วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การพรรณนาภาษาฉาต้ง


 ถิ่นที่อยู่ของผู้พูดภาษาฉาต้งในปัจจุบันคือพื้นที่หมู่บ้านต่างๆ ที่กระจัดกระจายและก่อตั้งขึ้นเป็นชุมชนเล็กๆตามธรรมชาติในเขตการปกครองของชุมชนที่ชื่อ “ชุมชนฉาต้ง” ชุมชนนี้ตั้งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอหลินกุ้ย เมืองกุ้ยหลิน มณฑลกว่างซี (广西省桂林市临桂县茶洞乡Guǎngxī shěng Guìlín shì Línguì xiàn Chádòng xiāng)  พื้นที่ของชุมชนฉาต้งอยู่ฝั่งตะวันตกของอำเภอหลินกุ้ยออกไป 28 กิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับชุมชนตู้โถว (渡头乡Dùtóu xiāng) ทิศใต้จรดตำบลเหลี่ยงเจียง     (两江镇Liǎngjiāng zhèn) ทิศตะวันตกติดกับชุมชนหลงเจียงของอำเภอหย่งฝู (永福县龙江乡Yǒngfú xiàn Lóngjiāng xiāng) ทิศเหนือติดกับชุมชนชาวเหยาหวงซาและชุมชนป่าวหนิง (黄沙瑶族乡,保宁乡Huángshā Yáozú xiāng, Bǎoníng xiāng) รวมพื้นที่ชุมชนฉาต้งทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้มี 9 หมู่บ้านที่พูดภาษาฉาต้ง ได้แก่ บ้านอานเล่อ (安乐村Ānlè cūn) บ้านบ้านฟู่เหอ (富合村Fùhé cūn) บ้านฮู่ซาน (护山村Hùshān cūn) บ้านเจียงโจว (江洲村Jiāngzhōu cūn) บ้านเวินเหลียง(温良村Wēnliáng cūn) บ้านฉาต้ง(茶东村Chádōng cūn) บ้านซานเหอ(三合村Sānhé cūn) บ้านเหรินอี้(仁义村Rényì cūn) และบ้านป่าวเหอ(保合村Bǎohé cūn) นอกจากนี้ในพงศาวดารอำเภอหลินกุ้ย 《临桂县志Línguì xiànzhì[1] มีกล่าวถึงชื่อ “ฉาต้ง” หลี่หรูหลงและคณะ (Lǐ Rúlóng et al.,2012, 1) อธิบายความจากพงศาวดารดังกล่าวว่า นอกจากจะมีชาวฉาต้งอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว  ยังมีชาวฉาต้งอาศัยอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ชุมชนตามธรรมชาติของบ้านซานโข่ว ตำบลเหลี่ยงเจียง ( 江镇山口村Liǎngjiāng zhèn Shānkǒu cūn) ด้วยส่วนหนึ่ง จากคำบอกเล่าของผู้บอกภาษาเล่าว่า ต้นกำเนิดของคนที่พูดภาษาฉาต้งเดิมทีตั้งอยู่ที่ถนนฉาต้ง บ้านฉาต้งและบ้านฟู่เหอ จากนั้นอพยพขยายอาณาเขตออกไปอยู่ตามหมู่บ้านอื่นๆ ของอาณาเขตตำบล     แล้วขยายออกไปสู่เขตตำบลเหลี่ยงเจียง
          รายงานข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของรัฐบาลเขตปกครองตนเองชาวจ้วงกว่างซี  เมืองกุ้ยหลิน เขตหลินกุ้ย นับตั้งแต่ปี 1990 มีจำนวนประชากรชาวฉาต้ง 20,604 คน ปี 2000 มี 20,547 คน ข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2516 [2] รายงานว่า จำนวนประชากรในชุมชนฉาต้งมีทั้งสิ้น 22,151 คน แต่ในชุมชนฉาต้งมีหมู่บ้านส่วนหนึ่งที่ไม่ได้พูดภาษาฉาต้ง และมีส่วนน้อยบางส่วนที่กระจายอยู่ในพื้นที่ตำลเหลี่ยงเจียงอีกไม่เกิน 200 คน ดังนั้นกลุ่มคนที่พูดภาษาฉาต้งก็น่าจะมีจำนวนราวๆ สองหมื่นคน     ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีที่พูดภาษาฉาต้งได้คล่องแคล่วและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เพียง  3,778 คนเท่านั้น       

จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จารึกป้ายบรรพชน การสืบสายตระกูลแซ่ พบว่าชาวฉาต้งเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากพื้นที่ที่ชาวเหมาหนานอาศัยอยู่ในปัจจุบัน  และจากข้อมูลทางการแพทย์ที่รายงานว่าชาวฉาต้งมีสายพันธุ์แม่ใกล้ชิดกับชาวเหมาหนาน ก็เป็นข้อสนับสนุนที่รัดกุมยิ่งขึ้นที่จะสรุปได้ว่า ชาวฉาต้งเป็นชาวเหมาหนานที่อพยพมาสองช่วง ช่วงเก่าแก่ที่สุดคือข้อมูลของป้ายแซ่หวงตรงกับช่วงก่อน ค.ศ. 571-474 และช่วงหลังคือหลักฐานของป้ายแซ่หลงตรงกับช่วง ค.ศ.1375 


สำหรับตัวผู้เขียนเองแล้วเห็นว่าภาษาฉาต้งมีคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย มีระบบไวยากรณ์ที่สอดคล้องกันกับภาษาตระกูลไทในประเทศจีนและภาษาไทย(รวมทั้งภาษาถิ่นตระกูลไทยบางภาษาด้วย) ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะของภาษาตระกูลไทในภาษาฉาต้งแล้ว  ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อยืนยันได้ว่าภาษาฉาต้งเกี่ยวข้องกับภาษาตระกูลไทเป็นแน่  เนื่องจากพบลักษณะที่สอดคล้องมากกว่าลักษณะที่แตกต่าง ส่วนที่แตกต่างเป็นลักษณะที่รับอิทธิพลมาจากภาษาจีนเช่นการยืม การแทรกซึม ซึ่งเป็นลักษณะที่ชัดเจนและสามารถตัดสินได้ไม่ยากทั้งยังเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ทั่วไปในภาษาของชนกลุ่มน้อยทุกภาษาในประเทศจีน ข้อมูลที่เด่นชัดสรุปได้ดังนี้
          1. โครงสร้างพยางค์ภาษาฉาต้งประกอบด้วยพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
          2. มีพยัญชนะนาสิกพ่นลม คือ /m8, n8, N8/ เมื่อเปรียบเทียบกับสมาชิกแขนงต้ง-สุ่ยภาษาอื่นๆที่ได้นำเสนอไปแล้วทั้งในเล่ม 1 และเล่ม 2 นี้ ก็พบว่าสอดคล้องกับหลายภาษา เช่น มูลัม สุ่ย มาก อายจาม ลักกะเป็นต้น 
          3. เสียงกึ่งเสียดแทรกไม่ใช่ลักษณะเด่นของภาษาแขนงต้ง-สุ่ย ในภาษาฉาต้งก็พบได้น้อยเช่นกัน ส่วนที่พบคือ /ts, tsh/ เป็นเสียงที่เกิดจากคำยืมภาษาจีน
          4. มีการแบ่งเสียงสระสั้น-ยาว โดยเฉพาะเมื่อมีหางสระ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พบในภาษา แขนงต้ง-สุ่ย
          5.มีพยัญชนะที่ปรากฏเป็นหางสระได้แก่ /-m,-n,-N,-p,-t,-k/ เหมือนกันกับภาษาแขนงต้ง-สุ่ย
          6. ระบบเสียงวรรณยุกต์มีสองชุดคือ วรรณยุกต์ที่เกิดกับคำพยางค์ปิดและวรรณยุกต์ที่เกิดกับคำพยางค์เปิด ลักษณะเช่นนี้เป็นรูปแบบการวิเคราะห์เสียงวรรณยุกต์ของนักภาษาศาสตร์จีน ซึ่งพบว่าภาษาสาขาจ้วง-ต้งทุกภาษามีวรรณยุกต์แบบนี้
          7.ลักษณะความสัมพันธ์ของพยัญชนะที่เป็นคู่เสียงปฏิภาคหรือร่องรอยของเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นปรากฏการณ์ของระบบเสียงในภาษาตระกูลไท เช่น การกร่อน การสูญหาย การเลื่อน หรือกลายเสียง ก็พบว่าในภาษาฉาต้งมีลักษณะดังกล่าวเช่นกัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้เป็นเกิดคู่เสียงปฏิภาคขึ้น อันเป็นวิธีที่นักภาษาศาสตร์นำมาศึกษาความสัมพันธ์ของภาษาอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างการเปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาฉาต้งกับภาษาไทยก็จะเห็นได้ไม่ยาก ในตอนท้ายของบทพรรณนาภาษาฉาต้งนี้ผู้เขียนจะยกตัวอย่างคำศัพท์ภาษาฉาต้งเปรียบเทียบกับภาษาไทย คำศัพท์ดังกล่าวถือเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกัน แต่เกิดการแปรเสียงในลักษณะต่างๆ ดังนี้     
คำภาษาฉาต้ง
คำภาษาไทย

