ในพื้นที่ชุมชนและคุ้มบ้านเล็กๆของบ้านหย่งเล่อ
ซึ่งเป็นพื้นที่ฝั่งทิศตะวันออกของอำเภอปกครองตนเองชาวเหมียว อำเภอหรงสุ่ย
มณฑลกว่างซี (广西融水苗族自治县永乐乡Guǎngxī Róngshuǐ
Miáozú zìzhìxiàn Yǒnglè xiāng) ว่ามีจำนวนประชากรชาวอู่เส้อทั้งสิ้น
7000 คน ต่อมาข้อมูลจากการสำรวจครั้งล่าสุดในหนังสือเรื่อง
“การศึกษาวิจัยภาษาอู่เส้อ” (Wéi
Màofán, Wéi Shùguān, 2011,1) รายงานพื้นที่อยู่อาศัยและจำนวนประชากรชาวอู่เส้อว่า
มีประชากรที่พูดภาษาอู่เส้อตั้งถิ่นฐานครอบคลุมพื้นที่ 2 ชุมชน คือ ชุมชนหย่งเล่อ
(永乐Yǒnglè ) และชุมชนซีโม่ (西莫Xīmò)
มีประชากรรวมทั้งสิ้น 8869 คน ดังนี้
ชุมชนหย่งเล่อ มีชาวอู่เส้อตั้งบ้านเรือนเป็นคุ้มบ้านต่างๆ
6 คุ้ม ได้แก่ เซี่ยถาน (下覃Xiàtán) ป๋ายหม่า (白马Báimǎ)
ฝูหลู (扶芦Fúlú) ฝูเหมิง (福蒙Fúméng)
ฝูฉวิน (福群Fúqún) และเจียงจวิน
(将军Jiāngjūn) มีบ้านเรือนชาวอู่เส้อ 944 ครัวเรือน ประชากร
4545 คน
ชุมชนซีโม่
มีชาวอู่เส้อตั้งบ้านเรือนเป็นคุ้มบ้านต่างๆ 6 คุ้ม ได้แก่ ซีจ้าย (西寨Xīzhài)
เสี่ยวโม่ (小莫Xiǎomò) กงเฉวียน (龚权Gōngquán) ตี๋หว่าน
(底晚Dǐwǎn)
ชวนซาน (川山Chuānshān) และผิงตี้ (平地Píngdì) มีบ้านเรือนชาวอู่เส้อ 949 ครัวเรือน ประชากร
4324 คน
นอกจากชุมชนข้างต้น
ยังมีชาวอู่เส้อตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่ในชุมชนอื่น เช่น บ้านกุ่น เป้ย (滚贝Gǔnbèi)
และบ้านอานไท่ (安太Āntài)
ซึ่งเป็นชาวอู่เส้อที่อพยพมาจากชุมชนหย่งเล่อในอดีต
เมื่อตั้งคำถามว่าชาวอู่เส้อเรียกตนเองว่าอะไร
หรือถามว่าเป็นชนเผ่าอะไร ชาวอู่เส้อบอกว่า /e55 hwen51/ แปลความหมายตรงตัวว่า “เอ๊ – คน (คนเอ๊)” อักษรจีนใช้คำว่า 欸人Āi rén บ้างก็บอกว่า /kja:N55 e55 k55/ แปลความหมายตรงตัวว่า “พูด-เอ๊-ภาษา (คนพูดภาษาเอ๊)”
ส่วนชาวฮั่นที่อยู่แวดล้อมพูดภาษาจีนถิ่นถูไกว่ฮว่า (土拐话Tǔguǎi huà) เรียกพวกนี้ว่า /e55 l«u55/ “อ้าย หล่าว”
(欸佬Āi Lǎo)
และเรียกภาษาของชาวอู่เส้อว่า /Nu55 þek54 wa24/ แปลความหมายตรงตัวว่า “ห้า สี ภาษา
(ภาษาห้าสี)” จะเห็นว่าชื่อเรียกข้างต้นนี้เป็นคำภาษาจีนเสียส่วนใหญ่ คือ
hwen51 = 人rén “คน”
kja:N55 = 讲jiǎng “พูด”
Nu55 = 五wǔ “ห้า
”
þek54 = 色sè “สี”
wa24 = 话huà “ภาษา”
ส่วนคำเรียกอื่น คือ /e55/ และ /e55
l«u55/
