วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

中国学生学习泰语的发音问题及教学法

中国学生学习泰语的发音问题及教学法
摘要
语音是语言最基本最重要的单位,学习第二语言的学生因受母语定性的影响,对于掌握目的语的发音方法、发音部位,学好标准发音,有一定难度。随着中泰交流日益频繁,学习泰语的人也越来越多。泰语教学研更显重要。在语音教学的实践中,语音教学的主要原则在于“疑音对”对比。本文着重讨论中国学生学习泰语发音中存在的问题及此针对性教学方法。通过运用此方法学生能够掌握母语和目的语语音的异同,最终完全可以解决和纠正发音问题。
关键词: 疑音对 泰语 语音教学方法 发音问题 对外泰语教学

A problem and teaching technique of Thai language teaching to Chinese students
Abstract
Phonics is the most basic and important part of a language. Because of the strange influence of mother tongue, students studying a second language find it difficult to master pronunciation and know how to learn the articulations of sounds, Now a days, Chinese and Thais communicative even more ; therefore, many Chinese student study Thai. But pronunciation has always been a big problem for them. To teach Thai pronunciations, a comparison “suspect pairs” is used as a main teaching technique. The research has found that by using this technique student could contrast their mother tongue with the second language quite well and finally could solve their pronunciation problems
Key words : Thai language , language teaching technique , pronunciation problem ,Teach Thai as a foreign language

ปัญหาและวิธีการสอนการออกเสียงภาษาไทยของนักเรียนชาวจีน
บทคัดย่อ
หน่วยเสียงเป็นส่วนที่เล็กที่สุดและสำคัญที่สุดในภาษา เนื่องจากอิทธิพลของภาษาแม่ ทำให้ผู้เรียนภาษาที่สองยากที่จะทำความเข้าใจ เกี่ยวกับอวัยวะ และวิธีการออกเสียงภาษาที่สองได้ชัดเจน ระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยและประเทศจีนติดต่อกันมากขึ้น นักศึกษาชาวจีนเรียนภาษาไทยมากขึ้น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติจึงได้รับความสนใจมากขึ้น จากประสบการณ์การสอนภาษาไทยให้ผู้เรียนชาวจีน พบว่า วิธีการสอนแบบ “การเปรียบเทียบคู่สงสัย” บทความนี้เป็นอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยและวิธีการสอน ให้กับผู้เรียนชาวจีน จากการทำลองใช้วิธีการดังกล่าวนี้พบว่า สามารถแก้ปัญหาการออกเสียงของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
คำสำคัญ : ภาษาไทย เทคนิคการสอนภาษา ปัญหาการออกเสียง การสอนภาษาไทยเป็น
ภาษาต่างประเทศ
前言
中国一直对泰语教育和人才培养给予大力支持。1949年南京东方语言专科学校设暹罗语科,是成立最早的中国泰语教育基地,标志着新中国泰语教学发展的开始。1975年之前,北京外国语学院、广州外国语学院、广西民族学院也先后设立了泰语专业。1975年云南大学开始教授泰语,到90年代,云南民族学院(现云南民族大学)开设了泰语专业,招收和培养泰语专业本科学生。2000年上海外国语大学宣布设立泰语专业。如今为了中泰文化教育交流和发展,中国对泰语教学进行各种各样的计划,如:北京大学、云南民族大学、广西民族大学等院校的泰语专业聘请泰国大学教师为泰语专业学生上课,并坚持安排学生参加接待来访泰国代表团等课外语言活动、组织学生到泰国进行短期游学,支持教师到泰国短期进修或参加学术研讨会,争取与泰国大学进行教师和学生的交流活动,这将有利于中国泰语教学的改革和发展。但泰语及非通用语言专业长期积存的问题:如在教材、教学设备、泰语研究、师资队伍等方面的困难,不是短时间就能解决的,而是需要大量的时间和资金,需要全体教师共同努力,需要各级领导部门不断给与支持,这样才能促使中国泰语专业不断发展和提高。
对于语言入门的发音而言,泰语发音也是学习泰语的中国学生难以克服的问题。虽然汉泰的自然语素大致相同,都有辅音、元音和声调,但细致来看却存在着很大的差别。学生甚至老师虽然能够忽略发音问题,跨过这一关,但在初学时已被忽略的发音问题将积习难改。因此在初期发音教学中需要强调发音标准的重要性,认真地对发音问题进行研究,应用研究结果,提高教学质量。

前人研究
目前泰国关于泰语发音教学的研究结果不多,泰语作为第二语言的教学研究主要针对以英语为母语的学习者而进行。比如Wali (2007) 的 “A Study of Relationships between Knowledge of Thai Culture and Achievement in Studying Thai as a Foreign Language” 就文化对语言学习的影响这一话题进行研究;Wipasi (1994) 的 《泰国清迈国际学校外国学生的声调教学法研究》对学习泰语的外国学生考察发音问题及发音纠正和教学方法。 针对中国学生的研究成果极少,主要有对中国学生编写的教材:如:Pichai (2006) 在中国泰语教学研讨会上发表的《中国学生学习泰语教材》,仍没有认真地对语音教学问题进行讨论;如付峥友教授在泰国农业银行举办的“2005年泰语教学研讨会”上也只讨论一些中国泰语的师资队伍、教材质量、资金的问题,没有涉及到语言的教学问题。
就中国泰语教学的研究成果来看;如语音、词汇、语法、翻译等,以研究成果作为教学服务。如:陈晨 , 李秋杨 (2007) 的《汉泰语音对比研究与语音偏误标记分析》;黄进炎(2007) 的《教学中的泰语翻译》;易朝晖(2002) 的 《评介泰国三部重要的语法著作》 ;邓丽娜 , 厉芹(2008) 的 《泰语与汉语的同异性与对泰汉语教学》大多数都是重视汉泰的语言学习的比较研究。
综上所述,前人研究的成果表明,目前泰语教学界仍忽略对作为语言入门最重要的语音的研究,还没有人认真的对泰语语音问题及其教学方法进行研究。本文笔者在中国大学泰语专业教授泰语时发现问题,搜集并整理资料,同时引用语音学理论对中国学生学习泰语的发音问题进行分析,应用语音学方法对学生发音进行教学和纠正,同时进行研究,实践表明,此种教学方法能够使大部分学生正确分析泰语每个音或比较两种语言音的异同,并能够学到标准的泰语发音。

