วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การพรรณนาภาษาลักกะ


เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน ในเบื้องต้นนี้ผู้เขียนตกลงว่าจะเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า “เหยา”  (瑶族Yáozú) ตามที่นักวิชาการและทางรัฐบาลจีนเรียก  และเรียกชื่อภาษาว่า “ลักกะ” (/lak8 kja3/)[1] ตามที่เจ้าของภาษาเรียกตัวเองและยังสอดคล้องกับที่นักวิชาการทั่วไปเรียก  ภาษาอังกฤษใช้ว่า Lakka และยังมีชื่อเฉพาะที่นักวิชาการจีนเรียกแบบระบุว่าเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าเหยาที่อาศัยอยู่หุบเขาปลูกชา ชื่อ ฉาซานเหยา (茶山瑶 Cháshān Yáo แปลว่า ชาวเหยาภูเขาชา) กรณีนี้ก็จะเรียกตามต้นฉบับที่อ้างอิงมา  ชื่อเรียกชาวเหยาในบทความนี้ขอให้เข้าใจว่าเป็นชาวเหยาที่พูดภาษาลักกะเท่านั้น  ไม่ได้หมายรวมถึงชาวเหยากลุ่มอื่น 
ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ 56 กลุ่ม โดยมีชาวฮั่นเป็นชนกลุ่มใหญ่ จึงเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่น 55 กลุ่มว่าเป็น  “ชนกลุ่มน้อย”(少数民族Shǎoshù mínzú) จากข้อมูลในเว็บไซต์ชื่อ “โถงวิชาการ” (Xuéshù Táng, 2014, p.2) ระบุว่าเกณฑ์การจัดแบ่งชนกลุ่มน้อยทั้ง 55 กลุ่มนี้ มีหลักเกณฑ์สองประการ คือ (1) มีอัตลักษณ์ พิจารณาจากรายละเอียดปลีกย่อยหลายอย่าง เช่น ชื่อเรียกของกลุ่มชาติพันธุ์ การมีจุดกำเนิดที่ชัดเจนร่วมกัน มีประวัติความเป็นมาร่วมกัน มีการตั้งถิ่นฐานและชุมชนศูนย์กลางที่อยู่อาศัยร่วมกันเป็นต้น (2) มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม พิจารณาจากรายละเอียดปลีกย่อยหลายอย่าง เช่น ภาษาที่ใช้การดำรงชีวิตประจำวัน ศาสนาความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ข้าวของเครื่องใช้ สถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้าง และการแต่งกายเป็นต้น  จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวทำให้มีกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล
ชนเผ่าเหยา(หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า เย้า)  มีชื่อเรียกตัวเองหลายชื่อ  อ่านตามเสียงอักษรจีนที่บันทึกไว้มี เหมี่ยน (Miǎn) จินเหมิน(金门Jīnmén)  ปู้หนู่ (布努Bùnǔ) ปิ่งตัวโยว(炳多优Bǐnɡduōyōu) เฮยโหยวเหมิง(黑尤蒙Hēiyóuménɡ) ลาเจียหรือลักกะ(拉珈Lājiā)  นอกจากนี้ด้วยเหตุที่ชาวเหยาในแต่ละท้องที่มีวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และลักษณะที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน จึงมีชื่อเรียกตนเองแตกต่างกันไปด้วย เช่น ฉาซานเหยา(茶山瑶Cháshān yáo แปลว่า ชาวเหยาภูเขาชา) ซานจื่อเหยา     (山子瑶Shānzǐ Yáo แปลว่าชาวเหยาภูเขา) ป๋ายคู่เหยา(白裤瑶Báikù Yáo แปลว่าชาวเหยากางเกงขาว) หงเหยา (红瑶Hónɡ Yáo แปลว่าชาวเหยาแดง) หลานเตี้ยนเหยา(蓝靛瑶Lándiàn Yáo แปลว่าชาวเหยาน้ำเงินคราม) ผิงตี้เหยา(平地瑶Pínɡdì Yáo แปลว่าชาวเหยาที่ราบ) เอ้าเหยา (坳瑶Ào Yáo แปลว่าชาวเหยาที่ราบเชิงเขา) เป็นต้น  หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะทำงานเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยของรัฐบาลจีนอาศัยหลักเกณฑ์การจำแนกชนกลุ่มน้อยดังที่กล่าวข้างต้น  จัดให้กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดนี้เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าเดียวกัน และกำหนดเรียกชื่อรวมกันว่า เหยา (瑶族Yáozú)  
กลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดว่าเป็นชนเผ่าเหยา อาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงในมณฑลกว่างซี และกระจายอยู่ตามมณฑลต่างๆ เช่น ยูนนาน กุ้ยโจว ลักษณะเด่นของการกระจายถิ่นฐานของชาวเหยาคืออาศัยอยู่กระจัดกระจายมาก และในแต่ละพื้นที่ก็มีจำนวนประชากรไม่มาก จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 (สำนักงานสถิติแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน:2000) ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหยามีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,637,421 คน แต่เนื่องจากชนเผ่าเหยาอาศัยอยู่กระจัดกระจายมากนี่เอง  ทำให้การจัดแบ่งตระกูลภาษาค่อนข้างซับซ้อน เพราะภาษาในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันมาก ภาษาเหยาในต่างพื้นที่กันไม่สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ ชนิดที่ว่าเป็นภาษาคนละตระกูลกันก็มี บางกลุ่มพูดภาษาจีนและภาษาจ้วง ไม่มีภาษาเขียน ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีน ผลงานของ จ้าวหมิง (Zhào Míng, 2011) ซึ่งเป็นชาวเหยา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยชาวเหยาแห่งประเทศจีน ได้ก่อตั้งเว็บไซด์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับชาวเหยา  ได้อธิบายเกี่ยวกับการแบ่งภาษาของชาวเหยาในบทความเรื่อง “สาขาและแขนงของชาวเหยาแบ่งอย่างไร” (瑶族支系如何划分?Yáozú zhī xì rúhé huàfēn?) สรุปการแบ่งชาวเหยาได้เป็นสี่กลุ่มใหญ่ คือ   
1.กลุ่มผานเหยา (盘瑶Pán Yáo) เป็นชาวเหยากลุ่มหลักที่มีจำนวนประชากรเป็นส่วนใหญ่ พูดภาษาเหยาหรือที่รู้จักกันชื่อภาษาเมี่ยน นักวิชาการจีนเรียกรวมกันว่า เหมี่ยน-เหยา(勉瑶Miǎn Yáo) จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาภาษาเหมียว-เหยา ชาวเหยาที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชาวผานเหยา  (盘瑶Pán Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงโยวเหมี่ยน(优勉土语Yōumiǎn tǔyǔ) ชาวเหยาน้ำเงินคราม[2]    (蓝靛瑶Lándiàn Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงจินเหมิน (金门土语 Jīnmén tǔyǔ)  ชาวเหยาผาย (排瑶Pái Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงจ๋าวหมิ่น (藻敏方言 Zǎomǐn fāngyán) ชาวเหยาตงซาน  (东山瑶Dōngshān Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงเปียวหมิ่น(标敏土语 Biāomǐn tǔyǔ) และชาวเหยาเจียวกง  (交公瑶Jiāogōng Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงเจียวกงเหมี่ยน (交公勉土语Jiāogōng miǎn tǔyǔ ) 
