วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การพรรณนาภาษาสุ่ยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน.(ส่วนที่2)

เมชฌ สอดสองกฤษ.(2558) การพรรณนาภาษาสุ่ยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 16  ฉบับ ที่1 (เดือนมกราคม – มิถุนายน 2559)  

(ส่วนที่ 2)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4. ระบบไวยากรณ์ ภาษาสุ่ยเป็นภาษาคำโดด คำแต่ละคำมีความหมายในตัวเองและใช้ได้โดยอิสระ ไม่มีการเติมหน่วยคำเติมลงในคำเพื่อทำให้คำเปลี่ยนแปลงหน้าที่หรือลักษณะทางไวยากรณ์ รูปแบบการประกอบคำและประโยคเป็นการนำคำมาเรียงต่อๆกันตามลำดับและโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่กำหนด โดยมีรูปแบบไวยากรณ์ที่สำคัญๆ ดังนี้ 
          4.1  โครงสร้างประโยคความเดียวพื้นฐาน คือ [ S.V.O ]  ตัวอย่างประโยคเช่น  
luŋ2 te5 da:i
ลุง     ขุด  ดิน
ลุงขุดดิน

 diu1 fan2 sui3
เรา     พูด   สุ่ย
เราพูดสุ่ย
ju2 to5 man5
กู   สอน  มัน
ฉันสอนเขา
man1 ȶoi ʔɣa5
มัน      ไถ      นา   
เขาไถนา
1.2        มีการใช้คำลักษณนาม  ภาษาสุ่ยมีการใช้คำลักษณนาม ซึ่งมีรูปแบบต่างๆกัน
จะอธิบายแบ่งเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้
(1)   คำลักษณนามของคำนาม รูปแบบคือ [ตัวเลข+ลักษณนาม+นาม]
บางครั้งคำลักษณนามสามารถละได้ ตัวอย่างเช่น  
[ตัวเลข + ลักษณนาม+นาม]
รูปแบบคำลักษณนาม
ละคำลักษณนาม
ความหมาย
ลักษณนามของคำนาม
ɕi5 to2* ep7
สี่    ตัว  เป็ด
* อ.=โต
ɕi5  ep7*
สี่    เป็ด
(จ.=) (จ.โบ. qräp)
เป็ดสี่ตัว
ɣa2 ai3 fe2
สอง คน  พี่สาว
ɣa2 fe2
สอง พี่สาว
พี่สาวสองคน
(2)   คำลักษณนามของคำกริยา มีสองแบบ คือ ลักษณนามของกริยาที่ยืม
คำนามมาใช้เป็นลักษณนาม มีรูปแบบคือ [คำกริยา+ตัวเลข +ลักษณนาม] ตัวอย่างเช่น   
[คำกริยา+ตัวเลข +ลักษณนาม]
รูปแบบคำลักษณนาม
ความหมาย
ลักษณนามของคำกริยา
qa1 ljok8   ͫ be1
เรียน  หก   ปี
เรียนหกปี
tsje1 ŋo4 tui4
กิน    ห้า  ถ้วย
กินห้าถ้วย
                             อีกรูปแบบหนึ่งคือ คำลักษณนามแท้ของคำกริยา มีรูปแบบต่างจากข้างต้น คือ [ตัวเลข + ลักษณนาม + กริยา] และมีรูปแบบลดรูป คือ ละคำลักษณนาม [ตัวเลข+กริยา] ตัวอย่างเช่น   
[ตัวเลข + ลักษณนาม + กริยา]
รูปแบบคำลักษณนาม
ละคำลักษณนาม
ความหมาย
ลักษณนามของคำกริยาปกติ
ljok8 phja3 pai2
หก    ครั้ง    ไป
ljok8 pai2
หก    ไป
ไปหกครั้ง
ha:m1 phja3 ta:p7
สาม    ครั้ง    เลือก
ha:m1 ta:p7
เลือกสามครั้ง
(3)   ลักษณนามลำดับที่ รูปแบบการใช้คำลักษณนามที่ใช้บอกลำดับ คือ
[ลักษณนาม(นาม) + ที่ + ตัวเลข] ดังตัวอย่างต่อไปนี้
[ลักษณนาม(นาม) + ที่ + ตัวเลข]
รูปแบบคำลักษณนาม
ความหมาย
ลักษณนามลำดับที่
van1 ti6 ha:m1
วัน     ที่   สาม
วันที่สาม
pən3* (จ.=běn) ti6 ɣa2
เล่ม    ที่  สอง
เล่มที่สอง
(4)   ลักษณนามที่มีคำบ่งชี้  จะใช้รูปแบบ [ตัวเลข + ลักษณนาม + นาม +
คำบ่งชี้] ดูคำอธิบายหัวข้อถัดไป 
4.3    รูปแบบการใช้คำบ่งชี้  คำสรรพนามประเภทบ่งชี้ในภาษาสุ่ยมีสองคำคือ
คำบ่งชี้ ระยะใกล้ /na:i6/ “นี้” และคำบ่งชี้ระยะไกล /tsa5/ “นั่น” คำบ่งชี้นี้จะวางไว้ตำแหน่งท้ายสุดของคำหรือวลี คือวางไว้ต่อจากส่วนที่ต้องการบ่งชี้ หากใช้บ่งชี้คำก็วางไว้หลังคำ ใช้บ่งชี้วลีก็วางไว้หลังวลี โครงสร้างคือ [ส่วนที่ต้องการบ่งชี้ + คำบ่งชี้ ] ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 
to2 m̥u5 na:i6
ตัว  หมู    นี้
หมูตัวนี้

