วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รายการคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่คาดว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย ตระกูลไท-จีน

เมชฌ สอดส่องกฤษ (2553) " รายการคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่คาดว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย ตระกูลไท-จีน" วารสารเอเซียตะวันออกศึกษา.
สถาบันเอเซียตะวันออกศึกษา,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ,หน้า 124 - 162.

http://www.asia.tu.ac.th/journal/content_Asia14-2.htm


บทคัดย่อ
ภาษาอีสานมีความสัมพันธ์กับภาษาไทยมาตรฐานในฐานะภาษาถิ่น มีความแตกต่างกันในเรื่องของระบบเสียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในระดับคำ ภาษาอีสานมีคำศัพท์เฉพาะถิ่นจำนวนหนึ่งที่ไม่มีในภาษาไทย จากการศึกษาเกี่ยวกับภาษาตระกูลไทพบว่า ภาษาไทยเกี่ยวข้องกับภาษาจีนในฐานะภาษาร่วมตระกูลกัน ทำให้เชื่อได้ว่าคำศัพท์ภาษาอีสานกลุ่มนี้น่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลไท-จีนเช่นกัน ตามสมติฐานของการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มคำดังกล่าวมีเสียงและความหมายสัมพันธ์กับคำในภาษาจีนสามระดับ คือ คำที่น่าจะเกี่ยวข้องกันมี 6 คำ คำที่มีความสัมพันธ์กันมี 188 คำ และคำที่สันนิษฐานว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายมี 213 คำ รวมทั้งสิ้น 407 คำ
คำสำคัญ : ภาษาตระกูลไท ภาษาอีสาน คำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน

List of Isan dialect words in Northeast of Thailand which possibly connected with
Tai-Chinese family language
Abstract
Isan language is a dialect of standard Thai language which is just a little different from Thai language in sounds, but in terms of word, there are many Isan words that are not endemic in Thai language. According to the study of Tai language family found that it is related to Chinese language as a language family. thus, it could be assume that these Isan words possibly be a family lineage of Tai-Chinese cognate as well. By the hypothesis of the study found that sound and the meaning of 407 words of Isan dialect related to Chinese words, divided into 3 groups,6 relevant words,191 related words, and 210 cognate words.
Keywords : Tai language family, Isan language, Tai - Chinese cognate


บทนำ
นานมาแล้วที่นักวิชาการด้านภาษาได้ศึกษาเพื่อสืบหาต้นตอของภาษาตระกูลไทว่ามีต้นกำเนิดมาจากที่ใดกันแน่ แต่ในระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ นักวิชาการไทยมุ่งความสนใจไปที่ตอนใต้ของประเทศจีน เนื่องจากพบว่ามีกลุ่มชนที่พูดภาษาคล้ายกับภาษาไทยหลายกลุ่มเช่น ไต จ้วง ปูยี สุย เกอหล่าว ฮลาย กัม มูลาม เหมาหนาน เป็นต้น เป็นหลักฐานชี้ชัดและมีแนวโน้มที่จะสรุปได้ชัดเจนแล้วว่า บรรพบุรุษของคนที่พูดภาษาตระกูลไท ก็มีต้นกำเนิดบริเวณจีนตอนใต้นั่นเอง
ภาษาอีสาน เป็นภาษาถิ่น(dialect) หนึ่งของภาษาไทยมาตรฐาน (standard language) เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักภาษาศาสตร์และผู้รู้ภาษาไทยและภาษาอีสานว่า ความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับภาษาอีสานต่างกันเพียงเป็นภาษามาตรฐานกับภาษาถิ่นเท่านั้น ซึ่งหมายถึงว่ามีความใกล้ชิดกันเป็นภาษาเดียวกัน อาจมีเพียงเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะ หรือสระในบางคำเท่านั้นที่ต่างกัน แต่เสียงที่ต่างกันนั้นมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เช่น เสียง ฮ ในภาษาอีสาน เป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง ร ในภาษาไทยกลาง เช่น เฮือน – เรือน/ ฮ้าน–ร้าน / เฮือ– เรือ / ฮ้อง –ร้อง/ ฮ้อน– ร้อน / ฮัก – รัก เป็นต้น
แต่นอกเหนือจากคำที่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูลไทแล้ว ในภาษาอีสานยังมีคำที่ไม่มีในภาษาไทยอีกเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็นคำที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูลไท คำเหล่านี้มีต้นตอมาจากที่ใด ยังไม่การศึกษาที่แน่ชัด แต่ในฐานะที่ภาษาอีสานเป็นภาษาที่สัมพันธ์กับภาษาไทยเป็นแบบภาษาพี่น้องกัน ในขณะที่ภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับภาษาจีนแบบภาษาร่วมตระกูล ดังนั้นจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า คำภาษาอีสานที่ไม่มีในภาษาไทยดังกล่าวนี้เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับภาษาจีน เนื่องจากสามารถหาคู่คำที่สันนิษฐานว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายได้ ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอีสานคำว่า “ส่วง” ตรงกับภาษาจีนคำว่า 爽 (shuang3)[1] หมายถึง ปลอดโปร่ง โล่งสบาย คำภาษาอีสานว่า “เหิง” ตรงกับภาษาจีนคำว่า 恒 (heng2) หมายถึง ยาวนาน คำภาษาอีสานว่า “จ่าน” ตรงกับภาษาจีนคำว่า 展 (zhan3) หมายถึง แผ่ออก ขยายออก กระจายออกไป คำบางกลุ่มอาจมีการเพี้ยนเสียงไปบ้าง แต่ยังเหลือเค้าความคล้ายคลึงให้เดาได้ว่าเป็นคำที่มีความสัมพันธ์กัน และที่สำคัญยังคงความหมายตรงกันด้วย เช่น ภาษาอีสานคำว่า “ซอง หรือ ซ่อง” คล้ายกับภาษาจีนคำว่า 双 (shuang1) หมายถึง ลักษณะสิ่งของที่เป็นคู่ ภาษาอีสานคำว่า “ซะ” คล้ายกับภาษาจีนคำว่า 撒 (sa3) หมายถึง หว่าน โปรย กระจัดกระจาย นอกจากนี้ยังมีคำที่มีเสียงใกล้เคียงคล้ายคลึงกัน มีความหมายสัมพันธ์กัน เช่น ภาษาอีสานคำว่า “ต้วง” หมายถึงกลิ่นเหม็นที่เข้มข้นและรุนแรงอย่างหนึ่งของปลาร้า ออกเสียงคล้ายกับภาษาจีนคำว่า 浓 (nong2) หมายถึง กลิ่นหรือรสชาดที่เข้มข้น ภาษาอีสานคำว่า “หมึน” หมายถึง โกรธ หรือฉุนเฉียว ออกเสียงคล้ายกับภาษาจีนคำว่า 闷 (men4) หมายถึง อึดอัด คับข้องใจ เป็นต้น คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่ไม่มีในภาษาไทย และมีความสัมพันธ์กับภาษาจีนดังกล่าวนี้ จะได้นำเสนอในบทความนี้
ความสัมพันธ์ของภาษาอีสาน ภาษาตระกูลไท และภาษาจีน
ก่อนจะไปถึงข้อมูลกลุ่มคำศัพท์ดังกล่าว จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดแบ่งภาษาตระกูลไทและการศึกษาเกี่ยวกับคำศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลไท–จีน การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาถิ่นตระกูลไทกับตระกูลภาษาใหญ่จีน–ทิเบต และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับภาษาถิ่นตระกูลไทยและภาษาไทยถิ่นอีสาน เพื่อชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของภาษาอีสานกับภาษาจีน
ภาษาตระกูลไท และการศึกษาเกี่ยวกับคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาตระกูลไท – จีน
เกี่ยวกับการจัดแบ่งตระกูลภาษาของภาษาไทยนี้นักภาษาศาสตร์มีข้อคิดเห็นแตกต่างกันไปหลายทฤษฎี ความแตกต่างนี้ไม่เพียงเกิดขึ้นในเรื่องของการจัดแบ่งตระกูลภาษา หากแต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงชื่อเรียกภาษาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไทย ไท ไต ได ลาว สยาม กัมไท ในภาษาจีนก็เช่นเดียวกัน มีตัวอักษรที่เรียกชื่อภาษาไทหรือชาวไทอย่างน้อยสี่ตัวขึ้นไป คือ泰 (tai4) 傣 (dai3) 台 (tai) 暹 (xian1) แต่เราจะไม่ถกเรื่องชื่อเรียกภาษาไทในที่นี้ เพราะมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมายแล้ว เช่น เรืองเดช (2531) ในหนังสือชื่อ “ภาษาถิ่นตระกูลไทย” จิตร(2519) ในหนังสือชื่อ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอมและลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ” สุริยา (2548) ในหนังสือชื่อ “นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท”
แต่สิ่งสำคัญที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ การจัดแบ่งตระกูลภาษาที่แสดงให้เห็นว่าภาษาไทยและภาษาจีนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ผู้เขียนจะเรียกตาม สุริยา (2548) ที่ว่าคำว่า “ไท” เป็นคำที่เป็นกลางมากที่สุด ในบทความนี้จึงจะเรียกตามว่า “ภาษาตระกูลไท” ยกเว้นการอ้างอิงข้อความคิดของนักวิชาการท่านอื่น จะคงคำเรียกตามที่อ้างมา
โดยทั่วไปถือว่าภาษาไทยเป็นตระกูลย่อยภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาใหญ่ จีน-ธิเบต ซึ่งภาษาตระกูลจีน – ธิเบตนี้ เป็นตระกูลภาษาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แบ่งออกเป็น 4 สาขาคือ (1)สาขาภาษาจีน (2)สาขาภาษาไทย (3) สาขาแม้วเย้า (4) สาขาธิเบตพม่า (เรืองเดช: 2531) อย่างไรก็ตามนักภาษาศาสตร์หลายท่านเรียกชื่อตระกูลภาษานี้แตกต่างกันไป อย่างเช่น Grierson (1903-28) เรียกรวมเป็นตระกูลเดียวกันกับภาษาจีนว่า ตระกูลภาษาไทยจีน (Siamese-Chinese family) Benedict (1975) เรียกว่า ออสโตร – ไทย (Astro-Tai) เพราะเห็นว่าเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลออสโตรเนเชียน ต่อมามีการตั้งชื่อตระกูลภาษาไทอีกหลายชื่อด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น บ้างเรียกว่า ตระกูลภาษาไทย ตระกูลภาษาไต แยกออกมาเป็นตระกูลภาษาใหญ่ต่างหาก บ้างเรียกว่าตระกูลคำไต (KamTai family) และ ภาษาไดอิก (Daic) โดยรวมภาษาไทยถิ่นต่างๆที่พูดในประเทศต่างๆ 8 ประเทศเป็นตระกูลเดียวกันหมด (เรืองเดช: 2531) Benedict (1942) ได้ตั้งชื่อตระกูลภาษานี้ใหม่ว่า ตระกูลภาษาไทยกะได (Tai Kadai) เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาษาไทยถิ่นที่พูดอยู่ที่เกาะไหหลำ อ่าวตัวเกี๋ย และภาษากลุ่มตระกูลภาษาไทยที่พูดอยู่ที่ประเทศจีน และเวียดนามทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีการแบ่งภาษาตระกูลไทโดยยึดหลักภูมิศาสตร์ นักนิรุกติศาสตร์ของไทยในอดีตที่สำคัญคือพระยาอนุมานราชธน(อ้างในเรืองเดช : 2531) ได้แบ่งภาษาตระกูลไทยออกเป็น 4 กลุ่ม โดยอาศัยหลักทางภูมิศาสตร์ คือ (1) ไทยกลาง คือภาษาไทยที่พูดอยู่ในประเทศไทย (2) ไทยจีน คือภาษาไทยที่พูดอยู่เขตประเทศจีนบริเวณกวางสี ไกวเจา กวางตุ้ง เช่นภาษาไทยลาย ไทยลุง ไทยย้อย ไทยโท้ ไทยนุง (3) ไทยตะวันตก คือภาษาไทยที่พูดอยู่ในพม่า เช่น ไทยใหญ่ ไทยเขิน ไทยอาหม (4) ไทยตะวันออก คือภาษาไทยที่พูดอยู่ในประเทศเวียดนาม และลาว เช่น ไทยโท้ ผู้ไทย ไทยลาว
การใช้หลักเกณฑ์ทางภาษา เช่นหลักการกระจายคำและเสียง ดูจะเป็นที่ยอมรับในการจัดกลุ่มภาษา นักวิชาการที่สำคัญคือ Li Fanggui (1959) ใช้เกณฑ์ทางการกระจายคำศัพท์ ลักษณะทางเสียงและพัฒนาการทางเสียงแบ่งกลุ่มภาษาไทยออกเป็นถิ่นต่างๆ 3 กลุ่มด้วยกันคือ (1) กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ เช่นภาษาไทยสยาม ลาว ลื้อ อาหม (2) กลุ่มกลาง เช่น ภาษาโท้ นุง Lung-Chow (3) กลุ่มเหนือ เช่น Wu-ming, Ch’ien-chiang, His-Lin, Po-ai
ยังมีนักภาษาศาสตร์อีกหลายท่านที่ศึกษาภาษาตระกูลไท และจัดให้ภาษาที่พูดอยู่ในประเทศจีน หรือภาษาที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาจีนเป็นสมาชิกในภาษาตระกูลไท เช่น John F. Hurtmann (1986) จัดแบ่งภาษาไทยเฉพาะกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ของ Li Fanggui เป็นกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ตอนล่าง ตอนกลางและตอนบน กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ตอนล่างนี้ครอบคลุมไปถึงตอนใต้สุดของตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และยังมีนักภาษาศาสตร์ในยุคต่อจาก Li Fanggui อีกหลายท่าน เช่น Marwin Brown (1965), William J.Gedney(1972), James R.Chamberlain(1972) ก็ได้ดำเนินรอยตาม Li Fanggui โดยในการจัดแบ่งภาษาตระกูลไทล้วนมีความเกี่ยวข้องกับภาษาตระกูลจีน หรือเป็นภาษาไทที่พูดอยู่ในประเทศจีนทั้งสิ้น เรืองเดช (2531) นักวิชาการภาษาตระกูลไทยได้จัดแบ่งภาษาตระกูลไทยออกเป็น “กลุ่มไท”โดยรวมภาษากลุ่มไทสยามและลาวไว้ในกลุ่มเดียวกัน และ “กลุ่มไต” รวมภาษาไตยวน ไตหลวง ไตจีนไว้ด้วยกัน สุริยา (2548) ให้ความเห็นว่า “นอกจากภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษาไทแล้ว ยังมีภาษาอยู่อีกจำนวนหนึ่งที่นักภาษาศาสตร์ไม่จัดเข้าอยู่ในตระกูลไทเพราะลักษณะทางภาษาจัดได้ว่ามีความสัมพันธ์ห่างจากภาษาตระกูลไทออกไป แต่ก็ยังเป็นความห่างที่เห็นได้ว่ายังมีร่องรอยของสายใยความสัมพันธ์เดิมอยู่ ภาษาเหล่านี้สืบเชื้อสายมาจากภาษาที่นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของภาษาตระกูลไทคือที่เรียกว่าภาษาตระกูลกะได (Kadai Language Family)” จากข้อมูลการศึกษาและการจัดแบ่งภาษาตระกูลไทจะเห็นว่า ภาษาไทยมีร่องรอยความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีนอยู่
ตามทรรศนะของนักวิชาการจีน จัดภาษาไทยอยู่ในภาษาตระกูลจีนธิเบต สาขาภาษาต้งไถ สาขาย่อยภาษาไต (梁敏,张均如:1996) และเพื่อยืนยันว่าภาษาไทยจัดอยู่ในภาษาตระกูลจีน-ธิเบต ตลอดจนการสนับสนุนแนวคิดเรื่องคำศัพท์ร่วมเชื้อสายเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้เห็นถึงความสัมพันธ์ว่าเป็นภาษาในตระกูลภาษาเดียวกัน การศึกษาเรื่องคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยจีนจึงเป็นความสนใจของนักภาษาศาสตร์และนักศึกษาภาษาไทยจีนมาช้านาน
งานที่สำคัญที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของภาษาไทยและจีนในยุคเริ่มแรกคือ A.Conrady,K.Wulff (อ้างใน龚群虎:2002) เสนอแนวคิดในเรื่องความสัมพันธ์ของระบบเสียงวรรณยุกต์ โดยได้สรุปกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ของระบบเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยและจีน นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบคำศัพท์ร่วมเชื้อสายระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทยหรือภาษาอื่นในสาขาภาษาไท พบว่ามีคำศัพท์ที่เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกว่า 200 คำ
งานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของนักวิชาการด้านจีนศึกษาชาวไทยคือ A Study of Sino-Thai Lexical Correspondences ของ ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ที่เสนอต่อ University of Washington (P.Manomaivibool:1975) งานวิจัยชิ้นนี้เปรียบเทียบคำศัพท์ร่วมเชื้อสายในภาษาไทยและจีน โดยรวบรวมคำศัพท์ภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์ ที่สันนิษฐานว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยจีนถึง 600 คำ
นักวิชาการชาวจีน Li Fanggui (李方桂:1976) ให้ความเห็นเกี่ยวกับคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยจีนว่า ภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับภาษาจีนเหมือนอย่างที่ภาษาจีนมีความสัมพันธ์กับภาษาธิเบต ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาร่วมสายเลือด และเพื่อสนับสนุนข้อคิดเห็นนี้ Li Fanggui ได้รวบรวมคำศัพท์ร่วมเชื้อสายระหว่างภาษาจีนกับภาษาในสาขาภาษาไท (ไต) ร้อยกว่าคำ ซึ่งถือเป็นคัมภีร์ศึกษาคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยจีนเล่มสำคัญเลยทีเดียว
งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่สนับสนุนแนวคิดคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยจีนคือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ กง ฉวินหู่ ที่เสนอต่อมหาวิทยาลัยฟุตั้น เมืองเซี่ยงไฮ้เรื่อง ยุคสมัยของคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยจีน (龚群虎:2002) ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นวิวัฒนาการความสัมพันธ์ของภาษาไทยและจีนในแต่ละยุค โดยแบ่งความสัมพันธ์ภาษาไทยจีนเป็น 3 ช่วงคือ (1) คำศัพท์ร่วมสายเลือดภาษาไทยจีนซึ่งหมายถึงคำศัพท์ที่เคยเป็นภาษาเดียวกันมาตั้งแต่อดีต (2) คำศัพท์ที่มีการถ่ายเทซึ่งกันและกันในยุคสองพันปีลงมา (3) คำศัพท์ที่ภาษาไทยยืมมาจากภาษาจีนในยุคที่ชาวจีนอพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยในระยะร้อยสองร้อยปีมานี้ นับเป็นการเพิ่มเติมความรู้และวงคำศัพท์ให้กับวงการศึกษาคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยจีนเป็นอย่างมาก
การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาถิ่นตระกูลไทกับตระกูลภาษาใหญ่จีน - ทิเบต
หนังสือชื่อ นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท ของ สุริยา รัตนกุล (สุริยา : 2548) ในหนังสือเล่มนี้บทที่สี่เป็นเรื่องของภาษาตระกูลไทและภาษาที่เกี่ยวข้องกับภาษาตระกูลไทในประเทศจีน มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ภาษาตระกูลไทแท้ๆที่อยู่ในประเทศจีนมีภาษาตระกูลไททั้งสามสาขา โดยภาษาไทฉาน ไทเหนือและไทลื้อเป็นภาษาตระกูลไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้ ภาษาไทโท้และไทนุงเป็นภาษาตระกูลไทสาขากลาง และภาษาไทย้อยกับภาษาไทจ้วงเป็นภาษาตระกูลไทสาขาเหนือ การที่ประเทศจีนมีตัวแทนของภาษาตระกูลไททั้งสามสาขาอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ดังนี้ ก็เพราะประเทศจีนเป็นถิ่นเดิมของผู้ที่พูดภาษาตระกูลไท นักภาษาศาสตร์เชื่อกันว่าถิ่นเดิมของผู้พูดภาษาตระกูลไทเมื่อหลายพันปีก่อนนั้น อยู่ที่บริเวณตอนใต้ของประเทศจีนตอนที่ต่อกับประเทศเวียดนาม” นั่นก็หมายความว่าภาษาตระกูลไทในแผ่นดินจีนมีความสัมพันธ์กับภาษาฮั่น ซึ่งสืบทอดมาเป็นภาษาจีนในปัจจุบันมานานแล้ว หากไม่พูดถึงคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท – จีน ที่หมายความถึงคำที่นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นภาษาเดียวกันแล้วพัฒนาแตกสาขาไปเป็นภาษาอื่นๆ แม้หากไม่เชื่อว่าภาษาไทยและภาษาจีนเป็นภาษาร่วมสายตระกูลเดียวกัน อย่างน้อยๆ ในฐานะที่เป็นภาษาที่พูดอยู่ในดินแดนเดียวกัน ก็ย่อมมีการหลั่งไหลถ่ายเท ผสมปนเปกัน จนใช้ร่วมกันมานานหลายพันปี
หนังสือ พจนานุกรม และบทความของนักวิชาการสองท่าน คือ สมทรง บุรุษพัฒน์ และปราณี กุละวณิชย์ หลากหลายผลงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทกับภาษาตระกูลจีน-ทิเบต เช่น ภาษาและวัฒนธรรมกัม-ไท (สมทรง: 2543) พจนานุกรมภาษากัม-จีน-ไทย-อังกฤษ (สมทรง: 2543) พจนานุกรมปูยี-จีน-ไทย-อังกฤษ (สมทรง: 2544) พจนานุกรมฮไล-จีน-ไทย-อังกฤษ (สมทรง: 2546) พจนานุกรมสุย-จีน-ไทย-อังกฤษ(สมทรง: 2546) Northern Zhuang Chinese English Dictionary (Somsong:2006) การเปรียบเทียบคำลักษณะนามในภาษาไท-กะได(สมทรง: 2549) พจนานุกรมจ้วงใต้ – ไทย (ปราณี:2535) ศัพท์ไท 6 ภาษา (ปราณี:2537) ผลงานเหล่านี้เป็นหลักฐานคลังคำศัพท์ที่ใช้ศึกษาเปรียบเทียบภาษาตระกูลไทได้อย่างวิเศษ แต่ยังไม่พบการศึกษาเปรียบเทียบภาษาถิ่นของไทยกับภาษาตระกูลจีน-ธิเบต โดยเฉพาะภาษาทยถิ่นอีสาน
การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับภาษาถิ่นตระกูลไทและภาษาไทยถิ่นอีสาน
หนังสือชื่อ ภาษาถิ่นตระกูลไทย ของ เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์ (เรืองเดช:2531) ในหนังสือเล่มนี้จัดกลุ่มภาษาถิ่นตระกูลไทยในประเทศไทยเป็น 19 ภาษาถิ่นด้วยกัน ได้แก่ 1.ภาษาไทสยาม หรือ ภาษาไทยกลาง 2. ภาษาไทใต้หรือภาษาไทยถิ่นใต้ 3.ภาษาไทตากใบ 4.ภาษาไทลาว หรือภาษาไทยถิ่นอีสาน 5.ภาษาไทญ้อ 6.ภาษาไทโย้ย 7. ภาษาไทพวน 8.ภาษาผู้ไท 9. ภาษาไทกะเลิง 10 ภาษานครไท 11.ภาษาไทแสก 12. ภาษาไตยวน หรือ ภาษาคำเมือง 13. ภาษาไตใหญ่ 14. ภาษาไตหย่า 15.ภาษาไตขึน 16. ภาษาไตลื้อ 17. ภาษาไตยอง 18.ภาษาไตดำ 19.ภาษาไตแดง
ในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายภาษาถิ่นตระกูลไทยข้างต้น หมายเลข 4. ภาษาไทลาว หรือภาษาไทยถิ่นอีสาน (Northeastern Thai Dialect) ว่า ภาษาไทยถิ่นอีสานได้แก่ ภาษาไทยลาวที่พูดโดยคนไทยส่วนใหญ่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ภาษาไทยถิ่นนี้คนไทยในประเทศไทยนิยมเรียกภาษานี้ว่า ภาษาอีสานหรือ ภาษาลาว มีพูดในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 16 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ภาษาไทยถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นอยู่หลายถิ่นหลายสำเนียง คือ 1.สำเนียงหลวงพระบาง (Luangphrabang Dialect) 2.สำเนียงเวียงจันทน์ (Vientien Dialect) 3. สำเนียงอีสาน (Isan Dialect) ต่อจากนี้ไปจะใช้คำเรียกภาษาไทยถิ่นอีสานตาม เรืองเดช ว่า “ภาษาอีสาน”
ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ของ พัชราภรณ์ เศวตสุวรรณ (พัชราภรณ์:2530) เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาถิ่นอีสานที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูลไท ปริญญานิพนธ์นี้รวบรวมคำศัพท์ภาษาถิ่นอีสานที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลาง และเปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาถิ่นอีสานที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูลไท โดยใช้วิธีเปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาถิ่นอีสานกับภาษาไทถิ่นต่างๆ ในภาษาตระกูลไทจำนวน 39 ภาษา สามารถรวบรวมคำศัพท์ภาษาถิ่นอีสานที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางได้ถึง 1,447 คำ
งานด้านพจนานุกรมและสารานุกรมเกี่ยวกับภาษาอีสาน ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นข้อมูลการเปรียบเทียบคำศัพท์และข้อมูลคลังคำศัพท์ในขั้นเริ่มต้นที่สามารถนำมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับคำศัพท์ร่วมเชื้อสายได้เป็นอย่างดี เช่น พจนานุกรมภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,สำนักงาน:2530) พจนานุกรมภาษาอีสาน–กลาง(ขอนแก่น, มหาวิทยาลัย:2532) สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ(ปรีชา:2532) พจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน(เว่าอีสาน) (บุญเกิด:2545) พจนานุกรมภาษาอีสาน(คำพูน:2548) คำภาษาอีสานในบทความนี้ก็ได้ตรวจสอบจากพจนานุกรมดังกล่าวนี้เช่นกัน เป็นที่น่าเสียดายว่ายังไม่มีพจนานุกรมภาษาอีสาน-จีน เหมือนอย่างพจนานุกรมที่เปรียบเทียบภาษาตระกูลไทอื่นๆ กับภาษาจีนดังที่ปรากฏข้างต้น เพราะจะเป็นคลังคำศัพท์ที่สามารถนำมาศึกษาได้แบบสำเร็จรูป และจะเห็นว่าการศึกษาเกี่ยวกับภาษาอีสานนั้นยังคงศึกษาอยู่ในวงภาษาอีสานด้วยกันเองหรือภาษาไทกลุ่มอื่นๆในประเทศไทยเท่านั้น ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบกับภาษาในตระกูลไท-จีน
หนังสือ พลังลาว ชาวอีสานมาจากไหน ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ (สุจิตต์ :2549) แม้จะไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับการศึกษาความสัมพันธ์ของภาษาอีสานกับภาษาตระกูลไท–จีนโดยตรง แต่มีข้อมูลชี้ชัดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเชื้อชาติของชาวอีสานกับกลุ่มชนในประเทศจีน จะขอตัดตอนข้อความสำคัญมาดังนี้
ชาวอีสาน หรือคนอีสาน มีบรรพชนอย่างน้อย 2 พวก คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมอยู่ภายในสุวรรณภูมิเป็นกลุ่มชนที่มีชีวิตร่อนเร่อยู่ในดินแดนอีสานนานมากกว่า 5,000 ปีมาแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า คนอีสานพวกแรกเหล่านี้เป็นชนกลุ่มไหน เผ่าพันธุ์ใด กับอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มคนภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาภายหลังจากทิศทางต่างๆ มีร่องรอย และหลักฐานสรุปย่อๆ ได้เป็นสองกลุ่ม คือ (1) ราว 3,000 ปีมาแล้ว มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คนพวกนี้มาจากทางตอนใต้ของจีนปัจจุบัน (แต่ครั้งนั้น 3,000 ปีมาแล้ว ยังไม่เป็นดินแดนของจีน) เช่น ยูนนาน กวางสี กวางตุ้ง เวียดนาม ฯลฯ สิ่งสำคัญที่คนภายนอกพวกนี้นำเข้ามาด้วยคือ ภาษา ที่ปัจจุบันเรียกตระกูลไทย-ลาว มีหลักฐานแน่นหนาว่า เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว คนพื้นเมืองในกวางสี-กวางตุ้ง พูดภาษาตระกูลไทย-ลาวแล้ว และ (2) ราว 2,000 ปีมาแล้ว มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ราว 2,000 ปีมาแล้ว หรือราวหลัง พ.ศ. 500 มีคนจากทิศตะวันตกเฉียงใต้กลุ่มหนึ่ง จากชมพูทวีปและลังกาทวีป เดินทางผ่านชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทางที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา และปากแม่น้ำโขง ขึ้นมาถึงบริเวณ 2 ฝั่งโขง ทำให้มีคนตะวันตกเฉียงใต้บางพวก เข้ามาตั้งหลักแหล่งทางอีสานด้วย
การศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบภาษาอีสานกับภาษาจีน
สำหรับความสัมพันธ์ของภาษาอีสานกับภาษาจีนนั้น หากคิดโดยผิวเผินดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันได้ จึงยังไม่พบว่ามีการศึกษาเปรียบเทียบภาษาอีสานกับภาษาจีน จากข้อมูลการศึกษาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาตระกูลไท–จีน เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วว่าภาษาไทยเป็นภาษาร่วมสายตระกูลกับภาษาจีน ในขณะที่ภาษาไทยกับภาษาอีสาน มีความสัมพันธ์กันแบบสายเลือดที่มีความใกล้ชิดอย่างพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ภาษาอีสานจึงมีความสัมพันธ์แบบภาษาร่วมสายตระกูลกับภาษาจีนด้วยเช่นกัน เพียงแต่ว่าในภาษาอีสานจะยังคงหลงเหลือคำศัพท์ (ที่ไม่มีในภาษาไทย) ร่วมเชื้อสายกับภาษาจีนมากน้อยเพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป
มีประเด็นที่น่าสงสัยว่า คำว่าภาษาจีนมีความหมายกว้างมาก หากว่าภาษาจีนในที่นี้หมายถึงภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) ภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ ทำให้การออกเสียงภาษาจีนกลางของจีนเหนือกับจีนใต้มีสำเนียงไม่เหมือนกันและแตกต่างกันมาก จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบหรือสันนิษฐานว่ามีความเกี่ยวพันธ์กับภาษาอีสานได้ อีกประการหนึ่ง ภาษาจีนแมนดาริน เป็นภาษาของจีนทางเหนือหรือปักกิ่ง ซึ่งไม่สนับสนุนข้อสันนิษฐานว่าภาษาอีสานเกี่ยวข้องกับจีนตอนใต้
ข้อเท็จจริงก็คือ ภาษาจีนแบ่งออกเป็น 7 สำเนียง ได้แก่ 1.กลุ่มสำเนียงภาษากวาน (Guanhua官话) คือสำเนียงที่พูดอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณเมืองหูเป่ย ซื่อชวน(เสฉวน) ฉงชิ่ง หยุนหนาน กุ้ยโจว หูหนาน เจียงซี อันฮุย และเจียงซู กลุ่มสำเนียงภาษากวานนี้เป็นสำเนียงพื้นฐานของภาษาจีนกลางปัจจุบัน ที่เรียกว่า ผู่ทงฮว่า (Putonghua 普通话) กลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น 70% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด คำว่า “ภาษาจีน” ในบทความนี้ หมายถึง ภาษาจีนผู่ทงฮว่า สำหรับกลุ่มสำเนียงภาษาอื่นๆ ได้แก่ 2. กลุ่มสำเนียงภาษาอู๋ (Wuyu吴语) คือสำเนียงที่พูดอยู่บริเวณเจียงหนาน เจียงเจ๋อ ตอนใต้ของเจียงซู เจ๋อเจียง ซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) ตอนใต้ของอันฮุย สำเนียงภาษานี้คิดเป็น 9.1% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 3.กลุ่มสำเนียงภาษาเค่อเจีย (หรือที่เรียกว่าแคะKejia 客家) คือสำเนียงที่พูดอยู่บริเวณภาคใต้ของจีน บริเวณกว่างตง(กวางตุ้ง) ฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) เจียงซี กว่างซี(กวางสี) ไถวัน(ไต้หวัน) เสฉวน กลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น 4% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 4. กลุ่มสำเนียงภาษาหมิ่น (Minyu闽语) คือสำเนียงที่พูดอยู่บริเวณมณฑลฝูเจี้ยน ไต้หวัน กว่างตง ไห่หนาน(ไหหลำ) กว่างซี และประเทศในเอเชียอาคเนย์ กลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น 4.5% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 5. กลุ่มสำเนียงภาษาเยว่ (Yueyu 粤语) คือสำเนียงภาษากวางตุ้ง ไป๋ฮว่า กว่างฝูฮว่า ที่พูดอยู่บริเวณกว่างโจว กว่างซี เซียงกั่ง(ฮ่องกง) อ้าวเหมิน(มาเก๊า) กลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น 5% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 6.กลุ่มสำเนียงภาษาเซี่ยง (Xiangyu 湘语) คือสำเนียงภาษาหูหนาน ภาษาหล่าวหูกว่าง พูดอยู่ในบริเวณกว่างซี เสฉวนกลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น 5% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 7. กลุ่มสำเนียงภาษากั้น (Ganyu 赣语) ได้แก่สำเนียงภาษาเจียงซี หนานชัง พูดอยู่บริเวณตอนกลางของเจียงซี อันฮุย หูเป่ย หูหนาน ลั่วหยาง ผิงเจียง สำเนียงภาษานี้คิดเป็น 2.4% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด
ภาษาจีนแม้จะมีบริเวณพื้นที่กว้างใหญ่ มีภาษาพูดที่มีสำเนียงแตกต่างกัน แต่นักภาษาศาสตร์จีนได้จัดกลุ่มภาษาจีนเป็น 7 สำเนียงโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางสรศาสตร์และประวัติศาสตร์ทางเสียงเป็นสำคัญ ซึ่งมีเอกสารที่ใช้จดบันทึกเสียงภาษาจีนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงประวัติศาสตร์ยุคกลาง สำเนียงภาษากวาน คือสำเนียงที่เป็นภาษาจีนกลาง หรือที่ฝรั่งเรียกว่า แมนดาริน เป็นสำเนียงภาษาที่พูดอยู่ที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณเมืองหูเป่ย ซื่อชวน(เสฉวน) ฉงชิ่ง หยุนหนาน กุ้ยโจว หูหนาน เจียงซี อันฮุย และเจียงซู จะเห็นว่าภาษาจีนกลาง หรือภาษาผู่ทงฮว่า หรือภาษาแมนดาริน ที่พูดที่ปักกิ่งเป็นกลุ่มสำเนียงภาษาเดียวกันกับสำเนียงหยุนหนาน ภาษาจีนในบทความนี้ก็คือภาษาสำเนียงกวาน คือภาษาจีนกลาง ซึ่งครอบคลุมภาษาจีนที่พูดในพื้นที่ทั้งเหนือและใต้ รวมถึงหยุนนาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สันนิษฐานว่าเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของต้นตระกูลภาษาไท
เป็นที่ทราบกันดีในวงการภาษาศาสตร์ว่า ภาษาตระกูลจีนทิเบต แบ่งเป็น สาขาภาษาฮั่น สาขาทิเบตพม่า สาขาภาษาเย้า สาขาภาษาจ้วงต้ง ในสาขาจ้วงต้ง แบ่งเป็นกลุ่มภาษาจ้วงไต กลุ่มภาษาต้งสุย กลุ่มภาษาหลี ในกลุ่มภาษาจ้วงไต มีสมาชิกคือ ภาษาไต ภาษาไทย และภาษาลาว ดังแผนภูมิข้างล่าง
ฮั่น
จีนทิเบต ทิเบตพม่า ภาษาไต
เย้า จ้วงไต ภาษาไทย (กลาง เหนือ ใต้ อีสาน)
จ้วงต้ง ต้งสุย ภาษาลาว
หลี


