วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ลำนำบุตรทั้งเจ็ด : บทเพลงประวัติศาสตร์แห่งการคืนสู่มาตุภูมิจีนของดินแดนอาณานิคมทั้งเจ็ด



คำว่า  ชี จื่อ (七子) หมายถึง ลูกทั้งเจ็ด ซึ่งได้แก่  ฮ่องกง   จิ่วหลงหรือเกาลูน   มาเก๊า   ไต้หวัน   เวยไห่เว่ย  อ่าวกวางตุ้ง  และ หลวี่ต้า(คือหลี่ซุ่นและต้าเหลียน )  เหตุจากสงครามทำให้ดินแดนดังกล่าวตกไปอยู่ในการครอบครองของประเทศอาณานิคม ดังนี้ 

ภาพจาก http://guru.sanook.com/picfront/pedia/249505__03022009043715.jpg

             ฮ่องกงและเกาลูน  ตามสนธิสัญญาจีนอังกฤษหนานจิง ปี ค.ศ. 1842 (中英南京条约Zhōnɡ Yīnɡ Nánjīnɡ tiáoyuē) และสนธิสัญญาจีนอังกฤษปักกิ่ง ปี ค.ศ. 1960  (中英北京条约Zhōnɡ Yīnɡ Běijīnɡ tiáoyuē) พื้นที่เกาะฮ่องกงและเกาลูนตกอยู่ในปกครองของอังกฤษ จนกระทั่ง ปี วันที่ 1  กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ครบสัญญาเช่า พื้นที่ดังกล่าวจึงกลับคืนสู่มาตุภูมิจีน จีนจัดตั้งให้เขตดังกล่าวเป็นเขตปกครองพิเศษฮ่องกง (Xiānɡ ɡǎnɡ tèbié xínɡzhènɡqū

ภาพจาก http://www.tourhongkong-macau.com/wp-content/uploads/2011/06/Kowloon.jpg



ภาพจาก http://www.nipponsysit.com/cms//HLIC/KunIamStatue21.jpg

มาเก๊า ตกอยู่ในอาณัติปกครองของโปรตุเกสในปี ค.ศ.1553 จนกระทั่งวันที่ 20 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1999 มาเก๊ากลับคืนสู่อ้อมกอดมาตุภูมิจีนตามแถลงการณ์ร่วมจีนโปรตุเกส (中葡联合声明Zhōnɡ Pú liánhé shēnɡmínɡ) ประเทศจีนจัดตั้งให้พื้นที่ดังกล่าวเป็น เขตปกครองพิเศษมาเก๊า (澳门特别行政区 Àomén tèbié xínɡzhènɡqū)
           


ภาพจาก http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1445176

ไต้หวัน  ถูกรุกล้ำจากหลายประเทศเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี ได้แก่ ปี ค.ศ.1624 ถูกฮอลแลนด์รุกล้ำ ปี ค.ศ. 1626 ถูกสเปนรุกล้ำ ปี ค.ศ. 1662 จีนชิงดินแดนไต้หวันกลับคืนมาและจัดเข้าอยู่ในแผนที่เขตแดนของจีนในปี ค.ศ. 1983  สนธิสัญญาจีนญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1895 สูญเสียดินแดนไต้หวันให้ญี่ปุ่น เดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1945 จีนชนะสงครามชิงไต้หวันกลับคืนมา ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1949 ก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้ไต้หวัน จนปัจจุบัน จีนมุ่งมั่นดำเนินการรวมชาติไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของจีน

ภาพจาก http://www.hotsia.com/agoda-ssi/country/picture/191-79638-3.jpg

           


      เวยไห่เว่ย ถูกอังกฤษบังคับเช่าเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 กระทั่ง ปี ค.ศ. 1945 จีนชนะสงครามต่อต้านการรุกราน ชิงดินแดนเวยไห่เว่ยกลับสู่อาณัติของจีนดังเดิม









ภาพจาก http://www.bloggang.com/data/m/moonfleet/picture/1286006668.jpg


อ่าวกว่างโจว  ถูกฝรั่งเศสบังคับเช่าเมื่อปลาย ศตวรรษที่ 19 กระทั่ง ปี ค.ศ. 1945 จีนชนะสงครามต่อต้านการรุกราน  ชิงดินแดนอ่าวกว่างโจวกลับสู่อาณัติของจีนดังเดิม









