วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและสถานภาพการศึกษาในประเทศไทย



ชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและสถานภาพการศึกษาในประเทศไทย

เมชฌ สอดส่องกฤษ[1]
บทคัดย่อ
บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนของไทยสามประการคือ 1)ข้อมูลสังเขปและนโยบายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน 2)เหตุผลที่วงวิชาการไทยสมควรเร่งพัฒนาฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับขนกลุ่มน้อยในประเทศจีน และ 3)บทสรุปสถานภาพการศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อยของจีนประเทศไทย
คำสำคัญ: กลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน จีนศึกษา

Chinese Ethnic Minorities and The status of studying in Thailand.
Abstract
This article presents three issues related to Chinese ethnic minorities which are largely examined in Thailand, namely 1) general information and policies about ethnic minorities in China, 2) the rationale for developing data base of Chinese ethnic minorities in Thai academic system and 3) summary of status of studying Chinese ethnic minorities in Thailand.
Key words: ethnic minorities, Chinese ethnic minorities, ethnic group, Chinese Study

บทนำ
ในบริเวณประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อันได้แก่จีน พม่า เวียดนาม ลาว ไทย และกัมพูชา มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอารยธรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมและภาษาแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก นักปราชญ์ตะวันตก Gorge Condominas and Richard Pottier(1982) กล่าวว่า “บริเวณเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เป็นภาคพื้นดิน เป็นบริเวณที่เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นที่มีมนุษย์ต่างชาติพันธุ์และต่างภาษารวมกันอยู่เป็นจำนวนมากที่สุด และปะปนกันอย่างซับซ้อนที่สุด” (อ้างใน สุริยา :2531) กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ ถือกำเนิด ตั้งรกราก อพยพย้ายถิ่นฐาน และอยู่อาศัยกระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณประเทศลุ่มน้ำโขงมาตั้งแต่ยังไม่มีการแบ่งอาณาเขตเป็นประเทศต่างๆอย่างในปัจจุบัน กลุ่มชาติพันธุ์ที่พบเห็นในปัจจุบันนี้บ้างก็มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่าชนที่เป็นเจ้าของประเทศในปัจจุบัน บ้างถูกกลืนกลายไปกับชนกลุ่มอื่นกระทั่งสูญหายไป หรือบ้างก็อาศัยปะปนกับชนเผ่าต่างๆ เกิดการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์จนหลอมรวมกันวิวัฒนาการเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่ขึ้น บ้างก็แบ่งแยกอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อื่น บ้างก็รุ่งเรืองมีอำนาจครอบครองและก่อตั้งอาณาเขตประเทศและรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่อาศัยอยู่ติดแผ่นดินในบริเวณเดิมมาแต่อดีตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน
แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มิได้มีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากแต่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงและติดต่อสัมพันธ์กันมาโดยตลอด ทั้งในฐานะผู้ถูกครอบครองและเป็นผู้ครอบครอง หรือมีความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระต่อกัน ในขณะเดียวกันก็มีการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับชนชาติในบริเวณเอเซียอาคเนย์ จึงจำเป็นต้องศึกษาความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนด้วย

ข้อมูลสังเขปและนโยบายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนครอบคลุมพื้นกว้างใหญ่ถึง 9,596,960 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณเท่ากับ 22 เท่าของประเทศไทย ทำให้ประเทศจีนรวบรวมเอาประชากรที่ต่างชาติพันธุ์ไว้มากมายถึง 56 กลุ่มชาติพันธุ์อยู่ด้วยกัน รัฐบาลจีนแบ่งกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆโดยใช้เกณฑ์เรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมา การสืบเชื้อสาย ประเพณีวัฒนธรรม ถิ่นที่อยู่ ศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามความเห็นชอบของกลุ่มชาติพันธุ์เอง กำหนดกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศออกเป็น 56 กลุ่ม ในการสำรวจจำนวนประชากรจีนในปี 1996 พบว่าประเทศจีนมีชาวฮั่น 96.3% และ 4.7% เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น รัฐบาลจีนจึงเรียกกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่นอกเหนือจากชาวฮั่นว่า “ชนกลุ่มน้อย” ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 55 กลุ่ม โดยที่ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยกระจายอยู่ทั้วประเทศจีน ดังภาพต่อไปนี้




คัดลอกภาพมาจาก http://www.wenbao.net/html/whyichan/nation/images/china2.jpg
จากแผนที่ข้างต้นจะเห็นว่า ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนกระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วทั้งประเทศ บริเวณที่มีจุดแสดง คือที่ตั้งของชุมชนกลุ่มน้อย สามารถแบ่งตามภูมิภาคของประเทศจีนดังนี้
1. ทางตอนใต้และตะวันออกรวมเกาะไต้หวัน มีทั้งสิ้น 31 กลุ่ม ได้แก่
(1) อาชาง(阿昌族Ā ChānɡZú) ในสมัยราชวงศ์ชิงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ชาวเอ๋อ
ชาง” (俄昌人 é chānɡ rén) ในพงศาวดารบันทึกไว้ว่า ชาวเอ๋อชางมีหัวหน้าเผ่าชื่อ จ่าวข่าย(早慨 Zǎo Kǎi) ปกครองเรื่อยมาจนถึงปลายราชวงศ์หยวน สืบทอดชาวเอ๋อชางรวม 35 รุ่น กระทั่งศตวรรษที่สิบ ถูกชาวป๋ายและชาวฮั่นรุกรานจึงได้ย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น สายหนึ่งย้ายไปที่เมืองเถิงชง(腾冲Ténɡchōnɡ) อีกสายหนึ่งกระจัดกระจายอาศัยอยู่รวมกับชาวป๋ายและชาวฮั่น ปัจจุบันชาวอาชางอาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อยเผ่าไตและชนกลุ่มน้อยเผ่าจิ่งโป(傣族景颇族自治州Dǎizú Jǐnɡpōzú Zìzhìzhōu) ในตำบลหลงชวน (陇川Lǒnɡchuān) ตำบลเหลียงเหอ(梁河Liánɡhé) เมืองเต๋อหง(德宏Déhónɡ) มณฑลยูนนาน นอกจากนี้ยังมีกระจัดกระจายอยู่ที่หมู่บ้านอิ๋งเจียง(盈江Yínɡjiānɡ) ลู่ซี (潞西Lùxī) รุ่ยลี่(瑞丽Ruìlì) ป่าวซาน (保山Bǎoshān) ของตำบลหลงหลิง(龙陵Lónɡlínɡ) และเถิงชง (腾冲Ténɡchōnɡ) ชนกลุ่มน้อยเผ่าอาชางมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 33,936 คน[2] พูดภาษาอาชาง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาทิเบตพม่า แขนงภาษาพม่า มีสำเนียงภาษาย่อย 3 สำเนียงคือ สำเนียงเหลียงเหอ(梁河Liánɡhé) สำเนียงหล่งชวน (陇川Lǒnɡchuān) และสำเนียงลู่ซี (潞西Lùxī) ไม่มีภาษาอักษรเป็นของตนเอง ใช้อักษรจีนและอักษรไต




(2) ป๋าย (白族Báizú) อารยธรรมของชาวป๋ายเริ่มมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ มีถิ่น
กำเนิดอยู่บริเวณเมืองเฮ่อร์ไห่ 洱海 ěrhǎi) ในยุคนั้นชาวป๋ายอาศัยอยู่ในถ้ำ ปัจจุบันชาวป๋ายอาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน คือในเขตปกครองตนเองเผ่าป๋าย เมืองต้าหลี่ มณฑลยูนนาน(云南省大理白族自治州Yúnnánshěnɡ Dàlǐ Báizú zìzhìzhōu) ได้แก่บริเวณเมืองลี่เจียง(丽江Lìjiānɡ)ปี้เจียง(碧江Bìjiānɡ) ป่าวซาน(保山Bǎoshān) หนานหัว(南华Nánhuá) หยวนเจียง(元江Yuánjiānɡ) คุนหมิง(昆明Kūnmínɡ) อันหนิง(安宁 ānnínɡ) และในเขตอำเภอปี้เจี๋ยของเมืองกุ้ยโจว(贵州毕节Guìzhōu Bìjié) อำเภอเหลียงซานของมณฑลเสฉวน (四川凉山Sìchuān Liánɡshān) และในอำเภอซางจื๋อของมณฑลหูหนาน(湖南桑植Húnán Sānɡzhí) ก็มีชนเผ่าป๋ายอาศัยอยู่ประปราย ชนกลุ่มน้อยเผ่าป๋ายมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,858,063 คน ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาป๋าย จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาทิเบตพม่า นอกจากนี้ภาษาที่ใช้ทั่วไปคือภาษาฮั่น ในสมัยราชวงศ์หยวนและหมิงเคยใช้ภาษาเฝิน(ภาษาป๋าย) คือภาษาที่ใช้อักษรจีนเขียนแต่อ่านเป็นภาษาป๋าย (汉字白读Hànzì Báidú)




3) ปลัง (布朗族Bùlǎnɡ zú) ภาษาจีนออกเสียงคำนี้ว่า ปู้หล่าง(布朗Bùlǎnɡ) ชาวปลังสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าโบราณที่ชาวฮั่นเรียกว่า ชาวผู หรือ ผูหม่าน (濮pú,濮满, 蒲满pú mǎn,pú mǎn) ส่วนชาวไตเรียกว่า มอญ หรือ เมิ่ง(孟mènɡ) อาศัยอยู่บริเวณตำบลเหมิงไห่(勐海Měnɡhǎi) ตำบลจิ่งหง(景洪Jǐnɡ hónɡ) ของเขตปกครองตนเองเผ่าไตสิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน(西双版纳傣族自治州Xīshuānɡbǎnnà Dǎizúzìzhìzhōu) และบริเวณตำบลซวงเจียง(双江Shuānɡ jiānɡ) ตำบลหย่งเต๋อ(永德Yǒnɡdé) ตำบลหยุน(云县Yúnxiàn) ตำบลเกิ๋งหม่า(耿马Gěnɡmǎ) ของเมืองหลินชาง(临沧Líncānɡ) และบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณตำบลหลันชาง(澜沧 Láncānɡ) ตำบลโม่เจียง(墨江Mò jiānɡ) ของเมืองซือเหมา(思茅Sī máo) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 91,882 คน ภาษาที่ใช้คือภาษาปลัง (布朗语Bùlǎnɡ yǔ) จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก สาขามอญเขมร แขนงว้าปะหล่อง มีสำเนียงภาษาสองสำเนียงคือภาษาปลังกับภาษาอัลวา มีประชากรบางส่วนสามารถพูดภาษาไต ภาษาว้า และภาษาฮั่น(ภาษาจีน) ไม่มีภาษาอักษรเป็นของตนเอง ใช้อักษรภาษาไตและอักษรจีน




(4) ปูยี (布依族 Bùyīzú) ชนกลุ่มน้อยเผ่าปูยีสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ชื่อ
ชนร้อยเผ่า ภาษาจีนเรียกว่า “ไป่เยว่”( 百越 Bǎi yuè) อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองเฉียนหนาน(黔南 Qián nán) เฉียนซีหนาน(黔西南 Qián xī nán) เขตปกครองตนเองเผ่าปูยีและเผ่าแม้ว(布依族苗族自治州 Bùyīzú Miáo zú zìzhìzhōu ) ในเขตเมืองอันซุ่น(安顺市Ān shùn shì) และเมืองกุ้ยหยาง(贵阳市 Guì yánɡ shì) ยังมีบางส่วนกระจัดกระจายอาศัยอยู่ในบริเวณเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อยของมณฑลยูนนานและมณฑลเสฉวน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,971,460 คน พูดภาษาปูยี จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาจ้วงต้ง แขนงจ้วงไต เป็นภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาจ้วงมาก ภาษาจ้วงสำเนียงจ้วงเหนือ เหมือนกันกับภาษาปูยีที่พูดกันในตำบลวั่งโม่(望漠Wànɡ mò) เช่อเฮิง(册亨Cè hēnɡ) ตู๋ซาน(独山Dú shān) อันหลง(安龙ān lónɡ) และตำบลซิ่งอี้(兴义Xìnɡ yì) เดิมทีชนเผ่าปูยีไม่มีภาษาเขียน ใช้อักษรจีนมาตลอด หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการประดิษฐ์ภาษาเขียนเป็นของตนเองโดยใช้อักษรภาษาลาติน




(5) ไต (傣族 Dǎizú ) ตามพงศาวดารจีนชี้ว่า คนไทยหรือไตอยู่ติดดินแดนสิบ
สองปันนามาตั้งแต่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 แล้ว มีชื่อเรียกตัวเองหลายชื่อ เช่น ไต่เล่อ (傣仂Dǎilè) ไต่หย่า(傣雅Dǎiyǎ) ไต่น่า(傣那Dǎinà) ไต่เปิง(傣绷Dǎibēnɡ) ในสมัยฮั่นและจิ้นเรียกชนกลุ่มนี้ว่าเตียนเยว่(滇越Diānyuè) ต่าน(掸Dǎn) ซ่าน(擅Shàn) เหลียว(僚Liáo)และจิวเหลียว(鸠僚Jiū Liáo) ในสมัยถังและซ่งเรียกชนกลุ่มนี้ว่าจินฉื่อ(金齿Jīnchǐ) เฮยฉื่อ(黑齿Hēichǐ) หมางหมาน(茫蛮Mánɡmán) ป๋ายอี(白衣Báiyī) ปัจจุบันชาวไตอาศัยในเขตปกครองตนเองเผ่าไตสิบสองปันนาของมณฑลยูนนาน (西双版纳Xī shuānɡ bǎn nà) เขตปกครองตนเองเผ่าไตเผ่าจิ่งโปเมืองเต๋อหง(德宏景颇族自治区 Déhónɡ Jǐnɡpōzú zìzhìqū) ตำบลปกครองตนเองเผ่าไตเผ่าว้าเมืองเกิ่งหม่า(耿马傣族佤族自治县Gěnɡmǎ Dǎizú Wǎzú zìzhìxiàn) ตำบลปกครองตนเองเผ่าไตเผ่าลาหู่เมืองเมิ่งเหลียน(孟连傣族拉祜族自治县Mènɡlián Dǎizú Lāhùzú zìzhìxiàn) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,158,989 คน พูดภาษาไต(傣语Dǎi yǔ) เป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต(汉藏语系Hàn Zànɡ yǔxì) สาขาภาษาจ้วงต้ง(壮侗语族Zhuànɡ Dònɡ yǔ zú) แขนงภาษาจ้วงไต(壮傣语支Zhuànɡ Dǎi yǔzhī) ชนเผ่าไตมีอักขระอักษร แต่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น มีการปรับปรุงใหม่ในปี 50 ของศตวรรษที่ 20 ใช้มาจนปัจจุบัน




(6) เต๋ออ๋าง (德昂族Dé’ánɡzú) ในอดีตตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นและจิ้น มีบันทึก
ถึงชาวผูเหริน(濮人Púrén) ชาวหมางหมาน(茫蛮Mánɡmán) ชาวพูจื่อหมาน(扑子蛮Pūzǐmán) ชาววั่งจวีจื่อหมาน(望苴子蛮Wànɡjūzǐmán) ชื่อชนเผ่าเหล่านี้ล้วนเป็นชนกลุ่มเดียวกันที่มีชื่อต่างๆกัน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวเต๋ออ๋าง ว้า และชาวปลังในปัจจุบัน ชาวเต๋ออ๋างอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย ในเขตปกครองตนเองเผ่าไตเผ่าจิ่งโป เมืองเต๋อหง มณฑลยูนนาน(云南德宏傣族景颇族自治州Yúnnán Dé hónɡ Dǎizú Jǐnɡpōzú) ในเขตตำบลเจิ้นคัง(镇康Zhènkānɡ) เกิ๋งหม่า(耿马Gěnɡmǎ) หย่งเต๋อ(永德Yǒnɡdé) ป่าวซาน(保山Bǎoshān) หลานชาง(澜沧Lán cānɡ) รวมบริเวณที่อยู่อาศัยของชนเผ่านี้กระจายครอบคลุมพื้นที่กว่า 3 หมื่นตารางกิโลเมตร นับเป็นชนเผ่าที่มีการตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายมาก มักอยู่ร่วมกับชนเผ่าจิ่งโป(景颇Jǐnɡpō) เผ่าว้า(佤Wǎ) และชาวฮั่น(汉Hàn) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 17,935 คน พูดภาษาเต๋ออ๋าง จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติค สาขามอญ-เขมร แขนงภาษาว้าเต๋อ แบ่งเป็น 3 สำเนียง คือ ปูเลย ลูมาย ลัวจิน ไม่มีภาษาอักษร




