วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การฟื้นฟูวัฒนธรรมความเอื้อเฟื้อในสังคมจีนปัจจุบัน


เมชฌ สอดสองกฤษ.(2557) Reflections on Hospitality in Chinese Culture and its Revival. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติเรื่อง “Hospitality in Anatolian and Asian Culture” จัดโดย วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ Thailand Achievement Institute  ณ โรงแรมโซฟิเทล โซ แบ็งค็อก วันที่ 28 29 เมษายน 2557.  

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การฟื้นฟูวัฒนธรรมความเอื้อเฟื้อในสังคมจีนปัจจุบัน
Reflections on Hospitality in Chinese Culture and its Revival

ผู้เขียน  [1]

บทคัดย่อ
            ประวัติศาสตร์ทางการเมืองอันเลวร้ายและปัจจัยทางสังคมที่หนักหน่วงเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้สังคมจีนปัจจุบันขาดความเอื้อเฟื้อต่อกันในระดับวิกฤต ทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างไม่มีความสุข  รัฐบาลจีนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้เร่งดำเนินนโยบายด้านคุณธรรมของประชาชนเพื่อสร้างจิตสำนึกในเรื่องความเอื้อเฟื้อ โดยหวังที่จะสร้างสังคมที่สงบสุขให้เกิดขึ้นในอนาคต บทความนี้นำเสนอประเด็นความเอื้อเฟื้อในสังคมจีนโดยแบ่งหัวข้อเป็นสี่เรื่อง ได้แก่ 1.อุดมคติและการแสดงออกทางวัฒนธรรมความเอื้อเฟื้อของสังคมจีน 2.ความท้าทาย  3. นโยบายของรัฐบาลเพื่อสร้างคุณธรรมความเอื้อเฟื้อ และ 4.บทสรุป  
 ความคาดหวังในเรื่องความเอื้อเฟื้อของสังคมจีนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบขึ้นด้วยความเอื้อเฟื้อทางสังคมสามมิติ ได้แก่ ศีลธรรมนำสังคม  จริยธรรมสัมมาชีพ และคุณธรรมนำครอบครัว    
คำสำคัญ  สังคมจีนปัจจุบัน  วัฒนธรรมจีน  คุณธรรมของชาวจีน ความเอื้อเฟื้อ   

Abstract
Its tragic political history and problematic social factors have caused the Chinese society to fall into hospitality crisis, causing its people to live unhappily. The Chinese government has realized this problem, so it is implementing a moral policy for its people to develop their consciousness of hospitality, hoping to have a better society in the future. This article presents four important issues (1) The Concept and Cultural expressions , (2) the new challenges   , (3) The government policy of its revival   , and  (4) Conclusion.
 The conclusion of this article is that hospitality in Chinese society will be shaped by three social dimensions including morality in the society, ethics in careers, and family virtues.
Key words: Contemporary Chinese Society, Chinese Culture, Chinese’s Virtues, Hospitality


บทนำ

สังคมที่มีอารยธรรมที่ผ่านการสั่งสมมานานนับพันปีอย่างประเทศจีน ผ่านกาลเวลาและจุดเปลี่ยนทำให้เกิดปัญหาทางสังคม  ปัญหาที่เกิดมาจากการขาดความเอื้อเฟื้อต่อกันและต่อสังคมในภาพรวมของประเทศจีน  รัฐบาลก็ได้เล็งเห็นว่าสิ่งปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยนำไปสู่สังคมที่ไม่สงบสุข ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างหวาดระแวง เห็นแก่ตัว และไม่มีความสุข ส่งผลต่อการปกครองประเทศในอนาคต จึงได้มีนโยบายเพื่อรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรมทางสังคม ในบทความนี้จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1.อุดมคติและการแสดงออกทางวัฒนธรรมความเอื้อเฟื้อของสังคมจีน 2.ความท้าทาย  และ3. นโยบายของรัฐบาลเพื่อสร้างคุณธรรมความเอื้อเฟื้อดังต่อไปนี้

1.อุดมคติและการแสดงออกเกี่ยวกับวัฒนธรรมความเอื้อเฟื้อของสังคมจีน
             คำสอนของลัทธิทางศาสนาก่อเกิดอุดมคติทางด้านคุณธรรมในสังคมจีน มีสามลัทธิที่เป็นหลัก คือ เต๋า(Dào) [2] ขงจื่อ()[3] และ พุทธ(Shì)[4] ในจำนวนนี้ลัทธิที่มีอิทธิพลต่อชาวจีน และเป็นรู้จักต่อชาวโลกมากที่สุดคือลัทธิขงจื่อ คำสอนเกี่ยวกับคุณธรรมและวัตรปฏิบัติที่ขงจื่อกำหนดไว้ 5 อย่าง ภาษาจีนเรียกว่า อู่ฉาง五常Wǔchánɡ แปลว่าวัตรห้า”  มีดังนี้
            วัตรหนึ่ง  คือ  เหริน(rénแปลว่า เมตตา  คือความเมตตา การุณย์ธรรม ความกรุณาปรานี
            วัตรสอง คือ  อี้ ()  แปลว่า คุณธรรม  คือการยึดถือความถูกต้องเที่ยงธรรม การยึดถือและเคารพในกฎเกณฑ์
             วัตรสาม  คือ  หลี่ (แปลว่า มารยาท  คือจริยปฏิบัติ การมีความเคารพต่อกันอย่างสุภาพชนอย่างผู้มีอารยธรรม   
            วัตรสี่  คือ จื้อ (zhìแปลว่า สติปัญญา  คือการยกย่องบูชาความรู้  แสวงหาสัจธรรม
            วัตรห้า  คือ ซิ่น (xìnแปลว่า ความเชื่อถือ สัจจะ คือความจงรักในภาระหน้าที่ของตน การรักษาสัจจะ  และยึดมั่นในคำสัญญา
            วัตรทั้งห้าต่างก็แฝงความหมายและแนวปฏิบัติต่างกัน ในขณะเดียวกันต่างก็มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วย  ในวัตรทั้งห้านี้ถือว่า
เมตตา เป็นหัวใจของวัตรทั้งหมด เป็นคุณธรรมอันสูงส่งเหนืออื่นใด เพราะหมายถึงจุดหมายหลักในการรักษาไว้ซึ่งชีวิตและความเป็นมนุษย์
  คุณธรรม  คือข้อกำหนดของพฤติกรรมของมนุษย์ การกำหนดคุณค่าความเป็นมนุษย์ในการปฏิบัติต่อผู้อื่นเมื่อมีเหตุขัดแย้ง 
มารยาท คือการแสดงออกภายนอกที่มนุษย์ในสังคม พึงปฏิบัติต่อกันในชีวิตประจำวัน โดยอยู่บนพื้นฐานของ   เมตตา และ  คุณธรรม
สติปัญญา คือการใช้สติปัญญาภายใต้ขอบเขตที่ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ทำลายผลประโยชน์ของผู้อื่น  ไม่ผิดกฎเกณฑ์ของสังคม นั่นก็หมายความว่าการใช้ความรู้นั้นไม่อาจปฏิบัติออกนอกลู่ของ เมตตา และ  คุณธรรม
 สัจจะ คือการปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วย เมตตา คุณธรรม มารยาท สติปัญญา  ด้วย    สัจจะและจริงใจ  ส่งผลให้สิ่งที่ปฏิบัติหรือแสดงออกมานั้นเกิดขึ้นมาจากน้ำใสใจจริง  
            การปฏิบัติตนโดยยึดหลักวัตรทั้งหน้านี้ ขงจื่อถือว่าเป็นแนวทางการ ฝึกตนให้ถึงพร้อม  เมื่อแต่ละบุคคลถึงพร้อมด้วยการุณย์ธรรม คุณธรรม มารยาท สติปัญญาและสัจจะ สังคมก็จะสงบสุข  อันเป็นแนวทางสำคัญในการรักษาความสุขสงบของสังคมส่วนรวม  และประเทศชาติ
             แต่เราจะเห็นว่า ภาวการณ์ในประเทศจีนปัจจุบันเกิดความวุ่นวาย ประชาชนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างหวาดระแวง ต่างคนต่างมีแนวแนวโน้มในความเป็นวัตถุนิยม และบริโภคนิยมมากขึ้น มีความเป็นปัจเจกนิยมมากขึ้น  ทำให้คำสอนที่เคยเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นเครื่องคำจุนสังคมที่มีมาแต่อดีตค่อยๆเลือนหายไป เป็นเหตุให้สังคมจีนปัจจุบันอยู่ร่วมกันอย่างไม่มีความสุขมากขึ้นทุกขณะ