b
ph
d
r
th
k
khr
kl
kw
h
pin31
บิน









pa:N21
บาง









pa:n31
บน









pai21

แพ








pa:n31

แผ่น








paN53

พัง








lap23


ดับ







lip23


ดิบ







lei23


ได้







nam53


ดำ







naN53


ดั้ง(จมูก)







nien21


เดือน







lau53



เรา






la:n35



ร้าน






liuN21



รุ้ง






la:m21






ราม[1]



la:n23






ร้าน



loN35






ลื่น



ti35




ที่





ti:p3




ทับ





tou35




ถั่ว





ha21





ฆ่า




han53





คัน




ham53





ขุ่น




kuN53







อง


kei31







าย


kǝp23









weN21








วาง

wi53








วัน

wai53









Na:n35









ห่าน
No23









ห้า
Na31









หาว
นอกจากนี้ยังพบเห็นร่องรอยของคำที่น่าสงสัยว่าจะเป็นคำภาษาไทยโบราณในภาษาฉาต้งด้วย
เช่น คำภาษาไทยว่า “ประตู”   ตรงกับภาษาฉาต้งว่า /pa:k31 to53/ แปลตามตัวว่า “ปาก -ตู”  และคำภาษาไทยว่า “ถั่วลิสง” ตรงกับภาษาฉาต้งว่า /lo35 seN53/ แต่คำเหล่านี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน เนื่องจากดูจากรูปคำแล้วเห็นว่าคล้ายกัน แต่มีตัวอย่างไม่มากจึงยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดได้ 