(7) ตรุง (独龙族Dúlónɡzú) เอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงชาวตรุงคือ บันทึก
ในสมัยราชวงศ์หยวน กล่าวถึงชาวตรุงในชื่อ “เชี่ยว” (撬Qiào) ในสมัยหมิงและชิงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ฉิว” (俅Qiú) หรือ“ฉวี่”(曲Qǔ) ในสมัยถังและซ่งอยู่ใต้การปกครองของน่านเจ้า(南诏Nánzhào) และต้าหลี่(大理Dàlǐ) ปัจจุบันชาวเผ่าตรุงอาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำตรุง(独龙河Dúlónɡhé) ซึ่งเป็นเขตติดต่อกันของเขตปกครองตนเองนู่เจียง(怒江傈僳族自治州Nùjiānɡ Lìsùzú zìzhìzhōu) และอำเภอปกครองตนเองก้งซาน(贡山独龙族怒族自治县 Gònɡshān Dúlónɡzú Nùzú zìzhìxiàn) ของมณฑลยูนนาน(云南省Yúnnánshěnɡ) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 7,426 คน พูดภาษาตรุง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า ภาษาของชนเผ่าตรุงทั้งสองบริเวณไม่แตกต่างกัน ไม่มีภาษาอักษร




(8) ฮานี (哈尼族Hānízú) บรรพบุรุษของชาวฮานี เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่
ทางตอนใต้ของแม่น้ำต้าตู้(大渡河Dàdùhé) บริเวณเมืองเหออี๋(和夷Héyí) ซึ่งในสมัยโบราณเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเชียงที่อพยพลงมาจากเหนือ ในบันทึกชาวถังเรียกบรรพบุรุษของชาวฮานีว่า “เหอหมาน” (和蛮Hémán) ปัจจุบันชนเผ่าฮานีอาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน บริเวณตอนปลายของแม่น้ำหลี่ รวมพื้นที่หลายตำบลเช่น ซินผิง(新平Xīnpínɡ) เจิ้นหยวน(镇源Zhènyuán) โม่เจียง(墨江Mòjiānɡ) หยวนหง(元江Yuánjiānɡ) หงเหอ(红河Hónɡhé) หยวนหยาง(元阳Yuányánɡ) ลวี่ชุน(绿春Lǜchūn) จินผิง(金平Jīnpínɡ) เจียงเฉิง(江城Jiānɡchénɡ) เป็นต้น มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,439,673 คน พูดภาษาฮานี จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า แขนงภาษาอี๋ ไม่มีภาษาอักษร ในปี 1957 รัฐบาลจีนได้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอักษรขึ้นใช้ โดยใช้อักษรภาษาลาติน




(9) หุย (回族Huízú ) คำเรียกชนเผ่า “หุย” ปรากฏครั้งแรกในบันทึกสมัยซ่ง
เหนือ(北宋Běisònɡ) และซ่งใต้(南宋 nánsònɡ) โดยมีกล่าวถึงกลุ่มชนชื่อ หุยเหอ(回纥Huíhé) และหุยกู่ (回鹘Huíɡǔ) ซึ่งเป็นอิสลามิกชน ในศตวรรษที่ 13 ชาวหุยเหออพยพไปทางตะวันออกพร้อมๆกับชนเผ่าที่นับถือศาสนาอิสลามด้วยกัน ได้แก่ชาวเปอร์เซีย อาหรับ โดยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณทุ่งราบภาคกลาง ปัจจุบันชาวเผ่าหุยรวมตัวกันอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าหุย เมืองหนิงเซี่ย(宁夏回族自治区Nínɡxià Huízú zìzhìqū) นอกจากนี้ในบริเวณมณฑลกานซู๋(甘肃Gānsù) ชิงไห่(青海Qīnɡhǎi) ยูนนาน(云南Yúnnán) เหอเป่ย(河北Héběi) ซานตง(山东Shāndōnɡ) และเหอหนาน(河南Hénán) ก็มีชุมชนชาวหุยเล็กบ้างใหญ่บ้างอาศัยอยู่ประปราย มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,816,802 คน ชาวหุยอยู่ร่วมกับชาวฮั่นมาเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันพูดภาษาฮั่น และหากอยู่ในชุมชนเผ่าอื่นก็จะเรียนรู้ภาษาของเผ่าใกล้เคียง




(10) จิ่งโป (景颇族Jǐnɡpōzú) บรรพบุรุษของชาวจิ่งโปอาศัยอยู่ทางตอนใต้
ของบริเวณที่ราบสูงคังจั้ง(康藏高原Kānɡ Zànɡ ɡāoyuán) ต่อมาอพยพลงใต้ไปตั้งถิ่นฐานที่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน(云南Yúnnán) และทางตะวันตกของแม่น้ำนู่(怒江Nùjiānɡ) ปัจจุบันอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าไตเผ่าจิ่งโปเมืองเต๋อหง มณฑลยูนนาน(云南德宏傣族景颇族自治Yúnnán Déhónɡ Dǎizú Jǐnɡpōzú zìzhìzhōu) ในบริเวณที่เป็นหุบเขา เช่นเขตตำบลลู่ซี(潞西Lùxī) รุ่ยลี่(瑞丽Ruìlì) หล่งชวน (陇川Lǒnɡchuān) อิ๋งหง(盈江Yínɡjiānɡ) และตำบลเหลียงเหอ(梁河Liánɡhé) บ้านเพี่ยนหม่า(片马Piànmǎ) กู่ลั่ง(古浪Gǔlànɡ) กั่งฝาง(岗房Gǎnɡfánɡ) ในเขตปกครองตนเองนู่เจียง(怒江Nùjiānɡ) เผ่าลีซู(傈僳族Lìsùzú) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 132,143 คน พูดภาษาจิ่งโพ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า แขนงภาษาจิ่งโป นอกจากนี้บางกลุ่มพูดภาษาไจวา (Zaiwa language)จัดอยู่ในสาขาภาษาพม่า มีภาษาเขียนที่พัฒนาขึ้นภายหลังโดยใช้อักษรลาติน




(11) จีโน (基诺族jīnuò zú) “จีโน” เป็นคำเรียกที่ชนเผ่านี้เรียกตัวเอง
หมู่บ้านชาวจีโนเดิมเรียกว่า “เขาจีโน” (基诺山Jīnuòshān) พงศาวดารราชวงศ์ชิงเรียกชุมชนชาวจีโนว่า “โยวเล่อซาน” (攸乐山Yōulèshān) เอกสารบันทึกภาษาจีนที่เกี่ยวข้องกับชาวจีโนที่เก่าแก่ที่สุดสามารถสืบค้นได้คือในสมัยศตวรรษที่ 18 คือช่วงปลายสมัยราชวงศ์หมิงต่อไปถึงต้นสมัยราชวงศ์ชิง คำว่า “จีโน” มีความหมายว่า “ทายาทของลุง” หรือ “ชนเผ่าที่เคารพลุง” ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านจีโน ในเขตปกครองตนเองเผ่าไตสิบสองปันนาของมณฑลยูนนาน(云南西双版纳傣族自治州Yúnnán Xī shuānɡ bǎnnà Dǎizú zìzhìzhōu) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 20,899 คน พูดภาษาจีโน จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบต - พม่า แขนงภาษาอี๋ ไม่มีภาษาอักษร







(12) ลาหู่ (拉祜族Lāhù zú) ชาวลาหู่สืบเชื้อสายมาจากชนชาติเชียง (羌人
Qiānɡrén) ซึ่งเป็นชนเผ่าโบราณที่ดำรงชีวิตอยู่ในบริเวณกานซู่และที่ราบสูงทิเบตมาแต่ครั้งบรรพกาล ต่อมาอพยพลงใต้เข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตอนใต้ของฝั่งแม่น้ำจินซา (金沙江Jīnshājiānɡ) ซึ่งเป็นพื้นที่ของมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ในสมัยฉินและฮั่นดำรงชีวิตอยู่ในบริเวณชุมชนที่พูดภาษาแขนงภาษาอี๋ (彝语支Yí yǔzhī) จึงถูกเรียกว่า ชาวอี๋คุนหมิง (昆明夷Kūnmínɡ Yí) นับเป็นบรรพบุรุษชาวลาหู่รุ่นแรก เรียกตัวเองว่า “ลาหู่” แต่บุคคลภายนอกเรียกชนเผ่านี้ต่างกันไปหลายชื่อ เช่น หลัวเฮย(倮黑Luǒhēi) เกอชัว (哥搓Gēcuō) เหมี่ยน(缅Miǎn) มูเซอ(目舍Mùshě) ขู่ชง(苦聪Kǔcōnɡ) เป็นต้น ปัจจุบันชาวลาหู่ประมาณ 80% อาศัยอยู่ในแถบลุ่มน้ำหลานชาง(澜沧Láncānɡ) บริเวณเมืองซือเหมา(思茅Sīmáo) หลินชาง(临沧Líncānɡ) ในเขตที่เป็นรอยต่อของเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา เขตปกครองตนเองเผ่าฮานี(哈尼Hāní) เผ่าอี๋(彝族Yízú) และในเมืองยวี่ซี(玉溪Yùxī) ก็มีชนเผ่าลาหู่อาศัยอยู่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 453,705 คน พูดภาษาลาหู่ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า แขนงภาษาอี๋ ชาวลาหู่อาศัยอยู่ร่วมกับชาวฮั่นและชาวไตมาเป็นเวลาช้านาน ส่วนมากสามารถพูดภาษาไตและภาษาฮั่นได้ ในอดีตเคยใช้อักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นจากภาษาลาตินโดยหมอสอนศาสนาตะวันตก กระทั่งปี ค.ศ. 1957 ได้พัฒนาขึ้นใช้อย่างเป็นทางการ







(13) มู่หล่าว(仫佬族Mùlǎozú) มีวิวัฒนาการมาจากชาวชนเผ่าในอดีตที่ชื่อว่า
เหลียว (僚Liáo) ดำรงชีวิตและตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณอยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขาหยวินหลิ่ง(云岭Yúnlǐnɡ) ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงหยวินกุ้ย (云贵Yúnɡuì) หลังจากยุคราชวงศ์ถังและซ่งเป็นต้นมาเรียกชื่อว่า ชาวเหลียว(僚Liáo) หรือชาวหลิง(伶Línɡ) มีชื่อเรียกพื้นเมืองว่า “หมู่หล่าว” (姆佬Mǔlǎo) ต่อมาชาวมู่หล่าวแยกตัวออกมาจากชาวหลิ่งและชาวเหลียว ก่อตัวกันเป็นชนเผ่าใหม่ในสมัยซ่ง ในอดีตมีชื่อเรียกตัวเองหลายชื่อ เช่น “หลิง”(伶 Línɡ) “จิ่น” (谨 Jǐn) ชาวจ้วงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ปู้จิ่น”(布谨 Bùjǐn) หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “มู่หล่าว” ปัจจุบันชาวมู่หล่าวส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณอำเภอปกครองตนเองมู่หล่าวในเมืองหลัวเฉิง(罗城Luóchénɡ) ของมณฑลกว่างซี(广西Guǎnɡxī) นอกจากนี้ยังมีกระจัดกระจายอยู่ตามปะปนกับชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นได้แก่ จ้วง(壮 Zhuànɡ) ฮั่น (汉Hàn) เย้า(瑶Yáo) แม้ว(苗 Miáo) ต้ง(侗 Dònɡ) เหมาหนาน(毛南 Máonán) และสุ่ย(水Shuǐ) เป็นต้น มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 207,352 คน พูดภาษามู่หล่าว ยังไม่สามารถจัดกลุ่มได้แน่ชัด แต่เป็นภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาเหมาหนาน ภาษาต้ง และภาษาสุ่ย
(14) แม้ว (苗族Miáozú) ชาวแม้วสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่ากลุ่มเล็กกลุ่มน้อย
ที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำแยงซีที่ชื่อ “หนานหมาน” (南蛮Nánmán) ในสมัยฉินฮั่น (秦汉时代 Qín Hànshídài) ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขึ้นในบริเวณพื้นที่เมืองเซียงซี (湘西 Xiānɡxī) และเฉียนตง(黔东Qiándōnɡ) ในปัจจุบัน ในอดีตเรียกชื่อว่าบริเวณ อู่ซี (五溪 Wǔxī) ในบริเวณดังกล่าวมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่รวมกันมากมาย จึงรวมเรียกชื่อว่า อู่ซีหมาน(五溪蛮 Wǔxīmán) หรืออู่หลิงหมาน(武陵蛮 Wǔlínɡ mán) ต่อมาชนกลุ่มน้อยเหล่านี้กระจัดกระจายอพยพไปทางตะวันตก ปัจจุบันนี้ชาวแม้วมีถิ่นฐานอยู่ในเมืองและมณฑลต่างๆในจีนหลายแห่ง เช่น กุ้ยโจว(贵州Guìzhōu) หูหนาน(湖南Húnán) ยูนนาน(云南Yúnnán) เสฉวน (四川Sìchuān) กว่างซี(广西Guǎnɡ xī) หูเป่ย(湖北Húběi) ไหหลำ(海南Hǎinán) ถิ่นที่มีชาวแม้วรวมตัวกันอยู่มากที่สุดคือ บริเวณรอยต่อทางทิศตะออกเฉียงใต้ของเมืองเฉียนกับเมืองเซียงเอ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองเซียงซี มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,940,116 คน พูดภาษาแม้ว จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาภาษาแม้วเย้า แขนงภาษาแม้ว แบ่งได้ 3 สำเนียงคือ สำเนียงเซียงซีตะวันออก (湘西 Xiānɡxī) สำเนียงเฉียนตงส่วนกลาง(黔东Qiándōnɡ) และสำเนียงชวนเฉียนเตียนตะวันตก สำเนียงชวนเฉียนเตียนตะวันตกยังแบ่งออกได้อีก 7 สำเนียงย่อย ปี 1956 รัฐบาลจีนได้ประดิษฐ์อักษรสำหรับชนเผ่าแม้วขึ้นโดยใช้อักษรลาติน และใช้อย่างกว้างขวางจนปัจจุบัน







(15) มนปา (门巴族Ménbāzú) ศิลาจารึกเมื่อปี ค.ศ.823 ของวัดเจาซื่อ (昭寺
Zhāosì) ที่สร้างอยู่ในลาซ่า (拉萨Lāsà) เขตปกครองตนเองทิเบต (西藏Xīzànɡ) กล่าวว่า “ชาวมอญ (孟族Mènɡ zú) ร่วมกับชนเผ่าต่างๆ แย่งชิงบรรณาการกับราชสำนักถู่ฟาน(吐蕃王朝Tǔfān wánɡcháo)” ชนชาวมอญที่กล่าวถึงในที่นี้มีชาวมนปารวมอยู่ด้วย ปัจจุบันชนเผ่ามนปามีถิ่นฐานอยู่ในเมืองเหมินหยวี(门隅Mén yú) บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของเขตปกครองตนเองทิเบต กลางศตวรรษที่ 19 มีชาวมนปาบางส่วนหลบหนีจากการถูกกดขี่ใช้แรงงานทาสของชาวทิเบต อพยพหลบหนีไปทางตะวันออกและตั้งถิ่นฐานที่เมืองโม่ทัว(墨脱Mòtuō) ชนกลุ่มน้อยเผ่ามนปา มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,923 คน พูดภาษามนปา จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาภาษาทิเบตพม่า แขนงภาษาทิเบต ไม่มีภาษาเขียน ใช้อักษรทิเบต







(16) น่าซี (纳西族 Nàxīzú) บรรพบุรุษของชาวน่าซีมีความใกล้ชิดทางชาติ
พันธุ์กับชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อเรียกในสมัยฮั่นว่า “เหมาหนิวอี๋” (牦牛夷 Máoniúyí) ชื่อในสมัยจิ้นเรียกชื่อว่า “หมัวซาอี๋” (摩沙夷 Móshāyí) ในสมัยถังเรียกว่า“หมัวเซียหมาน” (磨些蛮 Móxiē mán) ชาวเผ่าน่าซีมีถิ่นที่อยู่ในอำเภอปกครองตนเองเผ่าน่าซีเมืองลี่เจียง ของมณฑลยูนนาน(云南丽江纳西族自治县 Yúnnán Lìjiānɡ Nàxīzú zìzhìxiàn) นอกจากนี้ในอำเภอเหยียนหยวน(盐源 Yányuán) เหยียนเปียน(盐边 Yánbiān) มู่หลี่ (木里 Mùlǐ) ของมณฑลเสฉวน และในอำเภอหมางคัง(茫康 Mánɡ kānɡ) ของทิเบตก็มีชาวเผ่าน่าซีอาศัยอยู่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 308,839 คน พูดภาษาภาษาน่าซี จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า แขนงภาษาอี๋ ในอดีตมีอักษรภาพสื่อความหมายเรียกว่า “อักษรตงปา” (东巴文 Dōnɡbāwén) และมีอักษรแบบแทนเสียงเรียกว่า “เกอปา”(哥巴文 Gēbāwén) แต่ใช้ไม่แพร่หลาย และสูญหายไปในที่สุด ปัจจุบันชาวน่าซีใช้ภาษาเขียนที่ประดิษฐ์ขึ้นจากอักษรลาตินในปี 1957







