ภาษาสาขาเหมียว-เหยา (ภาษาไทยเรียกว่าแม้ว-เย้า) นักภาษาศาสตร์จีนจัดไว้เป็นภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต มีสมาชิกสามภาษาได้แก่ ภาษาเหมียว ภาษาเหยา และภาษาเซอ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันดังที่เอกสารโบราณของจีนเรียกว่า “สามเหมียว” (三苗) หรือเรียกอีกชื่อว่า “หมาน” (蛮) ประวัติศาสตร์ของบรรพบุรุษชาวจีนที่กล่าวว่า “ชนเผ่าโบราณทำสงครามกันกับเหยียนหวงที่สมรภูมิจู๋ลู่” นั้น สันนิษฐานว่าคือชาวสามเหมียวนี่เอง เมื่อสามเหมียวพ่ายแพ้ถูกรุกรานจนถอยร่นลงไปทางทิศใต้ของแม่น้ำฮวงโห และสู้รบกับชนเผ่าดั้งเดิมก็พ่ายแพ้อีก จึงอพยพลงใต้อีกครั้ง ในยุคชุนชิว ชาวสามเหมียวเป็นประชากรส่วนใหญ่ของรัฐฉู่ ยุคฉินและฮั่นอพยพเข้าสู่เมืองโผหยาง ต้งถิง และอู่ซี จนกระทั่งยุคสุยและถังจึงได้ตั้งถิ่นฐานในที่อยู่ปัจจุบัน และแยกกันออกเป็นชนเผ่าสามเผ่าอย่างชัดเจน
ปัจจุบันชาวเหมียว เหยา และเซอ มีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ของมณฑลหูเป่ย หูหนาน เสฉวน กุ้ยโจว ยูนนาน กว่างตง ไห่หนาน ฝูเจี้ยน เจ้อเจียง อานฮุยและกว่างซี และมีบางส่วนอพยพข้ามเขตแดนประเทศจีนตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศเวียดนาม ลาวและไทย มีประชากรรวม 11,000,000 คน
ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือชุด “นานาภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนตอนใต้ ภาคที่ 3 : ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต สาขาเหมียว-เหยา” โดยเป็นการรวบรวมคำศัพท์จากการศึกษาของนักวิชาการจีน แปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้นักวิชาการไทยได้ใช้ศึกษาเพิ่มเติม
ปัจจุบันชาวเหมียว เหยา และเซอ มีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ของมณฑลหูเป่ย หูหนาน เสฉวน กุ้ยโจว ยูนนาน กว่างตง ไห่หนาน ฝูเจี้ยน เจ้อเจียง อานฮุยและกว่างซี และมีบางส่วนอพยพข้ามเขตแดนประเทศจีนตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศเวียดนาม ลาวและไทย มีประชากรรวม 11,000,000 คน
ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือชุด “นานาภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีนตอนใต้ ภาคที่ 3 : ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต สาขาเหมียว-เหยา” โดยเป็นการรวบรวมคำศัพท์จากการศึกษาของนักวิชาการจีน แปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้นักวิชาการไทยได้ใช้ศึกษาเพิ่มเติม