สอดคล้องและเกี่ยวข้องกับชื่อเรียกของพวกที่พูดภาษาตระกูลไทหลายกลุ่ม ดังนี้
e55
“ไอ้/ อ้าย”
|
l«u55
“ลาว”
|
|
ai3 ma:k8 มาก
|
mu6 lam1 มูลัม
|
僚,獠 Liáo “เหลียว” เป็นคำที่ชาวฮั่นใช้เรียกกลุ่มชนร้อยเผ่าแขนงหนึ่งในสมัยโบราณ ปัจจุบันชนกลุ่มนี้พัฒนามาเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาแขนงจ้วง-ไต
เช่น จ้วง ปู้อี ไต นุง
เป็นต้น
|
ai3 ȶa:m1 จาม
|
pɯ55 lau55
เกอลาว
|
|
ai1 na:n6 เหมาหนาน
|
li pu lio ละติ
|
|
ai˩
tʰən˧ เท็น
|
|
|
ai3 sui3 สุ่ย
|
เมื่อพิจารณาจากความหมาย และเปรียบเทียบกับคำเรียกตัวเองของชนเผ่าตระกูลไทข้างต้นจะเห็นว่าคำที่ชาวอู่เส้อเรียกตัวเองเป็นคำพยางค์เดียวคือ
/e55/ น่าจะมีความหมายว่า “ไอ้
หรือ อ้าย” ส่วนคำว่า /l«u55/
เป็นคำที่ชาวฮั่นเรียกพวกที่พูดภาษาตระกูลไทในสมัยโบราณ
ซึ่งเป็นชนแขนงหนึ่งในชนร้อยเผ่า น่าจะตรงกับคำว่า “ลาว”
ชื่อ “อู่เส้อ” เริ่มปรากฏอย่างเป็นทางการครั้งแรกในหนังสือของหลิวซีฟาน
เรื่อง “บันทึกชนกลุ่มน้อยแดนใต้” (岭表纪蛮[1]
Lǐng biǎo jì Mán) ตอนที่ 17 (Liú
Xīfān,1934, อ้างใน Wéi
Màofán, Wéi Shùguān, 2011,6) ความว่า “广西全境,现时汉蛮及诸交互杂居之地段,约占全省十分之八。因而蛮民语言逐呈一种杂色之状态。如融县西区,现时所用之 ‘五色话’ 即期例证之一Guǎngxī
quán jìng, xiànshí Hàn Mán jí zhū jiāohù zájū zhī dìduàn, yuē zhàn quán shěng
shí fēn zhī bā. Yīn'ér Mán mín yǔyán zhú chéng yī zhǒng zá sè zhī zhuàngtài. rú
Róng xiàn xīqū, xiànshí suǒ yòng zhī ‘Wǔsè huà’ jí qí lìzhèng zhī yī. ทั่วทั้งกว่างซี
ณ เวลานี้เป็นพื้นที่ที่ชาวฮั่นและชนกลุ่มน้อยอยู่อาศัยปะปนกัน คิดเป็น 8 ใน 10
ของพื้นที่ทั้งมณฑล ด้วยเหตุนี้ภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ในสภาวะภาษาผสมอย่างหนึ่ง
เช่น “ภาษาอู่เส้อ” ที่ใช้กันทางฝั่งตะวันตกของอำเภอหรง
นับเป็นตัวอย่างภาษาผสมภาษาหนึ่ง”
คำว่า “อู่เส้อ” แปลว่า “ห้าสี”
เป็นคำที่ชาวฮั่นพื้นถิ่นเรียกชื่อภาษานี้ แต่ชาวอู่เส้อไม่เต็มใจและไม่ชอบชื่อนี้
เพราะมีความรู้สึกว่าถูกคนอื่นมองว่าภาษาของตนเองเป็นภาษาที่เกิดจากการผสมผสานกันหลายภาษา
ไม่ใช่ภาษาที่แท้จริง การถูกเรียกเช่นนี้แฝงไปด้วยการดูถูกเหยียดหยาม
ชาวอู่เส้อเองจึงพอใจที่จะให้ผู้อื่นเรียกตนเองว่า ชาวเอ๊ /e55 hwen51/