2.ความท้าทาย : มูลเหตุและสถานการณ์การขาดความเอื้อเฟื้อในสังคมจีนปัจจุบัน
            หากมองจากวัตรห้าที่ได้กล่าวข้างต้น น่าจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงของอารยธรรมและสังคมที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม แต่กลับพบว่าสังคมจีนในปัจจุบันขาดความเอื้อเฟื้อต่อกัน มูลเหตุสำคัญนอกจากสิ่งที่เห็นได้ชัด คือ ความเจริญก้าวหน้าของสังคมโลก การถ่ายเททางวัฒธรรมตะวันตกในเรื่องบริโภคนิยม วัตถุนิยม  ก่อให้เกิดความเป็นปัจเจกนิยมแล้ว หากมองจากอดีตถึงปัจจุบัน ยังมีปัจจัยอื่นที่ร่วมเป็นแรงผลักดันให้เกิดสังคมที่ขาดความเอื้อเฟื้อ ดังนี้    
2.1 ความขัดแย้งของคำสอนดั้งเดิมกับคุณธรรมที่พึงประสงค์ในสังคมปัจจุบัน[5]
            2.1.1 เน้นหนักคุณธรรมส่วนบุคคลละเลยคุณธรรมต่อส่วนรวม วัตรปฏิบัติทั้งห้าแม้จะเป็นแนวทางการฝึกตนในการปฏิบัติต่อผู้อื่น ปฏิบัติต่อสังคม แต่จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติคือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง แล้วขยายสู่เครือญาติ ขยายสู่คนรู้จัก ขยายสู่บุคคลรอบข้าง และขยายสู่สังคม ดังนั้นชาวจีนจึงยึดถือความสัมพันธ์ของบุคคลเป็นหลัก ยึดถือผลประโยชน์ของตนและคนใกล้ชิดเป็นหลัก ส่วนผลประโยชน์ของส่วนรวมถือเป็นรอง การปฏิบัติและการแสดงออกต่อคนแปลกหน้าจึงเป็นไปอย่างจืดชืด เฉยเมยและเย็นชา จากการสำรวจในหัวข้อ เมื่อพบเจอกับเรื่องที่ผิดคุณธรรม คุณพร้อมที่จะออกหน้าปกป้องหรือไม่ มีเพียง 5% ที่ยินยอมออกมาปกป้องสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ในขณะที่ 33% ตอบว่ากลัวตนเองจะเดือดร้อน ได้แต่คิดแค้นอยู่ในใจแต่ไม่กล้าพูดออกมา รายละเอียดแสดงในแผนภูมิต่อไปนี้     
5%   ยินยอมสละตนเองเพื่อออกมาปกป้อง
10% เป็นเรื่องของหน่วยงานรักษาความสงบ
25.4%  จะออกมาเมื่อแน่ใจว่าจะไม่เกิดผลเสียต่อตนเอง  
26.6%   จะออกมาปกป้องก็ต่อเมื่อมีผู้อื่นออกมาก่อน หากไม่มีใครออกมาก็ไม่ออก
33%       กลัวตนเองจะเดือดร้อน ได้แต่คิดแค้นอยู่ในใจแต่ไม่กล้าพูดออกมา 

            2.1.2 ผลประโยชน์ สิทธิและภาระหน้าที่ไม่ชัดเจน
        คำสอนดั้งเดิมเน้นคุณธรรมที่เป็นความสัมพันธ์ของบนกับล่าง สูงกับต่ำ เช่น แม่ทัพเมตตาทหารภัคดี พ่อปรานีลูกกตัญญู  ผู้ใหญ่มีคุณผู้น้อยคล้อยตาม พี่รักน้องเคารพ สามีดูแลภรรยาคล้อยตาม เป็นต้น อันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคลพึงปฏิบัติต่อกัน เน้นหนักการปฏิบัติต่อครอบครัวและคนรู้จัก แต่ขาดความรับผิดชอบที่บุคคลพึงมีต่อสังคมและประเทศชาติ  เป็นเหตุให้คนขาดจิตสำนึกที่จะรักษาผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม แต่ในขณะที่มีมีความคิดในเรื่องการปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนและบุคคลใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญกว่า
            2.1.3 ความรู้สึกสำคัญกว่าเหตุผล  
                        แนวคิดดั้งเดิมเน้นที่ครอบครัว  โดยมีแนวคิดว่าต้องดูแลครอบครัวให้เรียบร้อย จึงจะสามารถปกครองประเทศได้ หากมีคนในครอบครัวกระทำผิดต่อสังคม  ก็ต้องยึดถือครอบครัวไว้เสียก่อน คือปกป้องครอบครัว ดังนี้จึงจะเห็นว่า  ความสัมพันธ์ของบุคคลสำคัญกว่าความถูกต้อง ดังจะพบเห็นเหตุการณ์ในสังคมเช่น การกระทำผิดกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตน การยอมทำผิดกฎหมายเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลคนสนิท เป็นต้น   นี่ก็แสดงให้เห็นว่าผู้คนได้ละเลยความเป็นเหตุเป็นผล ความถูกต้อง และผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเพียงเพราะความรู้สึกส่วนตน
2.2 ปัจจัยทางประวัติศาสตร์และสังคม
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และปัจจัยทางสังคมเป็นเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนในสังคมโดยรวม ประเทศจีนเป็นประเทศที่เผชิญกับปัจจัยทั้งสองอย่างอย่างหนัก ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในเรื่องความเห็นแก่ตัว การขาดไมตรีจิต การขาดความเอื้อเฟื้อต่อกัน ปัญหาเหล่านี้นำมาซึ่งปัญหาทางสังคมอื่นๆมากมาย มูลเหตุทางประวัติศาสตร์และปัจจัยทางสังคมที่เป็นต้นเหตุของปัญหาดังกล่าวนี้  สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
                        2.2.1 การปฏิวัติวัฒนธรรม ช่วงก่อนการปฏิวัติเกิดเหตุการณ์การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย การกดขี่ข่มเหงของชนชั้นศักดินา ความยากจนแร้นแค้นเดือดร้อนของประชาชน และการรุกรานจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดความโกลาหลวุ่นวายไปทั่วทุกหย่อมหญ้าบนแผ่นดินจีน ด้วยแนวคิดที่ว่าประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน คณะปฏิวัติได้ทำการล้มล้างระบบศักดินา ยึดทรัพย์สมบัติ ที่ดินเข้ามาอยู่ในอำนาจรัฐทั้งหมด รัฐเป็นผู้ดูแลเรื่องความเป็นอยู่และปากท้องของประชาชนชน หนึ่งในวิธีการดูแลประชาชนคือ การจ่ายบัตรแลกอาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ให้ ทุกๆวันประชาชนจะต้องถือบัตรนี้ไปรับอาหารจากทางการ แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่ามีบัตรแล้วจะมีอาหารกิน หากวันไหนไปช้าอาหารแจกหมดแล้วก็ต้องอด ความหิวเป็นประสบการณ์อันเลวร้ายที่สอนให้ผู้คนในยุคนั้นเรียนรู้ที่จะเอาชีวิตรอดด้วยการแก่งแย่ง ทั้งยังเป็นเสมือนคำอบรมสั่งสอนที่ต้องถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลานให้ทุกคนต้องรู้จักแก่งแย่งแข่งขันเพื่อให้ตนเองอยู่ข้างหน้าผู้อื่นเสมอในทุกๆเรื่อง  สิ่งนี้เป็นอาวุธร้ายที่ทำลายความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จนแทบไม่มีเหลืออยู่ในสังคมจีน      
                        2.2.2 จำนวนประชากร จำนวนประชากรจีน 1.3 พันล้านคน นำมาซึ่งการดำเนินชีวิตที่ต้องแข่งขันกันมากขึ้น การแก่งแย่งแข่งขันที่ถูกปลูกฝังมาจากมูลเหตุในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  ก็ถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาจำนวนประชากรให้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น รัฐบาลจีนตระหนักและดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการใช้นโยบายวางแผนครอบครัว เมื่อปี 1970 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ "การวางแผนครอบครัว ควบคุมจำนวนประชากร และยกคุณภาพของประชาชนจีนให้สูงขึ้น" แต่ปัญหาทางสังคมกลับมีอย่างต่อเนื่อง ก็คือ ครอบครัวที่มีลูกคนเดียว ปัจจุบันเป็นคนในวัยหนุ่มสาวที่เติบโตมาด้วยชีวิตแบบ 小皇帝xiǎo huánɡdì หมายความว่า จักรพรรดิน้อย คือ เป็นศูนย์กลางของบ้าน ได้รับการเลี้ยงดูตามใจทุกอย่าง ไม่เคยต้องเผื่อแผ่หรือเรียนรู้ที่จะเสียสละให้กับใคร เป็นผู้รับและได้ทุกอย่างตามใจ เหตุนี้ทำให้ชาวจีนในยุคปัจจุบันไม่รู้จักการให้ เสียสละ และเอื้อเฟื้อ     
                        2.2.3 ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ  ประเทศจีนมีความเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วมาก ปัญหาที่ตามมาคือความเหลื่อมล้ำของคนรวยกับคนจน จากการประกาศของสำนักงานสถิติแห่งชาติของรัฐบาลจีนพบว่า[6] ความแตกต่างของคนรวยกับคนจนในปี 2010 คิดเป็น 0.47 หมายความว่าเป็นความแตกต่างขั้นสูง (อ้างอิงข้อกำหนดของ Gini Coefficient ระดับ 0.2 คือระดับปกติ ระดับ 0.6 สูงที่สุด) ด้วยเหตุที่คนจนมีจำนวนมากกว่าคนรวยทำให้คนจนต้องต่อสู้เพื่อให้รอดพ้นจากความยากจน การทำธุรกิจเป็นหนทางที่จะก้าวสู่ความร่ำรวยได้ แต่ด้วยเศรษฐกิจที่รุดหน้าไปเร็วเกินกว่าที่จะตามทันได้ หนทางหนึ่งที่ชาวจีนทำคือการมุ่งผลประโยชน์มากกว่าจริยธรรม เราจึงมักพบหรือได้ยินข่าวจากประเทศจีนอยู่เป็นประจำเกี่ยวกับสินค้าปลอม อาหารปลอม สารเจือปนในอาหาร การหลอกลวง อาชญากรรมต่างๆเป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนทั้งร่างกายและจิตใจของผู้บริโภค สร้างภัยอันตรายต่อทั้งชาวจีนในประเทศเองและชาวโลกด้วย สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัว และการขาดความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนมนุษย์อย่างชัดเจน        
                        2.2.4 การศึกษา สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนประกาศผลสำรวจจำนวนคนไม่รู้หนังสือในปี 2010 ของประเทศจีนคิดเป็น  4.08% เมื่อคิดจากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,300 ล้านคน จะพบว่ามีจำนวนประชากรมากถึง 50 ล้านคนไม่รู้หนังสือ[7]    ในสังคมที่มีการแข่งขันสูงอย่างประเทศจีน คนไม่รู้หนังสือมักเป็นฝ่ายเสียเปรียบและถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ คนไม่รู้หนังสือต้องปรับตัวเพื่อให้ตนเองมีชีวิตรอดในสังคมให้ได้  แต่การปรับตัวของคนไม่รู้หนังสือมักอยู่บนพื้นฐานของการเอาตัวรอดของตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น เราจึงมักจะพบเห็นปัญหาอาชญากรรม ขอทาน ฉกชิงวิ่งราว ล้วงกระเป๋า ลักขโมย หลอกลวง เหล่านี้เป็นต้น เกิดขึ้นในสังคมจีนอยู่เป็นนิจ   
                        2.2.5 การปกครอง ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม ประเทศจีนปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชาติเป็นไปตามที่รัฐบาลกำหนด หากมีการขัดขืนหรือต่อต้านก็จะถูกปราบปรามขั้นเด็ดขาดและร้ายแรง ความกดดันนี้ทำให้ประชาชนจีนไม่เกิดความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ประชาชนรู้สึกแบ่งแยกว่านั่นเป็นส่วนของรัฐ นี่เป็นส่วนของตน ตัวอย่างปัญหาที่เกิดจากกรณีนี้เช่น การไม่มีจิตสำนึกในเรื่องสาธารณะสมบัติ เพราะมองว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ของของตน เราจึงพบว่าชาวจีนไม่รักษาความสะอาดในที่สาธารณะ การถ่มน้ำลาย ทิ้งขยะ ขีดเขียน ทำลาย ลักขโมยสมบัติสาธารณะ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัวเช่นเดียวกัน
            มูลเหตุข้างต้นสอดคล้องกับการสำรวจของสถาบันเพื่อสังคมที่ชื่อ Charities Aid Foundation (http://cafonline.org :สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557)  ที่จัดทำโดย Gallup Poll ของประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับการทำอะไรเพื่อคนอื่นของคนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างประเทศละ 500-2,000 คนใน 153 ประเทศทั่วโลกในสามเรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ การบริจาคเงินเพื่อการกุศล  การสละเวลาเพื่อทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และการช่วยเหลือคนแปลกหน้าที่ตนไม่รู้จัก จากการจัดอันดับห้าปี ผลปรากฏว่าประเทศที่ได้คะแนนมากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ United States of America สำหรับประเทศไทยนั้นได้คะแนนเป็นลำดับที่ 15 ในขณะที่ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 133 จากทั้งหมด 153 ประเทศ   
ความเจ็บปวดทางประวัติศาสตร์และปัจจัยทางสังคมที่โหดร้ายทำให้ชาวจีนเผชิญชีวิตที่ยากลำบากมาในแบบเดียวกัน เป็นเสมือนเบ้าหลอมให้คนในสังคมมีความคิด นิสัย พฤติกรรมเป็นอย่างเดียวกัน   ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นสร้างความเห็นแก่ตัว การขาดไมตรีจิต และขาดความเอื้อเฟื้อต่อกัน ส่งผลกระทบต่อความสุขของคนในชุมชนเองตั้งแต่ขนาดเล็กเช่นครอบครัวไปจนถึงขนาดใหญ่ได้แก่ประเทศชาติและสังคมโลก  ซึ่งผลจากการสำรวจที่กล่าวถึงข้างต้นก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า สังคมจีนประสบปัญหานี้อย่างหนัก    
           