ภาพจาก http://www.merrylandtravel.com/file_upload/tour/images/big_18-20120512307586O.jpg

หลวี่ต้า  ถูกรัสเซียบังคับเช่าเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 สงครามญี่ปุ่นรัสเซียในปี ค.ศ. 1904 ดินแดนนี้ตกเป็นของญี่ปุ่น จนกระทั่งปี ค.ศ. 1945 จีนชนะสงครามต่อต้านการรุกราน ยึดดินแดนคืนมาได้
 
เพลงลำนำบุตรทั้งเจ็ด  ประพันธ์คำร้องโดย   เหวิน อี้  ตัว(闻一多) ประพันธ์ทำนองโดย หลี ไห่ อิง(李海英)   เดิมเป็นกลอนกลุ่มหนึ่งที่กล่าวถึงดินแดนอาณานิคมทั้งเจ็ดของจีน ที่ถูกปกครองโดยชาติอื่น  ประพันธ์ขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1925 กวีท่านนี้หลังจากที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิงหัว ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นได้สัมผัสกับวัฒนธรรมตะวันตก และรับรู้ถึงการดูถูกเหยียดหยามทางชาติพันธุ์ เป็นแรงผลักดันให้เกิดสำนึกรักในศักดิ์ศรีของตนอย่างแรงกล้า ภายใต้ความกดดันและดูแคลนอย่างหนักหน่วงนี้ กวีเหวิน อี้ ตัว ได้พรรณนาความรักในศักดิ์ศรีและความคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน โดยใช้วิธีการประพันธ์แบบบุคลาธิษฐาน  ถ่ายทอดออกมาเป็นบทกวีชื่อ ลำนำบุตรทั้งเจ็ด 
กลอนทั้งเจ็ดบทนี้ ผู้แต่งเปรียบเทียบดินแดนของจีนที่ถูกแบ่งแยก และครอบครองโดยประเทศอาณานิคมอื่นว่า เป็นลูกเจ็ดคนที่พลัดพรากจากอกแม่ไปตกอยู่ในความควบคุมดูแล และถูกกดขี่รังแกจากผู้อื่น เด็กน้อยร้องโยเยหาแม่เสียงหลง โหยหาละห้อยคอยวันค่ำเช้าที่จะกลับคืนสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของแม่ดังเดิม ถ้อยคำที่บาดลึกในหัวใจชาวจีนแผ่นดินใหญ่ให้รู้สึกโหยให้อาลัยในฐานะ แม่ เกิดสงสารแผ่นดินและเพื่อร่วมชาติที่เป็นเสมือน ลูกที่ถูกยึดครองโดยชาติอื่น โดยเฉพาะวรรคสุดท้ายของกลอนทุกบท จะลงท้ายด้วยถ้อยคำที่เป็นเสมือนเสียงร้องหาแม่ของลูกๆ  ว่า
母亲!我要回来,母亲!
mǔqīnwǒ yào huíláimǔqīn
แม่จ๋า หนูอยากกลับมา แม่จ๋า

หลังจากที่บทกวีนี้ออกเผยแพร่ ก็ตอกย้ำความเจ็บปวดและความคิดถึง โหยหา อาลัยอาวรณ์ของแม่และลูกสุดแสนจะพรรณนา หลังจากนั้นเจ็ดสิบกว่าปี คีตกวีผู้มีชื่อเสียงชื่อ หลี ไห่ อิง ได้แต่งทำนองให้กับบทกวีท่อน มาเก๊าเพื่อเฉลิมฉลองการกลับคืนสู่มาตุภูมิของมาเก๊าในปี ค.ศ. 1999
ด้วยเนื้อหาของกลอน และทำนองเพลงเรียบง่ายไม่ซับซ้อน แต่ทว่ามีความหมายลึกซึ้งกินใจ เสียงที่ใช้ร้องเพลงนี้ตั้งใจให้เป็นเสียงเด็กที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสา ยิ่งสร้างความประทับใจให้ชาวจีนเหลือคณา ใครที่ได้ยินเพลงนี้ต่างกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหว ด้วยความรู้สึกสงสารลูกที่พลัดพรากจากอกแม่ไป  ต่อมาดินแดนต่างๆที่อยู่ในครอบครองของประเทศอาณานิคมได้ทยอยกลับคืนสู่แผ่นดินจีน กลอนทั้งเจ็ดบทนี้จึงได้ใช้เป็นเพลงที่ระลึกในเหตุการณ์ครั้งสำคัญดังกล่าว  
                       



