วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การพรรณนาภาษาละติ


ชาวละติมีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่สองประเทศคือ บริเวณมณฑลยูนนานของประเทศจีน  และตอนเหนือของประเทศเวียดนาม มีรายละเอียดดังนี้
          ชาวละติในประเทศจีน
จากการสำรวจของคณะกรรมการประชากรอำเภอหม่ากวานในปี 1995  รายงานว่ามีประชากรชาวละติจำนวน 2600 คน การสำรวจสำมะโนประชากร ปี 1999 รายงานว่ามีชาวละติลดลงจากเดิมเหลือ 1600 คน  แบ่งเป็นสี่สาขา ได้แก่ 


1.      ละติลาย (花拉基Huā Lājī) อาศัยอยู่ตรอกซานเจีย หมู่บ้านกลาง ตำบลจินฉ่าง อำเภอหม่า
กวาน (马关县金厂镇中寨三家街Mǎguān xiàn Jīnchǎng zhèn zhōng zhài Sānjiā jiē) เรียกตัวเองว่า /li35 pu44 ljo44 n̩44 ʨo55/
2.      ละติฮั่น (汉拉基Hàn Lājī) อาศัยอยู่ในพื้นที่สองตำบล คือ บริเวณภูเขาหนิวหลงซาน (牛龙
Niú lóngshān) บ้านตู๋เจี่ยว(独角寨Dú jiǎo zhài) บ้านเชียนฉ่าง(铅厂Qiān chǎng) คลองสิบสองสาย(十二道河Shí'èr dào hé) บ้านเก่า (老寨Lǎo zhài)  ของตำบลเจียหานชิง (夹寒箐Jiā hán qìng) และ บ้านป๋ายสือเหยียน(白石岩Báishí yán) บ้านสือเฉียว(石桥Shí qiáo) บ้านหั่วมู่ชิ่ง(火木箐Huǒ mù qìng) ของตำบลเหรินเหอ (仁和Rénhé)  เรียกตัวเองว่า /li35 pu44 ʨo55/
3.      ละติกระเป๋า (口袋拉基Kǒudài lā jī) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านปู้ซู ของชุมชนหนานลาว (南捞乡
布苏Nánlāo xiāng bù sū) เรียกตัวเองว่า /li35 pu44 te35/
4.      ละติแดง (红拉基Hóng lā jī) อาศัยอยู่ในตำบลเสี่ยวป้าจื่อ (小坝子镇xiǎo bàzi zhèn) บ้าน
เถียนเผิง(田棚Tiánpéng) บ้านลาเจี๋ย(拉劫Lājié) เรียกตัวเองว่า /li35 pu44 ke55/
(5.) ในพงศาวดารภาพคนยูนนานใต้ 《滇南种人全图Diān nán zhǒng rén quán túมีกล่าวถึง
ชาวละติขาว (白拉基Bái Lājī) อาศัยอยู่ในพื้นที่รอยต่อกับจังหวัดคายฮวา (开花府Kāihuā fǔ) แต่ปัจจุบันไม่พบมีชาวละติขาวในพื้นที่อำเภอหม่ากวานแล้ว
          นอกจากนี้ยังพบว่ามีชาวละติตั้งถิ่นฐานในพื้นที่มณฑลยูนนานอีกประปรายแต่ไม่ถึงขั้นเป็นหมู่บ้านหรือชุมชนชาวละติ เช่น อำเภอเยี่ยนซาน (砚山Yàn shān)   อำเภอชิวเป่ย(邱北Qiū běi)  อำเภอซีโฉว   (西畴Xi chóu) อำเภอหมาลี่โพ (麻栗坡Má lì pō) เป็นต้น
ชาวละติในประเทศจีนมี 13 แซ่ คือ เอิน (Ēn) หวาง (Wáng) หลี่ (Li) ผู่ () เฉิน (Chén) เถียน (Tián) เจิง (Zēng) หวง (Huáng) เลี่ยว (Liào) กวาน (Guān) จู้ (Zhù) กู่ () โจว (Zhōu)
            ชาวละติในประเทศเวียดนาม