และพอใจที่จะให้ผู้อื่นเรียกภาษาของตนเองว่า ภาษาเอ๊ /e55 wa24/ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลทางการเขียนที่เป็นข้อจำกัดของการใช้อักษรจีน
นักวิชาการจีนจึงตกลงเรียกชื่อภาษานี้ตามที่ชาวฮั่นพื้นถิ่นเรียกว่า “อู่เส้อฮว่า”
五色话Wǔsè huà
แปลความหมายได้ว่า “ภาษาห้าสี” โดยปราศจากการเหยียดหยามใดๆ
[1] คำว่า 岭 เป็นคำเรียก กว่างตง กว่างซี ในสมัยราชวงศ์ถัง ส่วนคำว่า
蛮
เป็นคำที่ชาวฮั่นเรียกชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ
ดังที่ทราบแล้วว่าภาษาอู่เส้อจัดอยู่ในแขนงภาษาจ้วง-ไต ซึ่งมีความใกล้ชิดเป็นระนาบเดียวกันกับภาษาไทย โดยที่ลักษณะเด่นของภาษาอู่เส้อเป็นภาษาที่ถูกตัดขาดจากเผ่าพันธุ์แล้วได้รับอิทธิพลของภาษาจีนพื้นถิ่น
ทำให้ความสำคัญของภาษาอู่เส้ออยู่ในฐานะภาษาโบราณที่มีความเก่าแก่ก่อนที่สมาชิกของภาษาตระกูลไทจะแยกออกจากกัน
จากการตรวจสอบคำศัพท์ภาษาอู่เส้อพบตัวอย่างความสัมพันธ์ของเสียงพยัญชนะต้นอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ
คือ เสียง /l/ ในภาษาอู่เส้อ ปฏิภาคกับเสียงเสียดแทรกในภาษาจีนกับภาษาไทย
ในที่นี้ใช้แทนด้วย s* ทำให้เราสามารถสืบหาร่องรอยของคำบางคำในภาษาไทยได้
ลองพิจารณาคำศัพท์ในตารางข้างล่างนี้ ดังนี้
ความสัมพันธ์
|
อู่เส้อ /l/
|
ไทย /l/ (r)
|
จีน /l,s/
|
จีนโบราณ /l,s/
|
l
– l (r) - l
|
la:u3
|
แล้ว
|
了liǎo
|
liau
|
lun6
|
รก
|
乱luàn
|
luan
|
|
lin6
|
หลอม
|
炼liàn
|
lian
|
|
lɔ2
|
ล่อ
|
骡luó
|
lua
|
|
l̥ɔ5
|
รั่ว
|
漏lòu
|
lo
|
|
l
– l – s*
|
l̥«u1
|
เละ
|
稀xī
|
xĭ«i
|
le6
|
ลง
|
下xià
|
Äea
|
|
lek7
|
ลึก
|
深shēn
|
þĭ«m
|
|
lyt8
|
เลือด
|
血 xuè
|
xiweàt
|
|
l̥a:n1
|
หลาน
|
孙 sūn
|
su«n
|
|
l
– s* - l
|
lǝŋ3
|
สอง
|
两liǎng
|
liàAN
|
leŋ2
|
ศูนย์
|
零líng
|
lieN
|
|
lǝm2
|
สาด
|
淋lín
|
lià«m
|
ประเด็นคำว่า /l̥iu1/
ที่แปลว่า “หัวเราะ” ตรงกับภาษาจีนว่า 笑xiào
นั้น
แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของเสียงปฏิภาคของพยัญชนะต้นในภาษาอู่เส้อ-ไทย-จีนได้เป็น
/l
– l – s*/ นำไปสู่ข้อสันนิษฐานคำตัวอย่างในภาษาไทย
เช่น “ตลก” น่าจะเกิดจากรากคำ /l̥iu1/ ที่แปลว่า “หัวเราะ” นี่เอง ดังจะเห็นว่าในภาษาอู่เส้อมีการเติมพยางค์อื่นหน้าคำว่า
/l̥iu1/ ที่แปลว่าหัวเราะเป็น / l̥i1
l̥iu1/ แปลว่า
“ตลก”
