วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หน่วยคำเติมในภาษากลุ่มมอญ-เขมรในประเทศจีน

เมชฌ สอดสองกฤษ.(2557) หน่วยคำเติมในภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีน . วารสารศาสนาและวัฒนธรรม. วิทยาลัยศาสนศึกษา.มหาวิทยาลัยมหิดล. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2557) หน้า 57-73.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 หน่วยคำเติมในภาษากลุ่มมอญ-เขมรในประเทศจีน
เมชฌ สอดส่องกฤษ[1]
บทคัดย่อ
            การใช้หน่วยคำเติมเป็นส่วนประกอบคำเพื่อทำให้คำมีการเปลี่ยนความหมายหรือหน้าที่ทางไวยากรณ์เป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของภาษาตระกูลมอญ-เขมร วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือมุ่งอธิบายและศึกษาวิเคราะห์หน่วยคำเติมของภาษาตระกูลมอญ-เขมร ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนสามภาษาได้แก่ ภาษาปลัง ภาษาเต๋ออ๋างและภาษาหว่า  วิธีการศึกษากระทำโดยการรวบรวมหน่วยคำเติมจากผลงานการศึกษาของนักวิชาการฝ่ายจีนแล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะหน่วยคำเติม ผลการศึกษาพบว่า ภาษาตระกูลมอญ-เขมรที่พูดอยู่ในประเทศจีนมีหน่วยคำเติมสองแบบ คือ 1.แบบที่เติมแล้วทำให้คำมีการเปลี่ยนหน้าที่ทางไวยากรณ์หรือความหมาย และ 2. แบบที่เติมแล้วไม่ได้ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ ส่วนวิธีการใช้หน่วยคำเติมพบว่ามีสามแบบ คือ หน่วยคำเติมหน้า หน่วยคำเติมท้าย และหน่วยคำเติมครอบ ผลจากการเปรียบเทียบพบว่า วิธีการใช้หน่วยคำเติมที่ทั้งสามภาษามีเหมือนกันคือ การใช้หน่วยคำเติมหน้าเพื่อเปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม และวิธีที่ใช้มากที่สุดในทุกภาษาก็คือการเติมหน่วยคำเติมหน้า หน่วยคำเติมท้ายและหน่วยคำเติมครอบตามลำดับ  
คำสำคัญ : หน่วยคำเติม มอญ-เขมร ออสโตรเอเชียติก ปลัง เต๋ออ๋าง หว่า

Affixation in Mon-Khmer language in China
Abstract
          The process of adding an affix to a word to create a different form of that word, or a new word with a different meaning and grammar is a dominant feature of Mon-Khmer language. This article aims to study and describe the affixation in Mon-Khmer language spoken in China which consists of three languages, namely Blang, De’ ang and Wa. The methodology is a comparison analysis by the affixations data   collected from Chinese scholar’s research. The study found that there are two features of affixation in Mon-Khmer language in China; 1.significant affixation and 2.non-significant affixation. Three types of affixes found in this study are prefix, suffix and circumfix. The comparison of affixation in the three languages show that affixation coincides in three languages is a verbal nominalization prefix. The reveals of this study that the most common of affixes in the three languages are the prefix, suffix and circumfix respectively.                      
Keywords: affixation, Mon-Khmer, Austro-Asiatic, Blang, De’ang, Wa     



บทนำ
ในประเทศจีนมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ 56 กลุ่ม ในจำนวนนี้มีอยู่ 3 กลุ่มที่พูดภาษาตระกูลมอญ - เขมร คือ ชนชาติส่วนน้อยเผ่าปลัง (Blang)  ชนชาติส่วนน้อยเผ่าเต๋ออ๋าง (De'ang) และชนชาติส่วนน้อยเผ่าหว่า (Wa) ชนเผ่าทั้งสามกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณตอนใต้ของประเทศจีนได้แก่ เขตมณฑลยูนนานและกวางสี  จากการศึกษาพบว่า ภาษาปลัง ภาษาเต๋ออ๋าง และภาษาหว่าที่พูดอยู่ในประเทศจีน มีวิธีการสร้างคำโดยการใช้หน่วยคำเติมเพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนความหมาย เปลี่ยนชนิดของคำ หรือเพื่อให้คำทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ที่แตกต่างกัน  
หน่วยคำเติม ภาษาอังกฤษเรียกว่า Affixation คือ หน่วยคำชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของคำ ไม่สามารถปรากฏและแสดงความหมายได้โดยลำพัง แต่จะสามารถใช้หรือมีความหมายได้ก็ต่อเมื่อนำไปประกอบกับรากคำที่มีความหมาย การเติมหน่วยคำเติมนี้สามารถเติมได้หลายตำแหน่งต่างๆกัน ได้แก่  
1.เติมหน้า เรียกว่า หน่วยคำเติมหน้า(prefix) ศัพท์ภาษาศาสตร์ไทยเรียกว่า อุปสรรค
2.เติมกลาง เรียกว่า หน่วยคำเติมกลาง(infix) ศัพท์ภาษาศาสตร์ไทยเรียกว่า อาคม
3.เติมหลัง เรียกว่าหน่วยคำเติมหลัง(suffix)  ศัพท์ภาษาศาสตร์ไทยเรียกว่า ปัจจัย
และในบางภาษาหน่วยคำเติมนี้สามารถเกิดได้พร้อมๆกัน ได้แก่
4.เติมหน้าและหลังพร้อมกัน(circumfix) ในบทความนี้จะเรียกว่า หน่วยคำเติมครอบ คือ มีหน่วยคำเติมสองหน่วยคำเติมครอบในตำแหน่งหน้าและหลังรากคำ(บางตำราเรียกว่า หน่วยคำเติมคร่อม) 
           
