ชาวหลินเกามีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของมณฑลห่ายหนาน(ไหหลำ)
ได้แก่ ฝั่งตะวันออกเริ่มจากฝั่งแม่น้ำหนานตู้เจียงของอำเภอ โฉยงซาน (琼山县南渡江Qióngshān xiàn Nándùjiāng) ไปจรดฝั่งทิศตะวันตกที่เมืองท่าซินอิ๋ง
อำเภอหลินเกา (临高县新盈港Língāo xiàn Xīnyíng gǎng) เขตแดนทางทิศใต้เป็นพื้นที่ของตำบลจุนถานของอำเภอโฉยงซาน(琼山县的遵潭Qióngshān xiàn de Zūntán) ตำบลป๋ายเหลียนของอำเภอเฉิงม่าย(澄迈县的白莲Chéngmài xiàn de Báilián) ตำบลหนานเฟิงของอำเภอตานเซี่ยน (儋县的南丰Dān
xiàn de Nánfēng) ทิศเหนือจรดช่องแคบโฉยงโจว (琼州海峡Qióngzhōu hǎixiá) ดังนั้นประชากรชาวหลินเกาจึงมีพื้นที่อาศัยครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลห่ายหนานรวม
5 อำเภอ คือ อำเภอหลินเกาทั้งหมด และบางส่วนของอำเภอตานเซี่ยน อำเภอเฉิงม่าย
อำเภอโฉยงซาน และปริมณฑลของเมืองไหโข่ว(海口Hǎikǒu) รายงานในหนังสือเล่มข้างต้นนี้บอกว่าในปี 1957
มีจำนวนประชากรที่พูดภาษาหลินเกาประมาณ 3 แสนคน ต่อมาการสำรวจสำมะโนประชากรปี 1980
รายงานว่ามีประชากรประมาณ 516,000 คน ข้อมูลจากเว็บไซต์ชื่อ “ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน” (中国民族信息网Zhōngguó Mínzú xìnxī wǎng) รายงานว่า ปี 1982 ปี 2000 และปี 2010 มีประชากรชาวหลินเกาเพิ่มขึ้นเป็น
520,000 คน 641,700 คน และ 725,100 คน
ตามลำดับ โดยเหลียงหมิ่นและ จางจวินหรูได้ให้ข้อมูลสถิติประชากรชาวหลินเกาว่า
มีชาวหลินเกาในอำเภอหลินเกามากที่สุดคิดเป็น 91.6% รองลงมาเป็นอำเภอโฉยงซาน 24.1% เฉิงม่าย
10.4% อำเภอตานเซี่ยน 4.1% ที่เหลือกระจายอยู่ปริมณฑลของเมืองไหไข่ว
จากการเปรียบเทียบระบบเสียง คำศัพท์
และไวยากรณ์ของภาษาหลินเกากับภาษาตระกูลไททั้ง
ที่อยู่ในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ
และการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า ภาษาหลินเกามีความใกล้ชิดกับภาษาไทย
ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้นักภาษาศาสตร์ตั้งแต่อดีตล้วนมีความเห็นเป็นเช่นนี้สอดคล้องกันมาตลอด
ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์จีนจัดภาษาหลินเกาไว้ในแขนงจ้วง-ไต
(ยุคปัจจุบันนักวิชาการจีนเรียกชื่อว่า “ภาษาไถ หรือไท”) ซึ่งใกล้ชิดเป็นระนาบเดียวกันกับภาษาจ้วง
ปู้อี ไต ไทย ลาวเป็นต้น
จึงเป็นเรื่องปกติที่จะพบคำศัพท์ที่นับได้ว่าเป็นคำเดียวกันกับภาษาดังที่กล่าวมานี้
