สถานภาพการศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนของไทย
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อยในประเทศลุ่มน้ำโขงเป็นประเด็นหนึ่งที่นักวิชาการให้ความสนใจ เพราะสามารถสืบสาวถึงประวัติศาสตร์ได้หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์และภาษา นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และภาษาตระกูลไทในปัจจุบัน มุ่งประเด็นไปที่ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ดังปรากฏผลงานวิจัยที่ประจักษ์ แต่ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยของประเทศจีนที่สามารถอ้างอิงได้ นักวิชาการส่วนใหญ่ที่ไม่รู้ภาษาจีน กระทำได้ทางเดียวคือพึ่งข้อมูลที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งบางครั้งข้อมูลผิดพลาด ส่งผลให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อน บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการศึกษาประเด็นชนกลุ่มน้อยของจีนในประเทศไทยสามประการคือ ข้อมูลทั่วไปและนโยบายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน เหตุผลที่วงวิชาการไทยสมควรเร่งพัฒนาฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน และสถานภาพการศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อยของจีนประเทศไทย
泰国的中国少数民族研究状况
摘要:
湄公河流域国家的民族专题是学者的一个重点研究对象。因可以追述到其他相关的知识,尤其是民族历史及语言。相关的研究成果表明,目前泰国历史以及台语(Tai language)史研究对中国少数民族给以程度的重视关注,但泰国则仍然缺乏可参考的资料。泰国非汉语学者唯一可依靠英文专著的资料,而其专著确实有些不明之处,导致研究成果无法避免的残缺误解。本文讨论关于泰国对中国少数民族研究状况的三个问题:即中国少数民族及其相关概况、泰国学者应立即为中国少数民族资料建挡的缘故、泰国目前的中国少数民族研究状况。
关键词:少数民族 、中国少数民族、民族学、中国学研究
The status of studying Chinese ethnic minorities in Thailand.
Abstract
Investigating the ethnic minorities in Mekong river area countries has been interested by researchers because it can link to other notable issues, especially the issues of history of ethnic groups and languages. Historians studying history of the Tai ethnic minority and the Tai family languages usually explore the ethnic minorities in China. For Thai historians, there is still none of data base about Chinese ethnic minorities that can be firm reference. Most of the researchers who are unable to understand Chinese language usually count on English language data which, sometimes, contains errors, causing incorrect results in their study. This article presents three issues related to Chinese ethnic minorities which are largely examined in Thailand, namely 1) general information and policies about ethnic minorities in China, 2) the rationale for developing data base of Chinese ethnic minorities in Thai academic system and 3) the status of studying Chinese ethnic minorities in Thailand.
Key words: ethnic minorities, Chinese ethnic minorities, ethnic group, Chinese Study
บทนำ
ในบริเวณประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อันได้แก่จีน พม่า เวียดนาม ลาว ไทย และกัมพูชา มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอารยธรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมและภาษาแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก นักปราชญ์ตะวันตก Gorge Condominas and Richard Pottier (1982) กล่าวว่า บริเวณเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เป็นภาคพื้นดิน เป็นบริเวณที่เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นที่มีมนุษย์ต่างชาติพันธุ์และต่างภาษารวมกันอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดและปะปนกันอย่างซับซ้อนที่สุด (อ้างใน สุริยา :2531) กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ ถือกำเนิด ตั้งรกราก อพยพย้ายถิ่นฐาน และอยู่อาศัยกระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณประเทศลุ่มน้ำโขงมาตั้งแต่ยังไม่มีการแบ่งอาณาเขตเป็นประเทศต่างๆอย่างในปัจจุบัน บางกลุ่มมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่าชนที่เป็นเจ้าของประเทศในปัจจุบันเสียอีก บางกลุ่มถูกกลืนกลายไปกับชนกลุ่มอื่นกระทั่งสูญหายไป บางกลุ่มอาศัยปะปนกับชนเผ่าต่างๆ เกิดการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์และหลอมรวมกันวิวัฒนาการเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่ขึ้น บางกลุ่มแบ่งแยกอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อื่น จนต่อมามีอำนาจครอบครองและก่อตั้งอาณาเขตประเทศและรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน บางกลุ่มก็มีถิ่นกำเนิดและตั้งถิ่นฐานอาศัยติดแผ่นดินในบริเวณเดิมมาแต่อดีต ต่อมามีกำลังเข้มแข็ง มีอำนาจครอบครองชนเผ่าอื่นจนรวบรวมเข้าเป็นประเทศเป็นต้น นอกจากนี้แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มิได้มีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากแต่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงและติดต่อสัมพันธ์กันมาโดยตลอด ทั้งที่อยู่ในฐานะผู้ถูกครอบครองและเป็นผู้ครอบครอง หรือมีความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระต่อกัน แต่มีการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับชนชาติใดใดในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องศึกษาต้นกำเนิดของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอารยธรรมเกี่ยวเนื่องกันมาแต่โบราณอย่างขาดเสียมิได้
