วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การพรรฯาภาษามู่หล่าว


ชาวมู่หล่าวมีถิ่นฐานอยู่ในเมืองและตำบลต่างๆ ของมณฑลกุ้ยโจวบริเวณฝั่งทิศเหนือของพื้นที่เฉียนตงหนานกับเฉียนหนาน[1] ได้แก่ หมาเจียง (麻江Májiāng) ไขหลี่ (凯里Kǎilǐ) หวงผิง (黄平Huángpíng) ตูหยวิน (都匀Dū yún) เวิ่งอาน (瓮安Wèng ān) และฝูเฉวียน (福泉Fúquán) ปี 1993 รัฐบาลมณฑลกุ้ยโจวประกาศให้ชาวมู่หล่าวเป็นสมาชิกของชนกลุ่มน้อยชาวมูลัม[2]  เหยียนฉีเหยียน (Yán Qíyán, 2009, 28) รายงานการสำรวจประชากรชาวมู่หล่าวว่า ในปี 1993 ชาวมู่หล่าวมีประชากร 2.8  หมื่นคน ในหนังสือของโป๋เหวินเจ๋อ (Bó Wénzé, 2002, 1) ให้ข้อมูลว่าเนื่องจากการตั้งถิ่นฐานของชาวมู่หล่าวอยู่แวดล้อมไปด้วยชนเผ่าอื่น เช่น ปู้อี เหมียว หมู่บ้านของชาวมู่หล่าวไม่ได้ติดต่อกันเป็นพื้นที่ใหญ่ แต่มักกระจุกตัวเป็นชุมชนเล็กๆที่คั่นกลางด้วยชนกลุ่มใหญ่อื่นๆ นอกจากนี้ชาวมู่หล่าวบางส่วนแต่งงานกับชาวเผ่าอื่น และได้ย้ายเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านของชนเผ่าอื่น ทำให้การสำรวจเป็นไปได้ยาก กระนั้นก็ตามก็พบว่าประชากรชาวมู่หล่าวได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าที่รายงานไว้เมื่อปี 1993 มาก แต่ก็ไม่ได้บอกว่ามีจำนวนเท่าใดด้วยเหตุผลข้างต้น
          นับตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นต้นมา ชาวมู่หล่าวยังคงจัดเป็น “กลุ่มชนไร้สัญชาติ หรือ กลุ่มชนที่ยังไม่สามารถจัดกลุ่มได้” ปัญหาการรับรองสถานภาพของชาวมู่หล่าวยังคงหาข้อสรุปไม่ได้มาโดยตลอด เพื่อให้ตนเองมีสถานภาพเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวมู่หล่าวบางท้องที่แจ้งต่อทางการว่าตนเองเป็นชาวปู้อี บ้างก็แจ้งว่าเป็นชาวเหมียว แต่ความจริงแล้วชาวมู่หล่าวเองก็ยังคงแบ่งแยกตนเองออกจากกลุ่มชนเหล่านี้อย่างชัดเจน ยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณี ถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นชุมชนของตนเอง และที่สำคัญยังคงพูดภาษาของตนเองและเรียกตัวเองว่า “มู่หล่าว” อักษรจีนที่ชาวฮั่นใช้เขียนชื่อชาวมู่หล่าวคือ 木佬Mù lǎo ซึ่งต่างจากอักษรที่ใช้เรียกชื่อชาวมูลัม คือ 仫佬Mù lǎo แต่ออกเสียงเหมือนกัน ชาวมู่หล่าวเองก็ยอมรับในชื่อที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ยังคงแบ่งแยกความแตกต่างออกจากชาวมูลัมโดยใช้อักษรจีนเช่นนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในหนังสือภาษาไทยนี้จะกำหนดเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมูลัมที่มณฑลกว่างซีว่า “มูลัม” และเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมู่หล่าวที่มณฑลกุ้ยโจวว่า       “มู่หล่าว”