3.นโยบายเพื่อการรณรงค์เกี่ยวกับความเอื้อเฟื้อของรัฐบาล
            ในหัวข้อนี้จะอธิบายเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลและผลที่เกิดจากนโยบายดังกล่าว โดยจะแบ่งเป็น 3 หัวข้อ คือ 3.1 นโยบายของรัฐบาล 3.2 ภาพความหวังความเอื้อเฟื้อในสังคมจีนปัจจุบัน และ 3.3 วาทกรรมความเอื้อเฟื้อในสังคมจีนปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
3.1 นโยบายของรัฐบาล
รัฐบาลจีนได้ตระหนักถึงปัญหาที่คนในชาติขาดความเอื้อเฟื้อต่อกัน จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หากไม่เร่งดำเนินการปลูกจิตสำนึกในเรื่องคุณธรรมความเอื้อเฟื้อ  ก็สามารถมองเห็นภาพความวุ่นวายของสังคมในอนาคตได้ไม่ยากนัก จึงได้เริ่มดำเนินนโยบายส่งเสริมและรณรงค์เกี่ยวกับคุณธรรมสามประการให้ประชาชนชาวจีนได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิต  เพื่อความผาสุกของสังคมในอนาคต   คุณธรรมสามประการมีดังนี้   
                        3.1.1 社会公德shèhuì ɡōnɡdéศีลธรรมนำสังคม  เป็นหลักในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคม มีข้อกำหนดและรายละเอียด 5 เรื่อง ดังนี้    
文明礼貌、助人为乐、见义勇为、爱护公物、保护环境、遵纪守法。
wénmínɡ lǐmàozhùrén wéilèjiànyì yǒnɡwéiàihù ɡōnɡwù
bǎohù huánjìnɡzūnjì shóufǎ
อารยธรรมสุภาพชน  ช่วยคนเพื่อความสุข  ปลูกจิตกล้าหาญมั่นคุณธรรม
จำจดรักสมบัติสาธารณะ  สิ่งแวดล้อมรักษาไว้  เคารพกฎหมายวินัยของสังคม
                                    (1) 文明礼貌  wénmínɡ lǐmào  อารยธรรมสุภาพชน  คือ การปฏิบัติตนแบบสุภาพชนต่อกัน ต้องยึดถือการคบหาสมาคมกันอย่างรักใคร่สามัคคี เอื้ออารีต่อกัน ไม่พูดคำหยาบ ไม่หวาดระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน และไม่หลอกลวงกันและกัน
                                    (2) 助人为乐、见义勇为zhùrén wéilèjiànyì yǒnɡwéi ช่วยคนเพื่อความสุข  ปลูกจิตกล้าหาญมั่นคุณธรรม   บุคคลถือเป็นสมาชิกในสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นสมาชิกทุกคนจะต้องมีมิตรไมตรีต่อกัน ดูแลเอาใจใส่  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังคำกล่าวที่ว่า คนที่รักคนอื่นก็จะได้รับความรักตลอดไป คนที่เชื่อมั่นผู้อื่นก็จะได้รับความชื่อมันตลอดไป ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม เราไม่อาจที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขหรือราบรื่นไปเสียทุกอย่าง และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น หากเราอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อ มีน้ำใจช่วยเหลือกันและกันสังคมก็จะสงบสุข อีกประการหนึ่ง การเป็นสมาชิกในสังคมจะต้องยึดมั่นในคุณธรรม ปฏิเสธสิ่งผิดกฎหมายอย่างกล้าหาญ สิ่งนี้นับเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่นำมาซึ่งการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมไว้ได้        
                                    (3) 爱护公物 àihù ɡōnɡwù จำจดรักสมบัติสาธารณะ   สมาชิกในสังคมทุกคนมีหน้าที่ร่วมกันในการรักษาดูแลสมบัติสาธารณะของประเทศ ไม่ทำลาย ไม่ให้ผู้อื่นมาทำลายและรุกราน
                                    (4) 保护环境   bǎohù huánjìnɡ สิ่งแวดล้อมรักษาไว้   สมาชิกในสังคมจะต้องให้ความสำคัญกับสุขอนามัยของตนเองและส่วนรวมด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และปลอดโปร่ง เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่งดงาม นำมาซึ่งความสุขกายสบายใจ
                                    (5) 遵纪守法zūnjì shóufǎ เคารพกฎหมายวินัยของสังคม  กฎหมายเป็นเป็นส่วนประกอบหนึ่งของศีลธรรม  ถือเป็นข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม การเคารพกฎหมาย ระเบียบ กติกานับเป็นศีลธรรมอันดีงามที่สมาชิกในสังคมพึงยึดถือปฏิบัติ กฎหมายเป็นข้อกำหนดระดับชาติ ระเบียบเป็นแนวปฏิบัติ กติกาเป็นข้อตกลงร่วมกันของสังคม สมาชิกในสังคมมีหน้าต้องเรียนรู้กฎหมาย เคารพและยึดถือปฏิบัติ ก็จะไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น สามารถรักษาสิทธิของตนเอง  สามารถรักษาสิทธิประโยชน์ของส่วนรวม  เพียงเท่านี้สังคมก็จะมีความสงบสุขได้    
                        3.1.2 职业道德zhíyè dàodéจริยธรรมสัมมาชีพ
爱岗敬业、诚实守信、办事公道、服务群众、奉献社会。
àiɡǎnɡ jìnɡyè chénɡshí shǒuxìn bànshì ɡōnɡdào
fúwù qúnzhònɡ fènɡxiàn shèhuì
รักงานศรัทธาวิชาชีพ  ซื่อสัตย์สุจริต  เที่ยงธรรมกิจการงาน  บริการมวลชน  อุทิศตนเพื่อสังคม
                        (1) 爱岗敬业àiɡǎnɡ jìnɡyè รักงานศรัทธาวิชาชีพ  คนทำงานต้องรักงาน และรักตำแหน่งหน้าที่ของตนเองเป็นอันดับแรก และเคารพศรัทธาในวิชาชีพของตน ปฏิบัติงานด้วยความขยันหมั่นเพียรตลอดจนมีความรับผิดชอบในงานที่ปฏิบัติ 
                            (2) 诚实守信chénɡshí shǒuxìn ซื่อสัตย์สุจริต  คุณธรรมข้อนี้เป็นทั้งคุณธรรมในการปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองดีของสังคม และยังเป็นหนึ่งในจริยธรรมสัมมนาชีพที่คนทำงานพึงยึดถือปฏิบัติ  คนทำงานต้องยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต  ดำเนินกิจการถูกต้องตามกฎหมาย  รักษาสัญญา  รักษาความเชื่อถือและชื่อเสียงของตน
                        (3) 办事公道bànshì ɡōnɡdào เที่ยงธรรมกิจการงาน  คนทำงานต้องยึดมั่นความเที่ยงธรรม ความโปร่งใส เปิดเผยและตรวจสอบได้  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ไม่ทำงานตามอารมณ์ความรู้สึก ไม่ใช้อำนาจหน้าที่สร้างความเสียหายให้หน่วยงาน ไม่ใช้อำนาจหน้าที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน และไม่นำงานส่วนรวมไปทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน         
               (4) 服务群众fúwù qúnzhònɡ บริการมวลชน  การทำงานต้อง
คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นที่ตั้ง  ต้องคิดถึงส่วนรวมอยู่เสมอ และมุ่งมั่นทำงานเพื่อส่วนรวม  สร้างสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพเพื่อสังคมในภาพรวม
                                    (5) 奉献社会 fènɡxiàn shèhuìอุทิศตนเพื่อสังคม การทำงานต้องสร้างจิตสำนึกและจิตวิญญาณของการอุทิศตนเพื่อสังคม   นับเป็นจุดสูงสุดของปณิธานการทำงานตามแนวคิดแห่งระบอบคอมมูนของประชาชาติจีน การทำงานโดยยึดจริยธรรมสัมมาชีพ 4 ประการอันได้แก่  รักงานศรัทธาวิชาชีพ  ซื่อสัตย์สุจริต  เที่ยงธรรมกิจการงาน  บริการมวลชน เป็นบันไดก้าวขึ้นสู่จริยธรรมสัมมาชีพขั้นสูงสุดคือ การอุทิศตนเพื่อสังคม 
3.1.3 家庭美德jiātínɡ měidé คุณธรรมนำครอบครัว
尊老爱幼、男女平等、夫妻和睦、勤俭持家、邻里团结。
zūnlǎo àiyòu nánnǚ pínɡděnɡ fūqī hémù
qínjiǎn chíjiā línlǐ tuánjié
เคารพอาวุโสเมตตาผู้เยาว์  ชายหญิงเท่าเทียม สามีภรรยารักใคร่
หมั่นเพียรมัธยัสถ์ครองเรือน  เครือญาติเพื่อนบ้านสามัคคี 