ɣa2 to2 m̥u5 na:i6
สอง  ตัว  หมู   นี้
หมูสองตัวนี้
 ͫ be1 tsa5
ปี        นั้น
ปีนั้น
ɣa2 to2 po4 la:u4 tsa5
สอง ตัว   วัว    ใหญ่  นั้น
วัวตัวใหญ่สองตัวนั้น
                    4.4 การขยายความ การขยายความในที่นี้คือการวางตำแหน่งของคำหลักที่ถูกขยายและตำแหน่งของคำที่ทำหน้าที่ขยายคำอื่น มีรูปแบบ ดังนี้   
การขยายคำนาม คำคุณศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยายคำนามมีทิศทางการขยายไปข้างหลัง
รูปแบบคือ [คำหลัก + คำขยายตัวอย่างประโยคเช่น  
ตัวอย่าง
ความหมาย

ตัวอย่าง
ความหมาย
po4 la:u4
วัว    ใหญ่
วัวใหญ่
duk7 m̥ai5
เสื้อ   ใหม่
เสื้อใหม่
nu2 va:ŋ1
ภูเขา   สูง
ภูเขาสูง
m̥u5 pi2
หมู   พี(อ้วน)
หมูอ้วน
การขยายคำคุณศัพท์และคำกริยา   คำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายคำคุณศัพท์เพื่อบอกระดับ
ความเข้มข้น คุณภาพ ปริมาณ คือคำว่า /ɕo3/ “มาก” จะวางไว้หลังคำคุณศัพท์ที่ต้องการขยาย ส่วนคำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายคำกริยาเพื่อบอกความหมายเดียวกันนี้ใช้คำว่า /naŋ6/ “มาก” วางไว้หน้าคำกริยาที่ต้องการขยาย ตัวอย่างคำเช่น
คุณศัพท์ + /ɕo3/

/naŋ6/ + กริยา
ตัวอย่าง
ความหมาย

ตัวอย่าง
ความหมาย
ha:n3 ɕo3
แดง   มาก
แดงมาก
naŋ6 taŋ1
มาก     มา
มาบ่อยมาก
kuŋ2 ɕo3
เยอะ  มาก
เยอะมาก
naŋ6 tok7 fən1
มาก   ตก    ฝน
ฝนตกหนักมาก
ʔnam3 ɕo3
บ่อย     มาก
บ่อยมาก

