เมชฌ สอดสองกฤษ.(2557) รายงานการวิจัยเรื่อง
การทดลองใช้คำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย-จีนสอนภาษาจีนให้ผู้เรียนชาวไทย.ใน การประชุมทางวิชาการจีนศึกษาระดับนานาชาติ
ครั้งที่ 2 เรื่อง "ไข่มุกหล่นบนจานหยก การศึกษาภาษา
การสอน และวรรณกรรมจีน" จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ร่วมกับ โครงการปริญญาโท หลักสูตรวัฒนธรรมจีนศึกษา คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และInternational
College Nanjing Normal University. วันที่ 4 – 5 มิถุนายน 2557.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายงานการวิจัย : การทดลองใช้คำศัพท์พ้องเสียงภาษาตระกูลไทกับภาษาจีนสอนภาษาจีนให้ผู้เรียนชาวไทย
Research report: An Experimentation
of Chinese – Thai cognate using
in Chinese teaching class
研究报告: 对泰汉语教学中的汉泰语相关词实用的实验研究
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นรายงานการวิจัยที่เป็นงานสืบเนื่องมาจากการทำงานวิจัยเรื่อง
การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
ผลการศึกษาสามารถรวบรวมคำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทยถิ่นอีสานและคำศัพท์ที่ร่วมเผ่าพันธุ์กับตระกูลภาษาไทยกับภาษาจีนได้เป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยได้ทดลองนำคำศัพท์พ้องเสียงดังกล่าวนี้ไปสอนภาษาจีนให้กับผู้เรียนชาวไทย
พบว่าได้รับความสนใจจากผู้เรียนมาก จึงได้ทำการวิจัยเรื่อง “การทดลองใช้คำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย - จีนสอนภาษาจีนให้ผู้เรียนชาวไทย”
วิธีการทดลองในครั้งนี้แบ่งคำศัพท์เป็นสองชุดคือ ชุดที่
1.เป็นคำศัพท์ภาษาจีนที่มีความถี่สูงที่สุด 50 คำ ชุดที่ 2.คัดเลือกคำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย
- จีนจำนวน 50 คู่คำ โดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบทั้งสองชุดแบ่งเป็นสองช่วง คือ
แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนแล้วใช้สถิติพรรณนาเป็นเครื่องมือประมวลผล
จากนั้นจึงนำผลการทำแบบทดสอบทั้งสองชุดและทั้งสองช่วงมาเปรียบเทียบกัน
ผลการประมวลค่าทางสถิติเป็นดังนี้
1.หลังเรียนคำศัพท์ใช้บ่อยแล้วทำแบบทดสอบ
ผู้เรียนสามารถจดจำเสียงอ่านอักษรจีนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 5.64%
สามารถจดจำความหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.88%
2.หลังเรียนกลุ่มคำศัพท์พ้องเสียงแล้วทำแบบทดสอบ
ผู้เรียนสามารถจดจำเสียงอ่านเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.08% และสามารถจดจำความหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 152.88%
บทสรุปประเด็นการทดลองครั้งนี้คือ
เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนคำศัพท์ตามปกติแล้ว ผู้เรียนต้องใช้เวลามากในการท่องจำคำศัพท์
แต่สำหรับการเรียนด้วยคำศัพท์พ้องเสียง
ผู้เรียนสามารถจดจำได้ทั้งเสียงและความหมายตั้งแต่เริ่มเรียน
ผลการวิเคราะห์ทางสถิติชี้ให้เห็นว่า การใช้คำศัพท์พ้องเสียงภาษาจีน-ไทย
สอนภาษาจีนให้ผู้เรียนชาวไทย ผู้เรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัด
คำสำคัญ ภาษาตระกูลไท ภาษาไทยถิ่นอีสาน การสอนภาษาจีน
คำพ้องภาษาไทย-ภาษาจีน
摘要
本文是从泰东北方言与汉语相关词研究而扩展的进一步研究的报告。前面的研究项目已收集到了上百个泰东北方言与汉语的相关词。笔者试着把这些词用在泰国学生汉语教学的课堂上,结果发现此方法使教学更加有乐趣。因此又进一步做实验性的研究。本次研究使用两组词语,即汉语常用词50个,汉泰语相关词50个。研究过程分两个阶段;学前实验和学后实验,调查后进行统计以及频率对比。
学后实验结果如下;
1.常用汉字的学后实验,学生的语音记取效果增加 5.64%,语义记
取效果增加11.88%.
2.汉泰语谐音的学后实验,学生的语音记取效果增加 92.08%,
语义记取效果增加 152.88%。
本次实验的总结即,经由常用汉字与汉泰语谐音的学后对比分析发现;学生学习常用汉字需要更多的时间才能记住生词。而对汉泰语谐音的学习,学生则在学后就会理解词语的语音和语义。因此谐音的教学方法使教学质量明显提高。
关键词:泰语族,泰东北方言,对泰汉语教学,汉泰语关系词
Research report: An Experimentation
of Chinese – Thai cognate using
in Chinese teaching class
This is an Research report which according to History
linguistics study of Chinese and Northeastern Thai cognate words. Study result
has collected many Chinese and Northeastern Thai related words. After that the
researcher has use the cognate words in Chinese teaching to Thai learners. The
study found that learners very interesting in the words. Therefor onward study the topic “An Experimentation of
Chinese – Thai cognate using
in Chinese teaching class to Thai learners”
Research methodology was divide the
words into 2 groups. 1. High frequency
Chinese words 50 words, 2.Thai-Chinese related words 50 words. Student will
test twice of two quiz. These are pretest and posttest, then analyzed the
statistics and compare per and posttest.
The result found that;
1.After study the High frequency
Chinese words, student can remember the pronunciation adding 5.64%,and remember
words meaning adding 11.88%.
2.After study Thi-Chinese related
words, student can remember the pronunciation adding 92.08%, and remember words
meaning adding 152.88%.
The conclusion of this research is, compare
with normally study of Chinese words, student will take much of time to memorize the words. But student can
remember Thai-Chinese related words at
the first time. The statistics result point that Chinese – Thai related words
using in Chinese
teaching class to Thai learners, student has promptly develop their
study obviously.
Keywords:
Thai-Chinese cognate, Chinese and Northeastern Thai cognate words, Chinese
Teaching,Thai–Chinese related words.
1. บทนำ
สืบเนื่องจากการจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครูผู้สอนภาษาจีนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ที่ผ่านมา
ผู้เข้าอบรมสัมมนาได้เสนอแนวความคิดที่เป็นประโยชน์หลายด้าน ได้แก่
1.
การนำความรู้ในท้องถิ่นมาสอนภาษาจีน เพื่อตอบสนองความต้องการความรู้ด้านนี้
คณะ
ศิลปศาสตร์ได้จัดทำโครงการ
2 เรื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลท้องถิ่นที่เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมจีนมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดทำสื่อการเรียนการสอน
ได้แก่ โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เรื่อง
การจัดทำนามานุกรมธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุบลราชธานี (เมชฌ:2555) และ
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เรื่อง
ศาสนสถานจีนในเขตจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (เมชฌ:2555) ข้อมูลดังกล่าวได้เผยแพร่สู่ผู้รับบริการ
และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.