(1) 尊老爱幼zūnlǎo àiyòu เคารพอาวุโสเมตตาผู้เยาว์  ภาษาจีนมี

คำกล่าวว่า อาวุโสก็ต้องจากไป  เยาว์วัยก็ต้องเลี้ยงดู”  เกิดเป็นขนบธรรมเนียมที่ชาวจีนอบรมสั่งสอนกันมาในเรื่องของการเคารพผู้อาวุโสและเมตตาผู้เยาว์  ผู้ใดไม่มีความกตัญญูรู้คุณผู้อาวุโส ใครไม่มีความเมตตาต่อผู้เยาว์ก็จะถูกตำหนิติเตียนจากสังคมว่า ไร้คุณธรรม”  มิติของความสัมพันธ์นี้มีสองทาง คือ พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวมีภาระหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเลี้ยงดูบุตรหลานของตนให้เติบใหญ่  ทำให้เกิดเป็นมิติที่สองตามมา นั่นก็คือ ความเคารพต่อผู้อาวุโส ซึ่งเกิดมาจากแนวคิดที่ว่าคนเราเมื่อเกิดมา พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่เป็นผู้เลี้ยงดู อบรมสั่งสอนด้วยความรักความเมตตา ดังนั้นเด็กจึงต้องให้ความเคารพผู้ใหญ่  ดังคำกล่าวที่ว่า การปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ในวันนี้ก็เปรียบเสมือนการปฏิบัติต่อตนเองในวันหน้านั่นเอง

                             (2)男女平等nánnǚ pínɡděnɡ ชายหญิงเท่าเทียม ในอดีตที่ผ่านมาสังคมจีนให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง    คุณธรรมของครอบครัวจึงเน้นไปที่มุ่งขจัดความคิดการกดขี่สตรีเพศ  ทุกคนมีภาระหน้าที่ มีสิทธิทั้งในครอบครัวและในสังคมเท่าเทียมกัน  ลูกชายหญิงได้รับการเลี้ยงดู ให้การศึกษาเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการทำงานและการรับมรดกก็ต้องมีความยุติธรรมเท่าเทียมด้วยเช่นกัน  ครอบครัวต้องปลูกฝังแนวคิด หญิงชายก็ลูกเรา ดีทั้งสอง  ขจัดความรู้สึก ดีใจได้ลูกชาย ก้มหน้าอับอายได้ลูกสาวและขจัดแนวคิด ทิ้งลูกสาวให้หมดไปจากสังคมจีน ต้องปลูกจิตสำนึกให้เพศชายรู้จักเคารพความแตกต่างของเพศ ขณะเดียวกันเพศหญิงก็ต้องมีความมั่นใจ รักศักดิ์ศรี แข็งแกร่ง เลือกทางเดินชีวิตด้วยตนเอง ไม่แพ้เพศชาย   และสร้างโลกใหม่ที่ผู้หญิงสามารถ เป็นเจ้าของชีวิต และเป็นเจ้าของการงาน ด้วยตนเอง        
                                        (3) 夫妻和睦fūqī hémù สามีภรรยารักใคร่  ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของชายหญิงก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมามากมาย โดยเฉพาะสังคม ผู้ชายเป็นใหญ่ของสังคมจีน ดังจะเห็นได้จากอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดิม ในปี 2002 อัตราการหย่าร้าง 6.1%  ปี 2010 คิดเป็น 9.3% [8]  สาเหตุหลักมาจากปัญหาการนอกใจกัน ดังนั้นสามีภรรยาต้องยึดถือและมีความเคารพ  รักใคร่  เชื่อใจ  ช่วยเหลือ ให้อภัย ยกย่อง ปลอบประโลม  และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน 
                                    (4) 勤俭持家qínjiǎn chíjiā หมั่นเพียรมัธยัสถ์ครองเรือน   ธรรมเนียมจีนยึดถือในเรื่องความมัธยัสถ์มาก ดังคำกล่าวที่ว่า ความมานะคือต้นไม้เงิน  ความมัธยัสถ์คืออ่างหยกนับตั้งแต่การปฏิวัติประเทศเป็นต้นมา ประชาชนชาวจีนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นเป็นลำดับ จากระดับ อุ่นอิ่มขึ้นสู่ระดับ สุขสบาย[9]  แต่การยึดถือคุณธรรมในเรื่องความหมั่นเพียรและมัธยัสถ์ก็ยังคงต้องปลูกฝัง สิ่งที่ถือเป็นคุณธรรมความมัธยัสถ์นี้คือ ขยันขันแข็ง ทรัพย์เข้าจึงออก ประหยัดมัธยัสถ์ จับจ่ายอย่างพอเพียง”  ข้อปฏิบัติมีสองประการคือ 1.อย่าเปรียบเทียบกับผู้อื่น และ2.ใช้จ่ายให้สมฐานะของตนเอง เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้แล้วจึงจะสามารถครองตนครองเรือนได้อย่างราบรื่นและมั่นคง      
            (5) 邻里团结 línlǐ tuánjié เครือญาติเพื่อนบ้านสามัคคี 
ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านส่งผลต่อความสุขและความราบรื่นในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก ดังมีคำกล่าวว่า 远亲不如近邻yuǎnqīn bùrú jìnlín ญาติไกลไม่สู้เพื่อนบ้านใกล้  ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยที่ทำให้โลกแคบเขาทุกวัน ความห่างไกลก็ใกล้เข้า  แต่กลับพบว่าความใกล้ชิดของคนนับวันกลับยิ่งห่างเหิน  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ คนที่อาศัยอยู่ในตึกเดียวกัน ประตูตรงข้ามกันยังไม่รู้จักกัน ต่างคนต่างมีชีวิตอยู่ร่วมกันแบบ ได้ยินเพียงเสียงหมาเสียงไก่  เป็นตายไม่เคยไปมาหาสู่ คุณธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้านมี  กันและกัน สี่อย่างที่ต้องยึดถือปฏิบัติ 5 อย่าง คือ (1) 互尊hù zūn คือการเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน  (2) 尊重  zūnzhònɡ คือการเคารพในสิทธิของกันและกันตามกฎหมาย เช่น ไม่ส่งเสียงดัง  การปลูกต้นไม้รดน้ำต้นไม้ต้องคำนึงถึงคนที่อยู่ชั้นล่าง  พึงอย่างสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่กันและกัน (3) hù zhù คือ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขจัดความคิดเดิมที่ว่า         “กวาดแต่หิมะหน้าบ้านตน อย่าไปสนน้ำค้างหลังคาบ้านใคร  ปลูกฝังความคิดใหม่ว่า ความทุกข์ยากของเพื่อนบ้านคือความลำบากของเรา”  เช่น  การเก็บกวาดทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยทั้งในบ้านนอกบ้าน และรอบบ้าน           (4)   hù rànɡ  คือ การให้ การเสียสละและการยอมซึ่งกันและกัน คนอยู่ด้วยกันใกล้กันก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งกัน  เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้น ทั้งสองฝ่ายก็จงอย่ายึดถือเอาเป็นอารมณ์ คิดเล็กคิดน้อยต่อกัน  หากสามารถอธิบายให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจได้ก็ต้องอธิบายให้แจ้งใจ หากไม่อาจอธิบายได้ก็ยอมถอยกันสักก้าว เรื่องราวก็จะผ่านไป การกระทบกระทั่งกันเกิดมาจาก ทางแคบต้องเบียดเสียดแต่หากถอยออกมาคนละก้าวก็จะพบกับ น่านน้ำทะเล       กว้าง  เวิ้งฟ้าสุดแสนไกล”  (5) 互谅hùliànɡ คือการให้อภัยซึ่งกันและกัน  เราต้องใจกว้าง  เข้าใจชีวิตประจำวัน เข้าใจงาน เข้าใจอาชีพ และเข้าใจความยากลำบากของเพื่อนบ้าน อย่าตั้งหน้าตั้งตาเอาผิดคิดโทษต่อ  ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และมีความโอบอ้อมอารีต่อกัน           
3.2 ภาพความหวังความเอื้อเฟื้อในสังคมจีนปัจจุบัน
จากการรณรงค์เกี่ยวกับความเอื้อเฟื้อของรัฐบาลจีนสามประการข้างต้น อันได้แก่ ศีลธรรมนำสังคม จริยธรรมสัมมาชีพ และคุณธรรมนำครอบครัว เราจะพบภาพการรณรงค์ที่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานทางราชการได้นำมาขยายความ และประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง ในหัวข้อนี้จะได้นำตัวอย่างมานำเสนอ ดังนี้    
            3.2.1社会公德shèhuì ɡōnɡdéศีลธรรมนำสังคม
                        (1) 文明礼貌wénmínɡ lǐmào อารยธรรมสุภาพชน 
 ป้ายรณรงค์นี้มีข้อความว่า 礼貌是你高雅、助人是你快乐、谦让增添美德。lǐmào shì nǐ ɡāoyǎ 、zhùrén shì nǐ kuàilè 、qiānrànɡ zēnɡtiān měidé  แปลว่า มารยาททำให้คุณสูงส่ง ช่วยคนทำให้คุณมีสุข การเสียสละทำให้เต็มเปี่ยมด้วยคุณธรรม          
        ภาพการพูดจากับผู้อื่น เรามักจะพบว่า ชาวจีนพูดคุยกันเสียงดัง เหมือนทะเลาะกัน นั่นเป็นเพราะความคิดที่ว่า คนที่พูดเสียงเบาเป็นคนไม่มีอำนาจ  แต่บางครั้งกลับเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ในสังคมประเทศอื่น ภาพการรนรงค์นี้เพื่อให้เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความรังเกียจของสังคม 