naŋ6 uk7 nuk8
มาก  ออก  ดอก
ดอกไม้บานเยอะมาก
                   4.5 การแสดงความเป็นเจ้าของ รูปประโยคของการแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาสุ่ย คือ [+ส่วนที่ถูกเป็นเจ้าของ ±/ to2/+เจ้าของ] คำว่า /to2/ “ของ” สามารถละได้  ดังจะเห็นว่าคำที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของนี้เหมือนกับภาษาจีน คือคำว่า de โครงสร้างทางไวยากรณ์ก็เป็นอย่างเดียวกันกับภาษาจีน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
รูปแบบ
+คำแสดงความเป็นเจ้าของ
-คำแสดงความเป็นเจ้าของ
ความหมาย
[+ส่วนที่ถูกเป็นเจ้าของ±/to2/+เจ้าของ]
le1     to2  ju2[1]
หนังสือ ของ  กู
le1     ju2
หนังสือ กู
หนังสือของฉัน
pu4 to2 man1
พ่อ  ของ  มัน
pu4  man1
พ่อ   มัน
พ่อของเขา
nai6 sɿ1 to2 man1
นี่     เป็น ของ  เขา
ไม่สามารถละคำแสดงความเป็นเจ้าของได้
นี่เป็นของเขา
          ในเรื่องการแสดงความเป็นเจ้าของนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับภาษากลุ่มไทอื่นๆ ที่อยู่ในประเทศจีนแทบทุกภาษามีการยืมคำแสดงความเป็นเจ้าของจากภาษาจีนมาใช้ บ้างยืมทั้งคำและไวยากรณ์ บ้างยืมเฉพาะคำแต่ไวยากรณ์เป็นของภาษาดั้งเดิม สำหรับภาษาสุ่ยมีการยืมทั้งคำ และรูปแบบไวยากรณ์ ที่รู้ว่าเป็นการยืมมาใช้เนื่องจากว่า ในบางภาษาเช่น ภาษาต้ง ภาษามู่หล่าว ภาษาเหมาหนาน มีโครงสร้างการแสดงความเป็นเจ้าของสองแบบ คือ คำและโครงสร้างภาษาดั้งเดิม และคำและโครงสร้างที่ยืมมาจากภาษาจีนใช้ควบคู่กันไป
4.5    ประโยคเปรียบเทียบ คำแสดงความหมายเปรียบเทียบคือคำว่า /to1/ “กว่า
 โครงสร้างประโยคเปรียบเทียบคือ [A+คุณศัพท์+/to1/+B]  ดังตัวอย่างต่อไปนี้       
[A+คุณศัพท์+/to1/+B]   
nu4 va:ŋ4 to1 fe2
น้อง  สูง    กว่า  พี่
 น้องสูงกว่าพี่
la:k8 nai6 da:i1 to1 la:k8 tsa5
ตัว    นี้     ดี      กว่า ตัว    นั้น
(เสื้อ) ตัวนี้ดีกว่าตัวนั้น
                   4.6 การบอกตำแหน่ง โครงสร้างของคำบอกตำแหน่ง เช่น บน ล่าง หน้า หลัง ซ้าย ขวา คำเหล่านี้จะวางไว้หน้าคำนามหรือสรรพนาม รูปแบบคือ [คำบอกตำแหน่ง + คำนาม/สรรพนาม] ดังตัวอย่างต่อไปนี้       
ȵa:u6 ʁa:u6 ɣa:n2
เนา    ใน       เฮือน
อยู่ในบ้าน

ȵa:u6 faŋ2 ʔnja1
เนา    ข้าง    แม่น้ำ
อยู่ข้างแม่น้ำ
ȵa:u6 u1 nu2
เนา     บน เขา
อยู่บนภูเขา
ȵa:u6 ʁa:u6 ʔɣa5
เนา    ใน      นา
อยู่ในนา
                    4.7 คำกริยาที่ต้องการกรรมสองตัว ในที่นี้คือคำว่า /ha:i1/ “ให้” มีโครงสร้างเป็นแบบเดียวกันกับภาษาจีน คือ [ประธาน +ให้ + กรรมรอง(ผู้รับ) + กรรมตรง(ของ/การกระทำ)] ดังตัวอย่างต่อไปนี้       
[ประธาน +ให้ + กรรมรอง
+ กรรมตรง ]
 ju2 ha:i1 nu4 ɕen2 (จ.=qián)
กู    ให้    น้อง  เงิน  
ฉันให้เงินน้อง
ju2   ha:i1 ȵa1   qoŋ1(จ.=gōng)
กู    ให้     เขา    ทำงาน     
ฉันทำงานให้เขา

