นำเสนอใน การประชุมทางวิชาการจีนศึกษาระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง " จีนภิวัฒน์ในมิติภาษา วรรณกรรม การสอน
และวัฒนธรรมศึกษา จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ โครงการปริญญาโท หลักสูตรวัฒนธรรมจีนศึกษา
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ International College Nanjing
Normal University วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2555
บทคัดย่อ
บทความนี้เสนอข้อสังเกตเกี่ยวกับเสียงพยัญชนะต้นพ่นลม
/ph,th,ch,kh/ ในภาษาไทยมาตรฐาน
กับเสียงพยัญชนะต้นไม่พ่นลม /p,t,c,k/ ในภาษาไทยถิ่นเหนือเปรียบเทียบกับคำในภาษาจีน
จากการศึกษาพบว่า คำที่มีพยัญชนะต้นเสียงพ่นลมในภาษาไทยมาตรฐาน เป็นเสียงปฏิภาคกับเสียงไม่พ่นลมในภาษาไทยถิ่นเหนือ
คำเดียวกันนี้สามารถหาคู่คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงไม่พ่นลมในภาษาจีนได้
และมีความหมายที่สัมพันธ์กัน ข้อมูลดังกล่าวเป็นหลักฐานที่สามารถชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของภาษาตระกูลไทกับภาษาจีนได้
คำสำคัญ :
ภาษาตระกูลไท ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นไทย
คำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทย-จีน
Abstract
This
article is a notice of the relation of
an aspiration consonants /ph,th,ch,kh/ in Thai and unaspiration /p,t,c,k/ in Northern Thai dialect compare
with Chinese. The study found that the
aspiration consonants in Thai are correspondence
to the unaspiration consonants in The Northern Thai dialect, those
words can be found the words in Chinese
that are similar both sound and meaning. The data will be the evidence that indicates
the relationship of Tai language family and Chinese language.
Keywords : Tai language family,
Sino-Tibetan language family, Northern Thai dialect, Thai-Chinese cognate
摘要
本文针对标准 泰语送气音 /ph,th,ch,kh/ 、泰北方言不送气音
/p,t,c,k/ 与汉语 相关词的关系进行探讨。研究发现标准泰语的送气音声母与泰北方言不送气音声母是对立音关系,而泰北方言不送气音声母能够在汉语词中找到音义相同或相似的关系词。 这些词足以作为汉泰语关系词研究的材料。
关键词:傣语族 、汉藏语系、泰国北方言、泰语方言、汉泰语同源词
1. บทนำ
นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ได้ศึกษาเพื่อสืบหาต้นตอของภาษาตระกูลไทว่ามีต้นกำเนิดมาจากที่ใดกันแน่
ที่ผ่านมานักวิชาการมุ่งความสนใจไปที่ตอนใต้ของประเทศจีน
เนื่องจากพบว่ามีกลุ่มชนที่พูดภาษาคล้ายกับภาษาไทยหลายกลุ่มเช่น ไต จ้วง
ปูยี สุย เกอหล่าว เหมาหนาน เป็นต้น
อันเป็นหลักฐานที่จะสรุปนำไปสู่ข้อสรุปได้ว่า บรรพบุรุษของคนที่พูดภาษาตระกูลไท
ก็มี
ต้นกำเนิดบริเวณจีนตอนใต้นั่นเอง
จากการสังเกตความสัมพันธ์ของภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาไทยถิ่นเหนือ
พบความสัมพันธ์ที่เด่นชัดอย่างหนึ่งคือ
คำที่พยัญชนะต้นออกเสียงเป็นเสียงพ่นลมในภาษาไทยมาตรฐาน ในภาษาไทยถิ่นเหนือจะออกเสียงเป็นเสียงไม่พ่นลม กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ
เสียงพยัญชนะต้นพ่นลมในภาษาไทยมาตรฐานเป็นเสียงปฏิภาคกับเสียงไม่พ่นลมในภาษาไทยถิ่นเหนือ เช่น เสียง
/ ph – p/ ในคำว่า เพื่อน - เปื้อน เสียง
/th – t/ ในคำว่า ที่ –
ตี้ เสียง /ch -c/
ในคำว่า เช้า – จ๊าว เสียง / kh – k / ในคำว่า
โค้ง – โก้ง
ข้อสังเกตในบทความนี้ก็คือ
เสียงไม่พ่นลมในภาษาไทยถิ่นเหนือซึ่งเป็นเสียงปฏิภาคกับเสียงพ่นลมในภาษาไทยมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นนั้น
สามารถหาคู่คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นไม่พ่นลมได้ในภาษาจีน จากคำตัวตัวอย่างข้างต้น มีคู่คำภาษาจีนดังนี้
ตารางที่ 1 ตัวอย่างคำภาษาไทยมาตรฐาน
ภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาจีนที่สันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กัน (อักษรกลาง-ต่ำ)
เสียง
|
ไทยมาตรฐาน (พ่นลม)
|
ไทยถิ่นเหนือ (ไม่พ่นลม)
|
จีน(ไม่พ่นลม)
|
/ ph –
p/
|
เพื่อน
|
เปื้อน
|
伴 bàn
|
/th –
t/
|
ที่
|
ตี้
|
地 dì
|
/ch -c/
|
เช้า
|
จ๊าว
|
早 zǎo
|
/ kh – k /
|
โค้ง
|
โก้ง
|
弓 ɡōnɡ
|
นอกจากนี้ยังสังเกตพบอีกว่า
หากภาษาไทยมาตรฐานเป็นเสียงพ่นลมที่เป็นอักษรกลางและอักษรต่ำ ในภาษาไทยถิ่นเหนือจะออกเสียงไม่พ่นลม
และสามารถหาคู่คำที่เป็นเสียงไม่พ่นลมในภาษาจีนได้ แต่หากในภาษามาตรฐานเป็นเสียงพ่นลมอักษรสูง
ในภาษาไทยถิ่นเหนือจะออกเสียงพ่นลมเช่นเดียวกัน
ซึ่งคำดังกล่าวสามารถหาคู่คำที่เป็นเสียงพ่นลมได้ในภาษาจีน กล่าวโดยสรุปก็คือ
เป็นเสียงพ่นลมทั้งสามภาษา แต่ก็มีบางคำที่ในภาษาจีนไม่เป็นเสียงพ่นลม แต่เป็น ความสัมพันธ์แบบอื่น
ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
ตารางที่ 2 ตัวอย่างคำภาษาไทยมาตรฐาน
ภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาจีนที่สันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กัน (อักษรสูง)
เสียง
|
ไทยมาตรฐาน (พ่นลม)
|
ไทยถิ่นเหนือ (พ่นลม)
|
จีน (พ่นลม)
|
/ph –
p/
|
แผ่น
|
แผ่น
|
片 piàn
|
/th –
t/
|
ถีบ
|
ถีบ
|
踢 tī
|
/ch -c/
|
ฉิ่ง
|
ฉิ่ง
|
磬 qìnɡ
|
/kh – k/
|
ขม
|
ขม
|
苦 kǔ
|
2. ข้อสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเสียงพ่นลมในภาษาไทยมาตรฐานและเสียงไม่พ่นลมในภาษาไทยถิ่นเหนือกับคำในภาษาจีน
บทความนี้นำเสนอข้อสังเกตเกี่ยวกับเสียงพยัญชนะต้นพ่นลม
[ph,th,ch,kh] ในภาษาไทยมาตรฐาน
กับเสียงพยัญชนะต้นไม่พ่นลม [p,t,c,k] ในภาษาไทยถิ่นเหนือเปรียบเทียบกับคำในภาษาจีน โดยจะแบ่งหัวข้ออภิปรายดังนี้
1. การศึกษาเกี่ยวกับภาษาตระกูลไท
2.
การเปรียบเทียบคำศัพท์เสียงพ่นลมและไม่พ่นลมภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาไทยถิ่นเหนือ
และภาษาจีน
3.
สรุปอภิปรายผล
2.1 การศึกษาเกี่ยวกับการจัดแบ่งตระกูลของภาษาไทย
2.1.1 การจัดแบ่งภาษาตระกูลไท
ภาษาตระกูลจีนทิเบต และภาษาถิ่นตระกูลไทย
เกี่ยวกับการจัดแบ่งตระกูลภาษาของภาษาไทยนี้
นักภาษาศาสตร์มีข้อคิดเห็นแตกต่างกันไปหลายทฤษฎี
ความแตกต่างนี้ไม่เพียงเกิดขึ้นในเรื่องของการจัดแบ่งตระกูลภาษา
หากแต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงชื่อเรียกภาษาด้วย ไม่ว่าจะเป็น ไทย ไท ไต ได ลาว สยาม
กัมไท ในภาษาจีนก็เช่นเดียวกัน
มีตัวอักษรที่เรียกชื่อภาษาไทหรือชาวไทอย่างน้อยสี่ตัวขึ้นไป คือ泰 (tài) 傣 (dǎi) 台 (tái ) 暹 (xiān) สำหรับชื่อเรียกภาษา
มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมายแล้ว เช่น เรืองเดช
(2531) ในหนังสือชื่อ “ภาษาถิ่นตระกูลไทย” จิตร(2519) ในหนังสือชื่อ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอมและลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ”
สุริยา (2548) ในหนังสือชื่อ “นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์
: ภาษาตระกูลไท” สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ตามรายการที่ให้ในบรรณานุกรม
แต่สิ่งสำคัญที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ
การจัดแบ่งตระกูลภาษาที่แสดงให้เห็นว่าภาษาไทยและภาษาจีนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
ผู้เขียนจะเรียกตาม สุริยา (2548:1-14) ที่ว่าคำว่า “ไท” เป็นคำที่เป็นกลางมากที่สุด
ในบทความนี้จึงจะเรียกตามว่า “ภาษาตระกูลไท” ยกเว้นการอ้างอิงข้อความคิดของนักวิชาการท่านอื่น
จะคงคำเรียกตามที่อ้างมา ส่วนภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาไทยที่มี ย.
บางตำราเรียกว่าภาษาไทยกรุงเทพ
ในบทความนี้เรียกว่า ภาษาไทย
โดยทั่วไปถือว่าภาษาไทยเป็นตระกูลย่อยภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาใหญ่
จีน-ทิเบต ซึ่งภาษาตระกูลจีน – ทิเบตนี้ เป็นตระกูลภาษาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แบ่งออกเป็น 4 สาขาคือ
(1)สาขาภาษาจีน (2)สาขาภาษาไทย (3) สาขาแม้วเย้า (4) สาขาทิเบตพม่า (เรืองเดช. 2531:2) อย่างไรก็ตามนักภาษาศาสตร์หลายท่านเรียกชื่อตระกูลภาษานี้แตกต่างกันไป อย่างเช่น
เกรียสัน (Grierson.1903:28)
เรียกรวมเป็นตระกูลเดียวกันกับภาษาจีนว่า ตระกูลภาษาไทยจีน (Siamese-Chinese
family) เบเนดิก (Benedict. 1975:576-601) เรียกว่า ออสโตร – ไทย (Astro-Tai) เพราะเห็นว่าเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลออสโตรเนเชียน ต่อมามีการตั้งชื่อตระกูลภาษาไทอีกหลายชื่อด้วยเหตุผลต่างๆ
เช่น บ้างเรียกว่า ตระกูลภาษาไทย ตระกูลภาษาไต
แยกออกมาเป็นตระกูลภาษาใหญ่ต่างหาก
บ้างเรียกว่าตระกูลคำไต (KamTai family) และ
ภาษาไดอิก (Daic) โดยรวมภาษาไทยถิ่นต่างๆที่พูดในประเทศต่างๆ
8 ประเทศเป็นตระกูลเดียวกันหมด เบเนดิก (Benedict. 1942:576-601) ได้ตั้งชื่อตระกูลภาษานี้ใหม่ว่า
ตระกูลภาษาไทยกะได (Tai Kadai)
เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาษาไทยถิ่นที่พูดอยู่ที่เกาะไหหลำ อ่าวตังเกี๋ย
และภาษากลุ่มตระกูลภาษาไทยที่พูดอยู่ที่ประเทศจีน และเวียดนามทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีการแบ่งภาษาตระกูลไทโดยยึดเกณฑ์ต่างๆกัน
เช่น พระยาอนุมานราชธน (เรืองเดช
ปันเขื่อนขัติย์. 2531:61
อ้างอิงจาก พระยาอนุมานราชธน.2517) เป็นการจัดแบ่งโดยยึดหลักภูมิศาสตร์
ก็กล่าวถึงกลุ่มภาษาไทย-จีน คือภาษาไทยที่พูดอยู่เขตประเทศจีนบริเวณกวางสี ไกวเจา
กวางตุ้ง เช่นภาษาไทยลาย ไทยลุง ไทยย้อย ไทยโท้ ไทยนุง ผลงานของนักวิชาการชาวจีน
หลี่ฟางกุ้ย (Li Fanggui)(Li:1959) ที่ใช้หลักเกณฑ์ทางภาษา
คือเกณฑ์ทางการกระจายคำศัพท์ ลักษณะทางเสียงและพัฒนาการทางเสียง
ในการแบ่งกลุ่มภาษาไทยก็ชี้ให้เห็นความเกี่ยวข้องของภาษาไทที่พูดอยู่ในประเทศจีนกับภาษาไทยกลุ่มอื่นๆ
ด้วยเช่นกัน
ยังมีนักภาษาศาสตร์อีกหลายท่านที่ศึกษาภาษาตระกูลไท
และจัดให้ภาษาที่พูดอยู่ในประเทศจีน
หรือภาษาที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาจีนเป็นสมาชิกในภาษาตระกูลไท เช่น เฮิร์ทแมน (John F. Hurtmann. 1986)
จัดแบ่งภาษาไทยเฉพาะกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ของ Li Fanggui
เป็นกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ตอนล่าง ตอนกลางและตอนบน
กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ตอนล่างนี้ครอบคลุมไปถึงตอนใต้สุดของตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
และยังมีนักภาษาศาสตร์ในยุคต่อจาก Li Fanggui อีกหลายท่าน
เช่น บราวน์ เจดนี และ แชมเบอร์เลน (Brown.1965;Gedney.1972; Chamberlain.1972) ก็ได้ดำเนินรอยตาม
Li Fanggui
โดยในการจัดแบ่งภาษาตระกูลไทล้วนมีความเกี่ยวข้องกับภาษาตระกูลจีน
หรือเป็นภาษาไทที่พูดอยู่ในประเทศจีนทั้งสิ้น
เรืองเดช (2531) นักวิชาการภาษาตระกูลไทยได้จัดแบ่งภาษาตระกูลไทยออกเป็น
“กลุ่มไท” โดยรวมภาษากลุ่มไทสยามและลาวไว้ในกลุ่มเดียวกัน
และ “กลุ่มไต” รวมภาษาไตยวน ไตหลวง
ไตจีนไว้ด้วยกัน
จากข้อมูลการศึกษาและการจัดแบ่งภาษาตระกูลไทจะเห็นว่าภาษาไทยมีร่องรอยความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาษาจีนอยู่
ผลงานชิ้นสำคัญที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของภาษาไทยและภาษาจีนโดยวิธีการเปรียบเทียบคำศัพท์
เช่น คอนเรดี และ วัลฟ ( 龚群虎.2002:5,อ้างอิงจาก Conrady & Wulff)
รวบรวมคำศัพท์ที่เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทย-จีนกว่า 200
คำ ประพิน (P.Manomaivibool:1975) รวบรวมคำศัพท์ภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์
ที่สันนิษฐานว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยจีนถึง 600 คำ นักวิชาการชาวจีน Li
Fanggui (李方桂:1976) ได้รวบรวมคำศัพท์ร่วมเชื้อสายระหว่างภาษาจีนกับภาษาในสาขาภาษาไท(ไต)
ร้อยกว่าคำ และงานวิจัยชิ้นล่าสุดที่สนับสนุนแนวคิดคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยจีนคือ
ผลงานของ กงฉวินหู่ (Gong Qunhu) (龚群虎:2002) ผลการวิจัยนี้เปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาไทยกับภาษาจีน
และชี้ให้เห็นวิวัฒนาการความสัมพันธ์ของภาษาไทยและจีนในแต่ละยุค แบ่งเป็น 3
ช่วงคือ (1) คำศัพท์ร่วมสายเลือดภาษาไทยจีน
ซึ่งหมายถึงคำศัพท์ที่เคยเป็นภาษาเดียวกันมาตั้งแต่อดีต (2)
คำศัพท์ที่มีการถ่ายเทซึ่งกันและกันในยุคสองพันปีลงมา (3) คำศัพท์ที่ภาษาไทยยืมมาจากภาษาจีนในยุคที่ชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยในระยะร้อยสองร้อยปีมานี้
นับเป็นการเพิ่มเติมความรู้และวงคำศัพท์ให้กับวงการศึกษาคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาไทยจีนเป็นอย่างมาก
ตามทรรศนะของนักวิชาการจีน
จัดภาษาไทยอยู่ในภาษาตระกูลจีนทิเบต สาขาภาษาต้ง-ถาย สาขาย่อยภาษาไต (梁敏,张均如:1996:7) โดยมีความสัมพันธ์ตามลำดับคือ ภาษาตระกูลจีนทิเบต แบ่งเป็น สาขาภาษาฮั่น
สาขาทิเบตพม่า สาขาภาษาเย้า สาขาภาษาจ้วงต้ง ในสาขาจ้วงต้ง แบ่งเป็นกลุ่มภาษาจ้วงไต
กลุ่มภาษาต้งสุย กลุ่มภาษาหลี ในกลุ่มภาษาจ้วงไต มีสมาชิกคือ ภาษาไต ภาษาไทย
และภาษาลาว ดังแผนภูมิต่อไปนี้
ในหนังสือชื่อ
ภาษาถิ่นตระกูลไทย ของ เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์
(เรืองเดช:2531,132)
ในหนังสือเล่มนี้มีแผนภูมิการจัดกลุ่มภาษาถิ่นตระกูลไทยในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น
19 ภาษาถิ่นด้วยกัน ได้แก่ 1.ภาษาไทสยาม หรือ ภาษาไทยกลาง 2.