รายการคำศัพท์ภาษาอีสานที่สันนิษฐานว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลไท – จีน
ต่อไปนี้เป็นรายการคำศัพท์ภาษาอีสานที่สันนิษฐานว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลไท-จีน
มีรายละเอียดดังนี้
วิธีเลือกคำ
1. เลือกคำที่มีเฉพาะในภาษาอีสาน มีเสียงและความหมาย เหมือน คล้าย หรือสัมพันธ์กับ
คำในภาษาจีน
2. คำที่เลือกเป็นคำภาษาอีสานที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูลไท
คำที่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางอย่างชัดเจนจะไม่นำมาเปรียบเทียบ เช่น คำที่เป็นเสียงปฏิภาคไทย– อีสาน
เช่น เรือน– เฮือน ร้าน – ฮ้าน รุ้ง –ฮุ้ง เรือง –เฮือง ชัง – ซัง ช้อน – ซ้วน ชิน – ซืน ช่วย – ซอย เป็นต้น
แหล่งข้อมูล การเทียบคำจากข้อมูลข้างต้น ได้มาจาก 1.พจนานุกรมภาษาอีสาน 2.พจนานุกรมจีน – ไทย และ 3.ตรวจสอบข้อมูลกับผู้บอกภาษาที่พูดภาษาอีสานเป็นภาษาแม่
อธิบายเนื้อหาในตาราง
1. คำภาษาอีสาน
- คำ เรียงลำดับตามพจนานุกรม เลือกคำที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับ
ภาษาตระกูลไท บางคำอาจเป็นคำพ้องเสียงกับภาษาไทยแต่ใช้ในความหมายอื่น ก็ถือว่าเป็นคำภาษาอีสาน
- ความหมาย ได้จากพจนานุกรมและตรวจสอบกับผู้บอกภาษาที่พูดภาษาอีสาน
เป็นภาษาแม่
2. คำภาษาจีน เทียบคำกับภาษาอีสานที่มีเสียงและความหมาย เหมือน คล้าย หรือ
สัมพันธ์กัน
เสียงอ่าน คือภาษาจีนกลาง ใช้ระบบสัทอักษร Pinyin ถ่ายถอดเสียง
อักษรจีน ตรวจสอบกับพจนานุกรมจีน – ไทย
ความหมาย ตรวจสอบจากพจนานุกรมจีน – ไทย
3. ความสัมพันธ์
3.1 ผล คือ ค่าความสัมพันธ์ของเสียงและความหมายในภาษาอีสานกับภาษาจีน โดยจะทดลอง
กำหนดค่าความสัมพันธ์เป็นตัวเลข 3 ระดับ คือ
เลข 3 หมายถึง เหมือนกัน เสียงเหมือนกัน ต้องมีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ส่วนที่ต่างกัน
กำหนดให้ต่างกันได้เพียงเสียงวรรณยุกต์เท่านั้น ความแตกต่างของเสียงสระกำหนดให้เป็นสระหน้า หลัง สูง ต่ำ รูปปากที่ใกล้เคียงกัน จึงจะนับเป็นคำที่ออกเสียงเหมือนกัน ส่วนเรื่องของความหมาย กำหนดให้มีความหมายเหมือนกัน
เลข 2 หมายถึง มีความสัมพันธ์กัน เสียงที่สัมพันธ์กัน ต้องมีพยัญชนะต้นเหมือนกันหรือ
ใกล้เคียงกัน ส่วนความแตกต่าง กำหนดความแตกต่างให้เป็นเสียงที่สามารถอธิบายได้ตามหลักทางสรวิทยา เช่น ฐานกรณ์ใกล้เคียงกัน เป็นเสียงปฏิภาค เป็นการแปรของเสียง เกิดการกร่อน การสูญหายของเสียงใดเสียงหนึ่ง แต่ยังคงมีเค้าเสียงของคำเดิมอยู่ เป็นต้น ส่วนเรื่องของความหมายกำหนดให้เป็นความหมายที่เกี่ยวข้องกัน
เลข 1 หมายถึง น่าจะเกี่ยวข้องกัน เสียงที่น่าจะสัมพันธ์กัน โดยดูจากรูปคำแล้วสามารถคาดเดาได้
ด้วยหลักทางสรวิทยา เช่น การแปรของเสียง การสูญหายของเสียง การแตกพยางค์ เป็นต้น ส่วนเรื่องของความหมาย กำหนดให้มีความหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน หรือเป็นเหตุเป็นผลกัน
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ปรากฏ มิได้มีนัยสำคัญทางหลักฐานใดๆ เป็นเพียงการตั้งสมมติฐานบนพื้นฐานของความเหมือน คล้ายและสัมพันธ์ของรูปคำ เพื่อชี้ให้เห็นระดับความสัมพันธ์ของคำเท่านั้น
3.2 ผล คือผลรวมคะแนนความสัมพันธ์ของเสียงและความหมาย โดยจะตั้งสมติฐานจากค่าผลรวม
ความสัมพันธ์เป็นตัวเลข ดังนี้ 1 – 2 หมายถึง น่าจะเกี่ยวข้องกัน 3 – 4 หมายถึง มีความสัมพันธ์กัน 5 – 6 หมายถึง สันนิษฐานว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย
วิธีการอ่านตาราง อ่านจากช่องที่ 2 และ ช่องที่ 3 เปรียบเทียบกัน คือคู่ คำภาษาอีสาน + เสียงอ่านคำภาษาจีน ส่วนความหมายจะอยู่ข้างซ้ายและขวา ทั้งนี้เพื่อต้องการเปรียบเทียบ “คำ” สองภาษาให้ชัดเจน
1.คำภาษาอีสาน
2.คำภาษาจีน
3.ความสัมพันธ์
ความหมาย
คำ
เสียงอ่าน