5.ภาษาถิ่น หากเปรียบเทียบกับภาษาตระกูลไทอื่นๆ เช่น ไต จ้วง ต้ง หลี จะพบว่า ภาษาสุ่ยมีความแตกต่างของภาษาถิ่นไม่มากนัก แต่ละถิ่นสามารถใช้ภาษาถิ่นของตนสื่อสารกับถิ่นอื่นเข้าใจกันได้ นักภาษาศาสตร์จีน(Zhang Junru:1980,77-84)  ใช้เกณฑ์วงคำศัพท์และไวยากรณ์แบ่งภาษาถิ่น  สุ่ยออกเป็นสามถิ่น ซึ่งแต่ละถิ่นจะมีลักษณะเด่นต่างๆกันไป ดังนี้
5.1 การแบ่งเขตภาษาถิ่น ภาษาถิ่นสุ่ยแบ่งเป็นสามถิ่นในพื้นต่างๆดังนี้  
5.1.1 ถิ่นซานต้ง (山洞土语Shāndòng tǔyǔ) คือภาษาสุ่ยที่พูดอยู่ที่อำเภอ
ปกครองตนเองชาวสุ่ยซานตู (三都Sāndū)  ตำบลต่างๆ ได้แก่ ซานต้ง (山洞Shāndòng) สุ่ยหลง (水龙Shuǐlóng) จงเหอ(中和Zhōnghé) ป้าเจีย(坝街  Bàjiē) ล่านถู่(烂土 Làntǔ) เจียหรง(嘉荣  Jiāróng) เหิงเฟิง(恒丰Héngfēng) โจวถาน(周覃Zhōután)  จิ่วเชียน(九阡Jiǔqiān) เขตพื้นที่ตำบลเหยาชิ่ง(瑶庆Yáoqìng) ของอำเภอลี่โป(荔波Lìbō) และชุมชนชาวสุ่ยในเขตอำเภอหรงเจียง(榕江Róngjiāng)
          5.1.2 ถิ่นหยางอาน (Yáng’ān) คือภาษาสุ่ยที่พูดอยู่ในตำบลต่างๆ ของอำเภอซานตู(三都Sāndū) ได้แก่ หยางอาน(Yáng’ān) หยางลั่ว(羊落Yángluò) หลินเฉียว(林桥Línqiáo) และภาษาสุ่ยที่ตำบลต๋งเหมี่ยว(董渺Dǒngmiǎo) ของอำเภอตู๋ซาน(独山Dúshān
          5.1.3 ถิ่นพานต้ง (潘洞Pāndòng) คือภาษาสุ่ยที่พูดอยู่ที่ตำบลพานต้ง(潘洞Pāndòng) ของอำเภอตูหยวิน (都匀Dūyún) และภาษาสุ่ยที่ตำบลเวิงถาย(Wēngtái) ของอำเภอตู๋ซาน (独山Dúshān


5.2 ข้อเปรียบต่างของเสียงในภาษาถิ่น จากการเปรียบเทียบการออกเสียงของภาษาถิ่นแต่ละถิ่น พบข้อแตกต่างที่เด่นชัดของเสียงพยัญชนะ สรุปได้ดังนี้
ข้อเปรียบต่าง
ถิ่นซานต้ง
ถิ่นหยางอาน
ถิ่นพานต้ง
1.ถิ่นซานต้งมีเสียงพยัญชนะครบเป็นระบบ แต่ถิ่นหยางอานมีการแปรเป็นเสียงอื่น ในขณะที่ถิ่นพานต้งเสียงพยัญชนะกลุ่มเดียวกันเหลือน้อยที่สุด    
b  bj   ͫ b   ͫ bj
d  dj   d   dj
m  mj   ͫ b   ͫ bj
l   lj    ⁿd    dj
ͫ b   ͫ bj
d    dj
ตัวอย่างคำ
ba:n3 “บ้าน” bja:n3 “นาก
ͫ ba:n “ผู้ชาย  ͫ bja:ŋรวง
da:ŋ1 “สว่าง” djai5 “ตื้น
 ⁿdaŋ1“หอมdjai3 “ซื้อ


bən1”ฟ้า” bja:k7 “ผู้หญิง
da3”แข็ง” dja3 “ต้นกล้า
  ͫ beปีdaตา
mən1”ฟ้า”mja:k7“ผู้หญิง
la3 “แข็ง” lja3 ต้นกล้า
ͫ beปีdaตา