[1] เฉียน (Qián) เป็นชื่อย่อของมณฑลกุ้ยโจว ชื่อเขตเฉียนตงหนาน (黔东南Qián Dōngnán) หมายถึงตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกุ้ยโจว และ เฉียนหนาน (黔南Qián Nán) หมายถึงตอนใต้ของมณฑลกุ้ยโจว 
[2] ชนกลุ่มน้อยชาวมูลัมมีถิ่นฐานอยู่ที่มณฑลกว่างซี ส่วนชาวมู่หล่าวมีถิ่นฐานอยู่ที่มณฑลกุ้ยโจว ภาษามู่หล่าวใกล้ชิดกับภาษาเกอลาวมากกว่าภาษามูลัม นักวิชาการจีนจึงจัดภาษามู่หล่าวไว้ในแขนงเกอ-ยัง ส่วนภาษามูลัมจัดอยู่ในแขนงต้ง-สุ่ย ภาษาของชาวมู่หล่าวกับภาษาของชาวมูลัมเป็นคนละภาษา โปรดอ่านรายละเอียดภาษามูลัมใน “นานาภาษาในประเทศจีนตอนใต้ ภาคที่ 2 (เล่ม 1)” (เมชฌ สอดส่องกฤษ, 2560, 88 - 102)   
ชาวมู่หล่าวเรียกตัวเองด้วยคำภาษามู่หล่าว ว่า /24 ɣo53/ ใช้อักษรจีนว่า 嘎沃Gā wò ตำนานเรื่องเล่าของชาวเหมียวและชาวมู่หล่าวสอดคล้องกันอยู่เรื่องหนึ่งคือ ชาวมู่หล่าวเป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาบุกเบิกและตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกุ้ยโจว ดำรงชีพด้วยการทำการเกษตร ส่วนการบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีการบันทึกในเอกสารโบราณปรากฏอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวมู่หล่าวในปัจจุบัน เพียงแต่อักษรที่ใช้ไม่เหมือนกัน เช่น อักษรที่อ่านว่า มู่หล่าว (木老,木佬,狇狫Mù lǎo) อักษรที่อ่านว่า มู่เหลียว (木僚,狇獠Mù liáo) และยังมีคำว่า มู่หล่าวเหมียว (狇狫苗Mùlǎo Miáo)  ดังรายละเอียดต่อไปนี้ [1]
มู่หล่าว” (狇老Mùlǎo) บันทึกสังเขปทางการเฉียนหนาน ฉบับที่เก้า ของ หลัวร่าวเตี่ยน (罗绕典《黔南职方记略》Luō Ràodiǎn “Qiánnán zhí fāng jì lüè”) บันทึกว่า ชาวมู่หล่าวมีถิ่นฐานอยู่ในกุ้ยติ้ง (贵定Guìdìng) ผิงเยว่ (平越Píngyuè) หวงผิง (黄平Huángpíng) เวิงอาน (翁安Wēng’ān) ตูหยวิน (都匀Dūyún) หมาฮา (麻哈Máhā) และชิงผิง (清平Qīngpíng)  แต่งกายเหมือนอย่างชาวฮั่น หลับนอนได้กับหญิงหลายคน เมื่อท้องจึงร่วมห้อง   เชี่ยวชาญการทำเครื่องดินเผา นับถือบูชาผี  มีแซ่ หวาง(Wáng) หลี() จิน (Jīn) และเหวิน (Wén)  
          มู่หล่าว (木老Mùlǎo) พงศาวดารกุ้ยโจว ฉบับที่เจ็ด (《贵州通志》卷七Guìzhōu tōngzhì” juǎn qī)  บันทึกว่า ชาวมู่หล่าว มีแซ่หวาง(Wáng) หลี() จิน (Jīn) และเหวิน (Wén) มีถิ่นฐานอยู่ที่เฉียนซี (ฝั่งตะวันตกของกุ้ยโจว) นับถือบูชาผี สวมเสื้อผ้าอย่างชาวฮั่น ไม่แต่งงานในสกุลเดียวกัน หลับนอนได้กับหญิงหลายคน เมื่อท้องจึงร่วมห้อง ไม่ร่วมรับประทานอาหาร(เนื้อหมา)กับคนต่างสกุล
มู่เหลียว (木僚Mùliáo) บันทึกพงศาวดารสมัยราชวงศ์หมิงชื่อ “บันทึกแผนที่ใหม่จังหวัดตูหยวิน มณฑลกุ้ยโจว”  ()贵州图经新志*都匀府Míng, Guìzhōu tú jīng xīn zhì -Dūyún fǔ. กล่าวถึงกลุ่มชนที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวว่ามี ชาวเหมียวดำ (黑苗Hēi miáo) ชาวจ่งเจีย (仲家Zhòngjiā) ชาวมู่เหลียว (木僚Mùliáo) และชาวเกอเหลียว  (仡僚Gēliáo)  