本人研究心得
中国学生学习泰语发音问题主要集中在两个方面,即汉泰差别的语音和汉泰接近的语音。 以下一一说明:
(一)汉泰差别的语音
1.辅音
1.1 首辅音 / ง ด บ ร /
(1) 泰语的 / ง / 首辅音相当于汉语的 / N / 后鼻音,但只能出现在词尾作
为尾辅音,如:刚、忙、当、上、行等。/ ง / 首辅音的教学法可从汉语带 ng 的词开始教,然后慢慢的把尾音/ N / 或者拼音的 / ng / 从元音区分开来作为首辅音。为了更容易把握,可以把 “啊”放在 /ng/ 的后面,当把尾音区分开来与 / a / 拼音时,/ ng / 就会自然地从尾音变成/ Na / 的首辅音了。
(2) 泰语的 / ด / 与汉语拼音的 / d / 相似,只是清浊音之别。语音学的
研究者对这样的解释就能明了,但在实际教学中对没有语音学训练过的学生会感到很模糊。简单的说;这两个音最明显的差别在于气流的方向,泰语 / ด / 音的气流方向是往内吸 (吸气音),而汉语拼音的 / d / 是往外喷 (塞音),这样解释能够让学生更加理解更能把握泰语/ ด / 的发音方法 ,最终也会发标准的 / ด / 音了。
(3) 泰语的 / บ / 与汉语拼音的 / b / 相似,同样只是清浊音之别。最明
显的差别也在于其流方向,泰语 / บ / 音的气流方向是往内吸 (吸气音),而汉语拼音的 / b / 的气流是往外喷(塞音),凭这种解释方法学生很快就能发出泰语的 /บ/ 音了。
(4) 泰语的 / ร / 音,对于中国学生来说这个颤音比较难掌握。可以从汉
语拼音的 / l / 开始练,然后逐渐加快,把气从肺部喷出来通过舌尖和上齿龈的阻碍让两个发音部位发生快速颤动。

汉语中没有的泰语辅音,主要的教学方法是对比法,以下总结泰语首辅音的教学方法:
辅音
汉语相似音
合并音
切开
结果

ang ing uang
กาง – า (gang -a)
กา – งา(ga – nga)
งา ( Na )
辅音
汉语相似音
对比音
区分
结果

d
ตา - ดา
ดา - ตา
ดา

b
ปา - บา
บา -ปา
บา

l r
ลา - รา
รา - ลา
รา
1.2 双合辅音;由于汉语只有单辅音没有双合辅音,而泰语双合音较
丰富,中国学生学习泰语双合音也比较困难。教学方法是用两词合并、缩短元音、切开元音,以下举例:
目的音
长元音备用词
两词合并
缩短元音
双合辅音
กว - *
กา - วา
กาวา
กะวา
กวา
คร -
คา - วา
คาวา
คะวา
ควา
พล -
พา - ลา
พาลา
พะลา
พลา
* 注意;汉语有与泰语双合辅音较相似的元音 / ua / 和 / uo / ,这两个
元音与泰语的 / กว- / 相差不大。所以在教学中必须把泰语的 / kWa / 音和汉语拼音的 / gua / 和 / guo / 区分清楚。
1.3 泰语尾辅音;汉语除了作为复合元音部分的前鼻音 / n / 和后鼻音 /N / 之
外,完全没有所谓泰语的尾辅音。泰语尾辅音的教学方法使用带有目的音的两个词合并起来,然后逐渐把第二个词的元音去掉 ,剩下来就是第一个词和第二个词的首辅音,自然就成为第一个词的尾辅音了。以下举例:
目的的尾辅音
备用词
分裂
去掉元音
尾辅音
/ ก /
กา - กา
กาก - กา
กาก - า
กาก
/ ต /
ตา - ตา
ตาต - ตา
ตาต - า
ตาต
/ ป /
ปา - ปา
ปาป - ปา
ปาป - า
ปาป
/ ง / *
งา - งา
งาง - งา
งาง - า
งาง
/ น / *
นา - นา
นาน - นา
นาน - า
นาน
/ ย / *
ยา - ยา
ยาย - ยา
ยาย - า
ยาย
/ ว / *
วา - วา
วาว - วา
วาว - า
วาว
* 对于中国学生来说,泰语尾辅音 / ง น ย ว / 并不成问题,因为汉语也有与泰语相似的复合元音,即 / ang , an , ai , ao / 在教学中可以用对比方法指明。
2. 元音
2.1 汉语没有的泰语元音有单元音 / เอ แอ ออ อือ / 以及有这些单元音构成的
复合元音。为了让学生能够看到比较具体的元音,初步的教学方法可借用语音学的元音表进行教学。从元音表学生能够看到舌头的高低、前后以及嘴唇的形状,这些因素就是各个元音之间的差异。在看到和练习表上的各个元音的同时就会产生疑音的对比。最会产生疑音的对比就是元音表上的接近元音,这就是语音学所谓的 “疑音对” (Suspect pair)。当学生开始产生疑音对的时候就是元音教学的成功之路。我们完全可从疑音对开始教学,以下是泰语元音表和元音教学的例子:
泰语元音 (IPA)
汉语疑音 对对比 (pinyin)
前元音对对比
后元音对对比
前元音对对比
后元音对对比
i
e

o
i 米
( i ) e 节
o 伯
o 伯
e
ε
o
F
( i )e 节
( i ) e 节
o 伯
ê 的 / i 子*
ε
a
F
u
( i )e 节
a 妈
i 子
u 木
a