                        (2) 助人为乐、见义勇为zhùrén wéilèjiànyì yǒnɡwéi ช่วยคนเพื่อความสุข  ปลูกจิตกล้าหาญมั่นคุณธรรม   
ภาพการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตนเองก็มีความสุข ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือก็มีความสุข สังคมก็มีความสุข
ในภาพเป็นการจับผู้ร้าย ทั้งที่ตนเองก็ไม่ได้เป็นตำรวจ แต่ในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง เมื่อพบเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ต้องมีความกล้าหาญในการพิทักษ์รักษาคุณธรรม 

                        (3) 爱护公物 àihù ɡōnɡwù จำจดรักสมบัติสาธารณะ   
ภาพการรณรงค์นี้มีข้อความว่า  爱护公物使每个公民应尽的义务àihù ɡōnɡwù shǐ měiɡè ɡōnɡmín yīnɡjìn de yìwù แปลว่า รักษ์สมบัติสาธารณะเป็นภาระของพลเมืองทุกคน
ภาพการรณรงค์นี้มีข้อความว่า  爱护公物,一起来。àihù ɡōnɡwù,yìqǐ lái  รักษ์สาธารณสมบัติ มาร่วมมือกัน

                        (4) 保护环境   bǎohù huánjìnɡ สิ่งแวดล้อมรักษาไว้   
ภาพการรณรงค์นี้มีข้อความว่า 保护环境,就是爱惜生命。bǎohù huánjìnɡ jiùshì àixī shēnɡmìnɡ แปลว่า  รักษ์สภาพแวดล้อม รักษ์ชีวิต  
ภาพการรณรงค์นี้มีข้อความว่า 每人少仍一张纸,地球就会更美丽。měi rénshǎo rénɡ yì zhānɡ zhǐ ,dìqiú jiùhuì ɡènɡ měilì แปลว่า   ทิ้งเศษกระดาษให้น้อยลงเพียงคนละแผ่น โลกนี้ก็ยิ่งงดงาม

                        (5 ) 遵纪守法zūnjì shóufǎ เคารพกฎหมายวินัยของสังคม  
ภาพการรณรงค์นี้มีข้อความว่า 遵纪守法,一对夫妻只生一个孩子。zūnjì shóufǎ,yíduì fūqī zhǐshènɡ yíɡè háizi. แปลว่า  เคารพกฎหมาย สามีภรรยา1 คู่ มีลูกเพียง 1 คน
ภาพการรณรงค์นี้มีข้อความว่า 做知法,守法的好少年。zuò zhīfǎ,shóufǎ de hǎo shàonián แปลว่า เป็นเด็กดีที่รู้และเคารพกฎหมาย สะท้อนให้เห็นว่า ทางการจีนปลูกกฎหมายมากตั้งแต่วัยเด็ก   จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รู้และเคารพกฎหมาย 

3.2.2 职业道德zhíyè dàodéจริยธรรมสัมมาชีพ
            (1 ) 爱岗敬业àiɡǎnɡ jìnɡyè รักงานศรัทธาวิชาชีพ 
แผ่นภาพประชาสัมพันธ์รณรงค์เกี่ยวกับจริยธรรมสัมมนาชีพของของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศจีน มีข้อความว่า 爱岗敬业,无私奉献。àiɡǎnɡ jìnɡyè ,wúsī fènɡxiàn รักงานศรัทธาอาชีพ  อุทิศตนไม่เห็นแก่ตัว   
        ภาพโปสการ์ดที่ประชาสัมพันธ์รณรงค์เกี่ยวกับจริยธรรมสัมมนาชีพ มีข้อความว่า爱岗敬业,坚定立场,奉献无悔。àiɡǎnɡ jìnɡyè,jiāndìnɡ lìchǎnɡ,fènɡxiàn wúhuǐ แปลว่า ศรัทธาอาชีพรักการงาน ยึดมั่นในจุดยืน อุทิศตนไม่เสียดาย
            (2) 诚实守信chénɡshí shǒuxìn ซื่อสัตย์สุจริต 
ใบประกาศเกียรติคุณบริษัทผลิตเหล็กกล้า ยวี่หัว บนใบประกาศมีข้อความว่า 诚实守信,利益共享。chénɡshí shǒuxìn ,lìyì ɡònɡxiǎnɡ。แปลว่า รักษาสัตย์ รักษาความเชื่อมั่น   ร่วมกันรับประโยชน์  
ใบประกาศเกียรติคุณบริษัทผลิตยา  บนใบประกาศมีข้อความว่า 诚实守信等级(A级)chénɡshí shǒuxìn děnɡjí (A jí).แปลว่า  ระดับความซื่อสัตย์และเชื่อมั่น เกรด A เป็นรางวัลของสมาคมบริษัทผู้ผลิตยาของมณฑลกวางตุ้ง    

            (3) 办事公道bànshì ɡōnɡdào เที่ยงธรรมกิจการงาน 
แผ่นประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับคติการทำงาน ต้องประกอบด้วยสามอย่างเรียกว่า 三公sānɡōnɡ ได้แก่  公平ɡōnɡpínɡ 公正ɡōnɡzhènɡ 公开ɡōnɡkāi หมายความว่า ยุติธรรม เที่ยงธรรม และเปิดเผย
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมจีนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่พบเห็นได้บ่อยก็คือ การให้ ซองแดงกับหมอ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ดี ผู้ที่มอบซองแดงก็จะได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษทั้งจากแพทย์และโรงพยาบาล ถือเป็นการผิดจรรยาบรรณทางการแพทย์ การต่อต้านการรับซองแดงของแพทย์จึงถูกรณรงค์ในเรื่องความเที่ยงธรรมกิจการงาน  

                           (4) 服务群众fúwù qúnzhònɡ บริการมวลชน 
แผ่นป้ายโฆษณาโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง มีข้อความว่า 服务群众有情,不忘医德准则。fúwù qúnzhònɡ yǒuqínɡ, búwànɡ yīdé zhǔnzé. บริการมวลชนด้วยหัวใจ ไม่ลืมจรรยาบรรณการแพทย์
บัตรประจำตัวคณะกรรมการพรรคประจำอำเภอ  บนบัตรมีข้อความว่า 服务群众联系卡fúwù qúnzhònɡ liánxìkǎ แปลว่า บัตรติดต่อพนักงานบริการมวลชนหมายความว่า ผู้ถือบัตรนี้เป็นพนักงานของรัฐ มีภาระหน้าที่คือ บริการมวลชน

                        (5 ) 奉献社会 fènɡxiàn shèhuìอุทิศตนเพื่อสังคม
บนแผ่นประชาสัมพันธ์นี้มีข้อความว่า 志愿服务,关爱他人,奉献社会zhìyuàn fúwù,ɡuānài tārén,fènɡxiàn shèhuì อาสาบริการ ห่วงใยผู้อื่น อุทิศคนเพื่อมวลชน   
บนแผ่นประชาสัมพันธ์นี้มีข้อความว่า 学习雷锋,服务他人,奉献社会xuéxí Léi Fēnɡ,fúwù tārén,fènɡxiàn shèhuì แปลว่า เอาอย่างเหลยเฟิง บริการผู้อื่น อุทิศตนเพื่อมวลชน เหลยเฟิง เป็นทหารในสังกัดกองทัพปลดแอกประชาชนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เข้าร่วมเป็นยุวสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน สมัครเข้าเป็นทหารพลาธิการในกองทัพปลดแอกประชาชนตั้งแต่อายุ 20 ปี และประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ด้วยวัยเพียง 21 ปี
ภายหลังการเสียชีวิต ชื่อและภาพลักษณ์ของเหลยเฟิง ถูกพรรคคอมมิวนิสต์จีนนำมาใช้ในการโฆษณาอย่างกว้างขวาง  ในฐานะประชาชนจีนตัวอย่าง ผู้มีความสมถะ ทุ่มเทและอุทิศตนให้กับแนวทางของเหมา เจ๋อตง   

3.2.3 家庭美德jiātínɡ měidé คุณธรรมนำครอบครัว

                                (1) 尊老爱幼zūnlǎo àiyòu เคารพอาวุโสเมตตาผู้เยาว์ 

บนแผ่นประชาสัมพันธ์นี้มีข้อความว่า 尊老爱幼是中华民族的传统美德。zūnlǎo àiyòu shì zhōnɡhuá mínzú de chuántǒnɡ měidé แปลว่า เคารพอาวุโสเมตตาผู้เยาว์  เป็นคุณธรรมของเราชาวจีน
บนแผ่นประชาสัมพันธ์นี้มีข้อความว่า 尊重老人就是尊重你的将来。zūnzhònɡ lǎorén jiùshì zūnzhònɡ nǐde jiānɡlái หมายความว่า เคารพผู้อาวุโส ก็คือการเคารพตัวท่านเองในอนาคต 

