ข้อมูลการตั้งถิ่นฐานในประเทศจีน
นักภาษาศาสตร์จีนเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์และชื่อภาษานี้ว่า “ผู่เปียว”
ใช้อักษรจีนจดว่า普标Pǔbiāo และเมื่อนักภาษาศาสตร์จีนนำเสนอรายงานภาษานี้เป็นภาษาอังกฤษ
ก็จะใช้ชื่อที่ถอดเสียงมาจากอักษรพินอินว่า “Pubiao”
แต่ชาวผู่เปียวเรียกตัวเองเหมือนกับชาวผู่เปียวที่อาศัยอยู่ในเวียดนามว่า /qa33
biau33/ รายงานของนักภาษาศาสตร์จีนเกี่ยวกับภาษาผู่เปียวที่สำคัญคือ
ผลงานของ เหลียงหมิ่น จางจวิน หรูและหลี่หยวินปิง (Liáng Mǐn, Zhāng
Jūnrú, Lǐ Yúnbīng: 2007,4) ระบุว่า
ในประเทศจีนมีชาวผู่เปียวอาศัยอยู่ที่ชุมชนเถียฉ่าง อำเภอหมาลี่โพ
ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตปกครองตนเองชาวจ้วง ชาวเหมียวเหวินซาน มณฑลยูนนาน (云南省文山壮族苗族自治州麻栗坡县铁厂乡Yúnnán shěng
Wénshān Zhuàngzú Miáozú Zìzhìzhōu Málìpō xiàn Tiěchǎng xiāng) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆ ได้แก่ หม่าถง /ma33 thuN55/ (马同Mǎtóng)[1] ผู่น่ง /ma33 l6huaN53/ (普弄Pǔnòng) ผู่เผิน /ma33 qaN44/ (普盆Pǔ pén) ผู่เฟิง /mu33 phu53/ (普峰Pǔ fēng) หลงหลง /pə33 l6hau53/ (竜龙Lónglóng) หม่าคุน (马坤Mǎ kūn) และหลงหลิน
(龙林Lónglín) มีชาวผู่เปียวตั้งบ้านเรือน
74 ครอบครัว จำนวนประชากร 307 คน (การสำรวจสำมะโนประชากร ปี 2000)
รวมจำนวนประชากรชาวผู่เปียวที่อยู่ในประเทศจีนและเวียดนามจำนวน 777 คน
เกี่ยวกับชื่อเรียก
มีประเด็นที่น่าสนใจเหมือนกับตอนที่อธิบายชื่อภาษาปู้ยัง ดังจะพบว่าภาษาต่างๆ ที่เป็นสมาชิกสาขาจ้วง-ต้งในประเทศจีนตอนใต้
มีชื่อเรียกตนเองที่มีลักษณะที่สอดคล้องกัน คือ มักเป็นคำสองพยางค์
พยางค์แรกเป็นคำที่มีความหมายว่า “คน” แบ่งเป็นสองพวก คือ พวกที่ใช้คำว่า “อ้าย” (ไอ้/อ่าย/อาย)
กับพวกที่ใช้คำว่า “ผู้” /(ปู้/ปู/มู่/ผู่/พือ) และพยางค์หลังเป็นชื่อเฉพาะ
แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้คำอื่น หรือไม่มีคำนำหน้า ดังนี้
“อ้าย”
|
“ผู้”
|
คำอื่น
(คำหน้าแปลว่า “คน”)
|
ไม่มีคำนำหน้า
|
ai3 ma:k8 มาก
|
pu4 ʔjui4 ปู้อี
|
lak8 kja3 ลักกะ
|
tai2 ไต
|
ai3 ȶa:m1 จาม
|
pou4 ɕu:ŋ6 จ้วง
|
ʔɑŋ˧ɓe˧ เบ
|
kam1 ต้ง
|
ai1 na:n6
เหมาหนาน
|
mu6 lam1 มูลัม
|
ɬai1 ฮไล(หลี)
|
|
ai˩ tʰən˧ เท็น
|
pɯ55
lau55 เกอลาว
|
||
ai3 sui3 สุ่ย
|
pu biao ผู่เปียว
|
||
puo˩ ʔja:ŋ˦ ปูยัง
|
|||
li pu lio ละติ
|
|||
*หมายเหตุ สัทอักษรที่ปรากฏนี้อ้างอิงมาจากหนังสือพรรณนาภาษาต่างๆหลายเล่ม