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
          จากการศึกษาข้อมูลภาษาตระกูลมอญ-เขมรในหนังสือชื่อ นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1: ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกและภาษาตระกูลจีน-ธิเบต (สุริยา,2531) ก็จะเห็นว่าลักษณะเด่นประการหนึ่งที่พบในภาษาตระกูลมอญ-เขมร คือ มีวิธีการสร้างคำโดยการเติมหน่วยคำลงไปในรากคำเดิมเพื่อเปลี่ยนความหมาย เปลี่ยนหน้าที่ของคำ หรือเพื่อให้คำทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ที่แตกต่างไปจากเดิม หรือเพื่อบ่งบอกลักษณะเฉพาะของคำ หน่วยคำเติมที่พบบ่อยได้แก่ หน่วยคำเติมหน้า หน่วยคำเติมกลาง และหน่วยคำเติมท้าย หน่วยคำเติมเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นเองและมีความหมายได้โดยลำพัง แต่จะแสดงความหมายได้ก็ต่อเมื่อนำไปเติมหน้า แทรกกลาง หรือหลังคำ จากการศึกษาภาษาตระกูลมอญ-เขมรที่พูดอยู่ในประเทศจีนพบมีลักษณะการใช้หน่วยคำเติมสามแบบ คือ หน่วยคำเติมหน้า หน่วยคำเติมท้าย และหน่วยคำเติมครอบ โดยจะได้นำเสนอในบทความนี้
 การศึกษาเกี่ยวกับภาษาของชนชาติส่วนน้อยในประเทศจีน มีหนังสืออ้างอิงที่สำคัญคือ หนังสือในชุด ชุมนุมปริทรรศน์ภาษาชนชาติส่วนน้อยของสาธารณรัฐประชาชนจีน[2] ซึ่งเป็นหนังสือภาษาจีนในโครงการ สรรนิพนธ์รวมชุดประเด็นชนชาติส่วนน้อย 5 ประการ ของคณะกรรมการชนชาติส่วนน้อยแห่งชาติ[3] โครงการย่อยเรื่อง ชุมนุมปริทรรศน์ภาษาชนชาติส่วนน้อยของสาธารณรัฐประชาชนจีนนับเป็นโครงการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับชนชาติส่วนน้อยในประเทศจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1991 ประกอบด้วยคณะทำงานย่อย 400 คณะ มีนักวิชาการร่วมทำงานครั้งนี้กว่า 1760 คน มีผลผลิตเป็นหนังสือรวมทั้งสิ้น 401 เล่ม ในส่วนของ บันทึกสังเขปภาษาของชนชาติส่วนน้อยนั้น เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1956 โครงการย่อยอื่นๆ ได้แก่ ชนชาติส่วนน้อยของจีน[4] บันทึกสังเขปประวัติศาสตร์ชนชาติส่วนน้อยของจีน[5]บันทึกเขตปกครองตนเองชนชาติส่วนน้อยของจีน[6] และ บันทึกข้อมูลการสำรวจประวัติศาสตร์ทางสังคมของชนชาติส่วนน้อยของจีน[7] 
          การศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลจากหนังสือภาษาจีนที่อยู่ในชุด ชุมนุมปริทรรศน์ภาษาชนชาติส่วนน้อยของสาธารณรัฐประชาชนจีน สามเล่ม คือ  
1. เนื้อหาของภาษาปลัง ศึกษาจากหนังสือภาษาจีนเรื่อง ปริทรรศน์ภาษาปู้หล่าง[8] ของผู้เขียนชื่อ หลี่ต้าวหย่ง เนี่ยซีเจิน และ ชิวเอ้อเฟิง (李道勇、聂锡珍、邱鹗锋Lǐ DàoyǒnɡNiè XīzhēnQiū Èfēnɡ:1986) นักภาษาศาสตร์รู้จักหนังสือเล่มนี้ในชื่อภาษาอังกฤษว่า “A description of the Blang language.”
2.เนื้อหาของภาษาเต๋ออ๋าง ศึกษาจากหนังสือภาษาจีนเรื่อง ปริทรรศน์ภาษาเต๋ออ๋าง[9] ของผู้เขียนชื่อ  ชื่อ เฉินเซี่ยงมู่ หวางจิ้งหลิวและล่ายหย่งเหลียง  (陈相木Chén Xiànɡmù, 王敬骝Wánɡ Jìnɡliú, 赖永良Lài Yǒnɡliánɡ1986) นักภาษาศาสตร์รู้จักหนังสือเล่มนี้ในชื่อภาษาอังกฤษว่า“A description of the Ta-ang language.”
3.เนื้อหาของภาษาหว่า ศึกษาจากหนังสือภาษาจีนเรื่อง ปริทรรศน์ภาษาหว่า[10] ของผู้แต่งชื่อ โจวจื๋อจื้อและเหยียนฉีเซียง.(周值志,颜其香Zhōu Zhízhì, Yán Qíxiānɡ:1984)นักภาษาศาสตร์รู้จักหนังสือเล่มนี้ในชื่อภาษาอังกฤษว่า“A description of the Wa language.”