                 (2) 男女平等nánnǚ pínɡděnɡ ชายหญิงเท่าเทียม

ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสมอภาคชายหญิงในสังคมจีนปัจจุบัน พบว่า
64% เห็นด้วย
19% ไม่เห็นด้วย
17% ไม่มีความคิดเห็น  
ผลสำรวจนี้จัดทำโดยเว็บไซด์สนทนาปัญหาสังคมของจีน ชื่อ  Zhihu
ตราสัญลักษณ์นี้เป็นของ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การศึกษาความเสมอภาคชายหญิงแห่งมณฑลเจียงซู สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับความเสมอภาคชายหญิง  มีการจัดตั้งศูนย์หรือหน่วยงานที่ดำเนินการด้านนี้โดยเฉพาะทั้งระดับประเทศ และหน่วยงานระดับท้องถิ่น 

                            (3) 夫妻和睦fūqī hémù สามีภรรยารักใคร่  
ความสัมพันธ์ของสามีภรรยาเป็นพื้นฐานของครอบครัวที่สำคัญเป็นสิ่งรับประกันความสุขของครอบครัว จากเดิมที่ชายเป็นใหญ่ในบ้านเพราะเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว ฝ่ายหญิงอยู่บ้านดูแลการงานในบ้าน แต่ในยุคที่สังคมเปลี่ยนไป ทั้งสามีภรรยาต่างช่วยกันหาเลี้ยงครอบครัว จึงมีการส่งเสริมความเท่าเทียมชายหญิง ในภาพฝ่ายหญิงบอกว่า คุณไปพักผ่อนเถอะ เดี๋ยวฉันล้างจานเองฝ่ายชายบอกว่า เมียจ๋า เดี๋ยวผมล้างจานให้เองนะ

โพลสำรวจเกี่ยวกับคุณธรรมในครอบครัวที่ชาวจีนคิดว่าสำคัญที่สุด จัดทำโดยเว็บไซด์ ชื่อ Renmin “ประชาชนจีน เผยแพร่เมื่อ วันที่ 20 ธ.ค.2013
อันดับ 1 คือ ความกตัญญู 81.4%
อันดับ 2 คือ สามีภรรยารักใคร่ 56.2%
อันดับ 3 คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน 19.2%
อันดับ 4 คือ ความสัมพันธ์กับญาติพี่น้อง 14.8%
อันดับ 5 คือ การให้ความรักกับญาติรุ่นหลัง 14.3%
อื่นๆ 6.7% 

                        (4) 勤俭持家qínjiǎn chíjiā หมั่นเพียรมัธยัสถ์ประหยัดครองเรือน   
ภาพการ์ตูนส่งเสริมคุณธรรม มีข้อความว่า 勤俭持家,新阿大,旧阿二,补阿三。qínjiǎn chíjiā,xīn ādà,jiù ā èr,bǔ āsān แปลว่า หมั่นเพียรมัธยัสถ์ประหยัดครองเรือน ใหม่คนโต เก่าคนรอง ปะคนที่สามหมายความว่า เสื้อตัวใหม่ให้ลูกคนโต เสื้อเก่าให้คนที่สอง เสื้อที่เก่าจนขาดนำมาปะให้คนที่สาม  
闽南俚语:大富由天小富由勤俭

ภาพวาดจากนิทานสุภาษิตที่ว่า 大富由天小富由勤俭dàfù yóu tiān xiǎo fù yóu qínjiǎn มหาเศรษฐีฟ้าลิขิต เศรษฐีน้อยมัธยัสถ์ประหยัดเอา   เป็นคำสอนที่ชาวจีนใช้อบรมสั่งสอนบุตรหลานในเรื่องความขยันหมั่นเพียร และการประหยัดอดออม   



(5) 邻里团结 línlǐ tuánjié เครือญาติเพื่อนบ้านสามัคคี 

ภาพการจินตนาการการวางผังเมืองเป็นรูปตัวอักษรจีนว่า 团结tuánjié แปลว่า สมัครสมานสามัคคี เป็นภาพประกอบบทความในหนังสือพิมพ์จีนชื่อ ตงเจียงสือป้าว เรื่อง 你理解我关心 楼上楼下如至亲nǐ líjiě wǒ ɡuānxīn lóushànɡ lóuxià rú zhìqīn   แปลว่า คุณเข้าใจ ฉันใส่ใจ ชั้นบนชั้นล่างดั่งญาติมิตร


แม่สามีกับลูกสะใภ้เป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของครอบครัวชาวจีน ตามธรรมเนียมจีนแล้ว ผู้หญิงเมื่อแต่งเข้าบ้านฝ่ายชายก็ถือเป็นคนของบ้านฝ่ายชาย แต่การที่จะให้แม่สามียอมรับนั้นเป็นเรื่องยาก ต้องใช้ระยะเวลาและความอดทนสูง แต่สังคมปัจจุบันที่ผู้หญิงมีการศึกษา มีสังคม มีฐานะที่ดีขึ้น จึงเกิดข้อพิพาทกับแม่สามีอยู่เป็นประจำ ฝ่ายสามีก็ต้องกตัญญูต่อแม่ไม่อาจเข้าข้างภรรยาได้ หลายครอบครัวเกิดปัญหา
หย่าร้างเพราะปัญหา แม่สามีลูกสะใภ้ หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับสิทธิ
เด็กและสตรีได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมมอบรางวัล แม่สามีลูกสะใภ้ รักใคร่กลมเกลียวและรางวัล สะใภ้ดีเด่นเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีของแม่สามีกับลูกสะใภ้ ตัวอย่างเกียรติบัตรนี้เป็นรางวัล แม่สามีลูกสะใภ้ รักใคร่กลมเกลียวของสมาคมสตรี  มณฑลกวางตุ้ง    

               3.3วาทกรรมความเอื้อเฟื้อในสังคมจีนปัจจุบัน 
               จากนโยบายเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่รัฐบาลส่งเสริม นำมาซึ่งวาทกรรมแห่งความเอื้อเฟื้อเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า คำคมเหล่านี้นิยมใช้เป็นคำขวัญประจำหน่วยงาน สถานศึกษา การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ มักพบการพิมพ์เป็นตัวอักษรบนป้ายผ้าสีแดง หรือพิมพ์เป็นแผ่นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ติดไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อเป็นข้อเตือนใจ กระตุ้นเตือนและปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชน ในหัวข้อนี้จะได้ยกตัวอย่างวาทกรรมความเอื้อเฟื้อ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 หัวข้อย่อยตามนโยบายของรัฐบาล คือ วาทกรรมเกี่ยวกับศีลธรรมนำสังคม วาทกรรมเกี่ยวกับจริยธรรมสัมมนาชีพ และวาทกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมนำครอบครัว ดังนี้ 
3.1 วาทกรรมเกี่ยวกับศีลธรรมนำสังคม จากการสำรวจข้อมูลวาทกรรมที่เกี่ยวกับศีลธรรมนำสังคม สามารถแบ่งได้เป็นสามประเภท คือ การปฏิบัติต่อตนเอง การปฏิบัติต่อผู้อื่น และการปฏิบัติต่อสังคม  ดังนี้
3.1.1 การปฏิบัติตน
(1) 花缘芳香而美丽,人因文明有魅力。冯慧敏
huā yuán fānɡxiānɡ ér měilì,rén yīn
wénmínɡ yǒumèilì (Fénɡ Huì mǐn)
ดอกไม้งดงามด้วยหอมกรุ่น คนมี เสน่ห์ด้วยอารยธรรม(เฝิงฮุ่ยหมิ่น)
(2) 文明礼貌,用心创造。冯慧敏wénmínɡ
lǐmào,yònɡxīn chuànɡzào。(Fénɡ Huì mǐn)
อารยธรรม มารยาท สร้างได้ด้วยใจ
(เฝิงฮุ่ยหมิ่น)
(3) 财富每天在更换主人,而道德则永远属于自己。 程晓红 cáifù měitiān zài ɡēnɡhuàn
zhǔrén,ér dàodé zé yónɡyuǎn shǔyú zìjǐ.
(Chénɡ Xiǎohónɡ)
ทรัพย์สมบัติผลัดเจ้าของทุกวี่วัน คุณธรรมนั้นเป็นของตนตลอดไป
(เฉิงเสี่ยวหง)
(4) 心中有德,言行文明;胸中有法,幸福安 宁。(贾素平 ) xīnzhōnɡ yǒu dé,yánxínɡ wénmínɡ;xiōnɡzhōnɡ yǒufǎ,xìnɡ fúān nínɡ.(Jiǎ
Sùpínɡ)
ใจมีคุณธรรม พูดและทำอย่างมีอารยธรรม ยึดมั่นถือกฎหมาย  สุขสบาย สงบ ปลอดภัย
(เจี่ยซู่ผิง)
(5) 容忍之德不可无,欺负人之心不可有。 (杨礼珍rónɡrěn zhī dé bú kěwú,qīfu rén zhīxīn bùkě yǒu. (Yánɡ Lǐzhēn)
ขันติอดทนขาดมิได้  คิดทำร้ายรังแกผู้อื่นอย่าได้มี  (หยางหลี่เจิน)

3.1.2 การปฏิบัติต่อผู้อื่น
(1) 将心比心,推己及人,己所不欲,勿施于人 (谚语) jiānɡxīnbǐxīn ,tuījǐjí
rén ,jǐsuǒbúyù ,wùshīyúrén (yànyǔ)
เอาใจเปรียบใจ ใจเราใจเขา เราไม่ปรารถนานั้นเล่า จงอย่าทำกับผู้ใด (สำนวน) 
(2) 良言一句,三冬亦暖,恶语伤人,六月犹寒liánɡyán yíjù,sān dōnɡ yì nuǎn,èyǔ shānɡrénliùyuè yóu hán(yànyǔ)
หนึ่งคำไพเราะ  อบอุ่นเหมันต์  ถ้อยคำร้ายนั้นเดือนหกยังหนาวเหน็บ (สำนวน)   
(3) 偶尔助人,别人将记住他的名字。永远助人,历史将记住他的名字。 史闻铭
óuěr zhùrénbiérén jiānɡ jìzhù tāde mínɡzi.yónɡyuǎn zhùrénlìshǐ jiānɡ jìzhù tāde mínɡzi.(Shǐ Wénmínɡ)
ช่วยเหลือคนเพียงครั้งคราว  คนจดจำชื่อเขาไว้ ช่วยเหลือคนตลอดไป ประวัติศาสตร์จารึกนาม (สื่อเหวินหมิง)
 (4) 有事大家牵牵手,有难大家伸伸手。(奚德辚) yǒushì dàjiā qiān qiānshǒuyǒu nán dàjiā shēn shēnshǒu. (Xī Délín)
เกิดเรื่องจับมือกันเอาไว้ มีทุกข์ภัยยื่นมือมาช่วยกัน (ซีเต๋อหลิน)
(5) 在别人需要帮助时,我应该做些什么?(邵龄zài biérén xūyào bānɡzhù shí,wǒ yīnɡɡāi zuòxiē shénme? (Shào Línɡ)
คราใดที่มีคนต้องการความช่วยเหลือ ฉันควรจะทำอะไร (ซ่าวหลิน)