และจากผู้เขียนหลายคน ทำให้ระบบที่ใช้ไม่เป็นแบบเดียวกัน
|
ชื่อที่ชาวผู่เปียวในประเทศจีนกับชาวผู่เปียวในเวียดนามเรียกตนเองคือ
qa
biao พิจารณาจากลักษณะของคำศัพท์ในภาษาผู่เปียวมักมีหน่วยคำเติมหน้า
/qa/ ที่เมื่อเติมแล้วบางกลุ่มคำก็เป็นคำนามเรียกคน
เช่น /qa33 lu:n33/ “คนใบ้” /qa33 Nan45/ “คนหูหนวก” /qa33 liak45/ “คนลัก(โจร)”
บางกลุ่มก็เป็นชื่อที่ชาวผู่เปียวเรียกกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น /qa33
miau45/ “ชื่อเรียกชาวเหมียว” /qa33 ʨi33/ “ชื่อเรียกชาวเหยา” แต่บางกลุ่มคำก็ไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ
(ดูเรื่องหน่วยคำเติมหน้า ได้อธิบายไว้ในหัวข้อระบบคำ) ดังนั้นความหมายของชื่อ /qa33
biao33/ น่าจะหมายความว่า “คนเบียว” เหมือนกับชื่อ คนไต คนจ้วง
คนสุ่ย คนยัง คนหลีเป็นต้น
เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาชาวผู่เปียวอพยพโยกย้ายถิ่นฐานอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งจำนวนประชากรก็น้อยมาก
ทำให้ในบันทึกเอกสารโบราณต่างๆไม่ปรากฏข้อมูลของชาวผู่เปียว
มีเพียงคำบอกเล่าและมุขปาฐะของชาวผู่เปียวที่เล่าต่อกันมาว่า
บรรพบุรุษชาวผู่เปียวมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ชุมชนโบราณ ชื่อ ผู่เหมย /gə33 mei33/ (普梅Pǔ méi) และ ผู่หยาง / gə33 wan55/ (普杨Pǔyáng)
ซึ่งเป็นพื้นที่ของเมืองฟู่โจว จังหวัดกว่างหนาน (广南府富州Guǎngnán fǔ, Fù
zhōu)
ปัจจุบันคือพื้นที่เขตปกครองตนเองชาวจ้วงกว่างซี
(广西壮族自治区境Guǎngxī Zhuàngzú
zìzhìqū jìng) ในยุคจักรพรรดิคังซีปีที่หก (1667) มีการจัดระเบียบและแบ่งเขตการปกครองใหม่ ตัดเมืองฟู่โจวออกไปขึ้นกับเขตอื่น ทำให้ในบันทึกประวัติศาสตร์จังหวัดกว่างหนาน (广南府志Guǎngnán fǔ zhì,1825) ไม่มีบันทึกถึงชาวผู่เปียว
สันนิษฐานว่าชาวผู่เปียวอพยพจากถิ่นฐานเดิมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
และทยอยเข้าไปตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านต่างๆ บริเวณชายแดนจีนและเวียดนามในยุคจักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิง(1654 -1722)
เมื่อไม่มีบันทึกถึงชาวผู่เปียวโดยตรง
นักประวัติศาสตร์จีนได้สืบค้นเพื่อเสาะหาประวัติความเป็นมาของชาวผู่เปียวจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
นั่นก็คือชาวเกอ-ยัง (仡央Gē Yāng)[1] บรรพบุรุษของชาวเกอ-ยังเกี่ยวข้องกับชนเผ่าโบราณสองกลุ่มคือ