                มู่เหลียว” (狇獠Mùliáo) บันทึกพงศาวดารของจักรพรรดิเจียชิ่งแห่งราชวงศ์ชิง ชื่อ พงศาวดารแคว้นหวงผิง ฉบับที่สิบสอง * ชาวเผ่าเหมียว (嘉庆《黄平州志*卷十二*苗蛮》Jiāqìng “Huángpíng zhōu zhì* Juǎn shí'èr* Miáo mán”) กล่าวถึงชาวมู่เหลียว ว่า “ชาวมู่เหลียวแซ่หวาง (Wáng) หลี () จิน (Jīn) และเหวิน (Wén) ชายโพกหัวด้วยผ้าไว้กลางศีรษะ สวมเสื้อลำตัวสั้น เหน็บมีด หญิงโพกหัวเอียงข้าง สวมผ้านุ่งสั้น”
          มู่เหลียว (木獠Mù liáo) พงศาวดารปริวรรตอำเภอชิงผิง ฉบับที่สี่ (重刊清平县通志卷四Chóngkān Qīngpíng xiàn tōng zhì juǎn sì) บันทึกว่า ชาวมู่หล่าวมีแซ่หวาง (Wáng) หลี   () จิน (Jīn) เหวิน (Wén) อู๋ () จ้าว (Zhào) หลัว (Luō) หลับนอนได้กับหญิงหลายคน เมื่อท้องจึงร่วมห้อง เจ็บป่วยไม่กินยา เชิญหมอผีฆ่าสัตว์บูชาเทพเจ้า
          มู่หล่าวเหมียว[2] (狇狫苗Mùlǎo Miáo)  บันทึกกุ้ยโจว ของ หลี่จงฝาง ฉบับที่สาม (李宗昉《黔记》Li Zōngfǎng “Qián jì” ) บันทึกว่า ชาวมู่หล่าวเหมียวอาศัยกระจายอยู่ในแต่ละอำเภอ แซ่หวาง(Wáng) หลี   () จิน (Jīn) เหวิน (Wén) นับถือผี ชอบร้องรำทำเพลง สวมเสื้อผ้าอย่างชาวฮั่น 
          จากข้อมูลเอกสารโบราณจะเห็นว่า บันทึกที่เกี่ยวกับชาวมู่หล่าวแม้จะใช้อักษรจีนเขียนต่างกัน แต่ออกเสียงเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เนื้อหาก็คล้ายๆกัน เพียงแต่ว่าพื้นที่อยู่อาศัยมีบริเวณกว้างกว่าปัจจุบัน กล่าวคือ ในอดีตมีบันทึกถึงชาวมู่หล่าวมีอาณาเขตถึงตะวันตกของกุ้ยโจว แต่ปัจจุบันมีชาวมู่หล่าวตั้งถิ่นฐานอยู่มณฑลกุ้ยโจวทางตอนเหนือของเฉียนตงหนานกับเฉียนหนานเท่านั้น  อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลยืนยันได้ว่าชาวมู่หล่าวในพื้นที่ตะวันตกของมณฑลกุ้ยโจวที่ กล่าวถึงในอดีตนั้นเป็นชนกลุ่มเดียวกันกับที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่   
           หากพิจารณาจากชื่อเรียก “มู่หล่าว” จะเห็นว่าคำว่า “มู่” ตรงกับคำว่า “ผู้” ซึ่งคำเรียกนี้เหมือนกับภาษาตระกูลไทหลายภาษาที่มีคำว่า “ผู้” นำหน้า เช่น ปู้อี ปู้จุง(จ้วง) ปู้นง(จ้วงนุง) ผู่เปียว     ปู้ยัง มูลัม ผือลาว (เกอลาว)[3]  ส่วนคำเรียก “หล่าว” ก็เกี่ยวข้องกับชื่อที่ชนเผ่าตระกูลไทหลายภาษาใช้เป็นคำเรียกตนเอง เช่น  ชาวละติ /ljo44/ ชาวเกอลาว /klau55/ ชาวมูลัม /lam42/  และยังสอดคล้องกับคำที่พวกมอญ-เขมรเรียกพวกชนเผ่าตระกูลไทว่า /liao, pu/ liao/ “ลาว, พวกลาว”  ดังนั้นคำว่า “หล่าว” น่าจะเกี่ยวข้องกับคำว่า “ลาว” และเกี่ยวข้องกับคำที่ชาวจีนโบราณเรียกพวกหนึ่งในกลุ่มชนร้อยเผ่าว่า “เหลียว” (僚人Liáo rén)