ย้อนกลับไปพิจารณากระบวนการเกิดพยางค์เติมหน้าของภาษาไทยที่มีรากคำเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีนจะเห็นว่า
ภาษาไทยมีการเติมหน่วยคำเติมหน้าลงหน้าคำพยางค์เดียวเดิม ดังตัวอย่างคำถัดไปนี้
ตัวอย่างคำยืมภาษาจีนที่มีการเติมส่วนเติมหน้าในภาษาไทย
|
|||
ภาษาจีน
|
จีนโบราณ
|
ข้อสันนิษฐานเสียงดั้งเดิม
|
ภาษาไทย
|
秤chèng
|
things (ชั่ง)
|
ตรงกับภาษาจีนโบราณ
|
ตาชั่ง
|
颅lú
|
lo
|
liuk
|
กะโหลก
|
镂lòu
|
liu
|
liuk
|
ฉลุ, สลัก
|
虻méng
|
mräng
|
ตรงกับภาษาจีนโบราณ
|
แมลง
|
釭gāng
|
kreng
|
ตรงกับภาษาจีนโบราณ
|
ตะเกียง
|
夹jiā
|
krëp (คีบ)
|
ตรงกับภาษาจีนโบราณ
|
ตะเกียบ
|
จากคำว่า กะโหลก และ ฉลุ สันนิษฐานได้ว่า ภาษาดั้งเดิมเป็นเสียงที่มีพยัญชนะท้าย /-k/ ตามแบบภาษาตระกูลไท ดังนั้นคำว่า /l̥iu1/ ที่ภาษาอู่เส้อแปลว่า “หัวเราะ” นี้ เดิมทีก็ควรจะเป็นเสียง /liuk/ แต่ในภาษาอู่เส้อเกิดการสูญหายของพยัญชนะท้ายเป็น /liu1/ แปลว่า “หัวเราะ” ต่อมาภาษาอู่เส้อมีการสร้างคำใหม่จากคำเดิม โดยการเติมพยางค์หน้าเป็น /l̥i1 l̥iu1(k)/ แปรความหมายจาก “หัวเราะ” เป็น “ตลก” ส่วนภาษาไทยเติมพยางค์หน้าเป็น /ta l̥iu(k)/ ซึ่งก็คือคำว่า “ตลก” เหมือนกับที่ภาษาอู่เส้อเติมคำว่า /ta3/ หน้าคำว่า /lim2/ เป็น /ta3 lim2/ แปลว่า “ลืม” อันเป็นข้อสนับสนุนประเด็นการเกิดพยางค์หน้าในทั้งสองภาษาได้ดังนี้ (โปรดดู “ 2.3.2 ประกอบ)
จีน
|
จีนโบราณ
|
ข้อสันนิษฐานเสียงดั้งเดิม
|
ภาษาอู่เส้อ
|
ภาษาไทย
|
颅lú
|
lo
|
liuk
|
ไม่มี
|
กะโหลก
|
镂lòu
|
liu
|
liuk
|
ไม่มี
|
ฉลุ, สลัก
|
笑xiào
|
siàau
|
l̥iu1(k)
|
l̥i1 l̥iu1
|
ตลก
|
ไม่ตรง
|
ไม่ตรง
|
-
|
ta3 lim2
|
(ไม่เกิด) ลืม
|
เมื่อเป็นเช่นนี้
ภาษาอู่เส้อจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นภาษาโบราณอีกภาษาหนึ่งที่สามารถใช้สืบสร้างเสียงของภาษาไทยโบราณได้
ส่วนสาเหตุที่ต้องเกิดหน่วยคำเติมหน้าในคำที่มาจากภาษาจีนนั้น ผู้เขียนได้อธิบายไว้แล้วในตอนสรุปของภาษาหลินเกา
ภาษามู่หล่าวและภาษาผู่เปียว โปรดอ่านประกอบกัน
นอกจากความสำคัญในฐานะภาษาที่ควรใช้สำหรับสืบสร้างภาษาไทยโบราณก่อนที่ภาษาต่างๆจะแยกออกจากกันแล้ว
ภาษาอู่เส้อยังเป็นตัวอย่างที่สำคัญในการศึกษาลักษณะของภาษาลูกผสมได้เป็นอย่างดี