ประเด็นการใช้คำพ้องภาษาไทยถิ่นอีสานสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนที่พูดภาษาไทยถิ่นอีสาน
เกี่ยวกับประเด็นนี้
ทำให้ผู้จัดทำโครงการพัฒนาต่อยอดจนเป็นงานวิจัยเรื่อง
การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
(เมชฌ:2554) และได้ดำเนินโครงการวิจัยนี้จนแล้วเสร็จในปี
พ.ศ. 2554 – 2555
ข้อมูลที่ได้จากการทำวิจัยได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การอบรมถ่ายทอดความรู้ในโครงการบริการวิชาการ แต่ปัญหาสืบเนื่องก็คือ
ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่า การใช้คำศัพท์พ้องเสียงดังกล่าวสอนภาษาจีนให้กับผู้เรียนที่พูดภาษาอีสานเป็นภาษาแม่
จะได้ผลมากกว่าการเรียนคำศัพท์ตามปกติหรือไม่ คณะผู้จัดทำโครงการจึงได้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง
การใช้คำพ้องภาษาตระกูลไท-จีน
สอนภาษาจีนให้กับนักเรียนไทย อันเป็นการต่อยอดสู่งานวิจัยใหม่ตามแผนงานบูรณาการประกันคุณภาพ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่ออธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
2.2
เพื่อทดลองใช้คำพ้องเสียงภาษาตระกูลไท-จีน สอนภาษาจีนให้กับนักเรียนไทย
3. สมมติฐานการวิจัย
การใช้คำศัพท์พ้องเสียงภาษาตระกูลไท-จีน
สอนภาษาจีนให้กับผู้เรียนชาวไทย
จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำเสียงอ่านและความหมายของภาษาจีนได้ง่ายขึ้น
โดยที่เสียงและความหมายที่พ้องกันจะเป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
และช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
4. ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อ 1. คือ
ศึกษาภาษาไทยถิ่นอีสานโดยกำหนดตัวแทนภาษาที่เก็บข้อมูล 2 กลุ่ม คือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
แล้วตรวจสอบกับพจนานุกรม จากนั้นนำคำศัพท์ที่ได้มาวิเคราะห์จัดประเภท
ขอบเขตการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อ 2. คือ
การทดลองและสำรวจกับกลุ่มประชากรในหลักสูตรภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โดยทำการทดลองกับนักศึกษาที่พูดภาษไทยถิ่นอีสานเป็นภาษาแม่
5. วิธีดำเนินการวิจัย
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สองข้อที่ตั้งไว้ การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นสองช่วง คือ
5.1 ช่วงที่หนึ่ง
การศึกษาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาภาษาไทยถิ่นอีสานจากตัวแทนภาษาที่เก็บข้อมูลสองกลุ่ม คือ
จากเจ้าของภาษาที่พูดภาษาไทยถิ่นอีสานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและจากเจ้าของภาษาที่พูดภาษาไทยถิ่นอีสานภาคตะวันออกเฉียง
เหนือตอนบน นำคำศัพท์ที่ได้ตรวจสอบกับพจนานุกรม
จากนั้นนำคำศัพท์ที่ได้มาวิเคราะห์จัดประเภทตามลักษณะการพ้อง
แล้วเขียนอรรถาธิบายความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
5.2 ช่วงที่สอง
การทดลองใช้คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่มีความสัมพันธ์กับภาษาจีนสอนภาษาจีนให้กับผู้เรียนที่พูดภาษาไทยถิ่นอีสานเป็นภาษาแม่
ในการวิจัย
การวิจัยช่วงนี้คัดเลือกคำศัพท์ที่ได้จากผลการศึกษาช่วงที่
1 มาใช้ในการทดลอง โดยกำหนดปัจจัยในการทดลอง ดังนี้
5.2.1 การคัดเลือกคำศัพท์ คำศัพท์ที่นำมาใช้ในการทดสอบมีสองกลุ่มคือ
5.2.1.1 คำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อย
เลือกมาจากการประมวลผลทางสถิติความถี่อักษรจีนใช้บ่อย 50 อันดับแรก (เลือกมาจาก
เมชฌ:2554) แบ่งเป็น
A.1
ทดสอบการรู้จำเสียงอ่าน
A.2 ทดสอบการรู้จำความหมาย
5.1.1.2
คำพ้องภาษาไทย – จีน จำนวน
50 คำ แบ่งเป็น
B.1 ทดสอบการรู้จำเสียงอ่าน
B.2 ทดสอบการรู้จำความหมาย
5.2.2 วิธีการเก็บข้อมูล
5.2.2.1
กำหนดผู้ทำแบบทดสอบ เป็นนักศึกษาเอกภาษาจีน ชั้นปีที่ 2 (จำนวน 30 คน)
ชั้นปีที่ 3 (จำนวน 36 คน) และชั้นปี 4 (จำนวน 24 คน) เนื่องจากนักศึกษาชั้นปีที่
2 ปี 3 และปี 4 ได้เรียนภาษาจีนเทียบเท่ากับการสอบวัดระดับภาษาจีนระดับกลางขึ้นไป
ซึ่งครอบคลุมอักษรจีนใช้บ่อย 50 คำที่ใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษาแล้ว
และผ่านการเรียนวิชาภาษาศาสตร์ภาษาจีนมาแล้ว มีความรู้และแนวคิดเรื่องคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาจีน
– ไทย
จากการเรียนวิชาภาษาศาสตร์จีน ประเด็นภาษาศาสตร์ประวัติศาสตร์มาแล้ว
5.2.2.2 วิธีการทดสอบ ให้ผู้ทำแบบทดสอบทำแบบทดสอบสองครั้ง
คือ
(1) การทำแบบทดสอบก่อนเรียน ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ
คำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อย ตาราง A1 A2 และ
คำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย-จีน ตาราง B1 B2
(2)
อธิบายเนื้อหา เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนแล้ว ก่อนที่จะทำแบบทดสอบหลังเรียน ผู้วิจัยนำคำศัพท์ที่จะทำการทดสอบจากทั้งสองตาราง
สอนให้กับผู้ทำแบบทดสอบใช้เวลา 1
ชั่วโมง
(3)
การทำแบบทดสอบหลังเรียน ให้กลุ่มประชากรทำแบบทดสอบ คำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อย ตาราง
A1
A2 และ คำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย-จีน ตาราง B1 B2 ซ้ำอีกครั้ง
5.2.2.3 การสังเคราะห์ข้อมูล
(1) ตรวจแบบทดสอบแล้วให้เป็นค่าคะแนนคำละ 1
คะแนน เต็ม 50 คะแนน
(2) ประมวลผลคะแนนโดยใช้สถิติพรรณนา
5.2.2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
(1)
วิเคราะห์ผลคะแนนเฉลี่ย
(3) เปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน
(4) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบคำศัพท์กลุ่ม
A และ กลุ่ม B
(5) เปรียบเทียบพัฒนาการโดยดูจากร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการทำแบบทดสอบก่อน
เรียนและหลังเรียน
5.2.2.5 ประมวลผล
จากการอ่านค่าคะแนน แล้วสรุปวิเคราะห์ข้อมูลตาม
สมมติฐานที่วางไว้
5.2.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมมติฐานว่า
ผู้เรียนจะสามารถจดจำคำศัพท์
ภาษาจีนได้ดีขึ้นจากการเรียนคำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย
– จีน
ดังนั้นจึงกำหนดการทำแบบทดสอบสองครั้ง และสองเรื่องเพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน
คือ
จำนวนครั้งที่ทำแบบทดสอบ คือการทำแบบทดสอบก่อนเรียน กับการทำแบบทดสอบหลังเรียน
เนื้อหาในการทดสอบ