ข้อมูลทั่วไปและนโยบายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล มีเนื้อที่ 9,596,960 ตารางกิโลเมตร หรือเปรียบเทียบอย่างคร่าวๆ คือมีอาณาเขตเท่ากับ 22 เท่าของประเทศไทยโดยประมาณ จากการสำรวจจำนวนประชากรเมื่อปี 2006 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,313,973,713 คน ด้วยอาณาบริเวณที่ครอบคลุมพื้นอันกว้างใหญ่นี้เอง ทำให้ประเทศจีนรวบรวมเอาประชากรที่ต่างชาติพันธุ์ไว้มากมายถึง 56 ชนเผ่าอยู่ด้วยกัน รัฐบาลจีนแบ่งกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆโดยใช้เกณฑ์เรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมา การสืบเชื้อสาย ประเพณีวัฒนธรรม ถิ่นที่อยู่ ศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามความเห็นชอบของกลุ่มชาติพันธุ์เอง กำหนดกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศออกเป็น 56 กลุ่ม จากการสำรวจจำนวนประชากรจีนในปี 1996 พบว่าประเทศจีนมีชาวฮั่น 96.3% และ 4.7% เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น (Zhang Tianlu:2004) รัฐบาลจีนจึงเรียกกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่นอกเหนือจากชาวฮั่นว่า “ชนกลุ่มน้อย”
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อยในประเทศลุ่มน้ำโขงเป็นประเด็นหนึ่งที่นักวิชาการให้ความสนใจ เพราะสามารถสืบสาวถึงประวัติศาสตร์ได้หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์และภาษา นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และภาษาตระกูลไทในปัจจุบัน มุ่งประเด็นไปที่ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ดังปรากฏผลงานวิจัยที่ประจักษ์ แต่ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยของประเทศจีนที่สามารถอ้างอิงได้ นักวิชาการส่วนใหญ่ที่ไม่รู้ภาษาจีน กระทำได้ทางเดียวคือพึ่งข้อมูลที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งบางครั้งข้อมูลผิดพลาด ส่งผลให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อน บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการศึกษาประเด็นชนกลุ่มน้อยของจีนในประเทศไทยสามประการคือ ข้อมูลทั่วไปและนโยบายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน เหตุผลที่วงวิชาการไทยสมควรเร่งพัฒนาฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน และสถานภาพการศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อยของจีนประเทศไทย
泰国的中国少数民族研究状况
摘要:
湄公河流域国家的民族专题是学者的一个重点研究对象。因可以追述到其他相关的知识,尤其是民族历史及语言。相关的研究成果表明,目前泰国历史以及台语(Tai language)史研究对中国少数民族给以程度的重视关注,但泰国则仍然缺乏可参考的资料。泰国非汉语学者唯一可依靠英文专著的资料,而其专著确实有些不明之处,导致研究成果无法避免的残缺误解。本文讨论关于泰国对中国少数民族研究状况的三个问题:即中国少数民族及其相关概况、泰国学者应立即为中国少数民族资料建挡的缘故、泰国目前的中国少数民族研究状况。
关键词:少数民族 、中国少数民族、民族学、中国学研究
The status of studying Chinese ethnic minorities in Thailand.
Abstract
Investigating the ethnic minorities in Mekong river area countries has been interested by researchers because it can link to other notable issues, especially the issues of history of ethnic groups and languages. Historians studying history of the Tai ethnic minority and the Tai family languages usually explore the ethnic minorities in China. For Thai historians, there is still none of data base about Chinese ethnic minorities that can be firm reference. Most of the researchers who are unable to understand Chinese language usually count on English language data which, sometimes, contains errors, causing incorrect results in their study. This article presents three issues related to Chinese ethnic minorities which are largely examined in Thailand, namely 1) general information and policies about ethnic minorities in China, 2) the rationale for developing data base of Chinese ethnic minorities in Thai academic system and 3) the status of studying Chinese ethnic minorities in Thailand.
Key words: ethnic minorities, Chinese ethnic minorities, ethnic group, Chinese Study
บทนำ
ในบริเวณประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อันได้แก่จีน พม่า เวียดนาม ลาว ไทย และกัมพูชา มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอารยธรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมและภาษาแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก นักปราชญ์ตะวันตก Gorge Condominas and Richard Pottier (1982) กล่าวว่า บริเวณเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เป็นภาคพื้นดิน เป็นบริเวณที่เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นที่มีมนุษย์ต่างชาติพันธุ์และต่างภาษารวมกันอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดและปะปนกันอย่างซับซ้อนที่สุด (อ้างใน สุริยา :2531) กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ ถือกำเนิด ตั้งรกราก อพยพย้ายถิ่นฐาน และอยู่อาศัยกระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณประเทศลุ่มน้ำโขงมาตั้งแต่ยังไม่มีการแบ่งอาณาเขตเป็นประเทศต่างๆอย่างในปัจจุบัน บางกลุ่มมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่าชนที่เป็นเจ้าของประเทศในปัจจุบันเสียอีก บางกลุ่มถูกกลืนกลายไปกับชนกลุ่มอื่นกระทั่งสูญหายไป บางกลุ่มอาศัยปะปนกับชนเผ่าต่างๆ เกิดการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์และหลอมรวมกันวิวัฒนาการเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่ขึ้น บางกลุ่มแบ่งแยกอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อื่น จนต่อมามีอำนาจครอบครองและก่อตั้งอาณาเขตประเทศและรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน บางกลุ่มก็มีถิ่นกำเนิดและตั้งถิ่นฐานอาศัยติดแผ่นดินในบริเวณเดิมมาแต่อดีต ต่อมามีกำลังเข้มแข็ง มีอำนาจครอบครองชนเผ่าอื่นจนรวบรวมเข้าเป็นประเทศเป็นต้น นอกจากนี้แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มิได้มีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากแต่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงและติดต่อสัมพันธ์กันมาโดยตลอด ทั้งที่อยู่ในฐานะผู้ถูกครอบครองและเป็นผู้ครอบครอง หรือมีความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระต่อกัน แต่มีการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับชนชาติใดใดในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องศึกษาต้นกำเนิดของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอารยธรรมเกี่ยวเนื่องกันมาแต่โบราณอย่างขาดเสียมิได้
ข้อมูลทั่วไปและนโยบายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล มีเนื้อที่ 9,596,960 ตารางกิโลเมตร หรือเปรียบเทียบอย่างคร่าวๆ คือมีอาณาเขตเท่ากับ 22 เท่าของประเทศไทยโดยประมาณ จากการสำรวจจำนวนประชากรเมื่อปี 2006 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,313,973,713 คน ด้วยอาณาบริเวณที่ครอบคลุมพื้นอันกว้างใหญ่นี้เอง ทำให้ประเทศจีนรวบรวมเอาประชากรที่ต่างชาติพันธุ์ไว้มากมายถึง 56 ชนเผ่าอยู่ด้วยกัน รัฐบาลจีนแบ่งกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆโดยใช้เกณฑ์เรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมา การสืบเชื้อสาย ประเพณีวัฒนธรรม ถิ่นที่อยู่ ศาสนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามความเห็นชอบของกลุ่มชาติพันธุ์เอง กำหนดกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศออกเป็น 56 กลุ่ม จากการสำรวจจำนวนประชากรจีนในปี 1996 พบว่าประเทศจีนมีชาวฮั่น 96.3% และ 4.7% เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น (Zhang Tianlu:2004) รัฐบาลจีนจึงเรียกกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่นอกเหนือจากชาวฮั่นว่า “ชนกลุ่มน้อย”
ภาพจาก http://www.wenbao.net/html/whyichan/nation/images/china2.jpg
จากแผนที่จะเห็นว่า ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนกระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วทั้งประเทศ บริเวณที่มีจุดแสดงคือที่ตั้งของชุมชนกลุ่มน้อย สามารถแบ่งตามภูมิภาคของประเทศจีนดังนี้
1. ทางตอนใต้และตะวันออกรวมเกาะไต้หวัน มีทั้งหมด 31 ชนเผ่า ได้แก่เผ่า (1) อาชัง (2) เผ่าไป๋ (3) เผ่าปลัง (4) เผ่าปูยี (5) เผ่าไต (6) เผ่าเต๋ออัง (7) เผ่าตรุง (8) เผ่าฮานี (9) เผ่าหุย (10)เผ่าจิ่งโป (11)เผ่าจีโน (12)เผ่าลาหู่ (13)เผ่าหม่าน (14) เผ่าแม้ว (15) เผ่ามนปา (16)เผ่าน่าซี (17)เผ่านู่ (18)เผ่าสุย (19)เผ่าเซอ (20)เผ่าว้า (21)เผ่าเย้า (22)เผ่าอี๋ (23)เผ่าจ้วง (24)เผ่าพูมี (25)เผ่าลี่ซู (26)เผ่าหลี (27) เผ่าจิง (28)เผ่าต้ง (29)เผ่าเหมาหนาน (30)ถู่เจีย (31)เผ่าเกาซาน (มีถิ่นที่อยู่ที่เกาะไต้หวันแห่งเดียว)
2. ทางตอนกลางทั้งหมด 7 เผ่าได้แก่ (32) เผ่าตงเซียง (33)เผ่าเป่าอัน (34)เผ่าเชียง (35) เผ่ายวี่กู่ (36) เผ่าโลห์ปา (37)เผ่ายีลาว (38) เผ่าถู่
3.ทางตอนเหนือของประเทศ ทั้งหมด 7 เผ่า ได้แก่ (39) เผ่าเฮอเจิน (34)เผ่าตะอูร์ (41)เผ่าโอโรเคว็น (42)เผ่าเฉาเสี่ยน (43) เผ่าเอเวนกิ (44)เผ่ามองโกล (45)เผ่าหม่าน
4. ทางตะวันตกของประเทศ ทั้งหมด 10 เผ่า ได้แก่ (46)เผ่าธิเบต (47)เผ่าซาลาร์ (48)เผ่าทาร์จิค (49)เผ่าซีโป๋ (50)เผ่าทาทาร์ (51)เผ่าคาซัค (52)เผ่าอุสเบค (53)เผ่ารัสเซีย (54)เผ่าเวยอูร์ (55)เผ่าคัลคัส
นอกเหนือจากชาวฮั่นแล้ว สาธารณรัฐประชาชนจีนมีชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ 55 ชนเผ่า ชนกลุ่มน้อยแต่ละชนเผ่ามีขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ การดำรงชีวิต การแต่งกายและที่สำคัญมีภาษาเป็นของตนเองแตกต่างกันไป ชนเผ่าบางกลุ่มกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศจีน แต่บางชนเผ่ารวมตัวกันอยู่บริเวณหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าที่มีเครือญาติตั้งถิ่นฐานอยู่ทั้งในประเทศจีนและไทยเป็นจำนวนไม่น้อย ชนเผ่าต่างๆ บ้างเป็นผู้คนที่อยู่ติดดินแดนมาช้านาน บ้างอพยพเข้ามาภายหลัง หรือเป็นชนเผ่าที่เป็นชาติพันธุ์ของประเทศใกล้เคียงอพยพถ่ายเทไปมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนประชากรของแต่ละชนเผ่ามีมากน้อยแตกต่างกันไป ชนเผ่าบางเผ่าเคยมีบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์จีน กระทั่งเคยเรืองอำนาจครอบครองประเทศ ด้วยนโยบายชนกลุ่มน้อยที่ได้ผลของรัฐบาลจีน ชนกลุ่มน้อยทั้ง 55 เผ่า ดำรงและสืบทอดความเป็นชนเผ่าของตน และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ในอดีตก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ปัญหาความวุ่นวาย ปัญหาการต่อต้านรัฐบาล ปัญหาการก่อความไม่สงบของชนกลุ่มน้อยในประเทศถือเป็นปัญหาใหญ่หลวงอย่างหนึ่ง ที่ไม่อาจละเลยหรือมองข้ามได้ เมื่อก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนสำเร็จ เพื่อความมั่นคงและเป็นปึกแผ่นของประเทศ ตลอดจนเพื่อควบคุมดูแลชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่มากมายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ประเทศจีนมีนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นให้ชนกลุ่มน้อยในประเทศรู้สึกว่าตนเป็นพลเมืองคนหนึ่งของประเทศจีน นโยบายที่รัฐบาลจีนปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยในประเทศได้แก่
