คำนำ
เป้าหมายในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของหลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร
คณะศิลปศาสตร์ทางหนึ่งก็คือ การจัดทำ ฐานข้อมูลของชาวไทยเชื้อสายจีนในอีสานใต้
โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
เนื่องจากศาสนสถานจีนในประเทศไทยมีหลายลักษณะได้แก่ ศาลพระภูมิเจ้าที่ ศาลเจ้า วัด
มูลนิธิ สุสาน สมาคม เป็นต้น ศาสนสถานต่างๆสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมจีน
ภายในประดับด้วยศิลปะจีนหลายแขนง เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม รูปเคารพ
การจารหรือเขียนอักษรจีนบริเวณฝาผนัง เสา บนประตูทางเข้า ผ้าปัก
แผ่นป้ายอักษรเป็นต้น ข้อความที่จารึกไว้นั้นเป็นอักษรมงคล คติธรรม คำสอนทางศาสนา
บ้างก็เป็นคำสรรเสริญเทพเจ้าที่เคารพนับถือ
สิ่งสำคัญที่คณะทำงานพบเห็นอีกอย่างหนึ่งคือ “ประติมากรรมรูปเคารพ” ในศาสนสถาน
สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย
บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ได้สนับสนุนงบประมาณแผ่นดินให้หลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์
ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลของชาวไทยเชื้อสายจีนในอีสานใต้
โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ดังนี้
ปีงบประมาณ 2553 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดทำฐานข้อมูลชาวไทยเชื้อสายจีน
เรื่อง เรื่องเล่าชาวไทยเชื้อสายจีน
เรื่อง เรื่องเล่าชาวไทยเชื้อสายจีน
ปีงบประมาณ 2554 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดทำฐานข้อมูลชาวไทยเชื้อสายจีน
เรื่อง นามานุกรมธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุบลราชธานี
เรื่อง นามานุกรมธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุบลราชธานี
ปีงบประมาณ
2555 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการจัดทำฐานข้อมูลชาวไทยเชื้อสายจีน
เรื่อง ฐานข้อมูลศาสนสถานจีนของจังหวัดในเขตอีสานใต้
เรื่อง ฐานข้อมูลศาสนสถานจีนของจังหวัดในเขตอีสานใต้
ปีงบประมาณ 2556 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดทำฐานข้อมูลชาวไทยเชื้อสายจีน
เรื่อง คำพ้องภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
เรื่อง คำพ้องภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน
ปีงบประมาณ 2557 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดทำฐานข้อมูลชาวไทยเชื้อสายจีน
เรื่อง ข้อมูลสมุนไพรจีน
เรื่อง ข้อมูลสมุนไพรจีน
ปีงบประมาณ 2558 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดทำฐานข้อมูลชาวไทยเชื้อสายจีน
เรื่อง จิตรกรรมในศาสนสถานจีนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
เรื่อง จิตรกรรมในศาสนสถานจีนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
ปีงบประมาณ 2559 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดทำฐานข้อมูลชาวไทยเชื้อสายจีน
เรื่อง จารึกในศาสนสถานจีนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
เรื่อง จารึกในศาสนสถานจีนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
ปีงบประมาณ 2560 ผลจากการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2559 ได้นำไปประยุกต์ใช้ในโครงการทำนุ
ปี 2560 เรื่อง
การประยุกต์ใช้ปรัชญาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในอุบลราชธานีและอีสานใต้เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและวินัยของนักเรียนนักศึกษาและประชาชน
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
การส่งเสริมให้ผู้เรียนลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน
จากการศึกษาสภาพสังคมในอีสานใต้และจังหวัดอุบลราชธานีจะพบว่า
แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ของประเทศไทยที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่
แต่ภายในพื้นที่อีสานใต้มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆกันอาศัยอยู่หลากหลายปะปนกัน ได้แก่
ชาวไทยถิ่นอีสาน ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายเขมร ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
ชาวไทยเชื้อสายกูย เป็นต้น กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้แตกต่างกันทางกายภาพ วัฒนธรรม
ชีวิตความเป็นอยู่ และภาษา
จากการศึกษาจะพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์จีนแม้จะไม่ได้มีวัฒนธรรมทางภาษาที่เข้มแข็งเหมือนชาติพันธุ์อื่น
แต่ด้วยลักษณะการประกอบอาชีพ
ทำให้มีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นอย่างเห็นได้ชัด
ส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ให้มีความเด่นชัดมาก
กลุ่มชาติพันธุ์อื่นมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนบ้าง เช่น เทศกาล
อาหาร แต่หากพิเคราะห์อย่างแท้จริงแล้ว
กลุ่มชาติพันธุ์อื่นมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมกับชาวไทยเชื้อสายจีนน้อยมากและผิวเผิน
โดยเฉพาะกิจกรรมทางศาสนา จนแทบจะเรียกได้ว่า ต่างคนต่างอยู่
ต่างคนต่างสร้างอัตลักษณ์ของตนก็ว่าได้ กระนั้นก็ตาม
ชาวไทยเชื้อสายจีนเองก็มิได้เข้าใจถ่องแท้ถึงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในศาสนสถานจีนนั้นแต่อย่างใด
การจัดโครงการในลักษณะนี้ทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและเชื้อสายอื่นๆมีความเข้าใจวัฒนธรรมทางศาสนา
ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยเชื้อสายจีนมากขึ้น
สามารถสร้างความสามัคคีของคนในชาติให้ดีได้อีกทางหนึ่ง
การบริการวิชาการ
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา
เมื่อฐานข้อมูลได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วได้จัดการเผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือ
โดยมอบให้กับห้องสมุดของโรงเรียน สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่างๆ สมาคม
มูลนิธิชาวไทยเชื้อสายจีน
นอกจากนี้ยังเผยแพร่ทางสื่อสารสนเทศเพื่อให้สามารถสืบค้นได้สะดวกและรวดเร็ว
ที่ผ่านมาจึงมีหน่วยงาน
นักวิชาการนำผลงานจากการจัดทำโครงการไปใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมาก กว้างขวาง
และต่อเนื่อง
ข้อมูลประติมากรรมรูปเคารพที่จะศึกษารวบรวมในโครงการนี้
คณะทำงานและนักศึกษาในวิชาวัฒนธรรมจีนจะลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากศาสนถานจีนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี 6 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิจีตัมเกาะ ศาลเจ้าพ่อวารินทร์
มูลนิธิสว่างบูชาธรรมสถาน ศาลกวนอู สมาคมพุทธศาสตร์ประทีป และ
สุสานสว่างบูชาธรรมสถาน จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่า
ประติมากรรมรูปเคารพส่วนใหญ่มีที่มาจากความเชื่อหลายทาง ได้แก่ พุทธ เต๋า
วรรณกรรมจีน เจ้าที่ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ที่เคารพนับ บรรพบุรุษ เป็นต้น
ข้อมูลที่ได้จะนำเสนอรูปภาพประติมากรรมรูปเคารพ ประวัติความเป็นมา ความเชื่อ
วัฒนธรรม และการปฏิบัติของชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีต่อประติมากรรมรูปเคารพต่างๆ