วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

เพลง บนผืนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ : เพลงที่รวมวัฒนธรรมจีนทั้งแผ่นดินไว้ในเพลงเดียว เมชฌ สอดส่องกฤษ เพลงจีนชื่อ จ้าย จงกว๋อ ต้าตี้ ซ่าง《在中国大地上》Zài Zhōnɡ ɡuódà dìshànɡ แปลเป็นภาษาไทยว่า “บนผืนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่” ประพันธ์คำร้องโดย เฉียวฟาง (乔方Qiáo Fānɡ) ประพันธ์ทำนองโดย ซื่อซิน (士心Shì Xīn) เผยแพร่ครั้งแรกในงานฉลองปีใหม่แห่งชาติจีนเมื่อปี 1991 ผู้ขับร้องคนแรกคือ เผิงลี่หยวน (彭丽媛Pénɡ Lìyuán) เป็นเพลงสดุดีการปฏิวัติการปกครอง ด้วยคุณความดีของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ทุ่มเทฝ่าฟันทุกข์ยากลำบากเพื่อนำพาชาวจีนและประเทศจีนสู่ชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น ชีวิตที่สดใส รุ่งเรือง ประเทศชาติพัฒนาก้าวไกล นับเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่พรรคคอมมิวนิสต์สร้างให้กับแผ่นดินจีนและประชาชนชาวจีน ต่อแต่นี้ไปความหวังของประเทศฝากไว้กับประชาชนชาวจีนทุกคน ที่จะร่วมใจเดินตามแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อร่วมกันสร้างชาติจีนให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกร ความงดงามของเพลงนี้ไม่เพียงอยู่ที่ท่วงทำนองที่ไพเราะเท่านั้น หากแต่เป็นการสรรเสริญความงดงามของมาตุภูมิ และสร้างความภาคภูมิให้เกิดขึ้นในจิตใจของลูกหลานจีนทุกคน ทำนองเพลงแบ่งเป็นสองช่วงคือ ช่วงเริ่มต้นเพลงเป็นจังหวะสนุกสนาน คึกคัก ครึกครื้นเริงรื่นชื่นบาน แสดงออกถึงภาพของความสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองในฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่สามารถเก็บเกี่ยวพืชพรรณธัญญาหารไว้ได้เต็มยุ้งฉาง ปศุสัตว์อ้วนท้วนสมบูรณ์ โดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองที่สื่อถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนชาวจีน ให้ความรู้สึกสนิทสนมแน่นแฟ้น ส่วนทำนองช่วงกลาง และช่วงจบ ตรงคำร้องที่ว่า 蓬勃的太阳,升腾在中国大地上 pénɡbó de tàiyánɡ, shēnɡténɡ zài Zhōnɡɡuó dà dìshànɡ “อาทิตย์พรายแสงทองเบิกบาน แผ่ฉายฉานทั่วผืนแผ่นดินจีน” จังหวะช้าลง แต่ฟังดูอบอุ่น ยิ่งใหญ่ สุขุม ใช้คำว่า “พระอาทิตย์” เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการปกป้องคุ้มครอง การดูแลประชาชนและการนำหน้าสู่การพัฒนาประเทศด้วยก้าวย่างที่มั่นคงของรัฐบาล เพื่อนำความสมบูรณ์พูนสุขมาสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่บน “ผืนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่” แห่งนี้ จุดเด่นของเพลงนี้คือ การนำเอกลักษณ์โดดเด่นที่เลือกมาจากชุมชนหลากหลายพื้นที่ หลายชนเผ่า และหลายวัฒนธรรมทั่วทั้งแผ่นดินจีนมารวมอยู่ในเพลง ไม่ว่าจะเป็นทัศนียภาพภูมิประเทศของจีน เช่น ภูเขา แม่น้ำ ชุมชน การเพาะปลูกและผลผลิตเช่น ข้าว ถั่ว สำลี การประกอบอาชีพเช่น ปศุสัตว์ แกะ วัว เรือกสวน ไร่นา การประมง เครื่องไม้เครื่องมือเกษตรกรรมเช่น ขวานเคียว ศิลปวัฒนธรรมเช่น การขับร้อง เต้นรำ เสียงไชโยโห่ร้อง ตีฆ้องร้องป่าว ปี่แตรบรรเลงรื่น ชื่นบาน ตึกรามบ้านช่อง สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยที่สร้างด้วยไม้ไผ่ สักหลาด สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์แห่งการดำรงชีวิต ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวจีนทั้งประเทศ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ถึงความอุดมสมบูรณ์พูนสุข ใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ผลผลิตมากมาย สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายให้กับพี่น้องชาวจีนบนผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลตั้งแต่เหนือจรดใต้แห่งนี้ เหนือชีวิตที่อยู่ดีกินดีมีความสุขขึ้นไปก็คือ ความมุมานะพยายามของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ตรากตรำ มุ่งสร้างชาติ พัฒนาประเทศให้มั่นคงก้าวหน้า มุ่งสู่ความวัฒนาเพื่อความผาสุกสวัสดีของปวงชนตลอดไป คำว่า เป่ยกว๋อ (北国Běiɡuó) ที่ปรากฏในเพลง หมายถึง แดนเหนือ หรือ ปัจจิมประเทศ คือดินแดนแมนจูเรีย ที่อยู่ในบริเวณตอนเหนือของประเทศจีน ใช้คู่กับคำว่า หนานกว๋อ (南国 Nánɡuó) หมายถึงพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ในเพลงนี้เรียกว่า หนานเจียง (南疆 Nán jiānɡ) ซึ่งก็หมายถึงพื้นที่ทางตอนใต้เช่นเดียวกัน สัญลักษณ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรมทางเหนือในเพลงนี้ คือ จานฝาง (毡房zhānfánɡ) หมายถึง เรือนสักหลาด และ ระบำยางเกอ (秧歌 yānɡɡe) เรือนสักหลาด (毡房zhānfánɡ) เป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยเผ่าคาซัคของจีน อาศัยอยู่บริเวณ เขตปกครองตนเองเวยอูร์ (维吾尔 Wéi wú ěr) มณฑลซินเจียง (新疆 Xīnjiānɡ) ลักษณะเด่นของที่อยู่อาศัยประเภทนี้ คือ สร้างเป็นกระโจมทรงกลม แล้วมุงด้วยสักหลาด มีความสะดวกสบาย โยกย้ายง่าย ทั้งยังป้องกันอากาศหนาวเหน็บ กันฝน กันลมได้เป็นอย่างดี ชาวคาซัคนิยมสร้างบ้านเป็นกระโจมอยู่ตามทุ่งหญ้า ได้รับขนานนามว่า “วังขาวแห่งท้องทุ่ง” ระบำยางเกอ (秧歌 yānɡɡe) เป็นศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของภาคเหนือ บริเวณ สานเป่ย (陕北 Shǎn běi) เหอเป่ย (河北 Héběi) ปักกิ่ง(北京 Běi jīnɡ) เหลียวหนิง (辽宁liáonínɡ) หัวเป่ย (华北 Huáběi) เป็นระบำที่เป็นเอกลักษณ์ของจีนโดยแท้ ท่วงท่าสนุกสนาน ท่าระบำไม่สลับซับซ้อน