 เหตุที่ภาษามู่หล่าวใกล้ชิดกับภาษาเกอลาว  นักวิชาการจีนจึงได้จัดภาษามู่หล่าวไว้ในแขนงภาษาเกอ-ยัง ซึ่งเป็นสาขาที่แยกออกมาให้เป็นคู่ขนานกับแขนงจ้วง-ไต ต้ง-สุ่ย และหลี  เมื่อเป็นเช่นนี้ก็สามารถสืบสาวความสัมพันธ์ได้ไม่ยาก เนื่องจากบรรพบุรุษของชาวเกอ-ยังเกี่ยวข้องกับชนเผ่าโบราณสองกลุ่มคือ ชาวผู () และชาวเหลียว(Liáo) ชนเผ่าโบราณทั้งสองได้แตกแขนงไปอีกหลายกลุ่มย่อยๆ ในจำนวนนี้มีชื่อ จิวเหลียว (鸠僚Jiū Liáo) กลุ่มจิวเหลียวนี้พัฒนาไปเป็นชาว “เหลียว (Liáo)” ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวละติ  เกอลาว ปู้ยัง ผู่เปียว รวมถึงมู่หล่าวด้วย 
วิเคราะห์จากชื่อเรียกที่ชาวมู่หล่าวเรียกตนเองว่า /24 ɣo53/  คำว่า / 24/ เป็นคำเติมหน้าคำเรียกบุคคล กลุ่มคน หรือชื่อชนเผ่าต่างๆ เช่น /qa24qau24/ “ชาวจีน/qa24zǝ31/ “ชาวเหมียว     /qa24 ȵa33 /uŋ33/ “ชาวเหมาหนาน  ส่วนคำว่า / ɣo53/ ภาษามู่หล่าวแปลว่า “คน”  ย้อนกลับขึ้นไปดูชื่อชาวมู่หล่าวที่ชาวฮั่นใช้อักษรจีนจดบันทึกว่า 狇狫 อักษรสองตัวนี้ประกอบด้วยธาตุคำ “ ” ซึ่งความหมายเดิมหมายถึง “สุนัข” อักษรนี้ใช้ประกอบกับคำที่มีความหมายเกี่ยวกับสัตว์ ความดุร้าย ป่าเถื่อน ชาวฮั่นมองว่าชาวมู่หล่าวในอดีตเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในป่า จึงใช้อักษรนำกลุ่มเดียวกันกับสัตว์ป่าประกอบหน้าชื่อเรียก แต่ชาวมู่หล่าวมิได้ยอมรับเช่นนั้น เมื่อมีใครถามว่าเป็นชนเผ่าอะไร ก็จะบอกว่าตนเองเป็น “ชาวคน” มิได้เป็นสัตว์ป่าหรือคนป่า สอดคล้องกับชนกลุ่มน้อยทั่วไปที่มักใช้คำว่า “คน” เป็นคำเรียกตนเอง เช่น ชาวเหมาหนานเรียกตัวเองว่า /ai1 na:n6/ แปลว่า “คนหนาน”  ชาวสุ่ย เรียกตัวเองว่า /ai3 sui3/ แปลว่า “คนสุ่ย”  หรือพวกมอญ-เขมร เช่น ชาวญัฮกุร (Nyah Kur) แปลว่า “มนุษย์ +ภูเขา” (สุริยา รัตนกุล,2543,116) ชาวบรู (Bru) แปลว่า “มนุษย์” (สุริยา รัตนกุล,2543,138) เป็นต้น ต่อมาชาวมู่หล่าวได้ยอมรับอักษรที่ใช้เรียกชื่อตัวเองและใช้ในปัจจุบันเป็น 木佬  Mù lǎo
นอกจากชื่อที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีชื่อที่ชาวเหมียวเรียกชาวมู่หล่าวว่า “อี้” (羿人Yì rén) ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อที่เรียกชาวเกอลาว  แสดงให้เห็นว่าชาวมู่หล่าวและชาวเกอลาวมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิดมาแต่อดีต


[1] เนื่องจากเอกสารที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นเอกสารโบราณ ผู้เขียนไม่สามารถหาต้นฉบับจริงได้ จึงอ้างอิงตามที่ปรากฏในหนังสือของโป๋เหวินเจ๋อ (Bó Wénzé, 2002, 2-4) นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับชื่อเรียกชาวมู่หล่าวที่ให้รายละเอียดสอดคล้องกัน คือผลงานของมู่ซื่อหัว (Mù Shìhuá, 2003, 7-8) เรื่อง การวิจัยภาษามู่หล่าว 《木佬語研究Mùlǎo yǔ yánjiū
