วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การพรรณนาภาษามู่หล่าวในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน.

เมชฌ สอดสองกฤษ.(2558) การพรรณนาภาษามู่หล่าวในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารศาสนาและวัฒนธรรม.วิทยาลัยศาสนศึกษา.มหาวิทยาลัยมหิดล. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558) หน้า 81-100.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การพรรณนาภาษามู่หล่าวในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
เมชฌ สอดส่องกฤษ[1]
บทคัดย่อ
มู่หล่าวหรือ มูลัม เป็นชื่อเรียกภาษาและชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในประเทศจีน   นักวิชาการจีนจัดภาษา
มู่หล่าวไว้ในตระกูลใหญ่จีน-ทิเบต สาขาภาษาจ้วง-ต้ง แขนงภาษาต้ง-สุย บทความนี้มุ่งนำเสนอข้อมูลทางภาษาศาสตร์ของชนกลุ่มน้อยเผ่ามู่หล่าวในประเทศจีน โดยศึกษาข้อมูลจากผลงานของนักวิชาการจีน เนื้อหาของบทความนำเสนอประเด็นสำคัญสองเรื่อง คือ 1.ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับชาวมู่หล่าว และ 2.การพรรณนาทางภาษาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย (1) ระบบเสียง (2) ระบบคำ และ (3) ระบบไวยากรณ์ จากการศึกษาพบว่าภาษามู่หล่าวมีความสำคัญต่อการสืบสร้างระบบเสียงพยัญชนะต้นในภาษากะได แต่ไม่มีข้อมูลการศึกษาภาษานี้มากนัก บทความนี้จึงได้นำเสนอเพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการชาวไทยได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
คำสำคัญ : มู่หล่าว มูลัม กะได ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต ภาษาตระกูลไท   

A Description of Mulao Language in China
Abstract
Mulao or Mulam is a language spoken by Mulao ethnic group in China. Chinese scholars have classified Mulao language in Sino – Tibetan language family, Zhuang-Dong branch, Dong-Sui group. This article is a description of linguistic style of Mulao language. The data is mainly based on Chinese scholars’ researches. The article will present two main issues: 1) Mulao ethnic information and 2) Language description which consists of (1) Phonology (2) wording system and (3) Grammar. By investigating, it is revealed that Mulao language is important in the reconstruction of the cluster consonant of Kadai language, but still lacking in the information of Mulao language for Thai researcher. This article will provide information for Thai scholars who conduct further research related to the topic in the future.   
 Keywords: Mulao, Mulam, Kadai, Sino-Tibetan language family, Tai language family    


บทนำ
          ข้อตกลงเบื้องต้นของบทความฉบับนี้คือ  ผู้เขียนเรียบเรียงบทความนี้โดยอ้างอิงผลงานภาษาจีนของนักภาษาศาสตร์จีนเป็นหลัก จึงจะเรียกภาษานี้ว่า มู่หล่าว ตามคำที่ภาษาจีนใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า 仫佬Mù lǎo ส่วนการเรียกชื่อตระกูลภาษา สาขาภาษาและแขนงภาษาเรียกตามการจัดแบ่งของจีน แต่หากอ้างอิงจากเอกสารอื่นจะเรียกตามต้นฉบับเดิม นอกจากนี้ จากการศึกษาข้อมูลพบว่าในภาษามู่หล่าวมีคำศัพท์ที่พ้องกับภาษาจีนจำนวนมาก แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดหรือยังไม่สามารถตัดสินได้ว่าเป็นคำยืมหรือคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย ดังนั้นตลอดทั้งบทความนี้หากพบคำศัพท์ที่น่าสงสัยในลักษณะดังกล่าวจะทำเป็นคำอธิบายไว้เพื่อเป็นข้อสังเกตให้ศึกษาต่อไป โดยจะใช้วิธีการอธิบายดังนี้ (จ.= คำจีน พินอิน,ความหมาย)  ทั้งนี้ยังพบคำบางคำก็พ้องกับภาษาไทยถิ่นต่างๆซึ่งมีความใกล้ชิดกับภาษาในสาขาเดียวกัน จะอธิบายดังนี้ ภาษาไทยถิ่นอีสาน (อ.=คำ, ความหมาย) ภาษาไทยถิ่นเหนือ (น.=คำ, ความหมาย)  ซึ่งในการระบุความหมายของคำพ้องนั้น หากมีความหมายต่างกันจะระบุความหมายของภาษาที่นำมาเปรียบเทียบ หากมีความหมายเหมือนกันก็จะไม่ระบุความหมาย
หนังสือเล่มสำคัญที่ผู้เขียนอ้างอิงคำศัพท์และข้อมูลภาษามาเรียบเรียงในบทความนี้ คือ หนังสือเรื่อง “ปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว” เขียนโดย หวางจวิน และ เจิ้งกว๋อเฉียว นักภาษาศาสตร์รู้จักหนังสือเล่มนี้ในชื่อ Mulao Yu Jianzhi และรู้จักชื่อผู้เขียนในชื่อ Wang Jun and Zheng Guoqiao ตรงกับชื่อภาษาจีนคือ《仫佬语简志Mù lǎo yǔ jiǎn zhì  (王均,郑国乔Wáng Jūn, Zhèng Guóqiáo:1979) หนังสือเล่มนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นหนังสือเล่มแรกที่ทำให้วงการภาษาศาสตร์ได้รู้จักภาษามู่หล่าว เป็นหนังสือภาษาจีนในโครงการ ชุมนุมสารานุกรมประเด็นชนกลุ่มน้อย 5 ประการ ของคณะกรรมการชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ《国家民委民族问题五种丛书 Guójiā mínwěi mínzú wèntí wǔzhǒnɡ cónɡshūโครงการย่อยเรื่อง สารานุกรมปริทรรศน์ภาษาชนกลุ่มน้อยของสาธารณรัฐประชาชนจีน(中国少数民族语言简志丛书  Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú yǔyán jiǎnzhì cónɡshū)  นับเป็นโครงการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ในส่วนของ ปริทรรศน์ภาษาของชนกลุ่มน้อยเริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1956 โครงการย่อยอื่นๆ ได้แก่ 《中国少数民族Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú ชนกลุ่มน้อยของจีน《中国少数民族简史丛书Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú jiǎnshǐ cónɡshūสารานุกรมปริทรรศน์ประวัติศาสตร์ชนกลุ่มน้อยของจีน《中国少数民族自治地方概况丛书Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú zìzhì dìfɑnɡ ɡàikuànɡ cónɡshūสารานุกรมเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อยของจีนและ《中国少数民族社会历史调查资料丛刊Zhōnɡɡuó  shǎoshù mínzú shèhuì lìshǐ diàochá zīliào cónɡkānสรรนิพนธ์ข้อมูลการสำรวจประวัติศาสตร์ทางสังคมของชนกลุ่มน้อยของจีน          ความสำคัญของภาษามู่หล่าว ปรากฏในหนังสือนานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท(สุริยา:2548,หน้า123)  สุริยาได้อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับภาษามู่หล่าวว่า “ไม่มีคำพรรณนาภาษานี้ปรากฏเป็นผลงานให้นักภาษาศาสตร์อ่านมากนัก ทั้งที่ชนเผ่าที่พูดภาษามูลัม(Mulam) เป็นชนกลุ่มใหญ่มีจำนวนถึง 90426 คน ....... ในหนังสือเก่าๆที่กล่าวถึงคนที่พูดภาษาตระกูลไทในมณฑลกวางสีไม่มีพูดถึงภาษามูลัมเลย...” เบเนดิค (Paul K. Benedict:1983) เห็นความสำคัญของภาษามูลัมในฐานะที่มีความสำคัญต่อการสืบสร้างระบบเสียงพยัญชนะต้นในภาษากะได และกล่าวว่าภาษามูลัมเป็นหลักฐานและกุญแจในการสืบสร้างภาษากะได เพราะภาษานี้มีระบบพยัญชนะต้นแบบควบกล้ำคือ การออกเสียงรอง(secondary articulation) เสริมประกอบการออกเสียงหลักคือการออกเสียงกัก(obstruents) เช่น คำที่ภาษาตระกูลไทออกเสียงว่า “ตา” และ “ตาย” ภาษามูลัมออกเสียงเป็น /mÄa, pÄai/ ซึ่งคล้ายคลึงกับที่เบเนดิคสืบสร้างให้มีในภาษา Austronesian ดั้งเดิมเป็นคำว่า *mata กับ *matay นอกเหนือจากนี้ ผลงานการพรรณนาภาษามูลัมก็หาอ่านค่อนข้างยาก มีผลงานของนักวิชาการจีน(Wang Jun and Zheng Guoqiao:1979) และญี่ปุ่น (Tatsuo Nishida:1955) ซึ่งก็ต้องมีความรู้ทั้งสองภาษานี้จึงจะอ่านได้  ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีโอกาสได้รับทราบเรื่องราวของภาษาตระกูลกัม-สุย (สรุปจากสุริยา:2548,หน้า123-126 และเชิงอรรถที่ 34 หน้า 182)
ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นต้นมา เหตุที่เป็นประชาชนของประเทศจีน มูลเหตุทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา ทำให้ชาวมู่หล่าวค่อยๆหลอมรวมกับชาวฮั่น โดยเฉพาะภาษาที่ยืมจากภาษาจีนไปใช้จำนวนมาก ปัจจุบันวัยรุ่นหนุ่มสาวไม่พูดภาษามู่หล่าวแล้ว ทุกคนพูดภาษาจีนและใช้ภาษาจีนในการติดต่อสื่อสารกันกับชนเผ่าอื่น และในชุมชนชาวมู่หล่าวเองก็ใช้ภาษาจีนเป็นหลัก ภาษามู่หล่าวอยู่ในภาวะที่ค่อยๆสูญหายไป

ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับชาวมู่หล่าว
          ผู้เขียนได้เคยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับชาวมู่หล่าวไว้แล้วในหนังสือชื่อ “สารานุกรมชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน” (เมชฌ:2555,หน้า213-216) จึงจะกล่าวถึงในที่นี้พอสังเขป
ชาวมู่หล่าวเป็นชนเผ่าชาวเขาของจีนที่มีจำนวนประชากรไม่มากนัก จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่ามู่หล่าว มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 207,352 คน[2] เรียกตัวเองว่า หลิง” (  Línɡ) บ้างเรียกว่า Jǐn อักษรตัวนี้อ่านตามสำเนียงภาษาจีนท้องถิ่นว่า “เกียม” แต่อ่านเป็นภาษาจีนกลางว่า จิ่นส่วนชาวจ้วงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า 布谨 Bùjǐn อักษรตัวนี้อ่านตามสำเนียงภาษาจีนท้องถิ่นว่า “ปู้เกียม” ออกเสียงตามภาษาจีนกลางว่าปู้จิ่นแต่เดิมชาวฮั่นเรียกชื่อชนกลุ่มนี้ว่า หมูหล่าว      (姆佬Mǔlǎo) หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลยอมรับชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการเรียกชื่อว่า “ชนเผ่ามู่หล่าว” (仫佬族Mù lǎo zú) ประชากรชาวมู่หล่าวส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณอำเภอปกครองตนเองเผ่ามู่หล่าวในเมืองหลัวเฉิงของมณฑลกว่างซี(广西罗城Guǎnɡxī Luóchénɡ) นอกจากนี้ยังมีกระจัดกระจายอยู่ตามตำบลอื่นๆ เช่น ซินเฉิง(忻城 Xīnchénɡ) อี๋ซาน(宜山Yíshān) หลิ่วเฉิง(柳城 Liǔchénɡ) ตูอาน(都安Dū’ān) หวนเจียง(环江Huánjiānɡ) เหอฉือ(河池 Héchí) เป็นต้น และอาศัยอยู่ปะปนกับชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นได้แก่ จ้วง( Zhuànɡ) ฮั่น(Hàn) เหยา(Yáo) เหมียว ( Miáo) ต้ง (  Dònɡ) เหมาหนาน(毛南  Máonán) และสุ่ย (Shuǐ)  
          จากข้อมูลชื่อเรียกจะเห็นว่า ชาวจ้วงเรียกชาวมู่หล่าว ว่า “ปู้เกียม” ในขณะที่ชาวมู่หล่าวเรียกตัวเองว่า /mu6 lam1/ ถอดเสียงตามระดับเสียงวรรณยุกต์ภาษามู่หล่าวเป็น [mu11 lam42] แต่ก็มีชื่อเรียกที่ต่างออกไปอีก คือ ชาวมู่หล่าวที่เมืองหลัวเฉิง มณฑลกว่างซี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวมู่หล่าวรวมตัวกันมากกว่า 90% เรียกตัวเองว่า /kjam/ ซึ่งคำนี้คล้ายกับคำที่ชาวต้งเรียกตัวเองว่า /kam1/ ชาวจ้วงในมณฑลกว่างซีเรียกชาวมู่หล่าวที่เมืองหลัวเฉิงนี้ว่า /pu4 kjam1/ (ตรงกับอักษรจีนปู้จิ่น”(布谨 Bùjǐn ที่กล่าวถึงข้างต้น) ดังนั้นจะเห็นว่า คำว่า /mu6/ ในภาษามู่หล่าว ตรงกับคำว่า /pu4/ ในภาษาจ้วง และตรงกับคำว่า “ผู้” ในภาษาไทย เมื่อพิจารณาคำที่ชาวจ้วงเรียกชื่อชนเผ่าต่างๆ จะพบว่ามีคำว่า “ปู้” นำหน้า ในเมื่อคำว่า “ผู้” หมายถึง “คน” ดังนั้นคำเรียกชื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาไทเรียกตัวเองและเรียกชนเผ่าอื่นที่มีคำว่า “ผู้” นำหน้านั้น ก็คือคำเรียกที่หมายถึง “คน” + ชื่อถิ่นฐาน” หรือ “คน + ชื่อเฉพาะ”  ลักษณะเดียวกันกับที่ภาษาไทยเราเรียกว่า คนเหนือ คนอีสาน คนใต้ คนกรุงเทพ คนเชียงใหม่ คนลาว คนไทย
          เมื่อพิจารณาคำว่า “หล่าว” หรือ “ลัม” ผู้เขียนมีความเห็นว่า เกี่ยวข้องกับคำว่า “ลาว” ซึ่งตรงกับคำว่าLiáo ในภาษาจีน[3] (ออกเสียงว่า “เหลียว”) คำนี้เป็นคำที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์และเอกสารโบราณของจีนใช้เรียกชนเผ่าหลายกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันแยกเป็นเผ่าต่างๆ ชัดเจน เช่น มู่หล่าว เกอลาว ไต ปู้อี  หลี เหมาหนาน สุ่ย จ้วง เซอ อี๋ เป็นต้น ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์จีนก็เห็นพ้องกันว่า คำว่าLiáo  นี้เป็นคำเรียกกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไทหรือใกล้ชิดกับตระกูลไท[4] หากวิเคราะห์จากชื่อเรียกและความหมายของคำที่กล่าวมาข้างต้น  ชื่อเรียก “มู่หล่าว”  สันนิษฐานว่า ตรงกับคำภาษาไทยว่า “ผู้ลาว” แปลว่า “คนลาว” นั่นเอง         
มู่หล่าว
mu6
lam1
มู่หล่าวถิ่นอื่น