แม้ว่านักภาษาศาสตร์ต่างชาติจะพบปรากฏการณ์ดังกล่าวมานานแล้ว
แต่มีบางกระแสมีความเห็นว่าภาษาหลินเกาสืบเชื้อสายไปจากภาษาไทย(ซึ่งหมายถึงว่าเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากบนลงล่าง)
และบางกระแสเชื่อว่าภาษาไทยสืบเชื้อสายมาจากภาษาหลินเกา(ซึ่งหมายถึงว่าเป็นกลุ่มที่ชนอพยพจากล่างขึ้นบน) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคำ หรือมองในมุมมองของ
“คำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน” ก็จะพบว่า คำศัพท์ที่พ้องกันในทั้งภาษาหลินเกา จ้วง
ปู้อี ไต ไทยและลาวเป็นคำศัพท์ภาษาจีนในยุคโบราณ
ดังที่ได้อธิบายในหัวข้อคำยืมภาษาจีน LG 2.3.4 มาแล้ว
นอกจากทฤษฎีการกำเนิดของวรรณยุกต์และการใช้คำลักษณนาม
อันเป็นหลักฐานที่สามารถสันนิษฐานได้ว่าชาวหลินเกาอพยพจากแผ่นดินใหญ่ไปสู่เกาะห่ายหนานหลังจากที่ระบบวรรณยุกต์
และลักษณนามในภาษาสาขาจ้วง-ต้งได้พัฒนาขึ้นแล้ว นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เรื่องการเกิดหน่วยคำเติมหน้า
จากการศึกษาพบว่าการเกิดหน่วยคำเติมหน้าที่ใช้เติมหน้าคำศัพท์ภาษาจีนโบราณนั้น
เกิดขึ้นในภาษาสาขาจ้วง-ต้งที่อยู่ในประเทศจีนทุกภาษา
แต่ลักษณะดังกล่าวไม่พบในภาษาหลินเกา (ในคำเดียวกัน) ยกตัวอย่างเช่น คำว่า /kep8/ ตรงกับภาษาจีนโบราณคำว่า 夹/krëp/ เป็นคำกริยา ซึ่งตรงกันกับภาษาไทยว่า “คีบ” ภาษาไทยเกิดหน่วยคำเติมหน้า “ตะ”
เพื่อเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นคำนาม เรียกอุปกรณ์ที่ใช้คีบว่า “ตะเกียบ” แต่ภาษาหลินเกาเรียกตะเกียบเป็นคำอื่นว่า
“sǝu4”
ตัวอย่างคำอื่นๆมีดังนี้
คำ
|
หนีบ
|
ตะเกียบ
|
ชั่ง
|
ตาชั่ง
|
โม่
|
เครื่องโม่
|
จ้วง
|
niu3
|
kaɯ6
|
ɕaŋ6
|
ɕaŋ6
|
mu6
|
mu6
|
ไต
|
ŋɛu3
|
thu5
|
tsaŋ6
|
tsaŋ6
|
mɔ5
|
mɔ5
|
ปู้อี
|
niu3
|
tɯ6
|
tsaŋ6
|
tsaŋ6
|
mu2
|
mu2
|
หลินเกา
|
kep8
|
sǝu4
|
sǝŋ3
|
sǝŋ3
|
ma4
|
ma4
|
ไทยถิ่นเหนือ
|
กี้บ
|
ตะเกียบ
|
จั้ง
|
จั้ง
|
โม่
|
โม่
|
ไทย
|
หนีบ คีบ
|
ตะเกียบ
|
ชั่ง
|
ตาชั่ง
|
โม่
|
(ตะ) โม่
|
จีนโบราณ
|
krëp
|
khruäis tziex
|
thing
|
things
|
mua
|
mua
|
จีนปัจจุบัน
|
夹jiā
|
筷子kuàizi
|
称chēng
|
秤 chèng
|
磨mó
|
磨mó
|
คำศัพท์ข้างต้นนี้เปรียบเทียบกับตัวอย่างภาษาสมาชิกในแขนงเกอ-ยัง
อย่างภาษามู่หล่าว (ดูรายละเอียดในบทสรุปภาษามู่หล่าว)