หน่วยคำเติมในภาษามอญ-เขมรในประเทศจีน
          หัวข้อนี้จะนำเสนอหน่วยคำเติมของภาษามอญ-เขมรในประเทศจีน 3 ภาษา เรียงลำดับตามตัวอักษร คือ ภาษาปลัง ภาษาเต๋ออ๋าง และภาษาหว่า ดังนี้

1. หน่วยคำเติมในภาษาปลัง[11]
          จากการศึกษาพบว่า ภาษาปลังมีหน่วยคำเติมสามประเภท คือ หน่วยคำเติมหน้าหน่วยคำเติมท้าย และหน่วยคำเติมครอบ ดังนี้
          1.1 หน่วยคำเติมหน้า (prefix)
(1) prefix /n/ ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ต่างๆกัน ดังนี้    
- prefix /n/ นำหน้าคำกริยา เพื่อทำให้คำกริยานั้นเปลี่ยนเป็นคำนาม  
ตัวอย่างเช่น

คำกริยา
คำนาม
phil6
กวาด
nphil6
ไม้กวาด
tFN
ชั่ง
ntFN3   
ตาชั่ง
tþµm3
สวม
ntþµm3
หมวก
kum3
หนุน
nkum3
หมอน
-    prefix /n/ นำหน้าคำกริยา เพื่อเปลี่ยนจากคำกริยาเป็นคำลักษณนาม
ตัวอย่างเช่น
คำกริยา
คำลักษณนาม
tum2
กอง” (ขนาดเล็ก)
ntum2
กอง” (ขนาดเล็ก)
kN1
กอง” (ขนาดใหญ่)
nkN1
กอง” (ขนาดใหญ่)
klm1
หาบ 
nklm1
หาบ
tom2
กอบ
ntom2
กอบ
-    prefix /n/ นำหน้าคำกริยาที่ถูกทำให้เกิด เปลี่ยนความหมายเป็น
คำกริยาเกิดเอง ตัวอย่างเช่น
คำกริยาทำให้เกิด
คำกริยาเกิดเอง
kah1 
แก้
nkah1 
คลาย
toh1  
เปิด
ntoh1  
บาน
puik1 
ถอด
npuik1 
หลุด
pah1 
หว่าน
npah1 
กระจาย

(2) prefix /n`/ ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ต่างๆกัน ดังนี้    
- prefix /n`/ นำหน้าคำกริยา เพื่อเปลี่ยนคำกริยาเกิดเองปกติ เป็นคำกริยาที่ถูกทำให้เกิด ตัวอย่างเช่น    
คำกริยาเกิดเอง
กริยาทำให้เกิด
l6at1
กลัว
n`l6at
หลอก (ทำให้กลัว)
liel1
หมุน
n `l6iel1
เหวี่ยง (ทำให้หมุน)
kFl6 2
รัก
 n`kFl62
จีบ (ทำให้รัก)

          - prefix /n`/ นำหน้าคำกริยา เพื่อเปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม ตัวอย่างเช่น    
คำกริยา
คำนาม
sat1
หวี
n` sat1
หวี
vh2
กรีด
n` vh2
มีด
xah1
ดอง
n` xah1
ผักดอง



- prefix /n`/ นำหน้าคำนาม เพื่อเปลี่ยนคำนามเป็นคำลักษณนาม
ตัวอย่างเช่น      
คำนาม
คำลักษณนาม
üuN1
หมู่บ้าน
n` üuN1
หมู่ (1หมู่บ้าน)
meiN1
กำมือ
n` meiN1
กำ (หนึ่งกำมือ)
han1
รัง
n` han1
รัง (รังนก 1รัง)
          - prefix /n`/ นำหน้าคำกริยาหรือหน้าคำนาม เพื่อเปลี่ยนคำนั้นให้เป็น ลักษณนามของคำกริยา และลักษณนามของคำนาม ตัวอย่างเช่น
          กริยา
ลักษณนามสำหรับคำกริยา
mk2
ฟัน
n` mk2
ครั้ง (ฟัน 1 ครั้ง)
mok2
นั่ง
n` mok2
นั่ง (นั่ง 1 ครั้ง/ นั่งสักครู่)
puk2
ขุด
n` puk2
ขุด (ขุดหนึ่งจอบ / 1 ครั้ง)
- prefix /n`/ นำหน้าคำคุณศัพท์ เพื่อเปลี่ยนจากคำคุณศัพท์ ให้มีความหมายเป็น ทำให้เกิดคุณศัพท์นั้น ตัวอย่างเช่น       
คำคุณศัพท์
ทำให้เกิดคุณศัพท์
n6om1
ดี
n` n6om1
ทำให้ดี
mFl3
เลว
n` mFl3
ทำให้เลว
vuk1
เบี้ยว
n `vuk1
ทำให้เบี้ยว
         
(3)  prefix  / ka/4 / เพื่อแปรความหมายจากการทำกริยานั้นคนเดียว เป็น ทำกริยานั้นร่วมกัน หรือ ต่างก็ทำกริยานั้นเหมือนกัน”  คล้ายกับที่ภาษาไทยเติมคำว่า กันไว้หลังคำกริยา ตัวอย่างเช่น
คำกริยา
ความหมายใหม่
nk2 
มอง
ka/4  nk2   
มองกัน
mk2 
ฟัน
ka/4  mk2  
ฟันกัน
lFh1  
ตี
ka/4 lFh1     
ตีกัน
tþoh2 
ช่วย
ka/4  tþoh2   
ช่วยกัน
         