            ข้อมูลชาวละติในเวียดนาม หวางจื้อลู่ (Wáng Zhìlù, 1992, อ้างใน Li Yúnbīng, 2000, 6) รายงานว่า มีชาวละติจำนวน 7,900 คน การสำรวจสำมะโนประชากร ปี 1999 รายงานว่ามีชาวละติเพิ่มขึ้นจากเดิม เป็น 10,765 คน มีถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอต่างๆของจังหวัดฮ่าซาง[1] (Hà Giang) ได้แก่ อำเภอสินเมิ่น (Xín Mần)  อำเภอฮว่างซูฟี่ (Hoàng Su Phì) อำเภอบั๊กกวาญ (Bắc Quang)  และอำเภอต่างๆของจังหวัดหล่าวกาย (Lào Cai)  ได้แก่อำเภอหมื่งคืง (Mường Khương) และอำเภอบั๊กคฮ่า (Bắc Hà) ชาวละติในประเทศเวียดนามมีสามสาขา คือ
1.      ละติดำ (黑拉基Hēi lā jī) อาศัยอยู่ในอำเภอม่านโยว เรียกตัวเองว่า /li35 pu44 tjoN44/
2.      ละติขนยาว (长毛拉基Cháng lā jī) อาศัยอยู่ในอำเภอม่านเหลียน เรียกตัวเองว่า /li35 pu44 pi55/
3.      ละติขาว (白拉基Bái Lājī) อาศัยอยู่ในอำเภอม่านปัง ม่านเหม่ยและจี๋ก่า  เรียกตัวเองว่า /li35 pu44 pu55/  
ชื่อเรียกชาวละติแต่ละสาขาทั้งที่อยู่ในประเทศจีนและเวียดนามนั้น  มีที่มาจากการแต่งกายและลักษณะเฉพาะ พวกละติลาย ละติแดง ละติขาว ละติดำ เรียกตามสีของเครื่องแต่งกาย ละติกระเป๋ามีลักษณะเด่นคือสะพายกระเป๋าเวลาออกไปข้างนอก ละติฮั่นคือชาวละติที่เปลี่ยนมาพูดภาษาฮั่นโดยสมบูรณ์แล้ว 
             ชาวละติในประเทศจีนแม้จะมีจำนวนน้อย แต่มีสาขามากและกระจายกันเป็นชุมชนเล็กๆ   ทำให้มีชื่อเรียกตัวเองอีกหลายชื่อแตกต่างกันไปตามแต่ละชุมชน เช่น เส่อ(Shě) ลากั่ว (拉果lā guǒ) เฮยถู่ (黑土hēitǔ)  กู๋ไต่ (古逮gǔ dǎi) อีปี่ (依比yī bǐ) อีเหมย(依梅yī méi) อีตัว (依多yī duō) อีเปิง (依崩yī bēng)  เป็นต้น     ซึ่งคำเรียกว่า “อี” นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกที่ตรงกับคำว่า “อ้าย” เหมือนกับชื่อเรียกชาวอานหนาน(เหมาหนาน) อ้ายอี (ปู้อี)  อ้ายสุ่ย(ชาวสุ่ย) อายจาม และ อายเท็น  


[1] ในเอกสารภาษาจีนใช้อักษรจีนเรียกพื้นที่ต่างๆของประเทศเวียดนามดังนี้
ฮ่าซาง
Hà Giang
河江
Héjiāng

บั๊กฮ่า
Bắc Hà
北河
Běihé
สินเมิ่น
Xín Mần
箐门
Qìng mén
จี๋ก่า
Chí
鸡嘎
Jī gā
ฮว่างซูฟี่
Hoàng Su Phì
黄树皮
Huáng shù pí
บ๋านสิ่ว
Bán Diù
曼尤
Màn yóu
บั๊กกวาง 
Bắc Quang
北光
Běi guāng
บ๋านฟวง
Bán Phuang
Màn Péng
หล่าวกาย 
Lào Cai
老街
Lǎo jiē
บ๋านปะอาง
Bán P’ang
曼邦
Màn bāng
เหมื่องเคือง
Mường Khương
孟康
Mèng kāng
บ๋านเหมย
Bán Mơi
曼美
Màn měi