(后元音)
u
µ
a 妈
a 妈
u 木
u 木 / i子
汉语拼音的 / i / 元音与泰语的 /µ / 相似,但不同的是汉语的 / i / 因受
擦音 / zh ch sh z c s / 的影响产生了浊音的效果成为 /ι/ 音,但泰语的 /µ / 音是正常的清元音 。
当学生能够掌握所有的单元音后,就可以开始依次教双复合元音和三复合元音。
2.2 泰语的短元音和长元音;汉语没有长短区别的元音,因此在学习具有元音长短区别的泰语发音时,长要长多少,短又要短多少是学生常问的问题,长期学习泰语的学生甚至从事泰语教学的老师仍没能掌握泰语元音的长短之别。教学方法也可以借用语音学的“疑音对比”方法进行教学。每当学到短元音的词语必须把对应的长元音作语音比较和语义对照。这样就会慢慢的意识到泰语的长短元音的意义了。以下举例:
短元音

长元音

对照
กะ
估计
กา
乌鸦
กะ - กา
กุ
编假话
กู
第一人称代词
กุ - กู
ติ
批评
ตี

ติ - ตี
อัน
量词
อาน

อัน -อาน
3. 声调
汉语和泰语都是由高低音区分语义的声调的语言,汉语有 4 个声调,包括清
音,泰语有5 个声调,只不过两种语言声调的调值有所不同。 这一内容将在以下汉泰语接近或相似音的题目中讨论。
(二)汉泰语接近或相似音
1..辅音 汉泰语辅音接近可分为五组,使用双语接近辅音的对比方法进行教学,以下说明:
疑音对
相差指示
举例词语对照








j
舌尖
舌面
จริง

z
舌尖
上齿龈
舌尖
下齿龈
擦音
ใจ

zh
平舌
卷舌
จาง

ช ฉ ฌ
q
舌尖
舌面
ชี

c
舌尖
上齿龈
舌尖
下齿龈
擦音
ชุน

ch
平舍
卷舌
ฉัน

ส ซ ศ ษ
x
舌尖
舌面
สี

s
舌尖
上齿龈
舌尖
下齿龈
擦音
ซื่อ

sh
平舌
卷舌
สา

尾辅音
น ง
- น
舌尖
上齿龈
舌面
上齿龈
ม่าน

- ง
舌根
软口盖
舌根
小舌
สิง

半元音

舌面
上齿龈
咽头壁
ยี


咽头壁
咽头壁
อี


双唇
双唇
หวาน


咽头壁
双唇
อวน

2. 元音
汉泰相似的元音主要是双复合元音,教学方法是以双方语言的“疑音对”对比为主。在进行双方语言对比的时候可以一对一的对比,也可以一对多数接近或容易混淆元音的对比,这样学生不但能够把汉泰相似音分开出来,也可以辨别疑音对和一些容易混淆的元音,以下举例:
疑音对
相差指示
举例词语对照






เ-
ei
单元音
e 和 i 的复合元音
เก๋

เอีย
ia
i 和 a 的复合元音
i 和 A 的复合元音,汉语拼音的a 等于国际音标的 / A / 嘴型比泰语的 / a / 张得大。
เสีย

ie
i 和 a 的复合元音
i 和 e 的复合元音
เสีย

โอ
ou
单元音
o 和 u 的复合元音
โต

uo
单元音
u 和 o 的复合元音
โต

อัว
ua
u 和 a 的复合元音
i 和 A 的复合元音,汉语拼音的a 等于国际音标的 / A / 嘴型比泰语的 / a / 张得大。
คั่ว

uo
u 和 a 的复合元音
u 和 o 的复合元音
คั่ว

3.声调
汉语有四个声调,泰语也有声调,有五个声调,但是汉泰语声调相比而言不同之处在于声调的“调值”以下举例比较:
汉语声调
调位
调值数标
第一声

55
第二声

35
第三声

214
第四声

51

汉语调值图及汉语声调特征
泰语声调
调位
调值数标
สามัญ
กลาง (mid)
32
เอก
ต่ำ (low)
21
โท
ตก (falling)
451
ตรี
สูง (high)
35
จัตวา
ตกสูง (rising)
215
泰语声调图及汉语声调特征

声调的教学方法也是以对比接近音或相似音为主, 每套声调要找出由于变调而变义的词语来对照。如下举例:


泰语词例
汉语词例
เสียงสามัญ第一声
像汉语的第一声,但低于汉语
ปา

เสียงไม้เอก 第二声
像汉语的第三声
ป่า

เสียงไม้โท 第三声
像汉语的第三声
ป้า

เสียงไม้ตรี 第四声
像汉语的第一声,但有转值
ป๊า

เสียงจัตวา 第五声
像汉语的第二声
ป๋า


结论
开始学习语言不能发出标准的语音是自然现象,无法立刻发出非常标准的语音。但是发音的错误往往会引起歧义,有些词只是小小的语音偏误,但后果比较严重, 往往会闹出较大的问题和笑话;如ดูด“吸”发音成 ตูด意为“屁股”,แดด “阳光”发音成 แตด 意为 “阴核”。遇到此类问题,可以让学生先换用其他同义词代替。
无论如何,语音虽是语言中最小的单位,但也是最基本最重要的单位,同时也是语言中最难掌握的单位。开始学习泰语的人,因受母语的强势制约不会在短短的时间内改变长期定性的母语口型、母语听觉,难以掌握陌生的发音方法、发音部位以及新语言的听觉。必须在 “疑音对”的基础上慢慢的揣摩,才能找到语言的发音规则、发音方法、发音部位,才能学好发音,说好标准的泰语。