liN
จ้วง
pu4 /pou4
kjam1
มอญ-เขมร
pu/
liao
ฮั่นโบราณ

Liáo
ข้อสันนิษฐานความหมาย
คน
ลาว

การพรรณนาทางภาษาศาสตร์
1.      การจัดแบ่งตระกูลภาษา
นักภาษาศาสตร์จีนจัดภาษามู่หล่าวไว้ในตระกูลใหญ่จีน-ทิเบต สาขาภาษาจ้วง-ต้ง แขนงภาษาต้ง-สุย
มีลักษณะร่วมเฉพาะกับภาษาในตระกูลเดียวกันหลายประการดังนี้
1.1  ระบบเสียง  
1.1.1         มีการเปรียบต่างของสระสั้นยาว มีพยัญชนะท้าย และมีระบบเสียงวรรณยุกต์ 
1.1.2         เสียงพยัญชนะต้นมีการเปรียบต่างของเสียงพ่นลมกับเสียงไม่พ่นลม แสดง
ถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับภาษาอื่นๆในแขนงภาษาต้ง-สุย
1.1.3          นอกจากสระพื้นฐาน 15 เสียง ที่มีร่วมกันกับภาษาในแขนงต้ง-สุยแล้ว
ภาษามู่หล่าวยังมีการเปรียบต่างของเสียงสระ /e - E/ และ /o - / ลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้ภาษามู่หล่าวใกล้ชิดกับภาษาเหมาหนานซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของแขนงภาษาต้ง-สุย   
                    1.2 วงคำศัพท์ ในภาษามู่หล่าวมีคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับภาษาที่ใกล้ชิดมากกว่าคำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์  ในจำนวนคำศัพท์ประจำวัน 694 คำ มีคำศัพท์ 455 คำร่วมเชื้อสายกับภาษาต้ง[5] (แขนงต้ง-สุย) นอกจากนั้นเป็นคำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ภาษามู่หล่าวและคำยืมจากภาษาจีน และเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาในแขนงอื่นอย่างภาษาจ้วง(แขนงจ้วง-ไต) กลับพบว่ามีคำศัพท์ร่วมเชื้อสายเพียง 248 คำ  ในขณะที่เมื่อเทียบกับภาษาหลี(แขนงภาษาหลี) ก็มีความสัมพันธ์ที่ห่างออกไปอีก ตารางต่อไปนี้เปรียบเทียบตัวอย่างคำศัพท์ของภาษาสามแขนงที่อยู่ในสาขาภาษาจ้วง-ต้ง     
แขนงภาษา
ภาษา    
       คำศัพท์
ลิ้น
นา
ผัก
งู
ข้างหลัง
ต้ง-สุย
มู่หล่าว
ma2
Äa5
ma1
tui2
l«n2
ต้ง
ma2
ja5
ma1
sui2
l«n2
จ้วง-ไต
จ้วง
lin4
na2
pjak1
Nµ2
laN1
ไต
lin4
na2
phak7
Nu2
laN1
หลี
หลี
Âi:n3
ta2
beµ1 tsai1
za2
dun3

1.3  ไวยากรณ์  โครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษามู่หล่าวโดยภาพรวมไม่แตกต่างจากภาษาใน
สาขาเดียวกัน แต่พบข้อแตกต่างเล็กน้อยในเรื่องของไวยากรณ์การใช้ตัวเลขกับลักษณนาม โดยปกติแล้วรูปแบบในภาษาตระกูลไทมีสองแบบคือ รูปแบบ A. [ตัวเลข + ลักษณนาม เช่น สองอัน] แต่หากเป็นเลขหนึ่งจะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นรูปแบบ B. [ลักษณนาม + nµN/diau เช่น อันหนึ่ง/อันเดียว] แต่ภาษามู่หล่าวยังคงใช้รูปแบบ A. สำหรับตัวเลขทุกตัวเป็น [ตัวเลข + ลักษณนาม เช่น n8«5 at7[6]หนึ่งอัน”]        
2. ระบบเสียง
                   2.1 พยัญชนะ นักวิชาการจีนแบ่งเสียงพยัญชนะในภาษามู่หล่าวเป็นสามประเภท คือ  
(1)    เสียงพยัญชนะเดี่ยว เป็นพยัญชนะเสียงเดียว ฐานกรณ์ไม่เลื่อน
(2)    เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก ภาษาจีนเรียกว่า 唇化声母Chún huà shēngmǔ
ได้แก่พยัญชนะที่มีการออกเสียงฐานกรณ์ของพยัญชนะเดิมแล้วเลื่อนไปริมฝีปาก คล้ายกับพยัญชนะควบกล้ำ กว- คว- ในภาษาไทย 
(3)    เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดาน ภาษาจีนเรียกว่า 腭化声母È huà shēngmǔ ได้แก่
พยัญชนะที่มีการออกเสียงฐานกรณ์ของพยัญชนะเดิมแล้วเลื่อนไปเพดาน ซึ่งในภาษามู่หล่าวบางถิ่น มีการเปรียบต่างของเสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดานส่วนหน้ากับเสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดานส่วนหลัง แต่บางถิ่นก็ไม่เปรียบต่าง เสียงชนิดนี้คล้ายกับการออกเสียงภาษาไทย พย- สย- และ พฮ- สห- 
          ในหนังสือ “ปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว” (Wang Jun and Zheng Guoqiao: อ้างแล้ว) ศึกษาและวิเคราะห์ระบบเสียงภาษามู่หล่าวที่เขตเมืองหลัวเฉิง พบว่า มีเสียงพยัญชนะ 67 เสียง แบ่งเป็น 1) เสียงพยัญชนะเดี่ยว 31 เสียง 2) เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดานหน้า 11 เสียง 3) เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดานหลัง 8 เสียง และ 4) เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก 17 เสียง   ดังข้อมูลในตารางต่อไปนี้
พยัญชนะเดี่ยว

พยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดานหน้า
p
ph
m8
m
f
w
pj
phj
m8j
mj
fj

t
th
n8
n
l8
l
tj
thj

nj

lj
ts
tsh


s

tsj
tshj


sj

c
ch
8
C
j
/j





k
kh
N8
N
h
Ä






/











พยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก
พยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดานหลัง
pw
phw

mw


pÄ
phÄ
m8Ä
mÄ


tw
thw

nw

lw
kÄ
khÄ

NÄ
hÄ

tsw
tshw


sw

/Ä





cw



Cw







kw
khw
N8w
Nw
hw







/w











         
คำอธิบายเกี่ยวกับเสียงพยัญชนะ  
1.    จะไม่ระบุเสียงพยัญชนะ/ // นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ
2.    เสียงพยัญชนะ /c,ch,C/ บางครั้งออกเสียงเป็น [k,kh,h] หรือ [kj,khj,hj] เมื่อเกิดกับสระสูง ก็จะ
ออกเสียงเป็น [tþ, tþh, þ] แต่เมื่อออกเสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก มีการเปรียบต่างของ / cw, Cw /    กับ / kw, hw/ จึงตัดสินให้เป็นพยัญชนะเดี่ยว /c,ch,C/
          สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเสียงพยัญชนะของภาษามู่หล่าวคือ พยัญชนะเสียงก้องกำลังจะสูญหาย จากการเก็บข้อมูลพบว่าภาษามู่หล่าวในถิ่นอื่นๆไม่มีเสียงก้อง /b,d/ แล้ว แต่ในถิ่นหลัวเฉิง บ้านซย่าหลี่เซี่ย (下里谢村Xià lǐ xiè cūn) ในกลุ่มผู้สูงอายุยังรักษาเสียงก้องนี้อยู่ รวมทั้งยังมีเสียง /// นำหน้าเสียงก้องด้วย ในขณะที่คนหนุ่มสาวออกเสียง /b/ เป็น /m/ และออกเสียง /d/ เป็น /l/ ทั้งหมดแล้ว เสียง /// ที่นำหน้าเสียงก้องก็ไม่มีแล้ว ตัวอย่างคำเช่น
คำศัพท์
          หมู่บ้าน
บ้านซย่าหลี่เซี่ย /b,d/
(下里谢村Xià lǐ xiè)
บ้านต้าอิ๋น /m,l/
(大银Dà yín)
บ้านต้าอู๋/m,l/
(大梧Dà wú)
ปลิง
biN2
miN2
miN2
ฟาง
ba:N1
ma: N1
ma: N1
แพง
biN1
m8iN1
miN1
ได้
dai3
lai3
lai3
เลีย
dam5
lja:m5
lja:m5
บ่อน้ำ
dam1
l8am1
lam1


2.2   สระ นักวิชาการจีนแบ่งเสียงสระในภาษามู่หล่าวเป็นสี่ประเภท คือ  
1)      สระเดี่ยว คือการออกเสียงสระที่ไม่มีการเลื่อนของอวัยวะในการออกเสียง
2)      สระที่มีหางสระ[7] เป็นอัฒสระ /i,u/
3)      สระที่มีหางสระเป็นพยัญชนะนาสิก /m,n, N/
4)      สระที่มีหางสระเป็นพยัญชนะกัก /p,t,k/
เสียงสระเดี่ยวในภาษามู่หล่าวมีเสียงสระสั้นยาว แต่บางเสียงมีการเปรียบต่าง บางเสียงไม่เปรียบต่าง ซึ่งการเปรียบต่างของสระบางเสียงขึ้นอยู่กับการมีหรือไม่มีหางสระ กล่าวคือ จะมีการเปรียบต่างของสระสั้นยาวก็ต่อเมื่อมีหางสระ แต่หากเกิดเป็นสระเดี่ยวจะออกเสียงเป็นสระเสียงสั้นทั้งหมด ดังนี้
a
a:i
a:u
a:m
a:n
a:N
a:p
a:t
a:k

ai
au
am
an
aN
ap
at
ak
«
«i
«u
«m
«n
«N
«p
«t
«k
E




E:N


E:k





EN


Ek
e
ei
eu
em
en
eN
ep
et
ek
i

iu
im
in
iN
ip
it
ik
ɿ[8] (µ )