ชาวผู (濮Pú) และชาวเหลียว(僚Liáo) ชาวผูโบราณมีสาขาย่อยอีกมาก
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพวกเกอ-ยังคือ ก้ายเฟินอายผูหรือหย่งชางผู (盖分哀濮或永昌濮Gài fēn āi pú
huò Yǒngchāng pú)
จวี้ติงผู (句町濮Jùdīng pú) และฉู่ผู (楚濮Chǔ pú)
ชาวผูทั้งสามแขนงนี้แตกแขนงไปเป็นบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาต่างๆ
ได้แก่
ก้ายเฟินอายผู
หรือหย่งชางผูเป็นบรรพบุรุษของพวกที่พูดภาษามอญ-เขมร ได้แก่ ผูม่าน (濮曼Pú màn)
เป็นบรรพบุรุษของชาวปู้หล่าง ผูหลง (濮龙Pú lóng)
เป็นบรรพบุรุษของชาวเต๋ออ๋าง ผูหราว(濮饶Pú ráo) เป็นบรรพบุรุษของชาวหว่า
จวี้ติงผู แตกแขนงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาแขนงจ้วง-ไต
คือ ผูหนง (濮农Pú nóng) เป็นบรรพบุรุษของชาวจ้วงแขนงนุง
(ไทนุง) ผูจ้วง (濮僮Pú zhuàng) เป็นบรรพบุรุษของชาวจ้วง ผูอี
(濮衣Pú yī)
เป็นบรรพบุรุษของชาวปู้อี
ฉู่ผู
แตกแขนงไปอีกหลายกลุ่มย่อยๆ ในจำนวนนี้มีชื่อ จิวเหลียว (鸠僚Jiūliáo)
กลุ่มจิวเหลียวนี้พัฒนาไปเป็นชาว “เหลียว (僚Liáo
)” บันทึกในยุคเว่ยจิ้นหนานเป่ย(220-589)
กลุ่มชนที่แตกแขนงมาจากจิวเหลียวล้วนเรียกรวมกันว่า “เหลียว 僚” จนถึงสมัยซ่ง (960-1279)
ปรากฏชื่อ “เกอลาว” ซึ่งเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่แตกแขนงมาจากชาวเหลียว
จากความสัมพันธ์ของชาวผู่เปียวที่เกี่ยวข้องกับชาวเกอ-ยัง จึงสันนิษฐานได้ว่า
บรรพบุรุษของชาวผู่เปียวก็คือชนเผ่าโบราณชื่อ ฉู่ผู และจิวเหลียว
ส่วนชื่อที่ออกเสียงว่า “ผู่เปียว”
หรือใกล้เคียงที่เป็นลายลักษณ์อักษรในบันทึกเอกสารโบราณของจีนนั้นเริ่มปรากฏครั้งแรกในยุคจักรพรรดิเฉียนหลง
แห่งราชวงศ์ชิง พงศาวดารจังหวัดคายฮว่า[2]
ฉบับขนบธรรมเนียม (开化府志
● 风俗志Kāihuà fǔ zhì ● Fēngsú zhì)
ปรากฏชื่อ ผู่เพียว (普剽Pǔ piāo) ความว่า “普剽,俗与喇乌小异,不薙头。男著青白长领短衣,不分寒暑,身披布被,镶火焰边;女桶裙,遍身挂红绿珠。亲亡令子壻跳舞,亲属击鼓、鸣锣、鸣角祭献,名曰:娱尸。性醇,吉事款客,吹角、高唱,节以征瞽。男子衣不及膝,女则长服委地,开化府属有之。Pǔ piāo, sú yǔ lǎ wū xiǎo yì, bù tì tóu. Nánzhe qīngbái zhǎng lǐng duǎn
yī, bù fēn hánshǔ, shēn pī bù bèi, xiāng huǒyàn biān; nǚ tǒng qún, biàn shēn
guà hóng lǜ zhū. Qīn wáng lìngzi xù tiàowǔ, qīnshǔ jī gǔ, míng luó, míng jiǎo
jì xiàn, míng yuē: Yú shī. Xìng chún, jíshì kuǎn kè, chuījiǎo, gāo chàng, jié
yǐ zhēng gǔ. Nánzǐ yī bùjí xī, nǚ zé zhǎng fú wěi de, kāihuà fǔ shǔ yǒu zhī.
