วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

55. 壮族 ชนกลุ่มน้อยเผ่าจ้วง





















คัดลอกภาพจาก http://a3.att.hudong.com/35/05/01300000184180121713057894237.jpg


http://www.lztour.gov.cn/files/lyjq/qj4001.jpg


http://www.longzeng.com/newEbiz1/871longzengres/filerepository/images/c373e9153bed68808f7ad1aec416cf4e


ชาวจ้วงเป็นชนกลุ่มน้อยในจีนที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด มีถิ่นฐานอยู่ที่เขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงมณฑลกว่างซี เขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงและเผ่าเหมียวมณฑลยูนนาน และมีส่วนน้อยกระจายอยู่ในบริเวณต่างๆของมณฑลกว่างตง หูหนาน กุ้ยโจว และเสฉวน คำเรียกชื่อชาวจ้วงเป็นคำที่ชนกลุ่มนี้ใช้เรียกตนเองว่า “ปู้จ้วง” นอกจากนี้ชาวจ้วงมีคำเรียกตัวเองอีกมากมายแตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่ เช่น ปู้หนง(布侬Bùnónɡ) ปู้ถู่(布土Bùtǔ) ปู้ย่าง (布样Bùyànɡ) ปู้ปาน(布斑Bùbān) ปู้เยว่(布越Bùyuè) ปู้น่า(布那Bùnà) หนงอาน(侬安Nónɡ’ān) ปู้เพียน (布偏Bùpiān) ถูหล่าว(土佬Tǔlǎo) เกาหลาน(高栏Gāolán) ปู้ม่าน (布曼Bùmàn) ปู้ต้าย(布岱Bùdài) ปู้หมิ่น(布敏Bùmǐn) ปู้หลง(布陇Bùlǒnɡ) ปู้ตง(布东Bùdōnɡ) เป็นต้น หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รวมเรียกชื่อชนเผ่านี้ว่า “ถง” (僮族Tónɡ Zú) ในปี 1965 ตามข้อเสนอของโจวเอินหลาย (周恩来Zhōu Ēnlái) รัฐบาลจีนได้เปลี่ยนชื่อเรียกชนกลุ่มนี้เป็น “จ้วง” (壮Zhuànɡ) จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่าจ้วง มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 16,178,811 คน พูดภาษาจ้วง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาภาษาจ้วง-ต้ง แขนงภาษาจ้วงไต ในสมัยซ่งใต้มีการใช้ภาษาเขียนที่เป็นอักษรจีนแบบเหลี่ยม แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ส่วนมากใช้สำหรับจดชื่อสถานที่ เขียนเพลงกลอน และบันทึกเรื่องราว ในปี 1955 รัฐบาลจีนพัฒนาระบบการเขียนอักษรภาษาจ้วงโดยใช้อักษรลาติน และใช้อย่างแพร่หลายมาจนปัจจุบัน


ชาวจ้วงวิวัฒนาการมาจากชนร้อยเผ่าที่ชื่อ ป่ายเยว่(百越bǎiyuè) ในสมัยโบราณ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มชนชื่อ ซีหว่า (西瓯Xī’ōu) ลั่วเยว่ (骆越Luòyuè)ในสมัยโจว กลุ่มชนชื่อ เหลียว (僚Liáo) หลี่ (俚Lǐ) เหนียวหู่ (鸟浒Niǎohǔ) ในสมัยฮั่น ถัง และกลุ่มชนชื่อถง (僮Tónɡ) ถู่ (土Tǔ) ในสมัยซ่ง ก่อนที่ราชวงศ์ฉินจะเรืองอำนาจเข้าปกครองหลิ่งหนาน (岭南 Lǐnɡnán) มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ที่หลิ่งหนานอยู่ก่อนแล้ว (ปัจจุบันคือมณฑลกว่างตงและกว่างซี) ชนกลุ่มนี้เป็นชนกลุ่มย่อยในกลุ่มชนร้อยเผ่าสองกลุ่ม คือ ซีหว่าและลั่วเยว่ กลุ่มชนสองกลุ่มดังกล่าวนี้ได้วิวัฒนาการมาเป็นชาวจ้วงในปัจจุบัน
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ในยุคชุนชิวและจ้านกว๋อ บรรพบุรุษชาวจ้วงเริ่มใช้เครื่องมือโลหะทองแดง ยกระดับปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชาชนมีสิทธิครอบครองทรัพย์สมบัติและทำมาหากินโดยอิสระ ทำให้มีชนบางกลุ่มร่ำรวยขึ้น ก่อให้เกิดความแตกต่างและชนชั้นทางสังคม ระบบสังคมของชาวจ้วงจึงเปลี่ยนไป จากการไม่มีระดับชั้นทางสังคม ไปสู่การมีระดับชั้นทางสังคม และพัฒนาไปสู่ระบบศักดินาและการครอบครองทาสในที่สุด

221 ปี ก่อนคริสตกาล หลังจากที่จิ๋นซีรวบรวมดินแดนหกประเทศ (六国Liùɡuó) แล้ว ก็ได้ส่งกองกำลังห้ากองเข้าประชิดหลิ่งหนานเพื่อทำศึกกับชาวซีหว่าจนได้รับชัยชนะ จากนั้นก็ได้รวบเอาหลิ่งหนานเข้ามาอยู่ในอาณาเขต แล้วก่อตั้งเป็นเมืองกุ้ยหลินและหนานห่าย ขึ้นตรงต่ออำนาจของราชสำนักส่วนกลาง นอกจากนี้ยังส่งคนงานเข้าสู่กว่างซีเพื่อก่อสร้างคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำเซียง (湘江Xiānɡjiānɡ) กับแม่น้ำหลี (漓江Líjiānɡ) แม่น้ำแยงซี (长江Chánɡjiānɡ)เชื่อมกับแม่น้ำจู (珠江Zhūjiānɡ) จากนั้นอพยพประชาชนชาวฮั่นระลอกใหญ่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกับชนชาวหว่าและลั่วเยว่ ชนกลุ่มนี้ปฏิสัมพันธ์ด้วยการแต่งงานและวิวัฒนาการเป็นชาวจ้วงในปัจจุบัน

นับแต่สมัยฮั่นจนถึงต้นสมัยถัง เกิดสายตระกูลขึ้นในชุมชนชาวจ้วงหลายแซ่ เช่น ที่เมืองพานหยวี(番禺Pānyú) มีแซ่ หลวี่ (吕Lǚ) เกา (高Gāo) ที่เหอผู่(合浦Hépǔ) มีแซ่ เสี่ยน(冼Xiǎn) ที่ชินโจว(钦州Qīnzhōu) มีแซ่หนิง (宁Nínɡ) บันทึกสมัยนั้นเรียกแซ่เหล่านี้ว่าแซ่ของชนป่ายเยว่ ในสมัยถังทางการแบ่งหลิ่งหนานเป็นสองส่วนคือ ฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออก ก่อตั้งเป็นห้าจังหวัด ในแต่ละจังหวัดแบ่งเป็นห้าอำเภอ ในจำนวนนี้อำเภอกุ้ย (桂Guì) ยง(邕Yōnɡ) หรง (容Rónɡ) คือบริเวณที่บรรพบุรุษชาวจ้วงตั้งถิ่นฐานอยู่ ในสมัยซ่ง หยวน หมิงและชิง ราชสำนักเข้มงวดกับการปกครองเมืองหลิ่งหนาน โดยกำหนดให้เป็นเมืองประเทศราชของจีน ชาวจ้วงถูกกดขี่รังแกเยี่ยงทาสจนเกิดการลุกขึ้นต่อต้านบ่อยครั้ง แต่ไม่เคยได้รับชัยชนะเลยสักครั้ง ซ้ำร้ายยังถูกปราบปรามจากทางการอย่างหนักหน่วง ในยุคที่ฝรั่งเศสและญี่ปุ่นรุกรานจีน ชาวจ้วงได้ต่อต้านผู้รุกรานเพื่อปกป้องชุมชนของตน นับเป็นคุณูปการแก่ประเทศจีนอย่างใหญ่หลวง


ด้านเศรษฐกิจและสังคม เริ่มตั้งแต่นับพันปีเป็นต้นมา บรรพบุรุษชาวจ้วงเริ่มรู้จักใช้และทำเครื่องมือที่ทำจากหินเช่น ขวานหิน มีดหิน เสียมหินแล้ว เครื่องมือดังกล่าวใช้ในการล่าสัตว์และทำการเกษตร ในสมัยฉินและฮั่น ชาวจ้วงที่อาศัยอยู่บริเวณทางตะวันออกของกว่างซีเริ่มเพาะปลูกข้าวแล้ว เริ่มมีการใช้แรงงานสัตว์จำพวกวัวควายและใช้เครื่องมือเหล็กในการทำนาด้วย นับเป็นกลุ่มชนที่มีวิวัฒนาการการเพาะปลูกและการผลิตสูงมากกลุ่มหนึ่งในยุคนั้น หลังจากสมัยสุยและถัง ชาวจ้วงเริ่มใช้ไถเหล็กและไถคราดเหล็กแบบเหยียบ เริ่มรู้จักใช้แร่ธาตุธรรมชาติ ตีเหล็ก พัฒนาการทอผ้า และงานหัตถกรรมอื่นๆ ในสมัยหมิงผลผลิตจากชุมชนชาวจ้วงส่งเลี้ยงผู้คนในประเทศไปทั่วสารทิศ ถึงสมัยชิงการผลิตของชาวจ้วงพัฒนาจนเท่าเทียมกับชาวฮั่น แต่ในยุคกว๋อหมินตั่งไม่ได้ให้ความสนใจการพัฒนาการผลิตและอาชีพของประชาชน ทำให้เศรษฐกิจในชุมชนชาวจ้วงพัฒนาไปอย่างช้า ๆ

หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ชุมชนชาวจ้วงเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ รัฐบาลให้อำนาจในการปกครองตนเองแก่ชนกลุ่มน้อย ชุมชนชาวจ้วงได้รับการก่อตั้งให้เป็นเขตปกครองตนเองหลายแห่ง ได้แก่

ปี 1952 ก่อตั้งเขตปกครองตนเองชาวจ้วงขึ้นที่ เมืองกุ้ยซี มณฑลกว่างซี (广西省桂西
壮族自治区Guǎnɡxīshěnɡ Guìxī Zhuànɡ Zú zìzhìqū) รวมอาณาเขตถึง 41 อำเภอ
ปี 1958 ก่อตั้งเขตปกครองตนเองชาวจ้วงชาวเหมียวขึ้นที่เมืองเหวินซาน มณฑลยูนนาน (云南省文山壮族苗族自治州Yúnnánshěnɡ Wénshān Zhuànɡ Zú Miáo Zú zìzhì zhōu)
ปี 1962 ก่อตั้งอำเภอปกครองตนเองชาวจ้วงชาวเหยาขึ้นที่อำเภอเหลียนซาน มณฑลกว่างตง (广东省连山壮族瑶族自治县 Guǎnɡdōnɡshěnɡ Liánshān Zhuànɡ Zú Yáo Zú zìzhìxiàn)
ภายใต้ความร่วมมืออันดีของชาวจ้วง และการสนับสนุนของรัฐบาลกิจการด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิตในชุมชนชาวจ้วงพัฒนารุดหน้าไปมาก นอกจากนี้กิจการด้านการศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การสื่อสารก็ได้รับการเอาใจใส่และยกระดับขึ้น นำความอยู่ดีกินดีและสภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาสู่ชุมชนชาวจ้วง มีการทำการค้าทั้งกับในและต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนชาวจ้วงมีความเจริญก้าวหน้าและขยายวงกว้างอย่างไม่หยุดยั้ง


ด้านศิลปวัฒนธรรม ชาวจ้วงที่อาศัยอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำได้รับขนานนามว่า “รมย์” ส่วนที่อาศัยอยู่ทางฝั่งซ้ายได้รับขนานนามว่า “กลอน” ซึ่งหมายความว่า ชาวจ้วงช่ำชองการร้องรำทำเพลง รักชีวิตที่สนุกสนานรื่นรมย์ ดังจะเห็นว่าชาวจ้วงมีเทศกาลร้องรำทำเพลงที่จัดเป็นประจำทุกปี เรียกเทศกาลนี้ว่า “ตลาดนัดจำเรียง” จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 3 เดือน 3 ของทุกปี มีชาวจ้วงจากทั่วสารทิศนับพันนับหมื่นมาร่วมกันขับลำนำรำฟ้อนกัน เนื้อหาของเพลงชาวจ้วงมีหลากหลาย เช่น เพลงเชื้อเชิญ เพลงวิงวอน เพลงโต้ เพลงยกย่อง เพลงส่ง เพลงลา เพลงไล่ เพลงรับ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ชาวจ้วงจึงได้รับการขนานนามว่า “เทพแห่งบทเพลง” ในงานตลาดนัดจำเรียงนี้ชาวจ้วงยังมีกิจกรรมรื่นเริงและมีอาหารการกินอีกมากมาย ที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์คือ “ข้าวเบญจรงค์” คือธัญพืชห้าสี การกินข้าวเบญจรงค์ก็หมายถึงการอวยพรให้การเพาะปลูกธัญพืชต่างๆได้ผลผลิตที่ดีนั่นเอง ในงานเทศกาลนี้ชาวจ้วงที่ยูนนานจะนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ด้านหัตถกรรมต่างๆมาแลกเปลี่ยนกันด้วย งานนี้จัดขึ้นในเดือนสามซึ่งเป็นฤดูกาลเริ่มเพาะปลูก การจัดงานนี้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเพาะปลูกอันแสนเหน็ดเหนื่อยที่จะมาถึง

ตั้งแต่สมัยถังเป็นต้นมาชาวจ้วงก็เริ่มมีการเต้นรำแล้ว ความจริงมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่เริ่มมาชัดเจนเอาในสมัยถังนี่เอง ระบำที่มีชื่อเสียงเช่น ระบำตำข้าว ในสมัยซ่งประดิษฐ์ระบำขึ้นอีกหลายระบำ เช่น ระบำเก็บชา ระบำช้อนกุ้ง ระบำวัว เป็นต้น ท่วงท่าการเต้นระบำของฝ่ายชายมีท่าทีหนักแน่นทรงพลัง ฝ่ายหญิงอ่อนช้อยนุ่มนวล ระบำดังกล่าวสืบทอดมาจนปัจจุบัน ในสมัยฮั่น ชาวจ้วงได้รับอิทธิพลด้านนาฏศิลป์การแสดงของชาวฮั่นผสมผสานกับศิลปะดนตรีและการเต้นรำของตน เกิดมีการแสดงอุปรากรจ้วงและละครหุ่นไม้จ้วงขึ้น อุปรากรจ้วงยังแบ่งเป็น อุปรากรจ้วงเหนือ(北路壮剧Běi lù Zhuànɡjù) ได้รับความนิยมมากในกลุ่มชนชาวจ้วงแถบเมืองเถียนหลิน(田林Tiánlín) ซีหลิน(西林Xīlín) ป่ายเซ่อ(百色Bǎisè) อุปรากรจ้วงใต้ (南路壮剧Nánlù Zhuànɡjù) ได้รับความนิยมแถบเมืองเต๋อป่าว (德保Débǎo) ชิงซี(青西Qīnɡxī) เครื่องดนตรีของชาวจ้วงมีซอกะโหลกน้ำเต้า ซอกระดูกม้า ขลุ่ย พิณสามสาย ซอเอ้อร์หู โหม่ง ฆ้อง กลอง เป็นต้น


ด้านโบราณวัตถุและโบราณสถาน พบภาพเขียนสีโบราณตามหน้าผาในชุมชนชาวจ้วง ในระยะทางกว่า 200 กิโลเมตรนับตั้งแต่ เมืองหนิงหมิง (宁明Nínɡmínɡ) หลงโจว(龙州Lónɡzhōu) ผิงเสียง(凭祥Pínɡxiánɡ) ฉงจั่ว(崇左Chónɡzuǒ) ฝูสุย(扶绥Fúsuí) ของมณฑลกว่างซี มีภาพเขียนสีกว่า 60 กลุ่ม เป็นภาพคน สัตว์และสัญลักษณ์รูปทรงต่างๆ เป็นเครื่องยืนยันได้ถึงอารยธรรม ประวัติศาสตร์ความเป็นมาและความสามารถด้านจิตรกรรมของบรรพบุรุษชาวจ้วง เนื้อหาของภาพเขียนสีที่พบเป็นการเล่าเรื่องราวการดำรงชีวิต และการปีนขึ้นไปเขียนสีบนหน้าผาสูงชัน ทั้งยังพบว่ากลองมโหระทึกซึ่งถือเป็นสิ่งของล้ำค่าของชาวจ้วง ก็ปรากฏอยู่ในภาพเขียนสีนี้ด้วย
http://images.china.cn/attachement/jpg/site1000/20081209/000bcdb95f170aa81b8c26.jpg http://pic14.nipic.com/20110522/2967589_131150722108_2.jpg
http://www.bn888.com/UpFile/2011527163639.jpg

งานด้าน ศิลปะหัตถกรรม ผ้าแพรของชาวจ้วงงดงามมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว ทอขึ้นจากใยสำลีและไหมห้าสี ลวดลายเด่นชัด มีความคงทน ผ้าแพรของชาวจ้วงมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยถังและซ่ง นับเวลากว่าพันปีมาแล้ว จนถึงสมัยชิง วิวัฒนาการการทอผ้าแพรจ้วงเผยแพร่สู่ชุมชนชาวจ้วงทั่วไป กลายมาเป็นสินค้าพื้นเมืองชิ้นเอกของชาวจ้วง หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน การทอแพรของชาวจ้วงได้รับการสนับสนุนวิทยาการที่ทันสมัย มีการคิดค้นลวดลายใหม่ๆที่งดงามและหลากหลาย การใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ผ้าแพรก็กว้างขวางมากขึ้น แต่เดิมที่ใช้เป็นเสื้อผ้า พัฒนามาเป็นเครื่องประดับตกแต่ง ภาพแขวนผนัง ผ้าม่าน ผ้าคลุมโต๊ะ เตียง โซฟา เป็นต้น ปัจจุบันโรงงานผลิตแพรของชาวจ้วงที่เมืองจิ้งซี (靖西Jìnɡxī) ปินหยาง (宾阳Bīnyánɡ) ของมณฑลกว่างซี เป็นโรงงานผลิตที่มีชื่อเสียง และส่งออกผ้าแพรจ้วงจำหน่ายไปทั่วทั้งในและต่างประเทศ

