วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การพรรณนาภาษาเปียว

 ถิ่นที่อยู่ของผู้พูดภาษาเปียวในปัจจุบันคือพื้นที่ตำบลต่างๆ ของอำเภอหวยจี๋ มณฑลกว่างตง  (广东省怀集县Guǎngdōng  shěng, Huáijí xiàn) ได้แก่ตำบลซือต้ง (诗洞镇Shīdòng zhèn) ตำบลหย่งกู้ (永固镇 Yǒnggù zhèn) ตำบลต้ากั่ง (大岗镇 Dàgǎng zhèn) ตำบลเหลียงชุน (梁村镇 Liángcūn zhèn) และตำบลเฉียวโถว (桥头镇 Qiáotóu zhèn) นอกจากนี้ยังมีกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงคือตำบลฉางอาน (长安镇Cháng'ān zhèn) ตำบลชีซิง (七星镇Qīxīng zhèn) และตำบลจินจวง(金装镇Jīnzhuāng zhèn) ของอำเภอเฟิงคาย เมืองจ้าวชิ่ง (肇庆市封开县Zhàoqìng shì, Fēngkāi xiàn) ในหนังสือชื่อ “การศึกษาวิจัยภาษาเปียว” (Liáng Mǐn, Zhāng Jūnrú, 2010, 1-2)รายงานข้อมูลจำนวนสำมะโนประชากรปี 1982 ว่าประชากรของอำเภอหวยจี๋มี 626,361 คน แบ่งเป็นชาวฮั่น 612,039  คน (99.21%)   ชาวจ้วง 4,112 คน  (0.67%) ชาวเหยา 728 คน (0.12%) ในจำนวนนี้มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่กระจัดกระจายอยู่ส่วนหนึ่ง แต่เนื่องจากไม่ได้มีการจัดกลุ่มที่ชัดเจนจึงไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นชนกลุ่มอะไร แต่จัดรวมไว้กับชาวฮั่น จนกระทั่งปี 1985 คณะทำงานของอำเภอหวยจี๋ได้สำรวจจำนวนประชากรชาวเปียวพบว่ามีอยู่ราวแสนกว่าคน แต่ที่ยังใช้ภาษาเปียวสื่อสารกันมีอยู่ราว 6 – 7 หมื่นคน จำนวนประชากรครั้งล่าสุดคือข้อมูลจากบทความของเฉินฉายเจียและหยางปี้หว่าน (Chén Cáijiā, Yáng Bìwǎn, 2011, 96-104)   รายงานว่ามีจำนวนประชากรชาวเปียวทั้งสิ้น 1.7 แสนคน  ในบทความเรื่องดังกล่าวนี้ยังได้รายงานพื้นที่อยู่อาศัยของชาวเปียวเพิ่มเติมคือพื้นที่ของมณฑลกว่างซี มีชาวเปียวอาศัยอยู่ที่ตำบลซาเถียน เมืองเฮ่อโจว (广西贺州市沙田镇Guǎngxī Hèzhōu shì Shātián zhèn) แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลจำนวนประชากรว่ามีเท่าใด           คงเนื่องมาจากว่ามีจำนวนน้อยมาก และกระจัดกระจายไม่ชัดเจนจึงนับรวมกันไปกับชาวเปียวที่กว่างตง     
ชาวเปียวไม่มีชื่อเรียกตนเอง แม้จะถูกจัดไว้เป็นชนชาวฮั่น แต่ก็ยังรู้สึกได้ว่าตนเองไม่ใช่ชาวฮั่นที่แท้จริง ชาวเปียวเรียกภาษาที่ตนเองพูดว่า /ka:N1 peu5 หรือ ka:N1 pa:u1/ คำว่า / ka:N1/ ตรงกับภาษาจีนคำว่า jiǎng [1] แปลว่า “พูด” คำว่า / peu5 หรือ pa:u1/  เป็นชื่อเฉพาะที่เจ้าของภาษาใช้เรียกภาษานี้ คำเรียกชื่อภาษาเปียวจึงมีความหมายว่า “พูดเปียว” และเนื่องจากไม่มีชื่อเรียกตนเอง นักวิชาการจีนจึงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า 讲标人Jiǎng Biāo rén แปลว่า “คนพูดเปียว” ในอดีตเมื่อยุคปี 80 มีนักวิชาการบางส่วน (Liáng Mǐn, Zhāng Jūnrú, 2001, 34) ใช้อักษรจีนจดชื่อภาษานี้ว่า 豹语Bào yǔ แต่เนื่องจากอักษร แปลว่า “เสือดาว” เห็นว่าไม่เหมาะสม ต่อมาจึงเปลี่ยนมาใช้อักษร 标语Biāoyǔ อักษรที่เลือกมาใช้ใหม่นี้พ้องกันกับคำนามในภาษาจีนคำว่า标语Biāoyǔ แปลว่า “คำขวัญ”  ดังนั้นเพื่อป้องกันการสับสนจึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า 标话Biāo huà จากนั้นมานักวิชาการจีนก็เป็นอันเข้าใจร่วมกันว่าคำนี้เป็นชื่อเรียกภาษาเปียว 