ba:n3 “บ้าน bjat7 “บิด
da:i1 “ดี” djoŋลูกอ้อด

ͫ ba:n3 “บ้าน ͫ bjat7 “บิด  da:i1“ดีdjoəŋลูกอ้อด
2.พยัญชนะนาสิก และ j ɣ ถิ่นซานต้งมีเสียงกักนำหน้า แต่ในถิ่นหยางอานและถิ่นพานต้งไม่มี
ˀm ˀn ˀnj ˀȵ ˀŋ
ˀj   ˀɣ
m   n   nj   ȵ   ŋ
j     ɣ
ตัวอย่างคำ
ˀmi1 “หมีˀnaŋ จมูก ˀnja1 “แม่น้ำ ˀȵam1 “กำมือ ˀŋuk7 “ก้ม
ˀja1 “ผ้า  ˀɣa5 นา
mi1 “หมี” naŋ จมูก nja1 “แม่น้ำ ȵam1 “กำมือ ŋuk7 “ก้มja1 “ผ้า  ɣa5 นา


ˀma1 “ผักˀna1 “หนาˀnjap7 “แคบ ˀȵam5 “ค่ำ ˀŋam1 คาบˀjut7“ข้าวต้มมัด  ˀɣa1นา


ma1 “ผัก” na1 “หนา” njap7 “แคบ ȵam5 “ค่ำ ŋam1 คาบ”jut7“ข้าวต้มมัด ɣa1นา
3.พยัญชนะนาสิกเสียงใสในภาษาถิ่นซานต้งแปรเป็นเสียงอื่นในภาษาถิ่นหยางอานและพานต้ง
m̥
h͂w (h͂u)
n̥
h͂
h͂j / h͂
ȵ̥. ŋ̥
ȵ̥.

ตัวอย่างคำ
m̥a1 “หมา   n̥a3 ธนู  
ȵ̥a:k7 หนา,ใหญ่  ŋ̥an5 “เย็น   
h͂wa1 “หมา   h͂a3 ธนู  
ȵa:k7 หนา,ใหญ่  ŋan5 “เย็น   

m̥ai5 “ใหม่   n̥u5 หนู  
ȵ̥u1 เหม็น  ŋ̥a:n5 “เย็น   

h͂w̥ai5 “ใหม่   h͂w̥u5 หนู  
h͂iu1 เหม็น  h͂ja:n5 “เย็น   
4.พยัญชนะเสียดแทรกริมฝีปากกับฟันในภาษาถิ่นซานต้งและภาษาถิ่นหยางอาน แปรเป็นพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปากในภาษาถิ่นพานต้ง
f v vj
xw(xu) w wj
ตัวอย่างคำ
fan1 “ไผ่”  van1 “วัน” vjan1 “ฟัน
xwan1 “ไผ่”  wan1 “วัน” wjan1 “ฟัน
5.เสียงที่ฐานกรณ์ลิ้นไก่ในภาษาถิ่นซานต้งแปรเป็นเสียงผนังคอในภาษาถิ่นหยางอานและภาษาถิ่นพานต้ง
ʁ
q ɣ h
q  ɣ ʔ
ตัวอย่างคำ
ʁa:u3“ใน ʁan1ไม้คาน
ʁam5  “อ่าง
qa:u3 “ใน  ɣan1ไม้คาน 
ham5  “อ่าง 