µm

N
µp







:N


:k



m

N
p

k
o
oi

om
on
oN
op
ot
ok
u
ui


un
uN

ut
uk
O



On
ON
Op
Ot
Ok
y



yn
yN

yt

                   2.3 วรรณยุกต์  นักภาษาศาสตร์จีน มีวิธีการจำแนกเสียงวรรณยุกต์โดยคำนึงถึงเสียงสระเป็นเกณฑ์ ซึ่งเสียงสระก็พิจารณาการมีหรือไม่มีพยัญชนะท้ายเป็นปัจจัยในการจำแนกด้วย โดยแบ่งเสียงสระเป็นสองแบบ คือ  
1) เสียงสระที่ไม่มีพยัญชนะกลุ่มเสียงกักปิดท้ายเรียกว่า 舒声韵  shū shēnɡyùn หมายถึง
เสียงสระเปิดคือ คำที่ลงท้ายด้วยเสียงสระและพยัญชนะกลุ่มนาสิก
2) เสียงสระที่มีพยัญชนะกลุ่มเสียงกักปิดท้าย เรียกว่า 促声韵cù shēnɡyùn หมายถึง
เสียงสระปิด”       
 การแบ่งเสียงวรรณยุกต์โดยคำนึงถึงเสียงสระปิดและสระเปิดเช่นนี้ ทำให้นักภาษาศาสตร์จีนแบ่งวรรณยุกต์ภาษามู่หล่าวออกเป็น 8 เสียง ในจำนวนนี้มีเสียงวรรณยุกต์ที่เกิดจากเสียงสระเปิด 6 เสียง วรรณยุกต์เสียงสระปิด 2 เสียง ในวรรณยุกต์สองเสียงนี้ยังแบ่งเป็นสระเสียงยาวและสั้นอีกอย่างละ 2 เสียง ดังนี้
หมายเลข
เสียงวรรณยุกต์
ความสั้นยาว
ของสระ
ระดับเสียง
ตัวอย่างคำ
/CV/ และ /CVC/
ความมาย
1
สั้น/ยาว
42
ma Ù
ผัก
2
สั้น/ยาว
121
ma ˇÙ
ลิ้น
3
สั้น/ยาว
53
ma
อ่อนนุ่ม
4
สั้น/ยาว
24
ma
ม้า(จ.=)
5
สั้น/ยาว
44
ma
แบก
6
สั้น/ยาว
11
kaŸ
นั่น

7
สระเสียงสั้น
55
pakŠ
เหนือ (จ.=běi)
สระเสียงยาว
42
pa:k
ปาก
8

สระเสียงสั้น
12
pak
ผัก
สระเสียงยาว
11
pa:kŸ
ลูกเห็บ (จ.=báo)
                    2.4 โครงสร้างพยางค์ (C=Consonant ,V=vowel) นักวิชาการจีนตัดสินให้พยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก /-w/ กับพยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นเพดาน /-j, Ä/ เป็นพยัญชนะต้นเดี่ยว เพราะมองว่าเป็นการออกเสียงของฐานกรณ์เดิมแล้วเปลี่ยนไปเป็นฐานกรณ์อื่นเท่านั้น  แต่ฐานกรณ์ของเสียงพยัญชนะที่แท้จริงยังคงตัดสินว่าเป็นพยัญชนะเดิมอยู่ ดังนั้นพยัญชนะต้นในภาษามู่หล่าวจึงมีเพียงเสียงเดียวคือ /C/ ส่วนเสียงสระมีสระเดี่ยวกับสระประสม โดยมองว่าสระมีหัวสระ ท้องสระและหางสระ ข้อมูลภาษามู่หล่าวพบว่ามีสองเสียงคือ /VV/ โดยที่ตำแหน่งหางสระอาจเป็นเสียงพยัญชนะท้าย /VC/ หรือเป็นสระประสม /VV/ ก็ได้ ดังข้อมูลต่อไปนี้  
C V
t1
ประตู
khÄo1
เหา
kwa1
แตงกวา (จ.=g,แตง)
C V V
nja:u5
เยี่ยว (จ. =尿niào)
hÄa:i5
ไร่ (อ.,น.=ไฮ่)
khÄau5
เห่า
C V V
(C V C)
mit8
มีด
phīt7
ปัด (กวาด)
khwa:N3
กว้าง (จ.=广guǎng)
          3 ระบบคำ คำในภาษามู่หล่าวส่วนใหญ่เป็นคำโดดพยางค์เดียว คำสองพยางค์เกิดจากการประสมคำของคำโดด แต่ก็มีคำโดดสองพยางค์อยู่จำนวนหนึ่ง ส่วนคำโดดสามพยางค์มีน้อยมาก ดังรายละเอียดต่อไปนี้    
                    3.1.1 คำโดด แบ่งได้ดังนี้  
(1)    คำโดดพยางค์เดียว เป็นคำหนึ่งพยางค์ที่มีความหมายในตัวเอง สามารถใช้โดย
อิสระได้ ตัวอย่างคำเช่น
คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย
fi1
ไฟ
tap7
ตับ
l«m2
ลม
n«n4
น้ำ
khÄau3
เหล้า
kīi6
ไข่
kÄa2
ยา
phwa5
ผ่า 
/jeu1
เอว (จ.=yāo)
(2)    คำโดดมากกว่าหนึ่งพยางค์ คือ คำที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ แต่ละพยางค์หรือ
ส่วนใดส่วนหนึ่งของพยางค์ไม่สามารถแยกออกจากกันและมีความหมายโดยอิสระได้ และไม่ใช่ลักษณะของการเติมหน่วยคำเติมเพื่อให้มีความหมายทางไวยากรณ์ใดๆ ตัวอย่างคำเช่น
สองพยางค์
th«u5 fan1
ตะวัน

