เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าศึกษาระดับปริญญาเอกที่ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยครุศาสตร์หนานจิง สาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น ระหว่างที่เขียนวิทยานิพนธ์จำเป็นต้องสืบค้นเสียงภาษาจีนโบราณเพื่อเปรียบเทียบกับภาษาไทยจากหนังสือเรื่อง “คู่มืออักษรจีนเสียงโบราณ” (汉字古音手册, Hànzì gǔyīn shǒucè) ของศาสตราจารย์กัวซีเหลียง แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Guo Xiliang, 1982) ขณะนั้นรู้สึกว่า ข้อมูลของหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญมากต่อการศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับภาษาจีน ก่อนจบการศึกษามีกัลยาณมิตรท่านหนึ่งซึ่งขณะนั้นศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยหนานจิง (รองศาสตราจารย์ ดร.กนกพร นุ่มทอง, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) เห็นว่าข้าพเจ้าสนใจศึกษาเรื่องนี้ จึงมอบหนังสือที่เกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาจีนให้หนึ่งเล่ม คือเรื่อง “ลำดับชั้นเวลาของคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยและภาษาจีน” (汉泰语关系词的时间层次Hàn Tàiyǔ guānxì cí de shíjiān céngcì) ของกงฉวินหู่ (Gong Qunhu, 2002) เมื่อจบการศึกษาจึงได้นำหนังสือทั้งสองเล่มนี้กลับมาด้วย นับเป็นจุดเริ่มต้นให้ข้าพเจ้าสนใจศึกษาเรื่องภาษาศาสตร์เปรียบเทียบภาษาไทย-จีน
เมื่อกลับมาปฏิบัติงานสอนที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พูดภาษาไทยถิ่นอีสานเป็นหลัก
ได้พบว่ามีคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานจำนวนหนึ่งไม่ร่วมเผ่าพันธุ์กับภาษาไทยกลาง แต่สอดคล้องสัมพันธ์กับภาษาจีน จึงได้เก็บข้อมูลและดำเนินงานวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน” สามารถรวบรวมคำศัพท์ที่สอดคล้องกันกว่า 500 คำ ในระหว่างการเผยแพร่ผลงานก็ได้รับข้อเสนอแนะอันทรงคุณค่าจากผู้ทรงคุณวุฒิว่า การศึกษาภาษาที่มีความสัมพันธ์กับภาษาจีนนั้น จำเป็นต้องใช้วิธีการเทียบเสียงโดยเปรียบเทียบกับภาษาจีนโบราณ ข้าพเจ้าจึงได้หันกลับมาพิจารณาหนังสือ “คู่มืออักษรจีนเสียงโบราณ” อีกครั้ง
ได้พบว่ามีคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานจำนวนหนึ่งไม่ร่วมเผ่าพันธุ์กับภาษาไทยกลาง แต่สอดคล้องสัมพันธ์กับภาษาจีน จึงได้เก็บข้อมูลและดำเนินงานวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน” สามารถรวบรวมคำศัพท์ที่สอดคล้องกันกว่า 500 คำ ในระหว่างการเผยแพร่ผลงานก็ได้รับข้อเสนอแนะอันทรงคุณค่าจากผู้ทรงคุณวุฒิว่า การศึกษาภาษาที่มีความสัมพันธ์กับภาษาจีนนั้น จำเป็นต้องใช้วิธีการเทียบเสียงโดยเปรียบเทียบกับภาษาจีนโบราณ ข้าพเจ้าจึงได้หันกลับมาพิจารณาหนังสือ “คู่มืออักษรจีนเสียงโบราณ” อีกครั้ง
ต่อมาข้าพจ้าได้ศึกษาวิจัยภาษาตระกูลไท (และภาษาที่เกี่ยวข้องกับตระกูลไท) ในประเทศจีนตอนใต้ซึ่งมีสมาชิกภาษาจำนวนมาก ในบรรดาภาษาเหล่านี้มีคำศัพท์กลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับภาษาจีนอย่างใกล้ชิด โดยแบ่งเป็นคำศัพท์ที่สัมพันธ์กับภาษาจีนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์ และภาษาจีนยุคปัจจุบัน
ดังนั้นในการศึกษาความสัมพันธ์ของภาษาไท-ไทยกับภาษาจีนนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าหนังสือ “คู่มืออักษรจีนเสียงโบราณ” ที่มีอยู่นี้มีความสำคัญมากกับวงวิชาการของไทย จึงได้พยายามติดต่อกับศาสตราจารย์กัวซีเหลียงเพื่อขออนุญาตแปลหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นภาษาไทย แต่เนื่องจากท่านเกษียณอายุราชการและอายุมากแล้ว (90 ปี) ทำให้การติดต่อสื่อสารค่อนข้างยากลำบาก ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณอาจารย์กำพล ปิยศิริกุล ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เป็นผู้ติดต่อประสานงานให้ จนกระทั่งสามารถติดต่อกับท่านได้ และก็ได้รับความกรุณาจากท่านอนุญาตให้แปลได้
หวังว่านักวิจัยชาวไทยที่สนใจศึกษาภาษาศาสตร์จีน ความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับภาษาจีน ตลอดจนภาษาตระกูลไทและภาษาที่เกี่ยวข้องกับตระกูลไท จะได้ใช้ประโยชน์จาก
หนังสือเล่มนี้
หวังว่านักวิจัยชาวไทยที่สนใจศึกษาภาษาศาสตร์จีน ความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับภาษาจีน ตลอดจนภาษาตระกูลไทและภาษาที่เกี่ยวข้องกับตระกูลไท จะได้ใช้ประโยชน์จาก
หนังสือเล่มนี้