จากที่ได้อธิบายมาตั้งแต่ต้นจะเห็นว่า ระบบเสียง วงคำศัพท์ การสร้างคำศัพท์
ระบบไวยากรณ์ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะดั้งเดิมของภาษาตระกูลไทอยู่ในภาษานี้ ซึ่งสอดคล้องกับภาษาตระกูลไทอื่นๆ
แต่เมื่อถูกตัดขาดจากภาษาร่วมวงศ์ตระกูลก็ถูกภาษาอื่นแทรกซึม โดยเฉพาะภาษาจีนถิ่น
ทำให้ภาษาอู่เส้อกลายเป็นภาษาลูกผสมที่มีทั้งลักษณะของภาษาตนเอง(ที่เลือนรางมากแล้ว)
ลักษณะของภาษาร่วมตระกูลและลักษณะของภาษาจีน
หากเทียบกับภาษาตระกูลไทอื่นๆที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนจะพบว่า
แม้ว่าภาษาต่างๆจะใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาจีนสลับกันไปมากับภาษาตนเอง แต่ก็จะมีขอบเขตหรือข้อกำหนดที่อธิบายได้
กล่าวคือ ถ้าใช้คำศัพท์ของตนเองก็จะใช้ไวยากรณ์ของตนเอง
แต่ถ้าใช้คำศัพท์ภาษาจีนก็จะใช้ไวยากรณ์แบบจีน ในส่วนของภาษาอู่เส้อ แม้จะมีร่องรอยของลักษณะเช่นนี้อยู่บ้างแต่ก็ค่อนข้างเลือนราง ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะละทิ้งโครงสร้างภาษาเดิมไปใช้อย่างภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่แล้ว
สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดในการเป็นภาษาลูกผสมก็คือ
วิธีการประสมคำอย่างที่ได้อธิบายในหัวข้อ W 2.3.4 หัวข้อย่อยที่
(3) ดังจะเห็นว่าวิธีการประสมคำของคำศัพท์
“ลูกผสม” และคำประสมในภาษาอู่เส้อสลับกันไปมาจนแทบหากฎเกณฑ์ไม่ได้
นั่นก็เป็นเพราะว่าภาษาอู่เส้อมีคำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ของตนเอง
รวมกับคำศัพท์ร่วมเชื้อสายสาขาจ้วง-ต้งค่อนข้างจำกัด ขณะที่เริ่มลืมเลือนคำศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาต้นตระกูลแล้ว
คำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาจีนถิ่นก็แทรกซึมเข้ามาตลอดเวลา
ทำให้ภาษาอู่เส้อปัจจุบันมีลักษณะเป็นภาษาลูกผสมที่มีส่วนผสมของภาษาต้นตระกูลเหลืออยู่
แต่ก็จัดได้ว่าเป็นภาษาไทโบราณที่หลงเหลือสายเลือดเป็นเพียงลูกเสี้ยวของภาษาตระกูลไทเท่านั้น
และในอนาคตก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นภาษาถิ่นจีนถิ่นหนึ่งไปในที่สุด
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.la.ubu.ac.th/2010/project/tathai2_1.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น