วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พจนานุกรมภาษาไทย-ไถ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน




พจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์ภาษาของชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆนับเป็นสมบัติล้ำค่าของนักภาษาศาสตร์ เนื่องจากเป็นคู่มื่อพื้นฐานที่จำเป็นที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ของภาษาต่างๆได้เป็นอย่างดี

การจัดทำพจนานุกรมฉบับนี้อาศัยข้อมูลคำศัพท์จากหนังสือการพรรณนาภาษาต่างๆ 21 ภาษา ซึ่งเกิดจากโครงการชุมนุมปริทรรศน์ภาษาชนกลุ่มน้อยของสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ. 1953 และ โครงการสรรนิพนธ์รวมชุดการศึกษาวิจัยภาษาพบใหม่ในประเทศจีน ปี ค.ศ.1980

ต้นฉบับของคำศัพท์ที่อยู่ท้ายเล่มในหนังสือการพรรณนาภาษาต่างๆนั้นจัดเรียงคำศัพท์ตาม “กลุ่มคำ” เมื่อต้องการสืบค้นจากภาษาไทยไปเป็นภาษาอื่นจะหาคำศัพท์ที่ต้องการได้ยาก

ในการจัดทำพจนานุกรมฉบับนี้ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาตั้งต้น โดยแต่ละภาษาเรียงลำดับคำจาก ก-ฮ เพื่อให้นักวิชาการไทยสามารถใช้งานและสืบค้นได้ง่าย เหมาะสำหรับการศึกษาเปรียบเทียบภาษาไทยไปสู่ภาษาไถอื่นๆ

ภาษาที่ปรากฏในพจานุกรมนี้ได้แก่ ภาษาปู้อี ภาษาไต ภาษาหลินเกา(เบ) ภาษาอู่เส้อ ภาษาจ้วง ภาษาเปียว ภาษาฉาต้ง ภาษาต้ง ภาษาลักกะ ภาษาเหมาหนาน ภาษามาก ภาษามูลัม ภาษาสุ่ย ภาษาหยางหวง (เท็น) ภาษาชุน ภาษาหลี (ฮไล) ภาษาปู้ยัง ภาษาเกอลาว ภาษาละติ ภาษามู่หล่าว และภาษาผู่เปียว