สามพยางค์
twa6 tN6 nN5
ชิงช้า
ti5 tE5
ปี่
lak7 lut7
สะอึก
                                    3.1.2 คำประสม คือการนำคำโดดที่มีความหมายในตัวเองมาประสมกัน แล้วเกิดเป็นคำที่มีความหมายที่ใกล้เคียงกับรากคำเดิม หรือเกิดความหมายใหม่ มีหลายวิธีได้แก่ 1.แบบรวมคำ คือการนำคำโดดสองคำที่มีความหมายในตัวเองมาประสมกัน  เมื่อประสมกันแล้วคำทั้งสองต่างแสดงความหมายเท่าๆกัน ความหมายใหม่ที่เกิดขึ้นใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกับคำเดิมทั้งสองคำ 2.แบบขยายความ คือการนำคำสองคำมาเรียงต่อกัน คำหน้าทำหน้าที่บอกความหมายหลัก คำหลังทำหน้าที่ขยายความหมายของคำหน้าให้ชัดเจนขึ้น 3. แบบชื่อหลัก + ชื่อเฉพาะ คือ คำหน้าเป็นคำที่บอกความหมายหลัก หรือเป็นคำเรียกรวมบอกความหมายในลักษณะร่วมกัน ส่วนคำที่ตามมาเป็นชื่อเฉพาะ คำประสมประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างคำนามที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของหรือสถานที่ คำประสมบางคำ คำที่เป็นชื่อเฉพาะที่ตามมาข้างหลังไม่สามารถแยกใช้อย่างมีความหมายตามลำพังได้ 4.แบบกริยากรรม คือ คำประสมที่คำหน้าเป็นคำกริยาและคำที่ตามมาเป็นกรรมที่รับการกระทำของกริยาที่นำมาข้างหน้านั้น  เมื่อประสมแล้วเกิดเป็นความหมายใหม่ที่แปรมาจากความหมายเดิมของคำทั้งสอง 5. แบบประธานกริยา คือ คำประสมที่คำหน้าทำหน้าที่เป็นประธาน คำที่ตามมาเป็นภาคแสดงของประธานข้างหน้านั้น และ 6.แบบเสริมความ คือ คำประสมที่คำข้างหน้าเป็นคำที่แสดงความหมายหลักส่วนคำที่ตามมาทำหน้าที่เสริมความหมายของคำข้างหน้าให้ชัดเจนขึ้นแต่ไม่ใช่การขยายความ ส่วนมากเป็นคำประเภท คำกริยา+คำบอกผลของกริยา ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้     
รูปแบบคำประสม
ตัวอย่างคำ
แบบรวมคำ
fa:i4 nuN4
พี่     น้อง
“พี่น้อง”
kN1 pwa2
ชาย    หญิง
“ชายหญิง”
(จ.gōng, เพศชาย)
(จ.pó , เพศหญิง)
pu4 mi4
พ่อ   แม่
“พ่อแม่”
แบบขยายความ
นาม+บ่งชี้
fan1 na:i6
วัน    นี้
“วันนี้”
ts«n6 na:i6 (จ.=zhèn, ช่วง)
ตอน  นี้
“ปัจจุบัน”
นาม+คุณศัพท์
mu6 lo4 (จ.=lǎo)
คน    แก่/ใหญ่
“ผู้สูงอายุ”
na3  l8an3
หน้า  แดง
“อาย”
mEk8 lo4
ข้าวสาลี ใหญ่
ข้าวฟ่าง
(จ.=mài)
นาม +นาม
an1 ci1
หงอน ไก่
“หงอนไก่”(จ.=jī)
/ja:p7 n«m4
เป็ด     น้ำ
“นกเป็ดน้ำ”(จ.= yā)
ts«n1 l8a1
ขน     ตา
“ขนตา”
ชื่อหลัก+ชื่อเฉพาะ
(ชฉ.)
la:k8
ลูก[9]
(หมายถึงผลไม้)
la:k8 ca6
ลูก    ชฉ.
“มะเขือ”
la:k8 yt7
ลูก    ชฉ.
“องุ่น” 

la:k8 pak8
ลูก    ชฉ.
“หัวผักกาด”
(จ.=萝卜luóbo)

mai4
ต้นไม้
mai4 jN2
ไม้     ชฉ.
“ต้นไทร”
 mai4  ja:N6 l«u4
ไม้        ชฉ.
“ต้นหลิว”
(จ.=l)
mai4 tsN6 pE:k7
ไม้        ชฉ.
“ต้นสน”
(จ.=sōng)
nk8
นก
nk8 in5
นก    ชฉ.
“นกนางแอ่น”
nk8 khÄa:k7
นก    ชฉ.
“นกกางเขน”
nk8 ka2
นก    ชฉ.
“นกกะทา”
fan1
วัน
fan1 iu1
วัน   วาน
“เมื่อวาน”
fan1 hun5
วาน  ซืน
“เมื่อวานซืน”
fan1 na3
วัน   หน้า
“วันมะรืน”
แบบกริยากรรม
fE4 toi6
เป็น เพื่อน
ด้วยกัน
(จ.=d,หมู่คณะ)
k«m6 ka: N1
ครอบ  อ่าง
“หม้อต้มเหล้า”
(จ.=gāng)
CEt7 nE5
หยุด  เหนื่อย
“พักผ่อน”
แบบประธานกริยา
khÄa1  l8ak
หู        หนวก
“หูหนวก”
(จ.=lóng)
l8a kha1
ตา  บอด
“คนตาบอด”
(จ.=x)

แบบเสริมความ
ci5 lai3 (จ.=jì)
จำ ได้
“จำได้”
t«n5 ta6
เชื่อ   ได้
“เชื่อ”
theN hai5 (จ.=tīng)
ฟัง    ได้ยิน
“ได้ยิน”
2.1.3 การเติมหน่วยคำ มีสองแบบคือ คำเติมหน้าและคำเติมหลัง คำเติมหน้า มี
ลักษณะเป็นการรวมกลุ่มคำ หรือเพื่อบอกความหมายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน วิธีการเติมหน่วยคำแบบนี้เป็นการเติมคำที่มีความหมายในตัวเอง แต่ละคำสามารถเป็นอิสระจากกันได้ คำเติมหลัง พบคำที่ใช้บอกเพศของสัตว์
ตำแหน่งคำ
คำเติม
ความหมาย
ตัวอย่างคำ
เติมหน้า
la:k8 ~
ลูก
ใช้กับสิ่งของที่มีลักษณะ
เป็นก้อน เป็นเม็ด
la:k8 pa:k8  “ลูกเห็บ”
 (จ.=báo)
la:k8 m«t7 “ดาว”
ti6 ~
ผู้
ใช้เป็นคำนำหน้า
บอกเพศของคน
ti6 pwa2 “ผู้หญิง
ti6 kN1ผู้ชาย
tau1 ~
น่า
ใช้นำหน้าคำนามเพื่อ
เปลี่ยนเป็นคำคุณศัพท์
tau1 tja: N3“น่ารัก
tau1 han5“น่าเกลียด”
 (จ.=hèn)
tuk7 ~
กัน
บอกการกระทำ
ทั้งสองฝ่าย
tuk7 tON1 “จิกกัน”
กัน    จิก
tuk7 c«t8“ กัดกัน”
กัน    กัด
เติมหลัง
~ tak8
ผู้
ใช้บอกเพศของสัตว์
ตัวผู้
wi2 tak8 “ควายตัวผู้”
ควาย ผู้
n«m6 tak8 “ปลาตัวผู้”
ปลา   ผู้
~ tai5
เมีย
ใช้บอกเพศของสัตว์
ตัวเมีย
m8u5 tai5 “หมูตัวเมีย”
หมู   เมีย
ci1 tai5 “ไก่ตัวเมีย”
ไก่  เมีย
3.1.4 คำเสริมสร้อย เป็นลักษณะของการใช้คำซ้ำเพื่อเสริมความหมาย มีสองแบบคือ เติมคำ
ซ้ำไว้ท้ายคำหลักแบบ ABB คำซ้ำแบบนี้มักจะมีพยัญชนะต้นเหมือนกับคำหลักแต่เปลี่ยนเสียงสระ และอีกแบบหนึ่งคือ ซ้ำคำหลักแบบ AABB ความหมายคงเดิมแต่เกิดภาพพจน์และอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
รูปแบบคำ
ตัวอย่างคำ 
ความหมาย
การซ้ำคำ  
ความหมายใหม่
ABB
ma3
อ่อน
ma3 m«p7 m«p
อ่อนปวกเปียก
N4
ครึกครื้น
N4 «p7 «p7
อึกทึกครึกครื้น
khÄa1
คม
khÄa1 lO5 lO5
คมกริบ
AABB
CuN1 au5
คดเคี้ยว
CuN1 CuNau5 au5
คดๆเคี้ยวๆ
foN1 hÄam5
สูงต่ำ
foN1 foN1 hÄam5 hÄam5
สูงๆต่ำๆ
                      3.1.5 คำที่มีโครงสร้างแน่นอน คือคำที่กำหนดคำและการวางตำแหน่งของคำแน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือสลับที่ได้ มีแบบที่เป็นชุดคำทีมีความหมายในตัวเอง และเป็นชุดคำโครงสร้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ชุดคำ ABCD

