วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ระบบคำสรรพนามของภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

เมชฌ สอดสองกฤษ.(2556) ระบบคำสรรพนามของภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีน.The Journal.วารสารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ปีที่9 ฉบับที่1. หน้า119-141.  (วารสารออกเผยแพร่เมื่อ มกราคม 2559

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ระบบคำสรรพนามของภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน1

เมชฌ สอดส่องกฤษ*

Abstract

In China, 56 ethnic groups are officially endorsed by the Chinese government. Of these, 3 are members of the Mon-Khmer family, namely, the Blang, the De’ang, and the Wa ethnic minorities. These three groups live scatteredly in Southern China including Yunnan Province and Guangxi Region. They also migrate across borders to settle along the borders of neighboring countries including northern Thailand.

The results of this comparative study revealed that the system of “personal pronouns” of all three languages are quite similar. In each language, personal pronouns are systematically classified into first person, second person and third person. They may also take different forms depending on number. In other languages, the number categories are singular and plural. But these three languages also have a dual number. Typically, the root remains the same. Changes of consonant express first, second and third person, and changes of vowel identify whether the form is singular, dual or plural.

The results also showed that personal pronouns of Blang language are similar to those of Wa language. However, the use of personal pronouns of De’ang is slightly different from others.

บทคัดย่อ

ในประเทศจีนมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ 56 กลุ่ม ในจำนวนนี้มีอยู่ 3 กลุ่มที่พูดภาษาตระกูลมอญ - เขมร คือ ชนชาติส่วนน้อยเผ่าปลัง (Blang) ชนชาติส่วนน้อยเผ่าเต๋ออ๋าง (De'ang) และชนชาติส่วนน้อยเผ่าหว่า (Wa) ชนชาติส่วนน้อยทั้งสามกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณจีนตอนใต้ ได้แก่เขตมณฑลยูนนานและกวางสี ทั้งยังมีการอพยพโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนของประเทศใกล้เคียง รวมถึงภาคเหนือของประเทศไทยด้วย จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า คำบุรุษสรรพนาม  ทั้งในแต่ละภาษาเองและระหว่างภาษาของภาษาทั้งสามมีความเป็นระบบระเบียบที่ชัดเจน นอกจากการแบ่งคำบุรุษสรรพนามออกเป็นบุรุษที่ 1, 2, 3 แล้ว ยังมีการแบ่งพจน์ของสรรพนามออกเป็นเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ โดยใช้วิธีการแปรเสียงพยัญชนะต้นเพื่อแยกบุรุษ และแปรเสียงสระเพื่อแยกพจน์ จากการเปรียบเทียบชี้ให้เห็นว่า คำบุรุษสรรพนามภาษาปลังมีความใกล้ชิดกับภาษาหว่าทั้งระบบ ส่วนภาษาเต๋ออ๋างมีบางส่วนที่มีความสัมพันธ์ห่างออกไปจากภาษาอื่นเล็กน้อย แต่โดยภาพรวมแล้วทั้งสามภาษามีระบบคำบุรุษสรรพนามที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด      

1. บทนำ
ในประเทศจีนมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ 56 กลุ่ม ชนกลุ่มใหญ่คือชาวฮั่น นอกจากนั้นรัฐบาลจีนเรียกว่า ส่าวซู่หมินจู๋ (少数民族Shǎoshù mínzú แปลว่า ชนชาติส่วนน้อย) ในบรรดาชนกลุ่มน้อยทั้ง 56 กลุ่ม มีอยู่ 3 กลุ่มที่พูดภาษาตระกูลมอญ - เขมร คือ ชนชาติส่วนน้อยปลัง (Blang) ชนชาติส่วนน้อยเต๋ออ๋าง (De'ang) และชนชาติส่วนน้อยหว่า (Wa) ชนเผ่าทั้งสามกลุ่มนี้กระจายตัวอยู่ในบริเวณจีนตอนใต้ ได้แก่เขตมณฑลยูนนานและกวางสี ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับชนเผ่าทั้งสามมีดังนี้ 
1.1 ชนชาติส่วนน้อยปลัง (Blang) ภาษาจีนออกเสียงว่า ปู้หล่าง (布朗  Bùlǎnɡ) อาศัยอยู่บริเวณอำเภอเหมิงห่าย (勐海Měnɡhǎi) อำเภอจิ่งหง (景洪Jǐnɡ hónɡ) ของเขตปกครองตนเองเผ่าไต (傣族自治州 Dǎi Zú zìzhìzhōu) สิบสองปันนา (西双版纳  Xīshuānɡbǎnnà) ในมณฑลยูนนานและบริเวณอำเภอซวงเจียง (双江Shuānɡjiānɡ) อำเภอหย่งเต๋อ (永德Yǒnɡdé) อำเภอหยุน (云县Yúnxiàn) อำเภอเกิ๋งหม่า (耿马Gěnɡmǎ) ของเมืองหลินชาง (临沧Líncānɡ) และบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณอำเภอหลานชาง (澜沧 Láncānɡ) อำเภอโม่เจียง (墨江Mòjiānɡ) ของเมืองซือเหมา (思茅Sīmáo) จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 พบว่ามีจำนวนประชากรชาวปลังทั้งสิ้น 91,882 คน ภาษาที่ชาวปลังพูดจัดอยู่ในตระกูลภาษาใหญ่ Austro-Asiatic ตระกูลภาษามอญ-เขมร มีถิ่นฐานหลักในบริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าไตสิบสองปันนา 
มุมมองของนักวิชาการไทย (สุริยา รัตนกุล, 2531, 123-124) ในหนังสือชื่อ นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1: ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกและภาษาตระกูลจีน-ธิเบต ให้ข้อมูลการจัดแบ่งตระกูลภาษาปลังว่า ภาษาปลังหรือภาษาบลัง หรือภาษาปูลัง เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร สาขาปะหล่อง มีผู้พูดทั้งสิ้น 37,200 คน พบในจีน 24,000 คน (พ.ศ. 2533) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน ในสิบสองปันนา บางส่วนอยู่ร่วมกับชาวว้า ผู้พูดภาษานี้มักใช้ภาษาไท ภาษาว้า หรือภาษาจีนได้ด้วย พบในพม่า 12,000 คน (พ.ศ. 2537) ทางตะวันออกของรัฐฉาน พบในไทย 1,200 คน ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และในกรุงเทพฯ อัตราการรู้หนังสือต่ำ อพยพมาจากสิบสองปันนาโดยเข้าไปอยู่ในพม่าระยะหนึ่งแล้วจึงเข้ามาไทยเมื่อ พ.ศ. 2517 มีสำเนียงท้องถิ่นอย่างน้อย 7 สำเนียง คือ กอนตอย จงมอย สะแตง แพมยอง กอนมาก ปังโลชิ และกอนกาง

1.2 ชนชาติส่วนน้อยเต๋ออ๋าง (De'ang) ในปีก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ. 1949 ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนกลุ่มนี้เรียกชื่อตัวเองว่า เปิงหลง(崩龙Bēnɡlónɡ) จนกระทั่งปี ค.ศ.1985  ชนเผ่านี้เป็นที่ยอมรับจากทางการจีนในชื่อ เต๋ออ๋าง (德昂ánɡ ชาวเผ่าเต๋ออ๋างออกเสียงว่า /t’ /a:N/) ตามคำเรียกร้องและความเห็นชอบของเจ้าของชนเผ่าเอง ตั้งถิ่นฐานอย่างกระจัดกระจายในมณฑลยูนนาน (云南Yúnnán) ในเขตปกครองตนเองเผ่าไต (傣族Dǎi Zú) เผ่าจิ่งโพ (景颇族Jǐnɡpō Zú)  เมืองเต๋อหง (德宏Déhónɡ) และในอำเภอต่างๆหลายอำเภอของเมืองเต๋อหง เช่น เจิ้นคาง  (镇康Zhènkānɡ) เกิ๋งหม่า (耿马Gěnɡmǎ) หย่งเต๋อ (永德Yǒnɡdé) ป่าวซาน (保山Bǎoshān) หลานชาง (澜沧Lán cānɡ) ลู่ซี(路西Lùxī)รวมบริเวณที่อยู่อาศัยของชนเผ่านี้กระจายครอบคลุมพื้นที่กว่า 3 หมื่นตารางกิโลเมตร  นับเป็นชนเผ่าที่มีการตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายมาก การตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่มักอยู่ร่วมกับชนเผ่าจิ่งโพ (景颇 Jǐnɡpō Zú) เผ่าหว่า ( )  และชาวฮั่น (Hàn ) จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนชาติส่วนน้อยเต๋ออ๋างมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 17,935  คน  พูดภาษาที่จัดอยู่ในตระกูลภาษาใหญ่ออสโตรเอเชียติก ตระกูลภาษามอญ-เขมร