ชาวละติมีเรื่องเล่าว่าบรรพบุรุษแต่เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศเวียดนาม ในดินแดนชื่อ ม่ายปู้  (麦布Màibù) ม่ายตู (麦督Màidū) ม่ายฮา (麦哈  Màihā)[1]   อีกตำนานหนึ่งเล่าว่าบรรพบุรุษชาวละติเดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่แคว้นอาหมี (阿迷州Ā mí zhōu)[2] โดยแบ่งเป็นสองหมู่บ้านคือ บ้านกงจี(公鸡Gōngjī แปลว่า ไก่ผู้) และบ้านหมู่จี (母鸡Mǔ jī แปลว่า ไก่แม่) ต่อมามีเรื่องกันกับหมู่บ้านข้างเคียง ชาวละติพ่ายแพ้จำต้องถอยหนี สองหมู่บ้านชาวละตินัดแนะกันอพยพหลบหนีในยามได้ยินเสียงไก่ขัน ชาวบ้านไก่ผู้ได้ยินเสียงไก่ขันตอนเที่ยงคืนก็ออกเดินทาง  ส่วนชาวบ้านไก่แม่ได้ยินเสียงไก่ตัวเมียออกไข่ขันในยามกลางวันจึงอพยพตามไป ทำให้ชาวละติอพยพแยกย้ายกันไปสองทาง ต่อมาเมื่อมีคนถามว่าเป็นใครมาจากไหน ก็จะตอบว่าเป็นชาว “อาจี” (คือคำว่า 迷州Ā mí zhōu zhài หมายความว่า บ้านไก่ แคว้นอาหมี) ต่อมาออกเสียงเป็น “ลาจี” อย่างไรก็ตาม ชื่อเรียกลาจีนี้เป็นคำที่ชาวฮั่นใช้อักษรจีนจดชื่อชาวละติว่า 拉基Lā jī ตำนานดังกล่าวนี้น่าจะเกิดมาจากชื่อที่ได้มาภายหลัง ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชื่อที่ชาวฮั่นเรียก คงไม่ใช่ที่มาของชื่อเรียกชาวละติที่แท้จริง เนื่องจากชาวละติไม่ได้เรียกตัวเองว่า “ลาจี” แต่มีชื่อเรียกดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (LT.1.1)
          ชื่อที่สันนิษฐานว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับชาวละติ ที่มีการบันทึกไว้เก่าแก่ที่สุดปรากฏในพงศาวดารยูนนาน 《滇志Diān zhìฉบับที่ 30 (ยุคราชวงศ์หมิง)  ใช้อักษร 喇记Lǎ jì และยังมีอีกหลายชื่อในเอกสารต่างๆกัน แต่ใช้อักษรไม่เหมือนกัน เช่น 喇貕 Lǎ xī , 犭鷄Lǎ jī ,  拉绨Lātí, 喇僰[3] Lǎbó โดยระบุว่าชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่าเจี้ยวฮว่า (教化Jiàohuà) ยุคเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงเปลี่ยนชื่อพื้นที่เจี้ยวฮว่าเป็น คายฮว่า(开化Kāihuà) ยุคจักรพรรดิยงเจิ้ง (ค.ศ.1730) ก่อตั้งเป็นอำเภอเหวินซาน (文山县Wénshān xiàn) ในยุคจักรพรรดิกวางซวี่ (ค.ศ.1885) เวียดนามถูกฝรั่งเศสครอบครอง พื้นที่บริเวณคายฮว่ามีเขตแดนไม่ชัดเจน ผู้คนอพยพข้ามไปมาระหว่างรอยต่อของจีนและอันนัม (เวียดนาม) จากการก่อตั้งแคว้นอาหมีในยุคราชวงศ์หยวน จนถึงราชวงศ์หมิงก่อตั้งเป็นเมืองคายหย่วน รวมถึงหลักฐานเกี่ยวกับชื่อชาวละติและการแบ่งเขตการปกครองในยุคราชวงศ์ชิง สันนิษฐานว่าชาวละติทยอยอพยพจากพื้นที่ที่เป็นตอนเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน เข้ามาอยู่ในพื้นที่รอยต่อของจีนกับเวียดนามตั้งแต่ยุคราชวงศ์หยวน หมิง และชิง และตั้งถิ่นฐานเรื่อยมาจนปัจจุบัน