จากแผนภูมิการจัดตระกูลภาษา (แผนภูมิ KP 1) จะเห็นว่าภาษาเปียวอยู่คนละแขนงกับภาษาไทย 
หากจะเทียบภาษาเปียวกับภาษาไทยแล้วก็เทียบได้ว่าเป็นภาษาลูกพี่ลูกน้องกัน  และเมื่อนับขึ้นไปตามสายเครือญาติ ก็จะเห็นว่าเป็นระดับหลานของภาษาจีน แม้ว่าภาษาเปียวจะจัดอยู่ในคนละแขนงกับภาษาไทย แต่ภาษาเปียวมีความสำคัญต่อภาษาไทยในการใช้เป็นภาษาต้นแบบสำหรับสืบสร้างเสียงพยัญชนะควบกล้ำของภาษาไทย ผู้เขียนได้ตรวจสอบรายการคำศัพท์ภาษาเปียวแล้วพบลักษณะที่น่าสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าวที่ชัดเจนมาก กล่าวคือ พยัญชนะควบกล้ำในภาษาไทย เช่น /กล-,คล-/ ภาษาเปียวเป็นเสียง /l-/ เมื่อเทียบกับคำในภาษาจีนก็จะตรงกับคำที่ออกเสียงด้วยพยัญชนะต้น /l- / หรือ /j-/ หรือ  /k-/ เป็นบางคำ  (แม้จะหาคู่คำที่ตรงกับภาษาจีนได้ไม่ครบทุกคำ แต่ส่วนใหญ่สอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนด) เสียงพยัญชนะต้น /l- / ในภาษาจีนเหล่านี้ เมื่อเทียบกับภาษาจีนโบราณจะตรงกับเสียงควบกล้ำ /gr-, kr-, br-/ จึงสันนิษฐานได้ว่าคำศัพท์ร่วมเชื้อสายที่ภาษาจีนโบราณออกเสียงเป็นเสียงควบกล้ำ C1+C2[1] นั้น  ภาษาไทยยังคงรักษาเสียงควบกล้ำทั้งสองเสียงไว้ได้ แต่ภาษาเปียวและภาษาจีนปัจจุบันสูญเสียเสียงพยัญชนะต้น C1 ไปแล้ว คงเหลือเพียงเสียงควบกล้ำ C2 /l-/ ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น (บางคำสูญเสียงเสียงในตำแหน่งควบกล้ำเหลือเพียงตำแหน่งพยัญชนะนำ) นอกจากนี้ยังพบลักษณะของคำที่ควบกล้ำกับอรรธสระ ก็เกิดปรากฏการณ์เช่นเดียวกัน แต่ตัวอย่างคำมีไม่มาก ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้ (สัญลักษณ์ C หมายถึง พยัญชนะต้นเดี่ยว Cl หมายถึงพยัญชนะควบกล้ำกับ –l และ Cr หมายถึงพยัญชนะควบกล้ำกับ -r)    
เปียว
ไทย
จีนปัจจุบัน
จีนโบราณ[2]
C2
C1+C2
C2
C1+C2/C2
l
Cl, Cr
l-
C, Cl, Cr
li1
ไกล
lí
b.rel
liaN4
กริ่ง
líng
g.reeN
luN4
กระด้ง
lóng
luN
liaN5
เกลี้ยง
liàng
g.raNs
luN2
กล่อง ลัง
lóng
lung
luN4
มะโรง
lóng
b.roN
luN4
กรง
lóng
b.rooN
lan6
เปลือย
luǒ
lua (ม.)
laN2
ตะแกรง
lǒu
lo (ม.)
lau3
กรวย
lòu (漏子lòuzi)
lo (ม.)
la:m4
คราม
lán  gān
g.raam
lan4
กัน กั้น
lán
g.raan
lEn3
คร้าน
lǎn
b.raan
lN6
คลื่น
làng
g.raan
C (l, kh, h)
Cl, Cr
C (zh, g, k)
C, Cl, Cr
lo6
(เช้า) ตรู่
zhòu
tǐo (ม.)
lin5
กลิ้ง
gǔn
ku«n
khOm5
ครอบ,คลุม
gài
klaab
hoi1
คลาย
kāi
khlµµl
huN5
กลวง
kōng
khlooN
hɔk5
เปลือก
bǐa (ม.)
C (w, l, h)
Cl, Cr
C (n, h, x)
Cw
wa2
ควาย
niú
gwal
lN2
แกว่ง
huǎng 
gwaaN
hn6
แคว้น
xiàn
Gweens
C ( l, g, j)
Cl, Cr, khj
C (y,q)
C, Cl, Cr
lieN4
กลาง
yāng
qaN
lan3
กลืน
yàn
khlµµn
jam3
ครึ้ม
yīn
qrµm
juk7
ปลูก
yù
p.lug
ken4
ขยัน
qín
gi«n
la:n2
คลาน
ไม่สอดคล้องกับภาษาจีน (pá)