อักษรจีน
ความหมาย
เสียง
ความ
หมาย
ผล

ก่อน แรก เช่น ลูกกก = ลูกคนแรก
กก
gu4

แต่เดิม ดั้งเดิม
2
2
4
ต้น ลำต้น เช่น กกไม้
กก
gu4

ตอไม้เล็ก ๆ
2
3
5
ตรง เช่น คนกง (คนซื่อตรง)
กง
gong1

ยุติธรรม เที่ยงธรรม
3
2
5
โค้ง โด่งขึ้น
ก่ง 1.
gong1

โก่ง โก้งโค้ง ธนู
3
2
5
ทำให้โค้ง
ก่ง2.(ก่องโก่ง)
gong3

โก่งตัว โก้งโค้ง เป็นรูปโค้ง
3
2
5
ขุดดินหรือถากที่สูงให้ต่ำลง
ก่น
geng1

ไถนา ไถดิน ไถไร่
2
2
4
รู้สึกว่า
กด(ว่า)
gan3

รู้สึก
1
3
4
มาก เช่น กวงไกล (ไกลมาก)
กวง
guang3
广
กว้างออกไป ขยายออกไป
3
3
6
ครอบ งำ คร่อม
กวม
guan1

ปิด
2
2
4
กระหูก หรือตะกร้า
กวย
gui3

ภาชนะใส่อาหารปากกลม มีสองหู
3
2
5
เครื่องปั่นด้าย อัก ก็เรียก
กวัก
guang1

ม้วนด้ายเข้าหลอดด้าย
2
2
4
บากปากกระบอกไม้ให้กว้างออก
กวาก
gua1

ขูดออก โกนออก ขัดออก
2
2
4
จาก เช่น ล้มหายตายกว่า (ล้มหายตายจาก)
กว่า
guo4

ผ่านไป ข้ามไป 过世 ตาย
3
2
5
สุกใส สว่าง งาม / ใส เช่น น้ำกว้าง (น้ำใส)
ก่อง / กว้าง
guang1

แสง สว่างไสว
3
3
6
แอ่งน้ำลึกที่ปลาชอบอาศัย
ก้อง
gou1

คู คลองน้ำ ร่องน้ำ
2
2
4
บ้านพัก หรือเรือนรับรอง
กว้าน
guan3

บ้านพัก รับรอง
3
3
6
ถิ่น เขต แดน
แก่ว ก้าม
guo2

ประเทศ รัฐ
2
2
4
ห่าง ไกล ไกลกัน
กวั่ง
guang3
广
กว้างออกไป ขยายออกไป
3
2
5
ผู้เป็นหัวหน้า
กวาน
guan1

ข้าราชการ ทหาร
3
2
5
ม้วน พัน กรอ
ก้อ
guang4

ม้วนด้ายเข้าหลอด
1
2
3
โน้มให้โค้งลง
ก่อง
gong1

โก่ง โก้งโค้ง ธนู
3
2
5
กลิ้ง
ก่อย
gun3

ผลัก กลิ้ง
2
2
4
กรรไกร
กะไต
jian3 dao1
剪刀
กรรไกร
2
3
5
ขวางไว้ กั้นไว้ บังไว้
กั้ง
gan1
竿
ราวไม้ รั้ว
2
2
4
บาก ทำเป็นบั้ง ๆ
กั่น
kan3

ตัด ฟัน
2
2
4
กล้ามาก ห้าวหาญมาก
กั่น
gan3

กล้า กล้าหาญ
3
3
6
รบกวน
กั้ว
gan 1

รบกวน
2
3
5
แคะ แกะ เช่น กั๊วเปลือกไม้ (แกะเปลือกไม้)
กั๊วะ
gua1

ขูดออก โกนออก ขัดออก
3
2
5
ลักษณะที่มีรอยเว้าแหว่งขนาดกว้างใหญ่
กากวาก
guang3
广
กว้างออกไป ขยายออกไป
2
2
4
กิ่ง ก้าน
ก่าง
geng3

ก้านหรือกิ่งของพืช
2
3
5
กั้น ขวาง
กาน
gan1
竿
ไม้ราว ราวไม้ รั้ว
3
2
5
เริ่มแห้ง เริ่มแข็งตัว
ก้าม
gan1

แห้งผาก
2
2
4
ทำให้ตึง บิดเข้าให้แน่น
ก้าว
gu1

ขันให้แน่น
2
2
4
ลักษณะสิ่งของที่แหว่งเว้า
ก้าวหว้าว
ao4

เว้า ลึกเข้าไป
1
3
4
ต่อเนื่อง ต่อไป เช่น ตักน้ำแล้วก่ายเก็บผัก (ตักน้ำแล้วค่อยเก็บผัก)
ก่าย
geng1

ต่อเนื่อง
1
3
4
เกี่ยวข้อง ห่วงใย กังวล
กำฮน
guan4xi1
guan1xi1
关系
关心
เกี่ยวข้อง
ห่วงใย
1
3
4
อาการพุ่งออกมาของควันขนาดเล็ก (ดูกุ่นๆ)
กิ่น
gun3

เดือดพล่าน พวยพุ่ง
2
2
4
เกร็ง แข็งมาก แข็งแกร่ง
กึง
gang1

แข็งแกร่ง
2
3
5
ถลึงตา
กึ้ง
deng4

ถลึงตา
1
3
4
ผลัก กลิ้ง
กื่ง
gun3

ผลัก กลิ้ง
2
3
5
สั้นใช้สำหรับขนาดใหญ่ ขนาดเล็กเรียก เก๊าะเด๊าะ กิดิ หรือ กุ๊ดุ๊
กุ๊ดุ๊ /
ge1duan4
割断
ตัดให้ขาดออกจากกัน
1
2
3
งอบ
กุบ
guan1

หมวก
2
3
5
อาการพุ่งออกมาของควันขนาดใหญ่ (ดู กิ่น)
กุ่นๆ
gun3

เดือดพล่าน พวยพุ่ง
3
2
5
กองเป็นพะเนิน
กุ้ม
geng3

เนินสูงเป็นแนว
2
2
4
พอ เพียงพอ
กุ้ม
gou4

พอ เพียงพอ
2
3
5
เดินเล่นเตร็ดเตร่
เก้ย
guang4

เดินเล่นเตร็ดเตร่
2
3
5
ทิ้งไว้ก่อน เก็บไว้ก่อน ฟ้าวเกิ่น =ประเดี๋ยวก่อน
เกิ่น
ge2

ทิ้งไว้ก่อน เก็บไว้ก่อน (เรื่องนี้เก็บไว้ก่อน)
2
3
5
ห้าม ตรวจตรา
เกียด เกือด
ge4

สอบค้น
2
2
4
ตัด
เกียน
jian3

ตัด
2
3
5
เหย เบ้ เบี้ยว
เก่เหว่
guai3

เลี้ยว ที่โค้ง มุม
2
2
4
สามารถ มีกำลัง
แกน
gan1

มีความสามารถ มีสติปัญญา
3
3
6
แข็ง เช่น ดินแก่ง (ดินแข็ง)
แก่น 1.
gan1/gang1 / gen4
干 / 刚/ 艮
แห้งผาก/แข็งแกร่ง /แข็งเหนียว
3
2
5
คุ้นเคย สนิทสนม
แก่น 2.
guan4

เคย เคยชิน
2
2
4
ถิ่น เขต แดน ไก่หวงแก่ว = ไก่หวงถิ่น
แก่ว
guo2

ประเทศ
2
2
4
ตรา กำหนด
แกวด
gui1

กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ
2
3
5
เท่ากัน สมดุลย์ เสมอภาค
เกิ่ง เคิ่ง เซิ่ง
deng3

เท่ากัน สมดุลย์ เสมอภาค
1
3
4
ตัด กัน
เกียน
jian3

ตัด กัน
2
3
5
โปกฮา หยาบโลน
โกก
chui1

ตลก ขบขัน สนุก
1
3
4
ค่อม
โก่ม
gong1

โก่ง โก้งโค้ง ธนู
2
2
4
ไขว้ ก่าย
ไกว่ ก่วย
gai

พาด พิง
2
2
4

โค้ง งอ
ขง
gong1

โก่ง โก้งโค้ง ธนู
2
2
4
บริเวณ สนาม ลานบ้าน
ข่วง
kuang4

กรอบ ล้อมกรอบ
3
2
5
1.ดินที่มดหรือสัตว์ต่างๆขุดคุ้ยขึ้นมากองทั้งไว้ข้างบน 2.ขุดคุ้ยดินขึ้น
ขวย 1.
ขวย 2.
kuai1

ก้อนดิน
3
2
5
บอกกล่าวให้ทั่ว
ข่วย
gao4

บอก
1
3
4
ทำให้ร้อน อัง
ขาง 1.
hang1

ย่างหรือปิ้ง
2
3
5
เหล็กชนิดหนึ่ง
ขาง 2.
gang1

เหล็ก
2
3
5
สะพาน
ขัว
qiao2

สะพาน
1
3
4
กลิ่นเหม็น
ขิว
chou1

กลิ่นเหม็น
1
3
4
เหล่ เห เบน เอียง ไม่ตรง
เข เข้
xie2

เอียง
1
3
4
ข้าวเหนียว
เข้าเหนียว
nuo4
糯米
มีลักษณะเหนียว
2
2
4
โก่ง คด โคง งอน
โขง
gong1

โก่ง โก้งโค้ง ธนู
2
2
4
กลวงเป็นโพรง
โข่ง
kong1

ว่างเปล่า กลวง
3
2
5
สิ่งที่น่าอับอาย ,ขายโข่ย ขายหน้า ขายโง่
โข่ย
kui4

อาย อับอาย ละอาย
3
3
6

ไกล กว้างใหญ่
ควั่ง (กวั่ง)
kuang4

กว้างใหญ่ไพศาล
2
3
5
แดน เช่น ควงฟ้า =แดนฟ้า
ควง
kuang4

กว้างโล่งกว้างไพศาล
3
1
4
งอนิ้วเขี่ยออกมา ,สะกิด
ควัก
kou1

แคะ แกะ
2
2
4
ร่องรอย เช่น คองเกวียน = รอยเกวียน
คอง
hen2

รอย
1
3
4
ตัด ทอน เช่น ค่อนฟื่น = ตัดฟืน
ค่อน
kan3

ตัด ฟัน
2
3
5
บอกเล่า บอกกล่าว เช่น ไปให้ลามาให้คอบ
คอบ
gao4

บอก
1
3
4
แน่น ถนัด ชัดเจน
คัก
kuang2

บ้าระห่ำ รุนแรง อย่างเต็มที่
2
1
3
อาการรู้สึกระคายคัน
คาย
kuai3

เกา ข่วนด้วยเล็บ
2
2
4
หมด สิ้น ทั้งหมด
ค้าย
kuai4

รวมทั้งหมด
2
3
5
เต็ม ทั่วไป
แค่
kuai4

รวมทั้งหมด
2
2
4
อดอยาก ยากจน
คิว
ku3

ทุกข์ยาก ลำบาท
2
3
5
โตกว่าเพื่อน เช่น ท้องโค่ง = พุงกาง
โค่ง
gong1

โก่ง โก้งโค้ง ธนู
2
1
3
ปล้น แย่งชิง ลักพา
โคบ
kou4

โจรผู้ร้าย ผู้รุกราน
2
2
4
ถ้วน ถ้วนทั่ว เช่น นับบ่ไคว่ =นับไม่ถ้วน
ไคว่
kuai4

รวมทั้งหมด
3
2
5

งอน แอ่น
งง โงง
gong1

โก่ง โก้งโค้ง ธนู
2
2
4
ผิน หันหลังกลับ
งวก งวาก
wai1

เอียง
1
2
3
คว่ำ ครอบ ปิด
งวม
guan1

ปิด
1
3
4
ฝุ่นผง
ไง่ 1.
hui1

ฝุ่นผง
2
3
5
ฟุ้งกระจาย ปลิวว่อน
ไง่ 2.
chui1

เป่า ปลิว
1
2
3

ล้วง ควัก ทิ่ม
จก
zhua1

จับ
2
1
3
เหลือไว้ แบ่งไว้
จ่ง
sheng4

เหลือไว้
1
3
4
เร่งด่วน เร่งรัด เบียดเสียด แออัด
จ่น
jin3

ตึง แน่น รัด ชิด
2
2
4
หยุด ยั้ง เหนี่ยวไว้ พัก
จั้ง
jin1

ห้าม
2
2
4
หยุดชะงัก ตะลึง
จังงัง
jing1

หวาดกลัว ตระหนกตกใจ
2
2
4
ง้างออก
จ่าง
zhang1

กางออก
2
3
5
ขยายออก แผ่ออก
จ่าน
zhan3

ขยายออก แผ่ออก
3
3
6
ใกล้
จิ่ม
jin4 / jin3
近 / 紧
ใกล้
2
3
5
อาการหมุนอย่างเร็วและแรง
จิ้ว
zhuan4

หมุน
2
3
5
แรกรุ่น แรกขึ้น
จี
ji1

ฐาน ฐานราก
3
2
5
เงียบ
จี่ลี่
jing4

เงียบ
2
3
5
รุมกินอาหารของสัตว์ตัวเล็ก
จึ
chi1

กิน
2
2
4
ชื้อ แฉะ
จึ
shi1
湿
เปียก
1
2
3
ทอด
จืน
zha4

ทอด
1
3
4
กำหนดไว้ในใจ จดจำ
จื่อ
zhi1 / ji4
知 / 记
รู้ / จำ
3
2
5
ยอดเยี่ยม เป็นเอก ไม่มีผู้เสมอเหมือน
เจี่ยง เจื่อง
jiang1 / jiang3
将 / 奖
นายพล ผู้นำ / ยกย่อง รางวัล
3
2
5
บวม พอง
เจ่อ
zhong3

บวม พอง
1
3
4
(โบ) คำเรียกลูกชายคนที่เก้าว่า ลูกเจา
เจา
jiu3

เลขเก้า
2
2
4
จอม ยอดเยี่ยม เป็นเอก
เจี่ยง
jiang1 / jiang3
将 / 奖
นายพล / รางวัล
3
2
5
เหลืองอร่าม
เจืองเฮือง
huang2

สีเหลือง
2
3
5
มุม
แจ / แจ่ง
jiao3

มุม
2
3
4
เลือกออก คัดออก
ไจ ไจ้ ไช้
shai1

ร่อน เลือกออก
1
3
4

สอดส่ายสายตาดู (ชอนแลน)
ชอน
chuan1
穿
看穿= มองทะลุปรุโปร่ง
2
2
4
วงศ์ตระกูล หมู่ เหล่า
ชุม / ซุม
qun2

กลุ่ม หมู่ เหล่า
2
3
5
ครบ ถ้วน ทั่ว ทุกๆ
ชู่ / ซู่
quan2

ครบ ถ้วน ทั่ว ทุกๆ
1
3
4
รู้ ฉลาด
เชียง 1.
jing1

ยอดเยี่ยม ดีที่สุด ฉลาด ชำนาญ
2
3
5
เมือง เช่น เชียงดง เชียงทอง
เชียง 2.
xiang1 / cheng2
乡 / 城
ชนบท หมู่บ้านตามชนบท / เมือง
2
3
5
คำนำหน้าชื่อ
เช่น เซียงเหมี่ยง
เชียง 3. / เซียง
xian1
先 ( 生 )
คำนำหน้าชื่อเรียนเพศชาย
2
3
5

คล้าย อาจจะ
ซง 1.
xiang1

คล้าย อาจจะ
2
3
5
รูปร่าง ซวดทรง
ซง 2.
xiang4

รูปร่างหน้าตา
2
3
5
ค้นหา เสาะหา แสวงหา
ซอก
suo3

ค้นหา เสาะหา
2
3
5
สิ่งที่มีลักษณะคู่กัน
ซอง ซ่อง ซ้อง
shuang1

สิ่งที่มีลักษณะคู่กัน
3
3
6
ยื่นมือทั้งสองคว้าจับ
ซวง 1.
shuang1

สิ่งที่มีลักษณะคู่กัน
3
2
5
งูใหญ่ในวรรณคดี ซวาง ก็ว่า
ซวง 2.
she2

งู
1
3
4
รู้สึกตัว ได้สติ
ซวด
xing3

ฟื้น ตื่น
1
2
3
ทะลุปรุโปร่ง ตลอด จนกระทั่ง
ซอด
chuang1
穿
ทะลุปรุโปร่ง เจาะทะลุ ข้ามผ่าน
1
3
4
เขี่ยออกจากกัน กระจาย ค้นกระจาย
ซะ / ซะซาย
sa3

หว่าน โรย โปรย กระจาย เรี่ยราด
3
2
5
ไหลโซม ไหลไม่ขาดสาย
ซะซะ
sa3

ลักษณะของน้ำที่พรม สาด ฉีด หลั่ง
3
2
5
ซาบซึ้ง ประทับใจ
ซะออน
xi3 huan1
喜欢
ชอบ
2
2
4
เอียงลาด
ซ้าย
xie2

เอียงลาด
1
3
4
ตรง ไม่คด
ซื่อ (ซื่อลื่อ = ตรงทื่อ เซ่อ)
zhi2
shi2


ตรง (เส้นตรง)
ซื่อสัตย์
3
3
6
คุ้ม (กลุ่ม ตอน ใช้แก่หมู่บ้าน)
ซุ่ง
xiang4

ตรอก ซอย
2
2
4
ประกอบ ตบแต่ง ซ่อม เช่น ซูแห ซูเกียน
ซู
xiu1
shi1
1.修
2. 饰
1.ตกแต่ง ซ่อมแซม
2.ประดับ ตกแต่ง
2
3
5
เซ้าซี้ ร่ำไร
ซูซี
xu4

พูดจู้จี้ พูดร่ำไร
2
3
5
งด หยุดพัก หาย
เซา
xiao1

หายไป มลายไป สลายตัว
2
2
4
ระยะเวลา ยุคสมัย ชั่วอายุ
เซ่น
xiang3
xiang4
1.曏
2.向
1.แต่ก่อน สมัยเก่า
2.แต่ไหนแต่ไร แต่ก่อนนานมาแล้ว
2
2
4
ร่อน บินร่อน
เซิ่น
xian1
xiang2
1.鶱
2. 翔
1.นกบิน
2.บินร่อน
2
3
5
ฝานให้เป็นแผ่นบางๆ
เซิ้ม
xiao1

เหลา ปอก
2
2
4
ล้าง ชะล้าง
เซอะ
xi3

ล้าง
1
3
5
เชื้อสาย พงษ์พันธุ์ ตระกูล
แซง
xing4

นามสกุล
3
2
5
ลักษณะผอมพุงโร
โซ่น
shou1

ผอม
2
3
5

อาการสั่นระริก
ด๊ด ดึ๊ดๆ
dou3

สั่น
2
3
5
ยอด จอม
ดวง
ding3

ยอด ส่วนบนสุด
2
3
5
มาก่อนเวลาที่ควร
ดอ
duo2

แย่ง ชิง ชิงชัย
2
1
3
แอบเข้าไป
ดอด
duo3

แอบ ซ่อน
2
2
4
เนินสูง
ดอน
dun1

เนินดิน
3
3
6
ปะทะ กระทบ
ดะ ด๋า
da3

ตี
3
2
5
จมูก
ดัง
liang2
(鼻)梁
ดั้งจมูก
2
2
4
แกว่งไกว
ดั้วเดี้ย
dang4

สั่นไหว แกว่งไกว
1
3
4
ทำ แต่ง เตรียม
ดา
da1

ก่อ สร้าง ยกขึ้น หามขึ้น ประสมประเส เพิ่มเข้าไป
2
2
4
ปะทะ ยับยั้ง ขัดขวาง กีดกัน
ดาน
dang3 / ding3
挡 / 顶
สกัด ปิด กั้น ต้าน / ยันไว้ ค้างไว้
2
2
4
เท่านี้ เพียงเท่านี้ แค่นี้
ด้าม
dan1