ผู่เพียว ขนบประเพณีต่างกับลาอู[3]เล็กน้อย
ไม่โกนหัว ชายสวมเสื้อมีปกยาวลำตัวสั้นสีครามขาว ไม่เว้นหนาวร้อน มีผ้าคลุมตัว
ปลายผ้าปักลวดลายเปลวไฟ หญิงสวมผ้าถุง ประดับลูกปัดสีแดงเขียวทั่วตัว
เมื่อพ่อแม่ตายลูกและสะใภ้ต้องร่ายรำ เหล่าญาติลั่นกลอง ตีโหม่งฆ้อง
เป่าแตรบวงสรวง นัยว่า เป็นการจัดงานศพที่รื่นเริงให้กับผู้ตาย
ชาวผู่เปียวมีอุปนิสัยเรียบง่าย สุภาพเรียบร้อย
เมื่อมีงานมงคลจะจัดเลี้ยงญาติและมิตรสหาย เป่าแตร ขับลำ
เมื่อถึงเทศกาลจะตีกลองไม้ กางเกงชายไม่ถึงเข่า ผ้านุ่งหญิงยาวคลุมทั้งตัว มีถิ่นฐานอยู่เมืองคายฮว่า”[4] พงศาวดารยุคต่อๆมา เช่น พงศาวดารชื่อ
“ว่าด้วยชาวอี๋แห่งยูนนาน” (滇省夷人图说Diān shěng Yí rén túshuō) พงศาวดารในสมัยพระเจ้ากวางซวี่แห่งราชวงศ์ชิง (清光绪Qīng Guāngxù)
ชื่อ “พงศาวดารยูนนาน” (云南通志Yúnnán tōng zhì) ล้วนบันทึกชื่อและเรื่องราวของ “ชาวผูเพียว”
โดยอิงตาม พงศาวดารจังหวัดคายฮว่านั่นเอง
จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้เป็นลายลักษณ์อักษร
คือ ช่วงปลายราชวงศ์หมิง ต่อกับต้นราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1636 - 1644) เป็นที่แน่นอนว่ามีชาวผู่เปียวดำรงชีวิตอยู่ในบริเวณรอยต่อของประเทศจีนกับเวียดนามแล้ว
แต่ในพงศาวดารต่างๆที่ปรากฏชื่อและมีรายละเอียดชัดเจนมากก็คือ “ชาวเกอลาว”
พื้นที่ที่ชาวผู่เปียวอาศัยอยู่เป็นพื้นที่เดียวกันกับชาวเกอลาว
แต่ชาวผู่เปียวมีจำนวนน้อยนิดเมื่อเทียบกับชาวเกอลาว บันทึกต่างๆ
จึงกล่าวถึงชาวผู่เปียวเหมารวมไปกันกับชาวเกอลาว
[1] นักภาษาศาสตร์จีนจัดภาษาผู่เปียวไว้เป็นสมาชิกของแขนงภาษาเกอ-ยัง
คำว่า “เกอ” มาจากชื่อภาษาเกอลาว (仡佬Gēlǎo)
ส่วนคำว่า “ยัง” มาจากชื่อภาษาปู้ยัง (布央Bù
yāng) ซึ่งทั้งสองภาษานี้เดิมทีจัดไว้ในแขนงต้ง-สุ่ย
แต่แยกออกมาให้เป็นคู่ขนานกับแขนงต้ง-สุ่ย ตั้งชื่อว่า เกอ-ยัง
[2] ชื่อจังหวัดในการแบ่งเขตการปกครองของมณฑลยูนนานในยุคคังซีปีที่หกแห่งราชวงศ์ชิง
(清康熙六年Qīng Kāngxī liù nián
1667) ต่อมาสมัยจักรพรรดิยงเจิ้งปีที่แปด (雍正八年Yōngzhèng bā nián 1730)
ก่อตั้งเป็นอำเภอเหวินซาน(文山县Wénshān
xiàn) ปัจจุบันคือบริเวณตอนกลางของอำเภอเหวินซาน
[3] ลาอู
เรียกอีกชื่อว่า หลาหลู่ (喇鲁Lǎ lǔ)
จากบันทึกถึงชาวลาอูในพงศาวดารยูนนาน (云南通志Yúnnán
tōng zhì)
ที่บันทึกโดยหลี่หยวนหยาง
ในยุคราชวงศ์หมิง (明*李元阳Míng Li Yuányáng)
สันนิษฐานได้ว่า ชาวลาอูเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าไต
[4] ขอบพระคุณ
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ให้ความอนุเคราะห์ตรวจสำนวนการแปล
[1] ข้อมูลชื่อเรียกเรียงลำดับดังนี้