 ข้อมูลจากงานวิจัยของ สกุณี ณัฐพูลวัฒน์ (2545, หน้า 97-123) เรียกชื่อชนเผ่านี้ว่า ดาระอั้ง และมีข้อมูลเกี่ยวกับชาวเต๋ออ๋างว่า ในประเทศไทยมีชาวดาระอั้งอาศัยอยู่ใน 9 หมู่บ้าน ใน 3 เขตอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ นั่นคือ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง และอำเภอเชียงดาว อันได้แก่ หมู่บ้านห้วยหวายนอก หมู่บ้านห้วยทรายขาว อำเภอแม่อาย หมู่บ้านห้วยจะนุ หมู่บ้านห้วยหมากเลี่ยม หมู่บ้านนอแล อำเภอฝาง และหมู่บ้านแม่จอน หมู่บ้านห้วยปง หมู่บ้านปางแดงนอก และหมู่บ้านไทยพัฒนา ปางแดง (ปางแดงใน) อำเภอเชียงดาว มีการระบุตัวเลขประมาณประชากรชาวดาระอั้งที่อาศัยอยู่ในพม่ามีจำนวน 300,000-400,000 คน อาศัยอยู่บนดอยสูงในเมืองลูซี เฉินกาง2 ในเขตปกครองตนเองยูนนาน รวมกับชนเผ่าฮั่น ลีซู ว้า ไต และจิงโป ราว 12,000 คน และอาศัยอยู่ในเมืองไทยราว 5,000 - 7,000 คน
ในฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, อินเทอร์เน็ต, 2549) เรียกชื่อชาวเต๋ออ๋างว่า ปะหล่อง โดยมีข้อมูลดังนี้ ชาวปะหล่องเรียกตัวเองว่า Ta-ang ส่วนคำว่า ปะหล่อง มาจากภาษาไทใหญ่ ไทใหญ่บางกลุ่มเรียก คุณลอย หมายถึง คนดอย ส่วนชาว พม่าเรียกปะลวงชาวปะหล่องส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐชาน รัฐคะฉิ่นในพม่า และยูนนานในประเทศจีน ชาวปะหล่องในประเทศไทยอพยพมาจากพม่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.2527 เรียกตัวเองว่า ดาระอั้ง” (Da-ang, ra-rang, ta-ang)
1.3 ชนชาติส่วนน้อยหว่า3 (Wa) หรือ ว้า  ในประเทศจีนมีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลยูนนาน ที่อำเภอซีเหมิง   (西盟Xīménɡ) ชางหยวน(沧源Cānɡyuán) เมิ่งเหลียน(孟连Mènɡlián) นอกจากนี้ยังมีกระจายอยู่ตามอำเภออื่นๆ อีก เช่น เกิ๋งหม่า (耿马Gěnɡmǎ) หลานชาง (澜沧Láncānɡ) ซวงเจียง (双江Shuānɡjiānɡ) เจิ้นคาง (镇康Zhènkānɡ) หย่งเต๋อ (永德Yǒnɡdé) ชางหนิง (昌宁Chānɡnínɡ) เหมิงห่าย (勐海Měnɡhǎi) เป็นต้น บริเวณดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ช่วงทิศใต้ของเทือกเขานู่4 (怒山Nù shān) ที่ติดต่อกับแม่น้ำหลานชาง5 (澜沧江Láncānɡ jiānɡ) ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวหว่า จึงเรียกชื่อบริเวณหุบเขาแห่งนี้ว่า หุบเขาอาหว่า” (阿佤山区Āwǎ shānqū) จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนชาติส่วนน้อยหว่า มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 396,610 คน หว่านับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก่าแก่มากกลุ่มหนึ่งในมณฑลยูนนาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีนสามารถสืบสาวขึ้นไปได้ถึง 109 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน ประเทศจีนแล้ว ชนเผ่าหว่ายังตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนเหนือของรัฐฉาน ตอนบนของแม่น้ำสาละวิน และทางตะวันออกของรัฐฉานแถบเชียงตุง  
ภาษาที่ชาวหว่าพูด ชื่อว่า ภาษาหว่า นักวิชาการจีนจัดภาษาหว่าอยู่ในตระกูลภาษาใหญ่สายตระกูลภาษาเอเชียใต้6 (南亚语系Nányà Yǔxì) ตระกูลภาษามอญ-เขมร (孟高棉语族 Mènɡ Gāomián yǔZú) แขนงภาษาหว่า (佤语支Wǎ yǔzhī) มีสามสำเนียงภาษาคือ 1. ภาษาถิ่นปารัก (ภาษาจีนเขียนว่า 巴饶克Bāráokè) 2. ภาษาถิ่นอาหว่า (阿瓦 Ā) และ 3.ภาษาถิ่นหว่า () ในประเทศจีนมีภาษาที่ใกล้ชิดกับภาษาหว่าคือ ภาษาปู้หล่าง (ปลัง) และภาษาเต๋ออ๋าง (ดาระอั้ง)

2. ทบทวนวรรณกรรม
จากการสำรวจผลงานการศึกษาเกี่ยวกับภาษาตระกูลมอญ-เขมรที่เขียนเป็นภาษาไทย ภาษาจีน และภาษาอังกฤษพบว่า มีการศึกษาภาษาปลัง  ภาษาเต๋ออ๋าง และภาษาหว่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศจีน ประเทศไทย และบางส่วนที่อพยพไปอยู่ในที่อื่นๆ โดยมีการศึกษาในหลากหลายแง่มุม เช่น การศึกษาภาษาปลัง มีผลงานการศึกษา เกี่ยวกับการใช้ภาษา ระบบเสียง ระบบคำ ไวยากรณ์ การศึกษาในเชิงพรรณนาทางภาษา รวมทั้งพจนานุกรมของชาวปลังทั้งที่อยู่ในประเทศจีน ประเทศไทย และประเทศอื่นๆใกล้เคียง การศึกษาภาษาเต๋ออ๋าง มีผลงานการศึกษาเกี่ยวกับระบบเสียง การศึกษาในเชิงพรรณนาทางภาษา การจัดทำพจนานุกรมของชาวเต๋ออ๋างทั้งที่อยู่ในประเทศจีน ประเทศไทย และประเทศอื่นๆใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาประเด็นทางสังคมอีกด้วย การศึกษาภาษาหว่า มีผลงานการศึกษาด้านระบบเสียง การพรรณนาภาษา การสืบสร้างระบบเสียง และพจนานุกรม
จากการสำรวจผลงานที่ผ่านมาจะเห็นว่า ผลงานการเขียนเกี่ยวกับภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศจีนพบว่ามีการศึกษาภาษาของทั้งสามชนเผ่าบ้าง แต่ยังนับว่าน้อยมาก ในขณะที่ผลงานการศึกษาวิจัยภาษาตระกูลมอญ-เขมรที่อยู่ในประเทศจีนของไทยพบเพียงการศึกษาเชิงสำรวจเบื้องต้นในบางพื้นที่และบางภาษาเท่านั้น มีการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นเครือญาติกับคนที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรที่อยู่ในประเทศจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยบ้าง แต่ก็ยังคงเป็นการศึกษาปัญหาเพียงบางจุดและในบางภาษาเท่านั้น เช่น ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ การจัดกลุ่มภาษา การจัดทำระบบเสียง การศึกษาทางไวยากรณ์ รวมถึงประเด็นคำศัพท์บางส่วนเท่านั้น  ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลทางภาษาทั้งสามในหลายด้านยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ 
สำหรับการศึกษาเชิงพรรณนาหรือเปรียบเทียบเกี่ยวกับระบบคำสรรพนาม พบว่า มีผลงานที่เกี่ยวข้องกับบทความเรื่องนี้ คือ ผลงานของ Sujaritlak Deepadung (2013, p.22) ได้ศึกษาเปรียบเทียบคำสรรพนามภาษาปะหล่องถิ่นต่างๆที่พูดอยู่ในประเทศจีน พม่า และไทย ซึ่งก็พบว่า ระบบคำสรรพนามในภาษาปะหล่อง ถิ่นต่างๆในสามประเทศมีความสัมพันธ์กัน คือมีการแบ่งระบบพจน์ของคำสรรพนามเป็น เอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ ส่วนบุรุษแบ่งเป็นบุรุษที่หนึ่ง สอง และสาม ซึ่งสอดคล้องกับระบบคำสรรพนามของภาษาในตระกูลมอญ-เขมรด้วย 
สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับระบบคำสรรพนามของภาษาตระกูลมอญ เขมรที่อยู่ในประเทศจีน ทั้งที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน หรือภาษาไทยยังสำรวจไม่พบ จะมีกล่าวถึงอยู่บ้างก็เป็นเพียงเนื้อหาส่วนหนึ่งในผลงานที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการสร้างคำ และงานวิจัยเกี่ยวกับไวยากรณ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่เปรียบเทียบระบบคำสรรพนามของภาษาทั้งสามให้เห็นชัดเจน