เดี่ยว เพียงอย่างเดียว
2
2
4
ปักหัวลง
ดิก
ding1

ตะปู
2
2
4
สักเล็กน้อย
ดี้ ๆ
dian3 dian3
点点
สักเล็กน้อย
2
3
5
ลาน สนาม ที่โล่ง
เดิ่น
dun1

เนินดิน
3
1
4
สั่นไหว กระดก
เดื่อง
diao4

สั่นไหว กระดิก
2
3
5
นิดหน่อย เล็กน้อย
แด่
dian3

นิดหน่อย เล็กน้อย
2
3
5

ลักษณะที่เต่ง
ต่ง
zhong3

บวม
2
2
4
กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งของปลาร้า
ต้วง
nong2

ข้น เข้มข้น

2
1
3
เชือก บ่วง
ต่วง ต่อง ถ่วง
duan4

ต่วน (เชือกต่วน แพรต่วน ผ้าต่วน)
2
1
3
เจ็บปวดเป็นระยะ
ตวด
teng2

เจ็บ ปวด
1
3
4
ตี เอาไม้ตอกหัวมัน = เอาไม้ตีหัวมัน
ตอก
da3

ตี
1
3
4
ลักษณะที่เป็นหลุมหรือบ่อเล็ก ๆ
ต้องหล้อง
dong4
dou4
1.洞
2..窦
1. รู ช่อง โพรง อุโมงค์ ถ้ำ
2. รู ช่อง
2
2
4
พยักหน้า
ตอด
dian3
点 (头)
พยักหน้า
2
3
5
ตอแย แหย่เย้า ยั่ว
ตอย
dou4

ชักจูง กระตุ้น ยั่ว เย้า
2
2
4
ไป เดิน (เข้าใจว่ามาจากคำว่า เต้า)
ตะ
dao4
1.到
2.达
1.ไปถึง มาถึง
2.ไปถึง
2
2
4
ชก
ตัก
da3

ตี
1
2
3
โกหก
ตัวะ
duo3

แอบ หลบซ่อน
3
1
4
กล่าวอ้างเอาของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง/ โกหก
ตู่ /ตัวะ
duo2

แย่ง ยึด ชิง / เถียงข้างๆ คูๆ
3
2
5
แทน ต่าง
ตาง
dang1

ใช้เป็น
3
3
6
ลักษณะหลุมหรือโพรงกว้างลึก
ต้าง (หล่าง)
dang3 dang4
凼/ 荡
บ่อ หลุมที่ขังน้ำ / บึงน้ำตื้น
3
2
5
พูด เจรจา
ต้าน
tan2

พูดคุย เจรจา
2
3
5
จุด
ตาม
dian3

จุด
2
3
5
อาวุธมีดชนิดหนึ่ง
ตาว
dao1

มีด
3
3
6
กลับ ไปแล้วกลับมา
ต่าว
dao4 / dao3
到 / 倒
ไปถึง มาถึง/ เคลื่อนย้าย สับเปลี่ยน
3
3
6
ดึง ฉุด
ต้าว
dao3

สาวกลับมา เช่นสาวว่าวลงมา สาวเชือกกลับมา
3
2
5
ใช้เป็นคำต่อท้ายคำถาม เช่น บ่เอาติ๊
ตี๊
di3

ใช้เป็นคำถามว่า ไหน อะไร
3
2
5
ใสแจ๋ว ไม่ข้น
ติ้งหลิ้ง
ding1

ใสแวววาว
2
3
5
เนื้อหรือสิ่งเล็กๆที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่
ติ่ง
ding3

ส่วนบนสุด ส่วนยอดสุด
3
2
5
เคลื่อนไหว
ตีง
dong4

เคลื่อนไหว
2
3
5
เต่ง พอง บวม
ตึ่ง
zhong3

บวม พองออก
2
3
5
เพิ่ม แถมให้ เติม
ตื่ม
tian1

เพิ่ม เติมแถมให้
2
3
5
ทึบ ไม่โปร่ง
ตื้อ
tu
(糊)涂
งง สับสน
1
2
3
จ่อ อัด ค้ำไว้
ตุ
du3 / du
堵 / 杜
อุด ปิด สกัด กั้น
3
2
5
ทู่ ไม่คม
ตู้ / ยู่
dun4

ทู่ ไม่คม
2
3
5
หยุด ยั้ง
ตุด
dun4

หยุดไปพักหนึ่ง
2
3
5
เอาไม้พายราน้ำเพื่อให้เรือหยุด/ ห้ามไว้ กั้นไว้
ตุ้น
dun4

หยุดไปพักหนึ่ง
3
2
5
กล่าวอ้างเอาของผู้อื่นมาเป็นของตัว
ตู่
duo2

แย่ง ยึด ชิง
2
2
4
ทู่ ไม่คม
ตู้ (ยู้ ก็ว่า)
tu1 / tun4
秃 / 钝
ทู่ ไม่แหลม
2
3
5
นูน ใช้สำหรับทวารหนักเช่น ดากตูน = ก้นโด่ง
ตูน
dun1

เนิน พุ่ม
3
1
4
ขยับ เลื่อน เสือกสิ่งของไป
ตู๊ด
du1

ใช้ปลายนิ้ว หรือไม้กระทบหรือแต้มเบาๆ
2
1
3
ใหญ่โต
เต เต้
da4

ใหญ่โต
2
3
5
ไป กลับไป
เต้า 1.
dao4 / dao3
到 / 倒
ถึง / ถอย กลับ
3
3
6
การประชุม ชุมนุม รวมกลุ่มเพื่อทำพิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เต้าช่วง คือการชุมนุมเพื่อทำพิธีเข้าทรง
เต้า 2.
dao3

อธิษฐาน
3
2
5
ตีหรือเคาะเบาๆ
เตาะ
da3

ตี
2
3
5
กรอง
เตอะ
dian4

ตกตะกอน
2
2
4
กาง กว้างใหญ่
เติ่ง
deng4

เบิกตาโพลง
3
1
4
แบะห้อยลงมา
เตื่อย
diao4

ตก ร่วง
2
2
4
รองท้าแตะ
แต๊ะ
xie2

รองท้าแตะ
1
3
4
ใหญ่
โต โต้
da4

ใหญ่โต
2
3
5
ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย
โตก
dou1

เครื่องสานทำด้วยไม้ไผ่หรือหวายหรือกิ่งหลิว
2
3
5
ลูกตุ้มชั่ง เรียกว่า หมากโต้น
โต้น
dou3

ชื่อมาตราวัดของ เครื่องตวงข้าว
2
2
4
ลักษณะนามผ้าถุง
โต่ง ต่อง
tong3

ส่วนของเสื้อผ้าที่มีลักษณะเป็นกระบอก
2
1
3
แผ่นดิน
ไต
di4

แผ่นดิน
2
3
5

เท
ถอก
dao4

เท
1
3
4
ไหลพุ่งอย่างแรง น้ำไหลซัดฝั่ง
ถั่ง 1.
tang3

รั่ว ไหลลงมา
3
2
5
กระทุ้ง กระแทก
ถั่ง 2.
tong3

แทง กระแทก แหย่
2
3
5
ขุ่นมัว มองไม่ชัด
ถั้ว
tu
(糊) 涂
งง สับสน
2
1
3
แฉลบ เฉียด
ถา
ca1

ถู สี ขีด
1
1
2
ความเป็นขโมย
เถย
tou1

ขโมย
2
3
5
โรงนาขนาดเล็กที่ทำไว้ชั่วคราวตามท้องนา
เถียง
ting2

ศาลา
2
2
4
โกน
แถ
ti1

โกน
3
3
6
เทวดาที่อยู่บนฟ้า
แถน
tian1

เทวดา / ฟ้า
2
3
5

ทิ่ม กระแทก
ทอก / ทั่ง
tong3

แทง กระแทก แหย่
3
3
6
โดดเดี่ยวเดียวดายคนเดียว
ท้อนท้อ
dan1

โดดเดี่ยว เดียว
1
3
4
ที่ราบลุ่ม
ทาม
tan1

เรียบ ราบเรียบ
2
2
4
ตามหา ความนหา
ทาว
tan4

สำรวจ สืบเสาะ
2
2
4
ล้ม
ท่าว
diao4

ล้ม
2
3
5
กระบอกใส่น้ำ
ทิง
ting1

กระป๋อง
3
3
6
พุ่งมา พัดมา ใช้สำหรับควันไฟหรือไอน้ำ
ทู
tu1

ตีฝ่าทะลวง , ปล่องไฟ
3
2
5
บน เหนือ สูง อยู่สูง
เท็ง
ding3

บน เหนือ สูง อยู่สูง
2
3
5
บน เบื้องสูง เหนือ
เทิง
ding3

บน เหนือ สูง อยู่สูง
2
3
5
ฝนตกอย่างหนัก เรียก ฝนตกเท้งๆ
เท้ง
tang3

รั่ว ไหลลงมา
3
2
5
ตลอด จนกระทั่ง
เท้า
dao4

ถึง
2
2
4
เปลี่ยน ถ่ายเท เติม
เที่ยน
tian1

เติม เพิ่ม แถมให้
3
2
5
ทั่ว ถ้วน ตลอด
เที้ยน
quan2

ทั่ว ถ้วน ตลอด
1
3
4
ครั้ง หน
เทื่อ
tang4

ครั้ง หน,รอบ
2
3
5
แถว
แทว
tiao2

แถว
3
3
6
เครื่องสานเป็นเครื่องมือจับปลา,กระทงกาบกล้วยเย็บเป็นรูปสี่เหลี่ยม
โทง
tong3

ถัง
3
2
5
ชิงช้า
โทลา
tuo1 – la1
拖 - 拉
ดัน – ดึง
3
1
4
แกว่งไกวไปมา
โทเล
tuo1 – la1
拖 - 拉
ดัน – ดึง
2
1
3

สาว นาง
นง
niang2

สาว นาง
2
3
5
ตีอย่างแรง
น่วน
nue4

ทารุน
2
2
4
ลักษณะการไกวเอนของพุ่มไม้ต้องลม
น่วมๆ / หน่วมๆ
nuo2

ขยับ เคลื่อนที่ ยักย้าย
2
2
4
กลมกล่อม
นัว
nuo4

มีลักษณะเหนียว
3
1
4
ยาย
นาย (แม่นายก็เรียก)
nai3

ย่า
3
2
5
ชินอยู่ในความทรงจำ
ไน่
nai4

ทน ไม่เบื่อหน่าย
3
2
5

ภาชนะทำด้วยไม้ลักษณะทรงกลมแบน
บม
pen2

กาละมัง
1
2
3
ไม่
บ้อ
mo4

ไม่
2
3
5
โง่ เซ่อ ไม่ทันคน
บ้อง
ben4

โง่ เขลา ทึ่ม
2
3
5
หยัก กิ่ว คอด เช่น เอวบัก= เอวคอด
บัก
bie3

เว้าเข้า ตอบ ไม่อิ่มเอิบ
1
2
3
ขั้น ตอนของหนังสือ เช่น บั้นต้น บั้นปลาย
บั้น
fen1

ส่วน
1
2
3
ขน
บั่ว
mao2

ขน
1
3
4
เสี้ยว ส่วน
บิ้ง
fen4

ส่วนหนึ่งของทั้งมวล
1
2
3
คลี่ออก เปิดออก
บี่
pi1

ผ่าออก
2
2
4
น้ำพุ
(น้ำ) บุ้น
pen1

พุ่ง พ่น
2
2
4

เอาลง
ปง
fang4

ใส่ วาง
2
2
4
ผลิออก งอก
ป่ง
feng1

อุดมสมบูรณ์
3
2
5
โป่ง พอง
ป้ง
peng2

ขยายใหญ่ พองขึ้น
2
3
5
วิ่ง กระโดด
ปบ
beng1

กระโดดโลดเต้น
2
3
5
บ้า
ป่วง
feng1

บ้า
2
3
5
เปลือย
ป๋า
ba2

ตัดออก ลอกออก ถลกออก
3
1
4
วิ่งกระโดดไปข้างหน้าโดยเร็ว
ปบ
ben1

วิ่งตะบึง วิ่งอย่างรวดเร็ว
1
2
3
บิด
ปั้น
ban1

หมุน
3
2
5
กั้น ปิด
ป้าน
ban3

ไม่แผ่นใช้สำหรับปิดหรือกั้น
3
2
5
โง่ เขลา
ปึ่ก
ben4

โง่ เขลา
1
3
4
สมุด หนังสือเป็นเล่ม ๆ
ปึ้ง
bu4
簿
สมุด
2
3
5
โง่ ดื้อรั้น
ปึ๊ด
ben4

โง่ เขลา
2
3
5
ใหญ่ พอง โต ขยาย
ปุง ปุ้ง ปึ่ง เป้ง โป้ง
peng2

ขยายใหญ่ พองใหญ่ขึ้น
2
3
5
ขนมจีน
ปุ้น
fen3

แป้ง (อาหารเส้นที่ทำมาจากแป้งเช่น วุ้นเส้นเรียก 粉丝)
2
2
4
เต็ม
ปุ่นปุ่น
man3

เต็ม
1
3
4
แบน
เป แป
bian3

แบน/ แคบเล็ก
2
3
5
ตะกร้าใส่สิ่งของสำหรับบรรทุกหลังชาวเขาเผ่าข่า
เป้ 1.
bei1

หลัง / แบก
3
2
5
ลักษณะบิดเบี้ยว คด งอ
เป้ 2. เปก
bo3

เป๋ เช่น ขาเป๋
2
2
4
ไข ระบายปล่อย(น้ำ)
เป่ง
fang4

ปล่อย วาง
2
2
4
ต่ำเตี้ย
เปี้ย
bie

เว้าเข้า ตอบ ไม่อิ่มเอิบ
2
1
3
เร็วๆ รีบด่วน
เปือง
biao

รวดเร็ว
2
3
5
ฉาบ ทาบไว้
เปอะ
bu3

ปะ
2
2
4
กระสอบ
เปา เป๋า
bao1

กระเป๋า
3
3
6
ปุ่ม ปม
เป้า
bao4

โป่งขึ้น นูนขึ้น
3
3
6
ห้องเล็กของบ้าน เป็นห้องเปิดโล่ง
เปิง
peng2

เพิงกลางแจ้ง เพิงพักร้อน กระท่อม
2
1
3
บานเต็มที่
เปิงเซิง
beng4 / beng1
迸 / 绷
กระจาย/ แตกออก ปริออก
2
2
4
เบื่อหน่าย ระอา
เปิด
men4

อุดอู้ อึดอัด
1
2
3
ฉาบ ทา
เปียะ
bu3

ปะ
1
1
2
อาศัย พึ่งพิง
แปะ
ping2

พึ่งพา อาศัย
1
3
5
แบน เตี้ย แบ
แป้ แปน แปบ
bian3

แบน/ แคบเล็ก
2
3
5
คล้าย เหมือน
แปด
bi3

เปรียบ
2
2
4
หัวหน้า ประธาน
ผู้เป็นใหญ่
โป๋
bo2

1. 1.ลุง 2. บรรดา ศักดิ์ในสมัยศักดินา
3
2
5
ใหญ่ โต
โป่ โป้
bo2

ใหญ่/มากมายมหาศาล
3
3
6
มีเสียงดังอย่างนั้น เช่นเสียงยิงปืน
โป้ง
beng1

เสียงดังปังๆ
2
3
5

ดุ คอยดู
ผ่อ
peng4 / feng2
碰 / 逢
ชน พบปะ / พบ
2
2
4
คล่องแคล่ว
ผ่อย
po1
(活) 泼
คล่องแคล่ว
2
3
5
เปลี่ยน
เผี่ยน
bian4

เปลี่ยน
2
3
5
เตียน ถี่ถ้วน
เผื้ยน
pian4

ของที่เรียบและบาง
3
1
4
สาด
ผะ ผา
po1

สาด
1
3
4
อาการเต้นของปลา กุ้งที่มีมากๆ
ผาก
beng1

กระโดดโลดเต้น
1
2
3
ที่ลุ่มกว้างใหญ่
ผัน
pang2

ใหญ่ มหึมา
2
2
4
ลำเอียง
ผิ่ง
pian1
偏(爱)
ลำเอียง
2
3
5
เทน้ำราดศีรษะทีละมากๆ
โผ่
po1

สาด หรือพรมน้ำ
3
3
6
ตี เช่น โผะหัว = ตีหัว
โผะ โปะ
po4

แตก ตีให้แตก
3
3
6

สุรุ่ยสุร่าย ไม่มัธยัสถ์
ฝอก
fei4

หมดเปลืองสิ้นเปลือง
2
2
3
คลุกเคล้า ปะปนกัน
ฝั้น
hun4

คลุกเคล้า ปะปนกัน
2
3
5
ซ่อมรอยขาด ชุน
ฝุง
feng2

เย็บ
3
3
6
ถัก ปิด ม้วนเชือก
เฝือ
fu4

ผูก มัด
2
2
4

ประทุน
พวง
peng2

เพิงกลางแจ้ง เพิงพักร้อน กระท่อม
2
2
4
ปะ พบ เจอ ประสบ
พ้อ
peng4

ชน พบปะ
2
3
5
ภาชนะ สำรับ
พา
pan2

จาน
2
2
4
ใหญ่ เช่น ท้องพ่าง
พ่าง
pang4

อ้วน
3
2
5
ลำเอียง
พิ่ง
pian1

ลำเอียง
2
3
5
ลักษณะของตาที่ปลิ้นออกมาเล็กน้อย
พีนลีน
fan1

พลิก ปลิ้น
1
1
2
ลุกลาม แตกบานออกไป
พึ
pen1

พ่น กระเด็น
2
1
3
แผ่ขยายออกไป
พืน
pen1

พ่น กระเด็น
2
1
3
สวยงาม
เพา
piao4
漂(亮)
สวยงาม
2
3
5
แฉลบ กระเด็น
เพิน
pen1

พ่น กระเด็น
3
2
5
รินใส่ แจก แบ่ง
แพ่ง
fen1

แบ่ง แยกออก
1
3
4

เดือด
ฟด
fei4

เดือด
2
3
5
ล้นหลาม มากมาย
ฟะ
fa1

เจริญ กระจาย ขยาย
3
2
5
สับ เช่น ฟักเนื้อ (สับเนื้อให้ละเอียด)
ฟัก
fa2

ฟัน หรือโค่น
2
2
4
โกรธเป็นไฟ โกรธจัด
ฟุน
fen4

ไม่พอใจ โกรธเคือง
3
3
6
ไม่เหนียว ยุ่ย
ฟุย
fu3

เปื่อย เน่า
2
2
4
เกาะไม่ให้ล้ม
เฟือ
fu2

ประคอง
2
2
4
ลอยน้ำ ลุยกลั้ว อาบแช่ เล่นน้ำ ลุยน้ำ นอนน้ำ
ฟูม
fu2

ลอย ลอยน้ำ
2
3
5

แสงสว่างสุกใส
มง
ming2

แสงสว่าง
3
3
6
ไพเราะ สนุก
ม่วน
wan2

เล่น
1
1
2
ชนชาติพม่า
ม่าน
mian3

พม่า
3
3
6
สุกใส รุ่งเรือง
มุ่ง
ming2

สว่าง
3
2
5
ละเอียด แหลก
มุ่น
fen3

แป้ง ฝุ่น
1
2
3
เครา
มุย
mao2

ขน
2
2
4
ขึ้นรา
มู้
mei2

รา
2
3
5

ทำสิ่งที่รวมตัวเป็นกลุ่มให้ขายตัวสูงขึ้น
ยง
yong1

อุ้ม โอบอุ้ม ล้อม
3
2
5
มั่นคง ยืด ยาว
ยง
yong3

ยาวนาน
3
3
6
กด
ยั่น
ya1

กด
1
3
4
ยัก เช่น ยักคิ้ว
ยิก ยึก
yang2

ยกขึ้น ชูขึ้น เช่น ยักคิ้ว
2
3
5
สิ่งเป็นเส้นห้อย ย้อยลงมา
ยูย
chui2

ลู่ลง ตกลง ย้อยลง
1
2
3
งอน แอ่น
เยน เงน
xie2

เอียง ลาด
1
1
2
จับเขย่า สั่น
เย่า
yao2

เขย่า สั่น
3
3
6
คำอุทานแสดงความประหลาดใจ
เย้า โย้ว
you1

คำอุทานแสดงความประหลาดใจ
3
3
6
ทำ แสดง
เยียะ
yan3

แสดง
2
3
5
ทน นาน
เยือ
ren3

ทน
2
3
5

เล้า
ลก
long2

กรง
2
2
4
(เลข) หก
ลก
liu4

(เลข) หก
2
3
5
ว่าง เปล่า
ล่ง
kong1

ว่าง เปล่า
1
3
4
ง่อย เปลี้ย แขนขาไม่มีแรง
ล่อย
lei4

เหนื่อย
2
2
4
ลุทิ้ง ทำให้ไหลออก
ลั๊วะ
liu2

ไหล
2
2
4
ปด หลอกลวง อำพรางความจริง
ล่าย
lai4
赖(词)
คำพูดที่บิดพลิ้ว
3
3
6
แจวเรือขนาดใหญ่
ตีกรรเชียง
ล้าย
lai4