(17) นู่ (怒族Nùzú) เป็นชนเผ่าเก่าแก่ที่อาศัยติดแผ่นดินสองฝั่งแม่น้ำนู่และแม่น้ำหลานชางมาแต่โบราณกาล มีพัฒนาการมาจากชนเผ่าหลูลู่หมาน (庐鹿蛮Lúlùmán) ซึ่งเป็นชนเผ่าดั้งเดิมในสมัยถังที่อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นเมืองฝูก้งและเมืองก้งซานของมณฑลยูนนาน ปัจจุบันชาวเผ่านู่ส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ใน 3 อำเภอของมณฑลยูนนานได้แก่ ปี้เจียง(碧江Bìjiānɡ) ฝูก้ง(福贡Fúɡònɡ) ก้งซาน (贡山Gònɡshān) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 28,759 คน พูดภาษาภาษานู่ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า ภาษานู่ต่างสำเนียงในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันมาก ผู้คนที่อาศัยอยู่ต่างอำเภอกัน ไม่สามารถใช้ภาษานู่ที่ต่างสำเนียงกันสื่อสารกันเข้าใจได้ ไม่มีภาษาอักษร ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีน







(18) สุย (水族Shuǐzú) ชาวสุ่ยสืบเชื้อสายและแตกแขนงมาจากชนร้อยเผ่า
โบราณที่ชื่อ “ไป่เยว่” (百越 Bǎiyuè) ซึ่งมีอารยธรรมมาตั้งแต่สมัยฉินฮั่น ในสมัยถังและซ่งมีชื่อเรียกเป็นชื่อเดียวกันกับชนเผ่าที่พูดภาษากลุ่มจ้วงต้ง(壮侗 Zhuànɡ Dònɡ) ว่า “เหลียว” (僚Liáo) จนถึงสมัยหมิงและชิงจึงแยกตัวเองออกมาเรียกตัวเองว่า “สุ่ย” (水shuǐ) อารยธรรมของชาวสุ่ยเริ่มถือกำเนิดตั้งแต่สมัยเป่ยซ่ง โดยตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอยู่บริเวณรอยต่อของต้นแม่น้ำหลง(龙江 Lónɡjiānɡ) และต้นแม่น้ำหลิ่ว (柳江 Liǔjiānɡ) โดยมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า “เขตฝูสุ่ย” (抚水州 Fǔshuǐzhōu) ปัจจุบันชาวเผ่าสุ่ยส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ที่เขตปกครองตนเองเผ่าสุ่ย มณฑลกุ้ยโจว(贵州水族自治州Guìzhōu Shuǐzú zìzhìzhōu) และกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆของมณฑลกุ้ยโจวเช่น ลี่โป(荔波 Lìbō) ตู๋ซาน(独山 Dúshān) ตูหยวิน(都匀 Dūyún) หรงเจียง(榕江 Rónɡjiānɡ) ฉงเจียง(从江 Cónɡjiānɡ) และมีส่วนน้อยที่กระจัดกระจายอยู่ในตำบลต่างๆของมณฑลกว่างซี มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 406,902 คน พูดภาษาภาษาสุ่ย จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาภาษาจ้วงต้ง แขนงภาษาต้งสุ่ย ในอดีตมีภาษาอักษรเป็นของตนเอง แต่ปัจจุบันใช้อักษรจีน







(19) เซอ (畲族Shēzú) ชาวเซอ เรียกตัวเองว่า “ซานฮา” (山哈shānhā)
หมายถึงผู้ที่อาศัยอยู่บนภูเขา สืบเชื้อสายมาจากชนกลุ่มเดียวกันกับชนเผ่าเย้า(瑶族Yáozú ) ชื่อ “อู่หลิงหมาน”(武陵蛮Wǔlínɡ Mán) หรือเรียกอีกชื่อว่า “อู่ซีหมาน”(五溪蛮Wǔ xīMán) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคฮั่น(汉Hàn) และจิ้น(晋Jìn) ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน บริเวณมณฑลฝูเจี้ยน(福建Fújiàn) เจ้อเจียง(浙江Zhèjiānɡ) เจียงซี(江西Jiānɡxī) กว่างตง(广东Guǎnɡdōnɡ)และอันฮุย(安徽 ānhuī) พงศาวดารในสมัยถังมีบันทึกเกี่ยวกับชนเผ่าเซอหลายชื่อคือ หมาน(蛮Mán) หมานเหลียว(蛮僚Mán Liáo) ตงหมาน(峒蛮Dònɡ Mán) หรือตงเหลียว (峒僚 Dònɡ Liáo) จนถึงสมัยซ่งใต้ เริ่มมีบันทึกเกี่ยวกับชาวเซอ โดยเรียกชื่อชนกลุ่มนี้ว่า “ชาวเซอ” (畲民 Shēmín) และ “เฉวียนหมิน” (拳民Quánmín) หลังปฏิวัติวัฒนธรรมชนกลุ่มนี้เปลี่ยนชื่อเป็น เผ่าเซอ (畲族Shēzú) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 709,592 คน พูดภาษาภาษาเซอ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาภาษาแม้วเย้า 99%ของคำในภาษาเซอใกล้เคียงกับภาษาจีนสำเนียงแคะ(客家Kèjiā) แต่มีความแตกต่างกันด้านระบบเสียง และมีคำศัพท์บางคำเป็นคนละคำแยกต่างหากจากภาษาจีนแคะ ไม่มีภาษาอักษร ใช้อักษรจีน







(20) ว้า (佤族Wǎzú) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก่าแก่มากกลุ่มหนึ่งในมณฑลยูนนาน
ในสมัยฮั่นจิ้น(汉晋Hàn Jìn) เรียกชนกลุ่มที่พูดภาษากลุ่มมอญเขมรแถบมณฑลยูนนานว่า “ผู” (濮Pú) ชนกลุ่มนี้อาศัยปะปนอยู่กับชนชาวไต(傣Dǎi) ชาวจ้วง(壮Zhuànɡ) ตามแถบลุ่มแม่น้ำหลานชาง(澜沧江Láncānɡjiānɡ) ต่อมาในสมัยถังและซ่งเรียกชื่อกลุ่มชนในบริเวณนี้ต่างๆกัน เช่น วั่งหมาน(望蛮Wànɡ Mán) ผูจึหมาน(朴子蛮Pǔzǐ Mán) ชื่อโข่วผู(赤口濮Chìkǒupú) เฮยเฝินผู(黑焚濮Hēifénpú) ซึ่งล้วนเป็นชื่อเรียกกลุ่มชนที่พูดภาษาสาขาว้าปะหล่อง(佤崩龙语支Wǎbēnɡlónɡ yǔzhī) ทั้งสิ้น ในสมัยหยวนชนกลุ่มผูหมานแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อย คือ เซิงผู (生蒲Shēnɡpú บางครั้งก็เรียกว่าเหย่ผู 野蒲Yěpú หมายถึงผูดิบ หรือผูป่า) อีกกลุ่มหนึ่งคือ สูผู (熟蒲Shúpú หมายถึงผูสุก) ชาวเซิงผูที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองเจิ้นคังนี้เป็นบรรพบุรุษของชาวว้า ปัจจุบันชาวว้ามีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลยูนนาน ที่อำเภอซีเหมิง(西盟Xīménɡ) ชางหยวน(沧源Cānɡyuán) เมิ่งเหลียน(孟连Mènɡlián) นอกจากนี้ยังมีกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆครอบคลุมพื้นที่ช่วงทิศใต้ของเทือกเขานู่ซาน(怒山Nùshān) ระหว่างแม่น้ำหลานชาง(澜沧江Láncānɡjiānɡ) ต่อกับแม่น้ำสารวัน(萨尔温江Sà’ěr wēn jiānɡ) จึงเรียกชื่อบริเวณหุบเขานี้ว่า “หุบเขาอาหว่า” (阿佤山区Ā wǎ shānqū) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 396,610 คน พูดภาษาว้า จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเซียติค สาขาภาษามอญเขมร แขนงภาษาว้า มีสามสำเนียงภาษาคือ ปาราวเคอ (巴饶克Bāráokè) อาหว่า(阿瓦Ā wǎ) และ หว่า(瓦wǎ) ไม่มีภาษาเขียน มีภาษาว้าที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยหมอสอนศาสนาคริสต์ แต่ไม่เป็นที่นิยม ต่อมาปี 1957 รัฐบาลจีนส่งนักภาษาศาสตร์จีนไปลงพื้นที่และประดิษฐ์ภาษาว้าขึ้นโดยใช้อักษรลาติน ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน







(21) เย้า (瑶族Yáozú) ชนเผ่าเย้า(หรือเหยาในภาษาจีน) มีความสัมพันธ์ทาง
ชาติพันธุ์ใกล้ชิดกับชนเผ่าโบราณชื่อ “จิงหมาน” (荆蛮Jīnɡ Mán) และ “ฉางซาอู่หลิงหมาน” (长沙武陵蛮Chánɡshā Wǔlínɡ Mán) มีชื่อเรียกตัวเองหลายชื่อ อ่านตามเสียงอักษรจีนที่บันทึกไว้มี เหมี่ยน(勉Miǎn) จินเหมิน(金门Jīnmén) ปู้หนู่(布努Bùnǔ) ปิ่งตัวโยว(炳多优Bǐnɡduōyōu) เฮยโหยวเหมิง(黑尤蒙Hēiyóuménɡ) ลาเจีย(拉珈Lājiā) นอกจากนี้ด้วยเหตุที่ชาวเย้าในแต่ละท้องที่มีวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และลักษณะที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน จึงมีชื่อเรียกตนเองแตกต่างกันไปด้วย เช่น ซานจื่อเหยา(山子瑶Shānzǐ Yáo) หมายถึงชาวเย้าภูเขา ป๋ายคู่เหยา(白裤瑶Báikù Yáo) หมายถึงเย้ากางเกงขาว หงเหยา(红瑶Hónɡ Yáo) หมายถึงเย้าแดง หลานเตี้ยนเหยา(蓝靛瑶Lándiàn Yáo) หมายถึงเย้าน้ำเงิน ผิงตี้เหยา(平地瑶PínɡdìYáo) หมายถึงเย้าที่ราบ เอ้าเหยา(坳瑶Ào Yáo) หมายถึงเย้าที่ราบหุบเขา เป็นต้น หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงเรียกชื่อชนเผ่านี้รวมกันว่า “เหยา” ปัจจุบันชนเผ่าเหยาอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงในมณฑลกว่างซี และกระจายอยู่ตามมณฑลต่างๆเช่น ยูนนาน กว่างซี กุ้ยโจว มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,637,421 คน พูดภาษาเหยา แต่การแบ่งสายตระกูลภาษาค่อนข้างซับซ้อน เพราะภาษาในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันมาก ถึงขั้นที่ภาษาเหยาในต่างพื้นที่กันไม่สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ บางกลุ่มพูดภาษาจีนและภาษาจ้วงไม่มีภาษาเขียน ส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีน







(22) อี๋ (彝族Yízú) เดิมคือชนเผ่าเชียงโบราณ (古羌人Gǔqiānɡrén) ที่
อพยพลงใต้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งในขณะนั้นได้มีชนเผ่าโบราณหลายกลุ่มอพยพมาและตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้ว เมื่อชนเชียงโบราณอพยพมาถึงก็ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ปะปนรวมกันกับ “ชนร้อยเผ่า” (百越族Bǎiyuèzú) จนผสมผสานกลมกลืนกันขึ้น จากนั้นบรรพบุรุษของชาวอี๋ได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มเรียกชื่อว่า อูหมาน(乌蛮Wū Mán“หมานดำ”) และ ป๋ายหมาน (白蛮Bái Mán “หมานขาว”) กลุ่มหมานดำคือกลุ่มที่พัฒนามาจากชนเผ่าบริเวณคุนหมิง ส่วนกลุ่มป๋ายหมานคือกลุ่มชนชาวโส่วและผูเป็นหลัก ปัจจุบันชนเผ่าอี๋มีชื่อเรียกตัวเองต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ เช่น นั่วซู(诺苏Nuòsū) น่าซู(纳苏Nàsū) หลัวอู่(罗武Luówǔ) หมี่ซาโพ(米撒泼Mǐsāpō) ซาหนี(撒尼Sāní) อาซี(阿西Ā xī) เป็นต้น บริเวณที่มีชาวอี๋อาศัยอยู่มากได้แก่มณฑลเสฉวน มีชาวอี๋อยู่ที่กลุ่มปกครองตนเองชาวอี๋เขาเหลียงซาน(凉山Liánɡshān) ที่มณฑลยูนนานมีชาวอี๋อยู่ที่กลุ่มปกครองตนเองชาวอี๋เมืองฉู่สยง (雄彝Xiónɡyí) และกลุ่มปกครองตนเองเผ่าฮานีเมืองหงเหอ (红河Hónɡhé) ที่มณฑลกุ้ยโจวมีชาวอี๋อยู่ที่เมืองปี้เจี๋ย (毕节Bìjié) และลิ่วผานสุ่ย (六盘水Liùpánshuǐ) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 7,762,286 คน พูดภาษาอี๋ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า แขนงภาษาอี๋ มี 6 สำเนียงภาษา เดิมมีภาษาเขียนที่เป็นอักษรภาพ ชื่อว่า อักษรหนาง (囊文Nánɡwén) ในปี 1975 มณฑลเสฉวนพัฒนาอักษรภาษาอี๋ให้กับชาวอี๋ที่กลุ่มปกครองตนเองชาวอี๋เหลียงซาน







(23) จ้วง (壮族Zhuànɡzú) ชาวจ้วงวิวัฒนาการมาจากชาวเยว่ในสมัยโบราณ
ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่หลิ่งหนาน(岭南Lǐnɡnán) มีชื่อในบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่า ซีหว่า(西瓯Xī’ōu) และลั่วเยว่ (骆越Luòyuè) ซึ่งเป็นชนกลุ่มย่อยในกลุ่มชนร้อยเผ่าไป่เยว่ กลุ่มชนสองกลุ่มนี้ วิวัฒนาการมาเป็นชาวจ้วงในปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ชาวจ้วงมีถิ่นฐานอยู่ที่เขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงมณฑลกว่างซี(广西壮族自治州 Guǎnɡxī Zhuànɡzú zìzhìzhōu) เขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงและเผ่าแม้วมณฑลยูนนาน(云南壮族苗族自治州Yúnnán Zhuànɡzú Miáozú zìzhìzhōu) และมีส่วนน้อยกระจายอยู่ที่ในบริเวณต่างๆของมณฑลกว่างตง(广东Guǎnɡdōnɡ) หูหนาน(湖南Húnán) กุ้ยโจว (贵州Guìzhōu) และเสฉวน(四川Sìchuān) คำเรียกชื่อชาวจ้วงเป็นคำที่ชนกลุ่มนี้ใช้เรียกตนเองว่า “ปู้จ้วง” นอกจากนี้ชาวจ้วงมีคำเรียกตัวเองอีกมากมายแตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่ เช่น ปู้หนง(布侬Bùnónɡ) ปู้ถู่(布土Bùtǔ) ปู้ย่าง (布样Bùyànɡ) ปู้ปาน(布斑Bùbān) ปู้เยว่(布越Bùyuè) ปู้น่า(布那Bùnà) หนงอาน(侬安Nónɡ’ān) ปู้เพียน (布偏Bùpiān) ถูหล่าว(土佬Tǔlǎo) เกาหลาน(高栏Gāolán) ปู้ม่าน(布曼Bùmàn) ปู้ต้าย (布岱Bùdài) ปู้หมิ่น(布敏Bùmǐn) ปู้หลง(布陇Bùlǒnɡ) ปู้ตง(布东Bùdōnɡ) เป็นต้น หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนรวมเรียกชื่อชนเผ่านี้ว่า “ถง” (僮族Tónɡzú) ในปี 1965 โจวเอินหลาย(周恩来Zhōu Ēnlái) เสนอให้รัฐบาลจีนเปลี่ยนชื่อเรียกชนกลุ่มนี้เป็น “จ้วง” (壮Zhuànɡ) ชาวจ้วงเป็นชนกลุ่มน้อยในจีนที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ปัจจุบันมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 16,178,811 คน พูดภาษาจ้วง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาภาษาจ้วงต้ง แขนงภาษาจ้วงไต ในสมัยซ่งใต้มีการใช้ภาษาเขียนที่เป็นอักษรจีนแบบเหลี่ยม แต่ไม่เป็นที่แพร่หลาย ในปี 1955 รัฐบาลจีนพัฒนาระบบการเขียนอักษรภาษาจ้วงโดยใช้อักษรลาติน และใช้อย่างแพร่หลายมาจนปัจจุบัน