[2] คำนี้หมายความว่า ชาวเหมียวมู่หล่าว กล่าวคือ เป็นชาวเหมียว(แม้ว) กลุ่มย่อยหนึ่งที่เรียกตัวเองว่ามู่หล่าว
[3] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำเรียกชื่อในคำอธิบายภาษาปู้ยัง


จากที่ได้นำเสนอข้อมูลภาษาและการเปรียบเทียบภาษาละติกับภาษาอื่นๆในสาขาภาษาจ้วง – ต้ง พบว่าภาษาละติมีความสัมพันธ์ที่ห่างออกไปจากภาษาสมาชิกในสาขาภาษาจ้วง-ต้งมาก  และเมื่อศึกษาภาษามู่หล่าวก็ยิ่งเห็นว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ห่างไกลออกไปอีก  เพียงแต่ยังมีร่องรอยคำศัพท์ที่เป็นเสมือนสายใยบางๆพอให้สันนิษฐานได้บ้างว่ามีความเกี่ยวข้องอยู่  แต่ไม่ถึงกับสามารถนำมาศึกษาหาความสัมพันธ์ฉันเครือญาติที่ใกล้ชิดกันได้
        ลักษณะที่พบในภาษามู่หล่าวอาจเป็นตัวอย่างการสร้างคำโดยการเติมส่วนเติมหน้าให้กับคำที่ยืมมาจากภาษาจีนของภาษาไทยได้ ดังข่อมูลต่อไปนี้
ตัวอย่างคำยืมภาษาจีนที่มีการเติมส่วนเติมหน้าในภาษามู่หล่าว
ภาษาจีน
ภาษามู่หล่าว
ความหมาย
chèng
mi53 tseN33
ตาชั่ง
li24 xu24
กา
guì
li24 kui24
ตู้
li24 mu31
โม่
táng
le24 taN31
สระ(น้ำ)

ตัวอย่างคำยืมภาษาจีนที่มีการเติมส่วนเติมหน้าในภาษาไทย
ภาษาจีน
จีนโบราณ
ภาษาไทย
chèng
things
ตาชั่ง
lo
กะโหลก
lòu
liu
ลุ
méng
mräng
ลง
gāng
kreng
ตะเกียง

        เนื่องจากภาษามู่หล่าวจัดได้ว่าเป็นภาษาที่สูญแล้ว กล่าวได้ว่าผู้ที่รู้ภาษานี้เป็นชาวมู่หล่าวที่พูดภาษามู่หล่าวได้เป็นรุ่นสุดท้าย  ในขณะที่ภาษามู่หล่าวมิได้ทำหน้าที่เป็นสื่อในการสื่อสารกันของชาวมู่หล่าวแล้ว ผู้บอกภาษาชาวมู่หล่าวให้ข้อมูลคำศัพท์และข้อมูลภาษาจากความทรงจำที่มีอยู่ แต่เนื่องจากไม่ได้ใช้จริงในชิตประจำวัน อีกทั้งภาษาจีนก็มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากกว่า  ก็ย่อมเป็นไปได้ที่ผู้บอกภาษาจะใช้คำมู่หล่าวแต่ใช้ไวยากรณ์จีน  ดังจะเห็นว่าในการอธิบายรูปแบบไวยากรณ์จะพบว่าเป็นไวยากรณ์ที่สอดคล้องกับภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่  คำทางไวยากรณ์ล้วนยืมมาจากภาษาจีน ทำให้เราไม่อาจแน่ใจได้ว่าภาษามู่หล่าวที่แท้จริงเป็นอย่างไร         อย่างไรก็ตามแม้จะไม่สามารถศึกษาข้อมูลภาษามู่หล่าวที่แท้จริงได้  แต่เราก็ยังสามารถจดบันทึกเอาไว้ว่าโลกเราเคยมีภาษาที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยนี้อยู่

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.la.ubu.ac.th/2010/project/tathai2_1.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น