ʁa:p7 “ปรุงยา ʁa:ŋ5 ขวาง
ʁa:u3 “ใน 

qa:p7 “ปรุงยา   ɣa:ŋ5 ขวาง
ʔa:u3 “ใน 
 




                    5.3 คำศัพท์ภาษาถิ่น ระหว่างภาษาถิ่นทั้งสาม มีความแตกต่างกันของคำศัพท์ไม่มาก สามารถสื่อสารกันรู้เรื่อง แต่ก็ยังมีคำศัพท์เฉพาะถิ่นอยู่ จากการเปรียบเทียบวงคำศัพท์แต่ละถิ่นพบว่า ภาษาถิ่นซานต้งและหยางอานมีคำศัพท์ร่วมกันมากกว่า 80% ภาษาถิ่นซานต้งกับพานต้งมีคำศัพท์ร่วมกันมากกว่า 75% ส่วนภาษาถิ่นหยางอานกับภาษาถิ่นซานต้งมีคำศัพท์ร่วมกัน 70% คำศัพท์ที่แตกต่างกันมักเกิดจากบางถิ่นใช้คำยืมจากภาษาอื่น(จีน) แต่อีกถิ่นหนึ่งมีคำศัพท์เฉพาะถิ่นเช่น
คำศัพท์ภาษาจีน
ความหมาย
ถิ่นซานต้ง
ถิ่นหยางอาน
ถิ่นพานต้ง
มีคำศัพท์เฉพาะถิ่น
คำยืมจากภาษาจีน
mào
หมวก
ȵon4*
ma:o6
ถุงเท้า
ji1
ma:t8
อ่าน
qa1
toak8
* คำนี้คล้ายกับคำภาษาจีนอีกคำหนึ่ง คือคำว่า   guàn ซึ่งคำนี้มีสองความหมายคือ แปลว่า หงอน(ไก่) และแปลว่า หมวกหรือมงกุฎ  
    
          6.ตัวอักษรภาษาสุ่ย ในอดีตหมอผีชาวสุ่ยมีอักษรชุดหนึ่งที่ใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับจดบันทึกฤกษ์ยาม เชิญเทพ เชิญผี ดูทำเลที่ตั้ง และการทำนายต่างๆ เรียกอักษรชนิดนี้ว่า /le1 sui3/ “ลายสุ่ย” อักษรสัญลักษณ์ชุดนี้มีประมาณร้อยกว่าตัว รู้จักและสืบทอดกันเฉพาะผู้เป็นหมอผีของเผ่าเท่านั้น จากการวิเคราะห์รูปอักษรที่ปรากฏในบทความของเหวยจางปิ่ง (韦章炳:2014) พบว่าอักษรส่วนใหญ่เป็นอักษรที่เลียนแบบมาจากอักษรจารบนกระดูกสัตว์ของจีน ภาษาจีนเรียกว่า เจี๋ยกู่เหวิน (甲骨文Jiǎgǔwén) บางครั้งก็ใช้อักษรจีนแต่เขียนแบบกลับด้านซ้ายขวา หรือบางครั้งก็เขียนแบบกลับหัวกลับหาง จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฝ่านซู (反书 Fǎn shū) แปลว่า “อักษรกลับ” แต่ก็มีบางตัวที่เป็นอักษรภาพที่วาดเลียนแบบธรรมชาติ           ส่วนเสียงอ่านนั้นถ้าเป็นอักษรจีนก็อ่านออกเสียงตามภาษาจีน แต่ก็มีบางตัวที่ใช้อักษรจีนแต่อ่านออกเสียงแบบภาษาสุ่ย ส่วนอักษรภาพวาดอ่านออกเสียงเป็นภาษาสุ่ย       
          “ลายสุ่ย” มีสองชุด ชุดหนึ่งเรียกว่า /le1 kwa3/ แปลว่า “ลายขาว”  อีกชุดหนึ่งเรียกว่า /le1 ˀnam/ แปลว่า “ลายดำ” อักษรสองชุดนี้มีรูปอักษรไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างกันที่ความหมาย มีอักษรในลายดำบางตัวที่ไม่มีในลายขาว อักษรลายขาวเป็นอักษรที่ใช้ทั่วไป ส่วนอักษรลายดำสืบทอดอย่างเป็นความลับ เสียงอ่านของอักษรแต่ละตัวไม่มีเสียงตายตัว แปรเปลี่ยนไปตามภาษาถิ่นแต่ละถิ่น  

 
บทสรุป
          บทความนี้เป็นบทความเชิงพรรณนาลักษณะของภาษาสุ่ย  ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อยที่พูดภาษาตระกูลไท มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว และกว่างซี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากที่ได้พรรณนานามาข้างต้นจะเห็นว่า หากเปรียบเทียบกับภาษาในแขนงต้ง(กัม)-สุ่ย จะพบว่าภาษาสุ่ยมีระบบเสียงก้องที่เกือบสมบูรณ์รองลงมาจากภาษาเหมาหนาน ดังนี้
ต้ง -สุ่ย
เหมาหนาน
ˀb
ˀd
  ͫ b
d
 ᶯȡ
ɡ
สุ่ย
ˀb
ˀd
  ͫ b
d