3. ระบบเสียงภาษาภาษาปลัง ภาษาเต๋ออ๋าง และภาษาหว่า7

3.1 ข้อมูลระบบเสียงภาษาปลัง
                ในหนังสือชื่อ บันทึกสังเขปภาษาปลัง ของ หลี่ต้าวหย่ง เนี่ยซีเจิน และชิวเอ้อเฟิง (1986, หน้า 2-15) ได้ให้ข้อมูลระบบเสียงภาษาปลังดังนี้
(1)     พยัญชนะ แบ่งเป็นพยัญชนะเดี่ยวและพยัญชนะควบกล้ำ ดังนี้


พยัญชนะเดี่ยว ภาษาปลังในประเทศจีนมีเสียงพยัญชนะ 35 เสียง ได้แก่

p
ph
np
nph
m
m6
f
v


t
th
nt
nth
n
n6
s

l
 l 6
h
n
n h
6
ü



k
kh
nk
nkh
 N
6





qh

nqh


x



/





h




พยัญชนะควบกล้ำ (复辅音声母fù fǔyīn shēnɡ) มี 8 เสียง ได้แก่   

pl
phl
npl
nphl
kl
khl
nkl
nkhl

(2) สระ ภาษาปลังมีเสียงสระจำนวนมาก แบ่งได้เป็น
สระเดี่ยว 9 เสียง ได้แก่  ieEaouFµ
สระประสม 16 เสียง ได้แก่ ieiaiueiEiaiauFuioiui
ua(a)Fiµiiauuai
สระพยัญชนะท้าย นักวิชาการจีนจัดระบบเสียงสระในภาษาปลังที่เป็นการประสมของสระเดี่ยวและสระประสมกับเสียงพยัญชนะท้ายไว้เป็นกลุ่มเสียงสระประสม มีทั้งหมด 120 เสียง เช่น ipepatotkukFmµmEnanaNNihhE a ulFli l6e l6 เป็นต้น
สระพยัญชนะท้าย   -l และ  - l6  ไม่ปรากฏในภาษาปลังถิ่นอาระวา
(3) วรรณยุกต์  ภาษาปลังเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ มีทั้งหมด 4 เสียง คือ 35 (เสียงที่ 1 ใช้สัญลักษณ์ Ø ), 33 (เสียงที่ 2 ใช้สัญลักษณ์ ), 331 (เสียงที่ 3 ใช้สัญลักษณ์ Ù), 21 (เสียงที่4 ใช้สัญลักษณ์)  

ระดับวรรณยุกต์
หมายเลขเสียง/สัญลักษณ์
ตัวอย่างคำ
ความหมาย
35
1   /  Ø
kaN1
ออดอ้อน
33
2  /   
kaN2
ยุ่ง
331
3  /   Ù
kaN3
หนู
21
4  /
kaN4
ดึง
               
3.2 ระบบเสียงภาษาเต๋ออ๋าง

                เนื้อหาของระบบเสียงภาษาเต๋ออ๋างในหนังสือ บันทึกสังเขปภาษาเต๋ออ๋าง ของผู้แต่งชื่อ เฉินเซียงมู่ หวางจิ้งหลิว และล่ายหย่งเหลียง (1986, หน้า 3-22) ได้วิเคราะห์ระบบเสียงภาษา    เต๋ออ๋างที่อำเภอลู่ซี (潞西 Lùxī) เรียกชื่อว่าภาษาถิ่นปู้เหลย (布雷 Bùléi) ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมที่มีชาวเต๋ออ๋างอาศัยอยู่มากที่สุด มีข้อมูลดังนี้  

(1) พยัญชนะ มีพยัญชนะ 44 เสียง แบ่งเป็น พยัญชนะเดี่ยว 31 เสียง พยัญชนะควบกล้ำ 13 เสียง และพยัญชนะที่เกิดเป็นพยัญชนะท้าย 9 เสียง คือ /m,n,N,p,t,k,/,h,r/ ดังนี้

p
ph
b
m
m6

f
v




t
th
d
n
n6
/n


l
l6
r
r6






s





ʨ
ʨh
d½
6

þ
j




k
kh
g
N
N6







/





h





pl
phl
bl









kl
khl
gl









pr
phr
br









kr
khr
gr









               
(2) สระ  
สระเดี่ยว 10 เสียง ได้แก่ /i, u, µ ,E, a, , F, e, o, U
สระประสม 19 เสียง ได้แก่ /ia, iu, io, ai, a:i, i, :i, Ui, ui, Fi, iai, au, a:u, oi, µi, iU,Fu, iau, uai/    
(3) วรรณยุกต์ ภาษาเต๋ออ๋าง ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์แบ่งแยกความหมายของคำ แต่พบมีการใช้ทำนองเสียงเพื่อแสดงคำถาม โดยการยกเสียงพยางค์สุดท้ายให้สูงขึ้น เช่น 

di
/F
/i
Ì

เขา
ไม่
มา

เขาไม่มาเหรอ
mi
m6
h:m
Ì

คุณ
ก็
กิน

คุณก็กินเหรอ
               
3.3 ระบบเสียงภาษาหว่า
ดังที่ได้กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่าภาษาหว่ามีสำเนียงภาษาถิ่นสามสำเนียง คือ ภาษาถิ่นปารัก ภาษาถิ่นอาหว่า ภาษาถิ่นหว่า โดยภาษาถิ่นปารักมีจำนวนผู้พูดมากที่สุดราว 180,000 คน มีถิ่นฐานอยู่บริเวณอำเภอชางหยวน (沧源    Cānɡyuán) เกิ๋งหม่า (耿马 Gěnɡ) หลานชาง (澜沧   Láncānɡ) ซวงเจียง (双江  Shuānɡjiānɡ) เนื่องจากภาษาถิ่นนี้เป็นถิ่นที่มีจำนวนคนพูดมากที่สุด ระบบเสียงที่ใช้ในบทความเรื่องนี้จึงใช้ระบบเสียงของภาษาถิ่นปารักเป็นตัวแทน
ในหนังสือชื่อ บันทึกสังเขปภาษาหว่า (佤语简志   Wǎyǔ Jiǎnzhì) ของผู้แต่งชื่อโจวจื๋อจื้อและเหยียนฉีเซียง (1984, หน้า 3-19) ให้ข้อมูลว่าภาษาหว่าแบ่งเป็นพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ดังนี้  
(1) พยัญชนะ ภาษาหว่าในประเทศจีนมีเสียงพยัญชนะเดี่ยว 38 เสียง และพยัญชนะควบกล้ำ 16 เสียง ได้แก่