ชื่อภาษาไทย(ถ่ายถอดเสียงอ่านจากอักษรจีน) /ชื่อภาษาผู่เปียวจดโดยสัทอักษร/
(ชื่อภาษาจีน เสียงอ่านพินอิน) ชื่อเรียกสองชื่อสุดท้ายคือ หม่าคุน และหลงหลิน
ไม่มีชื่อภาษาผู่เปียว
สรุปสาระสำคัญของภาษาผู่เปียวจากที่ได้อธิบายมาตั้งแต่ต้นคือ
ชาวผู่เปียวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ตอนตอนใต้ของประเทศจีนและตอนเหนือของประเทศเวียดนาม
การสำรวจสำมะโนประชากร ปี 2000 มีจำนวนประชากรทั้งในประเทศจีนและเวียดนามรวมกัน
777 คน นักประวัติศาสตร์จีนเชื่อว่า
บรรพบุรุษของชาวผู่เปียวคือชนเผ่าโบราณชื่อฉูผู่และจิวเหลียว โดยมีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรกล่าวถึงชาวผู่เปียวคือ
ช่วงปลายราชวงศ์ หมิง ต่อกับต้นราชวงศ์ชิง(ค.ศ.1636-1644) ในชื่อ “ผู่เพียว”
แต่ความจริงแล้วบรรพบุรุษของชาวผู่เปียวคงจะมีมาก่อนหน้านั้น
แต่ด้วยเหตุที่มีจำนวนประชากรไม่มาก และอาศัยร่วมกับชาวเกอลาวซึ่งมีประชากรมากกว่า
จึงถูกเหมารวมและจดบันทึกรวมกันไปกับชาวเกอลาว ในด้านภาษาศาสตร์
นักวิชาการจีนจัดภาษาผู่เปียวไว้ภายใต้ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต สาขาภาษาจ้วง-ต้ง
แต่แยกแขนงออกมาเป็นแขนงภาษาเกอ-ยัง คู่ขนานไปกับแขนงจ้วง-ไต แขนงต้ง-สุ่ย
และแขนงหลี วงคำศัพท์ของภาษาผู่เปียว นอกจากจะมีความสัมพันธ์กับภาษาตระกูลไทแล้ว
ยังมีคำศัพท์ที่สอดคล้องกับภาษาตระกูลมอญ-เขมร และภาษาจีนทั้งที่เป็นคำยืมภาษาจีนเก่า(หรือเรียกว่าคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน)
และคำยืมภาษาจีนใหม่ด้วย
ด้านศาสนาและความเชื่อ ชาวผู่เปียวมีความเชื่อเรื่องผี
เคารพบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ เทพเจ้า และวิญญาณของทุกสรรพสิ่ง ตลอดจนมีความเชื่อเกี่ยวกับตำนานการสร้างโลก
การกำเนิดชนเผ่าร่วมกับชนเผ่าตระกูลไทที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก
สองพี่น้องชายหญิงผู้เป็นต้นตระกูลของชนเผ่า และบูชาน้ำเต้า
เกี่ยวกับข้อสงสัยในวงวิชาการของไทยดังปรากฏในหนังสือนานาภาษาในเอเชียอาคเนย์
ภาษาตระกูลไท(สุริยา, 2548 หน้า 145-151)
อธิบายว่าชื่อเรียกกลุ่มชนที่พูดภาษาลักกะ(Laqua) มีหลายชื่อ
เพราะเป็นชื่อที่ชนเผ่าอื่นๆเรียกพวกเขา แต่ข้อที่น่าสนใจก็คือ
มีรายงานเกี่ยวกับภาษา “ปูเบียว” ของ จางจวินหรู (Zhāng
Jūnrú1990) ว่า
ชื่อที่พวกนี้เรียกตนเองคล้ายกับชื่อที่พวกลักกะเรียกตนเอง คือ Kàbèò ซึ่งตรงกับที่พวกม้งเรียกพวกลักกะว่า Púbèò
ด้วยความคล้ายคลึงและที่ตั้งถิ่นฐานนี้เอง
สุริยาจึงได้นำคำศัพท์ของภาษาปูเบียวกับภาษาลักกะมาเปรียบเทียบกัน และพบว่า “ภาษาปูเบียว
