อสายกัน หรือบางถิ่นแม้จะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกันแต่มีการเติมส่วนประกอบอื่น เป็นเหตุให้รูปคำเปลี่ยนไป  ความแตกต่างของคำศัพท์เฉพาะถิ่นนี้ บางคำร่วมเชื้อสายกันกับถิ่นหนึ่งหรือสองถิ่นแต่ไม่ร่วมกับถิ่นอื่น  หรือมีบางคำทุกภาษาถิ่นมีคำเฉพาะของตนเองไม่ร่วมเชื้อสายกันก็มี ตัวอย่างคำต่อไปนี้

คำศัพท์
ถิ่นก่าว
ถิ่นอาโอว
ถิ่นฮาเก่ย
ถิ่นตัวลัว
ลักษณะเฉพาะถิ่น
1. มีการเติมหน่วยคำอื่นข้างหน้าคำร่วมเชื้อสาย
ตัวอย่างคำ
ไกล
lai44
lie33
lai24
qa21 lie21
เกลือ
ȵʨəɯ24
a55 ȵɐ33
ȵeu21
qa21 ȵɐu21
ลักษณะเฉพาะถิ่น
2.มีคำศัพท์ที่ไม่ร่วมเชื้อสายกับถิ่นอื่น
ตัวอย่างคำ
มาก
ai34
ai34
ai42
le31
ดี
ɒ33
e33
o55
ŋki33
ลักษณะเฉพาะถิ่น
3.มีคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับถิ่นหนึ่งแต่ไม่ร่วมกับถิ่นอื่น
ตัวอย่างคำ
ร้อน
ŋka24
ŋa24
hao42
hoŋ35
มี
ȵe44
aŋ21
be13
aŋ21
ลักษณะเฉพาะถิ่น
4.คำศัพท์ทั้งสี่ถิ่นไม่ร่วมเชื้อสายกัน
ตัวอย่างคำ
พัน(1000)
təɯ34
ŋen33
ʂai55
ia45
เสาะหา
lai31
t’ɤu21
ŋֽŋ55
pau21

สรุปอภิปราย
            บทความนี้เป็นบทความเชิงพรรณนาลักษณะของภาษาเกอลาว  ซึ่งเป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยที่เก่าแก่และดั้งเดิมที่สุดเผ่าหนึ่ง ประชากรส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่กระจัดกระจายบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้และทางตอนเหนือของมณฑลกุ้ยโจว มีชื่อเรียกตนเองหลายชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ แต่ทางการจีนยอมรับในชื่อ เกอลาว (Gelao)            
         ประเด็นสำคัญที่ควรกล่าวถึงในบทสรุปนี้ได้แก่เรื่องการจัดแบ่งตระกูลภาษา  นับตั้งแต่การจัดแบ่งของเบเนดิค(1942) ซึ่งจัดให้ภาษาเกอลาวเป็นภาษาในกลุ่มกะไดรอบนอก แต่แนวคิดการจัดแบ่งตระกูลภาษาของฝ่ายจีนนั้น บุคคลสำคัญในวงการศึกษาวิจัยภาษาไทของจีน เช่น เหลียงหมิ่น และ จางจวินหรู (Liánɡ MǐnZhānɡ Jūnrú: 1996) รวมถึง เฮ่อเจียซ่าน(Hè Jiāshàn:1983) ผู้เขียนหนังสือสังเขปภาษาเกอลาว และนักวิชาการรุ่นหลัง ดังเช่นที่ปรากฏในบทความและงานวิจัยของ อู๋ซูหมิน (2011) ก็ยังคงดำเนินรอยตามนักวิชาการรุ่นก่อน ยังคงจัดให้ภาษาไททั้งหมดอยู่ในตระกูลภาษาใหญ่จีน-ทิเบต สาขาภาษาจ้วง-ต้ง แล้วแบ่งเป็นแขนงต่างๆ ได้แก่ แขนงจ้วง-ไต แขนงต้ง-สุ่ย และแขนงหลี    ส่วนปัญหาการจัดแบ่งภาษาเกอลาวนั้น เนื่องมาจากว่าภาษาเกอลาวมีความคล้ายคลึงกับภาษาสองสาขาในตระกูลจีน-ทิเบต คือ สาขาจ้วง-ต้ง กับสาขาเหมียว-เหยา จากที่ได้นำเสนอในบทความนี้ว่า ข้อมูลระบบเสียงของภาษาเกอลาวใกล้ชิดกับภาษาสาขาเหมียว-เหยา ส่วนคำศัพท์ใกล้ชิดกับภาษาสาขาจ้วง-ต้ง และไวยากรณ์มีแนวโน้มคล้ายกับภาษาสาขาจ้วง-ต้ง ด้วยเหตุนี้นักภาษาศาสตร์จีนจึงเห็นพ้องกันว่าภาษาเกอลาวเป็นสมาชิกของภาษาตระกูลจีน-ทิเบตเป็นแน่แท้ และมีแนวโน้มว่าจะจัดไว้ในสาขาจ้วง-ต้ง เพียงแต่ยังเป็นข้อกังขาว่า เมื่อจัดไว้ในสาขาจ้วง-ต้งแล้วนั้น ควรจะจัดเข้าเป็นสมาชิกในแขนงจ้วง-ไต หรือแขนงต้ง-สุ่ย หรือว่าจะแยกออกมาเป็นแขนงใหม่ต่างหากเหมือนกับที่แยกแขนงภาษาหลี ยังไม่มีข้อสรุปเป็นที่แน่ชัด
          มีประเด็นที่จะนำเสนอเป็นข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ จากการศึกษาพบว่าสมาชิกภาษาในสาขาจ้วง-ต้ง มีลักษณะเด่นที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กัน ได้แก่  
          1.การออกเสียงรอง (secondary articulations) เป็นลักษณะของการออกเสียงรองเสริมกับการออกเสียงหลัก เสียงที่ภาษาจีนเรียกว่าพยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก คือ labialization เป็นการออกเสียงแบบห่อปากไปพร้อมกัน และเสียงที่ภาษาจีนเรียกว่าพยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นเพดาน คือ palatalization  เป็นการออกเสียงแบบยกลิ้นส่วนหน้าไปพร้อมกัน
          2.พยัญชนะท้าย(ภาษาจีนเรียกว่าหางสระ) คือเสียงพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ แบ่งเป็นสองชุด ได้แก่ พยัญชนะท้ายเสียงกัก /p,t,k/ และ พยัญชนะท้ายนาสิก /m,n, ŋ/
          3.พยัญชนะที่มีเสียงนาสิกนำ (pre-nasalization) คือ พยัญชนะที่มีการออกเสียงนาสิกนำก่อนที่จะออกเสียงพยัญชนะที่มีฐานกรณ์เดียวกัน เช่น / ͫ b,d, ͫ p,t/
          4.พยัญชนะที่มีลักษณะการกักที่เส้นเสียง (pre-glottalization)  คือ พยัญชนะที่มีการออกเสียงกักนำก่อนที่จะออกเสียงพยัญชนะอื่น ได้แก่ / ˀ- /  เช่น /ˀb  ˀd/ 
          ในตอนท้ายนี้จึงจะสรุปข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะเด่นของแต่ละภาษากับภาษาเกอลาว รวมถึงตัวแทนภาษาสาขาเหมียว-เหยา ดังนี้ ( / มี x ไม่มี)      
ลักษณะเด่นของภาษาสาขาจ้วง-ต้ง