          อย่างไรก็ตามหากมองในมุมมองของประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการแบ่งเขตแดนของประเทศจีนและเวียดนาม พื้นที่เวียดนามตอนเหนือนับว่าเป็นพื้นที่ปกครองในแผนที่โบราณของจีน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าชาวละติไม่ได้อพยพมาจากเวียดนาม แต่มีชีวิตอยู่ในพื้นที่ของประเทศจีนมาแต่โบราณ จนกระทั่งมีการแบ่งเขตแดนของประเทศ จึงเกิดทฤษฏีว่าชาวละติอพยพมาจากประเทศเวียดนามสู่ประเทศจีน แนวคิดนี้จึงน่าจะวิเคราะห์อีกประเด็นหนึ่งได้ว่า เดิมทีชาวละติเป็นชนเผ่าโบราณของจีน อพยพลงใต้สู่พื้นที่ของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน จากนั้นอพยพกลับขึ้นเหนือไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่อยู่ปัจจุบัน
          ผู้เขียนได้ตรวจสอบรายการคำศัพท์ภาษาละติเพื่อนำมาวิเคราะห์ในประเด็นชื่อเรียก  พบว่าชื่อเรียกชาวละติสอดคล้องกับชื่อเรียกของกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไทอื่นๆ กล่าวคือ  ชื่อเรียกชาวละติขึ้นต้นด้วยคำว่า  /li35 pu44……/  แล้วตามด้วยชื่อเฉพาะของชาวละติแต่ละสาขา พิจารณาจากการสร้างคำในภาษาละติพบว่า คำว่า /li35/ เป็นคำเติมหน้าคำนาม ใช้เติมหน้าคำเรียกคน เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ คำเรียกญาติ อาชีพ ทั้งยังใช้เติมหน้าคำเรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่างได้ด้วย ขณะเดียวกันยังมีสองคำที่ออกเสียงใกล้เคียงกันคือ /li44, li55/ ใช้เป็นคำเติมหน้าคำนามเหมือนกัน เช่น     
/li35/ “ไม่มีความหมายประจำคำ”
/li44/ “ปีก” , li55/ “โยน ตก หล่น
li35 vei44
ชาวไต
li44 mei55
เทพ เทวา ผี
li35 lei53
ชาวจ้วง
li44 qei44
ร้อย (100)
li35 mja44
เมีย
li44 paŋ35
พัน (1000)
li35 po44
ผัว
li44 vo55
หมื่น (10000)
li35 pua44
กระสวย
li44 vɛ31
หลุม บ่อ
li35 tɕjuŋ13 m̩55
นิ้วมือ
li44 ha35
ลูกตุ้ม เครื่องตวงข้าว
li35 kho53
ลิง
li44 ŋo44
แมว
li35 qE44
ไก่
li55 la55
สุนัขจิ้งจอก
          ดังนั้นคำว่า /li35/ ที่อยู่ในคำเรียกชาวละตินั้น ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมหน้าคำนามเท่านั้น ดูจากความหมายประจำคำของ li35, li44, li55 ก็ไม่พบว่ามีความหมายที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