(24) ผูหมี่ (普米族Pǔmǐ zú) เดิมเป็นกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่ราบสูง
ทิเบต ต่อมาอพยพจากบริเวณที่หนาวเย็นลงไปตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบพื้นดินที่มีอากาศอบอุ่นกว่า ประมาณเวลาอยู่ในยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นเขตมณฑลเสฉวน ปัจจุบันชนเผ่าผูหมี่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอหลานผิง(兰坪Lánpínɡ) ลี่เจียง(丽江Lìjiānɡ) เหวยซี(维西Wéixī) หย่งเซิ่ง(永胜Yǒnɡshènɡ) และเขตปกครองตนเองเผ่าอี๋(彝族Yízú) อำเภอหนิงลั่ง(宁蒗Nínɡlànɡ) นอกจากนี้ยังมีบางส่วนอาศัยอยู่อำเภอเหยียนหยวน (盐源Yányuán) และเขตปกครองตนเองทิเบตอำเภอมู่หลี่(木里Mùlǐ)มณฑลเสฉวน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 33,600 คน พูดภาษาภาษาผูหมี่ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า ชาวผูหมี่ที่อำเภอหนิงลั่ง (宁蒗Nínɡlànɡ) เคยใช้ภาษาเขียนของภาษาทิเบต แต่ไม่เป็นที่นิยม ปัจจุบันใช้ภาษาจีน







(25) ลี่ซู (傈僳族Lìsùzú) เป็นชนกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของชนเผ่าโบราณชื่อ อูหมาน(乌蛮Wū mán “หมานดำ”) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางสายเลือดกับชนเผ่าอี๋(彝族Yízú) และเผ่าน่าซี (纳西族Nàxīzú) ในศตวรรษที่ 8 บรรพบุรุษของชาวลี่ซูตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำจินซา(金沙江Jīnshājiānɡ) ต่อมาอพยพหลบหนีลงไปทางใต้แยกเป็นสองสาย สายหนึ่งไปทางทิศตะวันตกและตะวันออก เข้าสู่บริเวณเมืองเต๋อหง (德宏Déhónɡ) หลินชาง (临沧Líncānɡ) และเกิ๋งหม่า(耿马Gěnɡmǎ) อีกสายหนึ่งอพยพลัดเลาะไปตามฝั่งแม่น้ำจินซาจนตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองลู่เชวี่ยน (禄劝Lùquàn) และต้าเหยา (大姚Dàyáo) ปัจจุบันอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองนู่เจียง (怒江Nùjiānɡ) เผ่าลีซูของมณฑลยูนนาน และยังมีกระจัดกระจายอยู่ในตำบลและอำเภอต่างๆของมณฑลยูนนาน ในมณฑลเสฉวน(四川Sìchuān) ก็มีชาวลีซูอาศัยอยู่ประปราย ปัจจุบันชาวลี่ซูมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 634,912 คน พูดภาษาลีซู จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า แขนงภาษาอี๋







(26) หลี (黎族Lízú) ชนชาวหลีสืบเชื้อสายมาจากชนร้อยเผ่าชื่อป่ายเยว่ใน
สมัยโบราณ ในอดีตชาวฮั่นมีคำเรียกชนกลุ่มน้อยทางตอนใต้หลายชื่อ โดยไม่ได้แบ่งว่าเป็นชนกลุ่มใด ในสมัยซีฮั่นเรียกว่าลั่วเยว่ (骆越Luò yuè) สมัยตงฮั่นเรียกว่า หลี่(里Lǐ) หมาน(蛮Mán) สมัยสุยและถังเรียกว่าหลี่ (俚Lǐ) เหลียว (僚Liáo) ปัจจุบันชนกลุ่มน้อยเผ่าหลีอาศัยอยู่ตามเชิงเขา บริเวณตอนใต้ของมณฑลไหหลำในเขตตำบล ฉยง-จง(琼中Qiónɡzhōnɡ) ป๋ายซา(白沙Báishā) ชางเจียง(昌江Chānɡjiānɡ) ตงฟาง(东方Dōnɡfānɡ) เล่อตง(乐东Lèdōnɡ) หลิงสุ่ย(陵水Línɡshuǐ) ป่าวถิง(保亭Bǎo tínɡ) เมืองทงสือ (通什Tōnɡshí) เมืองซานย่า(三亚Sānyà) มีสำเนียงภาษาและการแต่งกายแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ ชื่อเรียกตัวเองก็แตกต่างกันด้วย เช่น ปั้น(伴Bàn) ฉี(岐Qí) ฉี่ (杞Qǐ) เหม่ยฝู(美孚Měifú) เปิ่นตี้(本地Běndì) เป็นต้น มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,247,814 คน พูดภาษาหลี จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาจ้วงต้ง แขนงภาษาหลี ปี 1957 ประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้โดยใช้อักษรลาติน







(27) จิง(京族Jīnɡzú) ชาวจิงอพยพมาจากพื้นที่ต่างๆ ของประเทศเวียดนาม
โดยเฉพาะจากบริเวณหุบเขาถู(涂山Túshān) เรียกตัวเองว่า “จิง” มาแต่ครั้งอดีต แต่คนภายนอกเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “เยว่” จนปี ค.ศ. 1958 จึงใช้ชื่อ “จิง” เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันชาวจิงอาศัยอยู่กลางหุบเขาอำเภอเจียงผิง(江平Jiānɡpínɡ) ตำบลลี่เหว่ย(丽伟Lìwěi) อูโถว(乌头Wūtóu) เหิงวั่ง(恒望Hénɡ wànɡ) ถันจี๋ (谭吉Tánjí) หงขั่น(宏坎Hónɡkǎn) จู๋ซาน(竹山Zhúshān) ในเขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงของมณฑลกว่างซี มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 22,517 คน พูดภาษาจิง ภาษานี้เหมือนกับภาษาเวียดนาม แต่ชาวจิงส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้ภาษาจีน อักษรจีน และภาษากวางตุ้ง







(28) ต้ง(侗族Dònɡzú) ชาวต้งเป็นกลุ่มชนชาวเหลียวโบราณ ซึ่งเป็นชนกลุ่ม
ย่อยของชนร้อยเผ่า “ไป่เยว่” ปัจจุบันมีชาวต้ง ชาวเหมาหนาน ชาวจ้วง และชาวสุ่ย ชนทั้งสี่กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ด้านภาษา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่และบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะทางด้านภาษา นักภาษาศาสตร์จีนจึงจัดภาษาทั้งสี่ภาษาอยู่ในตระกูลภาษาเดียวกัน ปัจจุบันชาวต้งอาศัยอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว(贵州省Guìzhōushěnɡ) บริเวณเมืองหลีผิง (黎平Lípínɡ) ฉงเจียง(从江Cónɡjiānɡ) หรงเจียง(榕江Rónɡjiānɡ) เทียนจู้(天祝Tiānzhù) จิ่นผิง(锦屏 Jǐnpínɡ) ซานซุ่ย(三穗Sānsuì) เจิ้นหย่วน(镇远Zhènyuǎn) เจี้ยนเหอ(剑河Jiànhé) ยวี่ผิง(玉屏Yùpínɡ) ในมณฑลหูหนาน(湖南省Húnánshěnɡ) บริเวณเมืองซินห่วง(新晃Xīnhuǎnɡ) จิ้งเซี่ยน(靖县Jìnɡxiàn) ทงเต้า(通道Tōnɡdào) ในเขตปกครองตนเองเผ่าจ้วง มณฑลกว่างซี(广西Guǎnɡxī) บริเวณตำบลซานเจียง (三江Sānjiānɡ) หลงเซิ่ง(龙胜Lónɡshènɡ) หรงสุ่ย(融水Rónɡshuǐ) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,960,293 คน พูดภาษาต้ง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาภาษาจ้วงต้ง แขนงภาษาต้งสุ่ย แบ่งออกเป็นสองสำเนียงภาษาคือ สำเนียงต้งเหนือ และสำเนียงต้งใต้ ไม่มีภาษาอักษร ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีน กระทั่งในปี ค.ศ. 1958 มีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ โดยใช้อักษรภาษาลาติน




(29) เหมาหนาน (毛南族Máonán zú) ชาวเหมาหนานพัฒนาแตกสาขามาจากชนร้อยเผ่าที่เรียกชื่อว่า ไป่เยว่ (百越Bǎi yuè) ยุคก่อนถังคือพวกเหลียว (僚Liáo) ในสมัยซ่ง หยวน และหมิง คือพวกหลิง(伶Línɡ) ชนเผ่าเหล่านี้นี่เองคือบรรพบุรุษยุคแรกๆ ของชาวเหมาหนาน ศูนย์กลางที่มีชนเผ่าเหมาหนานอาศัยอยู่คือภูเขาเหมาหนาน(茅难山Máo nán shān) ทางใต้ของตำบลหวนเจียง(环江Huánjiānɡ) นอกจากนี้ยังมีส่วนน้อยกระจายอาศัยอยู่ในตำบลหนานตัน(南丹Nándān) และตูอัน(都安Dū’ān) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 10,716 คน พูดภาษาเหมาหนาน จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาภาษาจ้วงต้ง แขนงภาษาต้งสุ่ย ไม่มีภาษาอักษร ชาวเหมาหนานอาศัยอยู่ร่วมกับชาวจ้วง ชาวฮั่นมาเป็นเวลานาน ส่วนมากพูดภาษาจ้วงและภาษาจีนได้ ใช้อักษรจีน







(30)ถู่เจีย(土家族Tǔjiāzú) ชาวถู่เจียสืบเชื้อสายมาจากชาวอูหมาน ซึ่งเป็น
กลุ่มชนที่มีชีวิตอยู่ช่วงกลางสมัยถัง มีภาษาพูดและขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับชาวอี๋ (彝族Yízú) ปัจจุบันมีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่บนหุบเขาหลิงซาน ได้แก่บริเวณตะวันตกของมณฑลหูหนาน อำเภอหย่งซุ่น(永顺Yǒnɡshùn) หลงซาน(龙山Lónɡshān) ป่าวติ้ง(保靖Bǎojìnɡ) ซางจื๋อ(桑植Sānɡzhí) กู่จ้าง(古丈Gǔzhànɡ) ในมณฑลหูเป่ยก็มีอีกหลายอำเภอเช่น อำเภอหลายเฟิ่ง(来凤Láifènɡ) เฮ่อเฟิง(鹤峰Hèfēnɡ) เสียนเฟิง(咸丰Xiánfēnɡ) เสวียนเอิน(宣恩Xuān’ēn) ลี่ชวน(利川Lìchuān) เอินชือ (恩施Ēnshī) ปาตง(巴东Bādōnɡ) เจี้ยนสื่อ(建始Jiàn shǐ) อู่เฟิง(五峰Wǔfēnɡ) ฉางหยาง(长阳Chánɡyánɡ) เป็นต้น ในมณฑลเสฉวนเช่นอำเภอโหย่วหยาง(酉阳Yǒuyánɡ) ซิ่วซาน(秀山Xiùshān) เฉียนเจียง(黔江Qiánjiānɡ) สือจู้ (石柱Shízhù) เผิงสุ่ย(彭水Pénɡshuǐ) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 802,8133 คน พูดภาษาถู่เจีย จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาภาษาทิเบตพม่า ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันชาวถู่เจียส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีนและอักษรจีน มีเฉพาะที่อำเภอเฮ่อเฟิง มณฑลหูเป่ยประมาณ 2 แสนคนที่ยังพูดภาษาถู่เจียอยู่







(31) เกาซาน (高山族Gāoshānzú) ชนกลุ่มน้อยเผ่าเกาซาน อาศัยอยู่
บริเวณที่เป็นภูเขาสูงบนเกาะติดชายทะเลด้านตะวันออกของเกาะไต้หวันที่เรียกว่า จ้งกู่ผิงหยวน (纵谷平原Zònɡɡǔ pínɡyuán) และบริเวณหลันหยวี่ (兰屿Lányǔ) ชาวไต้หวันเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “พี่น้องชาวเขา” (山地同胞Shāndìtónɡbāo) ในบริเวณดังกล่าวมีประชากรชาวเขาอยู่มากกว่าสิบกลุ่ม มีภาษาต่างๆกัน อาศัยเป็นกลุ่มๆแยกจากกัน เช่น ชาวอาเหม่ย(阿美人Ā měirén) ชาวไท่หย่า(泰雅人Tàiyǎrén) ชาวผายวัน(排湾人Páiwānrén) ชาวปู้หนง(布农人Bùnónɡrén) ชาวหลูข่าย(鲁凯人Lǔkǎirén) ชาวเปยหนาน(卑南人Bēinánrén) ชาวเฉา(曹人Cáorén) ชาวไซ่เซี่ย(赛夏人Sàixiàrén) ชาวหยาเหม่ย(雅美人Yǎměirén) เป็นต้น ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ชนกลุ่มนี้ผสมผสานกลมกลืนรับวัฒนธรรมและภาษาฮั่นมากมายจนไม่เหลือความเป็นชนเผ่าแต่ดั้งเดิม และกลายมาเป็นชาวฮั่นอย่างเต็มตัวกว่าแสนคน กระทั่งศตวรรษที่ 19 หลอมรวมเป็นกลุ่มเดียวกันกับชาวฮั่น ปัจจุบันชนกลุ่มน้อยเผ่าเกาซานมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 4,461 คน เดิมมีภาษาพูดเป็นของตนเอง จัดอยู่ในตระกูลภาษาเกาะใต้ สาขาภาษาอินโดนีเซีย ไม่มีภาษาเขียน

2. ทางตอนกลางทั้งหมด 7 เผ่า ได้แก่




(32) ตงเซียง(东乡族Dōnɡxiānɡ zú) ชนเผ่าตงเซียงเกิดขึ้นจากการรวมตัวกัน
ของชนเผ่าเล็กเผ่าน้อยที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณหมู่บ้านตงเซียงราวกลางศตวรรษที่ 14 ที่สำคัญคือ กลุ่มชนชาวเซ่อมู่(色目人Sèmùrén) และมองโกล(蒙古人Měnɡɡǔ rén) ที่นับถือศาสนาอิสลาม มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ร่วมกับชาวฮั่นและชาวทิเบตเรื่อยมา จนหลอมรวมเป็นชนเผ่าใหม่ ตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านชื่อ “บ้านตงเซียง” จึงตั้งชื่อชนกลุ่มนี้ตามถิ่นที่อยู่ว่า “เผ่าตงเซียง” ชาวตงเซียงเรียกตัวเองว่า “ซาร์ทา” (撒尔塔sā ěr tǎ) ก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เรียกชื่อชนกลุ่มนี้หลายชื่อ เช่น หุยหุยตงเซียง(东乡回回Dōnɡxiānɡ Huíhuí) มองโกลตงเซียง (东乡蒙古Dōnɡxiānɡ Měnɡɡǔ) ชาวเผ่าถู่ตงเซียง 东乡土人Dōnɡxiānɡ Tǔrén) ปัจจุบันชาวเผ่าตงเซียงอาศัยอยู่ในบริเวณอำเภอปกครองตนเองตงเซียง เขตปกครองตนเองเผ่าหุย ตำบลหลินเซี่ย (临夏回族自治州Línxià Huízú zìzhìzhōu) นอกจากนี้ยังมีกระจัดกระจายอาศัยอยู่บริเวณเมืองเมืองต่างๆของมณฑลกานซู่ และมณฑลซิงเจียง(新疆Xīnjiānɡ) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 513,805 คน พูดภาษาตงเซียง จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขามองโกล ไม่มีภาษาอักษร ส่วนใหญ่พูดภาษาฮั่นได้และใช้อักษรจีน







(33) ป่าวอาน(保安 Bǎoān zú ) เป็นชนเผ่าเชื้อสายมองโกลที่นับถือศาสนา
อิสลาม ได้รับอิทธิพลจากชนเผ่าอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง แล้วสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา แต่ก็มีบางกระแสเชื่อว่าชาวป่าวอานคือชาว “หุยหุย” (回回Huíhuí) ที่แต่เดิมอาศัยอยู่บริเวณเสฉวนและส่านซี อพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งบ้านเรือนเลี้ยงสัตว์ตามทุ่งหญ้าชายฝั่งแม่น้ำหลงอู้ (隆务河 Lónɡwùhé) และมีปฏิสัมพันธ์แต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์กับพวกเผ่าตงเซียง เผ่าซาลา เผ่าทิเบต แล้วค่อยๆเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจนก่อตั้งขึ้นเป็นเผ่าป่าวอาน ปัจจุบันชาวป่าวอานมีถิ่นฐานอยู่ที่เขตปกครองตนเองเผ่าป่าวอาน เผ่าตงเซียง เผ่าซาลา (保安族东乡族撒拉族自治州Bǎo’ān zú Dōnɡxiānɡzú Sālāzú zìzhìzhōu) ตั้งอยู่ในหุบเขาจีสือ (积石山Jīshíshān) และมีบางส่วนอาศัยอยู่ในตำบลต่างๆในเขตปกครองตนเองเผ่าหุย(回族自治州Huízú zìzhìzhōu) และตำบลสวินฮว่า (循化县Xúnhuàxiàn) ของมณฑลชิงไห่ (青海省Qīnɡhǎishěnɡ) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 16,505 คน พูดภาษาป่าวอาน จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษามองโกล







(34) เชียง(羌族Qiānɡzú ) บรรพบุรุษของชาวเชียงตั้งรกรากและดำรงชีวิตอยู่
ในยุคชุนชิวและจ้านกว๋อ ถิ่นฐานดั้งเดิมคือบริเวณที่เป็นเมืองกานซู่และชิงไห่ในปัจจุบัน ต่อมาอพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำหมิน(岷江Mínjiānɡ) แล้วผสมกลมกลืนไปกับชนพื้นถิ่นบริเวณนั้น ก่อสร้างชุมชนเกิดเป็นสังคมของชาวเชียงเรื่อยมาจนปัจจุบัน ปัจจุบันชาวเผ่าเชียงอาศัยรวมตัวกันมากที่สุดที่อำเภอเม่าเวิ่น(茂汶màowèn) และมีกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอเวิ่นชวน(汶川Wènchuān) หลี่(理Lǐ) เฮยสุ่ย(黑水Hēishuǐ) ซงพาน(松潘Sōnɡpān) ในเขตปกครองตนเองทิเบต อำเภออาป้า(阿坝 Ā bà) ของมณฑลเสฉวน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 306,072 คน พูดภาษาภาษาเชียง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า แบ่งเป็น 2 สำเนียงภาษาคือ กลุ่มที่อยู่ในอำเภอเม่าเวิ่น อำเภอเฮยสุ่ย พูดภาษาเชียงสำเนียงเหนือ และกลุ่มที่อยู่ในอำเภออื่นๆ พูดภาษาเชียงสำเนียงใต้ ไม่มีภาษาเขียน ใช้อักษรจีนมาแต่ดั้งแต่อดีต







(35) ยวี่กู่(裕固族Yùɡùzú) บรรพบุรุษของชาวยวี่กูร์คือกลุ่มชนเมื่อราว 3– 4
ร้อยปีก่อนคริสตกาลที่อาศัยอยู่ในชุมชนติงหลิง(丁零Dīnɡlínɡ) เถี่ยเล่อ(铁勒Tiělè) บริเวณลุ่มน้ำเส้อหลัวเก๋อ(色椤格河Sèluóɡéhé) และลุ่มแม่น้ำเอ้อร์ฮุน(鄂尔浑河È ’ěr hún hé) ชนกลุ่มนี้มีชื่อว่าหุยเหอ (回纥Huíhé) ต่อมาถูกรุกรานจากพวกประเทศ “ข่าน” จนอพยพกระจัดกระจายออกไปรอบทิศทาง ในจำนวนนี้มีกลุ่มหนึ่งอพยพไปทางตะวันตกตลอดริมแนวแม่น้ำเหอซี อาศัยอยู่ร่วมกันกับชาวหุยเหอที่อพยพมาก่อนหน้านั้น แล้วสืบทอดเผ่าพันธุ์ชาวยวี่กูร์มาจนปัจจุบัน ปัจจุบันชาวยวี่กูร์กว่า 90% รวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เขตปกครองตนเองเผ่ายวี่กูร์ เมืองซู่หนาน มณฑลกานซู่ ชาวยวี่กูร์เรียกตัวเองว่า “เหยาฮูร์”( 尧呼尔Yáohū’ěr) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 13,719 คน มีภาษาพูด 3 ภาษาได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองเผ่ายวี่กูร์ เมืองซู่หนาน มณฑลกานซู่ พูดภาษายวี่กูร์ตะวันตก จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาเทอจิค สองคือ ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเขตปกครองตนเองเผ่ายวี่กูร์เมืองซู่หนาน พูดภาษายวี่กูร์ตะวันออก จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขามองโกล ส่วนกลุ่มที่นอกเหนือจากนี้ใช้ภาษาจีน ไม่มีภาษาเขียน ส่วนใหญ่ใช้อักษรภาษาจีน







(36) โลห์ปา(珞巴族Luòbāzú) เป็นชนเผ่าที่มีชีวิตอยู่บริเวณถ่าปู้กงปู้ (塔布
工布Tǎ bù ɡōnɡ bù) ของที่ราบสูงทิเบต(西藏Xīzànɡ) ตามแนวสันเขาป่ายหม่า(白马冈Báimǎ ɡānɡ) บริเวณเทือกเขาหิมาลัย(喜马拉雅山Xǐmǎlāyǎshān) และทุ่งหญ้าหนานโพ (南坡Nán pō) มาแต่ครั้งบรรพกาล ปัจจุบันมีถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองลั่วหยวี(洛渝Luòyú) ที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต และบริเวณรอยต่อกับมณฑลใกล้เคียง เช่น ตำบลฉาหยวี (察隅Cháyú) โม่ทัว (墨脱Mòtuō) หมี่หลิน (米林Mǐlín) หลงจื่อ (隆子Lónɡzǐ) เป็นต้น มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,965 คน ชาวโลห์ปาที่อาศัยอยู่ตำบลโม่ทัวใช้ภาษาทิเบต นอกนั้นพูดภาษาภาษาโลห์ปา จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาภาษาทิเบตพม่า มีหลายสำเนียงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น







(37) เผ่าอี้ลาว(亿佬族Mùlǎozú) เป็นชนเผ่าเก่าแก่และดั้งเดิมที่สุดเผ่าหนึ่ง
ที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงหยวินกุ้ย(云贵Yúnɡuì) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มชนในอดีตชื่อ “เหลียว” ซึ่งเป็นชนเผ่าโบราณกลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่งในประเทศเย่หลาง(夜郎国 Yèlánɡɡuó) มีประวัติความเป็นมายาวนานราว 2100 ปี คือตั้งแต่สมัยซีฮั่นเป็นต้นมา สมัยซ่ง ถังเรียกชื่อว่า เก๋อเหลียว(葛僚Gěliáo) เก๋อหล่าว(革老Gélǎo) อี้หล่าว(仡佬Yìlǎo) อี้เหลียว(仡僚Yìliáo) แต่ชื่อกลางที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ “เหลียว” (僚Liáo) ปัจจุบันชาวมู่หล่าวมีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของมณฑลกุ้ยโจว ครอบคลุมพื้นที่กว่า 20 เมืองเช่น จุนอี้(遵义Zūnyì) เหรินหวน(仁怀Rénhuái) อันซุ่น(安顺 Ānshùn) กวานหลิ่ง(关岭Guānlǐnɡ) ผู่อัน(普安Pǔ’ān) เป็นต้น มีบางส่วนกระจายอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงในมณฑลกว่างซี และบริเวณของเขตปกครองตนเองเหวินซานเผ่าจ้วงและเผ่าแม้วในมณฑลยูนนาน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 579,357 คน ภาษาดั้งเดิมชื่อภาษาเกอลาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต แต่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าจัดอยู่ในสาขาภาษาและแขนงภาษาใด ไม่มีภาษาอักษร







(38) ถู่ (土族Tǔzú) บรรพบุรุษของชาวถู่มาจากมองโกล และยังมีบางส่วนที่มาจากเมืองเก๋อรื่อลี่เท่อ(格日利特 Gérìlìtè) ซึ่งเป็นตำบลที่อยู่ในอำนาจการปกครองของเจงกิสข่าน จากนั้นแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์กับชนเผ่าพื้นเมืองฮั่วเอ๋อร์(霍尔人Huò’ěr rén) สืบทอดเชื้อสายต่อกันมาจนเป็นชาวถู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันชาวถู่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณกลุ่มปกครองตนเองเผ่าถู่เมืองฮู่จู้(互助Hùzhù) ตำบลหมินเหอ(民和Mínhé) ต้าทง(大通Dàtōnɡ) ถงเหริน(同仁Tónɡrén) และมีอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ที่ปกครองตนเองทิเบต เมืองเทียนจู้(天祝Tiānzhù) ในมณฑลกานซู่ ในอดีตชาวถู่มีชื่อเรียกหลายชื่อ ชาวถู่ที่อาศัยอยู่ที่เมืองเทียนจู๋( 天柱Tiānzhù) ต้าทง และฮู่จู้ เรียกตัวเองว่า ชาวมองโกล (蒙古尔Měnɡɡǔ’ěr) หรือมองโกลขาว(白蒙古Bái Měnɡɡǔ) ส่วนชาวถู่ที่อยู่ที่หมินเหอเรียกตัวเองว่า ถู่คุน(土昆Tǔkūn หมายความว่า “ชาวถู่”) ส่วนที่อาศัยอยู่ที่อื่นๆ บ้างเรียกตัวเองว่า “ชุมชนชาวถู่” (土户家Tǔhùjiā) ชาวทิเบตเรียกชนเผ่านี้ว่า ฮั่วเอ่อร์ (霍尔Huò’ěr) ชาวฮั่น ชาวหุย เรียกชนกลุ่มนี้ว่า คนถู่ (土人Tǔrén) และชนชาวถู่(土民Tǔmín) หลังก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ชนกลุ่มน้อยเผ่าถู่” มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 241,198 คน พูดภาษาถู่ จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษามองโกล แต่เดิมใช้อักษรภาษาจีน ปัจจุบันกำลังดำเนินการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ โดยใช้อักษรลาติน

3.ทางตอนเหนือของประเทศ ทั้งหมด 7 เผ่า ได้แก่




(39) เผ่าเฮอเจิน(赫哲族Hèzhézú) ชนเผ่าเฮอเจิน เป็นเผ่าดั้งเดิมที่อยู่ติด
แผ่นดินบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนมาแต่อดีต เป็นชนเผ่าเฮอเจินโบราณที่รับเอาวัฒนธรรมของชนเผ่าอื่น เช่น เอ้อหลุนชุน(鄂伦春族 Èlúnchūnzú) เอ้อเหวินเค่อ(鄂温克族Èwēnkèzú) แมนจู(满族 Mǎnzú) มองโกล(蒙古人Měnɡɡǔrén)และชาวฮั่น ผสมผสานหลอมรวมเกิดเป็นกลุ่มชนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง โดยเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งมั่นคงและเป็นรูปร่างในตอนต้นราชวงศ์ชิง ปัจจุบันอาศัยอยู่บริเวณตำบลถงเจียง(同江 Tónɡjiānɡ) หราวเหอ(饶河Ráohé) ฝูหย่วน(抚远Fǔyuǎn) ของมณฑลเฮยหลงเจียง มีบางส่วนกระจายอาศัยอยู่บริเวณตำบลฮั่วชวน(桦川Huà chuān) อีหลาน(依兰Yīlán) ฟู่หราว(富饶Fùráo) มีชื่อเรียกตัวเองแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ เช่น น่าเป้ย(那贝Nàbèi) น่าไหน่(那乃Nànǎi) น่าหนีเอ้า(那尼傲Nà ní’ào) ชนกลุ่มน้อยเผ่าเฮอเจินมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 4,640 คน พูดภาษาเฮอเจิน จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาหม่าน-ตุนกุส (Man-Tungus) แขนงภาษาหม่าน ไม่มีภาษาอักษร ชนเผ่าขาดการสืบทอด ปัจจุบันผสมผสานเป็นชาวฮั่นแล้ว


(40) ต๋าโว่ร์ (达斡尔族Dáwòěr zú) ต้นกำเนิดของชาวต๋าโว่ร์ยังไม่มี
หลักฐานใดยืนยันและสรุปแน่ชัด แต่มีสองประเด็นที่นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่าน่าเชื่อถือคือ หนึ่งเป็นชาวพื้นเมืองที่อยู่ติดแผ่นดินมาตั้งแต่อดีตกาลมีถิ่นฐานอยู่ติดแผ่นดินในบริเวณลุ่มแม่น้ำเฮยหลงเจียง(黑龙江Hēi lónɡ jiānɡ)ไปจนจรดลุ่มแม่น้ำฉีหลี่(奇里江Qílǐ jiānɡ) และสองคือการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อการค้าที่พัฒนามาจากขบวนคาราวานค้าขายที่เข้ามาสู่ประเทศจีนในสมัยราชวงศ์เหลียว มีความใกล้ชิดลึกซึ้งกับชาวชี่ตาน(契丹人Qìdān rén) ปัจจุบันชาวต๋าโว่ร์มีถิ่นที่อยู่ในเขตปกครองตนเองชื่อ Morin Dawa Daur ในเขตมองโกเลียใน(内蒙古Nèi Měnɡɡǔ) กลุ่มปกครองตนเองเอ้อเหวินเค่อ(鄂温克 È wēn kè) กลุ่มปกครองตนเองกลุ่มปู้เทอฮา(布特哈Bù tè hā) กลุ่มปกครองตนเองกลุ่มอาหรง(阿荣 ā rónɡ) มีส่วนน้อยกระจายอยู่บริเวณเมืองและอำเภอต่างๆในมณฑลเฮยหลงเจียง (黑龙江Hēi lónɡ jiānɡ) และซินเจียง(新疆Xīn jiānɡ) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 132,394 คน พูดภาษาต๋าโว่ร์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขามองโกล ไม่มีภาษาอักษรเป็นของตนเอง ใช้อักษรภาษาจีน มีบางกลุ่มใช้ภาษาแมนจู ภาษามองโกลและภาษาคาซัค







(41) เอ้อหลุนชุน (鄂伦春族 èlúnchūn zú) บรรพบุรุษของชาวเอ้อหลุนชุน
คือ “ซื่อเหว่ย” หมายถึง “ชนชาวป่า” ถึงสมัยราชวงศ์หยวนเรียกชื่อชนเผ่านี้ว่า “ประชาชนชาวป่า” ในสมัยหมิงเรียกชื่อว่า “ชาวป่าภูเหนือ” ส่วนชื่อเรียกชนเผ่า เอ้อหลุนชุนพบครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้นว่า เอ๋อเอ่อร์ทุน(俄尔吞 É ěr tūn) สมัยจักรพรรดิคังซีเรียกชื่อว่า เอ๋อหลัวชุน(俄罗春 É luó chūn) จากนั้นจึงใช้เรียกกันอย่างแพร่หลาย คำว่า “เอ้อหลุนชุน” มีสองความหมายคือ ชนเผ่าฝึกม้า และอีกความหมายหนึ่งหมายถึงชนชาวเขา อาศัยอยู่บริเวณกลุ่มปกครองตนเองเมืองฮูหลุนเปอร์เหมิง(呼伦贝尔盟 Hū lún bèi ěr ménɡ) กลุ่มเอ้อหลุนชุน กลุ่มปกครองตนเองเมืองปูเทอฮา(布特哈Bùtèhā) กลุ่มปกครองตนเองเมืองโมลีตาวา (莫力达瓦Mòlì dáwǎ) กลุ่มต๋าโว่ร์(达斡尔族Dáwòěrzú) ในบริเวณเขตปกครองตนเองของมองโกเลียใน(内蒙古Nèiměnɡɡǔ) นอกจากนี้ยังมีบางส่วนกระจายอยู่บริเวณตำบลต่างๆในมณฑลเฮยหลงเจียง มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,196 คน พูดภาษาที่ชื่อ Oroqen จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษาหม่าน-ตุนกุส(Tungus) ไม่มีภาษาอักษร ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีน และมีบางส่วนใช้อักษรมองโกล







(42) เฉาเสี่ยน(朝鲜族Cháoxiānzú ) ชนกลุ่มน้อยเผ่าเฉาเสี่ยนมีบรรพบุรุษ
เป็นชาวเฉาเสี่ยนที่อพยพมาจากคาบสมุทรเกาหลีตั้งแต่ปลายราชวงศ์หมิงต่อกับต้นราชวงศ์ชิง แล้วพัฒนาเป็นชนเผ่าที่ถือเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งของจีน ปัจจุบันชนกลุ่มน้อยเผ่าเฉาเสี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ของ 3 มณฑลคือ เฮยหลงเจียง(黑龙江 Hēi lónɡ jiānɡ) จี๋หลิน(吉林Jí lín) และเหลียวหนิง(辽宁Liáo nínɡ) นอกจากนั้นยังมีกระจัดกระจายอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองมองเลียใน (内蒙古Nèi měnɡ ɡǔ) ปักกิ่ง(北京Běijīnɡ) เซี่ยงไฮ้(上海Shànɡhǎi) หังโจว(杭州Hánɡzhōu) กว่างโจว(广州Guǎnɡzhōu) เฉิงตู(成都Chénɡdū) จี่หนาน (济南Jǐnán) ซีอาน(西安Xī’ān) อู่ฮั่น(武汉Wǔhàn)เป็นต้น มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,923,842 คน ชาวเฉาเสี่ยนที่อาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองเฉาเสี่ยน มณฑลจี๋หลินพูดและใช้ตัวหนังสือภาษาเฉาเสี่ยน ส่วนกลุ่มที่อาศัยกระจัดกระจายตามเมืองอื่นๆ ใช้ภาษาและอักษรจีนเป็นหลัก