ชุดคำโครงสร้าง .....ไป.....มา
pu4 ni4 fa:i4 nuN4
พ่อ  แม่  พี่     น้อง
พ่อแม่พี่น้อง
(ญาติ)
ca:N3 pa:i1 ca:N3 m8a1 (จ.=jiǎng)
พูด    ไป     พูด    มา
พูดไปพูดมา
t«n2 cwa2  ci1 /ja:p7
วัว    แกะ     ไก่   เป็ด
วัวแกะไก่เป็ด
(สัตว์เลี้ยง)
ton5 pa:i1 ton5 fan6 (จ.=fān)
นับ    ไป     นับ   พลิก(กลับ)
นับไปนับมา
                   3.1.6 คำยืมจากภาษาจีน จากข้อมูลคำศัพท์พบว่า ภาษามู่หล่าวมีคำที่สัมพันธ์กับภาษาจีน
จำนวนมาก แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ 1.คำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันในอดีต และ 2.คำยืมภาษาจีนใหม่ มีรายละเอียดดังนี้
(1)   คำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันในอดีต  คำศัพท์กลุ่มนี้ในหนังสือปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว (王均,
郑国乔Wáng Jūn, Zhèng Guóqiáo:อ้างแล้ว) ระบุว่าเป็นคำยืมจากภาษาจีน ซึ่งจากข้อมูลคำศัพท์ภาษามู่หล่าวในหนังสือเล่มนี้จำนวน 910 คำ พบว่ามีคำศัพท์ 533 คำ เป็นคำยืมจากภาษาจีน คิดเป็น 59% แต่ขณะเดียวกัน ในแวดวงนักวิชาการที่ศึกษาภาษาไท-จีน ก็มีผลงานการศึกษาส่วนหนึ่งที่พยายามพูดถึงคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน ซึ่งก็มีความเห็นว่ามีคำศัพท์ภาษาไทและภาษาจีนเคยใช้ร่วมกันในอดีต ไม่ตัดสินว่าใครยืมใคร คำศัพท์กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นคำโดดหนึ่งพยางค์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

คำภาษามู่หล่าว
คำภาษาจีน

คำภาษามู่หล่าว
คำภาษาจีน

คำภาษามู่หล่าว
คำภาษาจีน
pai6    “พ่าย
bài
tjeu2   “แถว
tiáo
tsO4    “เสา
z
tja: N6 “ช่าง
jiàng
tsO3    “เจ้า
z
mwa6  “โม่
mó
ti6       “ที่
dì
ca:i     “แก้
gǎi
tsha:i4  “ทาย
cāi
tjem3  “แต้ม
diǎn
thot7  “ถอด
t
m6    “หมวก
mào
tshoN1 “ช่อง
chuāng
an2  “(แร่) เงิน
yín
c«m1   “ทองคำ”
(น.คำ,ทอง)
jīn[10]
(2)   คำยืมภาษาจีนใหม่ เป็นคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาจีนภายหลังยุคปฏิวัติวัฒนธรรม
เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การศึกษา วิทยาการต่างๆ โดยยืมจากภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นที่ใกล้เคียง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำภาษาจีน
คำอ่านพินอิน
คำภาษามู่หล่าว
ความหมาย
共产党
gòngchǎndǎng
kuN4 tsha:n3 ta:N3
พรรคคอมมิวนิสต์
工厂
gōngchǎng
kuN5 tsha:N3
โรงงาน
人民
rénmín
jin6 min6
ประชาชน
 经验
jīngyàn
cin5 njen4
ประสบการณ์
领导
lǐngdǎo
lin3 ta:u3
ผู้นำ
                     
4. ระบบไวยากรณ์  ภาษามู่หล่าวเป็นภาษาคำโดด คำแต่ละคำมีความหมายในตัวเองและใช้ได้โดยอิสระ ไม่มีการเติมหน่วยคำเติมลงในคำเพื่อทำให้เปลี่ยนแปลงหน้าที่หรือลักษณะทางไวยากรณ์ รูปแบบการประกอบคำและประโยคเป็นการนำคำมาเรียงต่อๆกันตามลำดับและโครงสร้างทางไวยากรณ์ โดยมีรูปแบบไวยากรณ์ที่สำคัญๆ ดังนี้ 
          4.1  โครงสร้างประโยคความเดียวพื้นฐาน คือ [ S.V.O ]  ตัวอย่างประโยคเช่น  
h«i2 tsa:n1 hu3
ฉัน   กิน      ข้าว
ฉันกินข้าว

m6 kui5 Nwa1
 เขา  ตี     หมา
เขาตีหมา
hÄa:u1 n8«n1 pu4
เรา      เห็น    พ่อ
เราเห็นพ่อ
fa:i4 suk7 na3
พี่     ล้าง  หน้า
พี่ล้างหน้า
          4.2 มีการใช้คำลักษณนาม คำลักษณนามของภาษามู่หล่าวแบ่งเป็นคำลักษณนามสำหรับคำนามและลักษณนามสำหรับคำกริยา แต่โครงสร้างการใช้คำลักษณนามของคำทั้งสองไม่เหมือนกัน คือ โครงสร้างการใช้ลักษณนามของคำนามเป็น [ตัวเลข+ ลักษณนาม + คำนาม] ส่วนโครงสร้างคำลักษณนามของคำกริยาเป็น [คำกริยา + ตัวเลข + ลักษณนาม] ดังตัวอย่างต่อไปนี้  

คำลักษณนามของคำนาม
[ตัวเลข+ลักษณนาม+คำนาม]
n8«5 am1 hu3
หนึ่ง  กำ     ข้าว 
ข้าวหนึ่งกำ

n8«5 kÄa:p7 n8«m4   
หนึ่ง   หาบ  น้ำ
น้ำหนึ่งหาบ
คำลักษณนามของคำกริยา
[คำกริยา+ตัวเลข+ลักษณนาม]
kui5 n8«5 m8at7
ตี     หนึ่ง  ครั้ง/ที
ตีหนึ่งที
a:u6 s8«p8 mÄa:n2
เนา(อยู่) สิบ   เดือน
อยู่สิบเดือน
          พบวิธีการซ้ำคำลักษณนามรูปแบบ /AA/ เพื่อบอกจำนวนพหูพจน์ เช่น /mu6 mu6 หมู่หมู่/ “ทุกคน” /at7 at อันอัน/ “ทุกอัน” / m8at7 m8at7 ครั้งครั้ง/ “ทุกครั้ง
4.3  รูปแบบการใช้คำบ่งชี้ ภาษามู่หล่าววางคำบ่งชี้ไว้หลังคำหลัก ถ้ามีคำลักษณนามก็จะ
วางไว้ต่อจากคำลักษณนาม หากมีการขยายคำลักษณนามก็จะวางไว้ต่อจากส่วนขยายนั้นอีก วิเคราะห์อย่างง่ายก็คือ วางคำบ่งชี้ไว้ท้ายสุดของประโยคนั่นเอง รูปแบบเป็น [คำหลัก ± ลักษณนาม ±ส่วนขยาย + คำบ่งชี้ ] ดังตัวอย่างต่อไปนี้         
khÄa:t7 na:i6
เขต       นี้
เขตนี้

m8u3 t2 na:i6
หมู   ตัว  นี้
หมูตัวนี้
n8«5 t2  m8u3 lo4  na:i6
หนึ่ง ตัว   หมู   ใหญ่  นี้
หมูตัวใหญ่หนึ่งตัวนี้
n8«5 t2 m8u3 na:i6
หนึ่ง ตัว หมู นี้
หมูหนึ่งตัวนี้
n8a:u3 t2 nok8 khÄ«t7 Äa:i3 ka6
เดียว  ตัว   นก    หาง     ยาว   นั้น  
นกหางยาวหนึ่งตัวนั้น

          4.4  การขยายความ การขยายความในที่นี้คือการวางตำแหน่งของคำหลักที่ถูกขยายและ
ตำแหน่งของคำที่ทำหน้าที่ขยายคำอื่น มีรูปแบบต่างๆ  ดังนี้  
การขยายคำนาม คำคุณศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยายคำนามมีทิศทางการขยายไปข้างหลังต่อจาก
คำนามหลัก รูปแบบคือ [คำหลัก + คำขยายตัวอย่างประโยคเช่น  
ตัวอย่าง
ความหมาย

ตัวอย่าง
ความหมาย
kuk7 m8ai5
เสื้อ   ใหม่
เสื้อใหม่
nja1 Äa:i3
แม่น้ำ ยาว
แม่น้ำยาว
pÄa1      foN1
(ผา)ภูเขา  สูง
ภูเขาสูง
kuk7 la:n3
เสื้อ แดง
เสื้อแดง
การขยายคำคุณศัพท์และคำกริยา  คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์และคำกริยาจะวาง
ไว้หน้าคำที่ต้องการขยาย รูปแบบคือ [คำวิเศษณ์ + คำคุณศัพท์/คำกริยาตัวอย่างคำเช่น
ตัวอย่าง
ความหมาย