3.1.3 การปฏิบัติต่อสังคม 

(1) 我参与,我文明,城市因我而美丽( 城市格言) wǒ cānyù ,wǒ wénmínɡ ,chénɡshì yīnwǒ ér měilì( chénɡshì ɡéyán)
ฉันร่วมสร้าง ฉันมีอารยธรรม บ้านเมืองงดงามได้ด้วยเรา
(คำขวัญประจำเมือง)
(2) 文明让城市更美丽,文明让生活更美好( 城市格言) wénmínɡ rànɡ chénɡshì ɡènɡ měilì ,wénmínɡ rànɡ shēnɡhuó ɡènɡ méihǎo( chénɡshì ɡéyán)
อารยธรรมนำบ้านเมืองให้งดงาม อารยธรรมสร้างชีวิตวันหน้าที่ดีกว่า  (คำขวัญประจำเมือง)
(3)文明城市人人参与,文明成果人人共享( 城市格言) wénmínɡ chénɡshì rénrén cānyù ,wénmínɡ chénɡɡuǒ rénrén ɡònɡxiǎnɡ( chénɡshì ɡéyán)
เมืองแห่งอารยธรรมเราร่วมใจ
ผลแห่งอารยธรรมเราร่วมสุข
(คำขวัญประจำเมือง)
(4) 创文明城市从点滴做起,建一流省会从你我开始( 城市格言) chuànɡ wénmínɡ chénɡshì cónɡ diǎndī zuòqǐ ,jiàn yìliú shěnɡhuì cónɡ nǐwǒ kāishǐ( chénɡshì ɡéyán)
สร้างเมืองอารยธรรมเริ่มจากจุดเล็กๆ
สร้างเมืองชั้นนำด้วยมือของเรา
(คำขวัญประจำเมือง)
(5) 热心公益,大家受益。(阮光明)  rèxīn ɡōnɡyì,dàjiā shòuyì.(ruǎn ɡuānɡmínɡ) 
มุ่งมั่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม  ทุกคนร่วมรับผลดี (หร่วนกวางหมิง)

3.2 วาทกรรมเกี่ยวกับจริยธรรมสัมมาชีพ
3.2.1 การปฏิบัติตนเอง
(1) 学高为师,身正为范。xué ɡāo wéishī,shēn zhènɡ wéi fàn
การศึกษาสูงนับเป็นครู  การปฏิบัติตัวดีนับเป็นแบบอย่าง
(2)说话重在信,办事重在实。shuōhuà zhònɡzài xìn ,bànshì zhònɡzài shí
วาจาน่าเชื่อถือ  ทำงานคือยึดถือความจริง
(3)事业重如山,名利淡如水。
shìyè zhònɡ rúshānmínɡlì
dàn rú shuǐ
การงานหนักดั่งภูผา ลาภยศจืดดั่งน้ำ
(4)清白之心不可无,贪欲之念不可有。qīnɡbái zhī xīnbú kěwú ,tānyù zhī niàn bùkě yǒu.
จิตใจใสสะอาดอย่าได้ขาด    ความคิดละโมบโลภมากอย่าได้มี
(5)要成为杰出的人物,就应当干出杰出的事业。(胡居仁)Yào chénɡwéi jiéchū de rénwù,jiù yīnɡdānɡ ɡān chū jiéchū de shìyè。(Hú Jūrén)
อยากเป็นคนอัจฉริยะ ต้องสร้างผลงานชิ้นเอก (หูจวีเหริน)

3.2.2 การปฏิบัติต่อผู้อื่น
(1) 文明办事,友善待人。wénmínɡ bànshì ,yǒushàn dàirén.
ทำงานอย่างมีอารยธรรม ด้วยมิตรภาพและไมตรี  
(2)官多一分廉,民增一分福。
ɡuān duō yìfēn lián mín zēnɡ yìfēn fú
ข้าราชการมือสะอาดเพิ่มมาหนึ่ง ประชาชนมีความสุขเพิ่มอีกหนึ่ง
(3)为官者必先为德,从政者必定从民。Wéi ɡuānzhě bì xiān wéi dé,cónɡ zhènɡzhě bìdìnɡ cónɡ mín
ข้าราชการต้องยึดถือจรรยาบรรณ เป็นคนของรัฐบาลก็คือคนของประชาชน   
(4)贪一分,百姓恶十分;廉百分,百姓喜万分。tān yìfēn ,bǎixìnɡ è shífēn ;lián bǎifēn ,bǎixìnɡ xǐ wànfēn 。
ละโมบหนึ่งส่วน ราษฎรทุกข์ร้อยส่วน มือสะอาดร้อยส่วน ราษฎรสุขหมื่นส่วน  
(5)及时给予等于加倍给予。
การให้ได้ทันเวลา เท่ากับให้ได้เพิ่มเป็นทวี 

3.2.3 การปฏิบัติต่อสังคม 
(1)作风要朴实,工作要扎实,任务要落实。zuòfēnɡ yào pǔshí ,ɡōnɡzuò yào zhāshi,rènwù yào luòshí.
ท่าทีต้องเรียบง่าย การงานต้องแข็งขัน ภารกิจต้องเป็นจริง
(2) 政府的第一要务不是发展经济,而是维护公平正义zhènɡfǔ de dìyī yàowù búshì fāzhǎn jīnɡjì,érshì wéihù ɡōnɡpínɡ zhènɡyì.
ภาระหลักของรัฐมิใช่พัฒนาเศรษฐกิจ แต่มุ่งผดุงความยุติธรรมและคุณธรรม
(3) 事业成功在于努力,人生价值在于奉献。shìyè chénɡɡōnɡ zàiyú nǔlì,rénshēnɡ jiàzhí zàiyú fènɡxiàn.
ความสำเร็จในกิจการงานอยู่ที่ความหมั่นเพียร  คุณค่าของคนอยู่ที่เสียสละเพื่อส่วนรวม
(4) 加强职业道德建设,提高优质服务水平。jiāqiánɡ zhíyè dàodé jiànshè ,tíɡāo yōuzhì fúwù shuǐpínɡ
มุ่งสร้างจริยธรรมสัมมาชีพ ยกระดับคุณภาพการบริการ
(5) 志愿者精神——奉献、友爱、互助、进步。zhì yuànzhě jīnɡshen--fènɡxiàn、yǒuài、hùzhù、jìnbù.
เจตจำนงของอาสาสมัคร: เสียสละ  เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ ก้าวหน้า 

3.3  วาทกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมนำครอบครัว
           3.3.1 การปฏิบัติต่อตนเองและในครอบครัว
  
(1) 大手牵小手,幸福一起走。dàshǒu qiān  xiǎoshǒu ,xìnɡfú yìqǐ zǒu
มือใหญ่จูงมือเล็ก ความสุขไปด้วยกัน
(2) 家庭是第一所课堂,父母是第一任教师。 jiātínɡ shì dìyī suǒ kètánɡ,fùmǔ shì dì yírèn jiàoshī.
ครอบครัวคือห้องเรียนห้องแรก พ่อแม่คือครูคนแรก
(3) 善待老人,就是善待明天的自己。shàndài lǎorénjiùshì shàndài mínɡtiān de zìjǐ.
เมตตาผู้อาวุโส  ก็คือเมตตาต่อตนเองในวันพรุ่งนี้
(4)生男生女都一样 女儿也是传后人。shēnɡ nán shēnɡnǚ dōu yíyànɡ nǚér yěshì chuán  hòurén.
มีลูกชายหรือลูกสาวก็เหมือนกัน ลูกสาวก็เป็น  คนสืบเชื้อสายเหมือนกัน
(5) 麻将少打,书报多看;猫狗少养,花草多栽。májiānɡ shǎo dǎ ,shūbào duōkàn ;māo ɡǒu shǎo yǎnɡ ,huācǎo duō zāi
เล่นไพ่น้อยลง อ่านหนังสือมากขึ้น    เลี้ยงแมวหมาน้อยลง ปลูกต้นไม้ดอกไม้มากขึ้น

            3.3.2 การปฏิบัติต่อผู้อื่น 
(1)邻里是兄弟,相敬又相让. línlǐ shì xiōnɡdi ,xiānɡ jìnɡ yòu xiānɡrànɡ.
ครอบครัวและเพื่อนบ้านคือพี่น้อง 
เคารพและ  ยอมอภัยให้แก่กัน
(2) 为了未来奉献一片爱心,为了孩子送上一份真情。wèile wèilái fènɡxiàn yípiàn àixīn ,wèile háizi sònɡshànɡ yífèn zhēnqínɡ
มอบความรักสักนิดเพื่อชีวิตในวันหน้า 
มอบความรักบริสุทธิ์เพื่อเด็กในวันนี้
(3)点点爱心点点善,处处阳光处处暖。diǎndiǎn àixīn diǎndiǎn shàn ,chùchù yánɡɡuānɡ chùchù nuǎn
รักกันวันละนิด เมตตาวันละหน่อย ดั่งแสง       อาทิตย์ส่อง อบอุ่นทั่วทุกแห่ง
(4) 和睦和乐和谐,互帮互助互爱hémù hélè héxié ,hùbānɡ hùzhù hùài
ปรองดอง ร่วมสุข สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ    รักกัน
(5)寻找老邻居、结识新邻居、感谢好邻居xúnzhǎo lǎo línjū 、jiéshí xīn línjū 、ɡǎnxiè hǎo línjū
ตามหาเพื่อนบ้านเก่า รู้จักเพื่อนบ้านใหม่   ขอบคุณเพื่อนบ้านดี
 