เป็นท่าเต้นพื้นเมืองที่นับเป็นพื้นฐานศิลปะการร่ายรำของจีน การเต้นระบำเต้นตามจังหวะกลอง ฉาบ โหม่ง เป็นจังหวะสนุกสนาน รื่นเริง พบเห็นในงานเทศกาลรื่นเริง เฉลิมฉลองทั่วๆไป ผู้แสดงแต่งกายด้วยผ้าแพรสีสันฉูดฉาด โดยมากเป็นสีแดง และเขียวสด มักถือริบบิ้น ผ้าสักหลาด ผ้าแพร ร่ม โคม พัด ประกอบลีลาการเต้นระบำ สัญลักษณ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรมทางใต้ที่ปรากฏในเพลง คือ จู๋โหลว (竹楼 zhúlóu) “เรือนไม้ไผ่” เป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย เอกลักษณ์พื้นเมืองอันโดดเด่นของชนกลุ่มน้อยชาวไตในสิบสองปันนา ตั้งอยู่พื้นที่ทางตอนใต้ของจีน เรือนไม้สร้างแบบใต้ถุนสูงเป็นคอกเลี้ยงวัวควายและม้า พื้นที่อาศัยของเจ้าของบ้านอยู่ชั้นสอง มีบันไดไม้พาดขึ้นบ้าน ฝาบ้าน ประตู หน้าต่าง ล้วนทำด้วยไม้แผ่นหรือไม้ไผ่ หลังคาทำเป็นมุมจั่ว มุงด้วยหญ้าหรือไม้แผ่น มีชานบ้านที่ไม่มีหลังคา คล้ายกับเรือนไม้ตามชนบทของไทย วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวฮั่น ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของจีนก็คือ เติงหลง (龙灯lónɡdēnɡ) คือ “การเชิดมังกร” เป็นศิลปะการละเล่นของชาวฮั่น ประดิษฐ์เป็นโคมไฟมังกรความยาว 20 – 70 เซนติเมตร การเชิดมังกรใช้คนเชิดหลายคนเป็นแถวยาวตลอดลำตัวมังกร การเชิดใช้กลอง ฉาบ โหม่ง ตีบรรเลงเป็นจังหวะที่ครึกครื้น รื่นเริง เอิกเริก เพื่อการเฉลิมฉลองในงานเทศกาลมงคลต่างๆ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหารคือ อู๋กู่ (五谷wúɡǔ) “เบญจธัญญาหาร” เป็นการจัดกลุ่มธัญพืชห้าอย่างของจีนในสมัยโบราณ ซึ่งมีวิธีจัดสองแบบ คือ แบบที่หนึ่งมี ข้าวจ้าว (稻dào), ข้าวโพด (黍shǔ), ข้าวชนิดหนึ่ง (稷jì), ข้าวสาลี (麦mài), พืชจำพวกถั่ว (菽shū) ส่วนแบบที่สองมี งา (麻má), ข้าวโพด (黍shǔ), 稷(jì)ข้าวชนิดหนึ่ง (稷 jì), ข้าวสาลี (麦mài), พืชจำพวกถั่ว (菽shū) ข้อแตกต่างของการแบ่งประเภททั้งสองคือ แบบที่หนึ่งมีข้าวจ้าวไม่มีงา แบบที่สองมีงาไม่มีข้าวจ้าว 稷(jì) คือ ธัญพืชชนิดหนึ่งในสมัยโบราณ บางตำราก็ว่าเป็นประเภทข้าวโพด บางตำราก็บอกว่าเป็นประเภทข้าว โบราณถือว่า พืชชนิดนี้เป็นต้นกำเนิดของพืชธัญญาหารนานาชนิด จึงถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งธัญพืช ชม MV เพลงนี้ได้ที่ www.youtube.com ใช้คำค้นหาว่า On the Land Called China เนื้อเพลง 五谷的芳香, 飘荡在中国大地上, 肥壮的牛羊, 奔跑在中国大地上, 一声声的唢呐, 唱出古老的向往, 一阵阵的锣鼓, 道出崭新的酣畅。 你看那小麦、 大豆、棉花、高粱, 装满了谷屯, 装满了谷屯粮仓。 你看那田埂、 鱼塘、果园、牧场, 到处是丰收, 丰收景象。 镰刀和斧头, 闪光在中国大地上, 蓬勃的太阳, 升腾在中国大地上。 茁壮的希望, 生长在中国大地上 春天的祝愿, 回旋在中国大地上。 一片片的笑语, 萦绕农家的小圆, 一曲曲的欢歌, 飞出牧人的胸膛。 你看那北国、南疆、龙灯、秧歌, 人人都喜气, 人人都喜气洋洋。 你看那山寨、渔村、竹楼、毡房, 到处都走向, 走向兴旺。 镰刀和斧头, 闪光在中国大地上, 蓬勃的太阳, 升腾在中国大地上。 