          1.2 หน่วยคำเติมท้าย (Suffix)
                   จากการศึกษาข้อมูลพบว่าภาษาปลังมีหน่วยคำเติมท้าย /a4/ มีข้อกำหนดในเรื่องของเสียงคือ เมื่อเติมเข้าไปหลังคำใด ถ้าเป็นคำที่มีพยัญชนะท้ายก็จะใช้พยัญชนะท้ายของคำนั้นมาสร้างเป็นพยางค์ใหม่ แล้วใช้พยางค์ใหม่นี้เป็นคำลักษณนามของคำนามตัวหน้า ตัวอย่างเช่น        
          นาม
suffix
ตัวเลข
n` xN2
Na4
ka/4  ti/4
ม้า
ลักษณนาม (ตัว)
หนึ่ง
npFN2
Na4
ka/4  ti/4
ประตู
ลักษณนาม (บาน)
หนึ่ง

tFn4
na4
ka/4  ti/4
ไฟ
ลักษณนาม (ดวง)
หนึ่ง
                  
          1.3 หน่วยคำเติมครอบ (circumfix) /pa/4 ___a4/ หน่วยคำเติมลักษณะนี้จะเติมครอบหน้าและหลังรากคำเดิม ส่วนที่เติมหน้าคือ /pa/4/  ส่วนที่เติมหลังคือ /a4/ โดยทั้งสองส่วนจะเกิดขึ้นคู่กันเสมอเพื่อครอบคำที่ต้องการใช้ ทำหน้าที่เพิ่มความเข้มข้นของความหมายให้มีปริมาณหรือคุณภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการเติมท้ายใช้รูปแบบเดียวกันกับหน่วยคำเติมท้ายในข้อ 1.2              
คำคุณศัพท์เดิม
เติมหน่วยคำเติมครอบ
ความหมายใหม่
lN3
ดำ
pa/4 lN3 Na4
ดำ (มะเมื่อม)
paiN2
ขาว
pa/4 paiN2 Na4
ขาว (บริสุทธิ์)
m6un2
เทา
pa/4 m6un2 na4
เทา (ขมุกขมัว)
nom1
ดี
pa/4 nom1 ma4
ดีดี (ดีๆอยู่)
Et1
เล็ก
pa/4  Et1 ta4
เล็ก (กระจิดริด)  
vah2
กว้าง
pa/4  vah2  ta4
กว้าง (กว้างใหญ่ไพศาล)

            ข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าภาษาปลังมีหน่วยคำเติมสามประเภท คือ หน่วยคำเติมหน้า หน่วยคำเติมท้าย และหน่วยคำเติมครอบ แต่ไม่พบหน่วยคำเติมกลาง หน่วยคำเติมทั้งสามลักษณะข้างต้นสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

หน่วยคำเติมภาษาปลัง
Affix
ทำหน้าที่
หน่วยคำเติมหน้า
/n/
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำลักษณนาม
เปลี่ยนคำกริยาถูกทำให้เกิด เป็น คำกริยาเกิดเองปกติ
/ n` /
เปลี่ยนคำกริยาเกิดเองปกติเป็นคำกริยาถูกทำให้เกิด
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม
เปลี่ยนคำนามเป็นคำลักษณนาม
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำลักษณนาม
เปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นการทำให้เกิดคุณศัพท์
/ka/4/
เปลี่ยนจากการทำกริยาฝ่ายเดียวเป็นทำกริยาสองฝ่าย
หน่วยคำเติมท้าย
/a4/
สร้างคำลักษณนามจากพยัญชนะท้ายของคำนาม
หน่วยคำเติมครอบ
/pa/4 __a4/
เพิ่มความเข้มข้นของความหมายให้มีปริมาณหรือคุณภาพมากยิ่งขึ้น


2. หน่วยคำเติมในภาษาเต๋ออ๋าง[12]
          จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ภาษาเต๋ออ๋างมีหน่วยคำเติมประเภทเดียว คือ หน่วยคำเติมหน้า ซึ่งแบ่งออกได้สองลักษณะคือ หน่วยคำเติมหน้าที่ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ และหน่วยคำเติมหน้าคำนาม
2.1  หน่วยคำเติมหน้า (prefix) ที่ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์
(1) prefix / k’/ ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ต่างๆกัน ดังนี้    
- prefix /k’/ นำหน้าคำกริยาเพื่อเปลี่ยนความหมายจากการคำกริยาฝ่ายเดียวเป็นทำกริยาสองฝ่าย ตัวอย่างเช่น
ทำคนเดียว
ความหมาย
ทำทั้งสองฝ่าย
ความหมาย
sn
คิด  
k’ sn
คิดถึงกัน
kla/
ฟัน
k’ kla/
ฟันกัน
duh
ชน
k’duh
ชนกัน
pEt
ทิ้ง
k’pEt
แยกกัน
- prefix /k’/ วางไว้หน้าคำกริยาทำให้เกิด เพื่อเปลี่ยนเป็นกริยาเกิดเอง ตัวอย่างเช่น
กริยาทำให้เกิด
ความหมาย
กริยาเกิดเอง
ความหมาย
lia/
ปอก
k’ lia/
ลอก
bia/
ฉีก
k’ bia/
ขาด
pFh
เปิด
k’ pFh
อ้า

 (2) prefix /a’/ วางไว้หน้าคำกริยา เพื่อเปลี่ยนให้เป็นคำนาม ตัวอย่างเช่น
คำกริยา
ความหมาย
คำนาม
ความหมาย
bEt
เกี่ยว (ตกปลา)
 a’bEt
เบ็ด
Ni
นั่ง
a’Ni
ม้านั่ง
tE:/
วัด (กริยา)
a’ tE:/
ไม้บรรทัด
gip
หนีบ
a’gip
ที่คีบ,กรรไกร
         