ตัวอย่าง
ความหมาย
ka:i5 khÄuN2
มาก  เยอะ
เยอะมาก
ka:i5 khÄa:n5 (จ.=hàn)
มาก กลัว
กลัวมาก
*h«n3 lo4
มาก  ใหญ่
ใหญ่มาก
ka:i5 it7
มาก  หนาว
หนาวมาก
* จากข้อมูลคำศัพท์ข้างต้นจะเห็นว่า คำวิเศษณ์ที่แปลว่า “มาก” ใช้ขยายคำคุณศัพท์และคำกริยา นอกจากคำภาษามู่หล่าวว่า /ka:i5/ แล้ว ยังพบว่ามีคำว่า /h«n3/ ด้วย คำนี้เป็นคำยืมจากภาษาจีนคำว่า hěn ซึ่งจะเห็นว่ารูปแบบทางไวยากรณ์ของคำทั้งสองเหมือนกันกับภาษาจีนคือ วางไว้หน้าคำที่ต้องการขยาย   
          4.5 การแสดงความเป็นเจ้าของ คำแสดงความเป็นเจ้าของในภาษามู่หล่าวคือคำว่า /k/ แปลว่า “ของ” รูปแบบคือ [+เจ้าของ +คำแสดงความเป็นเจ้าของ +สิ่งที่ถูกเป็นเจ้าของ] และยังพบว่ารูปแบบการแสดงความเป็นเจ้าของนี้ สามารถละคำแสดงความเป็นเจ้าของก็ได้ แต่เมื่อละคำแสดงความเป็นเจ้าของแล้ว โครงสร้างประโยคจะสลับที่กัน เป็น [สิ่งที่ถูกเป็นเจ้าของ + เจ้าของ] ดังตัวอย่างต่อไปนี้   
h«i2 k lE2
ฉัน   ของ หนังสือ
หนังสือของฉัน

lE2 h«i2
หนังสือ ฉัน
หนังสือ(ของ)ฉัน
niu2 k t«n2
เรา  ของ  วัว
วัวของเรา
t«n2 niu2
วัว    เรา
วัว(ของ)เรา
ni4 k   Äa:n2
แม่  ของ เฮือน(บ้าน)
บ้านของแม่
Äa:n2 ni4
บ้าน   แม่
บ้าน (ของ) แม่
          นอกจากนี้ยังพบว่า คำว่า /k/ ทำหน้าที่อย่างอื่นได้ด้วย คือ แปลว่า “ที่” ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับคำว่า de” ในภาษาจีน ซึ่งตามหลักไวยากรณ์จีนเรียกคำนี้ว่า “คำช่วยโครงสร้าง” เป็นคำไวยากรณ์ที่ทำหน้าที่ช่วยโครงสร้างแสดงความเป็นเจ้าของ ขยายความ ยกตัวอย่าง แบ่งแยก และบอกผู้กระทำ[11] ซึ่งจากข้อมูลภาษามู่หล่าวก็พบว่ามีวิธีการใช้และการเรียงลำดับทางไวยากรณ์เหมือนกับภาษาจีนทุกอย่าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้     
ขยายความ
m6 tja:N4 k t«n2 (จ.=yǎng)
เขา  เลี้ยง    ที่  วัว
วัวที่เขาเลี้ยง
他养的牛tā yǎng de niú
ยกตัวอย่าง
tsa:n1 k tan3 k
กิน    ที่   สวม ที่
(ไม่ว่าจะเป็น) ที่กิน ที่สวมใส่
吃的,穿的chī de, chuān de
แบ่งแยก
khÄa:p7 k khÄa:p7,/wa:t7 k /wa:t7
เลือก      ก็  เลือก     ขุด       ก็   ขุด
(จ.= wā)
คนที่เลือกก็เลือกไป คนที่ขุดก็ขุดไป
挑的挑,挖的挖tiāo de tiāo, wā de wā
บอกผู้กระทำ
cE1 ma1 k
ขาย ผัก ที่
คนที่ขายผัก
卖菜的mài cài de
4.6 ประโยคเปรียบเทียบ ภาษามู่หล่าวมีโครงสร้างประโยคเปรียบเทียบสองแบบ คือ แบบที่
ใช้คำเปรียบเทียบภาษามู่หล่าว  [A + คุณศัพท์ + /ta6/ + B] และมีอีกแบบคือยืมคำว่า bǐ ภาษามู่หล่าว  ออกเสียงว่า /pi3/ “กว่า” ซึ่งยืมทั้งคำและรูปแบบมาจากภาษาจีน  คือ [A + /pi3/ +B +คุณศัพท์]  และหากการเปรียบเทียบนั้นมีคำบอกปริมาณต่อท้าย ก็จะมีโครงสร้างเป็นอีกแบบ คือ [A + คุณศัพท์ + B + คำบอกปริมาณ] ซึ่งเป็นแบบเดียวกับภาษาจีนเช่นกัน  ดังตัวอย่างต่อไปนี้     
โครงสร้างภาษามู่หล่าว  [A + คุณศัพท์ + /ta6/ + B]
at1 m8ai5 i1 ta6 at7 k5
อัน ใหม่   ดี  กว่า อัน  เก่า
อันใหม่ดีกว่าอันเก่า
t«n2 na:i6 pi2        ta6 t«n2 hÄa:u1
วัว    นี้     พี(อ้วน)   กว่า วัว    เรา
วัวตัวนี้อ้วนกว่าวัวของเรา
โครงสร้างคำยืมภาษาจีน [A + /pi3/ +B +คุณศัพท์]  
h«i2 pi3 m6 foN1
ฉัน กว่า เขา สูง
ฉันสูงกว่าเขา
h«i2 pi3 m6 lo4
ฉัน  กว่า เขา แก่
ฉันแก่กว่าเขา
โครงสร้างเปรียบเทียบที่มีการบอกปริมาณ  [A + คุณศัพท์ + B + คำบอกปริมาณ]   
h«i2 lo4 m6 Äa2 mE1
ฉัน   แก่   เขา  สอง ปี
ฉันแก่กว่าเขาสองปี
h«i2 Can1 m6  N4 can1
ฉัน   หนัก   เธอ   ห้า    ชั่ง
ฉันหนักกว่าเธอห้าชั่ง (1 ชั่งเท่ากับครึ่งกิโลกรัม)
                    4.7 โครงสร้างการใช้บุพบท การเรียงลำดับของบุพบท จะวางไว้หน้าคำนาม แต่ถ้ามีคำกริยาจะวางต่อจากคำนามอีกทีหนึ่ง โครงสร้างคือ [บุพบท+นาม+คำกริยา] โครงสร้างแบบนี้เหมือนกับภาษาจีน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
   บุพบท + ใคร + ทำอะไร

บุพบท + ที่ไหน + ทำอะไร   
w«n4 m6 ca: N3 lam1
กับ   เขา พูด         ลัม
พูดลัมกับเขา
(ลัม = ภาษามู่หล่าว)
toi5 Äa:n2 taN1
จาก บ้าน  มา
มาจากบ้าน
w«n4 m6 fE4 kN1 (จ.=gōng)
กับ   เขา     ทำงาน
ทำงานกับเขา
au6 na:m2 niN2 fE4 kN1
เนา    หนานหนิง   ทำงาน
ทำงานอยู่
หนานหนิง
                    4.8 ส่วนเสริมกริยา มีคำประเภทที่วางต่อจากคำกริยาทำหน้าที่เสริมความให้กับคำกริยานั้น
ได้แก่ บอกผลของกริยา บอกกาล บอกการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
กริยา + ผล

กริยา + กาล   

กริยา + เคลื่อนไหว/เปลี่ยนแปลง   
ci5 lai3 (จ.=)
จำ  ได้
จำได้
pa:i1 ta6
ไป     ผ่าน
เคยไป
tai1 pa:i1
ตาย  ไป
ตายแล้ว
theN5 hai5 (จ.=tīng)
ฟัง      ได้ยิน
ได้ยิน
pa:i1 ljeu6
ไป     แล้ว
ไปแล้ว
tu6 m8a
กลับ มา
กลับมา