lai1
ไถล
ไม่สอดคล้องกับภาษาจีน (huá)

lo6
คลื่น(ไส้)
ไม่สอดคล้องกับภาษาจีน (恶心ě xīn)


          นอกจากลักษณะของเสียงควบกล้ำข้างต้นแล้ว ผู้เขียนยังพบลักษณะความสัมพันธ์ของภาษาเปียวกับภาษาไทยที่คล้ายคลึงกับความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาไทยกลาง คือ การปฏิภาคกันของเสียง /h - r/ คำที่ภาษาไทยออกเสียงเป็น /r/ จะตรงกับภาษาไทยถิ่นอีสาน /h/ พยัญชนะต้น /h/ ในภาษาไทยถิ่นอีสานนี้ตรงกับเสียงพยัญชนะต้น /h/ ในภาษาจีนปัจจุบัน  ทำให้สามารถสืบสร้างไปถึงเสียงภาษาจีนโบราณได้เป็น /hr-/ โดยที่เสียง /h/ หลงเหลืออยู่ในภาษาจีนและภาษาไทยถิ่นอีสาน ส่วนเสียง /r/ อยู่ในภาษาไทย[3]  ตัวอย่างคำที่พบในภาษาเปียวมีดังนี้     
   เปียว
ไทย
จีนปัจจุบัน
จีนโบราณ (ม.)
h
r
h
ก่อนประวัติศาสตร์ / กลางประวัติศาสตร์
Ä,x,k
hoi6
ร้าย
hài 
Äāt,  Äai
hik7
ร้อง
hǎn 
xam, xAm
hN5
รม (รมควัน อบ ย่าง)
hōng 
xoN, xuN
hn2
ร้อน
hàn 
xan, xAn
h2
รัก
hǎo
x«u,xAu
ham4
ร่วม
hán
Ä«m ,ÄAm
ha:p10
รวบ (รวบรวม)
Ä«p ,ÄAp
hap7
รวม หุบ(อีสาน “โฮม”) 
Ä«p ,ÄAp
hk5
เปลือก
k’ěok,k’k
huN2
ร่าง (ร่างกาย)
hái
ÄŒi ,Äe«
คำถัดไปนี้ไม่ตรงกับภาษาจีน แต่ตรงกับหลักเกณฑ์เสียงปฏิภาคภาษาเปียวกับภาษาไทย
h
r
x,q
Ä,x
ha6
ร้อน (ฤดูร้อน)
xià
Äea ,Äa
hk6
เรียน (ศึกษา)
xué
Äeěuk, Ä«k
h2
รี่ (เข้า)
xiàng
AN, xiaN
h6
แตร
喇叭lǎbā
-
         
          ในภาษาไทยถิ่นเหนือ เสียงพยัญชนะต้นที่สันนิษฐานว่ามีรากฐานมาจากเสียงดั้งเดิม /hr/  ก็มีลักษณะเหมือนกับภาษาไทยถิ่นอีสาน คือ / ไทยถิ่นเหนือ C1 = h/  /ไทย C2= r/  ดังตัวอย่างคำในตารางข้างต้น นอกจากนี้ยังพบคำศัพท์ควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นเหนือบางคำที่ C1 หายไป เหลือเป็นพยัญชนะ C2 เหมือนภาษาเปียว เช่น
C1 + C2
C2
หมายเหตุ
กลืน     
ลืน
คำนี้ภาษาไทยถิ่นอีสานก็พูดว่า “ลืน”
กล้ำ      
ล้ำ