1.สนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียม เสมอภาคของทุกชนเผ่า
2. กำหนดให้มีเขตการปกครองตนเองของแต่ละชนเผ่า
3. พัฒนาเศรษฐกิจ อาชีพ และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
4.พัฒนาให้ชนกลุ่มน้อยมีส่วนร่วมทางการเมือง
5.พัฒนาให้ชนกลุ่มน้อยมีความรู้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
6. สนับสนุนให้ชนกลุ่มน้อยมีภาษาอักษรเป็นของตนเอง
7. ให้ความเคารพประเพณีวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
8. ให้ความเคารพต่อศาสนา ความเชื่อและอิสรภาพของชนกลุ่มน้อย
จากการดำเนินนโยบายที่รัฐบาลจีนมีต่อชนกลุ่มน้อยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่านโยบายดังกล่าวประสบความสำเร็จในระดับดี ประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลายชนเผ่าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี และร่วมกันพัฒนาประเทศได้อย่างสันติสุข ชาติพันธุ์ทั้ง 56 กลุ่มของประเทศมีความเสมอภาค สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ ที่จะนำประเทศไปสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีความพัฒนาที่ยั่งยืน
จากแผนที่จะเห็นว่า ชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนกระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วทั้งประเทศ บริเวณที่มีจุดแสดงคือที่ตั้งของชุมชนกลุ่มน้อย สามารถแบ่งตามภูมิภาคของประเทศจีนดังนี้
1. ทางตอนใต้และตะวันออกรวมเกาะไต้หวัน มีทั้งหมด 31 ชนเผ่า ได้แก่เผ่า (1) อาชัง (2) เผ่าไป๋ (3) เผ่าปลัง (4) เผ่าปูยี (5) เผ่าไต (6) เผ่าเต๋ออัง (7) เผ่าตรุง (8) เผ่าฮานี (9) เผ่าหุย (10)เผ่าจิ่งโป (11)เผ่าจีโน (12)เผ่าลาหู่ (13)เผ่าหม่าน (14) เผ่าแม้ว (15) เผ่ามนปา (16)เผ่าน่าซี (17)เผ่านู่ (18)เผ่าสุย (19)เผ่าเซอ (20)เผ่าว้า (21)เผ่าเย้า (22)เผ่าอี๋ (23)เผ่าจ้วง (24)เผ่าพูมี (25)เผ่าลี่ซู (26)เผ่าหลี (27) เผ่าจิง (28)เผ่าต้ง (29)เผ่าเหมาหนาน (30)ถู่เจีย (31)เผ่าเกาซาน (มีถิ่นที่อยู่ที่เกาะไต้หวันแห่งเดียว)
2. ทางตอนกลางทั้งหมด 7 เผ่าได้แก่ (32) เผ่าตงเซียง (33)เผ่าเป่าอัน (34)เผ่าเชียง (35) เผ่ายวี่กู่ (36) เผ่าโลห์ปา (37)เผ่ายีลาว (38) เผ่าถู่
3.ทางตอนเหนือของประเทศ ทั้งหมด 7 เผ่า ได้แก่ (39) เผ่าเฮอเจิน (34)เผ่าตะอูร์ (41)เผ่าโอโรเคว็น (42)เผ่าเฉาเสี่ยน (43) เผ่าเอเวนกิ (44)เผ่ามองโกล (45)เผ่าหม่าน
4. ทางตะวันตกของประเทศ ทั้งหมด 10 เผ่า ได้แก่ (46)เผ่าธิเบต (47)เผ่าซาลาร์ (48)เผ่าทาร์จิค (49)เผ่าซีโป๋ (50)เผ่าทาทาร์ (51)เผ่าคาซัค (52)เผ่าอุสเบค (53)เผ่ารัสเซีย (54)เผ่าเวยอูร์ (55)เผ่าคัลคัส
นอกเหนือจากชาวฮั่นแล้ว สาธารณรัฐประชาชนจีนมีชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ 55 ชนเผ่า ชนกลุ่มน้อยแต่ละชนเผ่ามีขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ การดำรงชีวิต การแต่งกายและที่สำคัญมีภาษาเป็นของตนเองแตกต่างกันไป ชนเผ่าบางกลุ่มกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศจีน แต่บางชนเผ่ารวมตัวกันอยู่บริเวณหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าที่มีเครือญาติตั้งถิ่นฐานอยู่ทั้งในประเทศจีนและไทยเป็นจำนวนไม่น้อย ชนเผ่าต่างๆ บ้างเป็นผู้คนที่อยู่ติดดินแดนมาช้านาน บ้างอพยพเข้ามาภายหลัง หรือเป็นชนเผ่าที่เป็นชาติพันธุ์ของประเทศใกล้เคียงอพยพถ่ายเทไปมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนประชากรของแต่ละชนเผ่ามีมากน้อยแตกต่างกันไป ชนเผ่าบางเผ่าเคยมีบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์จีน กระทั่งเคยเรืองอำนาจครอบครองประเทศ ด้วยนโยบายชนกลุ่มน้อยที่ได้ผลของรัฐบาลจีน ชนกลุ่มน้อยทั้ง 55 เผ่า ดำรงและสืบทอดความเป็นชนเผ่าของตน และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ในอดีตก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ปัญหาความวุ่นวาย ปัญหาการต่อต้านรัฐบาล ปัญหาการก่อความไม่สงบของชนกลุ่มน้อยในประเทศถือเป็นปัญหาใหญ่หลวงอย่างหนึ่ง ที่ไม่อาจละเลยหรือมองข้ามได้ เมื่อก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนสำเร็จ เพื่อความมั่นคงและเป็นปึกแผ่นของประเทศ ตลอดจนเพื่อควบคุมดูแลชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่มากมายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ประเทศจีนมีนโยบายต่อชนกลุ่มน้อยอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นให้ชนกลุ่มน้อยในประเทศรู้สึกว่าตนเป็นพลเมืองคนหนึ่งของประเทศจีน นโยบายที่รัฐบาลจีนปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยในประเทศได้แก่
1.สนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียม เสมอภาคของทุกชนเผ่า
2. กำหนดให้มีเขตการปกครองตนเองของแต่ละชนเผ่า
3. พัฒนาเศรษฐกิจ อาชีพ และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
4.พัฒนาให้ชนกลุ่มน้อยมีส่วนร่วมทางการเมือง
5.พัฒนาให้ชนกลุ่มน้อยมีความรู้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
6. สนับสนุนให้ชนกลุ่มน้อยมีภาษาอักษรเป็นของตนเอง
7. ให้ความเคารพประเพณีวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