ฮ่องกง (香港xiānɡɡǎnɡ)
我好比凤阙阶前守夜的黄豹,
母亲呀,我身分虽微,地位险要。
如今狞恶的海狮扑在我身上,
啖着我的骨肉,咽着我的脂膏;
母亲呀,我哭泣号啕,呼你不应。
母亲呀,快让我躲入你的怀抱!
母亲!我要回来,母亲!

ลูกเป็นเหมือนเสือดาวเฝ้าประเทศ
แม่จ๋า แม้เป็นเขต อันตราย ด้อยศักดิ์ศรี
สิงโตทะเล กระโจน  เข้าโจมตี
ขย้ำกระดูก กลืนกิน สิ้นแรงกาย
แม่จ๋า ลูกเรียกแม่  แม่ไม่ตอบ
แม่จ๋า ลูกขอหมอบซุกในอกอุ่นไม่หาย
แม่จ๋าแม่  ลูกนี้  อยากกลับไป
(ไปหาแม่  อยากกลับบ้าน เกิดเมืองนอน)

เกาลูน  (九龙jiǔlónɡ)
我的胞兄香港在诉他的苦痛,
母亲呀,可记得你的幼女九龙?
自从我下嫁给那镇海的魔王,
我何曾有一天不在泪涛汹涌!
母亲,我天天数着归宁的吉日,
我只怕希望要变作一场空梦。
母亲!我要回来,母亲!

พี่ฮ่องกง ร่ำไห้ เล่าความทุกข์
แม่จำลูกสาวคนเล็กนี้ได้ไหม
นับแต่ลูกถูกยกให้ปีศาจร้าย
ไม่มีแม้สักวันไม่หลั่งน้ำตา
แม่จ๋าแม่ ลูกคอยเฝ้านับคืนวัน
กลัวเพียงความหวังไม่เป็นอย่างฝันหา
แม่จ๋าแม่ ลูกอยากจะกลับมา
(กลับมาหา คืนมา หาแม่เอย) 

มาเก๊า(澳门Àomén)
你可知“妈港”("MACAU")不是我真名姓,
我离开你太久了,
母亲! 但是他们掳去的是我的肉体,    
你依然保管我内心的灵魂,
三百年来梦寐不忘的生母啊,          
请叫儿的乳名,
叫我一声“澳门”!
母亲!我要回来,母亲!

แม่ก็รู้ มาเก๊าไม่ใช่ชื่อจริงฉัน
จากวันนั้นจากแม่นานน่าใจหาย
แม่จ๋า พวกมันจับหนูไปเพียงร่างกาย
แต่วิญญาณอยู่ในใจแม่ดูแล
สามร้อยปีไม่ลืมแม่แม้หลับฝัน
เรียกชื่อเล่น ลูกนั้น เถิดนะแม่
เรียกชื่อหนูว่า อ้าวเหมิน อย่าเชือนแช
จะหาแม่ จะกลับบ้าน เกิดเมืองนอน

ไต้หวัน(台湾Táiwān)
我们是东海捧出的珍珠一串,
琉球是我的群弟我就是台湾。
我胸中还氲氤着郑氏的英魂,
精忠的赤血点染了我的家传。
母亲,酷炎的夏日要晒死我了;
赐我个号令,我还能背城一战。
母亲!我要回来,母亲!