参考文献
นวลทิพย์ เพิ่มเกสร. (2548) การจัดหลักสูตรการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. เอกสาร
ประกอบการอบรมการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ, กรุงเทพฯ : คณะศิลปศาสตร์,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิชัย พินัยกุล. (2006) ตำราเรียนภาษาไทยสำหรับชาวจีน.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดบุ๊ค.
วาลี ขันธุวาร.(2007) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางวัฒนธรรมไทยกับผลสัมฤทธิ์ใน
การเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิภาศรี จ้อยสูงเนิน. (2537) การแก้ไขการออกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยของนักเรียนระดับ 8
โรงเรียนนานาชาติ เชียงใหม่โดยการแทนเสียงด้วยตัวอักษรอย่างมีระบบ. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, เชียงใหม่ : สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2549) การพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างประเทศที่เน้น
การเรียนรู้ตามสภาพจริง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรีวิไล พลมณี (2545) พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมทรง บุรุษพัฒน์.(2536) สรวิทยา : การวิเคราะห์ระบบเสียง.นครปฐม :สถาบันวิจัยภาษาและ
วัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชนบท.
สำนักงานความสัมพันธ์ต่างประเทศ,ธนาคารกสิกรไทย.(2548) สรุปสาระการสัมมนาวิชาการไทย - จีน
เรื่องบนเส้นทางความสัมพันธ์ ไทย-จีน. กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย ,สำนักงานใหญ่ .
Peter Ladefoged แต่ง; อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล แปล (2549) สัทศาสตร์ A Course in phonetics.
พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 陈晨,李秋杨(2007) 汉泰语音对比研究与语音偏误标记分析.《暨南大学化文学院学报》,
04期, 暨南。
黄进炎(2007) 教学中的泰语翻译.《广东外语外贸大学学报01期,广东。
易朝晖(2002) 评介泰国三部重要的语法著作. 《解放军外国语学院学报02期,河南。
邓丽娜,厉芹(2008)泰语与汉语的同异性与对泰汉语教学.《成都大学学报》(教育科学版)04 期,成都。

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ดุษฎี กองสมบัติ (2008) ประสบการณ์การสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี.บทความ
จากเวบไซต์ http://gotoknow.org/blog/academicpapers/152321, เมื่อ 5 กันยายน
2551.
เวปไซต์ http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/40/Thai_vowel_chart_with_thai_
alphabets.png เมื่อ 10 กันยายน 2551.
เวปไซต์ http://www.kisa.ca/thai/tones.html เมื่อ 10 กันยายน 2551.



ปัญหาและวิธีการสอนการออกเสียงภาษาไทยของนักเรียนชาวจีน
ความนำ
ความเป็นมาของการเรียนการสอนภาษาไทยในประเทศจีน เริ่มขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2492 เปิดสอนวิชาภาษาไทยที่วิทยาลัยภาษาตะวันออกเมืองหนานจิง นับเป็นการสอนภาษาไทยในประเทศจีนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของการเรียนการสอนภาษาไทยในประเทศจีน ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2518 มีมหาวิทยาลัยต่างๆเปิดสอนภาษาไทยเป็นวิชาเอกอีกหลายแห่ง ได้แก่ วิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง วิทยาลัยภาษาต่างประเทศกวางตุ้ง วิทยาลัยชนชาติกวางสี และในปี พ.ศ. 2518 มหาวิทยาลัยหยุนหนาน วิทยาลัยชนชาติหยุนหนานก็เริ่มเปิดสอนวิชาภาษาไทยเช่นเดียวกัน ปีพ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเซี่ยงไฮ้ก็เปิดสอนวิชาเอกภาษาไทย และต่อมาก็มีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่เปิดสอนวิชาภาษาไทยเช่น มหาวิทยาลัยหนานหนิง เซี่ยเหมิน เฉิงตู เป็นต้น
ปัจจุบันภาษาไทยเปิดสอนในมณฑลที่มีความใกล้ชิดกับประเทศไทยคือ มณฑลหยุนหนานและกวางสีมากเป็นพิเศษ แทบทุกมหาวิทยาลัยเปิดสอนวิชาภาษาไทย นอกจากนี้ในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ยังเปิดสอนภาษาไทยเป็นวิชาเอกทั้งในระดับปริญญาตรีและในระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย รัฐบาลจีนและมหาวิทยาลัยต่างๆที่เปิดสอนภาษาไทยได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆมากมาย เช่น การเชิญอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญชาวไทยไปสอนภาษาไทย การลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา การดูงานเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การส่งนักศึกษามาเรียนที่ประเทศไทย ตลอดจนการศึกษาค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับวิชาการด้านภาษาไทยอีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อมุ่งที่จะพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ
กระนั้นก็ตาม การเรียนการสอนภาษาไทย ซึ่งถูกจัดอยู่ในฐานะภาษาที่สองหรือที่สามของจีน ก็ยังคงไม่ได้รับการพัฒนาก้าวหน้ามากนัก เนื่องจากประสบปัญหาหลายด้าน เช่น แบบเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน การวิจัยด้านการสอนภาษาไทยและศึกษา คุณภาพของครูผู้สอน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ หากแต่ต้องการระยะเวลาในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในประเทศจีนต่อไป
ปัญหาด้านการเรียนภาษาไทยเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้เรียนชาวจีนประสบ อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางภาษา และปัจจัยด้านวัฒนธรรมทางภาษาต่างๆ จำเป็นจะต้องมีการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง เพื่อที่จะนำผลการศึกษาที่ได้มาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ


ทบทวนวรรณกรรม
ข้อมูลเกี่ยวกับการสอนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นงานที่มุ่งประเด็นไปที่หลักและวิธีการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ หรือเป็นหลักการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติในภาพรวมกว้าง ๆ โดยไม่ได้จำกัดกลุ่มผู้เรียน เช่น ศรีวิไล (2545) หนังสือเรื่อง พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ งานวิจัยของ วาลี (2007) เรื่อง A Study of Relationships between Knowledge of Thai Culture and Achievement in Studying Thai as a Foreign Language เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางวัฒนธรรมไทยกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่าง ประเทศ งานวิจัยของ วิรัช (2549) เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างประเทศที่เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างประเทศที่เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง และศึกษาความ สามารถในการใช้ภาษาไทยของผู้เรียนเมื่อเรียนจบหลักสูตร งานวิจัยของ วิภาศรี (2537) เรื่อง การแก้ไขการออกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยของนักเรียนระดับ 8 โรงเรียนนานาชาติ เชียงใหม่ โดยการแทนเสียงด้วยตัวอักษรอย่างมีระบบ เป็นงานวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงและวิธีการสอนการออกเสียงในการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ เป็นต้น
ส่วนการศึกษาประเด็นการสอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีนนั้นยังมีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นตำรา เอกสาร หรือบทความในงานสัมมนาเกี่ยวกับการสอนภาษาไทยเป็นภาษาต่าง ประเทศ เช่น พิชัย(2006) ตำราเรียนภาษาไทยสำหรับชาวจีน เป็นตำราเรียนภาษาไทยที่เรียบเรียงขึ้นสำหรับชาวจีนโดยเฉพาะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนภาษาไทยตั้งแต่พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และบทสนทนาภาษาไทยในชีวิต ประจำวัน ดุษฎี (2008) ประสบการณ์การสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี เป็นบทความบนเวบไซต์ที่เล่าเรื่องประสบการณ์การสอนภาษาไทยให้กับนักศึกษาชาวจีน โดยนำเสนอวิธีการสอนแบบต่างๆ รองศาสตราจารย์ฟู่ เจิงโหย่ว (ในเอกสารสัมมนาสำนักงานความสัมพันธ์ต่างประเทศ ธนาคารกสิกรไทย:2548) เรื่องการเรียนการสอนภาษาไทยในจีน ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน กล่าวถึงภาพรวมของสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในประเทศจีนปัจจุบัน
สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการสอนภาษาไทยในประเทศจีนนั้น ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเปรียบเทียบภาษาไทยและภาษาจีนเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการเรียนการสอน ทั้งเรื่อง เสียง คำ ประโยค ไวยากรณ์ และการแปล เช่น งานวิจัยของ Zheng Lina และ Li Qin (邓丽娜 , 厉芹: 2008) เรื่องการเปรียบเทียบภาษาจีนและภาษาไทยและการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เป็นการเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาจีนทั้งในด้านระบบเสียง ระบบคำ และระบบไวยากรณ์เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการสอนภาษาจีนให้กับชาวไทย งานวิจัยของ Huang Jintan (黄进炎:2007) เรื่องการสอนการแปลภาษาไทย เสนอวิธีการสอนการแปล ภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน ประเด็นสำคัญคือการการแปลความหมายของคำ การแปลรูปประโยค และปัญหาที่พบในการเรียนวิชาการแปล งานวิจัยของ Chen Chen และ Li Qiuyang เรื่อง การเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทยจีนและการวิเคราะห์ปัญหาการออกเสียง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทยและจีน รวมถึงปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของนักเรียนไทย งานวิจัยของ Yi Zhaohui เรื่อง ปริทรรศน์หนังสือไวยากรณ์ไทยสามเล่ม เป็นการศึกษาวิเคราะห์ประวัติการศึกษาไวยากรณ์ไทยจากหนังสือไวยากรณ์ไทยสามเล่ม ได้แก่ กฎไวยากรณ์ไทย โครงสร้างภาษาไทย: ฉบับไวยากรณ์ และไวยากรณ์ไทย
สำหรับหัวข้อปัญหาการเรียนภาษาไทยของผู้เรียนชาวจีนนั้น ยังไม่มีการศึกษาวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะ การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสอนภาษาไทยให้กับผู้เรียนชาวจีนที่เรียนภาษาไทยตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงชั้นสูง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเก็บรวบรวมและศึกษาปัญหาการเรียนภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน วิเคราะห์ปัญหาโดยการเปรียบเทียบลักษณะทางภาษาระหว่างภาษาไทยกับภาษาจีนตามลำดับขั้นทางภาษา(Language hierarchy) นำเสนอวิธีการสอนและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นำเสนอสู่ครูผู้สอนภาษาไทยให้กับนักเรียนชาวจีน ทั้งที่เป็นครูไทยและครูจีน เพื่อการพัฒนาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาการเรียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน
ปัญหาการเรียนออกเสียงภาษาไทยของนักเรียนจีนมีอยู่สองอย่างหลัก ๆ คือ เสียงที่ต่างกัน และเสียงที่คล้ายกัน ดังจะอธิบายต่อไปนี้
การเริ่มเรียนภาษาทุกภาษาเริ่มต้นจากการออกเสียง หากเปรียบเทียบกับนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีน เนื่องจากภาษาจีนเป็นอักษรภาพ ตัวหนังสือหนึ่งตัวแทนความหมาย ไม่ได้แทนเสียง จึงทำให้ไม่สามารถสะกดการออกเสียงได้จากตัวอักษร ในตอนเริ่มต้นต้องเรียนเรื่องการออกเสียงครบทั้งพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ โดยใช้อักษรภาษาอังกฤษที่รัฐบาลจีนคิดค้นขึ้นเพื่อการสอนภาษาจีนโดยเฉพาะที่เรียกว่า อักษร Pinyin แต่ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีการประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ จึงสามารถใช้อักษรไทยสอนเรื่องการออกเสียงได้ตั้งแต่เริ่มต้น แต่ปัญหาหลักเรื่องการออกเสียงของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทย อยู่ที่ความแตกต่างของเสียงพยัญชนะ แบ่งได้ดังนี้
1. เสียงที่ภาษาจีนไม่มี
1.1 เสียงพยัญชนะ
(1) พยัญชนะต้น / ง ด บ ร /
- การสอนเสียง / ง / ภาษาจีนมีพยัญชนะท้าย - N เริ่มจากคำที่มีพยัญชนะท้ายนั้น แล้วค่อย ๆ แยกออกมาเป็นพยัญชนะต้น
- การสอนเสียง / ด / ภาษาจีนมีเสียง / ต / ใช้วิธีเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเสียงก้อง / ด / กับเสียงไม่ก้อง / ต / และ ลักษณะเสียงลมเข้า (implosive) / ด / กับเสียงกักระเบิด (plosive) / ต /
- การสอนเสียง / บ / ภาษาจีนมีเสียง / ป / ใช้วิธีเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเสียงก้อง / บ / กับเสียงไม่ก้องเสียง / ป / และลักษณะเสียงลมเข้า (implosive) / บ / กับเสียงกักระเบิด (plosive) / ป /
- การสอนเสียง / ร / เริ่มต้นจากเสียง / ล / แล้วเร่งปลายลิ้นให้เร็วขึ้น จากนั้นพ่นลมออกจากปอดผ่านฐานกรณ์ที่ปลายลิ้นและปุ่มเหงือกหลังฟันบน เพื่อให้ฐานกรณ์ดังกล่าวเกิดการสั่นสะเทือน