               3.3.3 การปฏิบัติต่อสังคม
(1) 同创文明社区,共建美好家园。tónɡ  chuànɡ wénmínɡ shèqū,ɡònɡjiàn méihǎo jiāyuán
สร้างสรรค์ชุมชนอารยธรรม สรรค์สร้างชุมชน ให้งดงาม
(2) 家庭和睦、邻里和善、社会和谐。jiātínɡ hémù、línlǐ héshàn、shèhuì héxié
ครอบครัวกลมเกลียว เพื่อนบ้านเอื้อเฟื้อ สังคม สามัคคี
(3) 和睦和气和谐,善言善事善行hémù hé qì héxié ,shànyán shànshì shànxínɡ
กลมเกลียว เอื้อเฟื้อ สามัคคี  พูดดี งานดี ทำดี 
(4) 我为人人  人人为我wǒ wéi rénrén   rénrén wéiwǒ
ฉันทำเพื่อทุกคน ทุกคนทำเพื่อฉัน
(5) 奉献你我爱心,共享美好人生。fènɡxiàn nǐwǒ àixīn,ɡònɡxiǎnɡ méihǎo rénshēnɡ
ฉันเธอมอบรักแก่กัน ร่วมสุขชีวิตงดงาม 
 
4..บทสรุป 
แม้ว่าการรณรงค์จะกระทำอย่างกว้างขวาง หากแต่ในสังคมที่ผู้คนมีความเป็นปัจเจกนิยมสูง  ยึดถือประโยชน์ส่วนตนสูง  การณรงค์คงไม่เป็นผล ปรากฏการณ์ที่มีคนแซงคิวได้ก่อนคนต่อแถวได้ทีหลัง คนฝ่าไฟแดงไปถึงจุดหมายก่อนคนรอไฟเขียวไปถึงทีหลัง คนทิ้งขยะในที่สาธารณะสะดวกสบายคนแบกขยะไปทิ้งในที่จัดไว้ต้องรับภาระเหนื่อยหนัก คนสูบบุหรี่ในที่สาธารณะสุขใจคนไม่สูบต้อนทนรำคาญและสุขภาพถูกทำลาย คนเข้าห้องน้ำไม่ล้างรีบไปประหยัดเวลาคนที่รักษาความสะอาดต้องเสียเวลา คนแย่งขึ้นรถโดยสารได้ไปคนต่อแถวไม่ได้ขึ้นรถ สิ่งเหล่านี้ชาวจีนทุกคนรู้ว่าเป็นคุณธรรมทางสังคมที่ตนเองต้องการ แต่คนที่ยึดถือคุณธรรมเริ่มเรียนรู้ว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป หากคนที่เอาเปรียบสังคมกลับได้รับผลประโยชน์ แต่คนที่มีคุณธรรมกลับเสียผลประโยชน์ คงไม่มีใครยอมปฏิบัติตนตามแบบอย่างคุณธรรมเพื่อให้ตนเองเสียผลประโยชน์อยู่ร่ำไปเป็นแน่ ชาวจีนมีความเห็นว่า เหตุที่ผู้คนขาดคุณธรรมเกิดมาจากหลายปัจจัย ดังแสดงในแผนภูมิต่อไปนี้
30% การอบรมสั่งสอน
21.40% วิธีการควบคุมของรัฐ
18% ระบบการควบคุมดูแลของรัฐ
13.50% การควบคุมดูแลมติมวลชน
8%  คุณภาพชีวิตของบุคคล
5.70% สภาพทางสังคม
5% การละเลยที่จะปฏิบัติตามหลักคุณธรรม

ผู้เขียนเห็นตรงกันกับแนวคิดของประชาชนชาวจีน และแนวคิดของนักวิชาการทางสังคมว่า การที่จะฟื้นฟูคุณธรรมทางสังคมของชาวจีนนั้นมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลักๆ สามประการ คือ 1.การฝึกฝนคุณธรรมของตนเอง 2.ใช้กฎหมายสร้างให้เกิดคุณธรรม และ 3.ต้องรักษาผลประโยชน์คนดีและลงโทษผู้กระทำผิด   

เอกสารอ้างอิง

编写组.2012.《思想道德修养与法律基础》高等教育出版社:北京.
(เรียบเรียง,ฝ่าย.2012.กฎหมายพื้นฐานและหลักคุณธรรม.สำนักพิมพ์การศึกษาขั้นสูง:    ปักกิ่ง.)

林毅夫.2005.“缩小中国贫富差距关键是让穷人富起来”.网络文章.2005

            1019(Lín Yìfū.2005. หลักการสำคัญในลดความแตกต่างคนรวยกับคนจน

            คือทำให้คนจนร่ำรวยขึ้น.วันที่19ตุลาคม 2005) เข้าถึงได้ทาง
汝信, 陆学艺,李培林.2006.《中国社会形势分析与预测总报告》社会科学文
      献出版社:北京. (Rǔ xìn,Lù Xuéyì,Lǐ Péilín.2006.รายงานการพยากรณ์
            สถานการณ์ทางสังคมของประเทศจีน.สำนักพิมพ์สารสนเทศทางสังคม:ปักกิ่ง)
田芳.2010 浅析传统美德与现代社会公德. 《浙江文明网》浙江,201011
      29日。
          (Tián Fānɡ.2010.เสวนาประเด็นคุณธรรมดั้งเดิมกับศีลธรรมในสังคมปัจจุบัน.เว็บไซด์
            อารยธรรมเจ้อเจียง.วันที่29 พฤศจิกายน 2010) เข้าถึงได้ทาง
辛向阳.2005. 当今社会公德缺失的成因与对策 中国青年报中国共产主义青年团
                中央委员会:北京。
                (Xīn Xiànɡyánɡ.2005.แนวนโยบายกับการขาดคุณธรรมในสังคมปัจจุบัน
            หนังสือพิมพ์เยาวชนจีน.คณะกรรมการกลางเยาวชนแห่งพรรคประชาชนจีน:ปักกิ่ง)
中国教育科学研究院.“中国的扫盲教育”《教育研究》,1997年第6.  
         (วิจัยการศึกษาแห่งชาติจีน,สถาบัน.(1997) การจัดการศึกษาเพื่อลดจำนวนคนไม่รู้หนังสือ
            ของประเทศจีน วารสารวิชาการวิจัยการศึกษา.ปี 1997 ฉบับที่ 6)
中国就业培训指导中心.2010.《职业道德》中央广播电视大学出版社:北京.
          (แนะแนวและฝึกอบรมการหางานของประเทศจีน,ศูนย์.2010.จริยธรรมสัมมาชีพ.
            สำนักพิมพ์การศึกษาขั้นสูง:ปักกิ่ง)





[1] สังกัด
[2] เต๋า(Dào)  คือ ลัทธิที่เน้นการเข้าหาธรรมชาติ   การปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ  เรียนรู้ธรรมชาติและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล  ศาสดาของ เต๋า คือ เล่าจื๊อ ได้เขียนข้อความสื่อถึง "เต๋า" ไว้ในชื่อคัมภีร์ชื่อ "เต้าเต๋จิ" (道德經 Dàodéjīng) แปลว่า คัมภีร์คุณธรรม 
[3] ขงจื่อ() เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อนคริสตศักราช)  นักปรัชญาชาวจีน คำสอนของขงจื๊อมุ่งเน้นการพัฒนาคุณธรรมและการธำรงรักษาจริยธรรม  
[4]  พุทธ(Shì)  คือ พระศรีศากยมุนี พุทธเจ้าของทางฝ่ายมหายานออกเสียงพระนามทับศัพท์ว่า เสก เกีย คือ ศากยะ และ เมา นี คือ มุนี รวมเป็น เสกเกียเมานี ซึ่งก็คือพระมหาสมณโคดม หรือ เจ้าชายสิทธัตถะ ที่ประสูติในสวนลุมพินีวัน ประเทศอินเดีย ภาษาจีนใช้คำนี้เรียกศาสนาพุทธนิกายมหายาน
[5]  อ้างอิงมาจากบทความเรื่อง  浅谈传统美德与现代社会公德qiǎntán chuántǒnɡ měidé yǔ xiàndài shèhuì ɡōnɡdé เสวนาประเด็นคุณธรรมดั้งเดิมกับศีลธรรมในสังคมปัจจุบัน. (田芳Tián Fānɡ2010)   

[6] 中国式贫富差距Zhōnɡɡuóshì pínfù chājù  (ความแตกต่างของคนจนกับคนรวยตามแบบของจีน)  บทความในเว็บไซด์ http://baike.soso.com/v4784424.htm  :สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2557

[7]中国教育科学研究院. “中国的扫盲教育”《教育研究》,1997年第6. Zhōnɡɡuó jiàoyù kēxué     yánjiūyuàn. "zhōnɡɡuó de sǎománɡ jiàoyù" jiàoyù yánjiū 1997nián dì6qī.
 (สถาบันวิจัยการศึกษาแห่งชาติจีน.(1997) การจัดการศึกษาเพื่อลดจำนวนคนไม่รู้หนังสือของประเทศจีน วารสารวิชาการวิจัยการศึกษา.ปี 1997 ฉบับที่ 6 )

[8]  ข้อมูลนี้ได้มาจากบทความเรื่อง 离婚率líhūnlǜ อัตราการหย่าร้าง  จาก  เว็บไซด์ไป่เคอ http://www.baike.com/wiki   

[9] ทางการจีนแบ่งระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองเป็น 4 ระดับ คือ ยากจน(贫困pínkùn) อุ่นอิ่ม (温饱wēnbǎo มีเสื้อผ้าพอใส่ มีอาหารพอกิน)  เสี่ยวคาง  (小康xiǎokānɡ) และร่ำรวย   (富裕fùyù)  ระดับ เสี่ยวคาง อยู่ตรงกลางระหว่างระดับมีพอกินพอใช้ กับระดับร่ำรวย จัดว่าเป็นระดับที่ สุขสบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น