(43) เผ่าเอ้อเหวินเค่อ(鄂温克族èwēnkè zú) บรรพบุรุษชาวเอ้อเหวินเค่อมี
อารยธรรมยาวนานประมาณ 2000 ปีมาแล้ว ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมฝั่งทะเลสาบ Baikal(贝加尔湖Bèijiāěrhú) ในอดีตชนเผ่าเอ้อเหวินเค่ออาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆของจีน และมีชื่อเรียกต่างๆกันไปตามแต่ละพื้นที่ เช่น ซัวหลุน(索伦Suǒlún) ตุนกุส (Tungus) ยาคุท (Yakut) ในปี 1957 ชนกลุ่มนี้ยอมรับตัวเองในชื่อ “เอ้อเหวินเค่อ” และใช้เรียกชนเผ่าของตนที่กระจายอยู่ในทุกที่ด้วยชื่อเดียวกันนี้ คำนี้มีความหมายว่า “ผู้คนที่อาศัยอยู่ในหุบเขาใหญ่” ปัจจุบัน อาศัยอยู่ในกลุ่มปกครองตนเองเผ่าเอ้อเหวินเค่อ เมืองฮูลุนเปอร์มอง(呼伦贝尔盟Hūlún bèi ěr ménɡ) และในบริเวณกลุ่มปกครองตนเองกลุ่มเฉินปาร์ฮู กลุ่มปูเทอฮา กลุ่มอาหรง กลุ่มเออร์กูนาจัว กลุ่มโมลีตาวาร์ กลุ่มปกครองตนเองเผ่าต๋าโว่ร์ และบริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าเอ๋อหลุนชุนในมณฑลเฮยหลงเจียง มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 30,505 คน พูดภาษาเอ้อเหวินเค่อ จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาหม่าน-ตุนกุส(Tungus) แขนงภาษาตุนกุส(Tungus) มีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกัน 3 สำเนียงคือ ไฮลาร์ เชนปาร์ฮู และอาวลูกูยา ไม่มีภาษาอักษร







(44) มองโกล (蒙古族Měnɡɡǔzú ) ชนชาติชาวมองโกลเคยรุ่งเรืองเป็น
ราชวงศ์หนึ่งของจีน คือ ราชวงศ์หยวน บรรพบุรุษของชาวมองโกลมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณลุ่มน้ำวั่งเจี้ยน (望建河Wànɡjiànhé) ในปี 1206 เตมูจินรวบรวมชนเผ่ามองโกลและก่อตั้งเป็นชาติมองโกลขึ้นในบริเวณฝั่งแม่น้ำโว่หนาน(斡难河Wònánhé) ถือเป็นการก่อตั้งชาติมองโกลครั้งสำคัญ ปี 1219 – 1260 เจงกีสข่านแห่งมองโกล(成吉思汗Chénɡjísīhán) ได้บัญชาการทำสงครามขยายอาณาเขตลงไปทางใต้ จนสามารถก่อตั้งประเทศจีนเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และก่อตั้งราชวงศ์หยวนขึ้น ปัจจุบันชาวมองโกลส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกล(蒙古族自治州Měnɡɡǔzú zìzhìzhōu) และกลุ่มปกครองตนเองเผ่ามองโกล ในเขตมณฑลซินเจียง (新疆Xīnjiānɡ) ชิงไห่(青海Qīnɡhǎi) กานซู่(甘肃Gānsù) เฮยหลงเจียง(黑龙江Hēilónɡjiānɡ) จี๋หลิน(吉林Jílín) เหลียวหนิง(辽宁Liáonínɡ) และยังมีกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆของมณฑลยูนนาน เหอเป่ย เสฉวน หนิงเซี่ย ปักกิ่งเป็นต้น มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,813,947 คน พูดภาษามองโกล จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษามองโกล แบ่งออกเป็นสามสำเนียงภาษาคือ มองโกเลียใน (Inner Mongolian), Oirat-Khalkha, Khulkha-Buryat ภาษาอักษรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือภาษาที่ประดิษฐ์ขึ้นจากภาษาอุยกูร์ในต้นศตวรรษที่ 13 และพัฒนามาเรื่อยๆโดยนักภาษาศาสตร์ชาวมองโกล จนเป็นภาษามองโกลที่สมบูรณ์ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ศตวรรษที่ 17 ดาไลลามะได้ปรับปรุงอักษรมองโกลเพื่อใช้สำหรับภาษามองโกลสำเนียง Khulkha-Buryat อักษรนี้เรียกว่า ทัวเท่อ (托忒tuōtè) ใช้สำหรับชาวมองโกลที่อาศัยอยู่ที่มณฑลซินเจียง







(45)หม่าน (满族Mǎnzú) ชาวหม่านหรือที่รู้จักกันในชื่อ “ชาวแมนจู”เคยรุ่งเรือง
เป็นราชวงศ์หนึ่งของจีนคือ ราชวงศ์ชิง บริเวณที่มีชาวหม่านอาศัยอยู่มากได้แก่ มณฑลเหลียวหนิง และกระจายอยู่ในมณฑลต่างๆ เช่น จีหลิน(吉林 Jílín) เฮยหลงเจียง(黑龙江Hēilónɡjiānɡ) เหอเป่ย(河北Héběi) มองโกเลียใน(内蒙古Nèiměnɡɡǔ) ซินเจียง(新疆Xīnjiānɡ) กานซู่(甘肃Gānsù) ซานตง(山东Shāndōnɡ) เป็นต้น ตามเมืองต่างๆเช่น ปักกิ่ง(北京Běijīnɡ) เทียนจิน(天津Tiānjīn) เฉิงตู(成都 Chénɡdōu) ซีอาน(西安Xī’ān) กว่างโจว(广州Guǎnɡzhōu) อิ๋นชวน(银川Yínchuān) ก็มีชาวหม่านอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งชุมชนชาวหม่านขึ้นเป็นเขตปกครองตนเองอีกหลายแห่ง เช่นซิ่วเหยียน(岫岩Xiùyán) ฟ่งเฉิง(凤城Fènɡchénɡ) ซินปิน(新宾Xīnbīn) ชิงหลง(青龙Qīnɡlónɡ) ฟงหนิง(丰宁Fēnɡnínɡ) เป็นต้น มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 10,682,263 คน พูดภาษาหม่าน จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษาหม่าน-ตุนกุส(Tungus) แขนงภาษาหม่าน ภาษาเขียนพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยได้แบบอย่างมาจากภาษามองโกล จากนั้นได้ยืมอักษรมองโกลมาใช้โดยเติมจุด เติมวงเรียกภาษาเขียนนี้ว่า “ภาษาหม่านที่มีวงและจุด” (有圈点的满文 Yǒu quāndiǎn de Mǎnwén) หรือเรียกอีกชื่อว่า ภาษาหม่านใหม่(新满文Xīn Mǎnwén) ส่วนภาษาเขียนแบบดั้งเดิมที่ประดิษฐ์ขึ้นในปลายศตวรรษที่ 16 นั้นเรียกว่า “ภาษาหม่านแบบไม่มีวงและจุด” (有圈点的满文Yǒu quāndiǎn de Mǎnwén)

4. ทางตะวันตกของประเทศ ทั้งหมด 10 เผ่า ได้แก่
(46) ทิเบต (藏族Zànɡzú) ชาวทิเบต หรือชาวจั้ง เป็นชนแขนงหนึ่งของชาว
เชียงตะวันตก (西羌人Xī qiānɡrén) บรรพบุรุษของชาวจั้งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่ม
น้ำหย่าลูจั้งปู้(雅鲁藏布江Yǎlǔzànɡbùjiānɡ) มานับ 4000 ปีแล้ว ปลายสมัยสุยต้นสมัยถัง ซีปู๋เหย่ รวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในดินแดนทิเบตเข้าเป็นอาณาจักร ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หลัวซัว (逻娑Luósuō ปัจจุบันคือเมืองลาซ่า拉萨Lāsà) ขุนนางและประชาชนยกย่องให้ ซงจ้านกานปู้ (松赞干布Sōnɡzànɡānbù) เป็นกษัตริย์ครองอาณาจักร จากนั้นก็ได้เริ่มสร้างอารยธรรมแห่งทิเบตขึ้น ปัจจุบันชาวจั้งมีถิ่นฐานอยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต บริเวณที่ราบสูงอันกว้างใหญ่ชิงจั้ง (青藏高原Qīnɡ Zànɡ ɡāoyuán) ในเขตปกครองตนเองทิเบตมองโกลมณฑลชิงไห่ มณฑลกานซู่มีอยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบตเมืองกานหนาน (甘南Gānnán) และเขตปกครองตนเองทิเบตเมืองเทียนจู้(天祝Tiānzhù) ในมณฑลเสฉวนมีอยู่ที่เขตปกครองตนเองทิเบตเมืองอาป้า(阿坝Ā bà) เขตปกครองตนเองทิเบตเมืองกานจือ(甘孜Gānzī) เขตปกครองตนเองทิเบตอำเภอมู่หลี่ (木里Mùlǐ) ในมณฑลยูนนานที่เขตปกครองตนเองทิเบตเมืองตี๋ชิ่ง มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,416,021 คน มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองคือภาษาทิเบต จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า แขนงภาษาทิเบต มี 3 สำเนียงภาษาคือ สำเนียงเว่ยจั้ง(卫藏Wèizànɡ) สำเนียงคัง(康Kānɡ) และสำเนียงอันตัว(安多Ānduō) อักษรทิเบตประดิษฐ์ขึ้นโดยดูแบบอย่างภาษาสันสกฤตในช่วงต้นศตวรรษที่ 7 และมีการพัฒนาแก้ไขถึงสามครั้ง เป็นภาษาที่มีการประสมเสียงพยัญชนะสระ และใช้มาจนปัจจุบัน







(47) ซาลาร์ (撤拉族chè lāzú) นักประวัติศาสตร์จีนเชื่อว่าชาวซาลาร์สืบเชื้อ
สายมาจากชนเผ่าซาลูร์(撒鲁尔Sālǔěr) ที่อาศัยอยู่ในบริเวณชุมชน Turkic Ugus ในสมัยโบราณ แต่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตปกครองของราชสำนักถัง ต่อมาย้ายเข้าสู่ภาคกลาง ในสมัยหยวนอพยพเข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศจีนปัจจุบัน ปัจจุบันชนเผ่าซาลาร์ส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนของที่ราบสูงทิเบต บริเวณกลุ่มปกครองตนเองเผ่าซาลาร์อำเภอสวินฮว่า(循化Xúnhuà) และอำเภอปกครองตนเองใกล้เคียงคือ เขตปกครองตนเองเผ่าหุย(回族Huízú) กลุ่มปกครองตนเองเผ่าป่าวอานเผ่าซาลาร์ อำเภอสือซาน(石山 Shíshān) เขตปกครองตนเองเวยอูร์ซินเจียง(新疆维吾尔自治区 Wéiwú’ěr Xīnjiānɡ Wéiwú’ěr zìzhìqū) นอกจากนี้ในเมืองอูรุมชี(乌鲁木齐市Wūlǔmùqíshì) ของมณฑลกานซู่(甘肃Gān sù) ก็มีชาวเผ่าซาลาร์กระจายตั้งถิ่นฐานอยู่จำนวนหนึ่ง มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 104,503 คน พูดภาษาซาลาร์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษาเทอกิค(Turkic) แขนงภาษา Hsiung-Nu;Hun ไม่มีภาษาเขียน ส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีนและภาษาทิเบต







(48) ทาจิค (塔吉克族 Tǎjíkè zú) คำว่า “ทาจิค” เป็นคำที่ชนเผ่านี้เรียก
ตนเอง ความหมายดั้งเดิมคือ “กษัตริย์” ชนกลุ่มนี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ก่อนสมัยคริสตกาล โดยกลุ่มชนตะวันออกกลางที่พูดภาษาอิหร่าน ได้มีการติดต่อสัมพันธ์และเดินทางไปมาหาสู่กับผู้คนในดินแดนประเทศจีนในเขตมณฑลซินเจียงตามเส้นทางสายไหม บรรพบุรุษของชาวทาจิคจึงเป็นกลุ่มชนที่ถูกหลอมรวมด้วยวัฒรธรรมตะวันตกและตะวันออก ต่อมาพัฒนาการมาเป็นอารยธรรมของตนเอง ปัจจุบันมีถิ่นอาศัยอยู่ที่กลุ่มปกครองตนเองทาจิค ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเวยอูร์ (维吾尔Wéiwú’ěr,Uyghur) ตำบลทาซคูร์ฮัน (塔什库尔干 Tǎshí kù’ěr ɡān, Tashqorghan) มณฑลซินเจียง นอกจากนี้ยังมีกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆอีกคือ ซาเชอ(莎车 Shāchē) เจ๋อผู่ (泽普 Zépǔ) เย่เฉิง(叶城 Yèchénɡ) และผีซาน(皮山 Píshān) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 41,028 คน พูดภาษาภาษาทาจิค จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินยุโรเปียน สาขาภาษาอิหร่าน(Iranian) แขนงภาษาพามีรี(Pamiri) ใช้อักษรภาษาอุยกูร์ (Uyghur)







(49) ซีโป๋ ( 锡伯族Xībózú) บรรพบุรุษของชาวซีโป๋ คือ ชนเผ่าโบราณชื่อ
“เซียนเปย” อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเนิ่น(嫩江Nènjiānɡ) แม่น้ำชั่วเอ่อร์(绰尔河Chāo’ěrhé) แม่น้ำซงฮวา(松花江Sōnɡhuājiānɡ) ภาษาจีนมีชื่อเรียกชนกลุ่มนี้โดยใช้อักษรจีนเขียนแทนเสียงหลายชื่อ เช่น ซีผี(犀毗Xīpí) ซือปี่ (师比Shībǐ) เซียนเปย(鲜卑Xiānbēi) สื่อปี่(矢比Shǐbǐ) สีป่าย (席百Xíbǎi) สีปี่(席比Xíbǐ) เป็นต้น ปัจจุบันมีถิ่นที่อยู่ที่เมืองเสิ่นหยาง (沈阳Shěnyánɡ) คายหยวน(开原Kāiyuán) อี้เซี่ยน(义县Yì xiàn) เป่ยเจิ้น(北镇Běizhèn) ซินหมิน(新民Xīnmín) เฟิ่งเฉิง(凤城Fènɡchénɡ) ของมณฑลเหลียวหนิง(辽宁Liáonínɡ) และในกลุ่มปกครองตนเองอุสเบค เขตปกครองตนเองอีหลีฮาซัค เมืองชาปูชา มณฑลซินเจียง นอกจากนี้ยังมีส่วนน้อยกระจายอยู่ตามเขตปกครองตนเองชุมชนรัสเซีย มองโกล มณฑลจี๋หลิน ในเมืองหลวงปักกิ่งก็มีชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่กระจัดกระจาย มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 188,824 คน ชาวซีโป๋ที่มีถิ่นฐานอาศัยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้อักษรจีนและภาษามองโกล ส่วนชาวซีโป๋ที่มีถิ่นฐานอาศัยบริเวณมณฑลซินเจียงใช้ภาษาซีโป๋ จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาหม่าน-ตุนกุส (Man -Tungus) แขนงภาษาหม่าน







(50) ทาทาร์(塔塔尔族Tǎtǎěrzú) บรรพบุรุษเริ่มแรกของชาวทาทาร์ คือ
ชนพื้นเมืองของประเทศชินฉาข่าน(钦察汗国Qīncháhànɡuó ชื่อภาษาอังกฤษว่า Golden Horde) ต่อมาศตวรรษที่ 15 ประเทศชินฉาข่านล่มสลาย ประเทศคาซานข่าน (喀山汗国Kāshānhànɡuó) ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีชาวปูลีอาร์(不里阿耳人Bùlǐā’ěrrén) เป็นชนกลุ่มหลักประจำชาติ รวมไปถึงชาวมองโกลที่พูดภาษาในกลุ่มภาษาเทอจิคก็เป็นพลเมืองของประเทศคาซานข่านนี้ บรรพบุรุษเริ่มแรกของชาวทาทาร์ก็เริ่มก่อกำเนิดเป็นชุมชนที่ชัดเจนขึ้นในช่วงนี้นี่เอง ปัจจุบันชาวทาทาร์อาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองเวยอูร์ (维吾尔Wéiwú’ěr, Uyghur) ของมณฑลซินเจียง บริเวณที่รวมตัวกันอยู่ค่อนข้างมากคือเมือง อีหนิง(伊宁yīnínɡ) ถ่าเฉิง(塔城Tǎchénɡ) อูรุมชี(乌鲁木齐Wūlǔmùqí) นอกจากนี้ยังมีกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆ ที่เป็นเขตทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ของมณฑลซินเจียง เช่น ฉีถาย(奇台Qítái) จีมูซาร์(吉木萨尔Jímùsà’ěr) อาเล่อไท่(阿勒泰Ālètài) ชนเผ่าทาทาร์มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 4,890 คน พูดภาษาทาทาร์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษาเทอกิค(Turkic) แขนงภาษา Hsiung-Nu;Hun







