วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

การศึกษาทางประวัติศาสตร์เรื่อง คำเรียกช้างในภาษากูย

 
 
บทคัดย่อ: ชาวกูยเป็นกลุ่มชนที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ผูกพันกับช้างมาแต่โบราณ ภาษากูยจัดอยู่ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก แต่คำเรียกช้างในภาษากูย กลับเรียกเหมือนภาษาตระกูลไท บทความนี้วิเคราะห์ที่มาของคำเรียกช้างในภาษากูย โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และหลักฐานทางภาษาศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ได้สองแนวทาง คือ คำเรียกช้างในภาษากูย ยืมไปจากภาษาตระกูลจีนทิเบต ผ่านทางภาษาตระกูลไท อีกแนวทางหนึ่งคือ คำเรียกช้างเป็นคำดั้งเดิมในภาษากูย จากนั้นกระจายไปสู่กลุ่มชนใกล้เคียงทั้งที่เป็นกลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มไทเลยขึ้นไปถึงกลุ่มจีน 
 คำสำคัญ  : ช้าง  ภาษากูย  ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก  ภาษาตระกูลไท  ภาษาตระกูลมอญ-เขมร

The History Linguistics analysis of the word “elephant” in Kui Language

Abstract : The Kui people  are an ethnic group whose way of life and culture has been closely related to elephants since ancient times. The Kui language is categorized as one of Austro-Asiatic language family. However, the word for “elephant” in the Kui language seems to be derived from Tai language family. This study mainly discusses on an origin of the word, “elephant”. Considering historic and linguistic findings, the evidences can be interpreted in two ways. First, the word for elephant in Kui language was borrowed from Sino-Tibetan through Tai language family. Second, the word for elephant is actually an original word in Kui language. The word later disseminated among nearby communities, from Tai ethnic group to Mon and Khmer until expanding far beyond to China.
Keywords : elephant,  The Kui Language, Austro-Asiatic language family, Tai language family, Mon-Khmer language family

圭语 词的历史语言学分析
摘要:圭民族的生活、文化与大象关系密切。圭语属于南亚语族高棉语支,但圭语里表示大象的词却与不同语族的台语相似。本文以语言学及历史为证据对圭语中表示大象的词的来历进行分析。经分析得出两个观点:其一、圭语表示大象的词是通过台语从汉藏语系借迁而存;其二、圭语里表示大象的词是该语言原有,此词被接近的高棉族人、台族人借用并传至汉人。
关键词: 大象, 圭语,南亚语族, 台语族,孟高棉语族 


บทนำ
ประเด็นที่น่าสงสัยที่จะนำเสนอในบทความนี้คือ คำว่า ช้าง ในภาษากูย ที่เรียกว่า อาเจียง เจียง หรือ อาจืง จืง หรือ อาจีง จีง หากพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และจากวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างของชาวกูยแล้วน่าจะเป็นภาษากูยแท้ และน่าจะพ้องกับคำเรียกช้างในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกอย่างภาษาเขมรและ ภาษาเวียดนาม ซึ่งเป็นภาษาใหญ่ในตระกูลภาษาเดียวกันและเป็นกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ ชิดกัน แต่เหตุใดภาษากูยกลับเรียกช้างเหมือนอย่างภาษาตระกูลไทซึ่งเป็นภาษาคนละ ตระกูลกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น