8. ให้ความเคารพต่อศาสนา ความเชื่อและอิสรภาพของชนกลุ่มน้อย
จากการดำเนินนโยบายที่รัฐบาลจีนมีต่อชนกลุ่มน้อยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่านโยบายดังกล่าวประสบความสำเร็จในระดับดี ประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลายชนเผ่าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี และร่วมกันพัฒนาประเทศได้อย่างสันติสุข ชาติพันธุ์ทั้ง 56 กลุ่มของประเทศมีความเสมอภาค สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ ที่จะนำประเทศไปสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีความพัฒนาที่ยั่งยืน
เหตุใดวงวิชาการไทยจึงสมควรเร่งพัฒนาฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับขนกลุ่มน้อยในประเทศจีน
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า มณฑลยูนนาน (Yunnan) ซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อของประเทศจีนกับหลายประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การกำหนดสมาชิกประเทศลุ่มน้ำโขงในส่วนของประเทศจีนนั้น จึงมักจะนับเอาเฉพาะพื้นที่ตอนใต้ของจีน โดยเฉพาะในส่วนของมณฑลยูนนานเท่านั้น บริเวณนี้จึงนับได้ว่าเป็นต้นสายอารยธรรมสายน้ำโขง ชนกลุ่มน้อยในบริเวณดังกล่าวนี้มีมากถึง 25 ชนเผ่า ที่สำคัญชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มีหลายกลุ่มเป็นชนเผ่าเดียวกันกับที่มีอยู่ในประเทศต่างๆในประเทศลุ่มน้ำโขง รวมทั้งประเทศไทยด้วย เช่น เผ่าแม้ว เผ่าว้า เผ่าลาหู่ เผ่าตรุง เผ่าปลัง เผ่าลีซู เผ่าฮานีเป็นต้น ในช่วงก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (ก่อนปี 1949) ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ถูกกดขี่ข่มเหง ทารุณกรรม และขูดรีดอย่างแสนสาหัสจากชนชั้นศักดินาที่เป็นชาวฮั่นและชนเผ่าที่มีอำนาจเหนือกว่า เป็นเหตุให้ส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นถอยร่นลงมาตั้งถิ่นฐานตามบริเวณแนวชายแดนของประเทศลุ่มน้ำโขง และเนื่องจากชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามามีฐานะยากจน จึงตกเป็นเครื่องมือของนายทุน ในการเป็นแหล่งปลูกฝิ่นและผลิตยาเสพติด อันเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศลุ่มน้ำโขงและทั่วโลก ส่งผลร้ายต่อความมั่นคงของประเทศอย่างหนัก อันเป็นที่ทราบกันดีในยุคอดีตที่ผ่านมา
เรื่องราวของการถอยร่นลงใต้ของชนกลุ่มน้อยในช่วงระยะเวลาไม่นานมานี้นั้น ด้วยเหตุที่คนที่อยู่ร่วมเหตุการณ์ยังคงมีชีวิตอยู่ จึงสามารถสืบสาวถึงต้นกำเนิดของชาติพันธุ์ได้ไม่ยาก แต่หากนับย้อนขึ้นไปในอดีตตั้งแต่สมัยบุพกาล ผู้คนเหล่านี้อพยพย้ายถิ่น อาศัยเร่ร่อน ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้างครอบคลุมดินแดนประเทศในแถบลุ่มน้ำโขงทั่วบริเวณ เมื่อพบแหล่งทำเลที่เหมาะสมก็ตั้งหลักปักฐานขยายเผ่าพันธุ์ พัฒนาอาณาเขตของตนขึ้นมา จนปัจจุบันไม่มีหลักฐานที่จะสืบค้นได้เลยว่าต้นกำเนิดของตนมาจากที่ใด ยกตัวอย่างการสืบสาวถึงที่มาของต้นตระกูลไทยที่มีอย่างน้อย 3 ทฤษฎีที่เชื่อว่า บรรพบุรุษของคนไทยอพยพมาจากดินแดนที่เป็นประเทศจีนปัจจุบัน (นวลจันทร์:2537) คือ คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต (แต่ปัจจุบันไม่นิยมตามทฤษฎีนี้แล้วเนื่องจากบริเวณดังกล่าวอากาศหนาวเย็นมากไม่เหมาะกับการดำรงชีพ) คนไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อพยพมาจากบริเวณมณฑลซื่อชวน(เสฉวน) และคนไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อพยพมาจากบริเวณมณฑลกว่างซี นอกจากนี้ยังมีการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ว่า มีชนเผ่าที่เป็นบรรพบุรุษของคนไทยมีต้นกำเนิดและปัจจุบันก็ยังอาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นประเทศจีนในปัจจุบันอยู่ เช่น ชาวจ้วง (ปราณี:2535) ชาวไตในสิบสองปันนา (หลี่ฟังกุ้ย :1959) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสืบค้นต้นกำเนิดบรรพบุรุษไทยด้วยวิธีต่างๆ ที่สำคัญคือเรื่องการใช้ภาษาเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างงานรวบรวมศัพท์ไท 6 ภาษา ของ ปราณี กุลวนิชย์ (2535) ได้รวบรวมเปรียบเทียบคำไท ที่เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยกับภาษาของชนกลุ่มน้อยในจีน 6 ภาษาได้แก่ ภาษาไทย ภาษาลื้อ ภาษาเต๋อหง (ชนกลุ่มน้อยเผ่าไต) ภาษาต้ง (ชนกลุ่มน้อยเผ่าต้ง) ภาษาสุย (ชนกลุ่มน้อยเผ่าสุย) และภาษาหลี (ชนกลุ่มน้อยเผ่าหลี) นี่เป็นข้อยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าในการศึกษาถึงต้นกำเนิดของชาติพันธุ์ในประเทศลุ่มน้ำโขงนั้น นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ให้ความสำคัญกับชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนมาก ผลของการวิจัยครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ว่ากลุ่มชนในประเทศลุ่มน้ำโขงรวมทั้งประเทศไทย ต่างมีความสัมพันธ์หรือกระทั่งสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศจีน อันเป็นคำตอบที่ดีที่สุดว่าเหตุใดประเทศไทยจึงควรมีการศึกษาเพื่อเติมเต็มคลังข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนที่สมบูรณ์เสียที
การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากยังมีผู้รู้ภาษาจีนน้อย หนทางเดียวที่นักวิชาการชาวไทยส่วนใหญ่จะกระทำได้คือ การพึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหรือการบันทึกของชาวตะวันตก แต่หลังจากที่มีการศึกษาค้นคว้าและมีผู้รู้ภาษาจีนมากขึ้น กลับพบว่าข้อมูลต่างๆที่ได้นั้น มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่น้อย นำไปสู่การสรุปผลการวิจัยที่ไม่ถูกต้อง จะเห็นว่าหลังจากประเทศจีนเปิดประเทศแล้ว นานาประเทศสนใจศึกษาขุมคลังความรู้ที่ซ่อนตัวอยู่ในม่านไม้ไผ่กันอย่างกว้างขวาง แต่ประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มหันมาสนใจศึกษา และให้ความสำคัญในการศึกษาองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาในระยะ 5- 10 ปีมานี้เอง แต่ปัญหาใหญ่ของการศึกษาความรู้ด้านจีนศึกษาก็คือภาษาจีนนั่นเอง นักวิชาการไทยที่นอกเหนือจากนักวิชาการด้านภาษาจีนแล้ว มีไม่มากนักที่จะสามารถใช้ความรู้ภาษาจีนเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยและสืบค้นข้อมูล ดังนั้นข้อความรู้ที่เกี่ยวกับจีนศึกษาไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ สังคม ศิลปะ วรรณคดี ประเพณี วัฒนธรรม ปรัชญา ศาสนา เชื้อชาติเป็นต้น หรือแม้กระทั่งภาษาจีนเองก็ยังมีไม่มากเช่นกัน ในขณะที่ความต้องการศึกษามีมากขึ้นทุกขณะ นักวิชาการชาวไทยที่มีความรู้ภาษาจีน ต่างทุ่มเทความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประเทศจีนเป็นภาษาไทยเพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาให้กับวงการศึกษาของไทยอย่างไม่ลดละ
สถานภาพการศึกษาเรื่องชนกลุ่มน้อยของจีนประเทศไทย
คลังข้อมูลด้านชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน (รวมถึงชนกลุ่มน้อยในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงที่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศจีน) ทั้งจากผู้เขียนชาวไทยและชาวต่างประเทศมีความหลากหลาย ที่เขียนเป็นภาษา อังกฤษ เช่น Marilyn Gregerson (1980) Notes From Indochina on ethnic minority cultures เป็นการรวบรวมบทความในหัวข้อชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม Abadie, Maurice (2001) Minorities of the Sino-Vietnamese Borderland : with special reference to Thai Tribes บรรยายเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในชายแดนจีน-เวียดนาม โดยเฉพาะชนเผ่าไท เสนอสรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชาติพันธุ์วรรณนาของชนเผ่าที่อยู่ในทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามและในมณฑลยูนนานของจีน Dodd, W.C. (1996) The Tai Race: Elder Brother of the Chinese เป็นการสำรวจของผู้เขียนในจีนใต้ ลาว และเวียดนามเหนือ เป็นการสำรวจแบบชาติพันธุ์วิทยา ในหนังสือกล่าวเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ลักษณะนิสัย ประเพณี ทางภาษาของชนกลุ่มน้อยที่มีความหลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจในประวัติศาสตร์ของคนที่พูดภาษาไต Ma Yin (1989) China's Minority Nationalities เป็นข้อมูลกายภาพของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนซึ่งสำรวจโดยนักวิทยาศาสตร์สังคมของจีนพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยเป็นจำนวนมาก การสำรวจดังกล่าวได้มีการรวบรวมและจัดระบบเบื้องต้นเพื่อนำเสนอแก่ผู้อ่านในด้านประชากร การกระจายตัวของประชากร สายตระกูล ภูมิศาสตร์ ภาษา พิธีกรรมทางศาสนา ประเพณีในวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมของชนกลุ่มน้อย Schliesinger, Joachim .(1998) Hill Tribes of Vietnam ความเป็นมาของชาวเขาเผ่าต่างๆเกี่ยวข้องกับประเพณีและนิสัยของ ๕๐ ชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนภูเขาในเวียดนาม ในเล่มนี้จะอธิบายประวัติศาสตร์ เครื่องแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ ลักษณะของบ้านเรือนและหมู่บ้าน กิจกรรมด้านการเกษตรและเศรษฐกิจ สังคมและการปฏิบัติศาสนกิจของแต่ละชนเผ่า ประเพณีที่หลากหลายของชนเผ่าต่างๆ
ส่วนที่เขียนเป็นภาษาจีน เช่น Zhao Zhen and others (2006) เรื่องศิลปะ วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เทศกาลสำคัญของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ทั้ง 55 กลุ่ม นอกจากนี้ข้อมูลในรูปแบบเว็ปไซต์ภาษาจีนเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนมีมากมาย ทั้งที่เป็นรวมกลุ่มทั้งประเทศ หรือแบ่งแยกเฉพาะพื้นที่ เฉพาะกลุ่ม ทำให้การสืบค้นข้อมูลสะดวกมาก นอกจากนี้ยังมีหนังสือเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยที่แยกเฉพาะกลุ่มอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Weng Jialie หนังสือชื่อ เผ่าเกอลาว Feng Zutai การวิจัยเผ่าต้ง Chen Yunfang หนังสือชื่อ เผ่าซาลาร์ Han Junguang หนังสือชื่อ เผ่าเฉาเสี่ยน Hu Youming หนังสือชื่อ วัฒนธรรมไต้หวัน สำนักพิมพ์มณฑลยูนนาน หนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์ชนเผ่าไต Ma Shiwen หนังสือชื่อ ประวัติวัฒนธรรมมองโกล สำนักพิมพ์กานซู่ หนังสือชื่อ สังเขปประวัติเผ่ายวี่กู่ Sun Wenliang หนังสือชื่อ สารานุกรมชนเผ่าแมนจู เป็นต้น
ส่วนที่เขียนเป็นภาษาไทย ในปัจจุบันยังมีอยู่น้อยเหลือเกิน และไม่ครบถ้วนสมบูรณ์เท่านัก เรียกได้ว่ายังขาดแคลนขั้นวิกฤติก็ว่าได้ ข้อมูลที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนที่เขียนเป็นภาษาไทยเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันปรากฏในหลายรูปแบบ ดังนี้
(1) เกิดจากการรวบรวมและจดบันทึกอย่างคร่าวๆ ของนักสำรวจ เช่น ชูเกียรติ (2541) เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน ถิ่นที่อยู่และจำนวนประชากร แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดเลย วุฐิศานติ์ (2549) เรื่อง จากธิเบตถึงทะเลจีนใต้ 26 นักเขียนกับเรื่องเล่าถึงแม่น้ำโขง เป็นหนังสือที่มีการดำเนินเรื่องราวหลักอยู่ที่เรื่องราวเกี่ยวกับแม่น้ำโขง มีการกล่าวถึงเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยบ้าง แต่ไม่ละเอียดชัดเจนมากนัก