คือ คำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อย(เสียงและความหมาย) กับคำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย – จีน (เสียงและความหมาย) โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
แบบทดสอบ A คำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อย
เป็นอักษรภาษาจีนที่มีความถี่การใช้สูงสุดเรียงลำดับตั้งแต่อันดับที่ 1– 50 ใช้สำหรับทดสอบความสามารถในการจดจำเสียงและความหมายของคำศัพท์
แบ่งเป็นสองตาราง คือ A1 และ A2 ดังนี้
ตาราง A1:การทดสอบการรู้จำเสียงอ่าน ในตารางมีข้อมูลอักษรจีน และคำแปลภาษาไทย
เว้นช่องว่างให้ผู้ทำแบบทดสอบเติมคำอ่านตามระบบพินอิน ดังนี้
的
|
一
|
了
|
是
|
我
|
不
|
在
|
人
|
们
|
有
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ของ
|
หนึ่ง
|
แล้ว
|
เป็น
|
ฉัน
|
ไม่
|
อยู่
|
คน
|
พวก
|
มี
|
来
|
他
|
这
|
上
|
着
|
个
|
地
|
到
|
大
|
里
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
มา
|
เขา
|
นี่
|
บน
|
กำลัง
|
อัน
|
ที่
|
ถึง
|
ใหญ่
|
ใน
|
说
|
就
|
去
|
子
|
得
|
也
|
和
|
那
|
要
|
下
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พูด
|
ก็
|
ไป
|
ลูก
|
ได้
|
ก็
|
และ
|
นั่น
|
เอา
|
ล่าง
|
看
|
天
|
时
|
过
|
出
|
小
|
么
|
起
|
你
|
都
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดู
|
ฟ้า
|
เวลา
|
ผ่าน
|
ออก
|
เล็ก
|
อะไร
|
ขึ้น
|
คุณ
|
ล้วน
|
把
|
好
|
还
|
多
|
没
|
为
|
又
|
可
|
家
|
学
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
นำไป
|
ดี
|
ยัง
|
มาก
|
ไม่มี
|
เพื่อ
|
อีก
|
ได้
|
บ้าน
|
เรียน
|
ตาราง A2 :การทดสอบการรู้จำความหมาย
ในตารางมีข้อมูลอักษรจีนและเสียงอ่านพินอิน ผู้ทำแบบทดสอบเติมความหมายของคำ ดังนี้
的
|
一
|
了
|
是
|
我
|
不
|
在
|
人
|
们
|
有
|
de
|
yī
|
le
|
shì
|
wǒ
|
bú
|
zài
|
rén
|
men
|
yǒu
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
来
|
他
|
这
|
上
|
着
|
个
|
地
|
到
|
大
|
里
|
lái
|
tā
|
zhè
|
shànɡ
|
zhe
|
ɡè
|
dì
|
dào
|
dà
|
lǐ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
说
|
就
|
去
|
子
|
得
|
也
|
和
|
那
|
要
|
下
|
shuō
|
jiù
|
qù
|
zǐ
|
dé
|
yě
|
hé
|
nà
|
yào
|
xià
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
看
|
天
|
时
|
过
|
出
|
小
|
么
|
起
|
你
|
都
|
kàn
|
tiān
|
shí
|
ɡuò
|
chū
|
xiǎo
|
me
|
qǐ
|
nǐ
|
dōu
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
把
|
好
|
还
|
多
|
没
|
为
|
又
|
可
|
家
|
学
|
bǎ
|
hǎo
|
hái
|
duō
|
méi
|
wéi
|
yòu
|
kě
|
jiā
|
xué
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แบบทดสอบ B คำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย-จีน จำนวน 50 คำ โดยคัดเลือกมาจากงานวิจัยเรื่อง การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เรื่อง
“คำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน
ในภาษาไทยถิ่นอีสาน”(เมชฌ:2554) โดยคัดเลือกจากกลุ่มคำที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
แบ่งเป็นสองตาราง คือ B1 และ B2 ดังนี้
ตาราง B1:การทดสอบการรู้จำเสียงอ่าน ในตารางมีข้อมูลอักษรจีน
และคำแปลภาษาไทย(ภาษาไทยถิ่นอีสาน) เว้นช่องว่างให้ผู้ทำแบบทดสอบเติมคำอ่านตามระบบพินอิน
ดังนี้
弓
|
拱
|
广
|
关
|
改
|
过
|
窗
|
城
|
双
|
洒
|
โค้ง
|
โก่ง
|
กว้าง
|
กวม
|
แก้
|
กว่า
|
ช่อง
|
เชียง
|
สอง
|
ซะ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
实
|
消
|
象
|
村
|
早
|
酸
|
爽
|
喷
|
说
|
朵
|
สื่อ
|
เซา
|
ซ่าง
|
ซุม
|
เช้า
|
ส่ม
|
ส่วง
|
พ่น
|
โส
|
ดอก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
墩
|
顶
|
钝
|
下
|
淌
|
桶
|
亭
|
天
|
条
|
退
|
ดอน
|
ติ่ง
|
ตู้
|
เฮี่ย
|
ถั่ง
|
ถัง
|
เถียง
|
แถน
|
แถว
|
ถอย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
待
|
疯
|
扁
|
罢
|
失
|
涂
|
棚
|
摇
|
累
|
钩
|
ถ่า
|
ป่วง
|
แป
|
ป๋า
|
เสีย
|
ถู
|
เพิง
|
เขย่า
|
ล่อย
|
เกี่ยว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
话
|
晕
|
献
|
闷
|
恒
|
虹
|
还
|
诱
|
害
|
喊
|
เว่า
|
วิน
|
เซ่น
|
หมึน
|
เหิง
|
ฮุ่ง
|
หวน
|
ยั่ว
|
ฮ่าย
|
เอิ้น
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ตาราง B2 :การทดสอบการรู้จำความหมาย ในตารางมีข้อมูลอักษรจีนและเสียงอ่านพินอิน
ผู้ทำแบบทดสอบเติมความหมายของคำ
ดังนี้
弓
|
拱
|
广
|
关
|
改
|
过
|
窗
|
城
|
双
|
洒
|
ɡōnɡ
|
ɡǒnɡ
|
ɡuǎnɡ
|
ɡuān
|
ɡǎi
|
ɡuò
|
chuānɡ
|
chénɡ
|
shuānɡ
|
sǎ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
实
|
消
|
象
|
村
|
早
|
酸
|
爽
|
喷
|
说
|
朵
|
shí
|
xiāo
|
xiànɡ
|
cūn
|
zǎo
|
suān
|
shuǎnɡ
|
pēn
|
shuō
|
duǒ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
墩
|
顶
|
钝
|
下
|
淌
|
桶
|
亭
|
天
|
条
|
退
|
dūn
|
dǐnɡ
|
dùn
|
xià
|
tǎnɡ
|
tǒnɡ
|
tínɡ
|
tiān
|
tiáo
|
tuì
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
待
|
疯
|
扁
|
罢
|
失
|
涂
|
棚
|
摇
|
累
|
钩
|
dài
|
fēnɡ
|
biǎn
|
bà
|
shī
|
tú
|
pénɡ
|
yáo
|
lèi
|
ɡōu
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
话
|
晕
|
献
|
闷
|
恒
|
虹
|
还
|
诱
|
害
|
喊
|
huà
|
yūn
|
xiàn
|
mèn
|
hénɡ
|
hónɡ
|
huán
|
yòu
|
hài
|
hǎn
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
6.
ผลการวิจัย
เนื่องจากงานวิจัยครั้งนี้เน้นคำศัพท์ที่สันนิษฐานว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยถิ่นอีสาน
– จีน
ผู้ทำแบบทดสอบเป็นนักศึกษาที่พูดภาษาไทยถิ่นอีสานเป็นภาษาแม่
ดังนั้นข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยเรื่อง การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เรื่องคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท
– จีนในภาษาไทยถิ่นอีสาน
ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2555 จึงขอยกมาอธิบายเพื่อสรุปให้เป็นแนวคิดเกี่ยวกับวงคำศัพท์ที่จะนำมาใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ดังต่อไปนี้
6.1.1
แนวคิดเกี่ยวกับคำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย – จีน (ภาษาไทยถิ่นอีสาน)
ภาษาไทยถิ่นอีสานเป็นภาษาถิ่น(dialect) หนึ่งของภาษาไทยมาตรฐาน (standard
language)
เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักภาษาศาสตร์และผู้รู้ภาษาไทยและภาษาไทยถิ่นอีสานว่า
ความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับภาษาไทยถิ่นอีสานต่างกันเพียงเป็นภาษามาตรฐานกับภาษาถิ่นเท่านั้น
ซึ่งหมายความว่ามีความใกล้ชิดกันเป็นภาษาเดียวกัน อาจมีเพียงเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะ
หรือสระในบางคำเท่านั้นที่ต่างกัน แต่เสียงที่ต่างกันนั้นมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เช่น
เสียง /h/ ในภาษาไทยถิ่นอีสาน เป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง /r/ ในภาษาไทยกลาง เช่น เฮือน – เรือน/
ฮ่าน–ร้าน / เฮือ– เรือ / ฮ่อง –ร้อง/ ฮ่อน– ร้อน / ฮัก – รัก
เป็นต้น
แต่นอกเหนือจากคำที่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูลไทแล้ว
ในภาษาไทยถิ่นอีสานยังมีคำที่ไม่มีในภาษาไทยอีกเป็นจำนวนมาก
เรียกได้ว่าเป็นคำที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูลไท
คำเหล่านี้มีต้นตอมาจากที่ใด ยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัด แต่ในฐานะที่ภาษาไทยถิ่นอีสานเป็นภาษาที่สัมพันธ์กับภาษาไทยเป็นแบบภาษาพี่น้องกัน
ในขณะที่ภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับภาษาจีนแบบภาษาร่วมตระกูล
ดังนั้นจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า
คำภาษาไทยถิ่นอีสานที่ไม่มีในภาษาไทยดังกล่าวนี้มีความสัมพันธ์กับภาษาจีน
เนื่องจากสามารถหาคู่คำที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายได้
ยกตัวอย่างเช่น
ภาษาไทยถิ่นอีสานคำว่า “ส่วง”
ตรงกับภาษาจีนคำว่า 爽 (shuǎnɡ) หมายถึง ปลอดโปร่ง โล่งสบาย
คำภาษาไทยถิ่นอีสานว่า “เหิง”
ตรงกับภาษาจีนคำว่า 恒 (hénɡ) หมายถึง ยาวนาน
คำภาษาไทยถิ่นอีสานว่า “จ่าน” ตรงกับภาษาจีนคำว่า 展 (zhǎn) หมายถึง
แผ่ออก ขยายออก
คำบางกลุ่มอาจมีเสียงแตกต่างกันไปบ้าง
แต่ยังเหลือเค้าความคล้ายคลึงให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นคำที่มีความสัมพันธ์กัน
และที่สำคัญยังคงความหมายตรงกันด้วย เช่น ภาษาไทยถิ่นอีสานคำว่า “ซอง หรือ ซ่อง”
คล้ายกับภาษาจีนคำว่า 双(shuānɡ) หมายถึง ลักษณะสิ่งของที่เป็นคู่ ภาษาไทยถิ่นอีสานคำว่า “ซะ”
คล้ายกับภาษาจีนคำว่า 洒(sǎ) หมายถึง
หว่าน โปรย กระจัดกระจาย
จากคำศัพท์ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นจะเห็นว่า
คำในภาษาไทยถิ่นอีสานมีร่องรอยความสัมพันธ์กับคำในภาษาจีน
และจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์ก็สามารถยืนยันได้ว่า
ภาษาทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในฐานะภาษาร่วมตระกูลกันจริง เพียงแต่ว่า ณ ปัจจุบัน
ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเพื่อพิสูจน์ หรือกล่าวถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้
ผลจากการศึกษาในครั้งนี้
เป็นหลักฐานสนับสนุนการศึกษาด้านภาษาตระกูลไทให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน
และการวิจัยด้านการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับนักเรียนในภาคอีสานต่อไป
6.1.2
ทฤษฎี สมมุติฐาน และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย
นักวิชาการจีนเห็นว่า ภาษาตระกูลจีนทิเบต
แบ่งเป็น สาขาภาษาฮั่น สาขาทิเบตพม่า สาขาภาษาเย้า สาขาภาษาจ้วงต้ง ในสาขาจ้วงต้ง แบ่งเป็นกลุ่มภาษาจ้วงไต
กลุ่มภาษาต้งสุย กลุ่มภาษาหลี ในกลุ่มภาษาจ้วงไต มีสมาชิกคือ ภาษาไต ภาษาไทย
และภาษาลาว ดังแผนภูมิต่อไปนี้
จากแผนภูมิจะเห็นว่า ภาษาไทยถิ่นอีสานมีสายใยที่สามารถสืบสาวความสัมพันธ์ไปถึงภาษาจีนได้
และยังมีข้อสนับสนุนตามแนวคิดทางประวัติศาสตร์ที่ว่า
บรรพบุรุษของชาวอีสานที่แต่เดิมกระจายตัวอยู่ทางตอนใต้ของจีน
ได้ขยายเขตที่อยู่อาศัยลงมาถึงตอนเหนือของลาว แล้วเลยเข้าสู่ภาคอีสานของไทย
แน่นอนว่าหลักฐานทางภาษามีความสำคัญมาก จากการสังเกตคำในภาษาไทยถิ่นอีสานพบว่า
มีคำภาษาไทยถิ่นอีสานที่ไม่มีในภาษาไทย
หรือเรียกว่าเป็นคำที่ไม่ร่วมเผ่าพันธุ์กับภาษาตระกูลไท
แต่กลับเหมือนกับคำในภาษาจีนทั้งเสียงและความหมาย อย่างที่นักภาษาศาสตร์เรียกว่า “คำศัพท์ร่วมเชื้อสาย” ส่วนคำที่คล้ายกัน มีความคล้ายคลึงอย่างเป็นระบบ
และสามารถอธิบายได้ด้วยเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ เช่น มีการกร่อน สูญหาย กลาย แปร ปฏิภาค
เกิดพยางค์ใหม่ เป็นต้น จึงถือได้ว่า
คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
ผลของการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับภาษาร่วมตระกูลไท-จีน
6.1.3
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคำศัพท์ในภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
จากการศึกษาสามารถจับคู่คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีนที่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ เป็นคำโดด 407 คำ[3]
และคำเสริมสร้อยสองพยางค์จำนวน 176 คำ ในงานวิจัยนี้เลือกเฉพาะคำโดดที่มีความสัมพันธ์กัน
มาใช้เป็นเครื่องมือ โดยแบ่งเป็นคำโดดที่เหมือนกัน และคำโดดที่สัมพันธ์กัน ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้
6.1.3.1 คำโดดที่เหมือนกัน คือคำที่ออกเสียงเหมือนกัน
และมีความหมายเหมือนกัน ข้อแตกต่างมีเพียงเสียงวรรณยุกต์เท่านั้น ดังตัวอย่าง
คำภาษาไทย
ถิ่นอีสาน
|
ความหมาย
|
คำภาษาจีน
|
คำอ่าน
|
ความหมาย
|
จ่าน
|
ขยายออก แผ่ออก
|
展
|
zhǎn
|
ขยายออก แผ่ออก
|
ส่วง
|
โปร่ง โล่ง สบาย
|
爽
|
shuǎnɡ
|
โปร่งโล่ง สบาย
|
เหิง
|
ยาวนาน
|
恒
|
hénɡ
|
ยาวนาน
|
โข่ง
|
กลวง เปล่า
|
空
|
kōnɡ
|
กลวง ว่างเปล่า
|
กง
|
เที่ยงธรรม ยุติธรรม
|
公
|
ɡōnɡ
|
ยุติธรรม เที่ยงธรรม
|
6.1.3.2
คำโดดที่สัมพันธ์กัน คือคำที่มีการแปรของเสียง
การกร่อน หรือสูญหายของเสียงใดเสียงเหนึ่ง แต่ยังคงรูปคำเดิม
สามารถสืบสาวถึงความสัมพันธ์ได้ แบ่งได้ดังนี้
ก. การกร่อนและการสูญหายของเสียง เกิดจากเสียงบางเสียงเกิดการกร่อนหรือแปรไปเป็นเสียงที่มีฐานกรณ์ใกล้เคียงกัน
หรือเสียงสระใดสระหนึ่งในสระประสมสูญหายไป
หรือพยัญชนะท้ายเกิดการกลายเสียงหรือสูญหาย เช่น
คำภาษาไทย
ถิ่นอีสาน
|
ความหมาย
|
คำภาษาจีน
|
คำอ่าน
|
ความหมาย
|
โส
|
คุยกัน สนทนากัน
|
说
|
shuō
|
พูด คุย
|
ตู้
|
ทู่ ไม่คม
|
钝
|
dùn
|
ทู่ ไม่คม
|
ฮง[4]
|
สุกใส
แวววาวเป็นประกาย
|
晃
|
huāng
|
แสงจ้าตา สว่างจ้าตา
|
แถน
|
เทวดา
|
天
|
tiān
|
ฟ้า เทวดา
|
ฝุง
|
ปะ เย็บ
|
缝
|
fénɡ
|
ปะ เย็บ
|
ข.