ความหมายของเนื้อเพลง หอมกรุ่นกลิ่นธัญญา ทั่วพสุธาจีนแผ่นดินใหญ่ อ้วนพีแกะแพะวัวควาย บนแผ่นดินจีนวิ่งขวักไขว่ไปมา เสียงปี่เป่าเจื้อยแจ้ว ขับกล่อมเพลงเก่าเฝ้าใฝ่หา โหม่งฆ้องลั่นกลองมา มีเหล้ายาดื่มด่ำสำราญ ดูนั่นข้าวสาลี ฝ้ายสำลี ถั่วข้าว ธัญญาหาร ตวงเต็มปริ่มถังชื่นบาน เก็บไว้เต็มยุ้งฉางทั้งปี ดูนั่นแนวคันนา บ่อปลา ปศุสัตว์ พืชผลสดสี เก็บเกี่ยวผลพูลทวี ภาพเปรมปรีดิ์ผลิตผลงดงาม เลื่อมเลื่อมแสงเคียวขวาน วับวามทั่วทุกสถาน อาทิตย์สาดแสงทองเบิกบาน ลอยเด่นส่องตระหง่านไปทั่วแดน ความหวังอันแข็งแกร่ง แตกหน่อรากแทงทั่วแคว้น ใบไม้ผลิสุขเหลือแสน ส่งพรให้แผ่นดินจีน รอยยิ้มรื่นชื่นบาน สวนไร่นาอุดมทั่วถิ่น เสียงเพลงทุกที่ยิน บินจากใจเกษตรกร ดูเมืองเหนือแลแดนใต้ มังกรไฟ ระบำฟ้อน ชนทั่วบ้านเกิดเมืองนอน ครึกครื้นเริงรื่นชื่นใจ นั่นเชิงเขา นี่ชาวประมง เรือนสักหลาด เรือนไม้ไผ่ ทุกถิ่นมุ่งมั่นเดินหน้าไป สู่ความ ศิวิไล เบ่งบาน เลื่อมเลื่อมแสงขวานเคียว วับวามทั่วทุกสถาน อาทิตย์พรายแสงทองเบิกบาน แผ่ฉายฉานทั่วผืนแผ่นดินจีน


เพลงจีนชื่อ จ้าย จงกว๋อ ต้าตี้ ซ่าง《在中国大地上》Zài Zhōnɡ ɡuódà dìshànɡ แปลเป็นภาษาไทยว่า บนผืนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ ประพันธ์คำร้องโดย เฉียวฟาง (乔方Qiáo Fānɡ) ประพันธ์ทำนองโดย ซื่อซิน (士心Shì Xīn) เผยแพร่ครั้งแรกในงานฉลองปีใหม่แห่งชาติจีนเมื่อปี  1991 ผู้ขับร้องคนแรกคือ เผิงลี่หยวน (彭丽媛Pénɡ Lìyuán) เป็นเพลงสดุดีการปฏิวัติการปกครอง ด้วยคุณความดีของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ทุ่มเทฝ่าฟันทุกข์ยากลำบากเพื่อนำพาชาวจีนและประเทศจีนสู่ชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น ชีวิตที่สดใส รุ่งเรือง ประเทศชาติพัฒนาก้าวไกล นับเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่พรรคคอมมิวนิสต์สร้างให้กับแผ่นดินจีนและประชาชนชาวจีน ต่อแต่นี้ไปความหวังของประเทศฝากไว้กับประชาชนชาวจีนทุกคน ที่จะร่วมใจเดินตามแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อร่วมกันสร้างชาติจีนให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกร ความงดงามของเพลงนี้ไม่เพียงอยู่ที่ท่วงทำนองที่ไพเราะเท่านั้น หากแต่เป็นการสรรเสริญความงดงามของมาตุภูมิ และสร้างความภาคภูมิให้เกิดขึ้นในจิตใจของลูกหลานจีนทุกคน
            ทำนองเพลงแบ่งเป็นสองช่วงคือ ช่วงเริ่มต้นเพลงเป็นจังหวะสนุกสนาน คึกคัก ครึกครื้นเริงรื่นชื่นบาน แสดงออกถึงภาพของความสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองในฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่สามารถเก็บเกี่ยวพืชพรรณธัญญาหารไว้ได้เต็มยุ้งฉาง ปศุสัตว์อ้วนท้วนสมบูรณ์ โดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองที่สื่อถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนชาวจีน ให้ความรู้สึกสนิทสนมแน่นแฟ้น ส่วนทำนองช่วงกลาง และช่วงจบ ตรงคำร้องที่ว่า