2.2 หน่วยคำเติมหน้าคำนาม
          จากการศึกษาพบว่า คำนามในภาษาเต๋ออ๋างมีคำจำนวนมากที่มีหน่วยคำเติมหน้า แต่หน่วยคำเติมหน้านี้ไม่ได้สื่อความหมายทางไวยากรณ์แต่อย่างใด แต่เป็นการจัดแบ่งคำตามประเภทหรือกลุ่มความหมาย แต่จากข้อมูลก็พบว่าไม่ชัดเจนหรือเคร่งครัดมากนัก มีดังนี้





          (1) prefix /a’/ มักนำหน้าคำนามที่มีความหมายเกี่ยวกับสัตว์ (แต่ก็มีคำที่มี ความหมายอื่นเช่น ผักผลไม้) ตัวอย่างเช่น
a’ /U/
หมา
a’ miau
แมว
a’vk
นก
a’pha:p
แมลงสาบ
a’pap
บวบ
a’mai
อ้อย
           
            (2) prefix /k’/ มักนำหน้าคำนามที่มีความหมายเกี่ยวกับอวัยวะ (แต่ก็มีคำที่มีความหมายอื่น) ตัวอย่างเช่น                         
k’ding
สะดือ
k’nam
คาง
k’nui/
ส้นเท้า
k’ga/
ผี
k’man
ดาว
k’ba
แผ่นไม้ไผ่
            (3) prefix /m`’/ มักนำหน้าคำนามที่มีความหมายเกี่ยวกับพืชผักผลไม้ (แต่ก็มีคำที่มีความหมายอื่น) ตัวอย่างเช่น            
m`’ phrit
พริก
m`brut
พริกไท
m`va:u
มะละกอ
m`tþk
ส้ม
m`blu/
ผ้าโพกหัว
m`brE
หนอน
            (4) prefix /n`’/ นำหน้าคำนาม แต่ไม่ระบุกลุ่มความหมายแน่นอน ตัวอย่างเช่น
n`ka:t
พริกชนิดหนึ่ง
n`/a:n
ป้า
n`dEN
ถนน
n`ruh
เตียงนอนผิงไฟ
            (5) prefix /ma/ นำหน้าคำนาม  ไม่ระบุกลุ่มความหมายแน่นอน ตัวอย่างเช่น
ma kriN
หนอนไผ่
ma l6Ek
เหล็ก
ma phiar
ผึ้ง
ma ha:n
ห่าน

            จากการศึกษาข้อมูล พบว่าภาษาเต๋ออ๋างมีเพียงหน่วยคำเติมหน้า ไม่พบหน่วยคำเติมลักษณะอื่น จากข้อมูลหน่วยคำเติมหน้าที่ได้กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
หน่วยคำเติมภาษาเต๋ออ๋าง
Affix
ทำหน้าที่
หน่วยคำเติมหน้า ที่ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์
/k’/
เปลี่ยนกริยาฝ่ายเดียว เป็น กริยาสองฝ่าย
/k’/
เปลี่ยนกริยาทำให้เกิด เป็นกริยาเกิดเอง
/a’/
เปลี่ยนกริยาเป็นคำนาม
หน่วยคำเติมหน้าคำนาม
/a’/
มักนำหน้าคำนามที่มีความหมายเกี่ยวกับสัตว์
/k’/
มักนำหน้าคำนามที่มีความหมายเกี่ยวกับอวัยวะ
/m`/
มักนำหน้าคำนามที่มีความหมายเกี่ยวกับพืชผักผลไม้
/n`/
ไม่ระบุ
/ma/
ไม่ระบุ