(Pubiao) มีความคล้ายคลึงกับภาษาลักกะ (Laqua) มากจนเรียกได้ว่าเป็นสำเนียงท้องถิ่น(dialect) ของภาษาเดียวกัน
จึงสมควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องสนใจติดตามดูข้อมูลภาษาปูเบียวที่ Zhang
Junru และคนอื่นๆจะได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในระยะต่อไป
เพื่อจะได้แน่ใจว่าเป็นภาษาลักกะหรือไม่”
จากข้อสงสัยดังกล่าวนี้
ข้าพเจ้าได้สังเคราะห์ผลงานของนักวิชาการจีนเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดแล้ว และได้ทราบว่านักวิชาการจีนไม่ได้มีข้อคลางแคลงสงสัยว่าภาษาลักกะกับภาษาผู่เปียวเป็นภาษาเดียวกัน
หรือเป็นภาษาถิ่นของกันและกันแต่อย่างใด แต่แยกศึกษาเป็นสองกลุ่มชาติพันธุ์และสองภาษา
ยิ่งไปกว่านั้นยังจัดกลุ่มภาษาทั้งสองไว้คนละแขนง คือ จัดภาษาลักกะไว้ในแขนงต้ง-สุ่ย
จัดตั้งขึ้นเป็นแขนงภาษาใหม่ชื่อเกอ-ยัง แล้วจัดภาษาผู่เปียวไว้ในแขนงใหม่นี้
ระบบเสียงของภาษาลักกะ[1]กับภาษาผู่เปียวมีข้อแตกต่างกันเด่นชัด
คือ ภาษาผู่เปียวมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ /-l/ แต่ภาษาลักกะไม่มี
ภาษาผู่เปียวมีพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดาน 7 เสียง ภาษาลักกะมี 3 เสียง
ภาษาผู่เปียวมีพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก 3 เสียง แต่ภาษาลักกะมี 10 เสียง
ภาษาผู่เปียวมีวรรณยุกต์ สระเปิดและสระปิดรวมกัน 7 เสียง แต่ภาษาลักกะมี 10 เสียง
วงคำศัพท์ภาษาผู่เปียวมีคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับภาษาลักกะ 23.08%
(Liáng Mǐn, Zhāng Jūnrú, Lǐ Yúnbīng, 83) เป็นต้น
แม้ว่าความสัมพันธ์ทางเครือญาติของภาษาไทยกับภาษาผู่เปียวจะห่างไกลกันแบบลูกพี่ลูกน้องหรือเครือญาติสายที่ห่างออกไป
แต่ร่องรอยความสัมพันธ์ที่ยังมีอยู่ก็สมควรที่จะนำมากล่าวถึงให้เป็นข้อพิจารณากัน
จากการตรวจสอบรายการคำศัพท์ภาษาผู่เปียว ผู้เขียนพบจุดที่น่าสนใจและชวนให้ขบคิดอย่างหนึ่งคือ
เสียงพยัญชนะต้นของภาษาผู่เปียวกับคำที่มีเสียงอักษร “ห” นำ ในภาษาไทย
โปรดดูข้อมูลและคำอธิบายต่อไปนี้
A
|
B
|
C
|
D
|
qa33 muak45 หมอก
|
qa33 huaN213 ขวาง
|
qham53 หวาน
|
qa0 muat33 ?มอด
|
qo33 nai33 หนู
|
qhau213 เขย่า
|
qhon33 หน (ทาง)
|
qa0 ȵaN33 ?ยุง
|
qa0 mat33 หมัด (เห็บ)
|
qa:i53 ควาย
|
qon53 ห่ม
|
qa33 taN33 ?ดั้ง
(จมูก)
|
qa0
Nan33 หง่อม (แก่)
|
qai53 ไก่
|
qa0 mi213 ?มือ
|
|
qa0
qəiʔ45 หน่อย (นิด)
|
qa33 liak45 ?ลัก (ขโมย)
|
||
ข้อสันนิษฐานเสียงดั้งเดิม
|
|||
qa0
ham53 หวาน
|
qa0 luai45 ?รอย
|
||
qa0
hon33 หน (ทาง)
|
qə0 luəN33 ?ดวง(ดาว)