ภาษาไทใต้หรือภาษาไทยถิ่นใต้ 3.ภาษาไทตากใบ 4.ภาษาไทลาว หรือภาษาไทยถิ่นอีสาน
5.ภาษาไทญ้อ 6.ภาษาไทโย้ย 7. ภาษาไทพวน 8.ภาษาผู้ไท 9. ภาษาไทกะเลิง 10 ภาษานครไท
11.ภาษาไทแสก 12. ภาษาไตยวน หรือ ภาษาคำเมือง 13. ภาษาไตใหญ่ 14. ภาษาไตหย่า
15.ภาษาไตขึน 16. ภาษาไตลื้อ 17. ภาษาไตยอง 18.ภาษาไตดำ 19.ภาษาไตแดง
ในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายภาษาถิ่นตระกูลไทยข้างต้น หมายเลข 12. ภาษาไตยวน หรือ ภาษาคำเมือง ว่า ภาษาไทยถิ่นเหนือได้แก่ภาษาลานนา (Lanna)
หรือภาษาไตยวน (Tai Yuan) ที่พูดโดยคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ 8
จังหวัดในภาคเหนือของไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน
เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง แม่ฮ่องสอนและบางอำเภอและหมู่บ้านในเขตจังหวัดตาก
สุโขทัย และอุตรดิตถ์ เจ้าของภาษานิยมเรียกภาษาของตนเองว่า
“คำเมือง”
จากการจัดแบ่งตระกูลภาษาข้างต้นจะเห็นว่าภาษาไทยถิ่นเหนือซึ่งเป็นสมาชิกของภาษาถิ่นตระกูลไทย
มีความสัมพันธ์
ร่วมเชื้อสายกับภาษาจีน
นอกจากนี้ยังมีข้อสนับสนุนตามแนวคิดทางประวัติศาสตร์ดังนี้
พิจารณาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ใน Wikipedia เรื่อง อาณาจักรล้านนา มีข้อมูลว่า
อาณาจักรในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย สิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก
ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด
ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน
โดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง
ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา
(คัดลอกมาจาก ท่องโลกเมืองไทย:online) กล่าวถึงชาวไท ว่า ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึงปี
1793 ชาวไทได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากทั่วดินแดนภาคเหนือตอนบน
กลุ่มคนไทหลักๆ ที่เข้ามาตั้งรกราก ได้แก่ ชาวไทญวน ดินแดนของชาวไทญวนในภาคเหนือนี้เรียกว่า
“โยนก” ซึ่งเป็นภาษาไทยที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีว่า
“โยนะคะ” ผู้ปกครองคนแรกที่มีการบันทึกไว้คือพ่อขุนมังรายจากเผ่าไทลื้อแห่งเมืองเชียงรุ้งในมณฑลยูนนาน
ทั้งจากหลักฐานทางภาษา การจัดแบ่งตระกูลภาษาของนักภาษาศาสตร์ ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ทำให้เราเห็นว่า ภาษาไทยถิ่นเหนือมีสายใยความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับภาษาจีน
2.1.2
การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาถิ่นตระกูลไทกับภาษาอื่นๆ
หนังสือชื่อ
นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท
ของ สุริยา รัตนกุล (สุริยา : 2548)
ในหนังสือเล่มนี้บทที่สี่เป็นเรื่องของภาษาตระกูลไทและภาษาที่เกี่ยวข้องกับภาษาตระกูลไทในประเทศจีน
มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ภาษาตระกูลไทแท้ๆที่อยู่ในประเทศจีนมีภาษาตระกูลไททั้งสามสาขา
โดยภาษาไทฉาน ไทเหนือและไทลื้อเป็นภาษาตระกูลไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้
ภาษาไทโท้และไทนุงเป็นภาษาตระกูลไทสาขากลาง
และภาษาไทย้อยกับภาษาไทจ้วงเป็นภาษาตระกูลไทสาขาเหนือ
การที่ประเทศจีนมีตัวแทนของภาษาตระกูลไททั้งสามสาขาอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ดังนี้
ก็เพราะประเทศจีนเป็นถิ่นเดิมของผู้ที่พูดภาษาตระกูลไท
นักภาษาศาสตร์เชื่อกันว่าถิ่นเดิมของผู้พูดภาษาตระกูลไทเมื่อหลายพันปีก่อนนั้น
อยู่ที่บริเวณตอนใต้ของประเทศจีนตอนที่ต่อกับประเทศเวียดนาม”
นั่นก็หมายความว่าภาษาตระกูลไทในแผ่นดินจีนมีความสัมพันธ์กับภาษาฮั่น
ซึ่งสืบทอดมาเป็นภาษาจีนในปัจจุบันมานานแล้ว หากไม่พูดถึงคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท–จีน ที่หมายความถึงคำที่นักภาษาศาสตร์เชื่อว่า ครั้งหนึ่งเคยเป็นภาษาเดียวกันแล้วพัฒนาแตกสาขาไปเป็นภาษาอื่นๆ
แม้หากไม่เชื่อว่าภาษาไทยและภาษาจีนเป็นภาษาร่วมสายตระกูลเดียวกัน
อย่างน้อยๆ ในฐานะที่เป็นภาษาที่พูดอยู่ในดินแดนเดียวกัน ก็ย่อมมีการหลั่งไหลถ่ายเท
ผสมปนเปกัน จนใช้ร่วมกันมานานหลายพันปี
มีผลงานของนักวิชาการสองท่าน
คือ ปราณี กุลละวณิชย์ และสมทรง บุรุษพัฒน์ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทกับภาษาตระกูลจีน-ทิเบต
เช่น ศัพท์ไท 6 ภาษา(ปราณี:2527) พจนานุกรมจ้วงใต้–ไทย(ปราณี:2535) ภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติกัม-ไท(จ้วง-ต้ง)
(สมทรงและคณะ:2539) แนะนำชนชาติไท-กะได.(สมทรง บุรุษพัฒน์, เจอรี่ เอ เอ็ดมันสัน และมีแกน
ซินนอท:2541) พจนานุกรมกัม-จีน-ไทย-อังกฤษ (สมทรง บุรุษพัฒน์,
สุมิตรา สุรรัตน์เดชา และยัง ฉวน:2543)
วรรณกรรมของชนชาติกัม-ไท (จ้วง-ต้ง) ในประเทศจีน (สมทรง
บุรุษพัฒน์, โจว กั๋วเหยียน:2543) พจนานุกรมสุย-จีน-ไทย-อังกฤษ
(สมทรง บุรุษพัฒน์, เวย เอ็ดมันสัน:
2546) พจนานุกรมฮไล-จีน-ไทย-อังกฤษ.(สมทรง
บุรุษพัฒน์, เวน มิงยิงและเวน ยิง:2546) พจนานุกรมจ้วงเหนือ-จีน-ไทย-อังกฤษ (สมทรง บุรุษพัฒน์, ฉิน เชียวหาง.:2549)
การเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาตระกูลไท-กะได.(สมทรง บุรุษพัฒน์,โจว กั๋วเหยียน:
2552) เป็นต้น ผลงานเหล่านี้เป็นหลักฐานคลังคำศัพท์ที่ใช้ศึกษาเปรียบเทียบภาษาตระกูลไทได้เป็นอย่างดี
แต่ยังไม่พบการศึกษาเปรียบเทียบภาษาถิ่นของไทยกับภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต
จากการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยของผู้เขียนเอง
เรื่อง “การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์
เรื่อง ความสัมพันธ์ของภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน” (เมชฌ:2554) พบว่าการศึกษาที่นำภาษาถิ่นตระกูลไทยไปเปรียบเทียบกับภาษาจีนยังมีไม่มาก
จากงานวิจัยเรื่องดังกล่าวก็พบว่า
ภาษาไทยถิ่นอีสานมีคำศัพท์จำนวนมากที่สามารถหาคู่คำสัมพันธ์กับคำในภาษาจีนได้
บางคำเป็นคำที่ไม่ร่วมเผ่าพันธุ์กับภาษาไทยมาตรฐาน กล่าวคือ
เป็นคำที่ไม่มีในภาษาไทยมาตรฐาน แต่คำดังกล่าวมีในภาษาไทยถิ่นอีสาน
