วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

รายการคำศัพท์ภาษาตระกูลไทพบใหม่ในประเทศจีน


โครงการการศึกษาของคณะกรรมการชนกลุ่มน้อยแห่งชาติจีนในปี ค.ศ.1980 ซึ่งมีที่มาจากในขณะที่ลงพื้นที่สำรวจเพื่อจัดทำหนังสือ “ปริทรรศน์ภาษาของชนกลุ่มน้อย” ในโครงการที่หนึ่งเมื่อปี1953 คณะนักวิจัยได้พบกับกลุ่มชาติพันธุ์อีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลให้มีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อย และยังพบอีกว่าภาษาที่กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้พูดเป็นภาษาที่ค้นพบใหม่อีกมากกว่า 30 ภาษา บางภาษามีจำนวนคนพูดน้อยมากไม่ถึงพันคน บางภาษาอยู่ในภาวะใกล้สูญหรือสูญไปแล้วก็มี นับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา คณะนักวิจัยจึงได้ดำเนินโครงการวิจัยต่อเนื่องจากโครงการเดิม โดยใช้ชื่อว่า 中国新发现语言研究丛书 Zhōngguó xīn fāxiàn yǔyán yánjiū cóngshū “สรรนิพนธ์รวมชุดการศึกษาวิจัยภาษาพบใหม่ในประเทศจีน” ภาษาพบใหม่ตระกูลไทในโครงการนี้มีทั้งหมด 12 ภาษา ได้แก่ ภาษาหลินเกา(เบ) ภาษาอู่เส้อ(เอ๊) ภาษาเปียว
ภาษาฉาต้ง ภาษาลักกะ ภาษามาก(อายจาม) ภาษาหยางหวง(เท็น) ภาษาชุน ภาษาปู้ยัง ภาษาละติ ภาษามู่หล่าว
และภาษาผู่เปียว
ผู้เขียนขอแสดงความรำลึกถึงความทุ่มเททั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย กำลังปัญญาของรัฐบาลจีนและนักวิชาการจีน ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานในโครงการอันมีคุณค่าต่อวงการภาษาศาสตร์ไทย-ไถเช่นนี้ นับได้ว่านักวิชาการไทยเป็นหนี้บุญคุณของท่านอย่างเหลือล้น เนื่องจากที่ผ่านมาเราอาศัยผลงานการศึกษาของนักวิชาการตะวันตกมาตลอด อาจเคยมีโอกาสได้ศึกษาข้อมูลความรู้จากนักวิชาการเจ้าของพื้นที่บ้างแต่นับว่าน้อยมาก ข้าพเจ้าหวังว่าผลงานการแปลคำศัพท์ภาษาไทย-ไถในครั้งนี้นอกจากนักวิชาการไทยจะได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือเบิกทางสู่การศึกษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นแล้ว ทางฝ่ายจีนเองก็จะได้รับประโยชน์ในการศึกษาภาษาไถทั้งในประเทศจีนและประเทศไทยด้วยเช่นกัน
笔者在此忠诚地对中国政府和中国学者所提供的资金、知识和体力为台语语言学界奉献如此伟大的项目,使泰国学者感到债台高筑 。因为过去我们唯一一直依靠西方学者的研究成果,或者只字片言从中国学者获得的信息。我希望这项翻译工作,除了对泰国学者开卷有益,对中方也同样为台语研究更深入丰富了文化宝库。使中泰两国的台语研究互相受益。
ข้อมูลนี้จัดทำและเผยแพร่เพื่อการศึกษาวิจัยโดยไม่คิดมูลค่าสามารถ   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น