เราหอบไข่มุกทะเลบูรพามาเป็นสาย
เกาะลิวชิวเป็นน้องชาย ฉันคือไต้หวัน
มุ่งมั่นชิงดินแดนกลับทุกคืนวัน
เลือดแดงฉานย้อมบันทึกภักดีไว้
แม่จ๋าแม่ อาทิตย์แผดแสงเผาร้อน
ขอแม่สอน ลูกยังรอน ราญศึกได้
แม่จ๋าแม่ ลูกนี้อยากกลับไป
(แม่จ๋าลูก จะกลับไป  มาตุภูมิ)
     
เวยไห่เว่ย(威海卫Wēihǎiwèi)
再让我看守着中华最古的海,
这边岸上原有圣人的丘陵在。
母亲,莫忘了我是防海的健将,
我有一座刘公岛作我的盾牌。
快救我回来呀,时期已经到了。
我背后葬的尽是圣人的遗骸!
母亲!我要回来,母亲!

ขอฉันเป็นทะเลเก่าเฝ้าชาติจีน
แนวเขาริมฝั่งเคยมีปราชญ์เลื่องชื่อ
แม่อย่าลืม ยามเฝ้าฝั่ง มีฝีมือ
เกาะหลิวกง นี่คือ โล่กำบัง
แม่จ๋าแม่รีบเรียกหนูกลับบ้าน
โครงกระดูก วีรชน ฝังเบื้องหลัง
แม่จ๋าแม่ หนูอยาก กลับคืนรัง
(หนูคอยฟังแม่เรียก หนูกลับมา)


อ่าวกว่างโจว(广州湾Guǎnɡzhōuwān)
东海和广州是我的一双管钥,
我是神州后门上的一把铁锁。
你为什么把我借给一个盗贼?
母亲呀,你千万不该抛弃了我!
母亲,让我快回到你的膝前来,
我要紧紧地拥抱着你的脚踝。
母亲!我要回来,母亲!

ทะเลบูรพาและกว่างโจวกุญแจคู่
ฉันเฝ้าอยู่เป็นโซ่ล้อมแผ่นดินหลัง
เหตุใดให้  โจรชั่วยืม ไปผิดทาง
แม่จ๋าอย่า ปล่อยวาง ทิ้งลูกไป
แม่จ๋ารีบ ให้ลูกได้ กอดแทบเท้า
ลูกคุกเข่า กอดเท้า แม่เอาไว้
แม่จ๋าแม่ หนูอยาก จะกลับไป
(ขอหนูได้กลับไปหาแม่เอย)

 

หลวี่ซุ่น,ต้าเหลียน(旅顺,大连Lǚshùn,Dàlián)
我们是旅顺,大连,孪生的兄弟。
我们的命运应该如何的比拟?
两个强邻将我来回的蹴蹋,
我们是暴徒脚下的两团烂泥。
母亲,归期到了,快领我们回来。
你不知道儿们如何的想念你!
母亲!我们要回来,母亲!

ฉันคือแฝดหลวี่ซุ่น และ ต้าเหลียน
จะขีดเขียน เปรียบชีวิต อย่างไรหนา
สองเมืองแกร่ง เตะไล่ ฉันไปมา
ดั่งโคลนเลน ใต้บาทา เหล่าวายร้าย  
แม่จ๋า ถึงครากลับ รีบรับลูก
ใจพันผูก คิดถึงแม่ มากแค่ไหน
แม่จ๋าแม่ ลูกจะ ได้กลับไป
 (ลูกจะได้กลับไป หาแม่เอย )

โน้ตเพลง  มาเก๊า

 






ภาพประกอบ

ประตูโบสถ์เซนต์ปอล  ของโบสถ์มาแตร์ เดอี (Church of Mater Dei) ที่สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1602-1640 ประมาณต้นศตวรรษที่ 17 เป็นสถานซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์  โบสถ์แห่งนี้เคยเป็นโรงเรียนสอนศาสนาแห่งแรกของชาวตะวันตกในดินตะวันออกไกล  เป็นประจักษ์พยานการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งตะวันตกในภูมิภาคตะวันออกไกล   ซากโบสถ์เซนต์ปอลในปัจจุบัน นับเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองมาเก๊าที่สำคัญอย่างหนึ่ง




 ภาพบรรยากาศการเฉลิมฉลองการกลับคืนสู่อ้อมกอดมาตุภูมิของมาเก๊า เมือ วันที่ 20 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1999


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น