蓬勃的太阳,升腾在中国大地上
pénɡbó de tàiyánɡ, shēnɡténɡ zài Zhōnɡɡuó dà dìshànɡ
อาทิตย์พรายแสงทองเบิกบาน     แผ่ฉายฉานทั่วผืนแผ่นดินจีน

จังหวะช้าลง แต่ฟังดูอบอุ่น ยิ่งใหญ่ สุขุม ใช้คำว่า พระอาทิตย์ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการปกป้องคุ้มครอง  การดูแลประชาชนและการนำหน้าสู่การพัฒนาประเทศด้วยก้าวย่างที่มั่นคงของรัฐบาล เพื่อนำความสมบูรณ์พูนสุขมาสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่บน ผืนแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่แห่งนี้             
จุดเด่นของเพลงนี้คือ การนำเอกลักษณ์โดดเด่นที่เลือกมาจากชุมชนหลากหลายพื้นที่ หลายชนเผ่า และหลายวัฒนธรรมทั่วทั้งแผ่นดินจีนมารวมอยู่ในเพลง ไม่ว่าจะเป็นทัศนียภาพภูมิประเทศของจีน เช่น ภูเขา แม่น้ำ ชุมชน  การเพาะปลูกและผลผลิตเช่น ข้าว ถั่ว สำลี  การประกอบอาชีพเช่น ปศุสัตว์ แกะ วัว เรือกสวน ไร่นา การประมง เครื่องไม้เครื่องมือเกษตรกรรมเช่น ขวานเคียว ศิลปวัฒนธรรมเช่น การขับร้อง เต้นรำ เสียงไชโยโห่ร้อง ตีฆ้องร้องป่าว ปี่แตรบรรเลงรื่น    ชื่นบาน ตึกรามบ้านช่อง สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยที่สร้างด้วยไม้ไผ่ สักหลาด สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์แห่งการดำรงชีวิต ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวจีนทั้งประเทศ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ถึงความอุดมสมบูรณ์พูนสุข ใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ผลผลิตมากมาย สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายให้กับพี่น้องชาวจีนบนผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลตั้งแต่เหนือจรดใต้แห่งนี้  เหนือชีวิตที่อยู่ดีกินดีมีความสุขขึ้นไปก็คือ ความมุมานะพยายามของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ตรากตรำ มุ่งสร้างชาติ พัฒนาประเทศให้มั่นคงก้าวหน้า มุ่งสู่ความวัฒนาเพื่อความผาสุกสวัสดีของปวงชนตลอดไป
คำว่า เป่ยกว๋อ (北国Běiɡuó) ที่ปรากฏในเพลง หมายถึง แดนเหนือ หรือ ปัจจิมประเทศ คือดินแดนแมนจูเรีย ที่อยู่ในบริเวณตอนเหนือของประเทศจีน ใช้คู่กับคำว่า หนานกว๋อ     (南国 Nánɡuó) หมายถึงพื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ในเพลงนี้เรียกว่า หนานเจียง (南疆 Nán  jiānɡ) ซึ่งก็หมายถึงพื้นที่ทางตอนใต้เช่นเดียวกัน  
สัญลักษณ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรมทางเหนือในเพลงนี้  คือ จานฝาง  (毡房zhānfánɡ) หมายถึง เรือนสักหลาด และ ระบำยางเกอ (秧歌 yānɡɡe)