p
ph
b
bh
m
mh
f*
v
vh
ts*
tsh*




s


t
th
d
dh
n
nh

l
lh







r
rh
tþ
tþh
dü
düh
h

ü
üh
k
kh
g
gh
N
Nh



/





h


pl
phl
bl
bhl

kl
khl
gl
ghl
pr
phr
br
bhr

kr
khr
gr
ghr
               
*พยัญชนะ /f,ts,tsh/ เป็นเสียงพยัญชนะของคำยืมจากภาษาไตและภาษาจีน ในภาษาหว่าไม่มีคำที่ใช้เสียงพยัญชนะนี้   
(2) สระ
สระเดี่ยว ภาษาหว่าในประเทศจีนมีเสียงสระเดี่ยว 9 เสียง มีการเปรียบต่างสระเสียงใสกับสระเสียงขุ่น รวมเป็น 18 เสียง   คือ
สระใส
i
e
E
a

o
u
F
µ
สระขุ่น
i
e
E
a

o
u
F
µ
โดยที่สระ /i, i/ ที่เกิดตามหลังพยัญชนะ /ts, tsh/ ออกเสียงเป็น [ɿ ,iตามลำดับ ซึ่งก็คือเสียงสระและพยัญชนะในภาษาจีนนั่นเอง
สระประสม ภาษาหว่ามีสระประสมสองเสียง 28 เสียง และสระประสมสามเสียง 4 เสียง  ดังนี้
สระประสมสองเสียง
iE
iE
ia
ia
io
io
iu
iu
Ea
Ea
ai
ai
au
au
aµ
aµ
i
i
oi
oi
ui
ui
ua
ua
Fi
Fi
µi
µi

สระประสมสามเสียง
iau
iau
uai
uai

(3) วรรณยุกต์ ภาษาหว่าในประเทศจีนแบ่งเป็น 3 ภาษาถิ่น คือ ภาษาถิ่นปารัก ภาษาถิ่นอาหว่า และภาษาถิ่นหว่า ในภาษาถิ่นปารักและภาษาถิ่นอาหว่าไม่มีการเปรียบต่างของเสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาถิ่นหว่ามีการเปรียบต่างเสียงวรรณยุกต์สองเสียง แต่เสียงวรรณยุกต์นี้มีปัจจัยสัมพันธ์กับเสียงสระขุ่นและใส และเสียงพยัญชนะท้ายร่วมด้วย ดังนี้
1. สระเสียงขุ่นออกเสียงวรรณยุกต์สูง-ตก / /
2. สระเสียงขุ่นที่มีพยัญชนะท้าย p –t –k ออกเสียงวรรณยุกต์กลางระดับ / /
3. สระเสียงใสออกเสียงวรรณยุกต์กลาง – ตก / Ù /

4. ระบบคำสรรพนามของภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
                งานวิจัยนี้นำเสนอแนวคิดของนักวิชาการจีน จึงจะกำหนดใช้คำนิยามอิงตามหลักไวยากรณ์ภาษาจีนดังนี้
ตามหลักไวยากรณ์จีน เรียกคำสรรพนามว่า 代词  dàicí คำว่า dài ในภาษาจีน แปลว่า แทนดังนั้นคำว่า 代词 แปลตามตัวหนังสือจึงหมายความว่า “คำแทน” เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่หมายถึงคน สิ่งของ สัตว์ หรือเรื่องราวต่างๆ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ (1) 人称代词  Rénchēnɡ dàicí แปลว่า คำแทนเรียกคนตรงกับภาษาไทยว่า บุรุษสรรพนาม” (2) 指示代词 แปลว่า คำแทนบ่งชี้ตรงกับภาษาไทยว่า สรรพนามบ่งชี้” (3) 疑问代词 Yíwèn dàicí แปลว่า คำแทนคำถาม  ตรงกับภาษาไทยว่า ปุจฉาสรรพนามในบทความนี้มุ่งนำเสนอเรื่อง คำแทนเรียกคนในงานวิจัยนี้จะเรียกว่า สรรพนาม” 
ที่มาของข้อมูลคำศัพท์ในบทความนี้นำมาจากหนังสือภาษาจีนของผู้เขียนชาวจีน 3 เรื่องดังนี้
1.   ข้อมูลคำศัพท์ภาษาปลัง นำมาจากหนังสือชื่อ บันทึกสังเขปภาษาปู้หล่าง. ของผู้เขียนชื่อ หลี่ต้าวหย่ง เนี่ยซีเจิน และชิวเอ้อเฟิง (1986, หน้า 41)
2.   ข้อมูลคำศัพท์ภาษาเต๋ออ๋าง นำมาจากหนังสือชื่อ บันทึกสังเขปภาษาเต๋ออ๋าง ของผู้เขียนชื่อ เฉินเซียงมู่ หวางจิ้งหลิว และล่ายหย่งเหลียง (1986, หน้า 56)
3.   ข้อมูลคำศัพท์ภาษาหว่า นำมาจากหนังสือชื่อ บันทึกสังเขปภาษาหว่า ของผู้เขียนชื่อ โจวจื๋อจื้อและเหยียนฉีเซียง (1984, หน้า 50-51)          
จากการศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลระบบคำสรรพนามในภาษาปลัง ภาษาเต๋ออ๋าง และภาษาหว่าที่พูดอยู่ในประเทศจีนพบว่า คำสรรพนามของทั้งสามภาษามีความคล้ายคลึงกันในแง่ของความเป็นระบบระเบียบและวิธีการสร้างคำ สามารถวิเคราะห์ได้สามมิติ กล่าวคือ 1. มิติของพจน์ พบว่าทั้งสามภาษามีการใช้วิธีการแปรเสียงสระหรือพยัญชนะเพื่อแยกความแตกต่างของสรรพนามเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ 2. มิติของบุรุษก็มีการแปรของเสียงเพื่อแยกความแตกต่างของบุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 และ 3. มิติของรูปคำก็ยังพบอีกว่า คำสรรพนามในทั้งสามภาษามีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบแบบแผนที่เด่นชัด ทั้งในแต่ละภาษาเองและระหว่างภาษาด้วย ซึ่งจะได้อธิบายไปทีละภาษา แล้วนำข้อมูลทั้งสามภาษามาเปรียบเทียบเป็นข้อสรุปในท้ายบทความ ดังต่อไปนี้   

4.1 ระบบคำสรรพนามในภาษาปลัง
ข้อมูลคำสรรพนามของภาษาปลังเป็นดังนี้  

ระบบคำสรรพนามในภาษาปลัง

เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 1
/µ/1 ฉัน
/a/1   เราสอง
/E/1   พวกเรา
บุรุษที่ 2
mi/2 เธอ
pa/2 เธอทั้งสอง
pE/2  พวกเธอ
บุรุษที่ 3
/Fn1   เขา
ka/2 เขาทั้งสอง
kE/2  พวกเขา

จากข้อมูลในตารางข้างต้นวิเคราะห์และอธิบายได้ดังนี้
4.1.1 มิติบุรุษของสรรพนาม (ข้อมูลในตารางระบบคำสรรพนามในภาษาปลัง แนวนอนจากซ้ายไปขวา)
                (1) สรรพนามบุรุษที่ 1 มีการแปรเสียงสระ /µ - a  - E/ เพื่อแยกความแตกต่างของพจน์ เป็น สรรพนามเอกพจน์ สรรพนามทวิพจน์ และสรรพนามพหูพจน์ ตามลำดับ


เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 1
/µ/1 ฉัน
/a/1   เราสอง
/E/1   พวกเรา

(2) สรรพนามบุรุษที่ 2 มีการแปรเสียงสระ /i - a  - E/  เพื่อแยกความแตกต่างของพจน์เป็นสรรพนามเอกพจน์ สรรพนามทวิพจน์ และสรรพนามพหูพจน์ ตามลำดับ  ดังนี้


เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 2
mi/2 เธอ
pa/2 เธอทั้งสอง
pE/2  พวกเธอ

(3) สรรพนามบุรุษที่ 3 มีการแปรเสียงสระ / F - a  - E/  เพื่อแยกความแตกต่างของพจน์ เป็น สรรพนามเอกพจน์ สรรพนามทวิพจน์ และสรรพนามพหูพจน์ ตามลำดับ ดังนี้  


เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 3
/Fn1   เขา
ka/2 เขาทั้งสอง
kE/2  พวกเขา