          คำว่า /pu44/ ตรงกับคำว่า “ผู้” คำเรียกนี้เหมือนกับภาษาตระกูลไทหลายภาษาที่มีคำว่า “ผู้” นำหน้า เช่น ปู้อี ปู้จุง(จ้วง) ปู้นง(จ้วงนุง) ผู่เปียว ปู้ยัง มูลัม ผือลาว (เกอลาว)[4]  
          คำเรียกที่ชาวละติใช้เป็นชื่อเรียกรวมเผ่าพันธุ์ชาวละติก็คือ /li35 pu44 ljo44/ คำว่า /ljo44/ สอดคล้องกับชื่อเรียกชนเผ่าตระกูลไทในประเทศจีนหลายกลุ่ม เช่น เกอลาว /klau55/ มูลัม /mu11 lam42/ พวกมอญ-เขมรก็เรียกพวกชนเผ่าตระกูลไทว่า /liao, pu/ liao/ “ลาว, พวกลาว”  ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าคำว่า /ljo44/ เกี่ยวข้องกับคำว่า “ลาว” และเกี่ยวข้องกับคำที่ชาวจีนโบราณเรียกพวกหนึ่งในกลุ่มชนร้อยเผ่าว่า “เหลียว” (僚人Liáo rén)
ขณะนี้เราจัดภาษาละติไว้ในแขนงภาษาเกอ-ยัง ซึ่งเป็นสาขาที่แยกออกมาให้เป็นคู่ขนานกับแขนงจ้วง-ไต ต้ง-สุ่ย และหลี เมื่อพิจารณาบรรพบุรุษของชาวเกอ-ยังก็จะพบว่าเกี่ยวข้องกับชนเผ่าโบราณสองกลุ่มคือ ชาวผู () และชาวเหลียว(Liáo) ชาวผูโบราณมีสาขาย่อยเป็นจำนวนมาก ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพวกเกอ-ยังคือ ก้ายเฟินอายผูหรือหย่งชางผู (盖分哀濮或永昌濮Gài fēn āi pú huò Yǒngchāng pú) จวี้ติงผู (句町濮Jùdīng pú) และฉู่ผู(楚濮Chǔ pú) [5] ชาวผูทั้งสามแขนงนี้แตกแขนงไปเป็นบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาต่างๆอีกหลายกลุ่ม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับชาวละติคือ ฉู่ผู ชนเผ่าโบราณกลุ่มนี้ได้แตกแขนงไปอีกหลายกลุ่มย่อยๆ ในจำนวนนี้มีชื่อ จิวเหลียว  (鸠僚Jiū liáo) กลุ่มจิวเหลียวนี้พัฒนาไปเป็นชาว “เหลียว (Liáo)”  บันทึกในยุคเว่ยจิ้นหนานเป่ย(220-589) กลุ่มชนที่แตกแขนงมาจากจิวเหลียวล้วนเรียกรวมกันว่า  “เหลียว liáo  จนถึงสมัยซ่ง (960-1279) ปรากฏชื่อ “เกอลาว” ซึ่งเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่แตกแขนงมาจากชาวเหลียว จากความสัมพันธ์ของชาวละติที่เกี่ยวข้องกับชาวเกอ-ยัง จึงสันนิษฐานได้ว่า บรรพบุรุษของชาวละติก็คือชนเผ่าโบราณชื่อ ฉู่ผู และจิวเหลียว ซึ่งใกล้ชิดกับพวกเกอลาว ปู้ยัง และผู่เปียว
จากข้อมูลข้างต้น สันนิษฐานได้ว่า ชื่อเรียก /li35 pu44 ljo44/ ของชาวละตินี้ น่าจะหมายความว่า “คำเติมหน้า + ผู้ + ลาว”   


[1] จากการตรวจสอบว่าชื่อสถานที่เหล่านี้ตรงกับชื่อใดหรือสถานที่ใดในประเทศเวียดนาม  ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด หากเทียบกับชื่อในตารางของเชิงอรรถข้างต้น ม่ายปู้ น่าจะเกี่ยวข้องกับ曼邦  ม่ายตู น่าจะเกี่ยวข้องกับ 曼尤  ส่วนม่ายฮาไม่มีชื่อที่สอดคล้องกัน  