ไต
ปู้อี
จ้วง
ต้ง
สุ่ย
มู่
หล่าว
เหมา
หนาน
หลี
เกอลาว
เหมียว
เหยา
การออกเสียงรอง
-w
/
/
/
/
/
/
/
/
x
x
/
-j
/
/
/
/
/
/
/
/
x
x
/
มีพยัญชนะท้าย
p,t,k
/
/
/
/
/
/
/
/
x
x
/
m,n,ŋ
/
/
/
/
/
/
/
/
/ (n ŋ)
/ (n, ŋ)
/
มีพยัญชนะที่มีเสียงนาสิกนำ
 ͫ _ ,_
x
/
x
x
/
x
/
x
/
/
x
มีพยัญชนะที่มีลักษณะการกักที่เส้นเสียง
ˀ_  
x
/
x
x
/
x
/
/
x
x
x
          ดังที่ได้อธิบายแล้วว่า ระบบเสียงของภาษาเกอลาวใกล้ชิดกับภาษาสาขาเหมียว-เหยา เมื่อพิจารณาจากลักษณะเด่นที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ของภาษาที่เป็นสมาชิกภายในสาขาจ้วง-ต้ง  ก็พบว่าภาษาเกอลาวไม่มีลักษณะดังกล่าวนี้   

บรรณานุกรม
สุริยา  รัตนกุล.(2548). นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท.กรุงเทพฯ:สหธรรมิก.
Benedict, Paul K.(1942)Thai, Kadai, and Indonesian:A New aligiment in Souteastern Asia, AA,
          44,576-601.