2.กลุ่มปู้นู่เหยา (布努瑶Bùnǔ Yáo) ชาวเหยากลุ่มนี้พูดภาษาที่ชื่อ “ปู้หนู่” (布努语Bùnǔ yǔ) จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาภาษาเหมียว-เหยา แขนงภาษาเหมียว   ชาวเหยาที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชาวเหยาปู้หนู่(布努瑶Bùnǔ Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียง ปู้หน่าว(布瑙方言 Bùnǎo fāngyán) ชาวเหยาดอกไม้คราม (花篮瑶Huālán Yáo)พูดภาษาถิ่นสำเนียงจี-หย่ง- น่าย (炯奈方言Jiǒngnài fāngyán) ชาวเหยาแปดแซ่ (八姓瑶Bāxìng Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงปาเฮิง(巴哼方言  Bāhēng fāngyán) ชาวเหยาเสื้อลาย (花衣瑶Huāyī Yáo)พูดภาษาถิ่นสำเนียงอู๋น่าย (唔奈方言  Wúnài fāngyán)  และชาวเหยาแดง (红瑶Hóng Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงโยวนั่ว (优诺方言Yōunuò fāngyán)    
 3.กลุ่มผิงตี้เหยา (平地瑶Píngdì Yáo) เป็นชาวเหยาที่รวมเอากลุ่มชนที่กระจัดกระจายส่วนเล็กส่วนน้อยไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน ส่วนมากอาศัยบนพื้นที่ราบ พูดภาษาฮั่น จึงเรียกชื่อกลุ่มนี้อีกชื่อหนึ่งว่า ฮั่นเหยา (汉瑶Hàn Yáo แปลว่า ชาวเหยาที่พูดภาษาฮั่น) แต่ก็มีคำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ เป็นเหตุให้ภาษาของชาวเหยากลุ่มเล็กกลุ่มน้อยนี้มีความซับซ้อนมาก ขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาที่สามารถแบ่งแยกชาวเหยากลุ่มนี้ออกจากกันให้ชัดเจนได้  ชาวเหยาที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชาวเหยาพื้นราบ (平地瑶Píngdì Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงปิ่งตัวโหยว (炳多尤话Bǐngduōyóu huà ) ชาวเหยาแดงที่ราบ (平话红瑶Pínghuà hóng Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงผิงฮว่า (平话Pínghuà)  ชาวเหยาซานจื่อ (山仔瑶Shānzi Yáo) พูดภาษาถิ่นสำเนียงจ้าเจี้ย (珊介Zhàjiè huà)  ชาวเหยาสกุลเหยา (瑶家Yáo jiā) พูดภาษาถิ่นสำเนียงโยวเจีย (优嘉话Yōujiā huà)  และชาวเหยาเล่ออู่ (乐舞人Lèwǔ Rén) คือชาวเหยาที่อำเภอจิ่งตง (景东县瑶族Jǐngdōng xiàn Yáozú)
4.กลุ่มฉาซานเหยา (茶山瑶Cháshān Yáo) คือชาวเหยาที่พูดภาษาลักกะ นักภาษาศาสตร์จีนจัดภาษาของชาวเหยากลุ่มนี้อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาภาษาจ้วง-ต้ง แขนงภาษาต้ง-สุ่ย
ชนเผ่าที่เรียกชื่อตัวเองและชื่อภาษาว่า “ลักกะ” (/lak8 kja3/) นับเป็นหนึ่งในสี่ภาษาใหญ่ของชนเผ่าเหยา ข้อมูลชื่อเรียกและความหมายนี้ หลิวป่าวหยวน และ โม่วอี้หมิง  (Liú Bǎoyuán, Mò Yìmíng, 2002) อธิบายไว้ว่า คำว่า / lak8/ แปลว่า “คน” คำว่า /kja3/ แปลว่า “ภูเขา” ชื่อลักกะจึงแปลว่า “คนภูเขาหรือคนที่อาศัยอยู่บนภูเขา” นักวิชาการจีนและทางการจีนเรียกชื่อชนกลุ่มนี้ว่า    ฉาซานเหยา (茶山瑶Cháshān Yáo แปลว่าชาวเหยาภูเขาชา) จากการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งที่ 5 ของจีน ในปี 2000  ชาวเหยาที่พูดภาษาลักกะมี 8,600 คน โดยมีถิ่นอาศัยศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลจินซิ่ว(金秀镇Jīnxiù zhèn) และหมู่บ้านแวดล้อมใกล้เคียง คือ บ้านฉางต้ง(长垌乡Chángdòng xiāng) บ้านกุ้ยเหลียง (贵良乡Guìliáng xiāng) และบ้านซานเจี่ยว (三角乡Sānjiǎo xiāng) ซึ่งเป็นพื้นที่ในอำเภอปกครองตนเองชาวเหยา เขตปกครองตนเองชาวจ้วงกว่างซี