3. หน่วยคำเติมในภาษาหว่า
จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ภาษาหว่ามีหน่วยคำเติมสองประเภท คือ หน่วยคำเติมหน้า และหน่วยคำเติมท้าย 
3.1  หน่วยคำเติมหน้า (prefix)  ที่ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์
(1) prefix /k/ จะเกิดกับคำนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ /l/ ทำหน้าที่เปลี่ยนจากคำนามเป็นคำกริยา  ตัวอย่างเช่น 
คำนาม
ความหมาย
 คำกริยา
ความหมาย
liaN
หินที่ใช้บดหรือลับมีด
kliaN
บด,ลับ(ก.)
liN
กี่ทอผ้า
kliN
ทอ (ก.)
          (2) prefix /g หรือ gh/ วางไว้หน้าคำคุณศัพท์ที่มีพยัญชนะต้น /l หรือ lh/  ทำหน้าที่บอกปริมาณที่มากขึ้น หนาแน่นขึ้น เข้มข้นขึ้น ตัวอย่างเช่น 
คำภาษาหว่า
ความหมาย
เติมหน่วยคำเติมหน้า
ความหมาย
laN
ยาว
g laN
ยาวเหลือเกิน
lhauN
สูง
g lhauN
สูงเหลือเกิน
                   (3) prefix /tþau,kn/ มีลักษณะเป็นหน่วยพยางค์ เติมหน้ารากศัพท์ที่เป็นคำกริยาเพื่อเปลี่ยนให้คำกริยานั้นเป็นคำนาม หรือเป็นผู้ที่กระทำ หรือสิ่งที่ใช้กระทำกริยานั้น หรือไม่ก็ทำหน้าที่เปลี่ยนจากคำนามที่เป็นเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ ซึ่งหน่วยคำเติมดังกล่าวนี้ไม่สามารถปรากฏและมีความหมายด้วยตัวเองตามลำพังได้ ตัวอย่างเช่น
รากศัพท์
ความหมาย
เติมหน่วยคำเติมหน้า
ความหมายใหม่
tþaµ
สั่ง
tþau tþaµ
ผู้สั่ง
liaN
เลี้ยงสัตว์
tþau liaN
คนเลี้ยงสัตว์
tk
ตี เคาะ
k n tk
ไม้ตี
pui
คน
kn pui
ผู้คน
(4) prefix /kok/ มีลักษณะเป็นหน่วยพยางค์ ใช้เติมหน้ารากคำเดิมทำให้รากคำ
นั้นมีความหมายห่างไกล แยกออก หรือมีระดับมากขึ้นจากความหมายเดิม ซึ่งหน่วยคำเติมดังกล่าวนี้ไม่สามารถปรากฏและมีความหมายด้วยตัวเองตามลำพังได้ ตัวอย่างเช่น
รากคำเดิม
ความหมายเดิม
เติมหน่วยคำเติมหน้า
ความหมายใหม่
buan
เพ่งมอง
kok buan
ชะเง้อมอง
tiaN
ทิ้ง
kok tiaN
ขว้าง
üo
ร้อง
kok üo
ตะโกน
(5) prefix /pu,du,tþu,su/ มีลักษณะเป็นหน่วยพยางค์ ที่สร้างขึ้นมาจาก
การนำพยัญชนะต้นของคำเดิมมาบวกกับสระ /u/ แล้วใช้เป็นหน่วยคำเติมหน้า ทำให้รากศัพท์คำนั้นสื่อความหมายว่ามีความถี่มากขึ้น มีการกระทำกริยานั้นซ้ำๆกันมากขึ้น ซึ่งหน่วยคำเติมดังกล่าวนี้ไม่สามารถปรากฏและมีความหมายด้วยตัวเองตามลำพังได้  
รากศัพท์
ความหมาย
เติมหน่วยคำเติมหน้า
ความหมายใหม่
paik
จับ
pu paik
สาว (กริยา)
dik
เหยียบ
du dik
ย่ำ
tþa
ชิง แย่ง
tþu tþa
ยื้อแย่ง
siah
เล็ก
su siah
ละเอียด

3.2 หน่วยคำเติมหน้าที่ไม่ได้ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ จากการศึกษาพบว่า มีคำภาษาหว่าจำนวนหนึ่งที่มีหน่วยคำเติมหน้า แต่หน่วยคำเติมหน้านี้ไม่ได้สื่อความหมายทางไวยากรณ์แต่อย่างใด นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์กลุ่มความหมาย ชนิดของคำ ก็ไม่พบว่าหน่วยคำเติมหน้านี้จะทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดที่ชัดเจน คือ
          (1) prefix / si / ไม่สามารถแยกรากคำได้ ทั้งสองส่วนต้องปรากฏร่วมกันเสมอ
si /aN
กระดูก
si mau/
หิน
si mah
ทะเลาะ
si Nai
ไกล
          (2) prefix / si / สามารถแยกออกจากรากคำได้ โดยที่คำเดิมความหมายและหน้าที่ทางไวยากรณ์ไม่เปลี่ยน
รากคำเดิม
prefix
ความหมายของทั้งสองคำเหมือนกัน
dai/
si  dai/
แปด
daiN
si  daiN
พิเศษ
dim
si  dim
เก้า
gaµ
si  gaµ
ดีใจ

 3.3 หน่วยคำเติมท้าย มีลักษณะเป็นหน่วยพยางค์ เติมท้ายรากศัพท์เดิมเพื่อเสริมน้ำเสียง พยางค์ที่เติมท้ายนี้พยัญชนะต้นเป็นเสียงเดียวกันกับคำเดิม การเติมหน่วยคำเติมท้ายนี้ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ ลักษณะคล้ายกับคำซ้อนเพื่อเสียงในภาษาไทย และส่วนที่เติมท้ายนี้ไม่สามารถปรากฏและมีความหมายด้วยตัวเองตามลำพังได้ ตัวอย่างเช่น
รากศัพท์
ความหมาย
เติมหน่วยคำเติมท้าย
ความหมายใหม่
คล้ายกับคำซ้อนภาษาไทยว่า[13]
prE/
อาหาร
prE/ prµm
(อาหารการกิน)
rhm
หัวใจ
rhm rhi
(หัวจิตหัวใจ)
dau/
แปลก
dau/ deN
(แปลกประหลาด)
lhak
ฉลาด
 lhak  lhiau
(ฉลาดเฉลียว)

จากการศึกษาข้อมูล  พบว่าภาษาหว่ามีหน่วยคำเติมหน้าและหน่วยคำเติมท้าย แต่ไม่มีหน่วยคำเติมกลางและเติมครอบ จากข้อมูลหน่วยคำเติมหน้าที่ได้กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้
หน่วยคำเติมภาษาหว่า
Affix
ทำหน้าที่
หน่วยคำเติมหน้า
/k/
เปลี่ยนคำนามเป็นคำกริยา
/g หรือ gh
เพิ่มความหมายมากขึ้น หนาแน่นขึ้น
/tþau,kn/
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม
/tþau,kn/
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม(ผู้กระทำ / สิ่งที่ใช้ประทำ)
/kok/
เพิ่มความห่างไกลออกไป แยกออก
/pu,du,tþu,su/
มีความถี่มากขึ้น ซ้ำ กันมากขึ้น
หน่วยคำเติมท้าย
ซ้ำพยัญชนะต้นเปลี่ยนเสียงสระ
ซ้อนเพื่อเสียง