[2] แคว้นอาหมี (阿迷州Ā’mí zhōu) ปัจจุบันคือพื้นที่เมืองคายหย่วน เขตหงเหอ มณฑลยูนนาน(云南省红河州开远市Yúnnán shěng Hónghé zhōu Kāi yuǎn shì) มีการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุ 2000 ปี เป็นหลักฐานยืนยันว่าเป็นดินแดนที่มีมนุษย์โบราณเคยอาศัยอยู่ ยุคซีฮั่นจัดอยู่ในการปกครองของแคว้นอี้โจว(益州Yì zhōu) ยุคซีจิ้นจัดอยู่ในปกครองของกลุ่มซิ่งกู่ (兴古Xìnggǔ) และกลุ่มเหลียงสุ่ย (梁水Liángshuǐ) ต้นราชวงศ์ถังอยู่ในการปกครองของแคว้นหลีโจว(黎州Lí zhōu) ยุคราชวงศ์หยวนอยู่ในพื้นที่ปกครองของเขตอาหนิง(阿宁Ā níng)  ต้นราชวงศ์ หมิงก่อตั้งเป็นแคว้นอาหมี หลังจากปี 1913 เปลี่ยนเป็นอำเภออาหมี ปี 1931 เปลี่ยนเป็นอำเภอคายหย่วน ปี 1981 ยกฐานะเป็นเมืองคายหย่วน   
[3] คำนี้ออกเสียงตามอักษรจีนว่า “หล่าโป๋” เป็นคำที่ชาวฮั่นในยุคก่อนฉินใช้บันทึกเพื่อหมายถึงชนเผ่าโบราณทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ออกเสียงว่า “โป๋”  ในสมัยโบราณออกเสียงว่า “ป๋าย (bái)” เมื่อเปรียบเทียบกับชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตอนใต้ของจีนก็พบว่า เกี่ยวข้องกับชื่อชาว “ผู” () ซึ่งชาวผูนี้ก็มีที่มาจากชาวป่ายเยว่(百越Bǎi yuè)  บางครั้งจึงเรียกรวมกันเป็น “ป่ายเยว่”  หรือ “ป่ายผู” ที่หมายถึง “ชนร้อยเผ่า” นั่นเอง 
[4] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำเรียกชื่อในคำอธิบายภาษาปู้ยัง
[5] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับชนเผ่าโบราณนี้ได้ในคำอธิบายภาษาผู่เปียว  



จากที่ได้นำเสนอข้อมูลภาษาและการเปรียบเทียบกับภาษาอื่นๆในสาขาภาษาจ้วง – ต้ง พบว่า ภาษาละติมีความสัมพันธ์ที่ห่างออกไปจากภาษาสมาชิกในสาขาภาษาจ้วง-ต้งมาก  หากเปรียบเทียบระหว่างภาษาที่เป็นสมาชิกในแขนงเดียวกันจะพบว่า  ภาษาที่เป็นสมาชิกในแขนงจ้วง-ไต แขนงต้ง-สุ่ย มีคำศัพท์ที่สัมพันธ์กันใกล้ชิด ออกเสียงใกล้เคียงกันหรือเป็นคำเดียวกัน  นักภาษาศาสตร์จีงสามารถจัดเข้าเป็นสมาชิกแขนงเดียวกันได้อย่างสนิทใจ แต่สำหรับภาษาละติแล้ว  นอกจากคำศัพท์ที่มีความแตกต่างไปจากสมาชิกในสาขาจ้วง-ต้งแล้ว ระหว่างภาษาที่เป็นสมาชิกในแขนงเกอ-ยังด้วยกันเอง แม้จะมีคำศัพท์ที่สามารถวิเคราะห์ให้เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายในแขนงเดียวกันได้ก็ตาม ก็ยังมีความแตกต่างไปจากภาษาอื่นอยู่ และยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาไทยด้วยแล้วจะเป็นความสัมพันธ์ที่ห่างไกลมาก อาจเทียบได้ว่าเป็นญาติพี่น้องห่างๆของชั้นเครือญาติเกี่ยวดองกับภาษาไทยก็ว่าได้
        ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบในภาษาละติก็คือ   มีคำศัพท์ภาษาละติบางส่วนที่สอดคล้องกับภาษาตระกูลมอญ-เขมร ผู้เขียนได้ตรวจสอบคำศัพท์จากรายการคำศัพท์ท้ายเล่มในหนังสือของหลี่หยวินปิงก็พบว่า มีคำศัพท์ภาษาละติมากกว่า 50 คำ คล้ายกับภาษาตระกูลมอญ-เขมร แต่ข้อที่น่าสงสัยก็คือ คำศัพท์กลุ่มนี้ควรจะสอดคล้องกับภาษาเวียดนามหรือภาษามอญ-เขมรที่พูดอยู่ในประเทศจีน (ปู้หล่าง เต๋ออ๋าง หว่า)  เพราะเป็นภาษาตระกูลมอญ-เขมรที่มีถิ่นฐานอยู่ร่วมกันหรือใกล้ชิดกัน แต่ความจริงกลับพบว่า คำศัพท์ดังกล่าวสอดคล้องกับภาษาเขมรซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานอยู่ถัดลงมาจากชาวเวียดนาม ยิ่งไปกว่านั้นเสียงที่สอดคล้องกับภาษาเขมรนี้ยังมีบางคำสอดคล้องกับภาษาจีนยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วย ซึ่งอาจเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่จะศึกษาต่อไปว่า คำศัพท์ที่ว่านี้อาจจะเป็นคำศัพท์ร่วมโบราณก็เป็นได้ ในตอนท้ายนี้จะให้ตัวอย่างคำภาษาละติที่พ้องกับคำศัพท์ภาษาเขมร ดังนี้  


ตัวอย่างคำศัพท์ภาษาละติที่พ้องกับภาษาในตระกูลมอญ-เขมร
ละติ
ปู้หล่าง
เต๋ออ๋าง
หว่า
เขมร
เวียดนาม
ไทย
ma55qei55
phɛik2(ยืมไต)
’phrit
mak kram
m̩tih
tiêu
พริก
la35 m̩55
 kaʔ4  muʔ2
ma:u
si  mauʔ
thmɔ
đá
หิน
ŋuaŋ35
aŋ1
rɤ
dɤʔ
lŋuaŋ
ngu ngốc
โง่ เขลา
pja35
po2
krɔh
loʔ
pia/
lời
คำพูด
m̩44 tje55
khuʔ1
he
khauʔ
dÃm ch«
cây
ต้นไม้
ʔa44 tu35
ɹɤ1(ยืมไต)
rɤ(ยืมไต)
rɤ(ยืมไต)
tu/
tàu
เรือ*
laŋ44
siŋ2
ʔap
loʔ
sÃmleŋ
âm thanh
เสียง
ʔa44 ʔie44
kaʔ 4 ak 2
k’ʔaʔ
lak
ka /æk
con quạ
อีกา**
hje55
laʔ 1
grai
krai
n̩jÃi
nói
พูด
i44 ȵe35
um 1 kuik 1
ʔʊm muh
rɔm lah
ȵɯh
mồ hôi
เหงื่อ
qhei44na44
man 4 muʔ4
laʔ m̥ɔ
dɯ   mɔʔ
/ɛ na
ở đâu
ที่ไหน
ɕo44
naʔ2
bra:ŋ
nɛʔ
u
chua
เปรี้ยว
kho31
tok2
phla:n
hot
krɔ
nghèo
(ยาก)จน
m̩35
aʔ 4(ยืมไต)
ŋa:i
ŋai
mu/
mặt
ใบหน้า
naŋ44
kap2(ยืมไต)
ka:i
mai
nAŋ
และ,กับ
* คำว่า “เรือ” เสียงภาษาจีนยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ /dăk/ เสียงภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์ คือ /du/ 