[1] สัทอักษรที่นักวิชาการจีนใช้เรียกชื่อภาษาลักกะมีแตกต่างกัน หลิวป่าวหยวน (1988) ใช้ว่า [lak.kjaa]  จางจวินหรู (1990)  ใช้ว่า /lak8 ca3/ ผลงานที่ใหม่ที่สุดของหลิวป่าวหยวน (2002) และหลานชิ่งหยวน(2011) ใช้เหมือนกันว่า /lak8 kja3/ อักษรจีนที่ใช้เขียนชื่อภาษาลักกะก็แตกต่างกัน มี 拉珈  拉枷 แต่อ่านออกเสียงเหมือนกัน คือ Lā jiā (ลาเจีย) 
[2] ชื่อของชาวเหยากลุ่มต่างๆนี้ หากเป็นชื่อที่มีความหมายก็จะแปลเป็นภาษาไทย แต่หากเป็นชื่อสถานที่หรือชื่อเฉพาะก็จะเรียกตามเสียงอ่านภาษาจีน
ผู้ที่พูดภาษาลักกะจัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยชาวเหยาที่พูดภาษาตระกูลไทรอบนอก(กะไดรอบนอก) นักวิชาการจีนจัดไว้เป็นสมาชิกในสาขาจ้วง-ต้ง แขนงต้ง-สุ่ย อาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองชาวจ้วงในมณฑลกว่างซี และกระจายอยู่ตามมณฑลต่างๆ เช่น  ยูนนาน กุ้ยโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ผู้เขียนได้เขียนบทความในเชิงพรรณนาภาษาตระกูลไทในประเทศจีนทุกภาษาเรียงลำดับตั้งแต่แขนงจ้วง-ไตสามภาษา(จ้วง ไต ปู้อี) แขนงต้ง-สุ่ยสี่ภาษา(ต้ง สุ่ย มูลัม เหมาหนาน) แขนงหลีหนึ่งภาษา(หลี)  และแขนงที่ยังเป็นข้อกังขา คือ แขนงเกอลาวหนึ่งภาษา (เกอลาว) เมื่อเปรียบเทียบกับบทความที่เขียนมาแต่ต้นแล้ว พบลักษณะเด่นที่น่าสังเกตว่าภาษาลักกะนอกจากจะมีพยัญชนะต้นแบบเสียงรอง ซึ่งแบ่งเป็นพยัญชนะเปลี่ยน เป็นเพดาน /-j/ และพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก /-w/ เหมือนกับที่ภาษาอื่นๆมีแล้ว ยังพบว่ามีเสียงควบกล้ำ /-l/ ด้วย และจากหลักฐานการแปรของเสียงพยัญชนะควบกล้ำ /-l/ เป็น /-j/ในภาษาลักกะกับภาษาในหมู่บ้านต่างๆนี้เอง  ก็จะเห็นร่องรอยที่สามารถสันนิษฐานเสียงโบราณของภาษาสาขาจ้วง-ต้งได้ ดังข้อมูลตัวอย่างคำต่อไปนี้
สาขาจ้วง-ต้ง
ภาษา
ตา
นก
หัว
สูง
แขนงจ้วง-ไต
จ้วง 
ta1
ɣok8
kjau3
sa:ŋ1
ไต
ta1
nok8
ho1 
su ŋ 1
ปู้อี
ta1
zoʔ8
tɕau3
sa: ŋ 1
แขนงต้ง-สุ่ย
ต้ง
ta1
mok8
ka:u3
pha:ŋ 1+ 
สุ่ย
nda1
noks
qam4
va:ŋ1
มูลัม
 la1
 nɔk8
kɣo3
foŋ1
เหมาหนาน
nda1
nɔk8
ko3
voŋ1
เท็น
la1
nɔi4
kəu3
waŋ2
ลักกะ
pla1  
mlok7  
klou1
khla:ŋ1
ลักกะถิ่น
phja1
mjok7
kjɛu1
khja:ŋ1
แขนงหลี
หลี
tsha1
tat7
 go6
phe:ʔ7
แขนงเกอลาว?
เกอลาว
tau˧
ntau˨
klɒ˧˦
vi˦
          สรุปข้อสันนิษฐานความสัมพันธ์ของเสียงพยัญชนะในภาษาแขนงต้ง-สุ่ย กับภาษาแขนงจ้วงไตได้ดังนี้
ต้ง-สุ่ย
จ้วงไต
ml (mt)[1]
mj
mɣ

