วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

การศึกษาทางประวัติศาสตร์เรื่อง คำเรียกช้างในภาษากูย

 
 
บทคัดย่อ: ชาวกูยเป็นกลุ่มชนที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ผูกพันกับช้างมาแต่โบราณ ภาษากูยจัดอยู่ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก แต่คำเรียกช้างในภาษากูย กลับเรียกเหมือนภาษาตระกูลไท บทความนี้วิเคราะห์ที่มาของคำเรียกช้างในภาษากูย โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และหลักฐานทางภาษาศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ได้สองแนวทาง คือ คำเรียกช้างในภาษากูย ยืมไปจากภาษาตระกูลจีนทิเบต ผ่านทางภาษาตระกูลไท อีกแนวทางหนึ่งคือ คำเรียกช้างเป็นคำดั้งเดิมในภาษากูย จากนั้นกระจายไปสู่กลุ่มชนใกล้เคียงทั้งที่เป็นกลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มไทเลยขึ้นไปถึงกลุ่มจีน 
 คำสำคัญ  : ช้าง  ภาษากูย  ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก  ภาษาตระกูลไท  ภาษาตระกูลมอญ-เขมร

The History Linguistics analysis of the word “elephant” in Kui Language

Abstract : The Kui people  are an ethnic group whose way of life and culture has been closely related to elephants since ancient times. The Kui language is categorized as one of Austro-Asiatic language family. However, the word for “elephant” in the Kui language seems to be derived from Tai language family. This study mainly discusses on an origin of the word, “elephant”. Considering historic and linguistic findings, the evidences can be interpreted in two ways. First, the word for elephant in Kui language was borrowed from Sino-Tibetan through Tai language family. Second, the word for elephant is actually an original word in Kui language. The word later disseminated among nearby communities, from Tai ethnic group to Mon and Khmer until expanding far beyond to China.
Keywords : elephant,  The Kui Language, Austro-Asiatic language family, Tai language family, Mon-Khmer language family

圭语 词的历史语言学分析
摘要:圭民族的生活、文化与大象关系密切。圭语属于南亚语族高棉语支,但圭语里表示大象的词却与不同语族的台语相似。本文以语言学及历史为证据对圭语中表示大象的词的来历进行分析。经分析得出两个观点:其一、圭语表示大象的词是通过台语从汉藏语系借迁而存;其二、圭语里表示大象的词是该语言原有,此词被接近的高棉族人、台族人借用并传至汉人。
关键词: 大象, 圭语,南亚语族, 台语族,孟高棉语族 


บทนำ
ประเด็นที่น่าสงสัยที่จะนำเสนอในบทความนี้คือ คำว่า ช้าง ในภาษากูย ที่เรียกว่า อาเจียง เจียง หรือ อาจืง จืง หรือ อาจีง จีง หากพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และจากวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างของชาวกูยแล้วน่าจะเป็นภาษากูยแท้ และน่าจะพ้องกับคำเรียกช้างในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกอย่างภาษาเขมรและ ภาษาเวียดนาม ซึ่งเป็นภาษาใหญ่ในตระกูลภาษาเดียวกันและเป็นกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ ชิดกัน แต่เหตุใดภาษากูยกลับเรียกช้างเหมือนอย่างภาษาตระกูลไทซึ่งเป็นภาษาคนละ ตระกูลกัน

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

นามานุกรมธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี




ชื่อหนังสือ
นามานุกรมธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน
ในจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่พิมพ์
 พ.ศ.2554   พิมพ์ครั้งที่  1  จำนวน 100 เล่ม
ผู้เขียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมชฌ  สอดส่องกฤษ
อาจารย์ธีวิทย์ กาปัญญา
ที่อยู่
   มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190
หน่วยงานที่สนับสนุน
คณะศิลปศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์  และ
งานส่งเสริมการวิจัยบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถานที่พิมพ์
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ออกแบบปก อรรถวุฒิ ศรีสุข
ข้อมูลบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ

      นามานุกรมธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุบลราชธานี  —
อุบลราชธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2553,
237 หน้า.
             1.ป้ายร้าน   2.ชื่อร้าน   3.ธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน




คำนำ
การศึกษาเรื่องภูมินามเป็นงานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในภารกิจของการศึกษาทางภาษาศาสตร์ ผลที่ได้นอกจากการเก็บบันทึกข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นฐานข้อมูลที่สามารถเก็บรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไปเพื่อการศึกษาวิจัยต่อยอดในแขนงอื่นๆ ต่อไปแล้ว ยังสามารถศึกษาถึงวัฒนธรรม ปรัชญา ความคิดความเชื่อของชนกลุ่มหนึ่ง ในขณะช่วงเวลาหนึ่งหรือเชื่อมโยงกับทั้งช่วงเวลาและระหว่างวัฒนธรรมแวดล้อมอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี 
ในจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากกลุ่มชนที่อยู่ติดแผ่นดินมาแต่โบราณอย่างกลุ่มไทยและลาวแล้ว ยังมีกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาภายหลังอีกหลายกลุ่ม ได้แก่ บรู กูย เวียดนาม แขกและจีน ในบรรดากลุ่มชนอพยพดังกล่าวข้างต้นนี้  กลุ่มจีนเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด และตั้งถิ่นฐานครอบคลุมเมืองอุบลราชธานีมากที่สุด ทั้งยังเป็นกลุ่มที่ประกอบธุรกิจการค้า และเป็นกลุ่มชนที่กุมเศรษฐกิจในจังหวัดอุบลราชธานีมากที่สุดเช่นกัน แม้จะผสมกลมกลืนกับชาวไทยลาวพื้นถิ่นด้วยภาษาและศาสนา แต่ด้วยความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมดั้งเดิม อำนาจทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ทำให้ชาติพันธุ์จีนที่อพยพเข้ามายังคงดำรงรักษาวัฒนธรรมของตนไว้อย่างเหนียวแน่น ยิ่งไปกว่านั้นยังแทรกซึม เผยแพร่ และผสมผสาน แม้กระทั่งมีอำนาจเหนือวัฒนธรรมของชนพื้นถิ่นไปเสียแล้ว
วัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุบลราชธานี เช่น วัดจีน สุสานจีน ศาลเจ้าจีน ร้านธุรกิจการค้า การละเล่น มหรสพ ชาวจีน โรงเรียนจีน และเทศกาลต่างๆ ของจีน มีให้เห็นทั่วไป ชนิดที่แทบจะดูเป็นเมืองๆหนึ่งของประเทศจีนไปแล้วก็ว่าได้ ประกอบกับนโยบายการกระจายอำนาจทางภาษา ที่รัฐบาลจีนพยายามกระตุ้น ส่งเสริมเพื่อให้ภาษาจีนเป็นภาษาสากลที่ครอบคลุมไปทั่วโลกทำให้วัฒนธรรมทางภาษาของจีนยิ่งมีความเข้มแข็งมากขึ้นทุกขณะอย่างที่ไม่มีทางจะหยุดยั้งได้
วัฒนธรรมทางภาษา ประกอบกับอุปนิสัยที่รักการประกอบธุรกิจการค้าของชาวจีนที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การตั้งชื่อร้านเป็นภาษาจีน จากการสังเกตในเบื้องต้นพบว่า ป้ายชื่อร้านของชาวไทยเชื้อสายจีนจะประกอบด้วยสองส่วนคือ ชื่อร้านที่เขียนด้วยอักษรจีน และชื่อร้านที่เขียนด้วยภาษาไทย ป้ายชื่อร้านเป็นสิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะชาวจีน เนื่องจากชื่อร้าน เป็นสิ่งหลอมรวมปรัชญาความคิดของชาวจีนมากมาย เช่น การสืบทอดเชื้อสายของวงศ์ตระกูล ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ความสัมพันธ์กับเชื้อสายและเผ่าวงศ์พงศ์พันธุ์  นอกจากนี้ ยังต้องสื่อความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ  การดึงดูดใจ  การบรรยายสินค้า  การสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ซื้อ  และยังต้องคำนึงถึงความเป็นมงคล การอวยพรให้การค้าขายเจริญรุ่งเรื่อง ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในแผ่นป้ายหน้าร้านด้วยตัวหนังสือจีนไม่กี่คำเท่านั้น สิ่งนี้เรียกว่า นามาธุรกิจดังนั้นการศึกษารหัสทางวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในนามาธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายจีน จึงเป็นการศึกษาทางภาษา วัฒนธรรม มานุษยวิทยาที่จะละเลยมิได้    
คณะศิลปศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรภาษาจีนนับตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นมา การดำเนินการของหลักสูตรมีคามพัฒนาก้าวหน้ามาก ทั้งการสอน การศึกษาวิจัย การบริการวิชาการ ความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในประเทศจีน และสถาบันการศึกษาวิจัยด้านจีนศึกษาในระดับสากล เช่น สถาบันการศึกษาของประเทศลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยในประเทศสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น การดำเนินงานทางวิชาการที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาเป็นประจำ มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ การร่วมแต่งตำรา และการร่วมวิจัย ทำให้ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในวงการจีนศึกษาอย่างกว้างขวาง
สำหรับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานีนั้น เนื่องจากไม่ใช่กลุ่มชนพื้นเมือง แต่เป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ไม่ตกอยู่ในสภาวะที่วัฒนธรรมใกล้สูญหาย ตรงกันข้ามกลับรุ่งเรือง และเฟื่องฟูขึ้นทุกขณะ  เหตุนี้ทำให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่จะศึกษาวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนถูกจำกัดด้วยคำว่า ทำนุบำรุงซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ผู้ศึกษาวิจัยเลือกที่จะทำวิจัยในเรื่องที่มีข้อมูลที่เพียงพอ ไม่เลือกศึกษากลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนซึ่งมีข้อมูลที่มีการศึกษา และการบันทึกไว้ไม่มากนัก ทำให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นกุญแจสำคัญอีกดอกหนึ่งของสังคมอุบลราชธานียังไม่ได้รับการเจียระไนขึ้นเสียที
ขั้นตอนการจัดทำ นามานุกรมธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับสองภาษา ไทย จีน”  ในครั้งนี้  ดำเนินการโดยเก็บข้อมูล ชื่อร้านภาษาจีนในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี และ อำเภอวารินชำราบทั้งหมด ซึ่งบริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่ประกอบธุรกิจที่ชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด และมีกิจการที่หลากหลายมากที่สุด การศึกษาในครั้งนี้ สามารถรวบรวมชื่อร้านภาษาจีนได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจากสถานที่จริง ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลปฐมภูมิจากคำบอกเล่าของเจ้าของกิจการ ส่วนข้อมูลที่ไม่ปรากฏเป็นส่วนที่เจ้าของข้อมูลไม่สะดวกที่จะเปิดเผยหรือไม่ทราบ จึงละไว้ เมื่อเก็บข้อมูลได้แล้วก็นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงเป็นภาษาไทยและภาษาจีนโดยเรียงลำดับตามแบบพจนานุกรม กำกับเสียงอ่านด้วยระบบสัทอักษรจีน ให้ความหมาย ที่มา และรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับชื่อร้าน ที่อยู่ และกิจการเป็นภาษาจีนและภาษาไทยอย่างครบถ้วน ส่วนข้อมูลทางธุรกิจ ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีร่วมเรียบเรียงด้วย
นามานุกรมฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเผยเพื่อเผยแพร่ให้เป็นฐานข้อมูลในการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า และการวิจัยทางด้านจีนศึกษา และการบริหารธุรกิจที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี


 เมชฌ สอดส่องกฤษ
ธีรวิทย์  กาปัญญา  
พ.ศ.2554