** คำว่า “กา” เสียงภาษาจีนยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ /ʔea/ เสียงภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์ คือ /ʔa/         
             ประเด็นที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับร่องรอยความสัมพันธ์ของภาษาละติกับภาษาแขนงจ้วง-ไต(รวมทั้งภาษาไทย)  และแขนงต้ง-สุ่ย ที่เห็นเด่นชัดก็คือ การสูญเสียพยัญชนะท้าย /p,t,k/ เป็นเหตุให้คำในภาษาละติที่เดิมทีเป็นคู่เทียบเสียงพยัญชนะท้ายเหมือนกับภาษาไทอื่นๆ  กลายเป็นคำพ้องเสียงหลายคำ  ตารางถัดไปนี้เปรียบเทียบคำศัพท์จากตัวแทนภาษาของแขนงต่างๆ ดังข้อมูลต่อไปนี้ (อักษรสีจางในภาษาละติเป็นข้อสันนิษฐานว่าสูญเสียพยัญชนะท้ายเสียงนั้นไป)
ละติ
จ้วง
ไต
ต้ง
สุ่ย
หลี
ไทย
tjap31
tap7
tap7
tap7
tap7
ŋa:n1
ตับ
tjat31
tat7
paːt9
tat7
qat7
fo:n4
ตัด
tjak31
tak7
tak7
tui3
te3
 dok7
ตัก
kjap31                                                                                                                                                                                                                                                                                
kap8
ip7
sok7+
ʔnjap7
bi:p7
แคบ
kjak31 
ɤa:m1
haːm1
ȶuŋ1
 tsup7
tsha:m1
ยก
kjat31 
 -
 -
 -
 -
 -
ยอด
pat31
phat7
fat7
wan5+
fan5
fan5
ฝัด
pat31
 -
 -
 -
 -
-
ฝาด
pak31
fak8
pak8
ȶup9
zup7
gop7
ฟัก
          อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาษาละติจะสูญเสียพยัญชนะท้าย /p, t, k/ จนเกือบสมบูรณ์แล้ว แต่ยังมีคำที่มีพยัญชนะท้ายหลงเหลืออยู่บ้างแต่ก็น้อยมาก และบางครั้งการออกเสียงคำบางคำจะมีหรือไม่พยัญชนะท้ายก็ได้ เป็นหลักฐานให้สันนิษฐานได้ว่าภาษาละติเคยมีพยัญชนะท้ายแต่สูญหายไป ในขณะที่คำศัพท์ที่ร่วมเชื้อสายกับภาษาตระกูลไทที่มีพยัญชนะท้าย ภาษาละติไม่มีหลงเหลืออยู่แล้ว ดังข้อมูลตัวอย่างคำศัพท์ต่อไปนี้   
ละติ
ɕo44 ɕap55
pit55
ma31 fit55
mak31 = mi35
tap31
พบคำศัพท์ที่ลงท้ายด้วย p,t,k เพียง 5 คำ
ไทย
ตะขาบ
ห่าง
นกหวีด
หมาก(ผลไม้)
ก่ออิฐ

ละติ
hap31
khuat31
kuat31
lɛp31
ljout55
ȵak44
ȵok31
/ok31
pap35
phat13
tjet35
ไทย
หาบ
ขาด
ขุด
เล็บ
หยด
หนวก
นก
ออก
พับ
พัด
เจ็ด


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.la.ubu.ac.th/2010/project/tathai2_1.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น