4.1.2 มิติพจน์ของสรรพนาม (ข้อมูลในตารางระบบคำสรรพนามในภาษาปลัง แนวตั้งจากบนลงล่าง)
(1) สรรพนามเอกพจน์ มีการแบ่งสรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 2 ออกจากกันโดยการเปลี่ยนเสียงสระ คือ /µ - i - F/ เพื่อแยกบุรุษ ดังนี้


บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2
บุรุษที่ 3
เอกพจน์ (1 คน)
/µ/1 ฉัน
mi/2 เธอ
Fn1 เขา
           
                (2) สรรพนามทวิพจน์ มีการแบ่งสรรพนามทวิพจน์บุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 ออกจากกันโดยการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะต้น // - p - k/ เพื่อแยกสรรพนามทั้งสามบุรุษตามลำดับ ดังนี้ 


บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2
บุรุษที่ 3
ทวิพจน์ (2 คน)
/a/1   เราสอง
pa/2 เธอทั้งสอง
ka/2 เขาทั้งสอง
           
                (3) สรรพนามพหูพจน์ มีการแบ่งสรรพนามพหูพจน์บุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 ออกจากกันโดยการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะต้น // - p - k/ เพื่อแยกสรรพนามทั้งสามบุรุษตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสรรพนามพหูพจน์แล้วยังพบอีกว่าเป็นพยัญชนะต้นที่เปลี่ยนนี้ เป็นพยัญชนะเสียงเดียวกันอีกด้วย ดังนี้ 


บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2
บุรุษที่ 3
พหูพจน์ (หลายคน
/E/1   พวกเรา
pE/พวกเธอ
kE/2  พวกเขา

4.1.3 โครงสร้างพยางค์
โครงสร้างพยางค์ของคำสรรพนามทุกคำ คือ /CVC/ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                (1) สรรพนามบุรุษที่ 1 ทุกพจน์ เป็นคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ///8 และมีเสียงวรรณยุกต์เสียง 1 (35 Ø) ทุกคำ 
                                (2) สรรพนามบุรุษที่ 2 ทุกพจน์ เป็นวรรณยุกต์เสียง 2 (33 ทุกคำ 
                                (3) สรรพนามบุรุษที่ 3 ทวิพจน์และพหูพจน์ เป็นวรรณยุกต์เสียง 2 ส่วนบุรุษที่ 1 เป็นวรรณยุกต์เสียง 1
                                (4) สรรพนามทวิพจน์และพหูพจน์ บุรุษที่ 2 มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน คือ /p/ ส่วนบุรุษที่ 3 ใช้พยัญชนะต้นเหมือนกัน คือ /k/ 
                       

ระบบคำสรรพนามในภาษาปลังสามารถสรุปได้ดังนี้

โครงสร้างคำ
C
V
C
T
 พจน์
S
D
P
S
D
P
S
D
P
S
D
P
บุรุษที่ 1
/
/
/
µ
a
E
/
/
/
1
1
1
บุรุษที่ 2
m
p
p
i
a
E
/
/
/
2
2
2
บุรุษที่ 3
k
k
k
F
a
E
n
/
/
1
2
2
      * S = singular, P = plural, D = dual, T = tone)

จากตารางสรุปได้ว่า
1. พยัญชนะต้น
///  =  SDP 1 (สรรพนามเอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์ บุรุษที่ 1)  
/p/  =  SDP 2 (สรรพนามเอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์ บุรุษที่2)  
/k/  =  SDP 3 (สรรพนามเอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์ บุรุษที่3)  
2. สระ
/µ, i, F/  =  S 1,2,3 (สรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ)   
/a/  =  D 1,2,3 (สรรพนามทวิพจน์บุรุษที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ)   
/E/  =  P 1,2,3 (สรรพนามพหูพจน์บุรุษที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ)   
                3.วรรณยุกต์
/35 Ø/  =  SDP 1  (สรรพนามเอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์ บุรุษที่ 1)  
/33 /  =  SDP 2 (สรรพนามเอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์ บุรุษที่ 2)
/33 /  =  DP 3  (ยกเว้นเอกพจน์บุรุษที่ 3 เป็น /35 Ø/)
               
4.2 ระบบคำสรรพนามในภาษาเต๋ออ๋าง  
ข้อมูลคำสรรพนามของภาษาเต๋ออ๋างเป็นดังนี้

คำสรรพนามในภาษาเต๋ออ๋าง

 เอกพจน์ (1 คน)
 ทวิพจน์ (2 คน)
 พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 1
/o “ฉัน
 ja:i “เราสอง
jFi “พวกเรา
บุรุษที่ 2
mi “เธอ
pa:i “เธอทั้งสอง
pFi “พวกเธอ
บุรุษที่ 3
di  “เขา
ka:i “เขาทั้งสอง
kFi “พวกเขา

จากข้อมูลข้างต้นวิเคราะห์และอธิบายได้ดังนี้
4.2.1 มิติบุรุษของสรรพนาม (ข้อมูลในตารางระบบคำสรรพนามในภาษาเต๋ออ๋าง แนวนอนจากซ้ายไปขวา)
                (1) สรรพนามบุรุษที่ 1 มีการแบ่งสรรพนามทวิพจน์ และสรรพนามพหูพจน์ โดยการเปลี่ยนเสียงสระประสมสองส่วนเพื่อแยกความแตกต่างของพจน์ คือ /a:i - Fi/ ตามลำดับ ส่วนสรรพนามเอกพจน์ใช่สระเดี่ยว ดังนี้


เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 1
/o “ฉัน
ja:i “เราสอง
jFi “พวกเรา

(2) สรรพนามบุรุษที่ 2 มีการแบ่งสรรพนามเอกพจน์ สรรพนามทวิพจน์ และสรรพนามพหูพจน์ โดยการเปลี่ยนเสียงสระเพื่อแยกความแตกต่างของพจน์ คือ /i - a:i - Fi/ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่สรรพนามทวิพจน์และพหูพจน์ใช้สระประสมและพยัญชนะต้น /p/ สรรพนามเอกพจน์ก็ใช้สระประสมและมีเสียงพยัญชนะต้นเป็น /m/ แต่ทั้ง /p/ และ /m/ มีก็มีลักษณะทางเสียงร่วมกันคือเป็นพยัญชนะฐานกรณ์ริมฝีปาก (bilabial)  ทั้งคู่ ดังนี้


เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 2
mi “เธอ
pa:i “เธอทั้งสอง
pFi “พวกเธอ

                (3) สรรพนามบุรุษที่ 3 มีการแบ่งสรรพนามทวิพจน์และสรรพนามพหูพจน์ โดยการเปลี่ยนเสียงสระประสมเพื่อแยกความแตกต่างของพจน์ คือ /a:i - Fi/ ส่วนเอกพจน์ใช้สระเดี่ยว /i/ ดังนี้


เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 3
di  “เขา
ka:i “เขาทั้งสอง
kFi “พวกเขา

4.2.2 มิติพจน์ของสรรพนาม (ข้อมูลในตารางระบบคำสรรพนามในภาษาเต๋ออ๋าง แนวตั้งจากบนลงล่าง)
(1) สรรพนามเอกพจน์ คำสรรพนามเอกพจน์ทั้งสามบุรุษมีโครงสร้างคำไม่เหมือนกัน  ดังนี้


บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2
บุรุษที่ 3
เอกพจน์ (1 คน)  
/o “ฉัน
mi “เธอ
di  “เขา

(2) สรรพนามทวิพจน์ การแบ่งบุรุษของสรรพนามทวิพจน์ใช้วิธีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะต้น /j - p - k/ เพื่อแยกความแตกต่างของบุรุษที่ 1,2,3 ตามลำดับ แต่สระเหมือนกัน ดังนี้

บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2
บุรุษที่ 3
ทวิพจน์ (2 คน)
ja:i “เราสอง
pa:i “เธอทั้งสอง
ka:i “เขาทั้งสอง

(3) สรรพนามพหูพจน์ การแบ่งบุรุษของสรรพนามพหูพจน์ใช้วิธีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะต้น /j –p–k/ เพื่อแยกความแตกต่างของบุรุษที่ 1,2,3 ตามลำดับ แต่สระเหมือนกัน นอกจากนี้จะเห็นว่า พยัญชนะต้นที่แยกความแตกต่างของบุรุษนี้ เป็นเสียงเดียวกันกับที่ใช้สำหรับแยกความแตกต่างของบุรุษในสรรพนามทวิพจน์ด้วย ดังนี้ 


บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2
บุรุษที่ 3
พหูพจน์ (หลายคน)
jFi “พวกเรา
pFi “พวกเธอ
kFi “พวกเขา
               
4.2.3 โครงสร้างพยางค์   
(1) สรรพนามเอกพจน์ บุรุษที่ 1 และ 3 มีโครงสร้างพยางค์เป็น CV คือพยัญชนะต้นตามด้วยสระเดี่ยว และสรรพนามบุรุษที่ 2 มีโครงสร้างพยางค์เป็น CVV คือพยัญชนะต้นตามด้วยสระประสมสองส่วน
                                (2) สรรพนามทวิพจน์และพหูพจน์ มีโครงสร้างพยางค์เป็น CVV โดยมีพยัญชนะต้นเป็น /j - p - k/ เพื่อแยกความแตกต่างของบุรุษที่ 1,2,3 ตามลำดับ แต่ในขณะที่สรรพนามทวิพจน์ทุกบุรุษมีสระเป็น /a:i/ สรรพนามพหูพจน์ทุกบุรุษใช้สระ /Fi /

ระบบคำสรรพนามในภาษาเต๋ออ๋าง สรุปได้ดังนี้

โครงสร้างคำ
C
V
V
 พจน์
S
D
P
S
D
P
S
D
P
บุรุษที่ 1
/
j
j
o
a:
F
-
i
i
บุรุษที่ 2
m
p
p

a:
F
i
i
i
บุรุษที่ 3
d
k
k
i
a:
F
-
i
i
                                   * S = singular, P = plural, D = dual)

จากตารางสรุปได้ว่า
1. พยัญชนะต้น
//,m,d/  =  S1,2,3 (สรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และ บุรุษที่ 3)    
/j/  =  DP1 (สรรพนามบุรุษที่ 1 ทวิพจน์และพหูพจน์) 
/p/ =  DP2 (สรรพนามบุรุษที่ 2 ทวิพจน์และพหูพจน์) 
/k/ =  DP3 (สรรพนามบุรุษที่ 3 ทวิพจน์และพหูพจน์) 
                2. สระ
/o,  , i/  =  S1,2,3 (สรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ)
/a:i/ = D 1,2,3 (สรรพนามทวิพจน์ บุรุษที่ 1,2,3)
/Fi/ = P 1,2,3 (สรรพนามพหูพจน์ บุรุษที่ 1,2,3)

4.3 ระบบคำสรรพนามในภาษาหว่า
ข้อมูลคำสรรพนามของภาษาหว่าเป็นดังนี้

คำสรรพนามในภาษาหว่า

 เอกพจน์ ( 1 คน)
 ทวิพจน์ (2 คน )
 พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 1
/F/  “ฉัน
/a/เราสอง
/e/พวกเรา
บุรุษที่ 2
mai/เธอ
pa/เธอทั้งสอง
pe/พวกเธอ
บุรุษที่ 3
mh “เขา
kE/เขาทั้งสอง
ki/  “พวกเขา

จากข้อมูลข้างต้นวิเคราะห์และอธิบายได้ดังนี้
4.3.1 มิติบุรุษของสรรพนาม (ข้อมูลในตารางคำสรรพนามในภาษาหว่า แนวนอนจากซ้ายไปขวา)
                (1) สรรพนามบุรุษที่ 1 มีการแบ่งสรรพนามเอกพจน์ สรรพนามทวิพจน์ และสรรพนามพหูพจน์ครบทั้งสามพจน์ โดยใช้วิธีการเปลี่ยนเสียงสระ เพื่อแยกความแตกต่างของพจน์ คือ /F -a - e/ ตามลำดับ ดังนี้


เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 1
/F/  “ฉัน
/a/เราสอง
/e/พวกเรา
               
            (2) สรรพนามบุรุษที่ 2 มีการแบ่งสรรพนามเอกพจน์ ทวิพจน์และพหูพจน์ โดยใช้วิธีการเปลี่ยนเสียงสระ คือ /ai - a - e/ ตามลำดับ พยัญชนะต้นของสรรพนามทวิพจน์และพหูพจน์เป็นเสียงเดียวกันคือ /p/ ส่วนสรรพนามเอกพจน์ เป็นเสียง /m/ ซึ่งเป็นฐานกรณ์เดียวกัน ดังนี้  


เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 2
mai/เธอ
pa/เธอทั้งสอง
pe/พวกเธอ
           
            (3) สรรพนามบุรุษที่ 3 มีการแบ่งสรรพนามทวิพจน์และสรรพนามพหูพจน์ โดยใช้วิธีการคงรูปคำเดิมคือ  /kV// แล้วเปลี่ยนเสียงสระเพื่อแยกความแตกต่างของพจน์ คือ /E - i/ ตามลำดับ ส่วนสรรพนามเอกพจน์จะมีรูปต่างไป ดังนี้  


เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์  (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 3
mh “เขา
kE/เขาทั้งสอง
ki/  “พวกเขา

4.3.2 มิติพจน์ของสรรพนาม (ข้อมูลคำสรรพนามในภาษาหว่า แนวตั้งจากบนลงล่าง)
                (1) สรรพนามเอกพจน์ คำสรรพนามเอกพจน์ บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน คือ /m/ ส่วนบุรุษที่ 1 ชัพยัญชนะต้น /// ดังนี้


บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2
บุรุษที่ 3
เอกพจน์ (1 คน)
/F/  “ฉัน
mai/เธอ
mh “เขา

                (2) สรรพนามทวิพจน์ คำสรรพนามทั้งสามบุรุษมีโครงสร้างคำเหมือนกัน คือ /CVC/ ใช้วิธีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะต้นเป็น // - p - k/ เพื่อแยกเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 ตามลำดับ โดยที่คำสรรพนามทวิพจน์บุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 2 มีรูปสระเหมือนกัน คือ /a/ ส่วนสรรพนามบุรุษที่ 3 มีเสียงสระต่างกับบุรุษอื่นๆ คือ /E/ อย่างไรก็ตาม ทั้ง /a/ และ /E/ ต่างก็เป็นสระหน้าปากเหยียดเหมือนกัน ดังนี้    


บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2
บุรุษที่ 3
ทวิพจน์ (2 คน)
/a/เราสอง
pa/เธอทั้งสอง
kE/เขาทั้งสอง

(3) สรรพนามพหูพจน์ สรรพนามทั้งสามบุรุษมีโครงสร้างคำเหมือนกัน คือ /CVC/ ใช้วิธีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะต้นเป็น // - p - k/ เพื่อแยกเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 ตามลำดับ โดยที่คำสรรพนามพหูพจน์บุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 2 มีรูปสระเหมือนกัน คือ /e/ ส่วนสรรพนามบุรุษที่ 3 มีเสียงสระต่างกับบุรุษอื่นๆ คือ /i/ แต่ก็เป็นสระหน้าปากเหยียดเหมือนกัน วิธีการเปลี่ยนพยัญชนะต้นแบบนี้ เป็นลักษณะเดียวกันกับสรรพนามทวิพจน์ ดังนี้  


บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2
บุรุษที่ 3
พหูพจน์(หลายคน)
/e/พวกเรา
pe/พวกเธอ
ki/  “พวกเขา







4.3.3 โครงสร้างพยางค์
            คำสรรพนามทุกคำมีโครงสร้างพยางค์เป็น /cvc/ และลงท้ายด้วยพยัญชนะ voiceless glottal stop /// ยกเว้นสรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 3 เพียงคำเดียวที่ลงท้ายด้วยพยัญนะ  voiceless glottal fricative /h/ รายละเอียดอื่นๆ มีดังนี้
                (1) สรรพนามเอกพจน์ ทุกบุรุษจะใช้รูปที่แตกต่างกันไป โดยบุรุษที่ 1 และ 2 ลงท้ายด้วย /// ในขณะที่บุรุษที่ 2 และ 3 มีพยัญชนะต้นเป็น /m/ เหมือนกัน
                                (2) สรรพนามทวิพจน์และพหูพจน์ ใช้พยัญชนะต้น // - p - k/ เพื่อแยกความแตกต่างของบุรุษที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ เหมือนกัน