ต้ง
m
l
 p
t


มู่หล่าว
m
l
 p
t


          แต่ลักษณะเด่นของระบบเสียงที่ภาษาสุ่ยมีความสมบูรณ์กว่าภาษาอื่นๆก็คือ  เสียงนาสิกแต่ละเสียงจะมีการออกเสียงเปรียบต่างกันสามแบบ คือ  /m̥ ˀm m/ หมายถึง พยัญชนะนาสิกเสียงใส พยัญชนะนาสิกมีเสียงกักนำ และพยัญชนะนาสิกปกติตามลำดับ ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในหัวข้อ 2.1 เรื่องระบบเสียง  ในขณะที่ภาษาอื่นๆในสาขาเดียวกัน เช่น มู่หล่าว เหมาหนาน มีเพียงสองแบบ ส่วนภาษาต้งมีเพียงแบบเดียว 
          เรื่องที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือระบบคำและระบบไวยากรณ์  จากที่ได้อธิบายมาข้างต้นจะเห็นว่าภาษาสุ่ยได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนบ้าง ส่วนมากเป็นเรื่องของการยืมคำ ส่วนระบบเสียงก็เป็นเสียงที่มากับคำยืมเท่านั้นไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเสียงภาษาสุ่ย  ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เหมือนๆกันกับภาษาของชนกลุ่มน้อยอื่นๆในประเทศจีน แต่ในระดับไวยากรณ์ไม่ได้รับผลกระทบจากภาษาจีนมากเหมือนอย่างภาษามู่หล่าวและภาษาเหมาหนาน  ดังจะเห็นว่าในภาษามู่หล่าวและภาษาเหมาหนานนั้นมักจะมีไวยากรณ์สองแบบใช้ควบคู่กันไป คือ แบบภาษาเหมาหนานดั้งเดิม(ซึ่งเหมือนกับภาษาตระกูลไท) และแบบภาษาจีน(ต่างกับภาษาตระกูลไท) ส่วนภาษาต้งจะใช้ไวยากรณ์จีนก็ต่อเมื่อเป็นประโยคที่มีคำยืมภาษาจีนมาใช้ แต่หากใช้คำต้งก็ใช้ไวยากรณ์ต้ง แต่ในภาษาสุ่ยลักษณะทางไวยากรณ์แบบนี้พบไม่มากนัก เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากว่าชาวสุ่ยและชาวต้งมีจำนวนประชากรมากหลักแสนคน ทำให้ภาษามีความเข้มแข็ง ในขณะที่ภาษามู่หล่าวและเหมาหนานมีจำนวนประชากรน้อยหลักหมื่นคน ย่อมถูกภาษาอื่นแทรกซึมได้ง่ายกว่า  

บรรณานุกรม
เมชฌ  สอดส่องกฤษ (2552)การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เรื่องความสัมพันธ์ของคำเสริมสร้อย
            สองพยางค์ในภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีนวารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 9 ฉบับที่
1 มกราคม - เมษายน 2555 ,หน้า 9-42.
สุริยา  รัตนกุล.(2548). นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท.กรุงเทพฯ:สหธรรมิก.
试读冯英.(2008) 《水语复音词研究》 香港:中华书局. (Feng Ying.(2008) การศึกษาคำซ้ำคำซ้อนภาษาสุ่ย.
            ฮ่องกง:สำนักพิมพ์จงหัว.)
梁敏.(1979).《侗语简志》北京:民族出版社. (Liang Min.1979. ปริทรรศน์ภาษาต้ง.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์
            ชาติพันธุ์)  

梁敏.(1980).《毛难语简志》北京:民族出版社.(Liang Min.1980.ปริทรรศน์ภาษาเหมาหนาน.ปักกิ่ง:

            สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์)

欧阳觉亚,郑贻青.(1980).《黎语简志》民族出版社,北京. (Ou Yang Jueya, Zheng Yiqing.
 (1979). ปริทรรศน์ภาษาหลี.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.)
喻翠容. (1980).《布依语简志》北京:民族出版社. (Yu Cuirong. (1980).ปริทรรศน์ภาษาปู้อี.
            ปักกิ่ง : สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.)
王均,郑国乔.(1979).《仫佬语简志》北京:民族出版社. (Wang Jun, Zheng Guoqiao.(1979).
            ปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.)

