วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

สังข์ : ในมุมมองของเครื่องดนตรีโบราณของจีน

ภาพนี้คัดลอกมาจาก http://photo.mipang.com/uploads/image/070924/40893_14669_0f3b2d110c.jpg


สังข์  ภาษาจีนเรียกว่า ไห่หลัว หมายถึงหอยทะเล เป็นเครื่องเป่าที่นิยมของชาวฮั่นแถบพื้นที่ติดทะเล  และโดยเฉพาะบริเวณทิเบต มองโกเลียใน ชิงไห่ เสฉวน ยูนนาน กานซู่ กว่างตง กว่างซี ฝูเจี้ยน จี๋หลิน และเหลียวหนิง ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ขอตลอดจนชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ   ได้แก่ ชาวทิเบต ชาวมองโกล ชาวน่าซี ชาวไต ชาวหม่าน (แมนจู) และชาวจิง ชาวฮั่นมีชื่อเรียกสังข์หลายชื่อ เช่น หลี่ (เปลือกหอย)  ฟ่านเป้ย (หอยพุทธ) ไห่หลัวเฮ่า (สังข์สัญญาณ) ฝ่าหลัว (หอยมนตรา) เป็นต้น ชาวทิเบตเรียกชื่อสังข์ว่า ตง, ฉั้ว, ตงการ์ ชาวมองโกล เรียกสังข์ว่า ตงซือ ชาวไตเรียกว่า สัง   
 สังข์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในสมัยเป่ยเว่ย ดังมีหลักฐานภาพสลักผาหยวินกั่งในยุคหนานเป่ย ช่วงราชวงศ์เป่ยเว่ย (เว่ยเหนือ ปี 386 534)  มีรูปคนเป่าเครื่องดนตรีที่มีรูปร่างคล้ายสังข์  ในบันทึกสมัยราชวงศ์ซ่ง ชื่อว่า เยว่ซู  (คีตจารึก) มีบันทึกไว้ว่า สังข์  คือหอยทะเลขนาดใหญ่  ณ เพลานี้ดนตรีพุทธาใช้บรรเลง ร่วมกับโหม่ง  ดังเรียกขานกันว่า พิธีกรรมสังข์มนตรา   
สังข์  เดิมเป็นเครื่องดนตรีที่มีถิ่นกำเนิดมาจากอินเดีย เผยแพร่เข้าสู่ประเทศจีนโดยทางพุทธศาสนา ในคริสต์ศตวรรษที่  7  ดังมีบันทึกไว้ในคัมภีร์พุทธศาสนาฉบับแปลเป็นภาษาจีนหลายตอน เช่น คัมภีร์  Saddharma Pundarika Sutra  (สัทธรรมปุณฑริกสูตร) แปลโดย  Kumarajiva (ปี 343 - 413) บทที่หนึ่ง บันทึกว่า เป่าสังข์ ให้มนุษย์มีสุข ตีกลอง เป่าเขา (เขาวัว) หอย เซียว(ขลุ่ยเป่า) ตี๋(ขลุ่ยผิว) พิณ ผีพา กระดิ่ง ระฆัง โหม่ง สำเนียงบรรเลงดั่งนี้ บำเรอสุขให้ผู้คน    ในคัมภีร์ชื่อ Mahabheriharaka-parinirvana   (Sutra of the Great Drum) ที่แปลโดย Angulimaliyasutra (ปี 394 - 468) ก็มีบันทึกว่า เป่าสังข์มนตรา เป็นทำนองดนตรีคีตา มีมาแต่แคว้นใต้
รูปลักษณ์ของสังข์ บางส่วนพัฒนาขึ้นหลังจากที่เข้ามาสู่ทิเบตแล้ว สังข์สามารถเป่าได้เพียงเสียงเดียวเท่านั้น ไม่มีเสียงสูงต่ำ ตัวสังข์มักเลี่ยมทองและเงินประดับประดาบนตัวหอย เรียกการประดับนี้ว่า การเลี่ยมปีกสังข์ 
ในรัชสมัยถังเจินหยวน ปีที่ 17 (ค.ศ. 801)  มีบันทึกว่า ประเทศทางใต้ชื่อ ชาติเปียว (ปัจจุบันคือประเทศพม่า) ส่งเครื่องบรรณาการ เป็น สังข์หยก เพลงบรรณาการล้วนเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างใกล้ชิด กวีในสมัยถังชื่อ ไป๋จวีอี้  เขียนบทกลอนชื่อ คีตะชาติเปียว (ดนตรีแห่งพม่า) มีช่วงหนึ่งกล่าวถึงสังข์ว่า เมื่อสังข์หยกเป่าดัง   มโหระทึกลั่นก้อง ขนลุกพอง
สุสานอ๋องในสมัยอู่ใต้ (ห้าราชวงศ์) ซึ่งเป็นสมัยที่ต่อจากสมัยถัง ขุดพบหินสลักเป็นรูปสตรีเป่าสังข์ แสดงว่า สังข์ เมื่อเข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนา นิยมแพร่หลายในทิเบตแล้ว ได้กระจายความนิยมสู่ชาวฮั่นด้วย
  点击浏览下一页 
ภาพสลักหินที่ขุดพบในสุสานสมัยห้าราชวงศ์