ภาษาไทยถิ่นเหนือ และยังสามารถหาคำที่มีความสัมพันธ์กันในภาษาจีนได้อีกด้วย ข้อมูลดังกล่าวสนับสนุนแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ของภาษาตระกูลไทกับภาษาจีนได้เช่นกัน
สืบเนื่องจากงานวิจัยเรื่องข้างต้นนี้ ผู้วิจัยพบว่า ชื่อเรียกของคนที่พูดภาษา ผู้ไทย (เขียน ผู้ไทย หรือ ภูไท ก็มี)
ซึ่งเป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดกระจัดกระจายในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่
บริเวณตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในเขตประเทศลาว และประเทศเวียดนามด้วย
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มชนเหล่านี้มีภาษาพูดใกล้เคียงกับชาวจ้วงในประเทศจีน
โดยเฉพาะชื่อเรียกชาว ปู้ต้าย(ภาษาจีนเขียนว่า布岱Bùdài
แต่เจ้าของภาษาออกเสียงว่า โป้ ต๋าย) ซึ่งเป็นชื่อเรียกชาวจ้วงแขนงที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด
อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองชาวจ้วง อำเภอหลงโจว ตำบลจินหลง มณฑลกว่างซี (广西壮族自治区龙州县金龙镇 Guǎnɡxī Zhuànɡzú zìzhìqū Lónɡ zhōuxiàn Jīnlónɡ zhèn) คำว่า ปู้ และ ต้าย ในที่นี่เป็นการออกเสียงอย่างภาษาไทกลุ่ม
ป. คือเสียงไม่พ่นลม เมื่อเปรียบเทียบกับเสียงของภาษาไทกลุ่ม พ. ก็คือคำว่า ผู้
และ ไทย นั่นเอง นำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่า ชาวผู้ไทยในประเทศไทย
สืบเชื้อสายมาจากชาว ปู้ต้าย นี่เอง จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่า
ผู้ที่พูดภาษาตระกูลไทในประเทศไทย
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งภาษาและเชื้อชาติกับกลุ่มชนในประเทศจีน
2.1.3
การศึกษาเกี่ยวกับเสียงพยัญชนะต้นพ่นลมและไม่พ่นลมในภาษาตระกูลไท
ในงานวิจัยเรื่อง การศึกษาภาษาไทและภาษาไทเปรียบเทียบ ของ
สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ (สมพงศ์: 2550,35)
ในบทที่ 2
ได้กล่าวถึงลักษณะร่วมและลักษณะต่างของภาษาไท โดยชี้ให้เห็นว่า
ลักษณะร่วมในระดับเสียงที่สามารถบอกความแตกต่างของภาษาไทได้ชัดเจนที่สุดมี 3 อย่างคือ
เสียงวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะ และเสียงสระ สำหรับลักษณะร่วมของเสียงพยัญชนะนั้น ในงานวิจัยนี้ให้ข้อมูลว่า
นักภาษาศาสตร์หลายคนได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างของภาษาไทในแง่ของเสียงพยัญชนะว่าอาจแบ่งได้เป็น
2 กลุ่ม คือ
(1)
กลุ่มเสียง
พ. คือ ภาษาไทที่ออกเสียง /ค ช ท พ/ แบบพ่นลม ภาษาไทที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ภาษาไทย
ภาษาลาว
เป็นต้น
(2)
กลุ่มเสียง
ป. คือ ภาษาไทที่ออกเสียง /ค ช ท พ/ เป็นเสียง /ก จ ต ป/ ตามลำดับ ซึ่งเป็นเสียงไม่พ่นลม
ภาษาไทที่
จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ภาษายวน (เชียงใหม่) ลื้อ ขึน
ไต (ไทใหญ่) เป็นต้น
การใช้เกณฑ์เรื่องเสียงพยัญชนะกลุ่ม
ป. และกลุ่ม พ. ในการศึกษาภาษาตระกูลไทนั้น
มีผลงานการศึกษาของนักภาษาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1.
อองรี มาสเปโร ( Maspero:1911) ได้ใช้เรื่องการกลายเสียงของพยัญชนะต้นในการแบ่งกลุ่มภาษาไท
คือ เสียงก้องใน
ภาษาไทดั้งเดิมที่เป็นเสียงกัก
เช่น *b *d *g เป็นต้น ได้กลายเป็นเสียงไม่ก้อง คือเสียง p t k (ป ต
ก) เช่นในภาษาไทดำ ไทใหญ่ ไทอาหม และภาษาเชียงใหม่ และเป็นเสียงไม่ก้องมีลมคือ
ph th kh (พ ท ค) ในภาษาไทยและลาว เป็นต้น
2.
เจมส์
อาร์. แชมเบอร์เลน (1972,1975) ได้แนวคิดใหม่ในการแบ่งภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้
โดยใช้เกณฑ์เรื่องเสียง
พ่นลม และไม่พ่นลมของเสียงพยัญชนะต้น ผลการศึกษาสามารถแบ่งกลุ่มภาษาไทออกเป็น
2 กลุ่ม
คือ
(1) กลุ่ม /ป/ ภาษายวนถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้
(2) กลุ่ม /พ/ ภาษาไทยถูกจัดให้เข้าอยู่ในกลุ่มนี้
3. จอห์น
เอฟ ฮารต์มันน์(1977)ใช้หลักเกณฑ์การกลายเสียงของเสียงพยัญชนะต้นและการยืดสระให้เสียงยาว
แบ่งภาษาไท
ออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
(1) ภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ตอนบน เป็นภาษากลุ่ม /ป/ ไม่มีการยืดเสียงสระ
(2) ภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ตอนกลาง เป็นกลุ่ม /ป/ มีการยืดสระให้มีความแตกต่างระหว่างสระสั้นและสระยาว
ภาษาไทยถิ่นเหนือที่พูดในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์
ถูกจัดให้อยู่กลุ่มนี้
(3) ภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ตอนล่าง ที่ได้กลายเสียงเป็นกลุ่ม /พ/ และมีการยืดเสียงสระให้แตกต่างกัน
ได้แก่ภาษาไทย ภาษาใต้ ภาษาไทยอีสาน และลาว เป็นต้น
4. เอ็ดเวิร์ด โรบินสัน (1995:146) ได้ใช้เกณฑ์ด้านเสียงตามแนวคิดของ
เจมส์ อาร์. แชมเบอร์เลน เพื่อแบ่งกลุ่มย่อยของภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้
โดยแบ่งเป็น
(1) กลุ่ม /พ/ ได้แก่ เหนือ – อยุธยา และ
ลาว – สุโขทัย
(2) กลุ่ม /ป/ ได้แก่ กลุ่มตะวันออก และกลุ่มตะวันตก ภาษายวนถูกจัดให้เข้าอยู่ในกลุ่มนี้
จากข้อมูลการศึกษาภาษาตระกูลไทและภาษาตระกูลจีน-ทิเบตจะเห็นว่า
นักภาษาศาสตร์จีนจัดให้ภาษาไทเป็นสมาชิกในภาษาตระกูลจีนทิเบต
แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการจัดแบ่งตระกูลภาษา
เพราะมีนักภาษาศาสตร์อีกฝ่ายที่เห็นว่าควรแยกภาษาไทออกมาจากภาษาตระกูลจีนทิเบต
ตั้งเป็นตระกูลภาษาใหญ่อีกหนึ่งตระกูลเรียกว่า ภาษาตระกูลไท
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาข้างต้นทำให้เรารู้ว่า มีนักภาษาศาสตร์ฝ่ายหนึ่งที่เห็นว่าภาษาไทมีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับภาษาจีน
จึงได้ดำเนินการศึกษาความสัมพันธ์ของทั้งสองภาษาในรูปแบบต่างๆ
เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ของทั้งสองภาษา
รูปแบบความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่นักภาษาศาสตร์ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ทั้งความเหมือนและความต่างของภาษาไท
คือ เสียงพยัญชนะต้นพ่นลมที่เรียกว่า กลุ่ม พ.