ศิลปะ การต่อสู้ของชาวจ้วงมีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ในสมัยหมิงชาวจ้วงที่เมืองกุ้ยซี (桂西Guìxī) เมื่อเด็กอายุครบสิบขวบจะต้องฝึกมวยจ้วง ชาวจ้วงเองก็รักและนิยมฝึกมวยนี้เช่นกัน ทุกๆปี เมื่อว่างเว้นจากการเก็บเกี่ยว ชาวจ้วงจะจัดประลองมวยจ้วงขึ้น เพื่อหาผู้ที่มีความสามารถโดดเด่น และยกย่องให้ทำหน้าที่เป็นผู้สืบทอดและสอนมวยจ้วงให้กับชนรุ่นหลังต่อไป

ด้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งงานของชาวจ้วงแต่เดิมพ่อแม่เป็นผู้จัดการให้ แต่ก่อนการแต่งงานหนุ่มสาวสามารถเลือกคู่คนรักได้โดยอิสระ ยึดถือการมีสามีภรรยาคนเดียว หลังพิธีแต่งงานฝ่ายหญิงกลับไปอยู่บ้านเดิมของตน ไม่ย้ายเข้าบ้านฝ่ายชาย จนถึงเทศกาลสำคัญหรือฤดูการทำนาและฤดูเก็บเกี่ยวจึงจะย้ายมาอยู่บ้านสามี เพื่อช่วยบ้านสามีทำงาน ทำให้ฝ่ายหญิงมีความเป็นอิสระมาก ซึ่งอาจกินเวลานานสามถึงห้าปีก็ได้ ต่อเมื่อตั้งครรภ์จึงจะสามารถเข้ามาเป็นสมาชิกของบ้านฝ่ายชายได้อย่างเต็ม ตัว ปัจจุบันชุมชนจ้วงบางแห่งยังคงรักษาธรรมเนียมนี้อยู่ ต่อมาชาวจ้วงรู้สึกว่าไม่เหมาะสม จึงยกเลิกธรรมเนียมนี้ไป โดยให้ฝ่ายหญิงย้ายเข้าบ้านฝ่ายชายหลังจากแต่งงาน ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงประหารชีวิตเลยทีเดียว

บ้าน เรือนที่อยู่อาศัยของชาวจ้วงคล้ายคลึงกับชาวฮั่น สร้างบ้านในรั้วรอบ สร้างเป็นบ้านสองชั้น ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย ชั้นล่างเป็นคอกเลี้ยงสัตว์และเก็บข้าวของ แต่ในระยะหลังการสร้างบ้านเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยแยกคอกสัตว์ออกจากที่พักอาศัย

การ แต่งกายของชาวจ้วงแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ ชาวจ้วงฝั่งภาคตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลกว่างซี หญิงสูงอายุสวมเสื้อไม่มีปก ผ่าอกเฉียงไปทางซ้าย ปักลวดลายตามชายขอบของแขนเสื้อ ชายเสื้อ คอเสื้อ สวมกางเกงขากว้าง มีผ้าคาดเอวที่ปักลวดลายสวยงาม และนิยมใส่เครื่องประดับที่ทำจากเงิน ส่วนชาวจ้วงฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของกว่างซี แถบเมืองหลงโจว (龙州Lónɡzhōu) ผิงเสียง (凭祥Pínɡxiánɡ) หญิงสวมเสื้อสีดำไม่มีปก ผ่าอกเฉียงลงทางซ้าย คลุมด้วยผ้าผืนสี่เหลี่ยมสีดำ สวมกางเกงขายาวและกว้าง สีดำ ส่วนชายสวมเสื้อคอจีนเหมือนอย่างชาวฮั่น ผ้าที่ใช้ตัดเย็บทอด้วยฝีมือชาวจ้วงเอง แต่ปัจจุบันมีผ้าทอด้วยเครื่องจักรแล้ว แต่เดิมชาวจ้วงนิยมหักฟันสองสามซี่แล้วเสริมด้วยฟันทอง นอกจากนี้ยังนิยมสักลวดลายตามร่างกาย แต่ปัจจุบันไม่สู้นิยมนัก

ด้าน อาหารการกิน ชาวจ้วงชอบกินอาหารจำพวกของหมักดอง ปลาดิบเป็นอาหารเมนูโปรดของชาวจ้วง อาหารหลักคือข้าวเจ้า และข้าวโพด ในเทศกาลสำคัญใช้แป้งที่โม่จากข้าวเจ้าทำอาหารหลายประเภท หญิงชาวจ้วงนิยมเคี้ยวหมากให้ฟันดำ เพราะเชื่อว่าเป็นความงามและแข็งแรง ในงานแต่งงาน สินสอดที่ขาดมิได้เลยคือ “หมาก

ด้าน ความเชื่อ ชาวจ้วงนับถือบรรพบุรุษ และบูชาสรรพเทพตามธรรมชาติ เพราะเชื่อว่าทุกสรรพสิ่งมีเทพประจำอยู่ เช่น เทพน้ำ เทพต้นไม้ เทพธรณี เทพภูพาน เทพเตา เทพอาทิตย์ เป็นต้น หลังจากสมัยถังเป็นต้นมาศาสนาพุทธและเต๋าเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ชุมชนชาวจ้วง ในยุคปัจจุบันหมอสอนศาสนาคริสต์เริ่มเข้าสู่ชุมชนชาวจ้วง และได้สร้างโบสถ์คริสต์ขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมจากชาวจ้วงมากนัก ชาวจ้วงยังคงนับถือศาสนาพุทธควบคู่ไปกับการบูชาบรรพบุรุษและเทพต่างๆ ตามที่เคยนับถือมาแต่เดิม

54. 藏族ชนกลุ่มน้อยเผ่าทิเบต







































คัดลอกภาพจาก







ชนกลุ่มน้อยเผ่าทิเบตนี้นับได้ว่าเป็นกลุ่มชนที่มีความสำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์จีนกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบสูงอันกว้างใหญ่ชื่อ ที่ราบสูงชิงจั้ง (青藏高原Qīnɡ Zànɡ ɡāoyuán, Qinghai-Tibet Plateau) มีถิ่นที่อยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต และในเขตปกครองตนเองทิเบตมองโกล มณฑลชิงห่ายหลายเมืองเช่น หายเป่ย(海北Hǎiběi) หวงหนาน(黄南Huánɡnán) ห่ายหนาน(海南Hǎinán) กว่อลั่ว(果洛Guǒluò) ยวี่ซู่(玉树Yùshù) มณฑลกานซู่มีอยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบตเมืองกานหนาน(甘南Gānnán) และเขตปกครองตนเองทิเบตเมืองเทียนจู้(天祝Tiānzhù) ในมณฑลเสฉวนมีอยู่ที่เขตปกครองตนเองทิเบตเมืองอาป้า (阿坝Ābà) เขตปกครองตนเองทิเบตเมืองกานจือ(甘孜Gānzī) เขตปกครองตนเองทิเบตอำเภอมู่หลี่ (木里Mùlǐ) ในมณฑลยูนนานที่เขตปกครองตนเองทิเบตเมืองตี๋ชิ่ง จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่าทิเบต มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,416,021 คน


ชาวทิเบตมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองคือภาษาทิเบต จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า แขนงภาษาทิเบต มี 3 สำเนียงภาษาคือ สำเนียงเว่ยจั้ง (卫藏 Wèizànɡ) สำเนียงคัง(康Kānɡ) และสำเนียงอานตัว(安多Ānduō) อักษรทิเบตประดิษฐ์ขึ้นโดยดูแบบอย่างจากภาษาสันสกฤตในตอนต้นศตวรรษที่ 7 และมีการพัฒนาแก้ไขถึงสามครั้ง เป็นภาษาที่มีอักขระวิธีการประสมเสียงพยัญชนะสระ ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน

ชาวฮั่นเรียกชื่อชนเผ่านี้ว่า “จั้ง” (藏族Zànɡ Zú) แต่ชาวทิเบตเรียกตนเองว่า “ฟาน” (蕃Fān) นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละถิ่นที่อยู่อีกหลายชื่อ เช่น ชาวทิเบตที่ชุมชนอาหลี่(阿里Ālǐ) เรียกตัวเองว่า “ตุ้ยปา” (兑巴Duìbā) ที่ชุมชนโห้วจั้งเรียกตัวเองว่า “จั้งปา” (藏巴Zànɡbā) ที่ชุมชนเฉียนจั้งเรียกตนเองว่า “เว่ยปา” (卫巴Wèibā) กลุ่มชนที่อาศัยในดินแดนทิเบตตะวันออกและทางตะวันตกของมณฑลเสฉวนเรียกตัวเองว่า“คังปา”(康巴Kānɡbā) กลุ่มที่อาศัยอยู่ดินแดนทิเบตเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน บริเวณกานหนาน (甘南Gānnán) ชิงห่าย(青海Qīnɡhǎi) เรียกตนเองว่า “อานตัวหวฺา” (安多娃Ānduōwá) แต่ชาวทิเบตโดยรวมแล้วเรียกตัวเองว่า “ฝานปา” คำว่า “ปา” และ “หวฺา” ในภาษาทิเบตหมายถึง “คน”
ชาวจั้งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในดินแดนทิเบตบริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำหยาหลู่จั้งปู้ (雅鲁藏布江Yǎlǔzànɡbùjiānɡ) จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า กว่า 4000 ปีก่อนบรรพบุรุษของชาวจั้งก็ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำหยาหลู่จั้งปู้แล้ว จากบันทึกพงศาวดารภาษาฮั่นบันทึกไว้ว่าในสมัยฮั่นชาวจั้งเป็นชนแขนงหนึ่งของชนชาวเชียงตะวันตก(西羌人Xī qiānɡrén) ในขณะนั้นชาวเชียงตะวันตกที่อาศัยอยู่บริเวณกานชิง(甘青Gānqīnɡ) มีการติดต่อสัมพันธ์ทั้งทางการเมืองการปกครองและการค้าขายกับราชสำนักฮั่นอย่างแน่นแฟ้นแล้ว ในขณะที่ชนในดินแดนฟาเชียง (发羌Fāqiānɡ) ถังเหมา(唐牦Tánɡmáo) ของทิเบตก็เริ่มติดต่อสัมพันธ์กับชนในดินแดนกานชิงแล้ว ในบันทึกภาษาทิเบตมีบันทึกว่าบรรพกษัตริย์ของราชวงศ์ถู่ฟาน (吐蕃王室Tǔfān Wánɡshì) เริ่มครองอำนาจและตั้งตนเป็นใหญ่ขึ้นครอบครองดินแดนลุ่มน้ำหย่าหลง (雅隆河 Yǎlónɡhé,Yanaon) และสืบทอดราชบัลลังก์ 20 กว่ารุ่น ในยุคเริ่มราชบัลลังก์เริ่มเข้าสู่ระบบสังคมแบบการสืบสายตระกูลสายพ่อ แต่ก่อนหน้านั้นมีการตั้งชื่อแบบลูกโซ่กับแม่ แสดงให้เห็นว่าก่อนเข้าสู่สังคมการสืบสายตระกูลพ่อ ชาวจั้งเคยมีระบบสังคมแบบการสืบสายตระกูลสายแม่มาก่อน ราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 หัวหน้ากลุ่มชนเผ่าที่เรียกตัวเองว่า“ซีปู๋เหย่” (悉补野Xībǔyě) รวมเข้ากับแคว้นอื่น ๆ เป็นอาณาจักรใหญ่ ในขณะนั้นดินแดนทิเบตมีชนอาศัยอยู่หลายกลุ่ม เช่น หยางถง (羊同Yánɡtónɡ) เผิงโป (澎波Pénɡbō) ซูผี (苏毗Sūpí) เป็นต้น ในยุคนี้เริ่มเข้าสู่สังคมแบบทาสแล้ว


ปลายสมัยสุยต้นสมัยถัง ซีปู๋เหย่รวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในดินแดนทิเบตเข้าเป็นอาณาจักร ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หลัวซัว (逻娑Luósuō ปัจจุบันคือเมืองลาซ่า拉萨Lāsà) ขุนนางและประชาชนยกย่องให้ ซงจ้านกานปู้ (松赞干布Sōnɡzànɡānbù) เป็นกษัตริย์ครองอาณาจักร จากนั้นเริ่มสร้างอารยธรรมแห่งทิเบตขึ้น เช่น เริ่มประดิษฐ์อักษรทิเบต การนับปฏิทิน กฎหมาย มาตราวัด แบ่งขุนนางเป็นสองฝ่าย คือ ขุนนางฝ่ายศิลปะวิทยาและฝ่ายกำลังพล (文武Wén Wǔ,บุ๋นบู้) แบ่งการปกครองในอาณาจักรเป็นสี่เขต กำหนดชื่อเรียกตนเองว่า “ฟาน” (蕃Fān) ตรงกับที่บันทึกชาวฮั่นเรียกว่าราชสำนัก “ถู่ฟาน” (吐蕃Tǔfān) ในยุคที่ซงจ้านกานปู้พัฒนาด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมของอาณาจักรนั้น ก็ได้ติดต่อสัมพันธ์กับราชสำนักถัง รวมถึงประเทศต่างๆ เช่น เทียนจู๋ (天竺Tiānzhú ปัจจุบันคืออินเดีย) หนีโผหลัว (ปัจจุบันคือเนปาล泥婆罗Nípóluó) การติดต่อสัมพันธ์กับประเทศต่างๆนี้ทำให้สังคมทิเบตเริ่มรับเอารูปแบบสังคมศักดินาเข้ามา รวมถึงพุทธศาสนาก็เผยแผ่เข้าสู่ทิเบตในยุคนี้เอง


หลังจากการรวมอาณาจักรทิเบตแล้ว ทิเบตพัฒนาตนเองเข้มแข็งขึ้น คริสต์ศตวรรษที่ 8 ซงจ้านกานปู้ขออภิเษกกับองค์หญิงเหวินเฉิง(文成公主 Wénchénɡ ɡōnɡzhǔ) ธิดาของจักรพรรดิถังไท่จง (唐太宗Tánɡ Tàizōnɡ) กษัตริย์ทิเบตจึงมีศักดิ์เป็นราชบุตรเขยของราชวงศ์ถัง หลังจากพระเจ้าถังเกาจง(唐高宗Tánɡ Gāozōnɡ) ขึ้นครองราชย์ แผ่นดินราชวงศ์ถังและทิเบตมีฐานะเป็นเมืองอาและเมืองหลาน ซงจ้านกานปู้เรียกถังเกาจงว่า “โอรสสวรรค์” (天子Tiānzǐ)ค.ศ.710 องค์หญิงจินเฉิงแห่งราชสำนักถังได้อภิเษกกับจ้านผู่ชื่อเต๋อ(赞普赤德 Zànpǔ Chìdé) แห่งทิเบตยิ่งกระชับความสัมพันธ์ของแผ่นดินราชวงศ์ถังและทิเบตให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ปี ค.ศ.822 ราชสำนักถังและทิเบตรวมตัวเป็นอาณาจักรเดียวกัน ตั้งหลักศิลาแห่งอาณาจักรขึ้นที่หน้าวัดต้าเจา (大昭寺Dàzhāosì) เมืองลาซ่า (拉萨Lāsà) ทิเบตกับจีนจึงเป็นอาณาจักรญาติพี่น้องที่มิอาจแยกจากกันได้ และเป็นรากฐานของประเทศจีนที่มีหลายชนชาติรวมเป็นหนึ่งมาจนปัจจุบัน


ศตวรรษที่ 13 มองโกลเรืองอำนาจก่อตั้งราชวงศ์หยวนขึ้น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หยวนก่อตั้งเมืองหลวงที่ต้าตู (大都Dàdū ปัจจุบันคือปักกิ่ง) เป็นศูนย์กลางการปกครองขึ้น ดูแลควบคุมพุทธศาสนาในประเทศรวมไปถึงพุทธศาสนาในทิเบตด้วย โดยมีพระปาซือปา (八思巴Bāsībā ปี 1253 - 1280) เป็นสังฆราชผู้ปกครอง ราชสำนักหยวนก่อตั้งกองกำลังทหารขึ้นประจำการในดินแดนทิเบต และรวบเอาทิเบตเข้ามาอยู่ในอำนาจไว้ได้ ทิเบตจึงถือเป็นดินแดนหนึ่งของอาณาจักรจีนนับแต่นั้นมา


สมัยราชวงศ์หมิงและชิง ตลอดมาจนถึงสมัยหมินกว๋อทางการจีนพยายามรวมดินแดนทิเบตเข้ามาอยู่ในการปกครองโดยตลอด ในขณะที่ความสัมพันธ์ของชาวทิเบตกับชนกลุ่มอื่นๆ ในจีนก็มีความแน่นแฟ้นลึกซึ้งดุจญาติพี่น้อง การปกครองทิเบตก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างและประสบความสำเร็จเรื่อยมา


ด้านเศรษฐกิจและสังคม ก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน สังคมทิเบตเป็นแบบสังคมศักดินาที่รวมเอาเรื่องการเมืองและศาสนาเข้าเป็นหนึ่งเดียว ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสังคมในทิเบตเริ่มเปลี่ยนแปลงตามลำดับ คือ เริ่มจากจากระบบเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินการเกษตร มาเป็นขุนนางมีอำนาจจัดการที่ดิน เปลี่ยนมาเป็นการจัดให้มีหัวหน้าผู้ปกครองพื้นที่เลี้ยงสัตว์เป็นร้อยและพันครัวเรือน ต่อมามีการก่อตั้งขุนนางและส่วนการปกครองที่มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องที่ดินทำกินโดยเฉพาะ ผู้ที่จะได้รับการสนับสนุนให้ทำหน้าที่นี้คือผู้ที่ประชาชนเคารพเลื่อมใส ซึ่งได้แก่ เจ้าอาวาสวัด พระและนักบวชในชุมชนต่างๆ นั่นเอง ผู้นำเหล่านี้มีอำนาจในการเก็บภาษีราษฎร ก่อตั้งวัด มอบอำนาจให้ผู้อื่นเก็บภาษีแทน เป็นต้น