หนังสือซานฉายถูฮุ่ย ของผู้แต่งหวังฉี ซึ่งแต่งในสมัยหมิง บันทึกไว้ว่า ใช้สังข์ใหญ่ เป่าในพิธีพราหมณ์  
                ปัจจุบันมีสังข์โบราณเก็บรักษาไว้หลายที่  ที่พระราชวังโปตาลา ที่ทิเบต เก็บรักษาสังข์มนตราเลี่ยมเงินไว้หนึ่งตัว   ความยาวลำตัว 57.7 เซนติเมตร ปีกยาว 38.2 เซนติเมตร ปีกกว้าง 23 เซนติเมตร ปากเป่ายาว 11 เซนติเมตร ปากสังข์มีความยาวตลอดศูนย์กลาง 4.2  เซนติเมตร  เส้นผ่าศูนย์กลางรูเป่า 1.8 เซนติเมตร ได้รับขนานนามว่า เป็นประมุขของสังข์
                ที่วัดซาเจีย ที่ทิเบต ก็มีสังข์มนตราเก็บรักษาไว้หนึ่งตัว เป็นสังข์ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยหยวน รัชสมัยชินชื่อฮ่องเต้
                สำนักวิจัยศิลปกรรมแห่งชาติที่เมืองปักกิ่ง ฝ่ายพิพิธภัณฑ์ดนตรีจีน ได้เก็บรักษาสังข์ไว้หลายตัว สังข์ส่วนใหญ่เป็นสังข์สีขาว บ้างก็มีสีน้ำตาลปน มีลายสีเหลือง หรือลายจุด ในจำนวนนี้มีสังข์ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าเฉียนหลง (ปี 1736 - 1795) ซึ่งเป็นยุคที่บ้านเมืองสงบสุข  เศรษฐกิจสังคมรุ่งเรือง ประกอบกับฮ่องเต้ผู้นี้เป็นผู้รักงานศิลปะ สิ่งของทั้งเครื่องบรรณาการ และของใช้ในราชสำนักล้วนแสดงออกถึงศิลปะชั้นสูง สังข์ของเฉียนหลงฮ่องเต้ ทำมาจากเปลือกหอยสีขาวที่ได้จากธรรมชาติ ขัดปลายยอดให้เรียบ เลี่ยมด้วยโลหะเป็นปากเป่า ลำตัวสังข์เลี่ยมด้วยโลหะประดับประดางดงาม ด้านข้างด้านหนึ่งแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ อีกด้านหนึ่งสลักคำว่า เฉียนหลงทรงประดิษฐ์ ความยาว 35 เซนติเมตร ยังมีสังข์ของจักรพรรดิเฉียนหลงที่ทรงคุณค่าทางศิลปะชั้นสูงอีกตัว คือ สังข์ลายดอกบัว ความยาว 12.7 เซนติเมตร กว้าง 6.5 เซนติเมตร หนา 5.1 เซนติเมตร   แกะสลักพื้นผิวเปลือกหอยเป็นลายดอกบัว นับเป็นงานศิลปกรรมชิ้นเอกที่ทรงคุณค่ามากชิ้นหนึ่งของแผ่นดินจีน
                ปัจจุบัน สังข์ ทำมาจากเปลือกหอยสังข์ที่เติบโตในทะเลตามธรรมชาติ  เนื่องจากเป็นสังข์ที่เกิดและโตในธรรมชาติ จึงไม่สามารถกำหนดขนาดได้ โดยมากจะเลือกสังข์ที่มีขนาดความยาว 25 33 เซนติเมตร เลือกเปลือกหอยที่มีสีขาวบริสุทธิ์ สะอาด หรือหอยที่มีลายเส้น ถือว่าเป็นหอยที่ดี ขัดปลายยอดให้เรียบ   ด้านยอดแหลมเจาะรูกลมเล็ก ๆ สำหรับเป่า  บ้างร้อยสายที่ปลายทั้งสองด้าน ใช้สำหรับคล้องคอผู้บรรเลง  บ้างเลี่ยมโลหะ เงิน ทองเพื่อความงดงาม  แต่ที่นิยมมากคือ เงิน
น้ำเสียงของสังข์ เสียงจะใหญ่หรือเล็ก ขึ้นอยู่กับลายเส้นบนตัวสังข์ ถ้าเส้นเล็กละเอียด จะได้เสียงที่ใส กังวาน แต่ถ้าเป็นลายเส้นห่างและใหญ่ จะมีน้ำเสียงหนัก ลึก 
ในดินแดนทิเบตและมองโกล สังข์เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในศาสนาลามะ เป็นเครื่องดนตรีพิธีกรรมประจำวัดที่วัดทุกแห่ง ปัจจุบันใช้บรรเลงในช่วงหยุดพักเวลาสวดมนตร์  ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา พิธีศพ จากบันทึกทางประวัติศาสตร์พบว่า ในสมัยโบราณ ทหารชาวทิเบตใช้เป็นเครื่องบอกสัญญาณทางทหาร ใช้เป่าเพื่อเรียกรวมพล หรือเป็นสัญญาณเรียกประชุม   ในด้านการสวดพระธรรม เสียงสังข์ถือเป็นเสียงตัวแทนของพระพุทธเจ้า ที่มีเสียงใสกังวาน ฟังดูยิ่งใหญ่กึกก้อง ทรงพลัง จึงใช้ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาต่างๆ และยังใช้ในพิธีศพด้วย การบรรเลงมือซ้ายถือสังข์ ปากอมรูเป่า เป่าลมเข้าให้เกิดเสียง ไม่มีเสียงสูงต่ำ
                ในชุมชนชาวทิเบต สังข์ ยังเป็นหนึ่งในอัษฏมงคล (แปดวัตถุมงคล)   ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน อีกด้วย สิ่งมงคลแปดอย่างที่ว่านี้ คือ ธรรมจักร สังข์ ฉัตร ปลาคู่ ดอกไม้ ศรีวัตสะ ปูรณฆตะ และเบญจา
ปัจจุบันชาวทิเบต มองโกล ยังคงใช้สังข์บรรเลงในพิธีกรรมต่างๆ ส่วนชาวฮั่น ใช้สังข์ในวงดนตรีพื้นเมืองในพื้นที่ติดชายทะเล เช่น มณฑลกว่างตง ฝูเจี้ยน  เจ้อ เจียง ใช้เป็นเครื่องดนตรีเฉพาะในการบรรเลงเพลง โจวซานหลัวกู่” (โหม่งกลองแห่งหุบเขาโจว) หรือใช้ในการแสดงการออกรบสมัยโบราณ ใช้เป่าเป็นสัญญาณรวมพล เสียงของสังข์ที่ได้จากหอยธรรมชาติ มีเสียงทุ้มต่ำ ล้ำลึก ดังกังวาน ก้องไกล น่าวังเวงและเกรงขาม ในบทเพลงที่บรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ จะใช้เสียงของสังข์เป็นเสียงที่สร้างสีสันและ
จินตนาการ แห่งห้วงมหาสมุทร