การเป็นเสียงปฏิภาค พบเสียงปฏิภาคหลายคู่ และหลายคำ
เช่น / p- ph /, /p – f / , /th
– t /, / d – t / ดังตัวอย่างต่อไปนี้
/ p- ph / ตัวอย่างเช่น
เปิง
|
เพิง ชานที่เปิดโล่ง
|
棚
|
pénɡ
|
เพิงกลางแจ้ง
|
ปุ้ง
|
ใหญ่ พอง โต ขยาย
|
膨
|
pénɡ
|
ขยายใหญ่ พองใหญ่ขึ้น
|
/p – f / ตัวอย่างเช่น
ป่ง
|
ผลิออก งอก
|
丰
|
fēnɡ
|
อุดมสมบูรณ์
|
ป่วง
|
บ้า
|
疯
|
fēnɡ
|
บ้า
|
/th – t / ตัวอย่างเช่น
ท่าว
|
ล้ม
|
掉
|
diào
|
ล้ม
|
เท็ง
|
ยอด
|
顶
|
dǐnɡ
|
ยอดบนสุด
|
/
d – t / ตัวอย่างเช่น
ดอน
|
เนินสูง
|
墩
|
dūn
|
เนินดิน
|
ดะ
|
ปะทะ กระทบ
|
打
|
dǎ
|
ตี
|
ค. เป็นเสียงปฏิภาคกับภาษาไทย
แต่เป็นเสียงเดียวกันกับภาษาจีน หมายความว่า
เสียงที่ภาษาไทยถิ่นอีสานเป็นเสียงปฏิภาคกับภาษาไทย
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาจีนแล้ว มีความใกล้ชิดมากกว่า คือ เป็นเสียงเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
- คู่เสียงพยัญชนะต้น /r/ - /h/ [5] เป็นที่ทราบกันดีว่าคำที่มีเสียงพยัญชนะต้น
ฮ ในภาษาไทยถิ่นอีสาน
เป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง ร ในภาษาไทยกลาง เช่น ฮ้าย-ร้าย / ฮง –รม / ฮ่าน – ร้าน / ฮุ่ง – รุ้ง/
ฮอง– รอง / เฮือง – เรือง แต่ในขณะที่เสียง ฮ
ในภาษาไทยถิ่นอีสานในคำที่คู่กับเสียง ร ในภาษาไทยนี้ สามารถหาคู่คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นเสียง / h/ ในภาษาจีนได้เป็นส่วนใหญ่ เช่น
คำภาษาไทยถิ่นอีสาน
|
คำภาษาไทยกลาง
|
คำภาษาจีน
|
คำอ่าน
|
ฮ่าย
|
ร้าย
|
害
|
hài
|
ฮง
|
รม
|
烘
|
hōnɡ
|
ฮ่าน
|
ร้าน
|
閈
|
hàn
|
ฮุ่ง
|
รุ้ง
|
虹
|
hónɡ
|
ฮ่วน
|
ร่ำ
|
唤
|
huàn
|
- คู่เสียงพยัญชนะต้น
/ l/
คำภาษาจีนปัจจุบันที่ขึ้นด้วยพยัญชนะต้นเสียง /l/ มีเสียงโบราณคือ /g.r/ เสียงดังกล่าวนี้ มีบางคำตรงกับภาษาไทยกลางเสียง
/gr, khr/ และมีบางคำพยัญชนะต้น /g/
กร่อนหายไป เหลือเป็นพยัญชนะต้นเสียง /r/ ในภาษาไทยกลาง แต่ในภาษาจีนพบว่า เสียง /r/
เกิดการกลายเสียงเป็น /l/
และในภาษาไทยถิ่นอีสานเสียงภาษาจีนโบราณดังกล่าวนี้ เกิดการกลายเสียงเป็น /l/ และ /k,h/ ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
คำภาษาไทย
ถิ่นอีสาน
|
คำภาษาไทย
กลาง
|
คำภาษา
จีน
|
เสียงภาษา
จีนโบราณ
|
เสียงภาษาจีนกลาง
ปัจจุบัน
|
ลัง
|
รัง
|
量
|
g.raaN
|
liànɡ
|
เฮือง
|
เรือง
|
亮
|
g.raaN
|
liànɡ
|
ฮิน
|
ริน
|
涟
|
g.ren
|
lián
|
กั้น
|
(กั้น)
|
栏
|
g.raan
|
lán
|
กิ่ง
|
(กริ่ง)
|
铃
|
g.reeN
|
línɡ
|
คาม
|
(คราม)
|
蓝
|
g.raam
|
lán
|
ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ของเสียง
/l/ ในภาษาจีนปัจจุบัน กับเสียง /r,kr,khr/
ในภาษาไทยกลาง และเสียง /l,k,h/
ในภาษาไทยถิ่นอีสานเป็นดังนี้
|
/r/ → ภาษาจีนกลาง /l/
|
||
|
Ì
|
|
|
เสียงภาษาจีนโบราณ /gr/,/hr/
|
→
|
中古 /Ä/ →
|
ไทยถิ่นอีสาน /h/
|
|
Í
|
|
|
|
ไทยกลาง /gr/ ,/r/
(ช่วงเปลี่ยน : r → l)
|
- คู่เสียงสระ /uo/ คำที่ภาษาไทยถิ่นอีสานออกเสียงสระ /uo/ ภาษาไทยออกเสียงสระ /ua หรือ / เช่น
ดวก – ดอก / กั่ว – กว่า / สวง – สอง
/ ก้วง – กว้าง / ขวง –
ขวาง/ เสียงสระนี้ของภาษาไทยถิ่นอีสาน ตรงกับเสียงของคำในภาษาจีน ดังตัวอย่าง
คำภาษาไทย
ถิ่นอีสาน
|
คำภาษาไทย
กลาง
|
คำภาษาจีน
|
คำอ่าน
|
ดวก
|
ดอก
|
朵
|
duǒ
|
กั่ว
|
กว่า
|
过
|
ɡuò
|
สวง
|
สอง
|
双
|
shuānɡ
|
ก้วง,ขวง
|
กว้าง ,ขวาง
|
广阔
|
ɡuǎnɡ kuò
|
- คู่เสียงสระ / ia/ จากการเปรียบเทียบพบว่า คำที่ภาษาไทยออกเสียงสระ
/®a/ เอือ
ภาษาไทยถิ่นอีสานออกเสียงสระ /ia/ เช่น มะเขีย – มะเขือ / เกีย – เกลือ / เสี่ย – เสื่อ / เพี่ยน – เพื่อน / เสียงสระนี้ของภาษาไทยถิ่นอีสาน ตรงกับเสียงสระ /ia/ หรือ /i/ หรือ /a/
ในภาษาจีน เช่น
คำภาษาไทย
ถิ่นอีสาน
|
คำภาษาไทย
กลาง
|
คำภาษาจีน
|
คำอ่าน
|
มะเขีย
|
มะเขือ
|
茄
|
qié
|
เกีย
|
เกลือ
|
盐
|
yán
|
เสี่ย
|
เสื่อ
|
席
|
xí
|
เพี่ยน
|
เพื่อน
|
伴
|
bàn
|
6.2 ผลการทดลองการใช้คำพ้องเสียงภาษาตระกูลไท-จีน
สอนภาษาจีนให้กับนักเรียนไทย
วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้มี สองประการ คือ
เพื่ออธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
เนื้อหาส่วนนี้สรุปมาจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์
เรื่อง ความสัมพันธ์ของคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน”
และได้อธิบายไปแล้วในหัวข้อที่ผ่านมา
เพื่อทดลองใช้คำพ้องเสียงภาษาตระกูลไท-จีน
สอนภาษาจีนให้กับนักเรียนไทย ซึ่งได้ดำเนินการทดลอง
ตามวิธีวิจัยที่ตั้งไว้ ผลการทดลองเป็นดังนี้
6.2.1 ข้อมูลคะแนนการทำแบบทดสอบ
หัวข้อนี้เป็นผลคะแนนเฉลี่ยที่ประมวลจากการทำแบบทดสอบ
มีวิธีการคำนวนดังนี้
วิธีการคำนวณ
นำผลคะแนนของแต่ละคนมารวมกัน = X
นำผลรวมของ X มาหารกับจำนวนประชากรทั้งหมด = X ÷ Y
?+?+? = X
Y
ผลคะแนนเฉลี่ย = MEAN
6.2.1.1 ผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียนคำศัพท์กลุ่ม A คำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อย
พบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนของการรู้จำเสียงอ่านคิดเป็น 45.57
คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนของการรู้จำความหมายคิดเป็น 43.33
จะเห็นว่าการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
ผู้เรียนรู้จำเสียงอ่านและความหมายของคำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อยในระดับที่ใกล้เคียงกัน
โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยในระดับสูง ดังสรุปในตารางต่อไปนี้
ตาราง
|
การทดสอบภาษาจีนใช้บ่อย
|
คะแนนเฉลี่ย
MEAN
|
A1 ก่อนเรียน
|
การรู้จำเสียงอ่าน
|
45.57
|
A2 ก่อนเรียน
|
การรู้จำความหมาย
|
43.33
|
6.2.1.2 ผลการทำแบบทดสอบก่อนเรียนคำศัพท์กลุ่ม B คำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย-จีน
พบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนของการรู้จำเสียงอ่านคิดเป็น 20.33 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนของการรู้จำความหมายคิดเป็น
13.71 จะเห็นว่าการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
ผู้เรียนรู้จำเสียงอ่านคำพ้องเสียงภาษาไทย-จีนมากกว่าการรู้จำความหมาย
อย่างไรก็ตาม ค่าคะแนนเฉลี่ยยังอยู่ในระดับต่ำ
ดังสรุปในตารางต่อไปนี้
ตาราง
|
การทดสอบคำศัพท์พ้องเสียง
|
คะแนนเฉลี่ย MEAN
|
B1 ก่อนเรียน
|
การรู้จำเสียงอ่าน
|
20.33
|
B2 ก่อนเรียน
|
การรู้จำความหมาย
|
13.71
|
6.2.1.3
ผลการทำแบบทดสอบหลังเรียน คำศัพท์กลุ่ม
A คำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อย
พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของการรู้จำเสียงอ่านคิดเป็น 48.14
คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของการรู้จำความหมายคิดเป็น 48.48 จะเห็นว่าการทำแบบทดสอบหลังเรียน
ผู้เรียนรู้จำเสียงอ่านและความหมายของคำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อยในระดับที่ใกล้เคียงกัน
ค่าคะนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงเหมือนกับค่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยในระดับสูง ดังสรุปในตารางต่อไปนี้
ตาราง
|
การทดสอบภาษาจีนใช้บ่อย
|
คะแนนเฉลี่ย MEAN
|
A1 หลังเรียน
|