ระบบคำสรรพนามในภาษาหว่า สรุปได้ดังนี้

โครงสร้างคำ
C
V
C
 พจน์
S
D
P
S
D
P
S
D
P
บุรุษที่ 1
/
/
/
F
a
e
/
/
/
บุรุษที่ 2
m
p
p
ai
a
e
/
/
/
บุรุษที่ 3
m
k
k

E
i
h
/
/
    * S = singular, P = plural, D = dual)
จากตารางสรุปได้ว่า
                1. พยัญชนะต้น
                //,m,m/  =  S1,2,3 (สรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ)     
//= DP1 (สรรพนามบุรุษที่ 1 ทวิพจน์ และพหูพจน์) 
/p=  DP2 (สรรพนามบุรุษที่ 2 ทวิพจน์ และพหูพจน์)   
/k/  =  DP3 (สรรพนามบุรุษที่ 3 ทวิพจน์ และพหูพจน์) 
                2. สระ
                /F, ai, /  =  S1,2,3   (สรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ )
/E, i /  =  DP3 (สรรพนามทวิพจน์และพหูพจน์บุรุษที่ 3)
/a/  =  D 1,2 (สรรพนามทวิพจน์ บุรุษที่ 1,2) 
/e=  P 1,2 (สรรพนามพหูพจน์ บุรุษที่ 1,2)
4.4 การเปรียบเทียบคำสรรพนามภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

4.4.1 มิติบุรุษของสรรพนาม

การเปรียบเทียบมิติของบุรุษสรรพนาม


เอกพจน์
(1 คน)
ทวิพจน์
(2 คน)
พหูพจน์(หลายคน)
ลักษณะร่วม


ฉัน
เราทั้งสอง
พวกเรา

บุรุษที่ 1

B
/µ/1
/a/1
/E/1
B = CVC
D
/o
ja:i
jFi
D = CVV
W
/F/
/a/
/e/
W = CVC


เธอ
เธอทั้งสอง
พวกเธอ

บุรุษที่ 2

B
mi/2
pa/2
pE/2
B = CVC
D
mi
pa:i
pFi
D = CVV
W
mai/
pa/
pe/
W = CVC


เขา
เขาทั้งสอง
พวกเขา

บุรุษที่ 3

B
/Fn1
ka/2
kE/2
B  = CVC
D
di
ka:i
kFi
D  = CVV
W
mh
kE/
ki/
W = CVC
    * B = ปลัง D = เต๋ออ๋าง W = หว่า

 จากตารางการเปรียบเทียบมิติของบุรุษสรรพนามจะเห็นได้ว่าสรรพนามทุกบุรุษของภาษาปลังและภาษาหว่ามีโครงสร้างคำคือ /CVC/ เหมือนกัน ส่วนภาษาเต๋ออ๋างแตกต่างจากภาษาอื่น คือ /CVV/   
4.4.2 มิติพจน์ของคำสรรพนาม

การเปรียบเทียบมิติพจน์ของคำสรรพนาม

เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์ (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 1
ฉัน
เราทั้งสอง
พวกเรา

B
/µ/1
/a/1
/E/1
D
/o
ja:i
jFi
W
/F/
/a/
/e/
ลักษณะร่วม
BDW
CV(C)
CV(V)(C)
CV(V)(C)
การเปรียบเทียบมิติพจน์ของคำสรรพนาม

เอกพจน์  (1 คน)
ทวิพจน์ (2 คน)
พหูพจน์ (หลายคน)
บุรุษที่ 2
เธอ
เธอทั้งสอง
พวกเธอ

B
mi/2
pa/2
pE/2
D
mi
pa:i
pFi
W
mai/
pa/
pe/
ลักษณะร่วม
BDW
CV(V)(C)
CV(V)(C)
CV(V)(C)
บุรุษที่ 3
เขา
เขาทั้งสอง
พวกเขา

B
/Fn1
ka/2
kE/2
D
di
ka:i
kFi
W
mh
kE/
ki/
ลักษณะร่วม
BDW
CV(C)
CV(V)(C)
CV(V)(C)
      * อักษรย่อที่อยู่ในวงเล็บหมายความว่าปรากฏไม่ทุกภาษา ส่วนที่ไม่มีวงเล็บหมายถึงปรากฏในทุกภาษา

จากตารางการเปรียบเทียบมิติพจน์ของคำสรรพนาม จะเห็นได้ว่าสรรพนามทุกพจน์ของทุกภาษามีโครงสร้างคำเหมือนกัน คือ /CV(V)(C)/ เหมือนกัน ยกเว้นสรรพนามเอกพจน์บุรุษที่ 1 และ 3 มีโครงสร้างคำเป็น / CV(C)/
                4.4.3 มิติของโครงสร้างพยางค์
                1. สรรพนามบุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 และบุรุษที่ 3 ของทุกพจน์ ทั้งสามภาษามีความสัมพันธ์กัน ยกเว้นบุรุษที่ 3 เอกพจน์ไม่สัมพันธ์กัน
                2. สรรพนามทุกคำในภาษาปลังและหว่าเป็นคำพยางค์เดียว และเป็นคำที่ประกอบขึ้นด้วยสระเดี่ยวเกือบทุกคำ มีน้อยมากที่เป็นสระประสม ส่วนคำในภาษาเต๋ออ๋างเป็นภาษาเดียวที่เป็นสระประสมสองส่วน
3. สรรพนามบุรุษที่ 2 ทุกพจน์ ทุกภาษาเป็นคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ bilabial โดยใช้เสียง /m/ เป็นสรรพนามเอกพจน์ และเสียง /p/ เป็นสรรพนามทวิพจน์และพหูพจน์
                         4. สรรพนามบุรุษที่ 3 ทวิพจน์และพหูพจน์ในทุกภาษาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ /k/
                        5. สรรพนามภาษาปลังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาหว่า ส่วนสรรพนามภาษาเต๋ออ๋างมีความสัมพันธ์ต่างออกไปเล็กน้อย เห็นได้จาก สรรพนามทุกบุรุษ และทุกพจน์ ภาษาปลังและภาษาหว่ามีรูปคำเป็น /CVC/ เหมือนกัน แต่รูปคำในภาษาเต๋ออ๋างคือ /CV(V)/ 
                                6. สรรพนามทวิพจน์และพหูพจน์ ทั้งสามภาษาใช้พยัญชนะต้น /p/ เป็นพยัญชนะต้นสำหรับสรรพนามบุรุษที่ 2 และใช้พยัญชนะ /k/ เป็นพยัญชนะต้นสำหรับสรรพนามบุรุษที่ 3  
4.4.4 สรุปคำสรรพนาม ข้อมูลในตารางต่อไปนี้ แต่ละช่องเป็นเสียงพยัญชนะและสระของคำสรรพนามสามภาษา แต่ละช่องมีสามเสียง เป็นเสียงของคำสรรพนามภาษาปลัง ภาษาเต๋ออ๋าง และภาษาหว่า ตามลำดับ เสียงของแต่ละภาษาคั่นด้วยเครื่องหมาย “/”   และเครื่องหมาย “ - ” หมายความว่า ไม่มีเสียงพยัญชนะหรือสระในภาษานั้นๆ  

โครงสร้างคำ
C
V
C
พจน์
S
D
P
S
D
P
S
D
P
บุรุษที่ 1
/////
//j//
//j//
µ/oi/F
a/a:i/a
E/Fi/e
//-//
//-//
//-//
บุรุษที่ 2
m/m/m
p/p/p
p/p/p
i//ai
a/a:i/a
E/Fi/e
//-//
//-//
//-//
บุรุษที่ 3
k/d/m
k/k/k
k/k/k
F/i/
a/a:i/ E
E/F/i
n/-/h
//-//
//-//