http://www.hongxiao.com/dy/Article/UploadFiles/200509/20050911130816819.jpg
ภาพสลักหิน สตรีเป่าสังข์ที่พบในสุสานสมัยห้าราชวงศ์
สังข์ ทิเบต หลังจากเผยแพร่เข้ามาจากอินเดียสู่แล้ว ชาวทิเบตประดับประดาด้วย เลี่ยมด้วยเงิน สลัก ประดับหินสี ซึ่งเป็น ศิลปะอย่างทิเบตhttp://photo.mipang.com/uploads/image/070924/40893_14669_0f3b2d110c.jpg
สังข์ลายดอกบัว ของจักรพรรดิเฉียนหลงฮ่องเต้  แห่งราชวงศ์ชิง
    
สังข์เลี่ยมเงินสลัก ศิลปะแบบทิเบต
 
สังข์ที่แกะสลัก และประดับประดาด้วยหินสี ศิลปะอย่างทิเบต
ภาพชนกลุ่มน้อยเผ่าฮานี เป่าสังข์ 
ที่วัดหย่าเจียง พระลามะชาวทิเบต เป่าสังข์รับปีใหม่ 

ชาวฮั่นใช้สังข์เป่าเป็นสัญญาณ ในการแสดงการออกรบสมัยโบราณ
 
ภาพวาดพุทธศิลป์รูปสังข์ ศิลปะทิเบต เป็นรูปเคารพ  สังข์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอัษฏมงคล (แปดวัตถุมงคล)   เพราะถือว่า เสียงของสังข์เป็นเสียงตัวแทนของพระพุทธเจ้า


พระทิเบตเป่าสังข์ในพิธีสวดมนตร์ของศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน ซึ่งเป็นศาสนาประจำของชาวทิเบต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น