ก่อนการก่อตั้งประเทศ (建国Jiànɡuó) สังคมทิเบตเป็นสังคมศักดินาและการครอบครองทาส ชนชั้นสูงได้แก่ ชนชั้นพระ นักบวชมีอำนาจปกครอง มีอำนาจก่อตั้งและควบคุมกองกำลังทหาร มีอำนาจทางกฎหมายตุลาการ และการลงโทษ ตลอดจนอำนาจในการครอบครองทาสและมีสิทธิ์ในการครอบครองที่เป็นของตนเอง ทาสในสังคมทิเบตมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก ถูกชนชั้นเจ้าศักดินากดขี่ใช้แรงงานอย่างหนัก ทาสต้องทำนารับใช้เจ้าทาส เครื่องไม้เครื่องมือการเกษตรต้องหาเอง ต้องดูแลเรื่องอาหารการกินด้วยตัวเอง ผลผลิตที่ได้ยังต้องส่งเป็นภาษีให้กับเจ้าทาส นอกฤดูทำนาทาสยังต้องรับใช้เจ้าทาสทุกอย่าง ทาสไม่มีสิทธิครอบครองสมบัติใดๆ ทุกอย่างที่ทาสมีถือเป็นสมบัติของเจ้าทาสทั้งหมด เจ้าทาสมีสิทธิ์ในตัวทาสทุกประการสามารถซื้อขายกันได้ สามารถมอบเป็นทรัพย์สมบัติให้ผู้อื่นได้ สามารถเป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลานได้ ลูกทาสที่เกิดมาก็ถือเป็นสมบัติของเจ้าทาส เจ้าทาสมีอำนาจลงโทษทาสในปกครองจนถึงขั้นประหารชีวิตได้


ด้วยเหตุที่การปกครองของทิเบตขึ้นอยู่กับศาสนา ชนชั้นปกครองกดขี่แรงงาน การทำการเกษตรไม่มีการพัฒนา ผลผลิตที่ได้จึงต่ำมาก พืชหลักที่ปลูกได้แก่ จำพวกข้าวต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่ทำด้วยไม้และเหล็กแล้ว ใช้แรงงานวัวในการลากไถ การทำนาใช้วิธีหว่านแล้วปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ส่วนบริเวณที่เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์ยิ่งล้าหลังกว่าพื้นที่การเกษตร ชาวทิเบตเลี้ยงสัตว์แบบปล่อยให้หากินตามธรรมชาติ สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ แพะภูเขา วัว จามรี ม้า ลา ล่อเป็นต้น แต่การเลี้ยงสัตว์ไม่มีวิทยาการด้านปศุสัตว์ใดๆ


งานหัตถกรรมของชาวทิเบตได้แก่ การถัก ทอ ปั่นด้าย การทำเครื่องไม้ เครื่องหนัง โลหะ กระเบื้อง และหิน แต่เครื่องมือการผลิตยังคงล้าหลัง มีการใช้เครื่องมือที่ทำด้วยโลหะน้อยมาก โดยมากยังเป็นเครื่องมือไม้ที่ทำขึ้นเองอยู่ ข้าวของเครื่องใช้ยังทำจากวัสดุตามธรรมชาติเช่น เชือกที่ฟั่นจากขนวัวจามรี กระเป๋าที่เย็บด้วยหนังวัว ถังนมที่ทำจากไม้ การตัดขนสัตว์ การนวดหนังสัตว์เป็นแผ่นยังคงใช้มือทำ ไม่มีเครื่องมือใดๆ งานที่ผลิตได้เพียงสำหรับใช้ในครัวเรือนเท่านั้น ยังไม่พัฒนาถึงขั้นผลิตเพื่อการค้า เริ่มมีการใช้เหรียญเงินในการซื้อขายสินค้า แต่ส่วนมากยังคงใช้วิธีแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกันอยู่ นอกจากอาชีพการเกษตร เลี้ยงสัตว์และงานหัตถกรรมแล้ว ชาวทิเบตยังประกอบอาชีพเก็บของป่าจำพวกพืชสมุนไพร อาหารป่านำมาแลกเปลี่ยนกับสินค้า อื่นๆ ด้วย


หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองน้อยใหญ่ต่างๆในดินแดนทิเบตได้รับการปลดปล่อย หลังจากที่เมืองชางตู (昌都Chānɡdū) ได้รับการปลดปล่อยแล้ว ทางการทิเบตได้เจรจากับรัฐบาลจีนเกี่ยวกับการปลดปล่อยดินแดนทิเบต และในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 ได้ข้อตกลง 17 ข้อ โดยมีดาไลลามะ (达赖喇嘛Dálàilǎmɑ) และพระเอ๋อร์เต๋อหนี(额尔德尼É’ěr Déní) เป็นผู้สนับสนุนและดูแลข้อตกลงทั้ง 17 ข้อดังกล่าว นับแต่นั้นมาชาวทิเบตเริ่มประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ด้วยข้อตกลง 17 ข้อนั้นเอง รัฐบาลกลางกระจายอำนาจเข้าสู่ทิเบตที่เมืองลาซ่า ทหารปลดแอกเข้าสู่ดินแดนทิเบตทางเสฉวน ยูนนาน ชิงห่ายและซินเจียง ด้วยนโยบายของรัฐบาลกลางที่ได้ผลจึงสามารถรวมทิเบตเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับจีนได้ นโยบายดังกล่าวคือ การให้อิสระเสรีในการนับถือศาสนา ให้สิทธิทางการเมือง ให้ประชาชนเป็นหนึ่งเดียว ส่งเสริมความรักชาติ สร้างสังคมที่สงบสุข พัฒนาการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจของชาวทิเบต พัฒนาด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม โดยรัฐบาลได้ก่อตั้งโรงเรียนประถมมัธยมขึ้นจนแทบจะครบทุกหมู่บ้านและตำบล มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นหลายแห่ง วัดวาอารามอันเป็นสถานที่ศึกษาศาสนาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวทิเบต รัฐบาลก็ได้สนับสนุนให้ชาวทิเบตนับถือศาสนาและประกอบศาสนกิจได้อย่างอิสระเสรี ด้านการสาธารณสุข มีการก่อตั้งสถานีอนามัยขึ้นในทุกหมู่บ้านและตำบล และก่อตั้งโรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อทำหน้าที่ดูแลสุขภาพที่ดีของประชาชน มีการก่อสร้างระบบการจราจร คมนาคมและการสื่อสาร ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลจีน ส่งผลให้พื้นที่ต่างๆของทิเบตมีการก่อตั้งโรงงานนับพันแห่ง เช่น โรงกำเนิดไฟฟ้า โรงงานถลุงแร่ โรงงานผลิตน้ำมัน เครื่องจักรกล แร่ธาตุ วัสดุก่อสร้าง ไม้ ด้าย ผ้า หนัง กระดาษ การพิมพ์และอาหารสำเร็จรูป งานด้านหัตถกรรมก็พัฒนาขึ้นไปกว่าเดิมมาก มีการผลิตเพื่อการส่งออกทั่วทั้งประเทศในปริมาณสูงมาก นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนการสร้างระบบการจราจรขนส่ง มีการก่อสร้างทางหลวง ทางรถไฟ สนามบินเข้าสู่ชุมชนชาวทิเบตทุกหย่อมหญ้า ทัศนียภาพอันงดงามของดินแดนทิเบตดังที่รู้จักกันในนาม “ดินแดนหลังคาโลก” เพราะเป็นดินแดนที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกนี้เอง ทำให้ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมาเยือนและสัมผัสชุมชนของชาวทิเบต อันเป็นการนำความเจริญและการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาสู่ดินแดนทิเบตอย่างมหาศาล


นับตั้งแต่ปี 1950 ถึงปี 1965 รัฐบาลสนับสนุนให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิในการปกครองตนเอง ชาวทิเบตก็เช่นเดียวกัน จึงได้มีการก่อตั้งเขตปกครองตนเองชาวทิเบตขึ้นหลายแห่ง ได้แก่
มณฑลกานซู่ มี
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตเมืองกานหนาน (甘南藏族自治州 Gānnán Zànɡ Zú zìzhìzhōu )
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตอำเภอเทียนจู้ (天祝藏族自治县Tiānzhù Zànɡ Zúzìzhìxiàn)
มณฑลชิงห่าย มี
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตหายเป่ย (海北藏族自治州Hǎiběi Zànɡ Zú zìzhìzhōu)
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตหวงหนาน (黄南藏族自治州Huánɡnán Zànɡ Zú zìzhìzhōu)
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบต ห่ายหนาน (海南藏族自治州Hǎinán Zànɡ Zú
zìzhìzhōu)
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบต กว่อลั่ว (果洛藏族自治州Guǒluò Zànɡ Zú
zìzhìzhōu)
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตยวี่ซู่ (玉树藏族自治州Yùshù Zànɡ Zú
zìzhìzhōu)
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตชาวมองโกลห่ายซี (海西蒙古族藏族自治州Hǎixī Měnɡɡǔ Zú Zànɡ Zú zìzhìzhōu)

มณฑลเสฉวน มี
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตกานจือ (甘孜藏族自治州Gānzī Zànɡ Zú
zìzhìzhōu)
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตอาป้า (阿坝藏族自治州 Ābà Zànɡ Zú
zìzhìzhōu)
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตอำเภอมู่หลี่ (木里藏族自治县Mùlǐ Zànɡ Zú zìzhìxiàn)
มณฑลยูนนาน มี
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบตตี๋ชิ่ง (迪庆藏族自治州Díqìnɡ Zànɡ Zú
zìzhìzhōu)
- เขตปกครองตนเองชาวทิเบต (西藏自治区XīZànɡ Zìzhìqū)