สรุปและอภิปราย
          บทความนี้มุ่งอธิบายเกี่ยวกับหน่วยคำเติมของภาษาตระกูลมอญ-เขมรที่พูดอยู่ในประเทศจีนสามภาษาคือ ภาษาปลัง ภาษาเต๋ออ๋าง และภาษาหว่า จากการศึกษาพบว่า ภาษาทั้งสามมีการใช้หน่วยคำเติมสองลักษณะ คือ
1.แบบที่เติมแล้วทำให้คำมีการเปลี่ยนหน้าที่ทางไวยากรณ์หรือความหมาย มี 9 แบบ ได้แก่(1) เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม (2)เปลี่ยนคำนามเป็นคำกริยา (3) เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำลักษณนาม (4) เปลี่ยนคำนามเป็นคำลักษณนาม (5) เปลี่ยนกริยาทำให้เกิดเป็นกริยาเกิดเอง (6)เปลี่ยนกริยาเกิดเองเป็นกริยาถูกทำให้เกิด (7) เปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำที่ทำให้เกิดคุณศัพท์ (8) เปลี่ยนการกระทำฝ่ายเดียวเป็นการกระทำสองฝ่าย (9) เพิ่มความเข้มข้นของความหมาย
2.แบบที่เติมแล้วไม่ได้ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ เป็นเพียงการเติมเพื่อเสียง หรือเพื่อจัดกลุ่มคำที่มีความหมายเดียวกัน หรือเป็นคำชนิดเดียวกัน แต่ทั้งนี้ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าทำหน้าที่ใด หรือไม่ทำหน้าที่ก็มี  ข้อมูลการใช้หน่วยคำเติมของทั้งสามภาษาสรุปเป็นตารางต่อไปนี้  

ภาษา
affixation
prefix
infix
Suffix
circumfix
ปลัง
/n/

เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม



เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำลักษณนาม



เปลี่ยนกริยาทำให้เกิดเป็นกริยาเกิดเอง



/n/`

เปลี่ยนกริยาเกิดเองเป็นกริยาถูกทำให้เกิด



เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม



เปลี่ยนนามเป็นคำลักษณนาม



เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำลักษณนาม



เปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำที่ทำให้เกิดคุณศัพท์




/ka/4/
เปลี่ยนการกระทำฝ่ายเดียวเป็นการกระทำสองฝ่าย



/a4/


เปลี่ยนคำนามเป็นคำลักษณนาม

/pa/4 __a4/



เพิ่มความเข้มข้นของความหมาย
เต๋ออ๋าง
/a’/
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม



/k’/
เปลี่ยนการกระทำฝ่ายเดียวเป็นการกระทำสองฝ่าย



/m’,  k’ /
เปลี่ยนกริยาเกิดเองเป็นกริยาถูกทำให้เกิด



หว่า
/k/
เปลี่ยนคำนามเป็นคำกริยา



/g/ หรือ /gh/
เพิ่มความเข้มข้นของความหมาย



/tþau,kn/
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม



/tþau,kn/
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม (ผู้กระทำ)



/kok/
เพิ่มความเข้มข้นของความหมาย



/pu,du,tþu,su/
เพิ่มความเข้มข้นของความหมาย



พยัญชนะเดียวกันเปลี่ยนเสียงสระ


ซ้อนเพื่อเสียง


          จากการเปรียบเทียบหน่วยคำเติมใน ภาษาปลัง ภาษาเต๋ออ๋าง และภาษาหว่า พบว่า ภาษาปลังมีการใช้หน่วยคำเติมหน้า หน่วยคำเติมท้าย และหน่วยคำเติมครอบ ภาษาเต๋ออ๋างมีการใช้หน่วยคำเติมหน้าอย่างเดียว ส่วนภาษาหว่ามีการใช้หน่วยคำเติมหน้าและหน่วยคำเติมท้ายในลักษณะของการซ้อนเพื่อเสียง ทั้งสามภาษาไม่มีการใช้หน่วยคำเติมกลาง นอกจากนี้พบลักษณะร่วม คือ ทั้งสามภาษามีการใช้หน่วยคำเติมหน้าเพื่อเปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนามเหมือนกัน   ภาษาปลังและภาษาเต๋ออ๋างมีการใช้หน่วยคำเติมหน้าเพื่อเปลี่ยนการกระทำฝ่ายเดียวเป็นการกระทำสองฝ่าย ภาษาปลังและภาษาหว่ามีการเพิ่มความเข้มข้นของความหมาย แต่ใช้วิธีต่างกัน คือภาษาปลังใช้หน่วยคำเติมครอบ ส่วนภาษาหว่าใช้หน่วยคำเติมหน้า พิจารณาจากปริมาณการใช้หน่วยคำเติมพบว่า การเติมหน่วยคำเติมหน้าเป็นวิธีที่ใช้มากที่สุด รองลงมาคือ หน่วยคำเติมท้ายและหน่วยคำเติมครอบตามลำดับ ส่วนภาษาที่มีการใช้หน่วยคำเติมมากที่สุดคือภาษาปลัง รองลงมาคือภาษาเต๋ออ๋างและภาษาหว่าตามลำดับ ข้อมูลต่างๆ สรุปเป็นตารางต่อไปนี้ (p=prefix, i = infix, s =suffix, c = circumfix)