สรุปอภิปราย
          บทความนี้เรียบเรียงโดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารภาษาจีน เพื่อนำเสนอในเชิงพรรณนาข้อมูลทางภาษาศาสตร์ของภาษามู่หล่าวตามลำดับขั้นทางภาษา ได้แก่ ระบบเสียง ระบบคำ และระบบไวยากรณ์ ซึ่งได้ดำเนินการอธิบายไปแล้วข้างต้น สิ่งที่พบในบทความนี้คือ ภาษามู่หล่าวมีทั้งคำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ คำศัพท์ที่ร่วมเชื้อสายใกล้ชิดกับภาษาอื่นๆในตระกูลไท และคำศัพท์ที่ใกล้ชิดกับภาษาจีน ระบบคำศัพท์มีความใกล้ชิดกับภาษาไทอื่นๆ แต่สิ่งที่ทำให้ภาษามู่หล่าวมีความสัมพันธ์ที่ต่างออกไปจากภาษาไทอื่นๆก็คือระบบไวยากรณ์ ดังที่ได้อธิบายข้างต้นจะพบว่า ไวยากรณ์ภาษามู่หล่าวมีแนวโน้มใกล้ชิดกับไวยากรณ์ภาษาจีนมากกว่า ทั้งโครงสร้างทางไวยากรณ์และคำทางไวยากรณ์  แม้จะมีระบบไวยากรณ์และคำทางไวยากรณ์เหมือนกับภาษาจีนก็ตาม แต่ยังพบร่องรอยไวยากรณ์แบบภาษาตระกูลไทอยู่ ทำให้พบเห็นโครงสร้างไวยากรณ์ในภาษามู่หล่าวมีสองรูปแบบควบคู่กันไป ซึ่งการสลับสับเปลี่ยนไวยากรณ์ในระหว่างการสื่อสารนั้นขึ้นอยู่กับคำที่ใช้ กล่าวคือ หากใช้คำยืมจากภาษาจีนก็จะใช้ระบบไวยากรณ์แบบจีน  แต่เมื่อใช้คำภาษามู่หล่าวก็มักจะใช้ไวยากรณ์แบบภาษามู่หล่าว แต่ในขณะที่ชาวมู่หล่าวรุ่นใหม่มีแนวโน้มใช้รูปแบบไวยากรณ์แบบจีนมากขึ้นแม้จะใช้คำศัพท์ภาษามู่หล่าวก็ตาม  

บรรณานุกรม
Benedict, Paul K.(1983) “Mulao: key to Kadai phonology” Computational Analysis of Asian
          and African Languages,vol.21,p.1-5.
Tatsuo Nishida.(1955) “Mako-Suigo to kyotsu Taigo” Gengo Kenkyu (Journal of Linguistics
          Society of Japan) Tokyo,vo;.28,p.30-62.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555) สารานุกรมชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. พิมพ์ครั้งที่2.
          อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 365 หน้า.  
_______________. (2558) ไวยากรณ์จีนระดับต้น. ภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-
          ญี่ปุ่น : กรุงเทพ.288หน้า.
สุริยา รัตนกุล.(2548) นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาษาตระกูลไท.สหธรรมิก:กรุงเทพฯ.
王均,郑国乔 (1979)《仫佬语简志》民族出版社,北京。 (หวางจวิน, เจิ้งกว๋อเฉียว. (1979)   ปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว.สำนักพิมพ์ชนชาติ, ปักกิ่ง.  
僚人家园 (บ้านเราชาวเหลียว).[ออนไลน์]เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558 เข้าถึงได้ทาง
        http://www.rauz.net.cn


[1]  รองศาสตราจารย์ ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ อาจารย์ประจำสาขาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
[2] ในหนังสือของสุริยา (2548) บอกว่ามีจำนวนประชากรชาวมู่หล่าว 90,426 คน ข้อมูลในหนังสือของ Wang และ Zheng  (Wang Jun and Zheng Guoqiao:1979) เป็นข้อมูลสำมะโนประชากรจีนปี 1977 ระบุว่ามีประชากรราวเจ็ดหมื่นคน  หนังสือของเมชฌ (เมชฌ:2555) เป็นข้อมูลสำมะโนประชากรปี 2000 มีจำนวนประชากร 207,352 คน
[3] คำนี้ยังเป็นคำที่พวกมอญ-เขมรเรียกคนลาวด้วย เช่น ภาษาเขมร เรียกว่า /pu/ liao/  แปลว่า พวกลาว
[4] มีกระทู้ที่อยู่ในเว็บไซต์หนึ่งของจีน ชื่อว่า 僚人家园Liáo rén jiāyuán แปลว่า บ้านเราชาวเหลียว เข้าถึงได้จาก  http://www.rauz.net.cn ชื่อเว็บไซต์ใช้ชื่อว่า Rauz  ซึ่งเป็นภาษาเขียนของชาวจ้วง หมายความว่า เราจะเห็นว่าเว็บไซต์นี้ใช้คำว่า  Liáo เป็นชื่อกลาง   ในเว็บไซต์แห่งนี้เป็นเสมือนเวทีวิชาการสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับชาวจ้วง(壮族Zhuànɡzú) ชาวปู้อี(布依Bùyī) และชาวไต้อี(袋依Dàiyīชาวไตต่างๆ) เจ้าของเว็บไซต์นี้คือ ศูนย์วิจัยจ้วง-ต้งศึกษา มหาวิทยาลัยชนชาติส่วนกลางแห่งประเทศจีน(中央民族大学壮侗学研究所Zhōnɡyānɡ mínzú dàxué Zhuànɡ Dònɡ xué yánjiūsuǒ) สมาคมการศึกษาจ้วงศึกษา มหาวิทยาลัยกว่างซี (广西壮学学会 Guǎnɡxī Zhuànɡ xué xuéhuì)  และสมาคมการวิจัยวัฒนธรรมลั่วเยว่แห่งกว่างซี (广西骆越文化研究会 Guǎnɡxī Luòyuè wénhuà yánjiūhuì)  
[5]  นักวิชาการจีนจัดภาษากลุ่มไทไว้ในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาจ้วง-ต้ง ในสาขานี้แบ่งเป็นสามแขนงคือ ต้ง-สุย จ้วง-ไต และ หลี (梁敏,张均如Liánɡ Mǐn,Zhānɡ Jūnrú: 1996
[6] คำนี้ในภาษามู่หล่าวเกิดการหลอมคำเป็นคำพยางค์เดียว พูดว่า /n8at7/ แปลว่า “หนึ่งอัน”
[7] การวิเคราะห์ระบบเสียงแบบจีน ส่วนที่อยู่ถัดจากพยัญชนะต้นนับเป็นเสียงสระทั้งหมด เช่น คำว่า tian  เสียงสระทั้งหมดของคำนี้คือ   /iian/ เสียง /t/ เป็นพยัญชนะต้น ในสระทั้งหมดของคำๆนี้ เสียง /i/ เป็นหัวสระ(韵头yùntóu) เสียง /a/ เป็นท้องสระ (韵腹yùn fùและเสียง /n/ เป็นหางสระ (韵尾yùnwěi)  
[8] สระนี้เกิดหลังพยัญชนะ /ts,tsh/ ออกเสียงเป็น [ ɿ ] เป็นพยัญชนะและสระที่มีเฉพาะในคำยืมจากภาษาจีน แต่เมื่อมีหางสระ จะออกเสียงเป็น [µ] เป็นสระที่มีในคำภาษามู่หล่าว
[9] คำนี้มีลักษณะเหมือนกับภาษาไทยคือ มีหลายความหมาย ได้แก่ 1.ใช้โดยลำพังหมายถึงลูก 2.ประกอบกับคำอื่น ใช้เรียกชื่อผัก ผลไม้ 3.ประกอบกับคำอื่นใช้เรียกสิ่งของที่มีลักษณะกลม เป็นก้อน เป็นเม็ด    
[10] ภาษาจีนโบราณออกเสียงว่า [krim] ภาษาจีนถิ่นกว่างโจว [kam1] ภาษาถิ่นหมิ่นหนาน [gim1] ภาษาถิ่นแคะ [gim1] ข้อมูลนี้สืบค้นจากเว็บไซต์ชื่อ 汉语方言发音字典Hànyǔ fāngyán fāyīn zìdiǎn “พจนานุกรมเสียงภาษาถิ่นจีน” เข้าถึงได้ทาง http://cn.voicedic.com/   
[11] ดูรายละเอียดเรื่องคำช่วยโครงสร้างภาษาจีนในหนังสือ ไวยากรณ์จีนระดับต้น (เมชฌ:2558,93-96

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น