(2) เป็นข้อมูลข้างเคียงที่เกิดจากการวิจัยสาขาอื่น เช่น ปราณี(2535) เรื่องคำไท 6 ภาษา เป็นการเปรียบเทียบคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยกับภาษาลื้อ ภาษาเต๋อหง ภาษาสุย ภาษาต้ง และภาษาหลี ซึ่งภาษาดังกล่าวเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนทั้งสิ้น ศรีศักรและปราณี (2536) เรื่อง จ้วง : พี่น้องเผ่าไทยเก่าแก่ที่สุด เป็นการศึกษาค้นคว้าเรื่องชนชาติไทยโดยเสนอว่า จ้วง เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนที่พูดภาษาไทย นับเป็นพี่น้องเผ่าไทยกลุ่มใหญ่สุดที่อยู่นอกดินแดนประเทศไทยและเป็นผู้สืบสานอารยธรรมดึกดำบรรพ์มานานกว่า 2,000 ปี สุริยา (2537) เรื่อง นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1 กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ รวมถึงภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนด้วย นภ (2549) เรื่อง วัฒนธรรมการบูชาโทเท็มของชนกลุ่มน้อยในจีน มีภาคผนวกที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนเทียบภาษาจีน ภาษาโรมัน และภาษาไทย
(3) เป็นข้อมูลชนกลุ่มน้อยในจีนที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย หรือการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ที่มีความเกี่ยวข้องกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน เช่น สมลักษณ์ (2537) เรื่อง ย่ำสิบสองปันนา...ตามหาญาติ เป็นเรื่องราวถิ่นกำเนิดของคนไทย โดยการเดินทางย้อนแม่น้ำโขงที่มีกระแสทวนที่เชี่ยวมากขึ้นสู่ “นครเชียงรุ้ง” ดินแดนแห่งอดีตน่านเจ้า เพื่อพิสูจน์ถึงความเป็นญาติเผ่าไทย สมใจและวีรพงศ์ (2514) เรื่อง สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยลื้อ กล่าวถึงไทยลื้อซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตอนใต้ของจีน มีวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับคนไทยทางภาคเหนือเป็นอย่างมาก สามารถสะท้อนถึงประวัติความเป็นมาและความเป็นอัตลักษณ์ของชาวไทยลื้ออย่างชัดเจน ณัฏฐวี และ วีระพงศ์(2540) เรื่อง สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : เมี่ยน (เย้า) ชาวเย้าหรือเหยาเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งของจีน และมีบางส่วนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย ผู้เขียนได้ไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนชาวเมี่ยน และได้ค้นคว้าทางเอกสารเกี่ยวกับชีวิตของชาวเมี่ยนเพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เรารู้จัก และเข้าใจวิถีชีวิตและโลกทัศน์ของชาวเมี่ยน (เย้า) มากยิ่งขึ้น โสฬส(2539) เรื่องสารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ลาฮู เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาวลาฮูซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคยปกครองตนเองในการปกครองของจีน แต่เมื่อจีนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบบจักรพรรดิ โครงสร้างการปกครองของลาฮูจึงเปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดกบฏและถูกปราบปรามอย่างรุนแรง จึงได้อพยพหาถิ่นทำกินแห่งใหม่ ส่งผลให้ชาวลาฮูต้องอพยพย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในพม่าเรื่อยมาจนถึงไทย ลักขณา (2539) เรื่อง สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ลีซอ ชาวลีซอเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคยอาศัยอยู่ในมณฑลยูนนานและอพยพเรื่อยมาจนถึงทางตอนเหนือของไทย พูดภาษากลุ่มเดียวกันกับภาษามูเซอและอาข่านั่นคือภาษาจีน-ทิเบต กลุ่มพม่า-โลโล
(4) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนเพียงบางส่วน เช่น หลี่ ฟู่เชิน (2539) เรื่องชาวจ้วง เป็นหนังสือที่เกิดจากการศึกษาเรื่องชนชาติไท ชาวจ้วงเป็นชนกลุ่มน้อยในมณฑลกว่างซี ของประเทศจีนที่พูดภาษาดั้งเดิมคล้ายกับภาษาไทย โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับชนชาวจ้วงในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ การตั้งถิ่นฐาน ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา เป็นต้น สุมิตร (2538) เรื่อง การศึกษาชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนตอนใต้ เป็นการศึกษาและให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณี วัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐาน ศาสนา การปกครองของชนกลุ่มน้อยที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศจีนตอนใต้
ข้างต้นจะเห็นว่า ข้อมูลด้านชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนที่เป็นภาษาไทยยังมีอยู่น้อยมาก ในขณะที่ความต้องการ และความจำเป็นของข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวมีมาก ในปัจจุบัน หากต้องการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่มีความเกี่ยวเนื่องกับชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน รวมถึงชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยที่อพยพมาจากประเทศจีน เนื่องจากคลังข้อมูลเหล่านี้ในประเทศไทยยังขาดแคลนอยู่ ส่วนทีมีอยู่ก็ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นนักวิจัยต้องเสียเวลาเริ่มศึกษากันตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานเรื่องชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนเลยทีเดียว แต่ก็คงทำได้เพียงศึกษาเฉพาะกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของตนเท่านั้น มิอาจศึกษาในภาพรวมได้ เราจึงมักพบข้อมูลด้านชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนในลักษณะเป็นเพียงข้อมูลข้างเคียงจากงานวิจัยอื่นเท่านั้น