ฉลาด  
ล๊วก
ขลาด  
แล่ด 
คลอก
ลวก
(จีน) kuài =
โว็ย (ไทย=ไว)
แต่ตัวอย่างคำยังมีไม่มากพอที่จะสรุปเป็นหลักเกณฑ์ได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วคำศัพท์ควบกล้ำใน
ภาษาไทยถิ่นเหนือ ส่วนที่หายไปจะเป็น C2 เหลือเพียง C1  เช่น คลอง-คอง กลบ-กบ  กลิ้ง – กิ้ง 
กลาง – ก๋าง  ปลา – ป๋า  คร้าม-ขาม เป็นต้น            
จากข้อมูลคำศัพท์ข้างต้นเราจะพบความสัมพันธ์ของคำศัพท์ภาษาจีน ภาษาไทย และภาษาเปียวและร่องรอยการแปรของเสียงพยัญชนะต้นที่ค่อนข้างชัดเจน สามารถสรุปการสืบสร้างเสียงพยัญชนะต้นตระกูลได้ดังนี้
ข้อสันนิษฐานเสียงพยัญชนะดั้งเดิม
จีนโบราณ
ไทย
อีสาน
เหนือ
เปียว
จีนปัจจุบัน
C1+C2
C, C1+C2
C,C1,C2
C1
C1, C2
C2
C2
Cl, Cr
C, Cl, Cr
Cl, Cr
h
h
l
l
hr- kr
Ä,x,k  
r ,kr
l
k
h
h, x

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.la.ubu.ac.th/2010/project/tathai2_1.pdf

[1] C1 หมายถึงพยัญชนะต้นตำแหน่งที่ 1  ส่วน C2 หมายถึงพยัญชนะควบกล้ำ  
[2] เสียงภาษาจีนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ สืบค้นจาก “รายการคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาจีน-ไทย” (Gōng Qúnhǔ, 2002, 281-358)  คำที่มีสัญลักษณ์ (ม.) เป็นคำที่ไม่พบในรายการคำศัพท์ข้างต้น จึงสืบค้นจาก “คู่มืออักษรจีนเสียงโบราณ” (เมชฌ สอดส่องกฤษ, 2560)    
[3] โปรดอ่านประเด็นนี้ในผลงานของผู้เขียนสามเรื่อง คือ  เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2552)  “เสียงปฏิภาค /r/,/k/,/kh/ และเสียงปฏิภาคอื่นๆ:หลักฐานความสัมพันธ์ของภาษาจีนกับภาษาไทยในฐานะภาษาตระกูล วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 31(2) 5-28 . เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2553) “การศึกษาวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ของภาษาตระกูลไท-จีนเรื่อง ความสัมพันธ์ของเสียง / h /  ในภาษาไทยถิ่นอีสานกับเสียง / h /ในภาษาจีน วารสารศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่,  2(2), 68-90. เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2554) การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เรื่อง คำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน ในภาษาไทยถิ่นอีสาน The Journal.  Journal of the Faculty of Liberal Arts, Mahidol University. 7(2), 125-149. 


[1] เสียงภาษาจีนโบราณของคำนี้ออกเสียงว่า /keoN/  จากการศึกษาความสัมพันธ์ของภาษาจีนกับภาษาไทยพบว่า เสียง /tþ พินอิน j/ ในภาษาจีนกลางปัจจุบันตรงกับเสียง /k/ ในภาษาจีนโบราณ หากเทียบกับภาษาไทยก็จะพบร่องรอยของเสียงนี้ กล่าวคือ คำร่วมเชื้อสายไทย-จีนที่ภาษาไทยออกเสียงเป็น ก. เป็นเสียงที่มาจากภาษาจีนโบราณ ซึ่งจะตรงกับคำที่ออกเสียง j ในภาษาจีนปัจจุบัน อ่านเรื่องนี้ได้ใน นานาภาษาในประเทศจีนตอนใต้ ภาคที่ 1 ภาษาตระกูลไท เล่ม 1 หน้า 27 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น