และเสียงพยัญชนะต้นไม่พ่นลมที่เรียกว่า กลุ่ม ป. วิธีการศึกษาและหลักฐานทางภาษาในรูปแบบนี้ทำให้นักภาษาศาสตร์นำมาเป็นปัจจัยในการจัดแบ่งกลุ่มภาษาภายในตระกูลภาษาไทได้
บทความนี้จะได้ศึกษาความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับภาษาไทยถิ่นเหนือเปรียบเทียบกับคำในภาษาจีน
โดยอาศัยพื้นฐานการศึกษาภาษาไทกลุ่ม ป. และ กลุ่ม พ. ดังจะได้นำเสนอข้อมูลในหัวข้อต่อไป
2.2. การเปรียบเทียบคำศัพท์เสียงพ่นลมและไม่พ่นลมในภาษาไทยมาตรฐาน
ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาจีน
ต่อไปนี้จะใช้สัญลักษณ์
พ. หมายถึงเสียงพ่นลม ได้แก่เสียง /ph,th,ch,kh/ และ
ป. หมายถึงเสียงไม่พ่นลม ได้แก่เสียง /p,t,c,k/
2.2.1
เปรียบเทียบเสียงภาษาไทยพ่นลม
พ. ภาษาไทยถิ่นเหนือไม่พ่นลม ป. และภาษาจีนไม่พ่นลม
ป. (อักษรกลาง – ต่ำ)
2.2.1.1
กลุ่มเสียง
Bilabial คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียง /ph/ ภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็น /p/ สามารถ
หาคู่คำในภาษาจีนออกเสียงเป็น
/p/ ได้ ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
ตารางที่ 1. ตัวอย่างคำกลุ่มเสียง Bilabial
(อักษรกลาง – ต่ำ)
ภาษาไทยมาตรฐาน /ph/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /p/
|
|
พา
|
ปา
|
把 bǎ
|
(พ่าย) แพ้
|
แป๊
|
败 bài
|
เพื่อน
|
เปื้อน
|
伴 bàn
|
พัน
|
ปัน
|
绊,绑 bàn , bǎnɡ
|
พิง
|
ปิง
|
并 bìnɡ
|
พัง
|
ปัง
|
崩 bēnɡ
|
2.2.1.2
กลุ่มเสียง Alveolar คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น /th/ ภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็น /t/
สามารถหาคู่คำในภาษาจีนออกเสียงเป็น
/t/ ได้ ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
ตารางที่ 2. ตัวอย่างคำกลุ่มเสียง Alveolar (อักษรกลาง – ต่ำ)
ภาษาไทยมาตรฐาน / th /
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ / t /
|
ภาษาจีน / t / *d
|
ที่
|
ตี้
|
地 dì
|
ที่
|
ตี้
|
第 dì
|
ท้อง
|
ต้อง
|
肚 dù
|
ท่อน
|
ต้อน
|
段 duàn
|
ไท
|
ไต
|
傣dǎi
|
2.2.1.3
กลุ่มเสียง
Palatal
คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น
/ch/ ภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็น
/c/
สามารถหาคู่คำในภาษาจีนออกเสียงเป็น / tɕ,tʂ,ts / ได้ ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
ตารางที่ 3. ตัวอย่างคำกลุ่มเสียง Palatal (อักษรกลาง – ต่ำ)
ภาษาไทยมาตรฐาน / ch /
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ / c /
|
ภาษาจีน/tɕ,tʂ,ts/ *j zh z
|
ช่าง
|
จั้ง
|
匠 jiànɡ
|
ช่วย
|
จ้วย
|
助zhù,救 jiù
|
เช้า
|
เจ๊า
|
早 zǎo 朝 zhǎo
|
ชื้น
|
จื้น
|
沾 zhān
|
ชี้
|
จี๊
|
指 zhǐ
|
2.1.1.4
กลุ่มเสียง
Velar คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น
/kh/ ภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็น /k/
สามารถหาคู่คำในภาษาจีนออกเสียงเป็น /k / ได้ ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
ตารางที่ 4. ตัวอย่างคำกลุ่มเสียง Velar (อักษรกลาง – ต่ำ)
ภาษาไทยมาตรฐาน /kh/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /k/
|
ภาษาจีน /k/ *g
|
ค้าง
|
ก๊าง
|
该
ɡāi
|
คัน
(cl.)
|
กัน
|
杆 ɡǎn
|
คัน (นา)
|
กัน
|
埂 ɡěnɡ
|
ไม้คาน
|
กาน
|
杠 ɡànɡ
|
คู คลอง
|
กู
|
沟 ɡōu
|
2.2.2 เปรียบเทียบเสียงภาษาไทยมาตรฐานเสียงพ่นลม ภาษาไทยถิ่นเหนือเสียงพ่นลม และภาษาจีนเสียง
พ่นลมหรือเสียงอื่น (อักษรสูง)
2.2.2.1
กลุ่มเสียง
Bilabial คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น /ph/ ภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็น /ph/
เหมือนกัน
สามารถหาคู่คำในภาษาจีนออกเสียงเป็น
/ph/ ได้ หรือไม่ก็เป็นคำที่ออกเสียงอื่น แต่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ
ตารางที่ 5. ตัวอย่างคำกลุ่มเสียง Bilabial (อักษรสูง)
ภาษาไทยมาตรฐาน /ph/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /ph/
|
ภาษาจีน / ph,f / * p f
|
ผิว
|
ผิว
|
皮 pí
|
แผ่น
|
แผ่น
|
片 piàn
|
ผม
|
ผม
|
发 fā
|
ผง
|
ผง
|
粉 fěn
|
ผึ้ง
|
ผึ้ง
|
蜂 fēnɡ
|
2.2.2.2
กลุ่มเสียง Alveolar คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น /th/ ภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็น /th/
เหมือนกัน
สามารถหาคู่คำในภาษาจีนออกเสียงเป็น
/th/ ได้ หรือเสียง /t/
ตารางที่ 6. ตัวอย่างคำกลุ่มเสียง Alveolar (อักษรสูง)
ภาษาไทยมาตรฐาน /th/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /th/
|
ภาษาจีน /th , t / * t d
|
แถว
|
แถว
|
条
tiáo
|
ถ่าน
|
ถ่าน
|
炭 tàn
|
ถอย
|
ถอย
|
退
tuì
|
ถ้ำ
|
ถ้ำ
|
峒 dònɡ,硐 dònɡ
|
ถั่ว
|
ถั่ว
|
豆 dòu
|
2.2.2.3
กลุ่มเสียง
Palatal คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น /ch/ ภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็น
/ch/
เหมือนกัน สามารถหาคู่คำในภาษาจีนออกเสียงเป็น /ch / ได้
ตารางที่ 7. ตัวอย่างคำกลุ่มเสียง Palatal (อักษรสูง)
ภาษาไทยมาตรฐาน /ch/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /ch/
|
ภาษาจีน /tɕʻ , tsʻ , tʂʻ/ * q c ch
|
ฉีก
|
ฉีก
|
拆
chāi
|
ฉาง
|
ฉาง
|
仓
cānɡ
|
ฉวย
|
ฉวย
|
趁 chèn
|
ฉุน
|
ฉุน
|
呛 qiànɡ
|
ฉิ่ง
|
ฉิ่ง
|
磬 qìnɡ
|
2.2.2.4
กลุ่มเสียง Velar คำที่ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงเป็น /kh/ ภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็น
/kh/
เหมือนกัน สามารถหาคู่คำในภาษาจีนออกเสียงเป็น /kh/ ได้ หรือไม่ก็เป็นคำที่ออกเสียงอื่น
แต่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ
ตารางที่ 8. ตัวอย่างคำกลุ่มเสียง Velar (อักษรสูง)
ภาษาไทยมาตรฐาน /kh/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /kh/
|
ภาษาจีน /kh, tɕʻ/
* k q
|
ไข
|
ไข
|
开
kāi
|
แข็ง
|
แข็ง
|
康 kānɡ
|
ขู่
|
ขู่
|
恐
kǒnɡ
|
ขี่
|
ขี่
|
骑 qí
|
ขอ
|
ขอ
|
求 qiú
|
จากข้อมูลการเปรียบเทียบคำศัพท์ข้างต้น พอจะมองเห็นภาพความสัมพันธ์ของเสียงพ่นลม
(พ.) และเสียงไม่พ่นลม (ป.) ในภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาจีน
สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ตารางที่ 9 เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของเสียงพ่นลม
และเสียงไม่พ่นลมในภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาจีน
|
อักษร
|
ภาษาไทย
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ
|
ภาษาจีน pinyin
|
การพ่นลม
|
Bilabial
/p - ph/
|
กลาง-ต่ำ
|
ph
|
p
|
b
|
ป.