(51) คาซัค(哈萨克族Hāsàkè zú) ชื่อชนเผ่า “คาซัค” ปรากฏครั้งแรกในช่วง
ต้นศตวรรษที่ 15 ในยุคนั้นบริเวณภาคตะวันออกมีเมืองหนึ่งชื่อ Ozbek (乌孜别克汗国Wūzībiékè hàn ɡuó) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ปลายสายของแม่น้ำซีร์ (锡尔河Xīěrhé) ในปี 1456 เมือง Khan (汗国Hànɡuó) แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ จีลาย (吉来Jílái) และ Janibek (扎尼别克Zhāníbiékè) ต่อมาชนในพื้นที่นี้เข้มแข็งขึ้นและแยกตัวออกมาจากประเทศ Khan ซึ่งก็คือชาวคาซัคนั่นเอง ต่อมาชาวคาซัครวบรวมชนเผ่าเล็กเผ่าน้อยข้างเคียง สถาปนาประเทศของตนขึ้นเป็นประเทศชื่อ คาซัคข่าน (哈萨克汗国Hāsàkèhànɡuó) ขึ้นในปลายศตวรรษที่ 15 นับเป็นต้นกำเนิดของชนเผ่าคาซัคที่เก่าแก่ที่สุด ปัจจุบันชนกลุ่มน้อยเผ่าคาซัค อาศัยอยู่บริเวณ เขตปกครองตนเองเวยอูร์(维吾尔Wéiwúěr) กลุ่มปกครองตนเองอีหลีคาซัค(伊犁Yīlí) กลุ่มปกครองตนเองมู่เหลยคาซัค(木垒哈萨克Mùlěihāsàkè) และอำเภอปกครองตนปาหลีคุนคาซัค(巴里坤哈萨克自治县Bālǐkūn Hāsàkè zìzhìxiàn) ของมณฑลซิน เจียง นอกจากนี้ยังมีจำนวนน้อยที่กระจัดกระจายอยู่ในมณฑลกานซู่ และมณฑลชิงไห่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,250,458 คน ประชากรส่วนใหญ่อาศัยรวมตัวกันอยู่ที่เขตปกครองตนเองเวยอูร์ พูดภาษาคาซัค จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษาเทอกิค(Turkic) ชาวคาซัคตั้งแต่อดีตเคยใช้ภาษา Kyrgyz – Kypchak และภาษา Yugur หลังจากที่ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้ามาในปี 1959 ได้พัฒนาภาษาอักษรขึ้นใช้โดยใช้อักษรภาษาลาติน แต่ใช้ไม่แพร่หลายมากนัก กระทั่งปี 1982 กลับมาใช้ภาษาแบบดั้งเดิมที่เคยใช้ในอดีต ส่วนภาษาใหม่ที่เป็นอักษรลาตินใช้เพียงเป็นอักษรกำกับเสียงเท่านั้น







(52) อุสเบค (乌兹别克族Wū zī bié kèzú) ในช่วง ค.ศ. 1312 – 1341
อูสเบคข่านของประเทศชินฉาข่าน (钦察汗国Qīncháhànɡuó) ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้รวบรวมเมือง “ข่าน” ใหญ่น้อยที่อยู่กระจัดกระจายรายรอบเข้ามาเป็นอาณาเขต และตั้งชื่อประเทศใหม่ว่าประเทศอุสเบคข่าน(乌孜别克汗国Wūzībiékèhànɡuó) ส่วนประชาชนในประเทศนี้เรียกชื่อว่า “ชาวอุสเบค” (乌孜别克人Wūzībiékè rén) เป็นต้นกำเนิดของชาวอุสเบค ปัจจุบันชาวอุสเบคอาศัยอยู่ในอำเภอต่างๆของเขตปกครองตนเองอุยกูร์ มณฑลซินเจียง เช่น อีหนิง(伊宁Yīnínɡ) ถ่าเฉิง(塔城Tǎchénɡ) คาสือ(喀什Kāshí)อูรุมชี(乌鲁木齐Wūlǔmùqí) ซาเชอ(莎车Shāchē) เย่เฉิง(叶城Yèchénɡ) เป็นต้น มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 12,370 คน พูดภาษาอุสเบค จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษาเทอร์จิค แขนงภาษา Hsiung-Nu;Hun ภาษาอักษรใช้ภาษาอุยกูร์







(53) รัสเซีย(俄罗斯族 éluósī zú) ราวศตวรรษที่ 18 ถึงศตวรรษที่ 19 ซึ่ง
เป็นยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองของชาติรัสเซีย ชาวรัสเซียที่เดิมเป็นประชาชนในการปกครองของกษัตริย์ซาร์อพยพลี้ภัยมาตั้งถิ่นฐานบริเวณชายแดนจีนรัสเซีย โดยทางการจีนได้จัดให้อยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลซินเจียง ขณะนั้นชาวจีนเรียกชาวรัสเซียที่อพยพเข้ามานี้ว่า “พวกโอนสัญชาติ” และเรียกชุมชนที่ตั้งชาวเผ่ารัสเซียนนี้ว่า “ชุมชนโอนสัญชาติ” จนกระทั่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงนับชนกลุ่มนี้เป็นชนกลุ่มน้อยอีกกลุ่มหนึ่งของจีนเรียกชื่อว่า “ชนเผ่ารัสเซีย” ปัจจุบันชาวรัสเซีย อาศัยอยู่ในบริเวณเมือง อีหลี(伊犁Yīlí) ถ่าเฉิง(塔城Tǎchénɡ) อาเล่อไท่(阿勒泰 ā lètài) อูรุมชี(乌鲁木齐Wūlǔmùqí) ในเขตปกครองตนเองเวยอูร์ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 15,609 คน พูดภาษารัสเซีย จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโดยุโรเปียน สาขาภาษาสลาฟ ภาษาอักษรคือภาษารัสเซีย







(54) เวยอูร์ (维吾尔族Wéiwúěr zú) บรรพบุรุษของชาวอุยกูร์สามารถ
สืบสาวขึ้นไปถึงเมื่อสามปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 3 รู้จักชนกลุ่มนี้ในชื่อ “ติงหลิง” (丁零Dīnɡlínɡ) เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเมืองซียงหนู(匈奴xiōnɡnú) ทางฝั่งทิศเหนือ ชาวติงหลิงมีชื่อเรียกหลายชื่อ ที่สำคัญคือชื่อ หุยกู่ (回鹘Huíɡǔ) จนถึงกลางศตวรรษที่ 10 เก๋อหลัวลู่ ซึ่งเป็นชาวหุยกู่(回鹘Huíɡǔ) ก่อตั้งราชวงศ์คาลา(喀剌Kālá หรือ 哈拉Hālā) ขึ้น นับเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ชาวอุยกูร์ ปัจจุบันส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณทุ่งหญ้าทางทิศใต้ของหุบเขาเทียนซาน(天山Tiānshān) ในเขตปกครองตนเองอุยกูร์(Uyghur) มณฑลซินเจียง และมีส่วนน้อยกระจายอยู่ที่อำเภอเถาหยวน(桃源Táoyuán) ฉางเต๋อ (常德Chánɡdé) ของมณฑลหูหนาน(湖南Húnán) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 8,399,393 คน พูดภาษาอุยกูร์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาภาษาเทอร์จิค ในสมัยโบราณชนเผ่าอุยกูร์ใช้ภาษาอุยกูร์ (回鹘文Huíɡǔwén) หลังจากศาสนาอิสลามเผยแพร่เข้าสู่เผ่าอุยกูร์ในศตวรรษที่ 11 ชาวอุยกูร์ใช้อักษรภาษาอาหรับเป็นหลัก หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ประดิษฐ์ภาษาเขียนโดยใช้อักษรภาษาลาตินแต่ไม่เป็นที่นิยมนัก ในต้นปีคริสต์ศักราช 80 จึงกลับมาใช้อักษรภาษาอาหรับอีกครั้ง







(55)เผ่าเคอร์กิส (柯尔克孜族Kē ěr kèzī zú, Kirgiz) เมื่อ 2000 ปีก่อน บรรพบุรุษของชาวเคอร์กิสตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนเหนือของที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำเยนิซาย (叶尼塞河Yènísāihé, Yenisei) จากนั้นค่อยๆ อพยพลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้จนถึงหุบเขาเทียนซาน(天山Tiānshān) และอาศัยอยู่บริเวณนั้นเป็นเวลานานจนผสมกลมกลืนไปกับชนพื้นถิ่นคือ ชาวเทอจิค และ มองโกล ปัจจุบันชาวเคอร์กิสอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองชื่อ Qizilsu Qirghiz ในมณฑลซินเจียง ในเขตเมืองอีหลี 伊犁Yīlí) ถ่าเฉิง(塔城Tǎchénɡ) อาเค่อซู(阿克苏 Ā kèsū) นอกจากนี้ยังประปรายมีอยู่ในตำบลฟู่-ยวี่(富裕Fùyù) ของมณฑลเฮยหลงเจียง มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 160,823 คน พูดภาษาเทอกิค (Turkic) จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาเทอกิค(Turkic) มีภาษาเขียนที่พัฒนามาจากอักษรอาหรับ ชาวเคอร์กิสในซินเจียงใต้พูดภาษา Uyghur ชาวเคอร์กิสในซินเจียงเหนือเหนือพูดภาษา Kazakstan ส่วนกลุ่มที่อยู่ในเฮยหลงเจียงพูดภาษามองโกล และภาษาฮั่น



นโยบายที่รัฐบาลจีนปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย
ในอดีตก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ปัญหาความวุ่นวาย ปัญหาการต่อต้านรัฐบาล ปัญหาการก่อความไม่สงบของชนกลุ่มน้อยในประเทศถือเป็นปัญหาใหญ่หลวงอย่างหนึ่ง ที่ไม่อาจละเลยหรือมองข้ามได้ เมื่อก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนสำเร็จ เพื่อความมั่นคงและเป็นปึกแผ่นของประเทศ ตลอดจนเพื่อควบคุมดูแลชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่มากมายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ประเทศจีนมีนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นให้ชนกลุ่มน้อยในประเทศรู้สึกว่าตนเป็นพลเมืองคนหนึ่งของประเทศจีน นโยบายที่รัฐบาลจีนปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยในประเทศได้แก่
1.สนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียม เสมอภาคของทุกชนเผ่า
2. กำหนดให้มีเขตการปกครองตนเองของแต่ละชนเผ่า
3. พัฒนาเศรษฐกิจ อาชีพ และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
4.พัฒนาให้ชนกลุ่มน้อยมีส่วนร่วมทางการเมือง
5.พัฒนาให้ชนกลุ่มน้อยมีความรู้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
6. สนับสนุนให้ชนกลุ่มน้อยมีภาษาอักษรเป็นของตนเอง
7. ให้ความเคารพประเพณีวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
8. ให้ความเคารพต่อศาสนา ความเชื่อและอิสรภาพของชนกลุ่มน้อย
จากการดำเนินนโยบายที่รัฐบาลจีนมีต่อชนกลุ่มน้อยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่านโยบายดังกล่าวประสบความสำเร็จในระดับดี ประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลายชนเผ่าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี และร่วมกันพัฒนาประเทศได้อย่างสันติสุข ชาติพันธุ์ทั้ง 56 กลุ่มของประเทศมีความเสมอภาค สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ ที่จะนำประเทศไปสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีความพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุผลที่วงวิชาการไทยสมควรเร่งพัฒนาฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับขนกลุ่มน้อยในประเทศจีน
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า มณฑลยูนนาน (Yunnan) ซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อของประเทศจีนกับหลายประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การกำหนดสมาชิกประเทศลุ่มน้ำโขงในส่วนของประเทศจีนนั้น จึงมักจะนับเอาเฉพาะพื้นที่ตอนใต้ของจีน โดยเฉพาะในส่วนของมณฑลยูนนานเท่านั้น บริเวณนี้จึงนับได้ว่าเป็นต้นสายอารยธรรมสายน้ำโขง ชนกลุ่มน้อยในบริเวณดังกล่าวนี้มีมากถึง 25 ชนเผ่า ที่สำคัญชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มีหลายกลุ่มเป็นชนเผ่าเดียวกันกับที่มีอยู่ในประเทศต่างๆในประเทศลุ่มน้ำโขง รวมทั้งประเทศไทยด้วย เช่น เผ่าแม้ว เผ่าว้า เผ่าลาหู่ เผ่าตรุง เผ่าปลัง เผ่าลีซู เผ่าฮานีเป็นต้น ในช่วงก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (ก่อนปี 1949) ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ถูกกดขี่ข่มเหง ทารุณกรรม และขูดรีดอย่างแสนสาหัสจากชนชั้นศักดินาที่เป็นชาวฮั่นและชนเผ่าที่มีอำนาจเหนือกว่า เป็นเหตุให้ส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นถอยร่นลงมาตั้งถิ่นฐานตามบริเวณแนวชายแดนของประเทศลุ่มน้ำโขง และเนื่องจากชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามามีฐานะยากจน จึงตกเป็นเครื่องมือของนายทุน ในการเป็นแหล่งปลูกฝิ่นและผลิตยาเสพติด อันเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศลุ่มน้ำโขงและทั่วโลก ส่งผลร้ายต่อความมั่นคงของประเทศอย่างหนัก อันเป็นที่ทราบกันดีในยุคอดีตที่ผ่านมา
เรื่องราวของการถอยร่นลงใต้ของชนกลุ่มน้อยในช่วงระยะเวลาไม่นานมานี้นั้น ด้วยเหตุที่คนที่อยู่ร่วมเหตุการณ์ยังคงมีชีวิตอยู่ จึงสามารถสืบสาวถึงต้นกำเนิดของชาติพันธุ์ได้ไม่ยาก แต่หากนับย้อนขึ้นไปในอดีตตั้งแต่สมัยบุพกาล ผู้คนเหล่านี้อพยพย้ายถิ่น อาศัยเร่ร่อน ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้างครอบคลุมดินแดนประเทศในแถบลุ่มน้ำโขงทั่วบริเวณ เมื่อพบแหล่งทำเลที่เหมาะสมก็ตั้งหลักปักฐานขยายเผ่าพันธุ์ พัฒนาอาณาเขตของตนขึ้นมา จนปัจจุบันไม่มีหลักฐานที่จะสืบค้นได้เลยว่าต้นกำเนิดของตนมาจากที่ใด ยกตัวอย่างการสืบสาวถึงที่มาของต้นตระกูลไทยที่มีอย่างน้อย 3 ทฤษฎีที่เชื่อว่า บรรพบุรุษของคนไทยอพยพมาจากดินแดนที่เป็นประเทศจีนปัจจุบัน (นวลจันทร์:2537) คือ คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต(แต่ปัจจุบันไม่นิยมตามทฤษฎีนี้แล้วเนื่องจากบริเวณดังกล่าวอากาศหนาวเย็นมากไม่เหมาะกับการดำรงชีพ) คนไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อพยพมาจากบริเวณมณฑลซื่อชวน(เสฉวน) และคนไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อพยพมาจากบริเวณมณฑลกว่างซี นอกจากนี้ยังมีการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ว่า มีชนเผ่าที่เป็นบรรพบุรุษของคนไทยมีต้นกำเนิดและปัจจุบันก็ยังอาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นประเทศจีนในปัจจุบันอยู่ เช่น ชาวจ้วง(ปราณี:2535) ชาวไตในสิบสองปันนา(หลี่ฟังกุ้ย:1959) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสืบค้นต้นกำเนิดบรรพบุรุษไทยด้วยวิธีต่างๆ ที่สำคัญคือเรื่องการใช้ภาษาเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างงานรวบรวมศัพท์ไท 6 ภาษา ของ ปราณี กุลวนิชย์ (2535) ได้รวบรวมเปรียบเทียบคำไท ที่เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยกับภาษาของชนกลุ่มน้อยในจีน 6 ภาษาได้แก่ ภาษาไทย ภาษาลื้อ ภาษาเต๋อหง(ชนกลุ่มน้อยเผ่าไต) ภาษาต้ง(ชนกลุ่มน้อยเผ่าต้ง) ภาษาสุย(ชนกลุ่มน้อยเผ่าสุย) และภาษาหลี(ชนกลุ่มน้อยเผ่าหลี) นี่เป็นข้อยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าในการศึกษาถึงต้นกำเนิดของชาติพันธุ์ในประเทศลุ่มน้ำโขงนั้น นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ให้ความสำคัญกับชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนมาก ผลของการวิจัยครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ว่ากลุ่มชนในประเทศลุ่มน้ำโขงรวมทั้งประเทศไทย ต่างมีความสัมพันธ์หรือกระทั่งสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศจีน อันเป็นคำตอบว่าเหตุใดประเทศไทยจึงควรมีการศึกษาเพื่อเติมเต็มคลังข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนให้สมบูรณ์