ภาพจาก http://www.ucatv.com.cn/uploads/allimg/121101/1156111.jpg
เรือนสักหลาด (毡房zhānfánɡ) เป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยเผ่าคาซัคของจีน อาศัยอยู่บริเวณ เขตปกครองตนเองเวยอูร์ (维吾尔 Wéi wú ěr) มณฑลซินเจียง
 (新疆 Xīnjiānɡ) ลักษณะเด่นของที่อยู่อาศัยประเภทนี้ คือ สร้างเป็นกระโจมทรงกลม แล้วมุงด้วยสักหลาด มีความสะดวกสบาย โยกย้ายง่าย ทั้งยังป้องกันอากาศหนาวเหน็บ กันฝน กันลมได้เป็นอย่างดี ชาวคาซัคนิยมสร้างบ้านเป็นกระโจมอยู่ตามทุ่งหญ้า ได้รับขนานนามว่า วังขาวแห่งท้องทุ่ง 

ระบำยางเกอ      (秧歌 yānɡɡe) เป็นศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของภาคเหนือ บริเวณ สานเป่ย (陕北 Shǎn   běi) เหอเป่ย (河北 Héběi) ปักกิ่ง(北京 Běi jīnɡ) เหลียวหนิง (辽宁liáonínɡ) หัวเป่ย (华北 Huáběi) เป็นระบำที่เป็นเอกลักษณ์ของจีนโดยแท้ ท่วงท่าสนุกสนาน ท่าระบำไม่สลับซับซ้อน เป็นท่าเต้นพื้นเมืองที่นับเป็นพื้นฐานศิลปะการร่ายรำของจีน การเต้นระบำเต้นตามจังหวะกลอง ฉาบ โหม่ง เป็นจังหวะสนุกสนาน รื่นเริง พบเห็นในงานเทศกาลรื่นเริง เฉลิมฉลองทั่วๆไป ผู้แสดงแต่งกายด้วยผ้าแพรสีสันฉูดฉาด โดยมากเป็นสีแดง และเขียวสด มักถือริบบิ้น ผ้าสักหลาด ผ้าแพร ร่ม โคม พัด ประกอบลีลาการเต้นระบำ
สัญลักษณ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรมทางใต้ที่ปรากฏในเพลง คือ จู๋โหลว (竹楼 zhúlóu) เรือนไม้ไผ่ เป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย เอกลักษณ์พื้นเมืองอันโดดเด่นของชนกลุ่มน้อยชาวไตในสิบสองปันนา ตั้งอยู่พื้นที่ทางตอนใต้ของจีน  เรือนไม้สร้างแบบใต้ถุนสูงเป็นคอกเลี้ยงวัวควายและม้า พื้นที่อาศัยของเจ้าของบ้านอยู่ชั้นสอง มีบันไดไม้พาดขึ้นบ้าน  ฝาบ้าน ประตู หน้าต่าง ล้วนทำด้วยไม้แผ่นหรือไม้ไผ่ หลังคาทำเป็นมุมจั่ว มุงด้วยหญ้าหรือไม้แผ่น มีชานบ้านที่ไม่มีหลังคา คล้ายกับเรือนไม้ตามชนบทของไทย
ภาพจาก http://www.hswsd.com/upload/product/2012-02/12121911.jpg
วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวฮั่น ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของจีนก็คือ เติงหลง  
(龙灯lónɡdēnɡ) คือ การเชิดมังกร เป็นศิลปะการละเล่นของชาวฮั่น ประดิษฐ์เป็นโคมไฟมังกรความยาว 20 70 เซนติเมตร การเชิดมังกรใช้คนเชิดหลายคนเป็นแถวยาวตลอดลำตัวมังกร  การเชิดใช้กลอง ฉาบ โหม่ง ตีบรรเลงเป็นจังหวะที่ครึกครื้น รื่นเริง เอิกเริก  เพื่อการเฉลิมฉลองในงานเทศกาลมงคลต่างๆ
สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหารคือ อู๋กู่ (五谷wúɡǔ) เบญจธัญญาหาร  เป็นการจัดกลุ่มธัญพืชห้าอย่างของจีนในสมัยโบราณ ซึ่งมีวิธีจัดสองแบบ คือ แบบที่หนึ่งมี  ข้าวจ้าว (稻dào), ข้าวโพด (黍shǔ), ข้าวชนิดหนึ่ง (稷jì), ข้าวสาลี (麦mài), พืชจำพวกถั่ว (菽shū) ส่วนแบบที่สองมี งา (麻má), ข้าวโพด (黍shǔ), ()ข้าวชนิดหนึ่ง (稷  jì), ข้าวสาลี (麦mài), พืชจำพวกถั่ว (菽shū) ข้อแตกต่างของการแบ่งประเภททั้งสองคือ แบบที่หนึ่งมีข้าวจ้าวไม่มีงา แบบที่สองมีงาไม่มีข้าวจ้าว
() คือ ธัญพืชชนิดหนึ่งในสมัยโบราณ  บางตำราก็ว่าเป็นประเภทข้าวโพด บางตำราก็บอกว่าเป็นประเภทข้าว โบราณถือว่า พืชชนิดนี้เป็นต้นกำเนิดของพืชธัญญาหารนานาชนิด จึงถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งธัญพืช
 ชม MV เพลงนี้ได้ที่ www.youtube.com ใช้คำค้นหาว่า On the Land Called China   

เนื้อเพลง
五谷的芳香,       飘荡在中国大地上,
肥壮的牛羊,      奔跑在中国大地上,
一声声的唢呐,     唱出古老的向往,
一阵阵的锣鼓,     道出崭新的酣畅。
你看那小麦、      大豆、棉花、高粱,
装满了谷屯,      装满了谷屯粮仓。
你看那田埂、      鱼塘、果园、牧场,
到处是丰收,      丰收景象。
镰刀和斧头,       闪光在中国大地上,
蓬勃的太阳,      升腾在中国大地上。
茁壮的希望,       生长在中国大地上
春天的祝愿,      回旋在中国大地上。
一片片的笑语,    萦绕农家的小圆,
一曲曲的欢歌,    飞出牧人的胸膛。
你看那北国、南疆、龙灯、秧歌,
人人都喜气,      人人都喜气洋洋。
你看那山寨、渔村、竹楼、毡房,
到处都走向,      走向兴旺。
镰刀和斧头,       闪光在中国大地上,
蓬勃的太阳,      升腾在中国大地上。
 
ความหมายของเนื้อเพลง
หอมกรุ่นกลิ่นธัญญา                   ทั่วพสุธาจีนแผ่นดินใหญ่
อ้วนพีแกะแพะวัวควาย                บนแผ่นดินจีนวิ่งขวักไขว่ไปมา
เสียงปี่เป่าเจื้อยแจ้ว                     ขับกล่อมเพลงเก่าเฝ้าใฝ่หา
โหม่งฆ้องลั่นกลองมา                  มีเหล้ายาดื่มด่ำสำราญ
ดูนั่นข้าวสาลี                              ฝ้ายสำลี ถั่วข้าว ธัญญาหาร
ตวงเต็มปริ่มถังชื่นบาน                 เก็บไว้เต็มยุ้งฉางทั้งปี
ดูนั่นแนวคันนา                           บ่อปลา ปศุสัตว์ พืชผลสดสี
เก็บเกี่ยวผลพูลทวี                       ภาพเปรมปรีดิ์ผลิตผลงดงาม
เลื่อมเลื่อมแสงเคียวขวาน            วับวามทั่วทุกสถาน
อาทิตย์สาดแสงทองเบิกบาน        ลอยเด่นส่องตระหง่านไปทั่วแดน
ความหวังอันแข็งแกร่ง                 แตกหน่อรากแทงทั่วแคว้น
ใบไม้ผลิสุขเหลือแสน                  ส่งพรให้แผ่นดินจีน
รอยยิ้มรื่นชื่นบาน                        สวนไร่นาอุดมทั่วถิ่น
เสียงเพลงทุกที่ยิน                       บินจากใจเกษตรกร
ดูเมืองเหนือแลแดนใต้                 มังกรไฟ  ระบำฟ้อน
ชนทั่วบ้านเกิดเมืองนอน               ครึกครื้นเริงรื่นชื่นใจ
นั่นเชิงเขา นี่ชาวประมง                เรือนสักหลาด เรือนไม้ไผ่
ทุกถิ่นมุ่งมั่นเดินหน้าไป                สู่ความ ศิวิไล เบ่งบาน
เลื่อมเลื่อมแสงขวานเคียว            วับวามทั่วทุกสถาน
อาทิตย์พรายแสงทองเบิกบาน       แผ่ฉายฉานทั่วผืนแผ่นดินจีน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น