การรู้จำเสียงอ่าน
|
48.14
|
A2 หลังเรียน
|
การรู้จำความหมาย
|
48.48
|
6.2.1.4
ผลการทำแบบทดสอบหลังเรียน คำศัพท์กลุ่ม
B คำศัพท์พ้องเสียงภาษาไทย – จีน พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของการรู้จำเสียงอ่านคิดเป็น 39.05
คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของการรู้จำความหมายคิดเป็น 34.67 จะเห็นว่าการทำแบบทดสอบหลังเรียน
ผู้เรียนรู้จำเสียงอ่านและความหมายของคำพ้องภาษาไทย-จีนได้ในระดับที่ใกล้เคียงกัน
โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยในระดับปานกลาง ดังสรุปในตารางต่อไปนี้
ตาราง
|
การทดสอบคำพ้องเสียง
|
คะแนนเฉลี่ย MEAN
|
B1 หลังเรียน
|
การรู้จำเสียงอ่าน
|
39.05
|
B2 หลังเรียน
|
การรู้จำความหมาย
|
34.67
|
6.2.2
การเปรียบเทียบผลการทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน
ในหัวข้อนี้เป็นการคำนวณหาร้อยละที่เพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ย
มีวิธีคำนวณดังนี้
วิธีการคำนวณ
คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียน = X คะแนน
ลบคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียน = Y คะแนน
คะแนนที่เพิ่มขึ้นหลังเรียน = X – Y = R คะแนน
ดังนั้น จำนวนร้อยละที่เพิ่มขึ้นของคะแนนก่อนเรียน = R
x 100
X
= ร้อยละที่เพิ่มขึ้น
6.2.2.1 เปรียบเทียบผลการทดสอบคำศัพท์กลุ่ม A1 คำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อย ก่อนเรียน – หลัง
เรียน ผลคะแนนชี้ให้เห็นว่า
หลังเรียนผู้เรียนรู้จำเสียงอ่านภาษาจีนใช้บ่อยได้มากขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
คิดเป็น
5.64% แสดงในตารางและกราฟต่อไปนี้
ตาราง
|
การทดสอบ
ภาษาจีนใช้บ่อย
|
คะแนนเฉลี่ย
MEAN
|
|
A1 ก่อนเรียน
|
การรู้จำเสียงอ่าน
|
45.57
|
|
A1 หลังเรียน
|
การรู้จำเสียงอ่าน
|
48.14
|
|
จำนวนร้อยละที่เพิ่มขึ้นหลังเรียน
|
5.64
|
6.2.2.2 เปรียบเทียบผลการทดสอบคำศัพท์กลุ่ม A2 คำศัพท์ภาษาจีนใช้บ่อย ก่อนเรียน – หลังเรียน ผลคะแนนชี้ให้เห็นว่า หลังเรียนผู้เรียนรู้จำความหมายของภาษาจีนใช้บ่อยได้มากขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
คิดเป็น 11.88% แสดงในตารางและกราฟต่อไปนี้
ตาราง
|
การทดสอบ
ภาษาจีนใช้บ่อย
|
คะแนนเฉลี่ย
MEAN
|
|
A2 ก่อนเรียน
|
การรู้จำความหมาย
|
43.33
|
|
A2 หลังเรียน
|
การรู้จำความหมาย
|
48.48
|
|
จำนวนร้อยละที่เพิ่มขึ้นหลังเรียน
|
11.88
|
6.2.2.3
เปรียบเทียบผลการทดสอบคำศัพท์กลุ่ม B1 คำศัพท์พ้องเสียง ก่อนเรียน – หลังเรียน
ผลคะแนนชี้ให้เห็นว่า
หลังเรียน ผู้เรียนรู้จำเสียงอ่านของคำพ้องเสียงภาษาไทย-จีนได้มากขึ้นกว่าเดิมในระดับสูง
คิดเป็น 92.08% แสดงในตารางและกราฟต่อไปนี้
ตาราง
|
คำพ้องเสียง
|
คะแนนเฉลี่ย
MEAN
|
|
B1 ก่อนเรียน
|
การรู้จำเสียงอ่าน
|
20.33
|
|
B1 หลังเรียน
|
การรู้จำเสียงอ่าน
|
39.05
|
|
จำนวนร้อยละที่เพิ่มขึ้นหลังเรียน
|
92.08
|
6.2.2.4 เปรียบเทียบผลการทดสอบคำศัพท์กลุ่ม B2 คำศัพท์พ้องเสียง ก่อนเรียน – หลังเรียน ผลคะแนนชี้ให้เห็นว่า หลังเรียน
ผู้เรียนรู้จำความหมายของคำพ้องเสียงภาษาไทย-จีนได้มากขึ้นกว่าเดิมในระดับสูง
คิดเป็น 152.88% แสดงในตารางและกราฟต่อไปนี้
ตาราง
|
การทดสอบ
คำพ้องเสียง
|
คะแนนเฉลี่ย
MEAN
|
|
B2 ก่อนเรียน
|
การรู้จำความหมาย
|
13.71
|
|
B2 หลังเรียน
|
การรู้จำความหมาย
|
34.67
|
|
จำนวนร้อยละที่เพิ่มขึ้นหลังเรียน
|
152.88
|
7.
สรุปผลการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยครั้งนี้มีสองประเด็นคือ
1.เพื่ออธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ
ภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
และ 2. เพื่อทดลองใช้คำพ้องเสียงภาษาตระกูลไท-จีน สอนภาษาจีนให้กับนักเรียนไทย
ผลการวิจัยแบ่งเป็นสองหัวข้อดังนี้
7.1 จากข้อมูลคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่พบในงานวิจัยนี้ พบว่าคำศัพท์ที่เลือกมามีความสัมพันธ์กับภาษาจีนอย่างใกล้ชิดและมีกฎเกณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำในภาษาไทยถิ่นอีสานจำนวนมากที่ไม่มีในภาษาไทย แต่สามารถหาคู่คำสัมพันธ์ในภาษาจีนได้ทั้งที่เป็นคำที่มีเสียงและความหมายเหมือนกัน สัมพันธ์กัน หรือเกี่ยวข้องกัน ประกอบกับหลักฐานของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นประเทศจีนตอนใต้ยังมีกลุ่มชนที่พูดภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาตระกูลไทเป็นจำนวนมาก เช่น ภาษาเบ (Be) ภาษาลักเกีย (Lakkia) ภาษาตระกูลกัม-สุย (Kam-Sui) ภาษาฮลาย(Hlai) ภาษาลักกะ (Laqua) ภาษาเก้อหล่าว (Gelao) เป็นต้น เป็นที่ทราบกันดีว่าภาษาไทยถิ่นอีสานใกล้ชิดเป็นภาษาเดียวกันกับภาษาของคนในประเทศลาว ข้อมูลคำศัพท์และความสัมพันธ์ในงานวิจัยนี้จึงสามารถสนับสนุนแนวคิดที่ว่า คนไทยลาวหรือคนอีสานนั้นเป็นกลุ่มชนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนอย่างใกล้ชิด เหมือนกับที่ภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับภาษาจ้วง และจะด้วยเหตุผลที่อยู่ในความแวดล้อมของภาษาจีน หรือใกล้ชิดกับกลุ่มชนที่พูดภาษาจีน หรือเป็นภาษาเดียวกันกับภาษาจีนมาก่อนก็ตาม แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า ภาษาไทยถิ่นอีสานมีความเกี่ยวข้องกับภาษาจีนแน่นอน สนับสนุนแนวคิดที่ว่าบรรพบุรุษของชาวอีสานที่แต่เดิมกระจายตัวอยู่ทางตอนใต้ของจีน ได้ขยายเขตที่อยู่อาศัยลงมาถึงตอนเหนือของลาว แล้วเลยเข้าสู่ภาคอีสานของไทย
7.2 ผลการทดลองใช้คำพ้องเสียงภาษาตระกูลไท-จีน
สอนภาษาจีนให้กับนักเรียนไทย สรุปได้ว่า
(1)
หลังเรียนผู้เรียนรู้จำเสียงอ่านภาษาจีนใช้บ่อยได้มากขึ้น คิดเป็น 5.64% หรือ 0.06 เท่า
(2) หลังเรียนผู้เรียนรู้จำความหมายของภาษาจีนใช้บ่อยได้มากขึ้น
คิดเป็น 11.88% หรือ 0.12 เท่า
(3) หลังเรียน
ผู้เรียนรู้จำเสียงอ่านของคำพ้องเสียงภาษาไทย-จีนได้มากขึ้น คิดเป็น 92.08% หรือ
0.92 เท่า
(4) หลังเรียน ผู้เรียนรู้จำความหมายของคำพ้องเสียงภาษาไทย-จีนได้มากขึ้น คิดเป็น 152.88% หรือ 1.53 เท่า
สามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบและแผนภูมิได้ดังนี้
กลุ่มคำที่ทดสอบ
|
สิ่งที่ทดสอบ
|
ร้อยละของการเพิ่ม
|
ระดับการเพิ่ม (เท่า)
|
ภาษาจีนใช้บ่อย
|
เสียง
|
5.64
|
0.06
|
|
ความหมาย
|
11.88
|
0.12
|
คำพ้องภาษาไทย-จีน
|
เสียง
|
92.08
|
0.92
|
|
ความหมาย
|
152.88
|
1.53
|
8. อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การศึกษาความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับภาษาจีนเท่าที่ผ่านมาศึกษาเฉพาะภาษาไทยมาตรฐาน
แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบกับภาษาไทยถิ่น
ผลงานการศึกษาในครั้งนี้เป็นการริเริ่มนำภาษาไทยถิ่นอีสานมาเปรียบเทียบกับภาษาจีน
เนื่องจากมองเห็นร่องรอยความสัมพันธ์ตามแผนภูมิภาษาตระกูลจีน – ทิเบต
จากการศึกษาสามารถรวบรวมคำศัพท์ที่น่าสงสัยได้เป็นจำนวนมาก
ผลจากการศึกษาข้างต้น
ในทางวิชาการภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์สามารถใช้เป็นหลักฐานทางภาษาที่ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีนได้
ทั้งยังเป็นข้อสนับสนุนทางประวัติศาสตร์ถึงความสัมพันธ์ของคนไทยถิ่นอีสานกับคนที่พูดภาษาไทที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน
รวมไปถึงคนจีนด้วย
ประโยชน์ของการศึกษาความสัมพันธ์ของภาษานี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับผู้เรียนชาวไทยได้ด้วย
ซึ่งจากผลการทดลองครั้งนี้ก็ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า
ผู้เรียนสามารถจดจำทั้งเสียงและความหมายของคำศัพท์พ้องเสียงได้มากกว่าการเรียนคำศัพท์ตามปกติ
ประเด็นนี้เป็นการนำผู้เรียนเข้าสู่การเรียนภาษาที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำคำศัพท์ได้รวดเร็วแล้ว
ผู้เรียนยังสนใจค้นคว้าหาคำศัพท์ที่มีความสัมพันธ์กันนอกห้องเรียนด้วยตนเอง นับเป็นวิธีการดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองที่มีประสิทธิภาพอีกทางหนึ่ง
9. เอกสารอ้างอิง
กาญจนี ละอองศรี(2525) “การค้นคว้าศึกษาเรื่องถิ่นกำเนิดของคนไทย” เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาของ
สมาคมประวัติศาสตร์ เรื่อง “เวทีความรู้ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน”
ณ ศูนย์สารนิเทศ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย วันที่ 30 – 31 มกราคม 2525.
การพัฒนาหลักสูตรภาษาจีนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน,คณะกรรมการ.(2550)
หลักสูตรภาษาจีนระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1 - 4
จังหวัดอุบลราชธานี.อุบลราชธานี:ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
ขอนแก่น,มหาวิทยาลัย.
(2532) พจนานุกรมภาษาไทยถิ่นอีสาน-กลาง. ขอนแก่น:สหวิทยาลัยอีสาน.
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,สำนักงาน.(2530)
พจนานุกรมภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.กรุงเทพฯ:
อรุณการพิมพ์ .
คำพูน บุญทวี.(2548) พจนานุกรมภาษาไทยถิ่นอีสานฉบับคำพูน
บุญทวี.(พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ:โป๊ยเซียน.
จิตร
ภูมิศักดิ์.(2519) ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. (พิมพ์
ครั้งที่ 1) โครงการตำราสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,
กรุงเทพฯ.
ถนอม อานามวัฒน์และคณะ.(2543)ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย.กรุงเทพฯ:วัฒนาพานิช .
ไทย-ลาว,สมาคม.(2546) ปทานุกรมคำพ้องไทย-ลาว.กรุงเทพฯ:มติชน.
เธียรชัย
เอี่ยมวรเมธ.(2541) พจนานุกรมจีน-ไทย.กรุงเทพฯ:รวมสาส์น.
นวลจันทร์ ตุลารักษ์.(2547) ประวัติศาสตร์:การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาชาติไทย.กรุงเทพฯ:
โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
บรรจบ พันธุเมธา. (2526) กาเลหม่านไตในรัฐชานและคำตี่เมืองขาง.คณะอนุกรรมการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทย
ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี.
บุญเกิด
พิมพ์วรเมธากุล.(2545) พจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน(เว่าอีสาน).พิมพ์ครั้งแรก.ขอนแก่น:คลังธนาธรรม.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์.(2547) ไทยสิบสองปันนาเล่ม
1 . พิมพ์ครั้งที่ 3 ,กรุงเทพฯ:ศยาม.
ประพิณ
มโนมัยวิบูล.(2547) การสอนภาษาจีนในประเทศไทย.เอกสารการประชุมสัมมนาผลงานวิจัยเรื่อง
การ
เรียนการสอนภาษาต่างประเทศในระดับต่าง
ๆ .กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปราณี กุลละวณิชย์(2547) ชุดโครงการนโยบายการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศของไทย.คณะอักษร
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______________(2547) การศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและความต้องการ
ภาษาต่างประเทศในภาคกลาง
ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกของไทย .คณะอักษรศาสตร์,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______________(2548)
นำร่องเพื่อพัฒนาโจทย์การวิจัยเรื่อง "ฐานรากการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ". คณะ
อักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______________
(2549) วิจัยฐานรากการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ.คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______________ .(2535) พจนานุกรมจ้วงใต้
– ไทย.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี กุละวณิชย์และคณะ.(2527) ศัพท์ไท 6 ภาษา.
กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา พิณทอง.(2532) สารานุกรมภาษาไทยถิ่นอีสาน-ไทย-อังกฤษ.พิมพ์ครั้งที่
1,อุบลราชธานี:โรงพิมพ์ศิริธรรม.พัชราภรณ์ เศวตสุวรรณ.(2530) การศึกษาเปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาถิ่นอีสานที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับ
ภาษาตระกูลไท. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพ่ยฉี.(2553) พจนานุกรมจีน-ไทย. กรุงเทพฯ:ภูมิปัญญา.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2552) "รายการคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่คาดว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลไท-
จีน" วารสารเอเซียตะวันออกศึกษา.สถาบันเอเซียตะวันออกศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.ปีที่ 14
ฉบับที่ 2 ,หน้า 124 - 162.
_______________. (2552) “เสียงปฏิภาค
/r/,/k/,/kh/
และเสียงปฏิภาคอื่นๆ:หลักฐานความสัมพันธ์ของ
ภาษาจีนกับภาษาไทยในฐานะภาษาร่วมตระกูล” วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์.
คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่
31 ประจำภาคเรียนที่ 2 การศึกษา 2552.หน้า
5 – 28.
_______________. (2553) “การศึกษาวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ของภาษาตระกูลไท-จีนเรื่อง
ความสัมพันธ์ของเสียง / h /
ในภาษาไทยถิ่นอีสานกับเสียง / h /ในภาษาจีน”.วารสารศิลปศาสตร์. คณะ
ศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ,เล่มที่ 3 ฉบับที่ 2.หน้า 68-90
_______________. (2554) การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เรื่อง
“คำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน ใน
ภาษาไทยถิ่นอีสาน” The Journal. Journal of the
Faculty of Liberal Arts, Mahidol
University . Vol.7
No.2 (2010) p.125-149.
_______________. (2554) 500 อักษรจีน จำง่ายใช้ได้จริง.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ภาษาและ
วัฒนธรรม, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
_______________. (2555) “การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ของภาษาจีนกับ
คำเสริมสร้อยสองพยางค์ในภาษาไทยถิ่นอีสาน” วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 9
ฉบับที่ 1 , หน้า 9 - 41.
_________________. (2555) คำพ้องจีน-ไทย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม,
สมาคมส่งเสริม
เทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น.
_______________.(2555)รายงานการวิจัยเรื่องการสำรวจและวิเคราะห์ชื่อร้านค้าของชาวไทยเชื้อสายจีนใน
จังหวัดอุบลราชธานี,
วารสารศิลปศาสตร์. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,ปีที่ 9 ฉบับที่ 1,
หน้า
9 - 41.