พยัญชนะ
เสียงเทียบภาษาจีน
รวบคำ
แยกคำ
เสียงที่ต้องการ

ang ing uang
กาง – า (gang -a)
กา – งา(ga – nga)
งา
พยัญชนะ
เสียงเทียบภาษาจีน
คู่เปรียบเทียบ
แยกแยะ
เสียงที่ต้องการ

d
ตา - ดา
ดา - ตา
ดา

b
ปา - บา
บา -ปา
บา

l r
ลา - รา
รา - ลา
รา

(2) เสียงพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาจีนไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ เมื่อเรียนภาษาไทย เสียงควบกล้ำเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่นักเรียนจีนประสบ วิธีการสอนเสียงควบกล้ำคือ ใช้วิธีการทอนเสียง จากเสียงยาวเป็นเสียงสั้น และเป็นเสียงควบกล้ำในที่สุด ดังตัวอย่าง

เสียงควบกล้ำที่ต้องการ
การแยกคำโดยใช้สระเสียงยาว
ควบคำ
ทอนเสียง
เสียงควบกล้ำ
กว - *
กา - วา
กาวา
กะวา
กวา
คร -
คา - วา
คาวา
คะวา
ควา
พล -
พา - ลา
พาลา
พะลา
พลา

* ข้อควรระวัง ภาษาจีนมีเสียงสระ / ua / และ / uo / ซึ่งมีความแตกต่างกับเสียงควบกล้ำ / กว- / ไม่มากนัก ดังนั้น เมื่อสอนเสียงควบกล้ำ / กว- / ต้องเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างเสียงควบกล้ำ / kWa / ในภาษาไทย กับเสียงสระ / gua / และ / guo / ตามระบบ Pinyin ในภาษาจีน
(3) เสียงพยัญชนะสะกดทุกเสียง ภาษาจีนไม่มีพยัญชนะสะกด ยกเว้นเสียงพยัญชนะท้าย / n / และ / N / ซึ่งตามหลักการออกเสียงภาษาจีนถือว่าเสียงทั้งสองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเสียงสระ วิธีการสอนพยัญชนะสะกดในภาษาไทย ใช้วิธีการเอาคำสองคำมาต่อกัน โดยกำหนดให้พยัญชนะต้นของคำที่สองเป็นพยัญชนะสะกดที่ต้องการฝึก จากนั้น จึงค่อย ๆ แยกคำโดยการตัดสระของคำหลังออก ดังตัวอย่าง

พยัญชนะสะกดที่ต้องการ
การเรียงคำ
การแยกคำ
การตัดเสียงสระท้าย
เสียงตัวสะกด
/ ก /
กา - กา
กาก - กา
กาก - า
กาก
/ ต /
ตา - ตา
ตาต - ตา
ตาต - า
ตาต
/ ป /
ปา - ปา
ปาป - ปา
ปาป - า
ปาป
/ ง / *
งา - งา
งาง - งา
งาง - า
งาง
/ น / *
นา - นา
นาน - นา
นาน - า
นาน
/ ย / *
ยา - ยา
ยาย - ยา
ยาย - า
ยาย
/ ว / *
วา - วา
วาว - วา
วาว - า
วาว