น้ำที่เชี่ยวกราก
3
1
4
ลักษณะของเหลวไหลออกจากรูช้า ๆ
ลุ้ย
liu2

ไหล
2
2
4
เตร่ไป ดูไป อย่างไม่จงใจ
เล่อ
le4

สุข สนุกสนาน
3
1
4

คดเคี้ยว ไม่ตรง
วก
guai3

เลี้ยว
1
1
2
วิงเวียน
วิน
yun1

วิงเวียน
2
3
5
พูด บอก ติ
ว่า เว้า
hua4

คำพูด ภาษา คำ
2
3
5
แหว่ง ขาด วิ่น
วาก วีก วีน
gua1

ขีด กรีด
2
2
4
ลักษณะการพูดเสียงดัง
วาก ๆ
hua4

คำพูด ภาษา คำ
2
2
4
มอบให้ ถวายให้
เวน
juan1

มอบให้ สละให้
2
3
5
พูด
เว้า
hua4

พูด
2
3
5
บริเวณพื้นที่กว้าง
เวิง
guang3
广
กว้าง
1
3
4

รถเปรี้ยว
ส้ม
suan1

รสเปรี้ยว
2
3
5
โปร่ง โล่ง สบาย
ส่วง
shuang3

โปร่ง โล่ง สบาย
3
3
6
ช่องทวารหนัก
ส้วง
chuang1

ช่อง หน้าต่าง
2
2
4
ชำระล้าง
ส่วย
shuai3

สะบัด สลัด
3
1
4
ทำให้เรียว ทำให้แหลม
ส้วย
xiao1

เหลา ปอกเปลือก
1
2
3
ซักถาม
ส้อ
xuan2

ซักถาม สอบถาม
1
3
4
กลอน
ส้อง
shuan1

กลอน
2
3
5
วิดน้ำ หรือสาดน้ำ
สะ
sa3

สาด กระจาย
3
3
6
ชอบใจ
สะออน
xi3 huan1
喜欢
ชอบ
2
3
5
อะไร ทำไม ไฉน
สัง
sha2

อะไร
2
3
5
บ่อน้ำเล็ก ๆ
ส้างจั่น
shui3 jing3
水井
บ่อน้ำ
2
3
5
เสื่อ
สาด
xi2

เสื่อ
1
3
4
ซ่อมแซม
ส้าม
xiu1

ซ่อมแซม
1
3
4
ตัดให้ขาด
สิน
jian3

ตัด
1
3
4
ท่าทาง อาการ
สี
shi1

แบบ ท่าทีท่วงทำนอง
3
3
6
ร่วมประเวณี
สี้
xing4

เพศ
2
2
4
หายใจแรงๆให้สิ่งที่ต้องการเข้าไปในจมูก
สืด
xi1

สูดหายใจ ดูดลมเข้า
2
3
5
ซักเสื้อผ้าให้สะอาด
สุ
xi3

ทำความสะอาด
2
3
5
แข่งขัน
เส็ง
sai4

แข่งขัน
1
3
4
สด
เสาะ
xian1

สด
1
3
4
รุ่งเช้า
เสิง
chen2

รุ่งเช้า
1
3
4
เอียง ไม่ตรง
เสี้ยว
xie2

เอียง ไม่ตรง
1
3
4
คุยกัน สนทนากัน
โส
shuo1

พูด คุย
2
3
5

ขัง (ใช้แก่น้ำ)น้ำห้ง
ห้ง
hong2

น้ำท่วม
3
2
5
คะนอง ลำพอง
หิง
hen3

ดุร้าย เหี้ยมโหด
2
2
4
ดูถูก เหยียดหยาม
หุ่ม
hen4

เกลียดชัง จงเกลียดจงชัง คับแค้นใจ
2
2
4
ถ่างออก
หง้าง
zhang1

ถ่างออก
1
3
4
อาการที่คนทั้งหลายคุยกันอื้ออึง
หนัว
nao4

อื้ออึง อึกทึก
2
3
5
ฝัง ซุกซ่อน
หมก
mai2

ฝัง
2
3
5
แหวก บุก ฝ่า มุด
หม้น
mao4

แหวกออกไป
1
3
4
มีโชค
หมาน
man3

พึงพอใจ
3
1
4
โกรธ ฉุน กังวล
หมึน /หมุ้น
men4

อึดอัดใจ คับข้องใจ
3
2
5
ช้า นาน
เหิง
heng2

ช้า นาน
3
3
6
ใช้ฟันกัดแทะ
แห้น
ken3

ใช้ฟันกัดแทะ
2
3
5
ดัน เบียด
แหย้
ya1

กด ทับ
3
2
5

ถือตัว หยิ่ง
อ่ง
ao4

ถือตัว หยิ่ง
2
3
5
ทึบ มืด
อ้ำ
an4

ทึบ มืด
2
3
5
แม้ว่า ถ้า ผิว่า
เอยียว
yao4

จะ ถ้า
3
3
6
น้อง เล็ก
แอ้
er2

เด็ก เด็กน้อย
3
2
5
เรียก
เอิ้น
han3
喊 / 欸
เรียก
2
3
5
หยุด หายไป
เอือน
e4
遏 /
ระงับ ควบคุม
1
1
2
หยุด หายไป
เอือน
er3

หยุด
1
3
4

พังทลาย
ฮง 1
hong1

เสียงดังโครมคราม
3
2
5
ร้อนเต็มที่ ระอุ เช่น เตากำลังฮง
ฮง 2
hong1

ใช้ไฟ ความร้อนอบให้แห้ง
3
3
6
สุกใสแวววาวเป็นประกาย
ฮงๆ /ฮองๆ /
ฮูน ๆ
huang3

แสงจ้าตา สว่างจ้าตา
2
3
5
ครวญ คำราม
ฮ่วน 1
huan4

เรียก ตะโกน
3
2
5
เสีย เน่า
ฮ่วน2
huai4
怀
เลว เสีย เน่า
2
3
5
อาการเดินลอยชาย
ฮ้วย ๆ
huan3

ช้า เชื่องช้า ก้าวจังหวะช้า ๆ
2
2
4
แกว่ง เขย่า
ฮ่อน
huang4

สั่น แกว่ง ไหว
2
3
5
ถู สี
ฮะ
ca1

ถู
1
3
4
อ้าปากพ่นลม
ฮ่า
ha1

เป่าลมออกทางปาก
3
3
6
ผีจำพวกหนึ่งทำให้คนป่วย เป็นคำแช่งด่ากันว่า บักฮ้า อีฮ้า
ฮ้า
ha1

ว่า ดุ
3
1
4
ใหญ่มาก
ฮ้า
da4

ใหญ่
2
3
5
ร่างกาย
ฮีง
hai2

ร่างกาย
2
3
5
ทำลาย ทำให้เสียหาย
ฮาน
han4

ขย่ม สั่น โยก เขย่า
3
2
5
เขื่อง รุ่น เช่นสาวฮาม = เด็กสาวรุ่น ๆ
ฮาม
hai2

เด็ก ลูก
2
2
4
มะรืน
ฮือ
hou4
后 (天)
มะรืน
2
3
5
มือฮือ
ming2 hou4
明后(天)
วันหลัง
2
2
4
ยิ่ง มาก
แฮ่ง
geng4

ยิ่ง มาก
2
3
5
ร้องไห้
โฮ
ku1

ร้องให้
1
3
4
รวมเข้าด้วยกัน ชุมนุม
โฮม /โฮบ / ฮุม / ฮ่วม
he2

รวมกัน พร้อมกัน
1
2
3
โชย อบอวล
โฮย
chui1

เป่า พัด โชย
1
3
4

ข้อพิจารณารายการคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยถิ่นอีสาน – จีน
จากค่าความสัมพันธ์ในตารางข้างต้นจะพบว่า คำในภาษาอีสานที่ไม่มีในภาษาไทย มีความสัมพันธ์กับคำในภาษาจีน สามารถแบ่งระดับความสัมพันธ์ได้ดังนี้
1. คำที่เหมือนกัน มีค่าคะแนน 5 – 6 คะแนน สันนิษฐานว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย เช่น[2]
กว้าน / บ้านพัก หรือเรือนรับรอง/ 馆 guan1 /บ้านพักรับรอง/
จ่าน / ขยายออก แผ่ออก/ 展 zhan3 /ขยายออก แผ่ออก/
ส่วง / โปร่ง โล่ง สบาย/ 爽 shuang3 /โปร่ง โล่ง สบาย/
2. คำที่คล้ายคลึงกัน มีค่าคะแนน 3 – 4 คะแนน(หรือบางคำอาจมีค่าคะแนน 5 ก็ยิ่งแสดง
ถึงความสัมพันธ์ที่กันใกล้ชิดมากขึ้น) จัดว่าเป็นคำศัพท์ที่มีความสัมพันธ์กัน แบ่งได้ดังนี้
2.1 คำที่มีการแปรของเสียง
2.1.1 การกร่อนและการสูญหายของเสียง เกิดจากเสียงบางเสียงเกิดการกร่อน
หรือแปรไปเป็นเสียงที่มีฐานกรณ์ใกล้เคียงกัน หรือเสียงสระใดสระหนึ่งในสระประสมสูญหายไป หรือพยัญชนะท้ายเกิดการกลายเสียงหรือสูญหาย เช่น
ฮง /สุกใส แวววาวเป็นประกาย/ 晃 huang3 /แสงจ้าตา สว่างจ้าตา/
โส /คุยกัน สนทนากัน/ 说 shuo1 / พูด คุย/
ตู้ /ทู่ ไม่คม/ 钝 dun4 / ทู่ ไม่คม/
2.1.2 การเป็นเสียงปฏิภาค พบเสียงปฏิภาคหลายคู่ และหลายคำ ตัวอย่างเช่น
/ p- ph / /p – f / /th – t / / d – t /
/ p- ph / ตัวอย่างเช่น
เปิง /ห้องเปิดโล่ง/ 棚 peng2 /เพิงกลางแจ้ง/
ปุ้ง /ใหญ่ พอง โต ขยาย/ 膨 peng2 /ขยายใหญ่ พองใหญ่ขึ้น/
/p – f / ตัวอย่างเช่น
ป่ง /ผลิออก งอก / 丰 feng1 / อุดมสมบูรณ์/
ป่วง /บ้า/ 疯 feng1 / บ้า/
/th – t / ตัวอย่างเช่น
ท่าว / ล้ม/ 掉 diao4 / ล้ม/
เท้า / ตลอด จนกระทั่ง/ 到 dao4 / ถึง/
/ d – t / ตัวอย่างเช่น
ดอน / เนินสูง / 墩 dun1 / เนินดิน/
ดะ / ปะทะ กระทบ/ 打 da3 /ตี/
2.1.3 การแตกพยางค์ จากข้อมูลพบว่า คำพยางค์เดียวในภาษาจีน จะแตกเป็นคำ
สองพยางค์ในภาษาอีสาน โดยส่วนใหญ่พบว่า คำวิเศษณ์หรือคำกริยาพยางค์เดียว เมื่อแตกเป็นคำสองพยางค์ในภาษาอีสานแล้ว ยังคงมีความหมายอย่างเดิม แต่ใช้เป็นคำเสริมสร้อยวางไว้หลังคำวิเศษณ์หรือกริยา เพื่อบอกลักษณะอาการของคำวิเศษณ์หรือกริยาในความหมายเดิมนั่นเอง ตัวอย่างเช่น
ซ่องล่อง / บอกลักษณะสิ่งของที่อยู่เป็นคู่/ 双 shuang1 /คู่/
จ่านพ่าน / บอกลักษณะของการแผ่ขยายออก/ 展 zhan3 /ขยาย/
ต้างหล้าง /ลักษณะที่เป็นหลุมโพรง/ 凼 dang1 /หลุม โพรง/
ซะซาย /บอกลักษณะสิ่งของที่กระจัดกระจาย/ 洒 sa3 / กระจัดกระจาย/
ค้งน้ง / บอกลักษณะของที่โค้ง/ 弓 gong1 / โก่ง โค้ง/
ตัวอย่างประโยค ไปนำกันซองลอง (ไปด้วยกันเป็นคู่ ) นั่งหน้าจ่านพ่านอยู่ฮั่น(นั่งหน้าบานอยู่ตรงนั้น) เป็นฮูต้างหล้าง(เป็นรูโหว่) วางของซะซาย (วางของกระจัดกระจาย) ฮุ่งโค่งค้งน้ง (รุ้งโค้งเป็นวง)
2.2 คำที่มีการแปรทางความหมาย หากยึดภาษาจีนเป็นตัวตั้ง จากข้อมูลพบการแปรทาง
ความหมายหลายประเภท ได้แก่ ①การแปรจากคำนามเป็นคำกริยา ②การใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น ③ การแปรจากคำนามเป็นคำวิเศษณ์ ④การแปรจากคำกริยาไปเป็นคำบอกผลแห่งกริยา ⑤การแปรจากคำกริยาไปเป็นคำที่บอกเหตุแห่งกริยา ตัวอย่างเช่น
① ขวย / คุ้ยดิน / 凷 kuai1 / ก้อนดิน/
โคบ / ปล้น/ 冦 kou4 / โจรผู้ร้าย ผู้รุกราน/
② พืน / แผ่ ขยายออก/ 喷 pen1 / พ่น กระเด็น/
มุ่ง / สุกใส รุ่งเรือง/ 明 ming2 / สว่าง/
③ วาก /ลักษณะการพูดเสียงดัง / 话 hua4 / คำพูด/
มุ่น / ละเอียด แหลก/ 粉fen3 /แป้ง ฝุ่น /
④ วาก / แหว่ง ขาด วิ่น/ 划 hua4 / กรีด/
ป้ง / โป่ง พอง/ 膨peng2 / ขยายใหญ่ พองใหญ่ขึ้น/
⑤ ลั๊วะ / ลุทิ้ง ทำให้ไหลออก/ 流liu2 /ไหล/
ป่ง / ผลิออก งอก / 丰feng1 / อุดมสมบูรณ์/
3. คำคล้ายคลึงกัน มีค่าคะแนน 1 – 2 คะแนน จัดเป็นคำที่น่าจะเกี่ยวข้องกัน หรือน่า
สงสัยว่าจะมีความสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น
เอือน / หยุด หายไป/ 遏e4 /ระงับ ควบคุม/
ถา / แฉลบ เฉียด/ 擦ca1 /ถู สี ขีด /
เปียะ / ฉาบ ทา / 补bu3 / ปะ/
ม่วน / ไพเราะ สนุก / 玩wan2 /เล่น/
พีนลีน / ลักษณะของตาที่ปลิ้นออกมาเล็กน้อย/ 翻fan1 / พลิก ปลิ้น/
บทสรุป
รายการคำที่คัดเลือกมามีทั้งหมด 407 คำ ในจำนวนนี้ ตามข้อกำหนดของการวิจัยครั้งนี้ สามารถจัดให้เป็นคำที่สันนิษฐานว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย 213 คำ คำศัพท์ที่มีความสัมพันธ์กัน 188 คำ และคำศัพท์ที่สงสัยว่าจะมีความสัมพันธ์กัน 6 คำ
สิ่งที่น่าสนใจศึกษาต่อไปได้แก่ เสียงปฏิภาคระหว่างคำในภาษาจีนและศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาอีสาน การแปรความหมายของคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยถิ่นอีสาน – จีน โดยเฉพาะกลุ่มคำที่มีการแตกพยางค์ไปเป็นคำซ้อนสองพยางค์ นอกจากนี้ คำศัพท์ที่คัดเลือกมาในบทความนี้อาจหลุดรอดสายตาไป ยังไม่ครบถ้วน การศึกษาเพื่อจัดทำพจนานุกรมไทยถิ่นอีสาน – จีน จะเป็นเครื่องมือวิจัยคำศัพท์ร่วมเชื้อสายของภาษาทั้งสองได้อย่างครบถ้วนยิ่งขึ้น

บรรณานุกรม
ขอนแก่น,มหาวิทยาลัย. (2532) พจนานุกรมภาษาอีสาน-กลาง. สหวิทยาลัยอีสาน: ขอนแก่น.
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,สำนักงาน.(2530) พจนานุกรมภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.อรุณการพิมพ์,กรุงเทพฯ.
คำพูน บุญทวี(2548) พจนานุกรมภาษาอีสานฉบับคำพูน บุญทวี.พิมพ์ครั้งที่ 1,โป๊ยเซียน: กรุงเทพฯ.
จิตร ภูมิศักดิ์.(2519) ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1.
โครงการตำราสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,กรุงเทพฯ.
ไทย-ลาว,สมาคม.(2546)ปทานุกรมคำพ้องไทย-ลาว.มติชน,กรุงเทพฯ.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ.(2541) พจนานุกรมจีน-ไทย.รวมสาส์น,กรุงเทพฯ.
บรรจบ พันธุเมธา. (2526) กาเลหม่านไตในรัฐชานและคำตี่เมืองขาง.คณะอนุกรรมการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทยใน
คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล.(2545) พจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน(เว่าอีสาน).พิมพ์ครั้งแรก.คลังธนาธรรม:ขอนแก่น.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์.(2547) ไทยสิบสองปันนาเล่ม 1 .พิมพ์ครั้งที่ 3 ,ศยาม,กรุงเทพฯ.
ปราณี กุละวณิชย์.(2535) พจนานุกรมจ้วงใต้ – ไทย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,กรุงเทพฯ.
ปราณี กุละวณิชย์และคณะ.(2527) ศัพท์ไท 6 ภาษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,กรุงเทพฯ.
ปรีชา พิณทอง.(2532) สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ.พิมพ์ครั้งที่ 1,โรงพิมพ์ศิริธรรม:อุบลราชธานี
พัชราภรณ์ เศวตสุวรรณ.(2530) การศึกษาเปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาถิ่นอีสานที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูล
ไท. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ราชบัณฑิตยสถาน.(2546) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2542.นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น,กรุงเทพฯ.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2531)ภาษาถิ่นตระกูลไทย. (พิมพ์ครั้งที่2) โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.
สุจิตต์ วงษ์เทศ (2549) พลังลาว ชาวอีสานมาจากไหน. มติชน : กรุงเทพฯ.
สุริยา รัตนกุล.(2548) นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท.สหธรรมิก.กรุงเทพฯ.
Asger Mollerup.(2001) Thai – Lao Phrase Book.White Lotus G.P.O, Bangkok.
Benedict Paul K.(1942)Thai, Kadai and Indonesian: A new alignment in Southeastern Asia, American Anthropologist
44:576-601.
-----------------. (1975) Austro-Thai: Language and culture. New Haven: HRAF Press.
Brown, J. Marvin (1965) From Ancient Thai to Modern Dialects. In From Ancient Thai to Modern Dialects, and Other
Writings on Historical Thai Linguistics, pp. 69-254. White Lotus, Bangkok.
Chamberlain,James R. (1972) ‘The Origin of The Southwestern Tai’ in Bullentin des Amis du Royaume Laos,7-8:233 – 44
Vientiane.
Diffloth, Gérard.( 1974) Austro-Asiatic Languages. Encyclopaedia Britannica. 480-484.
Dodd,William C.(1923) The Tai Race-Elder Brother of Chinese. Cedar Rapids, Iowa, The Torch Press.
Edmondson, J.A. and D.B. Solnit eds. (1997) Comparative Kadai: the Tai branch. Dallas: Summer Institute of Linguistics
and the University of Texas at Arlington.
Frank M.Lebar. (1964) Ethnic Groups of Mainland Southeast Asia. New Haven,Conn.:HumanRelations Area Files.
Gedney,William J. (1972) ‘A checklist for determining tones in Tai dialects’ , in Studies in Linguistics in honor of Georg L.
Trager. The Haug.Mouton.
Grierson,G.A. (1903 - 28) Linguistics servey of India,11vols.Culcutta,Office of the Superementendent of Government
Printing.
Hartman, John F. (1986) ‘Style, Scope, and Rigor in Comparative Tai Research’ in Bickner, Robert J., Thomas J. hudak
and Pacharin Peyasantiwong (eds.)
Li Fangkuei.(1959)“Classification by vocabular : Tai Dialects” in Anthropological Linguistics,1.2,15-21.
-----------------.(1976) Sino-Tai, Genetics Relationship Diffusion and typological similarities on East and Southeast
Asian Languages ,Paper for the 1st Japan –US Joint Seminar on East and Southeast Asian Linguistics, Tokyo.
Manomaivibool Prapin.(1975) A Study of Sino-Thai Lexical Correspondence , PhD Dissertation, University
Of Washington.
Somsong Burusphat.(2006) Northern Zhuang Chinese Thai English Dictionary.Ekphimthai Ltd:Bangkok.
龚群虎.(2002) 《汉泰关系词的时间层次》复旦大学出版社,上海。
郭锡良.(1986) 《汉字古音手册》北京大学出版社,北京。
梁敏,张均如.(1996) 《侗台语族概论》社会科学出版社, 北京。