|
สูง
|
ph
|
ph
|
p
|
b , f
|
พ.
|
ป./อื่น
|
Alveolar
/t - th/
|
กลาง-ต่ำ
|
th
|
t
|
d
|
ป.
|
สูง
|
th
|
th
|
t
|
d
|
พ.
|
ป.
|
Palatal
/c - ch /
|
กลาง-ต่ำ
|
ch
|
c
|
j
z zh
|
ป.
|
สูง
|
ch
|
ch
|
ch
|
พ.
|
Velar
/k - kh/
|
กลาง-ต่ำ
|
kh
|
k
|
g
|
ป.
|
สูง
|
kh
|
kh
|
k
|
q
|
พ.
|
3 . บทสรุป
3.1 ภาษาไทยมาตรฐาน จัดเป็นภาษาไทกลุ่ม พ. ได้แก่เสียงพ่นลม /ค ช ท พ/ เสียงนี้เมื่อเป็นภาษาไทยถิ่นเหนือ
ซึ่งจัดเป็นภาษาไทกลุ่ม /ป/ จะออกเสียงเป็นเสียงไม่พ่นลม
/ก จ ต ป/ แต่การเปลี่ยนจากเสียงพ่นลมเป็นเสียงไม่พ่นลมเช่นนี้ จะเกิดกับพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรกลางและอักษรต่ำ
แต่ถ้าเป็นอักษรสูง
ในภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็นเสียงพ่นลมเหมือนกัน
3.2 พยัญชนะเสียงพ่นลมในภาษาไทยมาตรฐาน
(พ.) ที่เป็นอักษรกลางและต่ำ ภาษาไทย ถิ่นเหนือจะออกเสียงเป็นเสียงไม่พ่นลม (ป) ซึ่งเสียงไม่พ่นลมในภาษาไทยถิ่นเหนือนี้
สามารถหาคู่คำที่ออกเสียงไม่พ่นลม (ป.) และมีความหมายเหมือนกันในภาษาจีนได้
3.3 คำที่เป็นอักษรสูง ทั้งภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่นเหนือออกเสียงเป็นเสียงพ่นลม
(พ.) เหมือนกัน และคำที่
ออกเสียงพ่นลมนี้สามารถหาคู่คำที่มีความสัมพันธ์กันทั้งเสียง
(พ.) และความหมายในภาษาจีนได้ หรือหากเป็นเสียงอื่น
ก็จะเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นระบบ
อภิปราย
นักภาษาศาสตร์ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษา
ให้ความสำคัญกับหลักฐานทางภาษาที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ระบบเสียง คำ
และไวยากรณ์ รวมถึงประวัติศาสตร์ด้วย
ทั้งนี้เพื่อหาหลักฐานมาอธิบายและชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองภาษา
หรือของกลุ่มภาษาที่สันนิษฐานว่ามีความเกี่ยวข้องกัน
ในการศึกษาความสัมพันธ์ของภาษาตระกูลไทนั้น
หลักฐานเรื่องเสียงพ่นลม พ. กับเสียงไม่พ่นลม ป. เป็นหลักฐานหนึ่งที่นักภาศาสตร์ให้ความสำคัญ
โดยนำมาเป็นปัจจัยในการจัดแบ่งกลุ่มภาษา
บทความนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเสียง พ. และ ป.
ในภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาไทยถิ่นเหนือ เปรียบเทียบกับภาษาจีน ดังปรากฏในข้อมูลว่ามีความเกี่ยวข้องกันอยู่ ความสัมพันธ์นี้อาจจะยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย
หรือเป็นการยืมในลักษณะการสัมผัสภาษามาแต่อดีต
แต่ที่แน่นอนก็คือว่า หลักฐานที่ปรากฏนี้
ชี้ให้เชื่อได้ว่า คำดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน และชี้ให้เห็นว่า
ภาษาไทมีความสัมพันธ์กับภาษาจีน อันเป็นแนวทางที่นักภาษาศาสตร์ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต
ให้ความสนใจศึกษามาตลอด
บรรณานุกรม
จิตร
ภูมิศักดิ์.(2519) ความเป็นมาของคำสยาม
ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ.
พิมพ์ครั้งที่ 1. , กรุงเทพฯ:
โครงการ ตำราสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2554) การศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เรื่อง
“คำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน ในภาษาไทยถิ่นอีสาน”
The Journal. Journal of the Faculty of Liberal Arts, Mahidol University. Vol.7No.2 (2010) p.125-149.
บุญช่วย
ศรีสวัสดิ์.(2547) ไทยสิบสองปันนาเล่ม 1 .พิมพ์ครั้งที่ 3 ,กรุงเทพฯ:ศยาม,.
ปราณี กุละวณิชย์.(2535) พจนานุกรมจ้วงใต้ –
ไทย.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี กุละวณิชย์และคณะ.(2527) ศัพท์ไท 6 ภาษา.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชราภรณ์ เศวตสุวรรณ.(2530)
การศึกษาเปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาถิ่นอีสานที่ไม่รวมเผ่าพันธุ์ภาษาไทยกลางกับภาษาตระกูลไท.
ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2531)ภาษาถิ่นตระกูลไทย.
พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ.(2551) ภาษาไทยถิ่น.พิมพ์ครั้งที่ 3,กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมทรง บุรุษพัฒน์ , และคณะ. (2539).ภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติกัม-ไท (จ้วง-ต้ง):
รายการคำศัพท์. กรุงเทพฯ: บริษัท
สหธรรมิกจำกัด.
สมทรง บุรุษพัฒน์, เจอรี่ เอ เอ็ดมันสัน และมีแกน ซินนอท .
(2541).แนะนำชนชาติไท-กะได.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
สมทรง บุรุษพัฒน์, โจว กั๋วเหยียน. (2543).วรรณกรรมของชนชาติกัม-ไท (จ้วง-ต้ง) ในประเทศจีน. เอี่ยม ทองดี ( บรรณาธิการ).
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท(
หน้า 239-266). กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก.
สมทรง บุรุษพัฒน์, โจว กั๋วเหยียน. (2552).การเปรียบเทียบคำลักษณนามในภาษาตระกูลไท-กะได.
กรุงเทพฯ: บริษัทสามลดาจำกัด..
สมทรง บุรุษพัฒน์, ฉิน เชียวหาง. (2549).พจนานุกรมจ้วงเหนือ-จีน-ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพฯ:
เอกพิมพ์ไท.
สมทรง บุรุษพัฒน์, เวย เอ็ดมันสัน. (2546).พจนานุกรมสุย-จีน-ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพฯ:
บริษัทเอกพิมพ์ไท.