贺嘉善。(1983) 仡佬语简志》北京:民族出版社(Hè Jiāshàn.(1983) “Gēlǎo yǔ jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè.เฮ่อเจียซ่าน.(1983)ปริทรรศน์ภาษาเกอลาว.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์)

李锦芳。(2006) 壮侗---仡佬语言文化网。搜索日期:20151212日。网址: http://www.ztgl.net/. Lǐ Jǐnfāng. (2006)  Zhuàng Dòng---Gēlǎo Yǔyán Wénhuà Wǎng. Retrieved December 12,2015,Website: http://www.ztgl.net/. หลีจิ่นฟาง.(2006) จ้วง-ต้ง-----เว็บไซต์ภาษาและวัฒนธรรมเกอลาวสืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2558, จาก: http://www.ztgl.net/

梁敏.(1979).《侗语简志》北京:民族出版社. Liáng mǐn.(1979).“Dòng yǔ jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè.เหลียงหมิ่น.(1979).ปริทรรศน์ภาษาต้ง.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์)   

梁敏.(1980).《毛难语简志》北京:民族出版社. Liáng mǐn.(1980).“Máo nán yǔ jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè.เหลียงหมิ่น.(1980)ปริทรรศน์ภาษาเหมาหนาน.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.


毛宗武、蒙朝吉、郑宗泽(1982) 《瑶族语言简志北京:民族出版社. (Máo Zōngwǔ, Méng Cháojí, Zhèng Zōngzé (1982) “Yáozú yǔyán jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè.เหมาจงอู่,เหมิงฉาวจี๋,เจิ้งจงเจ๋อ.(1982) ปริทรรศน์ภาษาเหยา.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์)

欧阳觉亚郑贻青.(1980).《黎语简志》北京:民族出版社. (Ōuyáng jué yà, zhèngyíqīng.(1980).“Yí yǔ jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè. โอวหยางเจวี๋ยย่า เจิ้งอี๋ชิง.(1980). ปริทรรศน์ภาษาหลี. ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.) 

王均郑国乔.(1979).《仫佬语简志》北京:民族出版社. (Wáng Jūn, Zhèng Guóqiáo.(1979).“Mù lǎo yǔ jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè.หวางจวิน,เจิ้งกว๋อเฉียว (1979). ปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.) 

王辅世. (1983) 苗语简志》北京:民族出版社(Wáng Fǔshì. (1983) “Miáo yǔ jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè.หวางฝู่ซื่อ.(1983) ปริทรรศน์ภาษาเหมียว.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์)

韦庆稳覃国生.(1980).《壮语简志》北京:民族出版社. Wéi Qìngwén, Tán Guóshēng.(1980).“Zhuàng yǔ jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè. เหวยชิ่งเหวิน ถานกว๋อเซิง.(1980).ปริทรรศน์ภาษาจ้วง.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.


吴苏民.(2011) 从仡佬族文字的发现探析仡佬族的和合精神.《中国民族》201110. 35-36. (Wú Sūmín.(2011) Cóng Gēlǎo zú wénzì de fǎ xiàn tànxī Gēlǎo zú de “héhé” jīngshén. Zhōngguó Mínzú2011 Nián 10 Qī. 35-36 Yè.อู๋ซูหมิน.(2011) การพิเคราะห์จิตวิญญาณของอักษร “เหอเหอ” ของชาวเกอลาวจากการค้นพบอักษรภาษาเกอลาว.วารสารชาติพันธุ์จีน.ปี 2011 ฉบับที่ 10 หน้า 35 – 36.)

新浪微博.(2015).汉语方言发音字典. [website]  搜索日期:2015526: Xīnlàng wēi bó.(2015). Hànyǔ fāngyán fāyīn zìdiǎn. [Website] sōusuǒ rìqí:2015 Nián 5 yuè 26 rì:网站:http://cn.voicedic.com/. (Xinlang Weibo.(2015). พจนานุกรมเสียงภาษาถิ่นจีน. [เว็บไซด์] สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2558 จาก http://cn.voicedic.com/    

喻翠容,罗美珍(1979)《傣语简志》北京:民族出版社.(Yù Cuìróng, Luō Měizhēn (1979)“Dǎi yǔ jiǎn zhì”. Běijīng: Mínzú chūbǎn shè.ยวี่ชุ่ยหรง,หลัวเหม่ยเจิน. (1979) ปริทรรศน์ภาษาไต.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.)   


喻翠容. (1980).《布依语简志》北京:民族出版社. (Yù Cuìróng. (1980).“Bùyī yǔ jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè.ยวี่ชุ่ยหรง. (1980).ปริทรรศน์ภาษาปู้อี.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.)

张济民. (1993)《仡佬语研究》贵阳:贵州民族出版社. (Zhāng Jìmín.(1993)“Gēlǎo yǔ yánjiū” guìyáng: Guìzhōu:Mínzú chūbǎn shè.จางจี้หมิน.(1993)การศึกษาภาษาเกอลาว.กุ้ยหยาง: สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์กุ้ยโจว )

张均如.(1980).《水语简志》北京:民族出版社. (Zhāng Jūnrú.(1980).“Shuǐ yǔ jiǎn zhì” Běijīng: Mínzú chūbǎn shè. จางจวินหรู.(1980).ปริทรรศน์ภาษาสุ่ย.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์)   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น