ในกระแสความเข้มแข็งของจีนในเวทีโลก นานาประเทศต่างทุ่มเททุนทรัพย์และกำลังบุคคลเพื่อมุ่งศึกษา สร้าง และพัฒนาคลังข้อมูลด้านจีนศึกษาและถ่ายทอดเป็นภาษาของตนอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้คนในชาติได้ทำความรู้จักและเข้าใจประเทศจีนมากขึ้น เป็นประโยชน์ในการสร้างปราการเพื่อรุกและรับต่ออำนาจความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของจีน แต่นักวิชาการไทยกลับสวนกระแส มุ่งพัฒนาคลังความรู้ข้อมูลต่างๆเป็นภาษาอังกฤษด้วยเหตุผลของการมุ่งสู่ความเป็นสากล แต่เมื่อเทียบกับประชาชนชาวไทยแล้วกลับเป็นการถ่ายทอดความรู้ในวงแคบเท่านั้น คนไทยในภาพรวมควรจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยของคนไทยเองมากกว่านี้ นักวิชาการไทยควรสร้างสรรค์ผลงานภาษาไทยเพื่อเพิ่มความรู้ให้กับคนในชาติมากว่านี้
เอกสารอ้างอิง
ชลธิรา สัตยาวัฒนา (2544)สืบสานประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม ไป่เยว่. การศึกษาเชิง
มานุษยวิทยา .สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ชูเกียรติ มุ่งมิตร(2546) ชนกลุ่มน้อยในจีน และถิ่นพำนัก.http://www.rta.mi.th/chukiat/story/people_chiness.html
เท่าคว่างแซ้งและอ้ายคำเรียบเรียง,เรณู วิชาศิลป์ ปริวรรต – แปล. (2544) เชื้อเครือเจ้าแสนหวีสิบ
สองปัน นา. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์,กรุงเทพฯ.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์.(2547) ไทยสิบสองปันนาเล่ม 1 .พิมพ์ครั้งที่ 3 .ศยาม,กรุงเทพฯ.
ปราณี กุละวณิชย์.(2535) พจนานุกรมจ้วงใต้ – ไทย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,กรุงเทพฯ.
ปราณี กุละวณิชย์และคณะ.(2527) ศัพท์ไท 6 ภาษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,กรุงเทพฯ.
นภ อึ้งโพธิ์ (2548) “การบูชาโทเท็มของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน” วารสารจีนศึกษา.คณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ
นวลจันทร์ ตุลารักษ์.(2547) ประวัติศาสตร์:การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาชาติไทย. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์,
กรุงเทพฯ.
ณัฏฐวี ทศรฐ และ วีระพงศ์ มีสถาน (2540) สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : เมี่ยน (เย้า) .สถาบันวิจัย
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัตนาพร เศรษฐกุล(2539) ชาวจ้วง.สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์,เชียงใหม่.
ลักขณา ดาวรัตนหงษ์ (2539)สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ลีซอ .สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อ
พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
วุฐิศานติ์ จันทร์วิบูล (2549)จากธิเบตถึงทะเลจีนใต้ 26 นักเขียนกับเรื่องเล่าถึงแม่น้ำโขง .ง่ายงาม.
วิจิตรวาทการ (2549)งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย .สร้างสรรค์บุ๊คส์,กรุงเทพฯ.
วีระพงศ์ มีสถาน (2544)สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยใหญ่ .สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เพื่อ
พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมใจ แซ่โง้ว และ วีระพงศ์ มีสถาน (2541)สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ไทยลื้อ .สถาบันวิจัยภาษา
และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมลักษณ์ วงษ์รัตน์ (2537)ย่ำสิบสองปันนา...ตามหาญาติ .อมรินทร์,กรุงเทพฯ.
สุมิตร ปิติพัฒน์ (2541) การศึกษาชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนตอนใต้.สถาบันไทยคดีศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
สุริยา รัตนกุล (2531) นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ .สหธรรมิก,กรุงเทพฯ.
สุวัฒน์ คงแป้น (2549)ชุมชนคนไท .สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
โสฬส ศิริไสย์ (2539)สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ลาฮู .สถาบันวิจัยภาษาและ วัฒนธรรมเพื่อพัฒนา
ชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรีศักร วัลลิโภดม, และ ปราณี วงษ์เทศ.(2536)จ้วง : พี่น้องเผ่าไทยเก่าแก่ที่สุด.มหาวิทยาลัย
ศิลปากร,กรุงเทพฯ.
Abadie, Maurice(2001). Minorities of the Sino-Vietnamese Borderland : with special
reference to Thai Tribes . White Lotus.
Dodd, W.C. (1996) The Tai Race: Elder Brother of the Chinese . White Lotus.
Marilyn Gregerson (1980) Notes From Indochina on ethnic minority cultures . Sil Museum Of
Anthropology.
Ma Yin (1989) China's Minority Nationalities. Foreign Languages Press. China (Yunnan)
Schliesinger, Joachim .(1998) Hill Tribes of Vietnam : volume 2 - profiles of existing hill tribe
groups . White Lotus.
载庆厦 (1998) 《二十世纪的中国少数民族语言研究》. 书海出版社.
黄行 (2000) 《中国少数民族语言活力研究》.中央民族大学出版社.
葛公尚(2002) 《中国少数民族现状与发展调查研究丛书》.澜沧县拉祜族卷.民族出版社.
郝时远 (2002) 《中国少数民族地图集》.中国地图出版社.
罗开云(2003) 《中国少数民族革命史》 . 中国社会科学出版社.
戴庆夏(2003) 《现代语言学理论与中国少数民族语言学研究》(2003/1) 民族出版社.
张江华(2003) 《中国少数民族现状与发展调杳研究丛书》.堆龙德庆县藏族卷.民族出版社
普忠良(2004) 《彝族 - - 中国少数民族风情游丛书》 .中国水利水电出版社.