_______________.(2555) ศาลเจ้าจีนในเขตจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทย. วารสาร
บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่
8 ฉบับพิเศษ.หน้า 523 - 539.
_________________. (2556) “การใช้คำศัพท์ร่วมเชื้อสายจีน
– ไทย สอนภาษาจีนให้กับผู้เรียนชาวไทย” ใน การ
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติของสมาคมการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่งเอเชียแปซิฟิก
ครั้งที่ 5 จัดที่
สถาบันเอเชียศึกษา The University
of Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม
2556.
เยาวลักษณ์ อภิชาตวัลลภ.(2549)ข้อมูลพื้นฐานการเรียนภาษาต่างประเทศและการใช้ภาษาต่างประเทศในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ.งานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2531)ภาษาถิ่นตระกูลไทย.
(พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วิจิตรวาทการ,พลตรี
หลวง.(2549) งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย.กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์บุ๊คส์.
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ.(2551) ภาษาไทยถิ่น.พิมพ์ครั้งที่ 3,กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมทรง บุรุษพัฒน์ , และคณะ. (2539)ภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติกัม-ไท
(จ้วง-ต้ง): รายการคำศัพท์.
กรุงเทพฯ:บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
สมทรง บุรุษพัฒน์, เจอรี่ เอ เอ็ดมันสัน และมีแกน ซินนอท .
(2541)แนะนำชนชาติไท-กะได. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์
สหธรรมิก.
สมทรง บุรุษพัฒน์, สุมิตรา สุรรัตน์เดชา และยัง ฉวน.
(2543)พจนานุกรมกัม-จีน-ไทย-อังกฤษ.
กรุงเทพฯ:บริษัท
เอกพิมพ์.
สมทรง บุรุษพัฒน์, โจว กั๋วเหยียน. (2543)วรรณกรรมของชนชาติกัม-ไท
(จ้วง-ต้ง) ในประเทศจีน. เอี่ยม ทองดี
(
บรรณาธิการ)ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท( หน้า 239-266).
กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก.
สมทรง บุรุษพัฒน์, เวย เอ็ดมันสัน. (2546)พจนานุกรมสุย-จีน-ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพฯ:
บริษัทเอกพิมพ์ไท.
สมทรง บุรุษพัฒน์, ฉิน เชียวหาง. (2549)พจนานุกรมจ้วงเหนือ-จีน-ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพฯ:
เอกพิมพ์ไท.
สมทรง บุรุษพัฒน์, โจว กั๋วเหยียน. (2552)การเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาตระกูลไท-กะได. กรุงเทพฯ:
บริษัทสามลดาจำกัด..
สมพงศ์
วิทยศักดิ์พันธุ. (2550) การศึกษาภาษาไทและภาษาไทเปรียบเทียบ.เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549) พลังลาว ชาวอีสานมาจากไหน.
กรุงเทพฯ:มติชน .
สุริยา รัตนกุล.(2548) นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท.กรุงเทพฯ:สหธรรมิก.
Asger Mollerup.(2001) Thai
– Lao Phrase Book.White Lotus G.P.O, Bangkok .
Benedict, Paul K. (1942). Thai, Kadai and Indonesian: A New
Alignment in Southeastern Asia . American
Anthropologist.
(Vol.44): 576-601.
-----------------.
(1975) Austro-Thai: Language and culture.
New Haven : HRAF
Press.
Brown, J. Marvin. (1965).
From Ancient Thai to Modern Dialects. In From Ancient Thai to Modern
Dialects, and Other Writings on Historical Thai
Linguistics. Bangkok : White Lotus.
Chamberlain, James
R. (1972). The Origin of The
Southwestern Tai. In Bullentin des Amis Du Royaume
Edmondson, J.A. and D.B.
Solnit eds. (1997) Comparative Kadai: the Tai branch. Dallas : Summer Institute
of Linguistics and the University
of Texas at Arlington .
Frank M.Lebar. (1964) Ethnic
Groups of Mainland Southeast Asia . New Haven ,Conn :
HumanRelations
Area Files.
Gedney, William J. (1972)
"A Checklist for Determining Tones in Tai Dialects" Studies in
Linguistics in
honor of George L. Trager. ed. by M. Estelle Smith, pp423-37, The Hague : Mouton.
Gurdon, Philip Richard
Thornhagh. (1985)"On the Khamtis." Journal of the Royal Asiatic
Society. (1895):
157-64.
Grierson,G.A. (1903 - 28) Linguistics
survey of India ,11vols.Culcutta,Office
of the Superementendent of
Government Printing.
Hartmann, John F. 1986.
"Style, Scope, and Rigor in Comparative Tai Research," In
Bickner et al, (eds.),
1986.
Li, Fang-Kuei, (1957a), “The
Jui dialect of Po-ai and the northern Tai”, Academia Sinica/Bulletin of the
----------------------,
(1957b), “The Jui dialect of Po-ai: phonology”, Academia Sinica/Bulletin of the Institute
of History and Philology, Taipei , volume 28.2: pp.551-6.
----------------------,
(1959), “Classification by vocabulary: Tai dialects” Anthropological
Linguistics, volume
1.2: pp.15-21.
----------------------,
(1960), “A tentative classification of Tai dialects”, in Stanley Diamond
(editor), Culture in
history: essays in honor of Paul Radin, New York , Columbia U.
Press: pp.951-8.
----------------------,
(1965), “The Tai and Kam-Sui languages”, in Indo-Pacific linguistic
studies (Lingua 14-15),
vol I,: pp.148-79.
----------------------,
(1976), “Sino-Tai” in Computational Analyses of Asian & African Languages, No.3,
Mantaro J. Hashimoto (editor), March: pp.39-48.
----------------------,
(1977), A handbook of comparative Tai (Oceanic Linguistics special
publication no.15),
Manomaivibool Prapin.(1975) A Study of Sino-Thai
Lexical Correspondence, PhD Dissertation, University Of
Robinson, Edward Raymond III.(1994)
Further classification of Southwestern Tai "P" group languages.
Thesis
(M.A.) Chulalongkorn
University .
Somsong Burusphat.(2006) Northern
Zhuang Chinese Thai English Dictionary. Bangkok :Ekphimthai Ltd.
Wilailuck Daecha. (1986) A Comparative study of the phonology of
six Tai dialects spoken in Amphoe
Tha
Tako,
Changwat Nakhon Sawan. Thesis (M.A.) Chulalongkorn University .
龚群虎.(2002) 《汉泰关系词的时间层次》上海:复旦大学出版社。
郭锡良.(1986) 《汉字古音手册》北京:北京大学出版社。
李方桂.(2008) 《文字图书:李方桂全集:李方桂先生口述史》清华大学出版
社,北京。
梁敏,张均如.(1996) 《侗台语族概论》北京:社会科学出版社。
สารสนเทศทางอินเตอร์เนต
พัชนี ตั้งยืนยงและสุรีย์ ชุณหเรืองเดช(2551) สรุปรายงานวิจัย การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศ
ไทย
: ระดับอุดมศึกษา. บทความจากเว็บไซต์ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. http://www.thaiworld.org/th/include/answer_search.php?question_id=831(20 สิงหาคม
2552)
[1] รองศาสตราจารย์ ดร.เมชฌ
สอดส่องกฤษ , ประธานหลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Associate
Prof. Dr. Metcha Sodsongkrit, Head of
Chinese and Communications section, Faculty of Liberal Arts, Ubonratchathani University , Thailand .
魏清,副教授,博士。泰国乌汶大学人文学院汉语与交际学科主任。
[2]ผลการศึกษาในส่วนนี้ได้นำเสนอใน
การประชุมวิชาการระดับนานาชาติของสมาคมการสอนภาษาจีนแห่งเอเชียแปซิฟิก (เมชฌ :2556)
[3] อ่านรายละเอียดรายการคำทั้งหมดได้ในบทความเรื่อง
“รายการคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่คาดว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลภาษาไทย-จีน”
ได้ใน เมชฌ,2552: 124 - 162
[5] อ่านรายละเอียดประเด็นนี้ได้ในบทความเรื่อง
“เสียงปฏิภาค /r/, /k/, /kh/ และเสียงปฏิภาคอื่นๆ : หลักฐานความสัมพันธ์ของภาษาจีนกับภาษาไทยในฐานะภาษาร่วมตระกูล” (เมชฌ:2552)
และ ในบทความเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ของภาษาตระกูลไท-จีนเรื่อง
ความสัมพันธ์ของเสียง / h /
ในภาษาไทยถิ่นอีสานกับเสียง / h /ในภาษาจีน” (เมชฌ:2553)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น