* พยัญชนะท้าย / ง น ย ว / ไม่มีปัญหาในการออกเสียงมากนัก เพราะภาษาจีนมี สระประสม / ang , an , ai , ao / สามารถใช้วิธีเปรียบเทียบกับภาษาแม่ได้
1.2 เสียงสระ
(1) เสียงสระที่ภาษาจีนไม่มี ได้แก่ สระเดี่ยว / เอ แอ ออ อือ / และสระประสมที่เกิด
จากสระเดี่ยวเหล่านี้ วิธีการสอนเสียงสระ ในขั้นต้นอาจใช้ตารางเสียงสระเพื่อให้ผู้เรียนสามารถแยกความแตกต่าง ความสูงต่ำ หน้าหลังของตำแหน่งลิ้น ความกลมเหยียดของริมฝีปาก เมื่อฝึกเสียงแต่ละเสียงแล้ว ผู้เรียนจะเกิดความสับสนระหว่างคู่เสียงที่น่าสงสัย Suspect pair เสียงที่จะเกิดความสับสนได้ง่าย ก็คือเสียงสระที่อยู่ใกล้กันนั่นเอง วิธีการสอนกระทำโดยการจับเปรียบเทียบเสียงที่น่าสงสัย และอาจเทียบกับเสียงภาษาจีนที่น่าสงสัยได้อีกด้วย
แผนภูมิแสดงตำแหน่งสระภาษาไทย

ตัวอย่างการจับคู่เพื่อฝึกออกเสียงที่น่าสงสัย
ภาษาไทย (IPA)
เทียบกับคู่เสียงภาษาจีนที่น่าสงสัย (pinyin)
จับคู่สระหน้า
จับคู่สระหลัง
จับคู่สระหน้า
จับคู่สระหลัง
i
e

o
i 米
( i ) e 节
o 伯
o 伯
e
ε
o
F
( i )e 节
( i ) e 节
o 伯
ê 的 / i 子*
ε
a
F
u
( i )e 节
a 妈
i 子
u 木
a
 (สระหลัง)
u
µ
a 妈
a 妈
u 木
u 木 / i子

* สัญลักษณ์เสียง pinyin / i / ในภาษาจีนจะออกเสียงคล้ายสระอือ /µ / ในภาษาไทย แต่เป็นเสียงก้อง /ι/ เพราะออกเสียงตามหลังพยัญชนะเสียงเสียดแทรก zh ch sh z c s
เมื่อผู้เรียนสามารถออกเสียงสระเดี่ยวได้ชัดเจนแล้ว จึงค่อยฝึกสระประสมสองเสียง และสระประสมสามเสียงตามลำดับ
(2) ภาษาจีนไม่มีความแตกต่างของสระเสียงสั้นและสระยาว นักศึกษาจีนจะออกเสียงสระาษาไทยเป็นเสียงสั้นทุกคำ หรือ ยาวทุกคำ ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นและยาวได้ สระเสียงสั้นไม่รู้สั้นเท่าไหร่ หรือสระเสียงยาวไม่รู้ว่ายาวเท่าไหร่ เมื่อสอนถึงคำที่มีเสียงสระสั้น หรือสระยาว ต้องเปรียบเทียบคู่เสียงสระ พร้อมทั้งให้รู้ความหมายไปในคราวเดียวกัน เช่นนี้ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสามารถแยกแยะความแตกต่าง และความหมายของเสียงสระสั้นยาวได้ ดังตัวอย่าง

สระเสียงสั้น
ความหมาย
สระเสียงยาว
ความหมาย
คู่คำ
กะ
การคาดคะเน/ช่วงเวลา
กา
สัตว์ปีกจำพวกนกสีดำ
กะ - กา
กุ
แต่งเรื่องเท็จ
กู
สรรพนามบุรุษที่ 1 หยาบคาย
กุ - กู
ติ
กล่าวตำหนิว่าไม่ดี
ตี
ใช้แรงกระทบกับสิ่งหนึ่ง
ติ - ตี
อัน
ลักษณะนาม
อาน
ที่นั่งบนหลังม้า บนรถจักรยาน
อัน -อาน

1.3 เสียงวรรณยุกต์ ภาษาจีนเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ มีความคล้ายคลึงกับ
วรรณยุกต์ในภาษาไทย จะได้อธิบายในหัวข้อต่อไป

2. เสียงที่มีความใกล้เคียงกัน
2.1 เสียงพยัญชนะ ภาษาไทยและภาษาจีนมีเสียงพยัญชนะที่มีความคล้ายคลึงกันแบ่งได้ 5 กลุ่ม วิธีการสอนใช้การจับคู่เปรียบเทียบคำภาษาไทยและภาษาจีนที่มีเสียงพยัญชนะที่คล้ายคลึงกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คู่เสียงสงสัย
ข้อบ่งชี้ความแตกต่าง
ตัวอย่างคำเปรียบเทียบ
ภาษาไทย
ภาษาจีน
ภาษาไทย
ภาษาจีน
ภาษาไทย
ภาษาจีน


j
ปลายลิ้น
หน้าลิ้น
จริง

z
ปลายลิ้น
ปุ่มเหงือกฟันบน
ปลายลิ้น ปุ่มเหงือกฟันล่าง เสียดแทรก
ใจ

zh
ลิ้นเหยียดปกติ
ม้วนปลายลิ้นขึ้น
จาง

ช ฉ ฌ
q
ปลายลิ้น
หน้าลิ้น
ชี

c
ปลายลิ้น
ปุ่มเหงือกฟันบน
ปลายลิ้น ปุ่มเหงือกฟันล่าง เสียดแทรก
ชุน

ch
ลิ้นเหยียดปกติ
ม้วนปลายลิ้นขึ้น
ฉัน

ส ซ ศ ษ
x
ปลายลิ้น
หน้าลิ้น
สี

s
ปลายลิ้น
ปุ่มเหงือกฟันบน
ปลายลิ้น ปุ่มเหงือกฟันล่าง เสียดแทรก
ซื่อ

sh
ลิ้นเหยียดปกติ
ม้วนปลายลิ้นขึ้น
สา

พยัญชนะท้าย น ง
- น
ปลายลิ้น ปุ่มเหงือกหลังฟันบน
หน้าลิ้น ปุ่มเหงือกหลังฟันบน
ม่าน