สมทรง บุรุษพัฒน์, เวน มิงยิงและเวน ยิง. (2546).พจนานุกรมฮไล-จีน-ไทย-อังกฤษ. กรุงเทพฯ:
บริษัทเอกพิมพ์ไท.
สมทรง บุรุษพัฒน์, สุมิตรา สุรรัตน์เดชา และยัง ฉวน.
(2543).พจนานุกรมกัม-จีน-ไทย-อังกฤษ.
กรุงเทพฯ: บริษัทเอกพิมพ์.
สมพงศ์
วิทยศักดิ์พันธุ์. (2550) การศึกษาภาษาไทและภาษาไทเปรียบเทียบ. เชียงใหม่ :งานวิจัยภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุริยา รัตนกุล.(2548) นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท. กรุงเทพฯ:สหธรรมิก.
สุวัฒนา
เลี่ยมประวัติ.(2528) เสียงปฏิภาคระหว่างภาษาไตเมา ไตคำตี่และลานนา. วารสารภาษาและวัฒนธรรม 5, 2 (กรกฎาคม –
ธันวาคม) : 27-49.
Benedict Paul K.(1942) Thai,
Kadai and Indonesian: A new alignment in Southeastern
Asia, American Anthropologist 44:576-
601.
-----------------. (1975) Austro-Thai: Language and culture. New Haven: HRAF Press.
Brown, J. Marvin .(1965) From
Ancient Thai to Modern Dialects. In From Ancient Thai to Modern
Dialects, and Other Writings
on Historical
Thai Linguistics, Bangkok
: White Lotus.
Chamberlain,James R. (1972) ‘The
Origin of The Southwestern Tai’ in Bullentin des Amis du Royaume Laos,7-8:233
– 44
Vientiane
Dodd,William C.(1923) The
Tai Race-Elder Brother of Chinese.Cedar Rapids,Iowa,The Torch Press.
Edmondson, J.A. and D.B.
Solnit eds. (1997) Comparative Kadai: the Tai branch. Dallas: Summer Institute
of Linguistics and
the University
of Texas at Arlington.
Gedney,William J. (1972) ‘A
checklist for determining tones in Tai dialects’ , in Studies in
Linguistics in honor of Georg L.
Trager. The Haug.Mouton.
Gurdon, Philip Richard
Thornhagh, (1895), “On the Khamtis”, Journal of the Royal Asiatic
Society, London,
pp.157-64.
Hartman, John F. (1986) ‘Style, Scope, and Rigor in Comparative Tai
Research’ in Bickner, Robert J.,
Thomas J. hudak and
Pacharin Peyasantiwong (eds.)
Li, Fang-Kuei. (1959) “Classification by vocabulary: Tai
dialects” Anthropological Linguistics, volume 1.2: pp.15-21.
----------------------. (1959) Anthropological Linguistics Vol. 1,
No. 2, Genetic Relationship among Languages : A Symposium
Presented
at the 1958 Meetings of the American
Anthropological Association (Feb., 1959), pp.15-21.
----------------------.
(1960), “A tentative classification of Tai dialects”, in Stanley Diamond
(editor), Culture in history: essays in
honor of Paul Radin, New York, Columbia U. Press: pp.951-8.
----------------------.
(1965), “The Tai and Kam-Sui languages”, in Indo-Pacific linguistic
studies (Lingua 14-15), vol.I,: pp.148-79.
----------------------,
(1976), “Sino-Tai” in Computational Analyses of Asian & African
Languages, No.3, Mantaro J.
Hashimoto (editor), March: pp.39-48.
----------------------.
(1977), A handbook of comparative Tai (Oceanic Linguistics special
publication no.15), Honolulu,
University Press of Hawaii, xxii, p.389.
Manomaivibool Prapin.(1975) A Study of Sino-Thai
Lexical Correspondence, PhD Dissertation, University Of
Washington.
Robinson, Edward Raymond III.(1994) Further
classification of Southwestern Tai "P" group languages. Thesis
(M.A.)
Chulalongkorn University.
Somsong Burusphat.(2006) Northern
Zhuang Chinese Thai English Dictionary. Bangkok :Ekphimthai Ltd.
Wilailuck Daecha. (1986) A Comparative study of the phonology of
six Tai dialects spoken in Amphoe Tha Tako,
Changwat
Nakhon Sawan. Thesis (M.A.) Chulalongkorn University.
龚群虎.(2002) 《汉泰关系词的时间层次》上海:复旦大学出版社。
郭锡良.(1986) 《汉字古音手册》北京:北京大学出版社。
梁敏,张均如.(1996) 《侗台语族概论》北京:社会科学出版社。
สารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต
รายการคำศัพท์เพิ่มเติม
ภาษาไทยมาตรฐาน /ph/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /p/
|
ภาษาจีน /p / *b
|
พา
|
ปา
|
把 bǎ
|
(พ่าย) แพ้
|
แป๊
|
败 bài
|
เพื่อน
|
เปื้อน
|
伴 bàn
|
พัน
|
ปัน
|
绊,绑 bàn , bǎnɡ
|
(กำ)แพง
|
(กำ)แปง
|
壁 bì
|
พิง
|
ปิง
|
并 bìnɡ
|
พัง
|
ปัง
|
崩
bēnɡ
|
ภาค
|
ป้าก
|
部
bù
|
ภาษาไทยมาตรฐาน / th /
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ / t /
|
ภาษาจีน / t / *d
|
ทื่อ
|
ตื้อ
|
呆 dāi
|
แทน
|
แตน
|
代 dài,垫 diàn
|
แท้
|
แต๊
|
亶 dàn
|
ทุบ
|
ตุ๊บ
|
捣 dǎo,斗 dòu
|
ทาง
|
ตาง
|
道 dào
|
ที่
|
ตี้
|
地 dì
|
ที่
|
ตี้
|
第 dì
|
ทุ่ง
|
ต้ง
|
甸 diàn
|
แท่น
|
แต้น
|
坫 diàn
|
ท้าย
|
ต้าย
|
殿 diàn
|
ทูน (ไว้บนหัว)
|
ตูน
|
顶 dǐnɡ
|
ท้อง
|
ต้อง
|
肚 dù
|
ท่อน
|
ต้อน
|
段 duàn
|
ทู่
|
ตู้
|
钝 dùn
|
ทุกข์
|
ตุ๊ก
|
忉dāo
|
ไท
|
ไต
|
傣dǎi
|
ภาษาไทยมาตรฐาน / ch /
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ / c /
|
ภาษาจีน/ tɕ,tʂ,ts / *j zh z
|
ชิด
|
จิ๊ด
|
紧 jǐn
|
ชุม
|
จุม
|
聚 jù
|
ชู้
|
จู๊
|
奸 jiān
|
แช่
|
แจ้
|
渍 zì,浸 jìn
|
ช่าง
|
จั้ง
|
匠 jiànɡ
|
เชื้อ
|
เจื๊อ
|
酵 jiào (酵母
jiào mǔ เชื้อหมัก)
|
ชั่ง
|
จั้ง
|
斤 jīn
|
ชู
|
จู
|
举 jǔ
|
ช่วย
|
จ้วย
|
助zhù,救 jiù
|
เช้า
|
เจ๊า
|
早 zǎo 朝 zhǎo
|
ชื้น
|
จื้น
|
沾 zhān
|
เช็ด
|
เจ๊ด
|
搌 zhǎn
|
ชัน
|
จัน
|
崭 zhǎn
|
ช่วง
|
จ้วง
|
阵 zhèn
|
ชัด
|
จั๊ด
|
彰 zhānɡ
|
ชิง
|
จิง
|
争zhēnɡ
|
ชี้
|
จี๊
|
指 zhǐ
|
แช่ง
|
แจ้ง
|
咒 zhòu
|
ชน
|
จน
|
撞 zhuànɡ
|
เชือก
|
เจื้อก
|
缴 zhuó
|
เช่า
|
เจ้า
|
租 zū
|
โชค
|
โจ้ก
|
祚zuò
|
ภาษาไทยมาตรฐาน /kh/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ/k/
|
ภาษาจีน /k/ *g
|
ค้าง
|
ก๊าง
|
该
ɡāi
|
คัน
(cl.)