|
||
qa0
hon53 ห่ม
|
qa0 nuai33 ?น้อย (เด็ก)
|
คำในตารางช่อง A ภาษาผู่เปียวเป็นคำสองพยางค์
ขณะที่เมื่อเทียบกับภาษาไทยจะเป็นคำพยางค์เดียว
และเราจะเห็นว่าคำพยางค์เดียวในภาษาไทยจะเป็นคำที่มี “ห” นำ พิจารณาจากฐานกรณ์ของเสียง
/h, ʔ/
กับเสียง /q/ อยู่ใกล้เคียงกัน หากเราลองมองข้ามเรื่องอักขระวิธีของการใช้อักษรนำ “ห”
ในภาษาไทยที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอักษรต่ำเป็นอักษรสูง
แล้วมองดูที่การออกเสียงเทียบกับภาษาผู่เปียว
ก็จะเห็นร่องรอยที่นำไปสู่ข้อสันนิษฐานได้ว่าคำที่ภาษาไทยมีอักษร “ห” นำนั้น
ต้นตระกูลของคำศัพท์ชุดนี้ออกเสียงเป็นคำสองพยางค์เหมือนกับภาษาผู่เปียว เป็น /ha
mɔ:k/ “หมอก” /ha nu:/ “หนู” /ha mat/ “หมัด” /ha Nɔm/ “หง่อม” /ha
nɔi/ “หน่อย” จากนั้นพยางค์หน้า /ha/ กร่อนหายไป
คงเหลือเป็นเสียงพยัญชนะต้นนาสิก /m, n, N/
เป็น /mɔ:k/ “หมอก” /nu:/ “หนู” /mat/ “หมัด” /Nɔm/ “หง่อม” /nɔi/ “หน่อย”
อย่างในภาษาไทยปัจจุบัน
ปรากฏการณ์พยางค์หน้ากร่อนและสูญหายไปนี้ก็มีร่องรอยให้เห็นในภาษาผู่เปียวด้วยเช่นกัน ดังคำอธิบายถัดไป
คำในตารางช่อง B ภาษาผู่เปียวมีร่องรอยของพัฒนาการจากคำสองพยางค์
ลดรูปเป็นคำพยางค์เดียวแบบพยัญชนะต้นคู่ และพยัญชนะคู่หายไปเหลือเป็นพยัญชนะเดี่ยว
คำชุดนี้เมื่อเทียบกับคำภาษาไทยจะพบว่าเป็นเสียงควบกล้ำ
สันนิษฐานว่าต้นตระกูลคำศัพท์ของทั้งภาษาผู่เปียวและภาษาไทยชุดนี้ออกเสียงเป็นคำสองพยางค์เหมือนกัน
เป็น /qa huaN/
“ขวาง” /qa huai/
“ควาย” /qa jau/
“เขย่า”
แล้วต่อมาภาษาไทยและภาษาผู่เปียวเกิดการกร่อนของเสียงพยัญชนะต้นลดรูปคำเป็นคำพยางค์เดียว
ในภาษาผู่เปียวมีร่องรอยของคำที่พยางค์หน้ายังไม่ถูกกร่อน เช่น /qa33 huaN213/ “ขวาง” ส่วนร่องรอยที่คำสองพยางค์กร่อนเป็นพยัญชนะต้นคู่
เช่น /qhau213/ “เขย่า”
และร่องรอยที่คำสองพยางค์กร่อนเป็นพยัญชนะต้นเดี่ยว เช่น /qa:i53/ “ควาย”
ส่วนร่องรอยในภาษาไทยคือเสียงควบกล้ำ /khw, khj/
คำในตารางช่อง C เป็นปรากฏการณ์ของคำสองพยางค์ในช่อง A ที่สระพยางค์หน้ากร่อนหายไป
กลายเป็นคำพยางค์เดียวที่มีพยัญชนะต้นคู่ และสุดท้ายเหลือเพียงพยัญชนะต้นเดี่ยว
เมื่อเทียบกับคำในช่อง A
แล้วสันนิษฐานได้ว่าคำต้นตระกูลชุดนี้ในภาษาผู่เปียวและภาษาไทยออกเสียงเป็นคำสองพยางค์
/qa wan/ “หวาน” /qa hon/ “หน” /qa hom/ “ห่ม”
คำในตารางช่อง D จะเห็นได้ชัดว่า คำในภาษาไทยล้วนเป็นคำพยางค์เดียวที่ไม่มี “ห” นำ
ขณะที่ภาษาผู่เปียวเป็นคำสองพยางค์ทั้งหมด
คำชุดนี้เป็นหลักฐานที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานข้างต้นทั้งสามแบบ สัญลักษณ์ “?”