ผู้บอกภาษา
ณัฐพัชร์ เตชะรุ่งไพศาล : อายุ 37 ปี ภูมิลำเนาจังหวัดอุบลราชธานี พูดภาษาอีสานเป็นภาษาแม่
นิภาดา พานะรมย์ : อายุ 22 ปี ภูมิลำเนา จังหวัดศรีสะเกษ พูดภาษาอีสานเป็นภาษาแม่
ศุภรางค์ แสงหิรัญ : อายุ 22 ปี ภูมิลำเนา จังหวัดอุบลราชธานี พูดภาษาอีสานเป็นภาษาแม่
[1] สัทอักษรที่ใช้อ่านภาษาจีนปัจจุบันในบทความนี้เป็นระบบสัทอักษรจีนที่เรียกว่า Pinyin(拼音)ซึ่งเป็นระบบสัทอักษรที่พัฒนาขึ้นในปี 1954 โดยคณะกรรมการปฏิรูปอักษรจีน ถือว่าเป็นระบบการถ่ายถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง โดยในปี ค.ศ. 1977 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาระบบอักษรพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098)ในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (The Standard Romanization For Modern Chinese) ตัวเลขที่กำกับหลังคำคือเสียงวรรณยุกต์มี 4 ระดับเสียง แทนด้วยเลข 1, 2, 3, และ 4 ตามลำดับ

[2] ต่อไปนี้จะแสดงข้อมูลเรียงลำดับดังนี้ คำภาษาอีสาน /ความหมายของคำภาษาอีสาน/ อักษรจีน คำอ่านโดยใช้ สัทอักษรจีนพินอิน /ความหมายภาษาจีน/

เสียงปฏิภาค /r/,/k/, /kh/ และเสียงปฏิภาคอื่นๆ : หลักฐานความสัมพันธ์ของภาษาจีนกับภาษาไทยในฐานะภาษาร่วมตระกูล

เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2552) “เสียงปฏิภาค /r/,/k/,/kh/ และเสียงปฏิภาคอื่นๆ:หลักฐานความสัมพันธ์ของ
ภาษาจีนกับภาษาไทยในฐานะภาษาร่วมตระกูล วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์.
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 31 ประจำภาคเรียนที่ 2 การศึกษา 2552.


บทคัดย่อ
หลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของภาษาร่วมตระกูลคือ การเปรียบเทียบลักษณะปฏิภาคระหว่างภาษา บทความนี้นำเสนอการเปรียบเทียบเสียงปฏิภาคระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทยเสียง / r / แปรเป็น /k/ หรือ /kh/ และเสียงปฏิภาคอื่นๆ ที่เป็นหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ของภาษาจีนกับภาษาไทย รวมถึงความสัมพันธ์กับภาษาอื่นๆในภาษาตระกูลไท อันเป็นหลักฐานที่นำไปสู่การสนับสนุนแนวคิดเรื่อง สาขาภาษาจีน–ไทย ในตระกูลภาษาใหญ่จีน– ธิเบตที่แน่นหนายิ่งขึ้น
คำสำคัญ ภาษาตระกูลจีนธิเบต ภาษาตระกูลไท เสียงปฏิภาค คำศัพท์ร่วมเชื้อสาย ภาษาไทย

The correspondence /r/ , /k/ , /kh/ and other sounds: Evidence of the relationship between Chinese and Thai languages as a kinship
Abstract

The important evidence that indicates the relationship of cognate words is comparing the correspondence between languages. This article represents the comparison of the correspondence of /r/ into /k/ or /kh/ and other sounds in Chinese and Thai languages. The evidence confirms the relationship between Chinese and Thai language including others in Tai language family. This has led to the support of Chinese – Thai branch concept in Sino-Tibetan language family even more.
Keywords: Sino- Tibetan language family, Tai language family, correspondence sounds, cognate words , Thai language.

การศึกษาเกี่ยวกับคำศัพท์ร่วมเชื้อสายและการจัดแบ่งตระกูลภาษา
ในการศึกษาเกี่ยวกับการจัดแบ่งตระกูลภาษา จำเป็นจะต้องพิจารณาและทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของคำศัพท์หลายคำ ที่สำคัญได้แก่ ตระกูลภาษา คำศัพท์พื้นฐาน คำศัพท์ร่วมเชื้อสาย และลักษณะปฏิภาค ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้ก็หมายถึงกระบวนการและวิธีการในการพิจารณาความสัมพันธ์ของภาษานั่นเอง ในงานวิจัย เรื่อง การศึกษาภาษาไทและภาษาไทเปรียบเทียบตระกูลภาษา(สมพงศ์:2550) ได้อธิบายความสัมพันธ์ของคำดังกล่าวข้างต้นไว้อย่างชัดเจนและสอดคล้องแล้วว่า ตระกูลภาษา หมายถึง กลุ่มของภาษาที่มีความสัมพันธ์กันทางเชื้อสาย เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าภาษาทั้งสองภาษามีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายกันหรือไม่ โดยพิจารณาดูว่าภาษาทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันอย่างเป็นระบบหรือไม่ วิธีการที่นักภาษาศาสตร์ใช้พิสูจน์ข้อสงสัยดังกล่าว ได้แก่การเปรียบเทียบคำศัพท์พื้นฐานในหมวดต่าง ๆ เช่น ศัพท์อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ศัพท์เกี่ยวกับเครือญาติ ศัพท์เกี่ยวกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัวมนุษย์ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ พระอาทิตย์ เป็นต้น และศัพท์เกี่ยวกับกริยาพื้นฐาน เช่น กิน เดิน นอน นั่ง ยืน พูด ฟัง มอง เป็นต้น คำศัพท์ในหมวดดังกล่าวในภาษาทั้งสองที่เรานำมาเปรียบเทียบ จะต้องมีความหมายคล้ายกัน และออกเสียงคล้ายกัน คำศัพท์ดังกล่าวนี้ นักภาษาศาสตร์เชิงประวัติเรียกว่า “คำร่วมเชื้อสาย” คำที่ออกเสียงไม่เหมือนกันเลย หรือมีความหมายต่างกันมาก เราไม่นำมาเปรียบเทียบ ในการเปรียบเทียบดังกล่าว นักภาษาศาสตร์มองหาลักษณะปฏิภาคของเสียง เช่น เสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ว่าในทั้งสองภาษามีความคล้ายคลึงของเสียงเหล่านั้น เป็นการคล้ายคลึงกันอย่างเป็นระบบหรือไม่ ถ้าพบลักษณะปฏิภาคมากพอที่จะเชื่อถือได้ เราก็สามารถสรุปได้ว่าภาษาทั้งสองนั้นเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาเดียวกัน หรือในสเกลที่เล็กลงมาคือเป็นสมาชิกของภาษาเดียวกัน(ภาษาย่อย) ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ความคิดพื้นฐานของข้อสรุปนี้คือ ภาษาทั้งสองนั้นมีเชื้อสายร่วม หรือสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันนั่นเอง

ความสัมพันธ์ของภาษาไทยและภาษาจีน
เกี่ยวกับการจัดแบ่งตระกูลภาษาของภาษาไทยนี้ นักภาษาศาสตร์มีข้อคิดเห็นแตกต่างกันไปหลายทฤษฎี ความแตกต่างนี้ไม่เพียงเกิดขึ้นในเรื่องของการจัดแบ่งตระกูลภาษา หากแต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงชื่อเรียกภาษาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไทย ไท ไต ได ลาว สยาม กัมไท ในภาษาจีนก็เช่นเดียวกัน มีตัวอักษรที่เรียกชื่อภาษาไทหรือชาวไทอย่างน้อยสี่ตัวขึ้นไป คือ泰 (tai4) 傣 (dai3) 台 (tai) 暹 (xian1) สำหรับชื่อเรียกภาษา มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมายแล้ว เช่น เรืองเดช (2531) ในหนังสือชื่อ “ภาษาถิ่นตระกูลไทย” จิตร(2519) ในหนังสือชื่อ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอมและลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ” สุริยา (2548) ในหนังสือชื่อ “นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท” ผู้อ่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ตามรายการที่ให้ในบรรณานุกรม
แต่สิ่งสำคัญที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ การจัดแบ่งตระกูลภาษาที่แสดงให้เห็นว่าภาษาไทยและภาษาจีนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ผู้เขียนจะเรียกตาม สุริยา (2548) ที่ว่าคำว่า “ไท” เป็นคำที่เป็นกลางมากที่สุด ในบทความนี้จึงจะเรียกตามว่า “ภาษาตระกูลไท” ยกเว้นการอ้างอิงข้อความคิดของนักวิชาการท่านอื่น จะคงคำเรียกตามที่อ้างมา ส่วนภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาไทยที่มี ย. บางตำราเรียกว่าภาษาไทยกรุงเทพ ในบทความนี้เรียกว่า ภาษาไทย
โดยทั่วไปถือว่าภาษาไทยเป็นตระกูลย่อยภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาใหญ่ จีน-ธิเบต ซึ่งภาษาตระกูลจีน – ธิเบตนี้ เป็นตระกูลภาษาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แบ่งออกเป็น 4 สาขาคือ (1)สาขาภาษาจีน (2)สาขาภาษาไทย (3) สาขาแม้วเย้า (4) สาขาธิเบตพม่า (เรืองเดช: 2531) อย่างไรก็ตามนักภาษาศาสตร์หลายท่านเรียกชื่อตระกูลภาษานี้แตกต่างกันไป อย่างเช่น Grierson (1903-28) เรียกรวมเป็นตระกูลเดียวกันกับภาษาจีนว่า ตระกูลภาษาไทยจีน (Siamese-Chinese family) Benedict (1975) เรียกว่า ออสโตร – ไทย (Astro-Tai) เพราะเห็นว่าเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลออสโตรเนเชียน ต่อมามีการตั้งชื่อตระกูลภาษาไทอีกหลายชื่อด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น บ้างเรียกว่า ตระกูลภาษาไทย ตระกูลภาษาไต แยกออกมาเป็นตระกูลภาษาใหญ่ต่างหาก บ้างเรียกว่าตระกูลคำไต (KamTai family) และ ภาษาไดอิก (Daic) โดยรวมภาษาไทยถิ่นต่างๆที่พูดในประเทศต่างๆ 8 ประเทศเป็นตระกูลเดียวกันหมด (เรืองเดช: 2531) Benedict (1942) ได้ตั้งชื่อตระกูลภาษานี้ใหม่ว่า ตระกูลภาษาไทยกะได (Tai Kadai) เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาษาไทยถิ่นที่พูดอยู่ที่เกาะไหหลำ อ่าวตังเกี๋ย และภาษากลุ่มตระกูลภาษาไทยที่พูดอยู่ที่ประเทศจีน และเวียดนามทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีการแบ่งภาษาตระกูลไทโดยยึดเกณฑ์ต่างๆกัน เช่น พระยาอนุมานราชธน(อ้างในเรืองเดช : 2531) เป็นการจัดแบ่งโดยยึดหลักภูมิศาสตร์ ก็กล่าวถึงกลุ่มภาษาไทย-จีน คือภาษาไทยที่พูดอยู่เขตประเทศจีนบริเวณกวางสี ไกวเจา กวางตุ้ง เช่นภาษาไทยลาย ไทยลุง ไทยย้อย ไทยโท้ ไทยนุง ผลงานของนักวิชาการชาวจีน Li Fanggui (1959) ที่ใช้หลักเกณฑ์ทางภาษา คือเกณฑ์ทางการกระจายคำศัพท์ ลักษณะทางเสียงและพัฒนาการทางเสียง ในการแบ่งกลุ่มภาษาไทยก็ชี้ให้เห็นความเกี่ยวข้องของภาษาไทที่พูดอยู่ในประเทศจีนกับภาษาไทยกลุ่มอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ยังมีนักภาษาศาสตร์อีกหลายท่านที่ศึกษาภาษาตระกูลไท และจัดให้ภาษาที่พูดอยู่ในประเทศจีน หรือภาษาที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาจีนเป็นสมาชิกในภาษาตระกูลไท เช่น John F. Hurtmann (1986) จัดแบ่งภาษาไทยเฉพาะกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ของ Li Fanggui เป็นกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ตอนล่าง ตอนกลางและตอนบน กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ตอนล่างนี้ครอบคลุมไปถึงตอนใต้สุดของตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และยังมีนักภาษาศาสตร์ในยุคต่อจาก Li Fanggui อีกหลายท่าน เช่น Marwin Brown (1965), William J.Gedney(1972), James R.Chamberlain(1972) ก็ได้ดำเนินรอยตาม Li Fanggui โดยในการจัดแบ่งภาษาตระกูลไทล้วนมีความเกี่ยวข้องกับภาษาตระกูลจีน หรือเป็นภาษาไทที่พูดอยู่ในประเทศจีนทั้งสิ้น เรืองเดช (2531) นักวิชาการภาษาตระกูลไทยได้จัดแบ่งภาษาตระกูลไทยออกเป็น “กลุ่มไท” โดยรวมภาษากลุ่มไทสยามและลาวไว้ในกลุ่มเดียวกัน และ “กลุ่มไต” รวมภาษาไตยวน ไตหลวง ไตจีนไว้ด้วยกัน จากข้อมูลการศึกษาและการจัดแบ่งภาษาตระกูลไทจะเห็นว่าภาษาไทยมีร่องรอยความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาษาจีนอยู่
ตามทรรศนะของนักวิชาการจีน จัดภาษาไทยอยู่ในภาษาตระกูลจีนธิเบต สาขาภาษาต้งไถ สาขาย่อยภาษาไต (梁敏,张均如:1996) และเพื่อยืนยันว่าภาษาไทยจัดอยู่ในภาษาตระกูลจีน-ธิเบต ตลอดจนการสนับสนุนแนวคิดเรื่องคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้เห็นถึงความสัมพันธ์ว่าเป็นภาษาในตระกูลภาษาเดียวกัน การศึกษาเรื่องคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยจีนจึงเป็นความสนใจของนักภาษาศาสตร์และนักศึกษาภาษาไทย-จีนมาช้านาน
ผลงานที่สำคัญที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของภาษาไทยและภาษาจีน โดยวิธีการเปรียบเทียบคำศัพท์ เช่น A.Conrady, K.Wulff (อ้างใน龚群虎:2002) รวบรวมคำศัพท์ที่เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทย-จีนกว่า 200 คำ ประพิน (P.Manomaivibool:1975) รวบรวมคำศัพท์ภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์ ที่สันนิษฐานว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยจีนถึง 600 คำ นักวิชาการชาวจีน Li Fanggui (李方桂:1976) ได้รวบรวมคำศัพท์ร่วมเชื้อสายระหว่างภาษาจีนกับภาษาในสาขาภาษาไท(ไต) ร้อยกว่าคำ และงานวิจัยชิ้นล่าสุดที่สนับสนุนแนวคิดคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยจีนคือ ผลงานของ Gong Qunhu (龚群虎:2002) ผลการวิจัยนี้เปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาไทยกับภาษาจีน และชี้ให้เห็นวิวัฒนาการความสัมพันธ์ของภาษาไทยและจีนในแต่ละยุค แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ (1) คำศัพท์ร่วมสายเลือดภาษาไทยจีนซึ่งหมายถึงคำศัพท์ที่เคยเป็นภาษาเดียวกันมาตั้งแต่อดีต (2) คำศัพท์ที่มีการถ่ายเทซึ่งกันและกันในยุคสองพันปีลงมา (3) คำศัพท์ที่ภาษาไทยยืมมาจากภาษาจีนในยุคที่ชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยในระยะร้อยสองร้อยปีมานี้

การศึกษาเกี่ยวกับเสียงปฏิภาคในภาษาตระกูลไท
ในหนังสือชื่อ ภาษาไทยถิ่น (วิไลศักดิ์:2551) กล่าวถึงลักษณะเด่นของภาษาถิ่นตระกูลไทหลายประการ เช่น ไม่มีคำที่เริ่มต้นด้วยเสียงสระ มีคำศัพท์ใช้ร่วมเชื้อสาย (Cognate words) พยัญชนะควบกล้ำไม่เกิดท้ายพยางค์ โครงสร้างพยางค์ประกอบด้วย หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ โครงสร้างของประโยคประกอบด้วย ประธาน+ กริยา + กรรม เป็นคำศัพท์โดด ๆ สำเร็จรูปภายในตัวเอง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป มีการใช้ลักษณะนาม ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่ง คือ มีเสียงปฏิภาค ( Correspondence ) ของระบบเสียงต่างกันอย่างมีกฎเกณฑ์
ลักษณะปฏิภาค ที่นักภาษาศาสตร์ใช้อธิบายลักษณะทางรูปภาษาที่เหมือนกันของภาษาที่มีความสัมพันธ์กัน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า correspondence ซึ่งในพจนานุกรม A Dictionary of Linguistics And Phonetics (David :1997) ให้ความหมายของคำว่า correspondence ว่า “A term used in linguistics to refer to any similarity of form between words or structure in related language.