|
กัน
|
杆 ɡǎn
|
คัน (นา)
|
กัน
|
埂 ɡěnɡ
|
ไม้คาน
|
กาน
|
杠 ɡànɡ
|
คู คลอง
|
กู
|
沟 ɡōu
|
ค้า
|
ก๊า
|
贾 ɡǔ
|
เคย
|
เกย
|
惯 ɡuàn
|
แค่
|
แก้
|
光 ɡuānɡ
|
ภาษาไทยมาตรฐาน /ph/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /ph/
|
ภาษาจีน / ph,f / *p f
|
ผา(สุข)
|
ผาสุก
|
福 fú
|
ผ่า,ผ่า
|
ผ่า
|
劈 pī,剖 pōu
|
ผิว
|
ผิว
|
皮 pí
|
แผ่น
|
แผ่น
|
片 piàn
|
ผม
|
ผม
|
发 fā
|
เผา
|
เผา
|
燔
fán 焚 fén
|
ผง
|
ผง
|
粉 fěn
|
ผัว
|
ผัว
|
夫 fū
|
ผิด
|
ผิด
|
非 fēi
|
ผึ้ง
|
ผึ้ง
|
蜂 fēnɡ
|
ผิว
|
ผิว
|
肤
fū
|
ผ้า
|
ผ้า
|
服 fú
|
ผุ
|
ผุ
|
腐 fǔ
|
ผูก
|
ผูก
|
缚 fù
|
โผ
|
โผ
|
飞fēi
|
ภาษาไทยมาตรฐาน /th/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /th/
|
ภาษาจีน /th, t / * t d
|
ถุง
|
ถุง
|
袋 dài,兜dōu
|
ถีบ
|
ถีบ
|
蹬 dēnɡ,踢 tī
|
ฐาน
|
ฐาน
|
底 dǐ
|
ถึง
|
ถึง
|
抵 dǐ
|
ถ้วย
|
ถ้วย
|
碟 dié
|
ถ้ำ
|
ถ้ำ
|
峒 dònɡ,硐 dònɡ
|
ถั่ว
|
ถั่ว
|
豆 dòu
|
แถว
|
แถว
|
条
tiáo
|
ถอด
|
ถอด
|
脱 tuō
|
ถ่าน
|
ถ่าน
|
炭 tàn
|
โถง
|
โถง
|
堂 tánɡ
|
ถ้า
|
ถ้า
|
倘 tǎnɡ
|
ถือ
|
ถือ
|
提 tí
|
ไถ
|
ไถ
|
佃 tián
|
ถม
|
ถม
|
填 tián
|
ถัง
|
ถัง
|
桐 tónɡ
|
ถ่ม
|
ถ่ม
|
吐 tǔ
|
ถอย
|
ถอย
|
退
tuì
|
ถาง
|
ถาง
|
拓
tuò
|
ภาษาไทยมาตรฐาน /ch/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /ch/
|
ภาษาจีน /tɕʻ , tsʻ , tʂʻ/ * q c ch
|
เฉียด
|
เฉียด
|
擦
cā
|
ฉาง
|
ฉาง
|
仓
cānɡ
|
ฉีก
|
ฉีก
|
拆
chāi
|
ฉุด
|
ฉุก
|
扯
chě
|
ฉวย
|
ฉวย
|
趁 chèn
|
ฉุน
|
ฉุน
|
呛 qiànɡ
|
ฉิ่ง
|
ฉิ่ง
|
磬 qìnɡ
|
ภาษาไทยมาตรฐาน /kh/
|
ภาษาไทยถิ่นเหนือ /kh/
|
ภาษาจีน /kh, tɕʻ/
* k
q
|
ไข
|
ไข
|
开
kāi
|
แข็ง
|
แข็ง
|
康 kānɡ
|
เขียด
|
เขียด
|
蝌
kē
|
แขก
|
แขก
|
客
kè
|
ขม
|
ขม
|
苦 kǔ
|
เข่ง
|
เข่ง
|
匡 kuānɡ,篑 kuì
|
ขาด (แคลน)
|
ขาด
|
匮 kuì
|
ขาด (ทุน)
|
ขาด
|
亏 kuī
|
ขัด
|
ขัด
|
卡 kǎ
|
ขู่
|
ขู่
|
恐 kǒnɡ
|
ขี่
|
ขี่
|
骑 qí
|
ขอ
|
ขอ
|
乞 qǐ
|
ขึ้น
|
ขึ้น
|
起 qǐ
|
เข็ม
|
เข็ม
|
钎 qiān
|
(มะ) เขือ
|
มะเขือ
|
茄 qié
|
แข็ง
|
แข็ง
|
强 qiánɡ
|
เขียว
|
เขียว
|
青 qīnɡ
|
ขอ
|
ขอ
|
求 qiú
|
ขัง
|
ขัง
|
囚 qiú
|
เขต
|
เขต
|
区 qū
|
ขับ (ออก)
|
ขับ (ออก)
|
祛 qū
|
ขับ (ไล่)
|
ขับ (ไล่)
|
驱 qū
|
ขับ (ร้อง)
|
ขับ (ร้อง)
|
曲 qǔ
|
ขด
|
ขด
|
蜷 quán
|
ขาด
|
ขาด
|
缺 quē
|
ภาษาจีนแบ่งออกเป็น 7 สำเนียง ได้แก่
1.กลุ่มสำเนียงภาษากวาน (Guanhua官话)
คือสำเนียงที่พูดอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
บริเวณเมืองหูเป่ย ซื่อชวน(เสฉวน) ฉงชิ่ง ยูนหนาน กุ้ยโจว หูหนาน เจียงซี อันฮุย
และเจียงซู กลุ่มสำเนียงภาษากวานนี้เป็นสำเนียงพื้นฐานของภาษาจีนกลางปัจจุบัน
ที่เรียกว่า ผู่ทงฮว่า (Putonghua 普通话) กลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น 70%
ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด คำว่า “ภาษาจีน” ในบทความนี้ หมายถึง
ภาษาจีนผู่ทงฮว่า สำหรับกลุ่มสำเนียงภาษาอื่นๆ ได้แก่ 2. กลุ่มสำเนียงภาษาอู๋ (Wuyu吴语) คือสำเนียงที่พูดอยู่บริเวณเจียงหนาน เจียงเจ๋อ
ตอนใต้ของเจียงซู เจ๋อเจียง ซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) ตอนใต้ของอันฮุย
สำเนียงภาษานี้คิดเป็น 9.1% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 3.กลุ่มสำเนียงภาษาเค่อเจีย
(หรือที่เรียกว่าแคะKejia 客家) คือสำเนียงที่พูดอยู่บริเวณภาคใต้ของจีน
บริเวณกว่างตง(กวางตุ้ง) ฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) เจียงซี กว่างซี(กวางสี) ไถวัน(ไต้หวัน) เสฉวน
กลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น
4% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 4. กลุ่มสำเนียงภาษาหมิ่น (Minyu闽语) คือสำเนียงที่พูดอยู่บริเวณมณฑลฝูเจี้ยน ไต้หวัน
กว่างตง ไห่หนาน(ไหหลำ) กว่างซี และประเทศในเอเชียอาคเนย์ กลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น 4.5%
ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 5. กลุ่มสำเนียงภาษาเยว่ (Yueyu 粤语) คือสำเนียงภาษากวางตุ้ง ไป๋ฮว่า กว่างฝูฮว่า
ที่พูดอยู่บริเวณกว่างโจว กว่างซี เซียงกั่ง(ฮ่องกง) อ้าวเหมิน(มาเก๊า)
กลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น 5% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 6.กลุ่มสำเนียงภาษาเซี่ยง
(Xiangyu 湘语) คือสำเนียงภาษาหูหนาน ภาษาหล่าวหูกว่าง
พูดอยู่ในบริเวณกว่างซี เสฉวนกลุ่มสำเนียงภาษานี้คิดเป็น 5%
ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด 7. กลุ่มสำเนียงภาษากั้น
(Ganyu 赣语) ได้แก่สำเนียงภาษาเจียงซี
หนานชัง พูดอยู่บริเวณตอนกลางของเจียงซี อันฮุย หูเป่ย หูหนาน ลั่วหยาง
ผิงเจียง สำเนียงภาษานี้คิดเป็น 2.4% ของสำเนียงภาษาจีนทั้งหมด (สรุปจาก Li
Rulong (李如龙:2005)และข้อมูลจากเว็ปไซต์การศึกษาของคณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยปักกิ่ง http://www.pkucn.com)