- ง
โคนลิ้น เพดานอ่อน
โคนลิ้น ลิ้นไก่
สิง

เสียง
อัฒสระ

ลิ้นส่วนหน้า ปุ่มเหงือกหลังฟันบน
ผนังคอ
ยี


ผนังคอ
ผนังคอ
อี


ริมฝีปาก
ริมฝีปาก
หวาน


ผนังคอ
ริมฝีปาก
อวน


2.2 เสียงสระ สระที่มีความคล้ายคลึงกันได้แก่สระประสมสองเสียง วิธีการสอนใช้
วิธีการจับคู่เสียงที่น่าสงสัยระหว่างเสียงสระในภาษาไทยกับสระในภาษาจีนที่มีความคล้ายคลึงกัน พร้อมยกตัวอย่างคำ เพื่อบ่งชี้ความแตกต่าง จะทำให้ผู้เรียนสามารถแยกแยะความแตกต่างได้

คู่เสียงสงสัย
ข้อบ่งชี้ความแตกต่าง
ตัวอย่างคำเปรียบเทียบ
ภาษาไทย
ภาษาจีน
ภาษาไทย
ภาษาจีน
ภาษาไทย
ภาษาจีน
เ-
ei
สระเดี่ยว
สระประสม e กับ i
เก๋

เอีย
ia
สระประสม i กับ a
สระประสม i กับ A เสียงสระ A จะอ้าปากกว้างกว่าภาษาไทย
เสีย

ie
สระประสม i กับ a
สระประสม i กับ e
เสีย

โอ
ou
สระเดี่ยว
สระประสม o กับ u
โต

uo
สระเดี่ยว
สระประสม u กับ o
โต

อัว
ua
สระประสม u กับ a
สระประสม u กับ A เสียงสระ A จะอ้าปากกว้างกว่าภาษาไทย
คั่ว

uo
สระประสม u กับ a
สระประสม u กับ o
คั่ว


2.3 เสียงวรรณยุกต์ ภาษาจีนมีวรรณยุกต์ 4 เสียง แต่ระดับการตกและหักเหของเสียงต่างกับภาษาไทย ดังการเปรียบเทียบข้างล่างนี้
วรรณยุกต์จีน
ชื่อระดับเสียง
เลขระดับเสียง
เสียง 1
กลาง
55
เสียง 2
ต่ำ
35
เสียง 3
ตก
214
เสียง 4
สูง
51


ภาพตำแหน่งวรรณยุกต์และตารางแสดงระดับเสียงวรรณยุกต์ภาษาจีน
วรรณยุกต์ไทย
ชื่อระดับเสียง
เลขระดับเสียง
สามัญ
กลาง (mid)
32
เอก
ต่ำ (low)
21
โท
ตก (falling)
451
ตรี
สูง (high)
35
จัตวา
ตกสูง (rising)
215

ภาพตำแหน่งวรรณยุกต์และตารางแสดงระดับเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทย

วิธีการสอน ใช้วิธีเปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์และตัวอย่างคำในภาษาไทยและภาษาจีน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ชื่อวรรณยุกต์ไทย
เทียบกับวรรณยุกต์จีน
ตัวอย่างคำไทย
ตัวอย่างคำจีน
เสียงสามัญ
เทียบกับเสียง 1 แต่ต่ำกว่า
ปา

เสียงไม้เอก
เทียบกับเสียง 3
ป่า

เสียงไม้โท
เทียบกับเสียง 4
ป้า

เสียงไม้ตรี
เทียบกับเสียง 1 แต่มีการเลื่อนระดับ
ป๊า

เสียงจัตวา
เทียบกับเสียง 2
ป๋า



บทสรุป
จากประสบการณ์ในการสอนภาษาไทยให้กับผู้เรียนชาวจีน เสียงที่มีปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ จำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนระยะหนึ่ง ในระยะเริ่มต้นหากไม่สามารถแก้ไขได้ และการออกเสียงที่ผิดนั้นมีผลต่อความหมายที่กำกวม จำเป็นต้องเลี่ยงไปใช้คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงแทน แล้วค่อย ๆ แก้ไขภายหลัง เช่น /ด - ต/แสงแดด– แสงอาทิตย์ ดูดนม- กินนม
อย่างไรก็ตาม เสียงแม้จะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในภาษา แต่ก็เป็นส่วนที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของภาษา เมื่อเริ่มเรียนภาษาไทย ผู้เรียนรับผลกระทบจากภาษาแม่ของตน ไม่ว่าจะเป็นรูปปาก การฟัง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาอันสั้น แต่วิธีการเรียนการสอนโดยการใช้หลัก “คู่เสียงสงสัย” จะสามารถทำให้ผู้เรียนหาหลักเปรียบเทียบ วิธีการออกเสียงที่ถูกต้อง ฐานกรณ์ในการออกเสียง ก็จะสามารถออกเสียงภาษาไทยได้อย่างถูกต้องชัดเจน


作者简介
Dr.Metcha Sodsongkrit,男,1973年生,泰国人。2005年获南京师范大学汉语言文字学专业的文学博士。现任泰国乌汶大学文学院东方语言文学系主任及中文系主任。主要研究方向为汉泰语言文字学,中泰音乐学。

工作单位:泰国乌汶大学文学院东方语言文学系

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น