ผลงานการศึกษาภาษาตระกูลไทโดยใช้เกณฑ์เสียงปฏิภาคในประเทศไทย มีที่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต เป็นการศึกษาภาษาถิ่นตระกูลไทที่พูดอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ วิทยานิพนธ์เรื่อง ภูมิศาสตร์ภาษาจังหวัดลพบุรี : การศึกษาคำศัพท์และเสียงปฏิภาค ชุด ช-จ-ซ (ลัดดาวัลย์:2538) เป็นการศึกษาคำศัพท์และเสียงปฏิภาคชุด ช-จ-ซ ศึกษาการกระจายของภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยถิ่นอีสานในจังหวัดลพบุรี วิทยานิพนธ์เรื่อง A Comparative study of the phonology of six Tai dialects spoken in Amphoe Tha Tako, Changwat Nakhon Sawan (Wilailuck:1987) เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงของภาษาไท 6 ภาษา คือ ภาษาลาวใต้ ลาวเวียง ลาวครั่ง ลาวแง้ว ลาวพวน และลาวโซ่ง ในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ โดยศึกษาเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความเหมือนและต่างของเสียงในภาษาไททั้ง 6 ภาษาดังกล่าว
ผลงานการศึกษาเปรียบเทียบภาษาไทที่พูดอยู่ในและนอกประเทศไทยโดยใช้เกณฑ์เสียงปฏิภาค มี วิทยานิพนธ์เรื่อง Further classification of Southwestern Tai "P" group languages (Robinson:1994) เป็นการศึกษาการแบ่งกลุ่มย่อยของภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่ม "ป" โดยอาศัยเกณฑ์การปฏิภาคของเสียงบางประการในการจำแนกภาษาต่าง ๆ เหล่านี้ การศึกษาในครั้งนี้ครอบคลุมภาษาไทยที่ Li (1960) จัดไว้ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ และ Chamberlain (1972, 1975) จัดไว้ในกลุ่ม “ป” ได้แก่ ภาษาไทเมา ภาษาไทเหนือ ภาษาไทยคำตี่ ภาษาไทยลื้อ ภาษาไทใหญ่ ภาษาไทขืน ภาษาไทยวน ภาษาไทขาว ภาษาไทดำ และภาษาไทแดง และบทความอีกหนึ่งเรื่อง ชื่อ เสียงปฏิภาคระหว่างภาษาไตเมา ไตคำตี่และลานนา (สุวัฒนา:2528) ก็เป็นการเปรียบเทียบภาษาไทที่พูดอยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศไทยโดยใช้เกณฑ์เสียงปฏิภาคเช่นกัน
ส่วนการเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาในประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เกณฑ์เสียงปฏิภาคระหว่างภาษาไทยกับภาษาจีนยังสำรวจไม่พบ แต่มีหนังสือ พจนานุกรม และบทความของนักวิชาการที่สำคัญสองท่าน คือ สมทรง บุรุษพัฒน์ และปราณี กุละวณิชย์ หลากหลายผลงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทกับภาษาตระกูลจีน-ทิเบต เช่น ภาษาและวัฒนธรรมกัม-ไท (สมทรง:2543) พจนานุกรมภาษากัม-จีน-ไทย-อังกฤษ (สมทรง: 2543) พจนานุกรมปูยี-จีน-ไทย-อังกฤษ (สมทรง: 2544) พจนานุกรมฮไล-จีน-ไทย-อังกฤษ (สมทรง: 2546) พจนานุกรมสุ่ย-จีน-ไทย-อังกฤษ(สมทรง: 2546) Northern Zhuang Chinese English Dictionary (Somsong:2006) การเปรียบเทียบคำลักษณะนามในภาษาไท-กะได(สมทรง: 2549) พจนานุกรมจ้วงใต้ – ไทย (ปราณี:2535) ศัพท์ไท 6 ภาษา (ปราณี:2537) ผลงานเหล่านี้เป็นหลักฐานคลังคำศัพท์ที่ใช้ศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของภาษาตระกูลไทได้อย่างวิเศษ

เสียงปฏิภาค / r / – / k /, / kh / และเสียงอื่นๆ ระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย
ประเด็นหลักที่จะนำเสนอในบทความนี้คือ เสียงปฏิภาค / r / – / k /, / kh / ระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย เนื่องจากสังเกตเห็นว่า คำภาษาจีนที่ขึ้นต้นด้วยเสียง / r / ที่ปรากฏในพจนานุกรมไทย – จีน (เธียรชัย: 2541) มากกว่าครึ่งของรายการคำทั้งหมด สามารถหาคำในภาษาไทยที่มีความหมายเดียวกันหรือสัมพันธ์กัน มีพยัญชนะต้นเป็นเสียง / k / หรือไม่ก็เสียง /kh/ ดังข้อมูลต่อไปนี้
ตารางที่ 1 : คู่คำศัพท์ภาษาจีนและภาษาไทยที่
คาดว่ามีความสัมพันธ์กันแบบปฏิภาค / r / – / k /, / kh /
คำจีน คำไทย
อักษรจีน เสียงอ่าน kh k
髯 ran2 เครา
冉 ran3 ขน (อ่อนลู่ลง)
嚷 rang3 ครึก (โครม)
禳 rang2 ขจัด
瓤 rang2 หมายถึงสิ่งของที่ห่อหุ้มด้วยเปลือกนอก = คลุม
穰 rang2 (ต้น) ข้าว
壤 rang3 เขต
攘 rang3 ขับ (ไล่)
让 rang4 ขอ
瀼 rang4 ใช้เป็นชื่อแม่น้ำ = คู คลอง
扰 rao3 กวน
娆 rao3 กวน
绕 rao4 ขด
惹 re3 ก่อ
唱喏 re3 คารวะ
热 re4 คุ (ร้อน)
人 ren2 คน
壬 ren2 เก้า (ตำแหน่งอันดับเก้าในสิบจักรราศีสวรรค์)
任 ren2 การุณย์
忍 ren3 กลั้น
荏 ren3 ค่อย
稔 ren3 คุ้น
刃 ren4 คม
任 ren4 ขึ้น
牣 ren4 คลาคล่ำ (เต็มไปด้วย)
饪 ren4 (ทำกับ) ข้าว
妊 ren4 ครรภ์
纫 ren4 สน (เข็ม)
扔 reng1 ขว้าง
仍 reng2 (ยัง) คง
日 ri4 กลางวัน
戎 rong2 กำลัง (ทหาร) , กอง
荣 rong2 เขียว
茸 rong2 ขน (ขนอ่อน) เขา (กวาง)
容 rong2 (อด) กลั้น
绒 rong2 ขน (ขนอ่อน ขนปุย)
溶 rong2 ละลาย (คลาย)
熔 rong2 หลอม (เคล้า)
融 rong2 เคล้า
冗 rong3 เกิน
氄 rong3 ขน (เส้นเล็กแต่อ่อนนุ่ม)
揉 rou2 คลึง
糅 rou2 คลุก
輮 rou2 ขอบ (วงล้อเกวียน)
如 ru2 คล้อย คล้าย
茹 ru2 กิน
儒 ru2 ขงจื้อ
蠕 ru2 ขยุกขยิก
汝 ru3 คุณ (สรรพนาม)
乳钵 ru3 bo1 โกร่ง(บดยา)
辱 ru3 ข่ม
鄏 ru3 ชื่อภูเขาในสมัยโบราณ = เขา
入 ru4 เข้า
沮洳 ru4 เลนที่เกิดจากการหมักของพืชที่เน่าเปื่อย = ครำ
坐蓐 ru4 คลอดลูก
緌 rui2 ขน (พู่ที่ประดับหมวก)
蕤 rui2 เขียว
蕊 rui3 เกสร
蘂 rui3 คล้อย (ลู่ลง)
汭 rui4 คุ้ง
枘 rui4 เข้า (กันไม่ได้)
瑞 rui4 (มง) คล
锐 ru4 คม
挼 rua2 (ใกล้) ขาด
润 run4 ค่า (ค่าใช้จ่าย) เกลี้ยง เกลา
挼 ruo2 คลึง ขยี้
若 ruo4 คล้าย
若 ruo4 คุณ (สรรพนาม)
弱 ruo4 ขาด
ในพจนานุกรมจีน – ไทยเล่มดังกล่าวนี้ คำ (อักษร) ที่
ออกเสียงพยัญชนะต้นเป็นเสียง /r/ มีทั้งหมด 133 คำ(อักษร) ในจำนวนนี้ ตรงกับคำภาษาไทยที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียง /kh/ 56 คำ และเสียง /k/ 14 คำ รวมทั้งสิ้น 70 คำ
หากใช้เกณฑ์เสียงปฏิภาคเป็นข้อยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย ไม่เพียงพบเฉพาะเสียง / r / – / k /, / kh / เท่านั้น ยังมีคำที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะปฏิภาคระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทยเสียงอื่น ๆ อีกมาก และคาดว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายด้วย ซึ่งต้องศึกษาให้ลึกซึ้งต่อไป ในที่นี้จะให้ข้อมูลพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2 : ตัวอย่างคู่คำภาษาจีนกับภาษาไทยที่คาดว่ามีความสัมพันธ์กันแบบปฏิภาค
คู่เสียงปฏิภาคระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย
(Pinyin - Thai) ภาษาจีน ภาษาไทย
อักษร เสียงอ่าน
/ a – k / 碍 ai4 กีด
谙 an1 เก่ง
按 an4 กด
熬 ao1 แกง
螯 ao2 ก้าม
/ b – ph / 摆 bai3 แผ่
败 bai4 พ่าย
板 ban3 แผ่น
伴 ban4 เพื่อน
布 bu4 ผ้า
/ c, ch – r / 参 can1 ร่วม
槽 cao2 ราง
缠 chan2 รัด
昌 chang1 รุ่ง
匆 cong1 เร่ง
/ d – th / 呆 dai1 ทื่อ
代 dai4 แทน
待 dai4 (คอย) ท่า
第,地 di4 ที่
豆 dou4 ถั่ว
/ f - p / 防 fang2 ป้อง
放 fang4 ปล่อย
肺 fei4 ปอด
分 fen1 ปัน
封 feng2 ปิด
/ f – ph / 发 fa4 ผม
翻 fan1 พลิก
凡 fan2 พื้น
焚 fen2 เผา
父 fu4 พ่อ
/ f – b / 房 fang2 บ้าน
飞 fei1 บิน
分 fen1 แบ่ง
疯 feng1 บ้า
负 fu4 แบก
/ g – h / 干 gan1 แห้ง
蛤 ge2 หอย
给 gei3 ให้
罛 gu1 แห
菇 gu1 เห็ด
/ h – n / 寒 han2 หนาว
罕 han2 น้อย
沆 hang4 น้ำ
号 hao4 นาม
鹤 he4 นก
/ j – k / 几 ji3 กี่
甲 jia3 กระ
胶 jiao1 กาว
九 jiu3 เก้า
旧 jiu4 เก่า
/ l – n / 累 lei4 เหนื่อย
冷 leng3 หนาว
酪 lao4 นม
塄 leng2 เนิน
馏 liu4 นึ่ง
/ p - p(ป) / 牌 pai2 ป้าย
攀 pan1 ปีน
剽 piao1 ปล้น
飘 piao1 ปลิว
铺 pu1 ปู
/ p – f / 泡 pao4 ฟอง
毰 pei2 ฟู
霈 pei2 ฝน
漂 piao3 ฟอกขาว
洴 ping2 ฟอกไหม
/ p – b / 泡 pao1 บึง
劈 pi3 แบ่ง
僄 piao4 เบา
屏 ping2 บัง
迫 po4 บีบ
/ q – kh / 骑 qi2 ขี่
拤 qia3 เค้น
浅 qian3 (ตื้น) เขิน
强 qiang2 แข็ง
求 qiu2 ขอ
/ s,sh – kh / 杀 sha1 ฆ่า
山 shan1 เขา
上 shang4 ขึ้น
秫 shu2 ข้าว
搜 sou1 ค้น
/ t – d / 弹 tan2 ดีด
彤 tong2 แดง
徒 tu2 เดิน
土 tu3 ดิน
推 tui1 ดัน
/ w – ph / 洼 wa1 พื้น
危 wei1 ภัย
为 wei4 เพื่อ
惟 wei4 เพียง
维 wei2 ผูก
/ x – d / 显 xian3 เด่น
星 xing1 ดาว
行 xing2 เดิน
凶 xiong1 ดุ
玄 xuan2 ดำ
/ z,zh – k / 拶 zan3 กด
张 zhang1 กาง
枝 zhi1 กิ่ง
中 zhong กลาง
杼 zhu4 กี่ (ทอผ้า)
/ z,zh – kh / 仄 ze4 แคบ
斩 zhan3 โค่น
栈 zhan4 คอก
针 zhen1 เข็ม
抓 zhua1 คว้า
/ z. zh – ch / 早 zao3 เช้า
朝 zhao1 เช้า
争 zheng1 ชิง
助 zhu4 ช่วย
字 zi1 ชื่อ
ข้อมูลคำศัพท์ทั้งตารางที่ 1. และตารางที่ 2. คัดเลือกมาจากพจนานุกรมจีน-ไทย (เธียรชัย: 2541) พจนานุกรมฉบับนี้ เรียบเรียงมาจากพจนานุกรมจีนปัจจุบัน《现代汉语词典》 ตลอดทั้งเล่มโดยไม่มีการตัดตอนแม้แต่ประโยคเดียว พจนานุกรมจีนปัจจุบันนี้ ได้รับมติคณะรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนให้จัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานฝ่ายวิชาการภาษาระดับประเทศเป็นคณะกรรมการชำระและเรียบเรียงพจนานุกรม และใช้เป็นหนังสืออ้างอิงที่เป็นแบบฉบับภาษาจีนของประเทศ ฉบับที่ตีพิมพ์ล่าสุดคือฉบับปี 2005 รวบรวมคำศัพท์ภาษาจีนในศตวรรษที่ 20 ไว้ครบถ้วนที่สุด โดยตลอดทั้งพจนานุกรม รวบรวมคำศัพท์ทั้งหมด 65,000 ตัว
จากข้อมูลคู่เสียงปฏิภาค / r / – / k /, / kh / ในตารางที่ 1. และข้อมูลตัวอย่างเสียงปฏิภาคในตารางที่ 2. สามารถอธิบายลักษณะคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงปฏิภาค ในตารางที่ 3
การอธิบายในตาราง ต้องเข้าใจตรงกันในอันดับแรกก่อนว่า หลักสำคัญที่คำนึงถึงของคำที่เลือกคือมีความหมายเหมือนกัน ส่วนความเหมือนหรือต่างที่จะอธิบายในตาราง จะใช้เครื่องหมายอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของส่วนประกอบของคำ ได้แก่ เสียงสระ เสียงพยัญชนะท้าย และเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้ +เหมือนกัน ± คล้ายกัน – ต่างกัน ความคล้ายกันตัดสินจาก เสียงสระที่มีความสูงต่ำ หน้าหลัง และรูปปากใกล้เคียงกัน พยัญชนะท้ายที่สามารถคาดเดาได้ว่าเกิดการกร่อนเสียงหรือสูญหาย วรรณยุกต์ที่มีระดับและการหักเหใกล้เคียงกัน โดยแต่ละความสัมพันธ์ที่เหมือนกัน คล้ายกัน และต่างกันนั้นกำหนดเป็นค่าคะแนน 3 2 และ 1 คะแนนตามลำดับ ผลคะแนนจะชี้ให้เห็นระดับความสัมพันธ์ของคำแต่ละกลุ่ม


ตารางที่ 3 ลักษณะคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงปฏิภาคระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย
ตัวอย่างคำที่พยัญชนะต้นเป็นเสียง
ปฏิภาค ระดับ
ความสัมพันธ์ สระ พยัญชนะท้าย วรรณยุกต์ ค่าความ สัมพันธ์
+ - ± + - ± + - ±
张 zhang1 “กาง” / 铺 pu1 “ปู” / 几 ji3 “กี่” √ √ √ 9
板ban3 “แผ่น”/分fen1“ปัน”/ 胶jiao1“กาว” √ √ √ 8
强qiang2“แข็ง”/中zhong1“กลาง”/任ren4 “ขึ้น” √ √ √ 8
上 shang4 “ขึ้น”/荣 rong2 “เขียว”/ 馏liu4“นึ่ง” √ √ √ 8
氄 rong3 “ขน”/塄 leng2“เนิน”/房 fang2“บ้าน” √ √ √ 8
早 zao3 “เช้า”/ 抓 zhua1 “คว้า” / 骑 qi2 “ขี่” √ √ √ 7
稔ren4 “คุ้น”/ 仍 reng2 “คง” / 浅 qian3 “เขิน” √ √ √ 7
仄 ze4 “แคบ”/ 求 qiu2 “ขอ”/荣 rong2 “เขียว” √ √ √ 6
匆cong1“เร่ง”/昌chang1“รุ่ง”/彤 tong2 “แดง” √ √ √ 5
惹re3 “ก่อ”/ 焚fen2 “เผา” / 霈pei2 “ฝน” √ √ √ 5
忍ren3 “กลั้น”/ 妊ren4 “ครรภ์”/屏 ping2 “บัง” √ √ √ 5
干 gan1 “แห้ง”/行 xing2 “เดิน” 针 zhen1“เข็ม” √ √ √ 5
穰rang2 “ข้าว”/螯ao2 “ก้าม” / 缠 chan2 “รัด” √ √ √ 5
如 ru2 “คล้าย”/碍ai4 “กีด”/ 枝zhi1 “กิ่ง” √ √ √ 3

จากตารางสามารถจัดกลุ่มคำเพื่ออธิบายลักษณะของคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงปฏิภาคได้ 6 แบบ ดังนี้ (ลักษณะความสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่มนี้จะใช้อธิบายในตารางที่ 4 ด้วย)
แบบที่ 1 ค่าความสัมพันธ์ 9 คะแนน เหมือนกันทั้ง 3 ส่วน
แบบที่ 2 ค่าความสัมพันธ์ 8 คะแนน มีลักษณะเหมือน 2 คล้าย 1
แบบที่ 3 ค่าความสัมพันธ์ 7 คะแนน มีลักษณะความสัมพันธ์ 2 แบบ คือ เหมือน2 ต่าง 1 และ เหมือน 1 คล้าย 2
แบบที่ 4 ค่าความสัมพันธ์ 6 คะแนน มีลักษณะความสัมพันธ์คือ เหมือน 1 คล้าย 1 ต่าง 1
แบบที่ 5 ค่าความสัมพันธ์ 5 คะแนน มีลักษณะความสัมพันธ์ 2 แบบ คือ เหมือน 1 ต่าง 2 และคล้าย 2 ต่าง 1
แบบที่ 6 ค่าความสัมพันธ์ 3 – 4 คะแนน มีลักษณะความสัมพันธ์คือ คล้าย 1 ต่าง 2 หรือ ต่างกันทั้ง 3 ส่วน มีเพียงเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นเสียงปฏิภาคกัน มีความหมายเหมือนกัน
ในภาษาตระกูลไทมีลักษณะเสียงปฏิภาค / r / – /k/ - / kh / หรือไม่ และมีลักษณะอย่างไร?
ข้อมูลจากพจนานุกรมและรายการคำศัพท์ของภาษาไทหลายๆภาษาเท่าที่หาได้ ก็พบคู่คำหรือคู่เสียงที่มีความสัมพันธ์กันแบบ
เสียงปฏิภาค / r / – /k/ - / kh / เช่นกัน รวมถึงเสียง / h / ด้วย ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเสียงทั้งสามนี้ ก็เป็นเสียงที่อยู่ในฐานกรณ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกันนั่นเอง เป็นการแปรแบบปฏิภาคที่พบเห็นได้ทั่วไปในภาษาที่มีความใกล้ชิดกันในตระกูลภาษาเดียวกัน ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างคู่คำที่มีความสัมพันธ์แบบปฏิภาคระหว่างภาษาต่างๆในภาษาตระกูลไท
ภาษาจ้วง กับภาษาไทย (หลี่ ฟู่เซิน:2539) ข้อมูลรายการคำศัพท์ภาษาจ้วงจากหนังสือเล่มนี้ ก็สามารถจับคู่คำที่มีความสัมพันธ์กันแบบเสียงปฏิภาคได้ไม่ยาก โดยในพจนานุกรมฉบับนี้เปรียบเทียบภาษาจ้วง 2 กลุ่มคือ จ้วงเหนือ คือชาวจ้วงที่ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ภาคเหนือของมณฑลหูหนานและกุ้ยโจว และภาคเหนือของมณฑลกวางสี มีประชากรชาวจ้วง 70% ใช้ภาษาสำเนียงอู๋หมิงเป็นหลัก จากข้อมูลในรายการคำศัพท์ภาษาจ้วงเหนือ พบว่า เสียง r ในภาษาอู๋หมิง เป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง h ของคำในภาษาไทย ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
คำภาษาอู๋หมิง (r) ร่าว หรื่อ ริว ร้าบ หราม ร้อน หรา
คำภาษาไทย (h) หัว หู หิ้ว หาบ หาม หั่น หา
ภาษาจ้วงใต้กับภาษาไทย (ปราณี:2535) จ้วงใต้ คือชาวจ้วงที่อาศัยกระจายอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน มีประชากรประมาณ 30% ของชาวจ้วงทั้งหมด ใช้ภาษาเต๋อป่าว เป็นหลัก จากข้อมูลในพจนานุกรม พบว่า เสียง r ในภาษาเต๋อป่าว เป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง kh ของคำในภาษาไทย ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
คำภาษาเต๋อป่าว (r) raeux raix rawj reg ryaek ryaengz ryewjgoi
คำภาษาไทย (kh) ควัน ขาด คล้าย คว้าน แคะ ขาน เขย่ง
ภาษาไทอาหม กับภาษาไทย(บรรจบ:2526) คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น ห. ไทอาหมออกเสียงเป็น ร. ตัวอย่างคำเช่น
คำภาษาไทอาหม (ร) ริ้น ร้าย รุก หราบ หร่า หร่อ รอก
คำภาษาไทย (ห) หิน หาย หก หาบ ห่า ห่อ หอก
ภาษาถิ่นตระกูลไทย (เรียกตามเรืองเดช,2531) h แทนด้วย r ในภาษาไทยถิ่นอีสาน - ภาษาไทย ตัวอย่างคำเช่น
คำภาษาไทย (ร) รัก ร้อน เรือน รุ้ง เรียน
คำภาษาไทยถิ่นอีสาน (ฮ) ฮัก ฮ้อน เฮือน ฮุ้ง เฮียน
คำภาษาไทยถิ่นเหนือ (ฮ) ฮัก ฮ้อน เฮือน ฮุ้ง(ลุ่ง) เฮียน
เสียงปฏิภาคคู่อื่นๆ ในภาษาตระกูลไท มีลักษณะอย่างไร ในที่นี้จะยกตัวอย่างเสียงปฏิภาคคู่อื่นๆ ที่พบระหว่างภาษาต่างๆ ในภาษาตระกูลไท เช่น
ภาษาถิ่นตระกูลไทย
c แทนด้วย ch ในภาษาไทยถิ่นเหนือ - ภาษาไทย / ca: / - / cha: / “ช้าง”
h แทนด้วย  ในภาษาไทยถิ่นใต้ - ภาษาไทย / ha:n / - / a:n / “งาน”
ภาษาไทพ่าเก กับภาษาไทย (บรรจบ:2526) ไทพ่าเกออกเสียง ฝ. และ ฟ. เป็นเสียง พ. /f – ph/ เช่น เรียกไม้ไผ่ว่า พ่าก และ
ออกเสียง บ. เป็น ม. /b – m/ เช่นเรียกต้นบอนว่า ม่อน ส่วนเสียง ด. ก็ออกเสียง เป็น น. /d – n/
ภาษาไทคำตี่ กับภาษาไทอาหม (Gurdon:1985,อ้างในสุริยา :2548) เกอร์ดอนเล่าว่า ภาษาไทคำตี่ใกล้เคียงกับภาษาไทอาหมมาก ในจำนวนคำภาษาไทอาหมและภาษาไทคำตี่ 32 คำที่เกอร์ดอนนำมาเปรียบเทียบกัน ปรากฏว่าเหมือนกันถึง 18 คำ ที่ต่างก็ต่างปะนอย่างเป็นปฏิภาค (correspondence) ทำให้ตั้งกฎเกณฑ์ได้ เช่น ถ้าออกเสียงพยัญชนะต้น บ. ในภาษาไทอาหม จะกลายเป็นเสียงพยัญชนะต้น ม. ในภาษาไทคำตี่ เช่นในคำว่า “บ้าน (หมู่บ้าน)”
ภาษาไทยกับภาษาไทอาหม(บรรจบ:2526) คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น ว. ไทอาหมออกเสียงเป็น บ. ตัวอย่างคำเช่น
คำภาษาไทย (ว) หวี แหวน หวาย
คำภาษาไทอาหม (บ) บี แบน บาย
ภาษาไทยกับภาษาไทเมา (บรรจบ:2526) คนที่นี่ออกเสียง น. เป็น ล.ทุกคำ เมื่อฟังเขาพูดถึงต้องถ่ายทอดจากเสียง ล.เป็น น. ถึงพอจะเข้าใจได้
คำภาษาไทย (น) เนื้อ น้ำ นิ่ง นั่ง นอน
คำภาษาไทเมา (ล) เล่อ ล่ำ เล่ง ลั่ง ล้อน
ภาษาไทยกับภาษาไทเขิน (บรรจบ:2526) มีเสียงปฏิภาคในกลุ่มเสียงพ่นลม กับเสียงไม่พ่นลม เช่น ดังตัวอย่างคำ
คำภาษาไทย (ท,ป) ทาง ประโยชน์ ประการ
คำภาษาไทเขิน (ต,ผ) ต้าง ผะโหยด ผการ
ภาษามูลัม กับภาษาไทย (สุริยา:2548) คำที่ในภาษาตระกูลไทออกเสียงว่า “ตา” และ “ตาย” นั้น ภาษามูลัมออกเสียงเป็น ma และ pai ตัวอย่างคำเดียวกันนี้ ข้อมูลจาก Liang Min and Zhang Junru (梁敏,张均如:1996) เสียงพยัญชนะต้น ต ในภาษาไทยเป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง /mt/ ในภาษามลาย คือ “ตา” mata กับ “ตาย” matay