ในส่วนของคำว่า “ประตู” นั้นเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับภาษาอื่นๆ ก็จะสามารถสืบหาร่องรอยได้ไม่ยาก จากการเปรียบเทียบคำศัพท์กับภาษาต่างๆพบว่าสอดคล้องกัน  สันนิษฐานว่าคำศัพท์ดั้งเดิมของภาษาตระกูลไทเป็นคำพยางค์เดียว แล้วแต่ละภาษาเกิดส่วนเติมหน้า บ้างเกิดเป็นคำ เช่น ภาษาไต ภาษาไทย( “ปาก” แล้วกร่อนเสียงเป็น “ประ”) บ้างเกิดเป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีความหมาย เช่น ภาษาปู้ยัง แต่ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์พยางค์เดียว สันนิษฐานว่าเป็นรากคำเดิมตั้งแต่เมื่อครั้งที่ภาษาสาขาจ้วง-ต้ง ทุก แขนงยังไม่แยกออกจากกัน  ดังข้อมูลต่อไปนี้           
คำภาษาสาขาจ้วง-ต้ง
คำภาษาไทย
หมายเหตุ
ไต
pa:k9 tu1
ร่วมเชื้อสาย เกิดคำเติมหน้า
ปู้อี
tu1
ร่วมเชื้อสาย
จ้วง
tou1
ร่วมเชื้อสาย
ฉาต้ง
pa:k31 to53
ร่วมเชื้อสาย เกิดคำเติมหน้า
ต้ง
to1
ร่วมเชื้อสาย
สุ่ย
to1
ร่วมเชื้อสาย  
เหมาหนาน
t1
ร่วมเชื้อสาย  
มาก
tu1
ร่วมเชื้อสาย
ปู้ยัง
ma0 t312
ร่วมเชื้อสาย เกิดหน่วยเสียงเติมหน้า
เปียว
to1
ร่วมเชื้อสาย
เบ
tau1
ร่วมเชื้อสาย
หลี
khu:n1
คำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์
ชุน
muǝn1
คำยืมภาษาจีน
          สำหรับภาษาฉาต้ง มีลักษณะที่ได้ข้อสรุปเพิ่มเติมอีกประการหนึ่งก็คือ คำที่ภาษาไทยเกิดหน่วยเสียงเติมหน้าจำพวก “กระ มะ สะ ตะ” และคำควบไม่แท้ในภาษาไทย คำเหล่านี้ในภาษาฉาต้งเป็นคำพยางค์เดียว แต่เริ่มเกิด “หน่วยเสียง” ขึ้นที่พยางค์หน้าบ้างแล้วในคำบางคำ ดังข้อมูลต่อไปนี้ 
คำภาษาฉาต้ง
คำภาษาไทย

คำภาษาฉาต้ง
คำภาษาไทย
ciN45 (jìng)
กระจก
thei53
กระเทียม
ke35
มะเขือ
thsa:m53
ผสม
kh«m45
ตะกอน
tT:n45
กระสาน (กระจาย)
leN45
ฉลาด
tTe21
สะดือ
mien35 (miàn)
บะหมี่
tTeN45 (xiù)
สนิม
muk23
ขี้มูก
wa45
ขยะ
Na53
ตะกละ
tshi33 «k5
สะอึก
wa35 sap5
พูดเสียงเบาๆ 
s«p5
กระซิบ
          จากตารางคำศัพท์ข้างต้นจะพบว่าคำที่ภาษาไทยออกเสียงเป็นสองพยางค์ ภาษาฉาต้งออกเสียงเป็นคำพยางค์เดียว และมีคำบางคำเริ่มมีการเกิดพยางค์หน้าขึ้นเพื่อแยกความหมายออกจากรากคำเดิมเช่นคำว่า /s«p5/  แปลว่า “กระซิบ” แต่เมื่อเติมพยางค์หน้า เป็น / wa35 sap5/ แปลว่า “พูดเสียงเบา” ส่วนคำว่า / tshi33 «k5/ “สะอึก” พยางค์หน้าไม่มีความหมาย นอกจากนี้มีคำบางคำเป็นคำยืมภาษาจีนเก่าด้วย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ http://www.la.ubu.ac.th/2010/project/tathai2_1.pdf 


[1] ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างละเอียด โปรดเพิ่มเติมได้ในบทสรุปภาษาเปียว   


[1] 梁金荣.1996《临桂县志》.北京:方志出版社.9至卷15. Liáng Jīnróng.(1996) Línguì xiànzhì. Běijīng: Fāngzhì chūbǎn shè. Juǎn 9 zhì juǎn 15. เหลียงจินหรง. (1996) พงศาวดารอำเภอหลินกุ้ย.ปักกิ่ง: ฟางจื้อ.บรรพ 9 ถึงบรรพ 15.
[2] 广西壮族自治区桂林市临桂区政府网Guǎngxī Zhuàngzú zìzhìqū Guìlín shì Línguì qū Zhèngfǔ wǎng. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2559 เข้าถึงได้ทาง: http://www.lingui.gov.cn/detail/506ab5be-4850-4684-9edd-17a745b58a60.html หัวข้อ “ประชากร” (人口Rénkǒu)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น