การทำหน้าที่ทางไวยากรณ์
ปลัง
เต๋ออ๋าง
หว่า
p
i
s
c
p
i
s
c
p
i
s
c
เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม (ผู้กระทำกริยา)
/



/



/



เปลี่ยนคำนามเป็นคำกริยา








/



เปลี่ยนคำกริยาเป็นคำลักษณนาม
/











เปลี่ยนคำนามเป็นคำลักษณนาม


/









เปลี่ยนกริยาทำให้เกิดเป็นกริยาเกิดเอง




/







เปลี่ยนกริยาเกิดเองเป็นกริยาถูกทำให้เกิด
/











เปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำที่ทำให้เกิดคุณศัพท์
/











เปลี่ยนการกระทำฝ่ายเดียวเป็นการกระทำสองฝ่าย
/



/







เพิ่มความเข้มข้นของความหมาย



/




/



ซ้อนเพื่อเสียง










/

เติมหน้าคำนาม




/







ไม่แสดงความหมาย




/








บรรณานุกรม
เมชฌ สอดส่องกฤษ.(2556) ปู้หล่าง : ภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีนตามทรรศนะของ
          นักวิชาการจีน.วารสารศาสนาและวัฒนธรรม.วิทยาลัยศาสนศึกษา.มหาวิทยาลัยมหิดล.ปีที่ 8
          ฉบับที่ 1 (มกราคม มิถุนายน 2557)
_______________. (2557) เต๋ออ๋าง : ภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีนตามทรรศนะของ
          นักวิชาการจีน. วารสารอารยธรรมโขงสาละวิน.สถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน
 มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม มิถุนายน 2557.
_______________. (2557) ชาติพันธุ์วรรณนากลุ่มชาติพันธุ์มอญ-เขมรในประเทศสาธารณรัฐ
          ประชาชนจีน.เอกสารรวมบทความวิชาการและบทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติ
 มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี .อุบลราชธานี : วิทยาการ
พิมพ์.
สุริยา รัตนกุล.(2531) นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1: ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกและ
          ภาษาตระกูลจีน-ธิเบต. กทม.สถาบันภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท  
          มหาวิทยาลัยมหิดล.

陈相木, 王敬骝, 赖永良。(1986)《德昂语简志》北京:民族出版社。

(Chén, X-M. et. al.(1986)Da-angyu jianzhi. Beijing, National Minorities Press.
(A description of  the Ta-ang language, in Chinese).เฉินเซียงมู่ หวางจิ้งหลิวและ
ล่ายหย่งเหลียง.(1986)  ปริทรรศน์ภาษาเต๋ออ๋าง . ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชนเผ่า.)
李道勇、聂锡珍、邱鹗锋。(1986)《布朗语简志》北京:民族出版社.
(Li, Dao Yong, Nie Xi Zhen and Qiu E Feng. (1986). Bulangyu jianzhi. Chinese Academy
          of Social Sciences, Beijing. (A description of Bulang (Lamet). หลี่ต้าวหย่ง เนี่ยซีเจิน
          และชิวเอ้อเฟิง.(1986) ปริทรรศน์ภาษาปู้หล่าง.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชนเผ่า.)
颜其香, 周值志。(1995)《中国孟高棉语族语言与南亚语系》。北京:中央民族大学出
            版社 : 新华书店北京发行所发行。
(เหยียนฉีเซียง,โจวจื๋อจื้อ (1995) ภาษากลุ่มมอญ-เขมรกับภาษาสายตระกูลออสโตรเอเชียติกใน
          ประเทศจีน.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชนเผ่า.)
周值志,颜其香。(1984)《佤语简志》北京:民族出版社。
(Zhou Zhizhi,Yan Qixiang.(1984) Wayu Jianzhi (A description of  the Wa language, in
          Chinese). National Minorities Press. โจวจื๋อจื้อ,เหยียนฉีเซียง. (1984) ปริทรรศน์ภาษา
          หว่า.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชนเผ่า.)
           








[1] รองศาสตราจารย์ ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ.  สาขาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
[2] 《中国少数民族语言简志丛书  Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú yǔyán jiǎnzhì cónɡshū
[3] 《国家民委民族问题五种丛书 Guójiā mínwěi mínzú wèntí wǔzhǒnɡ cónɡshū
[4] 《中国少数民族Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú
[5] 《中国少数民族简史丛书Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú jiǎnshǐ cónɡshū
[6] 《中国少数民族自治地方概况丛书Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú zìzhì dìfɑnɡ ɡàikuànɡ cónɡshū
[7] 《中国少数民族社会历史调查资料丛刊Zhōnɡɡuó  shǎoshù mínzú shèhuì lìshǐ diàochá zīliào cónɡkān
[8] 《布朗语简志Bùlǎnɡyǔ Jiǎnzhì
[9] 德昂语简志Dé’ánɡ yǔ Jiǎnzhì
[10] 《佤语简志Wǎyǔ Jiǎnzhì
[11] อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภาษาปลังได้ในบทความเรื่อง ปู้หล่าง : ภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศจีน ตามทรรศนะของนักวิชาการจีน” (เมชฌ,2557,17-36)
[12] อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภาษาเต๋ออ๋างได้ในบทความเรื่อง เต๋ออ๋าง : ภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศจีน ตามทรรศนะของนักวิชาการจีน” (เมชฌ,2557,89-101)
[13] เป็นเพียงการเทียบความหมายเท่านั้น ไม่ใช่คำแปล  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น