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากยังมีผู้รู้ภาษาจีนน้อย หนทางเดียวที่นักวิชาการชาวไทยส่วนใหญ่จะกระทำได้คือ การพึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหรือการบันทึกของชาวตะวันตก แต่หลังจากที่มีการศึกษาค้นคว้าและมีผู้รู้ภาษาจีนมากขึ้น กลับพบว่าข้อมูลต่างๆที่ได้นั้น มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่น้อย นำไปสู่การสรุปผลการวิจัยที่ไม่ถูกต้อง จะเห็นว่าหลังจากประเทศจีนเปิดประเทศแล้ว นานาประเทศสนใจศึกษาขุมคลังความรู้ที่ซ่อนตัวอยู่ในม่านไม้ไผ่กันอย่างกว้างขวาง แต่ประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มหันมาสนใจศึกษา และให้ความสำคัญในการศึกษาองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาในระยะ 5- 10 ปีมานี้เอง แต่ปัญหาใหญ่ของการศึกษาความรู้ด้านจีนศึกษาก็คือภาษาจีนนั่นเอง นักวิชาการไทยที่นอกเหนือ จากนักวิชาการด้านภาษาจีนแล้ว มีไม่มากนักที่จะสามารถใช้ความรู้ภาษาจีนเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยและสืบค้นข้อมูล ดังนั้นข้อความรู้ที่เกี่ยวกับจีนศึกษาไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ สังคม ศิลปะ วรรณคดี ประเพณี วัฒนธรรม ปรัชญา ศาสนา เชื้อชาติเป็นต้น หรือแม้กระทั่งภาษาจีนเองก็ยังมีไม่มากเช่นกัน ในขณะที่ความต้องการศึกษามีมากขึ้นทุกขณะ นักวิชาการชาวไทยที่มีความรู้ภาษาจีน ต่างทุ่มเทความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเทศจีนเป็นภาษาไทยเพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาให้กับวงการศึกษาของไทยอย่างไม่ลดละ

สถานภาพการศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อยของจีนประเทศไทย
คลังข้อมูลด้านชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน (รวมถึงชนกลุ่มน้อยในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงที่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศจีน) ทั้งจากผู้เขียนชาวไทยและชาวต่างประเทศมีความหลากหลาย ที่เขียนเป็นภาษา อังกฤษ เช่น Marilyn Gregerson (1980) Notes From Indochina on ethnic minority cultures เป็นการรวบรวมบทความในหัวข้อชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม Abadie, Maurice (2001) Minorities of the Sino-Vietnamese Borderland : with special reference to Thai Tribes บรรยายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในชายแดนจีน-เวียดนาม โดยเฉพาะชนเผ่าไท เสนอสรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชาติพันธุ์วรรณนาของชนเผ่าที่อยู่ในทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามและในมณฑลยูนนานของจีน Dodd, W.C. (1996) The Tai Race: Elder Brother of the Chinese เป็นการสำรวจของผู้เขียนในจีนใต้ ลาว และเวียดนามเหนือ เป็นการสำรวจแบบชาติพันธุ์วิทยา ในหนังสือกล่าวเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ลักษณะนิสัย ประเพณี ทางภาษาของชนกลุ่มน้อยที่มีความหลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจในประวัติศาสตร์ของคนที่พูดภาษาไต Ma Yin (1989) China's Minority Nationalities เป็นข้อมูลกายภาพของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนซึ่งสำรวจโดยนักวิทยาศาสตร์สังคมของจีนพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยเป็นจำนวนมาก การสำรวจดังกล่าวได้มีการรวบรวมและจัดระบบเบื้องต้นเพื่อนำเสนอแก่ผู้อ่านในด้านประชากร การกระจายตัวของประชากร สายตระกูล ภูมิศาสตร์ ภาษา พิธีกรรมทางศาสนา ประเพณีในวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมของชนกลุ่มน้อย Schliesinger, Joachim .(1998) Hill Tribes of Vietnam ความเป็นมาของชาวเขาเผ่าต่างๆเกี่ยวข้องกับประเพณีและนิสัยของ 50 ชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนภูเขาในเวียดนาม ในเล่มนี้จะอธิบายประวัติศาสตร์ เครื่องแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ ลักษณะของบ้านเรือนและหมู่บ้าน กิจกรรมด้านการเกษตรและเศรษฐกิจ สังคมและการปฏิบัติศาสนกิจของแต่ละชนเผ่า ประเพณีที่หลากหลายของชนเผ่าต่างๆ
ส่วนที่เขียนเป็นภาษาจีน เช่น Zhao Zhen and others (2006) เรื่องศิลปะ วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เทศกาลสำคัญของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ทั้ง 55 กลุ่ม นอกจากนี้ข้อมูลในรูปแบบเว็ปไซต์ภาษาจีนเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนมีมากมาย ทั้งที่เป็นรวมกลุ่มทั้งประเทศ หรือแบ่งแยกเฉพาะพื้นที่ เฉพาะกลุ่ม ทำให้การสืบค้นข้อมูลสะดวกมาก นอกจากนี้ยังมีหนังสือเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยที่แยกเฉพาะกลุ่มอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Weng Jialie หนังสือชื่อ เผ่าเกอลาว Feng Zutai การวิจัยเผ่าต้ง Chen Yunfang หนังสือชื่อ เผ่าซาลาร์ Han Junguang หนังสือชื่อ เผ่าเฉาเสี่ยน Hu Youming หนังสือชื่อ วัฒนธรรมไต้หวัน สำนักพิมพ์มณฑลยูนนาน หนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์ชนเผ่าไต Ma Shiwen หนังสือชื่อ ประวัติวัฒนธรรมมองโกล สำนักพิมพ์กานซู่ หนังสือชื่อ สังเขปประวัติเผ่ายวี่กู่ Sun Wenliang หนังสือชื่อ สารานุกรมชนเผ่าแมนจู เป็นต้น

บทสรุปเกี่ยวกับสถานภาพการศึกษาเรื่องขนกลุ่มน้อยในประเทศจีนของไทย
จากการสำรวจพบว่า ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องชนกลุ่มน้อยของจีนที่เขียนเป็นภาษาไทยยังมีอยู่ไม่มาก ทั้งยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์เท่านัก ข้อมูลที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนที่เขียนเป็นภาษาไทยเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันปรากฏในหลายรูปแบบ ดังนี้
(1) เกิดจากการรวบรวมและจดบันทึกอย่างคร่าวๆ ของนักสำรวจ เช่น ชูเกียรติ (2541) เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ถิ่นที่อยู่และจำนวนประชากร แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดเลย วุฐิศานติ์ (2549) เรื่อง จากทิเบตถึงทะเลจีนใต้ 26 นักเขียนกับเรื่องเล่าถึงแม่น้ำโขง เป็นหนังสือที่มีการดำเนินเรื่องราวหลักอยู่ที่เรื่องราวเกี่ยวกับแม่น้ำโขง มีการกล่าวถึงเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยบ้าง แต่ไม่ละเอียดชัดเจนมากนัก
(2) เป็นข้อมูลข้างเคียงที่เกิดจากการวิจัยสาขาอื่น เช่น ปราณี(2535) เรื่องคำไท 6 ภาษา เป็นการเปรียบเทียบคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยกับภาษาลื้อ ภาษาเต๋อหง ภาษาสุย ภาษาต้ง และภาษาหลี ซึ่งภาษาดังกล่าวเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนทั้งสิ้น ศรีศักรและปราณี (2536) เรื่อง จ้วง : พี่น้องเผ่าไทยเก่าแก่ที่สุด เป็นการศึกษาค้นคว้าเรื่องชนชาติไทยโดยเสนอว่า จ้วง เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนที่พูดภาษาไทย นับเป็นพี่น้องเผ่าไทยกลุ่มใหญ่สุดที่อยู่นอกดินแดนประเทศไทยและเป็นผู้สืบสานอารยธรรมดึกดำบรรพ์มานานกว่า 2,000 ปี สุริยา (2537) เรื่อง นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1 กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ รวมถึงภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนด้วย นภ (2549) เรื่อง วัฒนธรรมการบูชาโทเท็มของชนกลุ่มน้อยในจีน มีภาคผนวกที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนเทียบภาษาจีน ภาษาโรมัน และภาษาไทย
(3) เป็นข้อมูลชนกลุ่มน้อยในจีนที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย หรือการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ที่มีความเกี่ยวข้องกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน เช่น สมลักษณ์ (2537) เรื่อง ย่ำสิบสองปันนา...ตามหาญาติ เป็นเรื่องราวถิ่นกำเนิดของคนไทย โดยการเดินทางย้อนแม่น้ำโขงที่มีกระแสทวนที่เชี่ยวมากขึ้นสู่ “นครเชียงรุ้ง” ดินแดนแห่งอดีตหนานจ้าว เพื่อพิสูจน์ถึงความเป็นญาติเผ่าไทย สมใจและวีรพงศ์ (2514) เรื่อง สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยลื้อ กล่าวถึงไทยลื้อซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตอนใต้ของจีน มีวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับคนไทยทางภาคเหนือเป็นอย่างมาก สามารถสะท้อนถึงประวัติความเป็นมาและความเป็นอัตลักษณ์ของชาวไทยลื้ออย่างชัดเจน ณัฏฐวี และ วีระพงศ์(2540) เรื่อง สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : เมี่ยน (เย้า) ชาวเย้าหรือเหยาเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งของจีน และมีบางส่วนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย ผู้เขียนได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนชาวเมี่ยน และได้ค้นคว้าทางเอกสารเกี่ยวกับชีวิตของชาวเมี่ยนเพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เรารู้จัก และเข้าใจวิถีชีวิตและโลกทัศน์ของชาวเมี่ยน(เย้า)มากยิ่งขึ้น โสฬส(2539) เรื่องสารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ลาฮู เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาวลาฮูซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคยปกครองตนเองในการปกครองของจีน แต่เมื่อจีนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบบจักรพรรดิ โครงสร้างการปกครองของลาฮูจึงเปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดกบฏและถูกปราบปรามอย่างรุนแรง จึงได้อพยพหาถิ่นทำกินแห่งใหม่ ส่งผลให้ชาวลาฮูต้องอพยพย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในพม่าเรื่อยมาจนถึงไทย ลักขณา (2539) เรื่อง สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ลีซอ ชาวลีซอเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคยอาศัยอยู่ในมณฑลยูนนานและอพยพเรื่อยมาจนถึงทางตอนเหนือของไทย พูดภาษากลุ่มเดียวกันกับภาษามูเซอและอาข่านั่นคือภาษาจีน-ทิเบต กลุ่มพม่า-โลโล
(4) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนเพียงบางส่วน เช่น หลี่ ฟู่เชิน (2539) เรื่องชาวจ้วง เป็นหนังสือที่เกิดจากการศึกษาเรื่องชนชาติไท ชาวจ้วงเป็นชนกลุ่มน้อยในมณฑลกว่างซี ของประเทศจีนที่พูดภาษาดั้งเดิมคล้ายกับภาษาไทย โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับชนชาวจ้วงในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ การตั้งถิ่นฐาน ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา เป็นต้น สุมิตร (2538) เรื่อง การศึกษาชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนตอนใต้ เป็นการศึกษาและให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณี วัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐาน ศาสนา การปกครองของชนกลุ่มน้อยที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศจีนตอนใต้

ข้างต้นจะเห็นว่า ข้อมูลด้านชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนที่เป็นภาษาไทยยังมีอยู่น้อยมาก ในขณะที่ความต้องการ และความจำเป็นของข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวมีมาก ในปัจจุบัน หากต้องการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่มีความเกี่ยวเนื่องกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน รวมถึงชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยที่อพยพมาจากประเทศจีน เนื่องจากคลังข้อมูลเหล่านี้ในประเทศไทยยังขาดแคลนอยู่ ส่วนทีมีอยู่ก็ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นนักวิจัยต้องเสียเวลาเริ่มศึกษากันตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานเรื่องชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนเลยทีเดียว แต่ก็คงทำได้เพียงศึกษาเฉพาะกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของตนเท่านั้น มิอาจศึกษาในภาพรวมได้ เราจึงมักพบข้อมูลด้านชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนในลักษณะเป็นเพียงข้อมูลข้างเคียงจากงานวิจัยอื่นเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง
ชลธิรา สัตยาวัฒนา (2544)สืบสานประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม ไป่เยว่. การศึกษา
เชิงมานุษยวิทยา .สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ชูเกียรติ มุ่งมิตร(2546) ชนกลุ่มน้อยในจีน และถิ่นพำนัก.http://www.rta.mi.th/chukiat/story/people_chiness.html
เท่าคว่างแซ้งและอ้ายคำเรียบเรียง,เรณู วิชาศิลป์ ปริวรรต – แปล. (2544) เชื้อเครือเจ้าแสน
หวีสิบสองปัน นา. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์,กรุงเทพฯ.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์.(2547) ไทยสิบสองปันนาเล่ม 1 .พิมพ์ครั้งที่ 3 .ศยาม,กรุงเทพฯ.
ปราณี กุละวณิชย์.(2535) พจนานุกรมจ้วงใต้ – ไทย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,กรุงเทพฯ.
ปราณี กุละวณิชย์และคณะ.(2527) ศัพท์ไท 6 ภาษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,กรุงเทพฯ.
นภ อึ้งโพธิ์ (2548) “การบูชาโทเท็มของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน” วารสารจีนศึกษา.คณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ
นวลจันทร์ ตุลารักษ์.(2547) ประวัติศาสตร์:การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาชาติไทย. โอ.เอส.พริ้น
ติ้งเฮ้าส์,กรุงเทพฯ.
ณัฏฐวี ทศรฐ และ วีระพงศ์ มีสถาน (2540) สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : เมี่ยน (เย้า) .
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัตนาพร เศรษฐกุล(2539) ชาวจ้วง.สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์,เชียงใหม่.
ลักขณา ดาวรัตนหงษ์ (2539)สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ลีซอ .สถาบันวิจัยภาษาและ
วัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
วุฐิศานติ์ จันทร์วิบูล (2549)จากทิเบตถึงทะเลจีนใต้ 26 นักเขียนกับเรื่องเล่าถึงแม่น้ำโขง .
ง่ายงาม.
วิจิตรวาทการ (2549)งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย .สร้างสรรค์บุ๊คส์,กรุงเทพฯ.
วีระพงศ์ มีสถาน (2544)สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยใหญ่ .สถาบันวิจัยภาษาและ
วัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมใจ แซ่โง้ว และ วีระพงศ์ มีสถาน (2541)สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยลื้อ .สถาบันวิจัย
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมลักษณ์ วงษ์รัตน์ (2537)ย่ำสิบสองปันนา...ตามหาญาติ .อมรินทร์,กรุงเทพฯ.
สุมิตร ปิติพัฒน์ (2541) การศึกษาชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนตอนใต้.สถาบันไทยคดีศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
สุริยา รัตนกุล (2531) นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ .สหธรรมิก,กรุงเทพฯ.
สุวัฒน์ คงแป้น (2549)ชุมชนคนไท .สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
โสฬส ศิริไสย์ (2539)สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ลาฮู .สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อ
พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรีศักร วัลลิโภดม, และ ปราณี วงษ์เทศ.(2536)จ้วง : พี่น้องเผ่าไทยเก่าแก่ที่สุด.มหาวิทยาลัย
ศิลปากร,กรุงเทพฯ.
Abadie, Maurice(2001). Minorities of the Sino-Vietnamese Borderland : with special
reference to Thai Tribes . White Lotus.
Dodd, W.C. (1996) The Tai Race: Elder Brother of the Chinese . White Lotus.
Marilyn Gregerson (1980) Notes From Indochina on ethnic minority cultures . Sil
Museum Of Anthropology.
Ma Yin (1989) China's Minority Nationalities. Foreign Languages Press. China (Yunnan)
Schliesinger, Joachim .(1998) Hill Tribes of Vietnam : volume 2 - profiles of
existing hill tribe groups . White Lotus.
载庆厦 (1998) 《二十世纪的中国少数民族语言研究》. 书海出版社.
黄行 (2000) 《中国少数民族语言活力研究》.中央民族大学出版社.
葛公尚(2002) 《中国少数民族现状与发展调查研究丛书》.澜沧县拉祜族卷.民族出版社. 郝时远 (2002) 《中国少数民族地图集》.中国地图出版社.
罗开云(2003) 《中国少数民族革命史》 . 中国社会科学出版社.戴庆夏(2003) 《现代语言学理论与中国少数民族语言学研究》(2003/1) 民族出版社.
张江华(2003) 《中国少数民族现状与发展调杳研究丛书》.堆龙德庆县藏族卷.民族出版社
普忠良(2004) 《彝族 - - 中国少数民族风情游丛书》 .中国水利水电出版社.
[1] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรภาษาจีน สาขาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

[2] ข้อมูลจำนวนประชากรของชนกลุ่มน้อยแต่ละกลุ่มได้มาจากการสำรวจสำมะโนประชากรของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งที่ 5 ในปี 2000

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น