汪锋,孔江平.(2001)水语(三洞)声调的声学研究 《民族语文》北京:北京大学中国语言学

                研究中心. 2011 5.(Wang Feng, Kong Jiangping.(2001) “การศึกษาเสียงของวรรณยุกต์

            ภาษาสุ่ยสำเนียงซานต้งวารสารภาษาชาติพันธุ์.ปักกิ่ง:ศูนย์วิจัยภาษาประเทศจีนมหาวิทยาลัยปักกิ่ง.

ปี 2001 ฉบับที่ 5.)

韦庆稳,覃国生.(1980).《壮语简志》北京:民族出版社. (Wei Qingwen, TanGuosheng.(1980).

            ปริทรรศน์ภาษาจ้วง.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์)

韦学纯.(2011)《水语描写研究》上海:博士文学学位论文,上海师范大学. (Wei uechun.(2011)
            การพรรณนาภาษาสุ่ย. เซี่ยงไฮ้ :ดุษฎีนิพนธ์ภาษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เซี่ยงไฮ้)
曾晓渝.(2004) 《汉语水语关系论》北京:商务出版社.(Zeng Xiaoyu.(2004) การวิเคราะห์
            ความสัมพันธ์ของภาษาฮั่นกับภาษาสุ่ย.ปักกิ่ง:สำนักพิมพ์ธุรกิจ.)
张景霓.(2006).《毛南语动词研究》北京:中央民族大学出版社. (Zhang Jingni.(2006). การ
            ศึกษาวิจัยคำกริยาในภาษาเหมาหนาน.ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยชาติพันธุ์ส่วนกลาง.)
张均如.(1980).《水语简志》北京:民族出版社. (Zhang Junru.(1980).ปริทรรศน์ภาษาสุ่ย.ปักกิ่ง:
            สำนักพิมพ์ชาติพันธุ์.)
Edmondson, Jerold A. and Yang, Quan. (1988). Word initial preconsonants and the history of
            Kam-Shui resonant initials and tones. In Edmondson, Jerold A. and Solnit, David B.
            (eds.), Comparative Kadai: Linguistic Studies Beyond Tai, 143-166. The Summer
            Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington.
Tian Qiao Lu. (2008). A Grammar of Maonan. Boca Raton (USA): Universal Publishers.
___________. (2008). Maonan space.สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2558. จาก http://maonan.org/index.asp.
潘中西,潘政.(2012)《水族水语有声词. [Software] 贵州:贵州大学西南少数民族语言文化
                研究所.(Pan Zhongxi , Panzhengbo.(2012) พจนานุกรมมีเสียงภาษาสุ่ยของชนชาติสุ่ยกุ้ยโจว.
            [ซอฟท์แวร์] ศูนย์วิจัยภาษาและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ภาคตะวันตกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยกุ้ยโจว.)
จาก  http://www.pcxwxx.com   
韦章炳.(2014) 浅议贵州水书与中华古文明的亲缘关系.《贵州省易经研究会》[website] 收索日
                期:2015729. 网站: http://blog.sina.com.cn/s/blog_6078ee350102f5s8.html (เหวย
            จางปิ่ง.(2014).การเสวนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอักษรสุ่ยกับอารยธรรมจีนโบราณ.สมาคมนักวิจัยอี้จิง
            มณฑลกุ้ยโจว.[เว็บไซด์] สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 จาก: http://blog.sina.com.cn/s/
blog_6078ee350102f5s8.html) 
新浪微博.(2015).汉语方言发音字典. [website]  搜索日期:2015526:
网站:http://cn.voicedic.com/. (Xinlang Weibo.(2015). พจนานุกรมเสียงภาษาถิ่นจีน. [เว็บไซด์]
สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2558 จาก http://cn.voicedic.com/    





[1] ภาษาไตพูดว่า /la:i2 to1 xa3/ ลาย ตัว ข้า “หนังสือของฉัน”  ภาษาไทยถิ่นเหนือพูดว่า “หนังสือตั่วเกา” แปลว่า หนังสือของเธอ   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น