และลักษณะการเกิดพยางค์หน้าของภาษาผู่เปียว(ดูรายละเอียดในบทสรุปภาษาผู่เปียว) จะพบว่ามีความสอดคล้องกันกับการเกิดพยางค์ที่เป็นหน่วยคำเติมหน้าของภาษาไทย
แต่ทั้งนี้ในภาษาไทยก็ยังหลงเหลือคำที่ยังไม่เกิดพยางค์หน้า
(เช่นคำว่า “โม่”) ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า
ภาษาไทยและภาษาตระกูลไทใช้คำศัพท์ร่วมกันกับภาษาจีน
ก่อนที่จะพัฒนาลักษณะต่างๆเป็นภาษาของตนเอง
ตัวอย่างการเกิดพยางค์หน้าในคำภาษาจีนโบราณของภาษาไทย เช่น
ตัวอย่างคำยืมภาษาจีนที่มีการเติมส่วนเติมหน้าในภาษาไทย
|
||
ภาษาจีน
|
จีนโบราณ
|
ภาษาไทย
|
秤chèng
|
things
|
ตาชั่ง
|
颅lú
|
lo
|
กะโหลก
|
镂lòu
|
liu
|
ฉลุ
|
虻méng
|
mräng
|
แมลง
|
釭gāng
|
kreng
|
ตะเกียง
|
夹jiā
|
krëp
|
ตะเกียบ
|
ร่องรอยดังที่กล่าวข้างต้นนี้สันนิษฐานได้ว่า
คนไทย คนไท และคนจีนฮั่นเคยอยู่ร่วมกันและใช้ภาษาร่วมกัน
(มีคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีนเป็นคำโดดพยางค์เดียว ทั้งยังพัฒนาการของระบบวรรณยุกต์และคำลักษณนามแล้ว)
จากนั้นพวกหลีอพยพไปบนเกาะห่ายหนานก่อนเป็นพวกแรก แล้วชาวหลินเกาจึงอพยพตามไป ในขณะที่พวกจ้วง-ไตยังอยู่ร่วมกันกับพวกต้ง-สุ่ยและเกอ-ยัง
เริ่มมีการพัฒนาหน่วยคำเติมหน้าในคำร่วมเชื้อสายกับภาษาจีนแต่ยังไม่สมบูรณ์ ขณะนั้นพวกมู่หล่าว
ปู้ยัง ผู่เปียวแยกออกมาพัฒนาระบบหน่วยคำเติมหน้าของกลุ่มภาษาเกอ-ยัง
พวกไทยแยกออกมาและพัฒนาหน่วยคำเติมหน้าของภาษาไทย
จากนั้นจึงแยกย้ายหรือตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนต่างๆกันอย่างในปัจจุบัน และเหตุที่ภาษาไทยถิ่นเหนือไม่มีหน่วยคำเติมหน้านั้นก็เป็นข้อสนับสนุนแนวคิดที่ว่า
ชาวไทยคงจะอพยพลงมาพร้อมกันซึ่งทั้งหมดยังไม่มีการพัฒนาคำเติมหน้าที่สมบูรณ์
จากนั้นพวกที่พูดภาษาไทยกลางเคลื่อนลงมาอีก และพัฒนาระบบหน่วยคำเติมหน้าที่สมบูรณ์มากขึ้น
เหตุนี้เราจึงสามารถพบคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับภาษาจีนโบราณได้ทั้งที่ยังเป็นคำพยางค์เดียวเหมือนกับที่เคยใช้ร่วมกันในอดีต
(อย่างคำว่า “โม่” ซึ่งควรจะเป็น “ตะโม่” เนื่องจากยังพัฒนาไม่สมบูรณ์)
และแบบที่มีการเติมพยางค์หน้าอย่างที่พบในภาษาตระกูลไททุกภาษา
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.la.ubu.ac.th/2010/project/tathai2_1.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น