หมายถึงข้อสันนิฐานเสียงดั้งเดิมของคำภาษาไทยว่า ถ้าใช้ภาษาผู่เปียวเป็นตัวเทียบดังที่ได้อธิบายมาข้างต้นแล้ว
ภาษาดั้งเดิมของภาษาไทยก็จะต้องออกเสียงเป็นคำสองพยางค์ว่า / qa0 มอด/, /qa0 ยุง/, / qa0 ดั้ง/, / qa0 มือ/, /
qa0 ลัก/, /qa0 รอย/, / qa0 ดวง/, / qa0 น้อย/
จากตัวอย่างคำศัพท์ที่เปรียบเทียบให้ดูข้างต้นนี้
จะสังเกตเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงนาสิก
ซึ่งพยัญชนะต้นกลุ่มเสียงนาสิกในภาษาตระกูลไทถือเป็นกลุ่มเสียงที่น่าสนใจมาก
เนื่องจากมีการแปรของเสียงที่ซับซ้อน
นักภาษาศาสตร์นิยมใช้เสียงเหล่านี้เป็นหนึ่งในเกณฑ์การจัดกลุ่มภาษาอีกด้วย หากเปรียบเทียบกับภาษาในแขนงต้ง(กัม)-สุ่ย จะพบว่าภาษาสุ่ยเป็นภาษาที่มีเสียงพยัญชนะนาสิกครบที่สุด
ส่วนภาษาสุ่ยและภาษาเหมาหนานเป็นภาษาที่ยังคงรักษาเสียงพยัญชนะต้นนาสิกที่มี /ˀ-/
นำหน้าไว้ได้ ในขณะที่ภาษาอื่นไม่มี[2]
หรือไม่ก็สูญหายหมดแล้ว ดังนี้
ภาษา
|
m
|
n
|
ȵ
|
ŋ
|
การเปรียบต่าง
|
||||||||
สุ่ย
|
m̥
|
m
|
ˀm
|
n̥
|
n
|
ˀn
|
ȵ8
|
ȵ
|
ˀȵ
|
ŋ
8
|
N
|
ˀŋ
|
3
|
เหมาหนาน
|
m
|
ˀm
|
n
|
ˀn
|
ȵ
|
ˀȵ
|
N
|
ˀŋ
|
2
|
||||
มูลัม
|
m̥
|
m
|
n̥
|
n
|
ȵ8
|
ȵ
|
ŋ
8
|
N
|
2
|
||||
ต้ง
|
m
|
n
|
ȵ
|
N
|
ไม่มี
|
||||||||
ผู่เปียว
|
m̥
|
m
|
n̥
|
n
|
ȵ8
|
ȵ
|
ŋ
8
|
N
|
2
|
เมื่อนำคำภาษาผู่เปียวเทียบกับคำศัพท์ภาษาสุ่ยและภาษาเหมาหนาน
ก็จะสามารถสรุปให้เห็นพัฒนาการของการแปรจากคำสองพยางค์เป็นคำพยางค์เดียวตามข้อสันนิษฐานข้างต้น
ได้ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
ผู่เปียว
|
สุ่ย
|
เหมาหนาน
|
ไทย
|
qa
- m, n(t), N
|
ˀm, ˀn, ˀN
|
ˀm, ˀn, ˀN
m,
n, N
|
m,
n (d), N
|
qa0 mat33
|
m̥at7
|
ni4mat7
|
หมัด
|
qa33 taN33
|
ˀnaN7
|
ˀnaN1
|
ดั้ง
(จมูก)
|
tə0 ne33
|
ˀna1
|
na1
|
หนา
|
qa0 Nauʔ33
|
ˀnun1
|
nu:n1
|
หนอน
|
tə0 Nuə33
|
ˀNa1
|
ˀȵa1
|
งา
|
เมื่อหลักฐานเป็นดังข้อมูลที่กล่าวมานี้
ก็เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของภาษาผู่เปียวว่าเป็นภาษาโบราณที่สามารถสืบสร้างและเทียบหาเสียงและคำที่เก่าแก่ขึ้นไปกว่าภาษาไทย(แขนงจ้วง-ไต)
ภาษาสุ่ย ภาษาเหมาหนาน(แขนงต้ง-สุ่ย) ได้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.la.ubu.ac.th/2010/project/tathai2_2.pdf
[2]เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อธิบายรายละเอียดไว้แล้วในเล่ม
1 ในบทพรรณนาภาษาสุ่ย