ภาษาจ้วงใต้กับภาษาไทย (หลี่ฟู่เซิน:2539)
คำภาษาเต๋อป๋าว (ต) ตอง ตำ ต๋ง ตุ๋ง ต๋าง
คำภาษาไทย (ท) ทุ่ง ทอ ถัง ท้อง ถึง
ภาษาฉาน กับภาษาไทย ภาษาฉานออกเสียง ร เป็น ล ส่วนพยัญชนะต้นเสียง /d/ ในภาษาไทยเป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง / l / ในภาษาฉาน ตัวอย่างคำเช่น
คำภาษาฉาน (ล) ลุ้ง ลั้ง หลี เหลิน
คำภาษาไทย (ร,ด) รุ้ง รัง ดี เดือน
ภาษาต้ง กับภาษาไทย เสียง /l,j/ ในภาษาต้ง เป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง /d,b/ ในภาษาไทยตัวอย่างคำเช่น
คำภาษาต้ง (l,j) lai55 jan22
คำภาษาไทย (d,b) ดี บ้าน
ภาษาสุ่ย กับภาษาไทย เสียง /t,p,h,j/ในภาษาสุ่ย เป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง /th,ph,s,k/ ในภาษาไทยตามลำดับ ตัวอย่างคำเช่น
คำภาษาสุ่ย (t,p,h,j) ta24 pu53 ha:m24 ju31
คำภาษาไทย (th,ph,s,k) ถึง พ่อ สาม กู
ภาษาหลี กับภาษาไทย เสียง/f,v/ ในภาษาหลีเป็นเสียงปฏิภาคกับเสียง /s/ ในภาษาไทย ตัวอย่างคำเช่น
คำภาษาหลี (f,v) fu11 fu:t55 va:u53 ve:g’11
คำภาษาไทย (s) สาม สิบ สุด เสื้อ
ภาษาลาเจีย กับภาษาไทย (梁敏,张均如:1996) คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น ภาษาไทยออกเสียงเป็น ต ไทอาหมออกเสียงเป็น ปล ตัวอย่างคำเช่น
คำภาษาลาเจีย (ปล) pla plei plak pluk
คำภาษาไทย (ต) ตา ตาย ตั๊ก(แตน) ตูก

จากการวิเคราะห์ลักษณะการปฏิภาคท้ายตารางที่ 3 ตัวอย่างคำที่มีความสัมพันธ์แบบปฏิภาคในภาษาตระกูลไทต่างๆ มีลักษณะการปฏิภาคแสดงในตารางที่ 4 ต่อไปนี้

ตารางที่ 4 ตัวอย่างลักษณะคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงปฏิภาคในภาษาตระกูลไท
การเปรียบเทียบภาษา ตัวอย่างคำในภาษาตระกูลไทที่พยัญชนะ
ต้นเป็นเสียงปฏิภาค ลักษณะการปฏิภาค
1 2 3 4 5 6
อู๋หมิง - ไทย ร่าว หรื่อ ริว ร้าบ หราม ร้อน หรา
หัว หู หิ้ว หาบ หาม หั่น หา √ √ √ √ √
เต๋อป๋าว - ไทย ตอง ตำ ต๋ง ตุ๋ง ต๋าง
ทุ่ง ทอ ถัง ท้อง ถึง √ √ √ √
อาหม - ไทย ริ้น ร้าย รุก หราบ หร่า หร่อ รอก
หิน หาย หก หาบ ห่า ห่อ หอก √ √ √ √
อีสาน - ไทย ฮัก ฮ้อน เฮือน ฮุ้ง เฮียน
รัก ร้อน เรือน รุ้ง เรียน √
ไทเมา - ไทย เล่อ ล่ำ เล่ง ลั่ง ล้อน
เนื้อ น้ำ นิ่ง นั่ง นอน √ √ √ √
ไทเขิน - ไทย ทาง ประโยชน์ ประการ
ต้าง ผะโหยด ผการ √ √
มู่หล่าว - ไทย ma pai / mata matay
ตา ตาย / ตา ตาย √
คำตี่ - ไทย ฟ้า ม่าน
พ้า บ้าน √
ฉาน - ไทย ลุ้ง ลั้ง หลี เหลิน
รุ้ง รัง ดี เดือน √ √
ต้ง - ไทย lai55 jan22
ดี บ้าน √ √
สุ่ย - ไทย ta24 pu53 ha:m24 ju31 ja:u33
ถึง พ่อ สาม กู เอว √ √ √
หลี - ไทย ba:n53 fu11 fu:t55 va:u53 ve:g’11
เหมือน สาม สิบ สุด เสื้อ √ √ √
ลาเจีย - ไทย pla plei plak pluk
ตา ตาย ตั๊ก(แตน) ตูก √ √

จากการวิเคราะห์ลักษณะปฏิภาคของคำในตัวอย่างภาษาตระกูลไทต่างๆข้างต้นจะเห็นว่า ลักษณะการปฏิภาคที่ทุกภาษามีคือ อย่างน้อยมีการปฏิภาคลักษณะที่ 1 และ 2 ซึ่งหมายถึง มีส่วนที่เหมือนกันทั้งคำและใกล้เคียงกันทั้งคำ มีบางภาษาเท่านั้นที่ไม่มี อาจเป็นเพราะข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ไม่เพียงพอก็เป็นได้ หากมีข้อมูลรายการคำศัพท์มากกว่านี้ อาจตัดสินได้เสียเลยว่า ต้องมีลักษณะการปฏิภาคแท้แบบที่ 1 แต่อย่างไรก็ตาม ในภาษาที่ไม่มีข้อมูลลักษณะปฏิภาคแท้ ก็ยังมีลักษณะปฏิภาคแบบอื่นๆ อันเป็นหลักฐานที่สามารถระบุความสัมพันธ์ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เป็นคำศัพท์ที่มีต้นกำเนิดมาจากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเดียวกัน เป็นหลักฐานที่นำไปสู่การสรุปว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายเดียวกันได้

บทสรุป
จากข้อมูลการเปรียบเทียบตัวอย่างคำภาษาจ้วงทั้งจ้วงเหนือและจ้วงใต้กับภาษาไทย การเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาไทอาหม การเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาไทยถิ่นอีสานและถิ่นเหนือข้างต้นจะสังเกตเห็นว่า เสียงปฏิภาคที่ปรากฏเด่นชัดคือการปฏิภาคระหว่างเสียง /r/ – /h/ – /k/ – /kh/ ซึ่งลักษณะการปฏิภาคแบบนี้ก็พบในภาษาจีนกับภาษาไทยด้วยเช่นกัน
และจากข้อมูลเสียงปฏิภาคอื่นๆ ระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย และภาษาต่างๆในภาษาตระกูลไท พบว่า คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงปฏิภาค มีลักษณะการปฏิภาคเป็นไปในรูปแบบและลักษณะเดียวกัน ที่สำคัญคือ ทุกภาษามีลักษณะการปฏิภาคแท้ คือต่างกันเพียงเสียงพยัญชนะต้นเท่านั้น ส่วนเสียงสระ พยัญชนะท้าย และวรรณยุกต์เหมือนกันทุกประการ
สำหรับความสัมพันธ์ของภาษาจีนกับภาษาจ้วงนั้น หลี่ ฟางกุ้ย (1997) จัดว่า “ภาษาจ้วงเป็นภาษาที่อยู่ในแขนงภาษาจ้วง-ไต สาขาภาษาจ้วงต้ง ตระกูล ภาษาจีน-ธิเบต” โดยที่ในตระกูลภาษาจีนธิเบต แบ่งเป็น 4 สาขาคือ สาขาภาษาจีน สาขาภาษาธิเบตพม่า สาขาภาษาเย้า และสาขาภาษาจ้วงต้ง ในสาขาภาษาจ้วงต้งแบ่งเป็น 3 แขนงคือ แขนงภาษาจ้วงไต (ประกอบด้วยภาษาจ้วง ภาษาปู้อี ภาษาไต ภาษาไทย ภาษาลาวเป็นต้น) แขนงภาษาต้งสุ่ย (ประกอบด้วยภาษาต้ง ภาษาสุ่ย ภาษามูหล่าว ภาษาเหมาหนาน ภาษาลาเจีย ภาษาหยางกวาง ภาษาโม่วเป็นต้น) และแขนงภาษาหลี (ประกอบด้วยภาษาหลี)
สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่างภาษาไทยกับภาษาจีนดังแผนภูมิต่อไปนี้

แผนภูมิภาษาตระกูลจีนธิเบต : ดัดแปลงจาก LiFanggui (1997)

สาขาภาษาจีน (สาขาภาษาจีน - ไทย)
ภาษาตระกูลจีนธิเบต สาขาภาษาธิเบตพม่า ภาษาไต
สาขาภาษาเย้า แขนงภาษาจ้วงไต ภาษาไทย
สาขาภาษาจ้วงต้ง แขนงภาษาต้งสุ่ย ภาษาลาว
แขนงภาษาหลี

หากนับตามความสัมพันธ์ฉันญาติ นั่นก็หมายความว่า ภาษาไทยเป็นลูกของภาษาจ้วงเป็นหลานของภาษาจีน ทำให้พบคำศัพท์ร่วมเชื้อสายหลงเหลือให้เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ทางสายเลือดได้
และข้อมูลความสัมพันธ์แบบเสียงปฏิภาคระหว่างภาษาไทยกับภาษาจีน ทั้งเสียง /r/ – /h/ – /k/ – /kh/ และเสียงอื่น ๆ อีกหลายคู่ เป็นจุดน่าสงสัยว่า ภาษาไทยน่าจะมีความใกล้ชิดกับภาษาจีนเหมือนอย่างที่ภาษาจ้วงใกล้ชิดกับภาษาจีน นั่นคือ เป็นลูกของจีน – ทิเบต ร่วมท้องเดียวกันกับภาษาจ้วง นำไปสู่การสนับสนุนแนวคิด “สาขาภาษาจีน – ไทย” (ข้อความที่แรเงาในแผนภูมิภาษาข้างต้น) ที่แน่นหนายิ่งขึ้น


เชิงอรรถ

บรรณานุกรม
จิตร ภูมิศักดิ์.(2519) ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1,
กรุงเทพฯ:โครงการตำราสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ.(2541) พจนานุกรมจีน-ไทย.กรุงเทพฯ:รวมสาส์น.
บรรจบ พันธุเมธา.(2526) กาเลหม่านไตในรัฐชานและคำตี่เมืองขาง. คณะอนุกรรมการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทยในคณะกรรมการ
เอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์.(2547) ไทยสิบสองปันนาเล่ม 1 .พิมพ์ครั้งที่ 3 ,กรุงเทพฯ:ศยาม.
ปราณี กุละวณิชย์.(2535) พจนานุกรมจ้วงใต้ – ไทย. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี กุละวณิชย์และคณะ.(2527) ศัพท์ไท 6 ภาษา. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมชฌ สอดส่องกฤษ (2550) ชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. อุบลราชธานี : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี, เอกสารอัดสำเนาเย็บเล่ม.
ลัดดาวัลย์ ชัยสกุลสุรินทร์(2538) ภูมิศาสตร์ภาษาจังหวัดลพบุรี : การศึกษาคำศัพท์และเสียงปฏิภาค ชุด ช-จ-ซ. วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2531)ภาษาถิ่นตระกูลไทย. พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ.(2551) ภาษาไทยถิ่น.พิมพ์ครั้งที่ 3,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
หลี่ฟู่เซินและคณะ เขียน,เหลียงหยวนหลิง แปล (2539)ชาวจ้วง.กรุงเทพฯ:สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์.
สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ. (2550) การศึกษาภาษาไทและภาษาไทเปรียบเทียบ. เชียงใหม่ :งานวิจัยภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุริยา รัตนกุล.(2548) นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท. กรุงเทพฯ:สหธรรมิก.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ.(2528) เสียงปฏิภาคระหว่างภาษาไตเมา ไตคำตี่และลานนา. วารสารภาษาและวัฒนธรรม 5, 2 (กรกฎาคม –
ธันวาคม) : 27-49.
Benedict Paul K.(1942)Thai, Kadai and Indonesian: A new alignment in Southeastern Asia, American Anthropologist 44:576-
601.
-----------------. (1975) Austro-Thai: Language and culture. New Haven: HRAF Press.
Brown, J. Marvin (1965) From Ancient Thai to Modern Dialects. In From Ancient Thai to Modern Dialects, and Other Writings
on Historical Thai Linguistics, Bangkok : White Lotus.
Chamberlain,James R. (1972) ‘The Origin of The Southwestern Tai’ in Bullentin des Amis du Royaume Laos,7-8:233 – 44
Vientiane
David Crytal. (1997) A Dictionary of Linguistics And Phonetics. Malden: Blackwell, p. 96.
Diffloth, Gérard.( 1974) Austro-Asiatic Languages. Encyclopaedia Britannica. 480-484.
Dodd,William C.(1923) The Tai Race-Elder Brother of Chinese.Cedar Rapids,Iowa,The Torch Press.
Edmondson, J.A. and D.B. Solnit eds. (1997) Comparative Kadai: the Tai branch. Dallas: Summer Institute of Linguistics and
the University of Texas at Arlington.
Frank M.Lebar. (1964) Ethnic Groups of Mainland Southeast Asia. New Haven,Conn: HumanRelations Area Files.
Gedney,William J. (1972) ‘A checklist for determining tones in Tai dialects’ , in Studies in Linguistics in honor of Georg L.
Trager. The Haug.Mouton.
Gurdon, Philip Richard Thornhagh, (1895), “On the Khamtis”, Journal of the Royal Asiatic Society, London, pp.157-64.
Grierson,G.A. (1903 - 28) Linguistics survey of India,11vols.Culcutta,Office of the Superementendent of Government
Printing.
Hartman, John F. (1986) ‘Style, Scope, and Rigor in Comparative Tai Research’ in Bickner, Robert J, Thomas J. hudak
and Pacharin Peyasantiwong (eds.)
Li, Fang-Kuei, (1957a), “The Jui dialect of Po-ai and the northern Tai”, Academia Sinica/Bulletin of the Institute of History
and Philology, Taipei, volume 29.1: pp.315-22.
----------------------, (1957b), “The Jui dialect of Po-ai: phonology”, Academia Sinica/Bulletin of the Institute of History and
Philology, Taipei, volume 28.2: pp.551-6.
----------------------, (1959), “Classification by vocabulary: Tai dialects” Anthropological Linguistics, volume 1.2: pp.15-21.
----------------------, (1960), “A tentative classification of Tai dialects”, in Stanley Diamond (editor), Culture in history: essays in
honor of Paul Radin, New York, Columbia U. Press: pp.951-8.
----------------------, (1965), “The Tai and Kam-Sui languages”, in Indo-Pacific linguistic studies (Lingua 14-15), vol.i,: pp.148-79.
----------------------, (1976), “Sino-Tai” in Computational Analyses of Asian & African Languages, No.3, Mantaro J. Hashimoto
(editor), March: pp.39-48.
----------------------, (1977), A handbook of comparative Tai (Oceanic Linguistics special publication no.15), Honolulu, University
Press of Hawaii, xxii, p.389.
Manomaivibool Prapin.(1975) A Study of Sino-Thai Lexical Correspondence, PhD Dissertation, University Of Washington.
Robinson, Edward Raymond III.(1994) Further classification of Southwestern Tai "P" group languages. Thesis (M.A.)
Chulalongkorn University.
Somsong Burusphat.(2006) Northern Zhuang Chinese Thai English Dictionary. Bangkok :Ekphimthai Ltd.
Wilailuck Daecha. (1986) A Comparative study of the phonology of six Tai dialects spoken in Amphoe Tha Tako,
Changwat Nakhon Sawan. Thesis (M.A.) Chulalongkorn University.
龚群虎.(2002) 《汉泰关系词的时间层次》上海:复旦大学出版社。
郭锡良.(1986) 《汉字古音手册》北京:北京大学出版社。
梁敏,张均如.(1996) 《侗台语族概论》北京:社会科学出版社。

สื่อสารสนเทศ
Dong Language 侗语 ในเว็ปไซต์ Baidu Baike http://baike.baidu.com/view/928668.htm (เมื่อ 22 กันยายน 2552)
Sui Language 水语ในเว็ปไซต์ Baidu Baike http://baike.baidu.com/view/533858.htm (เมื่อ 22 กันยายน2552)
Li Language 黎语ในเว็ปไซต์ Baidu Baike http://baike.baidu.com/view/533862.htm (เมื่อ 22 กันยายน2552)