4. บทสรุป
                บทความนี้ได้อธิบายในเชิงเปรียบเทียบและเปรียบเทียบเชิงร่วมสมัย (Synchronic comparison) ระบบคำสรรพนามของภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศจีน 3 ภาษา คือ ภาษาปลัง ภาษาเต๋ออ๋าง และภาษาหว่า จากการเปรียบเทียบจะเห็นว่าระบบคำสรรพนามของทั้งสามภาษามีระบบระเบียบที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน กล่าวคือ แบ่งสรรพนามเป็นสามบุรุษคือ บุรุษที่ 1,2,3 มีการแบ่งพจน์เป็นสามพจน์ ได้แก่ สรรพนามเอกพจน์ ทวิพจน์และพหูพจน์ โดยใช้วิธีการคงรูปโครงสร้างคำเดิม แล้วเปลี่ยนเสียงพยัญชนะต้นเพื่อแบ่งแยกบุรุษ และแปรเสียงสระเพื่อแบ่งพจน์ จากการเปรียบเทียบดังที่ได้กล่าวมา สามารถสรุปความสัมพันธ์ของระบบคำสรรพนามของภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศจีนได้ว่า คำบุรุษสรรพนามภาษาปลังมีความใกล้ชิดกับภาษาหว่าทั้งระบบ ส่วนภาษาเต๋ออ๋างมีบางส่วนที่มีความสัมพันธ์ห่างออกไปจากภาษาทั้งสองเล็กน้อย แต่โดยภาพรวมแล้วทั้งสามภาษามีระบบคำบุรุษสรรพนามที่มีความคล้ายคลึงกัน สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้ (สัญลักษณ์ + หมายถึงสอดคล้องกัน สัญลักษณ์ “±” หมายถึงมีสอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่มีเพียงบางส่วนที่ต่างกัน สัญลักษณ์  - หมายถึงไม่สอดคล้องกัน)






              
สรุปความสัมพันธ์ของคำสรรพนาม 3 ภาษา


เอกพจน์

ทวิพจน์
พหูพจน์

สรุปความสัมพันธ์
บุรุษที่ 1

ฉัน
เราสอง
พวกเรา


B
/µ/1
/a/1
/E/1
+
D
/o
ja:i
jFi
±
W
/F/
/a/
/e/
+
สรุปความสัมพันธ์
BDW
+
±
±

บุรุษที่ 2

เธอ
เธอทั้งสอง
พวกเธอ


B
mi/2
pa/2
pE/2
+
D
mi
pa:i
pFi
+
W
mai/
pa/
pe/
+
สรุปความสัมพันธ์
BDW
+
+
+

บุรุษที่ 3

เขา
เขาทั้งสอง
พวกเขา


B
/Fn1
ka/2
kE/2
±
D
di
ka:i
kFi
±
W
mh
kE/
ki/
±
สรุปความสัมพันธ์
BDW
-
+
+


เชิงอรรถ
[1] บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การศึกษาภาษาตระกูลมอญ-เขมร ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ประจำปี 2556-2557
2   ชื่อเมืองลูซี และ เฉินกางนี้ เรียกตามที่อ้างอิงมาจากงานของ สกุณี ณัฐพูลวัฒน์ ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ลู่ซี (路西Lùxī) และ เมืองเจิ้นคาง (镇康Zhènkānɡ) ตามลำดับ
3   ภาษาจีนเรียกชื่อชนเผ่านี้ว่า ออกเสียงว่า หว่านักวิชาการไทยรู้จักชื่อชนเผ่านี้ว่า ว้า”  บทความนี้นำเสนอทรรศนะจากนักวิชาการจีน จึงจะเรียกชื่อภาษาและชนเผ่านี้ตามภาษาจีนว่า หว่า
4   บริเวณนี้แม่น้ำสายหนึ่งไหลผ่าน ชื่อแม่น้ำนู่  ภาษาจีนเรียกชื่อว่า  นู่เจียง (คำว่าเจียง แปลว่า แม่น้ำ)  เป็นต้นแม่น้ำสาละวินที่อยู่ในประเทศจีน  ในภาษาไทยเราเรียกว่า แม่น้ำสาละวิน
5   แม่น้ำสายนี้ คนไทยรู้จักในชื่อแม่น้ำล้านช้าง ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำโขงที่อยู่ในประเทศจีน            
6   สายตระกูลภาษาเอเชียใต้ (南亚语系 Nányà Yǔxìคือภาษาตระกูล Austro-Asiatic ตำราภาษาจีนบางเล่มเรียกทับศัพท์แบบทับเสียง ว่า อ้าว ซือ เท่อ หลัว ย่า ซี่ ย่า (澳斯特罗-亚细亚  Ào sī tè luó yà xì yà) 
7   อ่านรายละเอียดข้อมูลภาษาของภาษาทั้งสามได้ในบทความต่อไปนี้
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2556, มกราคม มิถุนายน) ปู้หล่าง: ภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีนตามทรรศนะของนักวิชาการจีน. วารสารศาสนาและวัฒนธรรม, 8(1), 17-36.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2557, มกราคม มิถุนายน) เต๋ออ๋าง: ภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีนตามทรรศนะของนักวิชาการจีน. วารสารอารยธรรมโขงสาละวิน, 5(1) ,89-102.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2557). ภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. ใน รัตนะ ปัญญาภา, บรรณาธิการ, เอกสารรวมบทความวิชาการและบทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ (หน้า 83-106). มหาวิทยาลัย
                ราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2558,มกราคม มิถุนายน) หว่า:ภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีนตาม
                ทรรศนะของนักวิชาการจีน. วารสารอารยธรรมโขงสาละวิน, 6(1) , 276-308.
8  ในเชิงสัทวิทยา โครงสร้างพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียงพยัญชนะ /// อาจวิเคราะห์เป็น CVC คือเป็นพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นหรือเป็น VC คือไม่มีพยัญชนะต้นก็ได้

บรรณานุกรม
ภาษาไทย
มานุษยวิทยาสิรินธร, ศูนย์. (2007). ฐานข้อมูลทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูล
                วันที่ 15 กันยายน 2557. จาก http://www.sac.or.th/databases/ethnic/.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555). สารานุกรมชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. พิมพ์ครั้งที่ 3.           อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2556, มกราคม มิถุนายน). ปู้หล่าง: ภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีน
                ตามทรรศนะของนักวิชาการจีน.วารสารศาสนาและวัฒนธรรม, 8(1), 17-36.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2557,มกราคม มิถุนายน). เต๋ออ๋าง: ภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีนตามทรรศนะของนักวิชาการจีน. วารสารอารยธรรมโขงสาละวิน, 5(1), 89-102.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2557). ภาษาตระกูลมอญ-เขมรในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. ใน รัตนะ ปัญญาภา, บรรณาธิการ, เอกสารรวมบทความวิชาการและบทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ (หน้า 83-106). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2558,มกราคม มิถุนายน) หว่า:ภาษาตระกูลมอญเขมรในประเทศจีนตาม
                ทรรศนะของนักวิชาการจีน. วารสารอารยธรรมโขงสาละวิน, 6(1) , 276-308.
สกุณี ณัฐพูลวัฒน์. (2545). ดาระอั้ง: คนชายขอบสองแผ่นดิน.ารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 21(1), 97-123.
สุริยา รัตนกุล, คุณหญิง. (2531). นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1: ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกและภาษาตระกูลจีน-ธิเบต. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาษาจีน

陈相木, 王敬骝, 赖永良。(1986).德昂语简志》北京:民族出版社。

(เฉินเซียงมู่ หวางจิ้งหลิว และล่ายหย่งเหลียง. (1986). บันทึกสังเขปภาษาเต๋ออ๋าง. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ชนชาติ.)

李道勇、聂锡珍、邱鹗锋。(1986).《布朗语简志》北京:民族出版社.
(หลี่ต้าวหย่ง เนี่ยซีเจิน และชิวเอ้อเฟิง. (1986). บันทึกสังเขปภาษาปู้หล่าง. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ชนชาติ.)
周值志,颜其香。(1984).《佤语简志》北京:民族出版社。
(โจวจื๋อจื้อและเหยียนฉีเซียง. (1984). บันทึกสังเขปภาษาหว่า. ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ชนชาติ.)
           
ภาษาอังกฤษ
Deepadung, S. (2013). Personal Pronouns in Palaung Dialects. SIL Language and Culture Documentation and Description 22.






* สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย  อุบลราชธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น