l

pl
pj
pɣ
nd , nt, d
n

t



g
k
kl
kj
kɣ
ɣ
h



q
เรื่องที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่ทำให้มองเห็นภาพความสัมพันธ์ของภาษาลักกะกับภาษาที่เป็นสมาชิกในสาขาและแขนงเดียวกันที่ค่อนข้างชัดเจนก็คือระบบไวยากรณ์  ผู้เขียนลองกำหนดเกณฑ์เทียบระบบไวยากรณ์ภาษาจีนกับไวยากรณ์ภาษาไท ดังนี้ 
โครงสร้าง
ไท (.)
จีน (จ.)
1.ประโยคความเดียว
ฉัน กิน ข้าว
ฉัน กิน ข้าว
2.ลักษณนาม
ไก่ หนึ่ง ตัว
หนึ่ง ตัว ไก่
3.การบ่งชี้
คน นี้
นี้ คน
4.การขยายความ
บ้าน ใหม่
ใหม่ บ้าน
5.การแสดงความเจ้าของ
บ้าน ของ ฉัน
ฉัน ของ บ้าน
6.การเปรียบเทียบ
ฉัน สูง กว่า เธอ
ฉัน กว่า เธอ สูง
7.การบอกตำแหน่ง
ใน บ้าน
บ้าน ใน
8.กรรมคู่
ฉัน ให้ เงิน เขา
ฉัน ให้ เขา เงิน

สาขาจ้วง-ต้ง
ภาษา
1
2
3
4
5
6
7
8
แขนงจ้วง-ไต
จ้วง 
ท.
จ.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
ไต
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
ปู้อี
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
จ.
ท.
จ.
แขนงต้ง-สุ่ย
ต้ง
ท.
จ.
ท.
ท.
จ.
ท.
ท.
ท.
สุ่ย
ท.
จ.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
มูลัม
ท.
จ.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
เหมาหนาน
ท.
จ.
ท.
ท.
ท.
จ.
ท.
ท.
เท็น
ท.
จ.
ท.
ท.
ท.
จ.
ท.
ท.
ลักกะ
ท.
จ.
ท.
ท.
จ.
จ.
ท.
จ.
แขนงหลี
หลี
ท.
จ.
ท.
ท.
ท.
ท.
ท.
จ.

จากข้อมูลเปรียบเทียบข้างต้นจะเห็นว่า  ภาษาตระกูลไททุกภาษามีลักษณะทางไวยากรณ์ที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ภาษาลักกะมีระบบไวยากรณ์ 4  ลักษณะที่เหมือนกับภาษาไทย และ 4 ลักษณะที่เหมือนกับภาษาจีน หากวิเคราะห์จากระบบไวยากรณ์ก็ชี้ให้เห็นว่าภาษาลักกะมีความสัมพันธ์ห่างออกไปจากภาษาแขนงจ้วง-ไต และห่างออกไปจากแขนงต้ง-สุ่ยเสียอีก 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.la.ubu.ac.th/2010/project/tathai2_1.pdf


[1] เป็นเสียงที่เบเนดิค สืบสร้างให้มีในภาษา Austronesian ดั้งเดิม (Benedict, P.K., 1983, 1-5)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น