เหตุผลทางประวัติศาสตร์ ทำให้การตั้งถิ่นฐานของชาวทิเบตมีอาณาเขตเป็นบริเวณกว้างใหญ่ การพัฒนาอาชีพ การดำรงชีพ และระบบเศรษฐกิจสังคมจึงไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และไม่สม่ำเสมอ แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ รัฐบาลจีนได้ใช้นโยบายต่างๆ เพื่อพัฒนาพื้นที่แต่ละแห่ง นับตั้งแต่ปี 1955 ถึง 1957 รัฐบาลได้ดำเนินการปลดแอกประชาชนในพื้นที่กานซู่ ชิงห่าย เสฉวน ยูนนาน บริเวณที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รัฐบาลได้ซื้อที่ดินจากเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อล้มล้างอำนาจการขูดรีดประชาชน บริเวณที่เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์ก็ได้ดำเนินการรวมดินแดนเข้าเป็นผืนเดียวกัน ไม่มีการแบ่งแยก ไม่มีการแย่งชิง ไม่แบ่งชนชั้นศักดินาและทาส แน่นอนว่าต้องถูกกีดกันและต่อต้านจากผู้กุมอำนาจอย่างชนชั้นเจ้าศักดินาอย่างหนัก ในปี 1959 ชนชั้นสูงที่กุมอำนาจชาวทิเบตก่อการต่อต้านและสร้างความวุ่นวายอย่างหนัก แต่รัฐบาลก็พยายามปราบปรามด้วยสันติวิธี รัฐบาลใช้วิธีการต่อต้านการก่อความวุ่นวาย ต่อต้านชนชั้นสูง ต่อต้านกรรมสิทธิ์ในการครอบครองทาส ยกเลิกการเช่าที่ดิน ล้มล้างการกดขี่ประชาชนของชนชั้นศักดินาในอารามทิเบตตามแบบการปกครองเดิม ยกเลิกหนี้สินของทาส ริบสมบัติที่ดินทำกิน ริบฝูงสัตว์และเครื่องมือการประกอบอาชีพเพื่อนำมาแบ่งปันแจกจ่ายให้กับทาสที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เพื่อให้ใช้เป็นกรรมสิทธิ์ของตน ตลอดจนดำเนินนโยบาย “ใครปลูกใครได้” ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์แบ่งให้กับทาสที่รับจ้างเลี้ยงสัตว์อยู่ในพื้นที่เดิมนั้นเป็นเจ้าของ ผลผลิตที่ได้รัฐบาลเป็นผู้รับซื้อ


ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งอาณาจักรที่รุ่งเรืองในอดีต ชนชาติ ทิเบตได้สรรค์สร้างอารยธรรมอันรุ่งโรจน์มาจนปัจจุบัน และนับเป็นอารยธรรมที่ทรงคุณค่ามหาศาลแก่ประเทศจีนในปัจจุบันเช่นกัน ชาวทิเบตเริ่มมีตัวอักษรใช้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 แล้ว ในยุคเริ่มการจดบันทึกตัวอักษรใช้วิธีจารลงบนแผ่นไม้ แผ่นทองและแผ่นหนัง เมื่อเริ่มมีการประดิษฐ์กระดาษขึ้นใช้จึงจดบันทึกลงบนกระดาษ ราชสำนักถู่ฟาน(ทิเบต) นับถือศาสนาพุทธ เอกสารบันทึกต่างๆล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาเช่น พระไตรปิฎก บทสวดมนต์ เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธองค์ เป็นต้น นอกจากนี้ศิลปะแขนงอื่นๆ ก็หาได้ยิ่งหย่อนไม่ เอกสารบันทึกตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบันของชาวทิเบต นับเป็นคลังความรู้มหาศาลที่สำคัญยิ่งของชนชาติทิเบตและประเทศจีนโดยรวม เช่น ปรัชญา อักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การแพทย์ การนับปฏิทิน ประวัติศาสตร์ ชีวประวัติบุคคลสำคัญ วรรณคดี นวนิยาย เพลงกลอน อุปรากร ศิลปะ นาฏศิลป์ ตลอดจนสารานุกรมที่รวบรวมเรื่องราวสำคัญต่างๆเป็นจำนวนมาก


เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชนชาติทิเบต เช่น บันทึกตำนานต่างๆ พุทธประวัติ ประวัติการเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนทิเบต บันทึกลำดับวงศ์ตระกูลชั้นสูงและราชวงศ์ อาณาจักร และอาราม เป็นต้น เรื่องที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เช่น
เรื่อง《松赞干布全集》Sōnɡzànɡānbù quánjí “ประมวลซงจ้านกานปู้”
เรื่อง《医方四续》Yīfānɡ sì xù “ตำราแพทย์จตุรบท”
เรื่อง《红史》Hónɡ shǐ “บทประวัติศาสตร์หงสื่อ”
เรื่อง《西藏王统记》Xīzànɡ wánɡtǒnɡ jì “บันทึกลำดับกษัตริย์ทิเบต”
เรื่อง《世界广述》Shìjiè ɡuǎnɡshù “บทพรรณนาโลก”
เรื่อง《文成公主》Wénchénɡ ɡōnɡzhǔ “องค์หญิงเหวินเฉิง”
เรื่อง《格萨尔王传》Gésà’ěr Wánɡ zhàun “พระราชประวัติพระเจ้าเก๋อซ่าร์”
เรื่อง《颇罗鼐传》Pōluónài zhàun “ประวัติโพหลัวไน่”
เรื่อง《萨迦格言》Sàjiāɡé yán “อรรถบท ซ่าเจียเก๋อ”
เรื่อง《地方志》Dìfɑnɡ zhì “บันทึกภูมิศาสตร์อาณาจักร”


อักษรวิทยาการของชาวทิเบตที่เจริญรุ่งเรืองนี้ ได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชนทั่วไปจนได้รับการแปลไปเป็นภาษาต่างประเทศอื่นเป็นจำนวนมาก ในประเทศจีนเองก็ได้แปลไปเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน อักษรทิเบตมีโครงสร้างสมบูรณ์ ลวดลายอักขระเป็นระเบียบงดงามดุจศิลปะชั้นสูง แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ภาษาตะวันออกอย่างโดดเด่น


ศิลปะการวาดภาพก็เป็นงานฝีมือเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างหนึ่งของชาวทิเบตอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่ภาพวาดบนฝาผนังในวัดวาอารามแสดงถึงพุทธประวัติได้อย่างโอ่อ่า สง่างาม สีสันสดใสลวดลายละเอียดลึกซึ้ง งานแกะสลักก็เป็นศิลปะชั้นสูงอีกอย่างหนึ่งที่ชาวทิเบตชำนาญ มีเทคนิควิธีการแกะสลักลวดลายที่วิจิตรบรรจง งานแกะสลักประดับประดาสิ่งปลูกสร้างที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ อย่างเช่น พระราชวังโปตาลาแห่งเมืองลาซ่า(拉萨布达拉宫Lāsà Bùdá lāɡōnɡภาพต่อไป) ที่มีชื่อเสียงระบือไกลทั่วโลก ก็เป็นศูนย์รวมด้านศิลปะวิทยาการและงานด้านศิลปกรรมของช่างฝีมือชาวทิเบตอย่างครบครัน

วิทยาการทางการแพทย์แผนทิเบตเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีวิธีการรักษาที่มีแบบแผนเป็นขั้นตอนชัดเจน คือ เริ่มจากการดู ถาม ฝังเข็ม นวดและผ่าตัด การใช้ยาได้มาจากพืชสมุนไพร แร่ธาตุธรรมชาติและจากสัตว์


วิทยาการด้านการนับปฏิทินแบบทิเบตใช้วิธีการนับวันขึ้นและวันแรม นับสิบสองราศี สี่ฤดูเป็นหนึ่งปี ทุกหกสิบปีนับเป็นหนึ่งรอบ หนึ่งปีมีสิบสองเดือน มีเดือนเล็กเดือนใหญ่ มีวิทยาการด้านการพยากรณ์ทางธรรมชาติและดาราศาสตร์


ชาวทิเบตเชี่ยวชาญการร้องรำทำเพลง ระบำเท้าเป็นระบำที่มีชื่อของชาวทิเบต ดนตรีทิเบตเป็นดนตรีชั้นสูงที่ใช้ในราชสำนักมาแต่โบราณ มีจังหวะและท่วงทำนองที่ให้อารมณ์สูงส่ง โอ่อ่า ขณะเดียวกันก็ให้อรรถรสที่รื่นรมย์และอิ่มเอิบใจอยู่ในที ละครทิเบตเกิดขึ้นในสมัยหมิง พัฒนามาจากการร้องและระบำพื้นเมือง ไม่มีฉากหลัง นักแสดงเป็นชายล้วน มีการแต่งกายตามเอกลักษณ์ทิเบตและที่สำคัญละครทิเบตมีการสวมหน้ากากด้วย การร้องเพลงเสียงสูงและสั่นเครือถือเป็นเอกลักษณ์การขับร้องของชาวทิเบตที่ยากจะมีชนชาติใดเสมอเหมือน เรื่องที่นิยมแสดงได้แก่ เรื่ององค์หญิงเหวินเฉิง 《文成公主》Wénchénɡ Gōnɡzhǔ นับเป็นอุปรากรที่ได้รับความนิยมสูง และได้รับยกย่อยให้เป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงชิ้นเอกของจีน


ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวทิเบตนิยมเรียกกันด้วยชื่อ ไม่เรียกนามสกุล การตั้งชื่อมีแบ่งแยกชื่อผู้หญิงผู้ชายชัดเจน ภาษาที่ใช้ตั้งชื่อมาจากภาษาที่ใช้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา


ด้านการแต่งกายเพศชายเกล้าผมไว้กลางกระหม่อม ส่วนหญิงหวีแบ่งเป็นสองข้างปล่อยลงคลุมบ่า แล้วคลุมด้วยเครื่องประดับลูกปัดร้อยเป็นเส้นหลายเส้น ทั้งชายหญิงสวมหมวกบางคลุมบนศีรษะ สวมเสื้อลำตัวสั้นแขนยาวไว้ด้านใน ชายสวมกางเกงขายาว หญิงสวมกระโปรงยาวคลุมถึงตาตุ่ม สวมเสื้อคลุมคอกลม ลำตัวยาวทับด้านนอก ผ่าอกเฉียงไปทางขวาเรียกชุดนี้ว่า “กี่เพ้าทิเบต” ในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง สตรีชาวทิเบตสวมชุดกี่เพ้าทิเบตแขนกุด มีผ้าสักหลาดคลุมกระโปรงด้านหน้าตั้งแต่เอวลงมา บนเสื้อผ้าปักลวดลายตามชายเสื้อชายกระโปรงและปกเสื้อ เป็นต้น ส่วนชายสวมชุดคลุมเช่นกันแต่มีผ้าคาดเอว สวมรองเท้าบู้ทสูงสวมทับแข้ง ชาวทิเบตที่เป็นกลุ่มชนเลี้ยงสัตว์สวมชุดกี่เพ้าทิเบตที่ทำจากหนังแกะ ผ่าข้างตั้งแต่เอวลงไป ส่วนพระนักบวชห่มจีวรสีแดงเลือดหมู


ด้านอาหารการกิน ชาวทิเบตมีอาหารหลักเรียกว่า “จานบา” (糌粑Zānbā) คือเส้นหมี่ที่โม่จากข้าวสาลีที่คั่วสุกแล้ว และนิยมดื่มชาเนย(เรียกว่า ซูโหยวฉา酥油茶Sūyóuchá) ชนเลี้ยงสัตว์นิยมบริโภคเนื้อวัว และเนื้อแกะเป็นอาหารหลัก พระนักบวชกินเนื้อสัตว์ได้
ด้านที่พักอาศัย ชาวทิเบตอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง มักหาทำเลใกล้กับแหล่งน้ำตั้งบ้านเรือน ใช้ก้อนหินก่อเป็นกำแพงบ้านโดยใช้โคลนเป็นตัวเชื่อม สร้างบ้านสูงสองถึงสามชั้น หลังคมเรียบ มีหน้าต่างหลายบาน สร้างรั้วรอบมีพื้นที่ในบริเวณบ้าน ปูพื้นบ้านด้วยไม้แผ่น ชนเลี้ยงสัตว์อาศัยอยู่ในกระจมที่คลุมด้วยผ้าทอจากขนจามรี และเนื่องจากการที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูง การจราจรและรถราเข้าถึงไม่สะดวกนัก ทำให้การคมนาคมต้องอาศัยแรงงานสัตว์จามรี เพราะเป็นสัตว์ที่มีความอดทนต่อสภาพภูมิประเทศที่สูงและเหน็บหนาวได้ดี จามรีจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของทิเบตอีกอย่างหนึ่ง จนได้รับขนานนามว่าเป็นยานแห่งที่สูง “高原之舟 Gāoyuán zhīzhōu” การคมนาคมทางน้ำใช้เรือไม้ขุดหรือเรือหนังวัว เรือหนังวัวนี้เป็นยานพาหนะทางน้ำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวทิเบตที่ไม่พบที่ใดในโลก
ครอบครัวของชาวทิเบตในยุคก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ยึดถือเพศชายเป็นศูนย์กลาง และแบ่งชนชั้นของสังคมอย่างชัดเจน ชนชั้นทางสังคมนี้เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดกิจกรรมต่างๆของชนชาวทิเบตอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการยึดถือการแต่งงานในชนชั้นเดียวกัน การเลือกคู่แต่งงานในแต่ละพื้นที่มีข้อกำหนดแตกต่างกัน บ้างยึดถือการไม่แต่งงานในสายตระกูลพ่อหรือสายตระกูลแม่เดียวกัน แต่บางพื้นที่สามารถแต่งงานกันในสายตระกูลเดียวกันที่ห่างกันสองสามรุ่นได้ บ้างไม่ห้ามการแต่งงานกับเครือญาติในสายตระกูลแม่ ชาวทิเบตยึดถือธรรมเนียมการแต่งงานแบบมีสามีภรรยาคนเดียว หนุ่มสาวมีอิสระในการเลือกคู่ครอง หลังการแต่งงาน เพศหญิงถือเป็นคนของสายตระกูลเพศชาย เพศชายมีสิทธิ์เป็นใหญ่ในครอบครัว รวมถึงการครอบครองมรดกด้วย ครอบครัวแบบหนึ่งสามีหลายภรรยาก็อนุญาตให้มีได้สำหรับครอบครัวที่มีฐานะดี การหย่าร้าง การแต่งงานใหม่ การมีลูกนอกสมรสไม่เป็นการผิดศีลธรรม ไม่ถูกตำหนิจากสังคมแต่อย่างใด แต่การแต่งงานของบุตรของบุคคลเหล่านี้จะต้องแต่งงานกับคนชนชั้นเดียวกันเท่านั้น พระนักบวชที่นอกเหนือจากนิกายหมวกเหลืองแล้ว (นิกายหมวกเหลือง คือนิกายที่ชื่อ เก๋อหลู่ ภาษาจีนเรียกว่า “格鲁派Gélǔpài”) สามารถแต่งงานได้ พิธีแต่งงานของนักบวชจะต้องจัดในวัดและหลังจากแต่งงานแล้วต้องอาศัยอยู่ในวัด


ชาวทิเบตประกอบพิธีศพที่เรียกว่า เทียนจั้ง (天葬tiān zànɡ) คือการทิ้งศพไว้บนยอดเขาสูงให้นกแร้งมาจิกเนื้อศพแล้วบินขึ้นฟ้า เพราะเชื่อว่าวิญญาณผู้ตายจะได้ขึ้นสวรรค์ ศพใดที่นกกินเนื้อหมดเร็วจะถือว่าเป็นผู้มีบุญได้ขึ้นสวรรค์เร็ว แต่ก็มีนักบวชทิเบตบางนิกายและชาวทิเบตที่อาศัยอยู่ในหุบเขาห่างไกลบางแห่งประกอบพิธีศพโดยการเผาศพ แต่มีข้อกำหนดห้ามเผาศพในฤดูเก็บเกี่ยว การประกอบพิธีศพโดยการฝังและลอยน้ำถือว่าไม่เป็นมงคล จึงไม่เป็นที่นิยม หญิงคลอดลูกจะต้องออกจากบ้านไปพักอยู่ที่อื่น หรือเมืองอื่นเสียก่อน


การต้อนรับแขกผู้มาเยือนชาวทิเบตจะมอบผ้าคล้องคอเรียกว่า “ห่าต๋า” (哈达Hǎdá) เป็นการแสดงถึงความเคารพสูงสุด


เทศกาลสำคัญของชาวทิเบตคือวันขึ้นปีใหม่ ตรงกับเดือนหนึ่งของทุกปี ชาวทิเบตสวมเสื้อผ้าชุดประจำเผ่าชุดใหม่ไปไหว้เพื่อนบ้าน ญาติมิตรที่เคารพนับถือ วันที่ 15 เดือน4 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และตรงกับวันที่องค์หญิงเหวินเฉิงแต่งงานเข้ามาสู่ราชวงศ์ทิเบต ชาวทิเบตจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เพื่อรำลึกถึงทั้งสองพระองค์ กลางเดือนเจ็ดใกล้ฤดูการเก็บเกี่ยวมีเทศกาลเฉลิมฉลองโดยการออกไปท่องเที่ยวนอกบ้านเพื่อความหวังใหม่อันสดใสงดงาม วันที่ 25 เดือน 10 เป็นวันที่ศาสดานิกายหมวกเหลืองนิพาน พระนักบวชในนิกายหมวกเหลืองมีพิธีสวดมนต์เพื่อรำลึกถึงพระศาสดา นอกจากนี้การคัดเลือกพระดาไลลามะแต่ละรุ่น มีข้อปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก เมื่อองค์ดาไลลามะเสียชีวิตลง จะต้องตั้งองค์ใหม่ขึ้นโดยมีคำทำนายถึงลักษณะ ถิ่นที่อยู่ ชาติกำเนิด เป็นต้น จนสามารถตามหาเด็กทารกตามคำทำนายนั้นเจอ จากนั้นก็ประกอบพิธีแต่งตั้งให้เป็นดาไลลามะองค์ใหม่


ด้านศาสนาความเชื่อ เดิมทีชาวทิเบตนับถือศาสนาที่ชื่อ เปิ่นเจี้ยว (本教Běnjiào) หรือเรียกว่าศาสนาดำ (黑教hēijiào) ศาสนาเปิ่นเจี้ยวนี้มีพัฒนาการสามขั้น คือ
ขั้นที่หนึ่ง คือ ตู๋เปิ่น (笃本Dǔběn) คือ การภักดี
ขั้นที่สอง คือ เชี่ยเปิ่น (恰本qiàběn) คือ การเผยแพร่
ขั้นที่สาม คือ เจี้ยวเปิ่น (觉本Jiàoběn) คือการนับถือ


นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมาพระเจ้าซงจ้านกานปู้นับถือศาสนาดังกล่าวนี้ ถึงขั้นกำหนดให้เป็นศาสนาประจำชาติ แต่เกิดการแย้งกันกับข้อปฏิบัติทางพุทธศาสนา ในที่สุดประชาชนเชื่อและนับถือพุทธศาสนามากกว่า ซึ่งก็ได้นับถือกันมาจนปัจจุบัน
ชาวทิเบตเรียกศาสนาพุทธว่า “หนางปาฉวี่” (囊巴曲Nánɡbāqǔ) เป็นศาสนาพุทธแขนงแรกที่เข้าสู่ประเทศจีน เรียกทั่วไปว่า “ศาสนาลามะ” (喇嘛教Lǎmɑjiāo) เริ่มเผยแผ่เข้าสู่ทิเบต (ประเทศถู่ฟานในยุคนั้น) เมื่อศตวรรษที่ห้า หลังจาก ค.ศ.978 ศาสนาพุทธในทิเบตแบ่งแยกออกเป็นหลายนิกาย นิกายสำคัญๆ เช่น


- นิกายหนิงหม่า (宁玛Nínɡmǎ) หมายถึงนิกายดั้งเดิม เรียกทั่วไปว่า ศาสนาแดง (红教 Hónɡ jiào)
- นิกายซ่าเจีย (萨迦派Dàjiāpài) หมายถึงนิกายเทา เรียกทั่วไปว่า ศาสนาดอกไม้ (花教 Huājiào)
- นิกายก๋าจวี่ (噶举派Gájǔpài) หมายถึงนิกายเผยแผ่ศาสนา เรียกทั่วไปว่าศาสนาขาว (白教Báijiào)
- นิกายก๋าตัง (噶当派 Gádānɡpài) หมายถึงนิกายเทศนา


ภายใต้การสนับสนุนของราชวงศ์หยวน พระลามะชั้นสูงนิกายซ่าเจียเป็นผู้ครอบครองอำนาจสูงสุด เริ่มดำเนินการปกครองในดินแดนทิเบตแบบรวมศาสนากับการปกครองเข้าเป็นหนึ่งเดียว


ค.ศ. 1409 พระจงคาปา(宗喀巴Zōnɡkābā) ได้ก่อตั้งนิกาย “เก๋อลู่” (格鲁Gélǔ) ขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานของนิกายก๋าตัง (嘎当Gādānɡ) คำว่า “เก่อลู่” มีความหมายว่า “กฎแห่งความปรานี” และด้วยเหตุที่พระนิกายนี้สวมหมวกสีเหลือง จึงเรียกนิกายนี้ว่า “นิกายหมวกเหลือง หรือ ศาสนาเหลือง” (黄帽派或黄教Huánɡmàopài huò Huánɡjiào) ศาสนาเก่อหลู่มีธรรมวินัยเข้มงวด พระไม่สามารถแต่งงานได้ ต้องผ่านการศึกษาพระคัมภีร์ห้าฉบับ ทุกปีจัดมหกรรมสนทนาธรรมและชำระพระธรรม จะต้องสอบเพื่อให้ได้รับเปรียญธรรมที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ลัทธิเก๋อหลู่พัฒนาขึ้นในดินแดนทิเบตอย่างรวดเร็ว และยังเผยแผ่เข้าสู่ชนเผ่ามองโกล เผ่าถู่ และเผ่ายวี่กูร์ นอกจากนี้เผยแผ่ไปยังประเทศห่างไกลอื่น ๆ เช่น ภูฏาน(不丹Bùdān ) สิขิม(锡金Xījīn) เนปาล (尼泊尔Níbó’ěr) และมองโกเลีย (蒙古Měnɡɡǔ) อีกด้วย อันเป็นรากฐานให้พุทธศาสนานิกายเก๋อหลู่มีความเข้มแข็งสืบทอดมาจนปัจจุบัน


53. 裕固族ชนกลุ่มน้อยเผ่ายวี่กูร์


















คัดลอกภาพจาก




ชาวยวี่กูร์กว่า 90% รวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เขตปกครองตนเองเผ่ายวี่กูร์ เมืองซู่หนาน (肃南Sùnán)มณฑลกานซู่ อำเภอที่มีชาวยวี่กูร์อาศัยอยู่มากคือ คังเล่อ(康乐Kānɡlè) ต้าเหอ(大河Dàhé) หมิงฮวา(明花Mínɡhuā) หวงเฉิง(皇城Huánɡchénɡ) หม่าถี(马蹄Mǎtí) นอกจากนี้ยังมีส่วนน้อยอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านชาวยวี่กูร์ บ้านหวงหนีป่าว (黄泥堡Huánɡníbǎo) เมืองจิ่วเฉวียน(酒泉Jiǔquán) ชาวยวี่กูร์เรียกตัวเองว่า “เหยาฮูร์”( 尧呼尔Yáohū’ěr) สมัยราชวงศ์หยวนและหมิงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ซาหลี่เว่ยอู” (撒里畏兀Sālǐwèiwū) หรือ “เช่อหลี่เว่ยอูเอ๋อร์” (撤里畏兀儿Chèlǐwèiwū’ér) ปัจจุบันยังมีชื่อเรียกของชนกลุ่มนี้แตกต่างออกไปอีก เช่น ซีลาเวยกูเอ๋อร์ (锡喇伟古尔Xīlāwěiɡǔ’ěr) ซีลากู่เอ๋อร์หวงฟาน (西喇古儿黄番 Xīlā ɡǔ’ér huánɡfān) ในช่วงต้นของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลจีนเรียกชื่อชนกลุ่มนี้ว่า “ซาหลี่เวยอูเอ๋อร์”( 撒里维吾尔Sālǐ Wéiwú’ěr) ในปี 1953 รัฐบาลและตัวแทนชนเผ่าหารือเพื่อตกลงชื่อที่ถูกต้อง และตกลงเรียกชื่อชนกลุ่มนี้ว่า“เหยาฮูเอ๋อร์”( 尧呼尔Yáohū’ěr) ใช้อักษรจีนแทนเสียงคือ ยวี่กู้ (裕固yùɡù) จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่ายวี่กูร์ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 13,719 คน


ชาวยวี่กูร์ไม่มีภาษาเขียน ส่วนใหญ่ใช้อักษรภาษาจีน แต่มีภาษาพูดแตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่อาศัย 3 ภาษาได้แก่
1. ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองเผ่ายวี่กูร์ เมืองซู่หนาน
มณฑลกานซู่ พูดภาษายวี่กูร์ตะวันตก จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขา เทอร์จิค
2. ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเขตปกครองตนเองเผ่ายวี่กูร์เมืองซู่หนาน พูดภาษายวี่กูร์
ตะวันออก จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขามองโกล
3. กลุ่มที่นอกเหนือจากสองกลุ่มข้างต้น ใช้ภาษาจีน


บรรพบุรุษของชาวยวี่กูร์สามารถสืบสาวขึ้นไปถึงราว 3 – 4 ร้อยปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นคือกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนติงหลิง (丁零Dīnɡlínɡ) เถี่ยเล่อ (铁勒Tiělè) และบริเวณลุ่มน้ำเส้อหลัวเก๋อ (色椤格河Sèluóɡéhé) และลุ่มแม่น้ำเอ้อร์ฮุน (鄂尔浑河 È ’ěr hún hé) ชนกลุ่มนี้มีชื่อว่าหุยเหอ (回纥Huíhé) นับเป็นหนึ่งในหกของกลุ่มชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น ต่อมาชุมชนทางตะวันออกได้แก่ เถี่ยเล่อ (铁勒Tiělè) เริ่มตั้งตนต่อต้านการปกครองของกลุ่มประเทศเทอร์จิคข่าน โดยได้ก่อตั้งเป็นชุมชนหลักเรียกชื่อว่า “ชาวเถี่ยเล่อเก้าแซ่” หรือเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า “เก้าแซ่” ช่วงกลางศตวรรษที่ 8 ชนกลุ่มหุยเหอพ่ายสงครามและตกอยู่ในอาณัติของประเทศเทอร์จิคข่าน ต่อมาได้รับการสถาปนาให้เป็นประเทศข่าน(汗国Hànɡuó) ถึงกลางศตวรรษที่ 9 ประเทศหุยเหอข่าน (回纥汗国Huíhé hànɡuó) ถูกประเทศเคอร์กิส (黠戛斯Xiájiásī, Kiryiz) รุกราน ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นอพยพกระจัดกระจายออกไปรอบทิศทาง ในจำนวนนี้มีกลุ่มหนึ่งอพยพไปทางตะวันตกตลอดริมแนวแม่น้ำเหอซี อาศัยอยู่ร่วมกันกับชาวหุยเหอที่อพยพมาก่อนหน้านั้น และได้ก่อร่างสร้างเมืองขยายเผ่าพันธุ์เป็นบรรพบุรุษของชาวยวี่กูร์ในปัจจุบัน


ด้านเศรษฐกิจและสังคม ก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนชาวยวี่กูร์ที่ซู่หนานดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน มีฝูงสัตว์เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ส่วนชาวยวี่กูร์ที่ด่านหวงหนี (黄泥Huánɡní) ดำรงชีพด้วยการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบพึ่งตนเอง งานหัตถกรรมผลิตเพื่อใช้สำหรับตนเองภายในครอบครัวเท่านั้น แม้ว่าคาราวานสินค้าของกลุ่มชนชาวหุยเหอจะเริ่มเข้ามาทำการค้าขายในชุมชนชาวยวี่กูร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ซ่ง และเหลียวแล้วก็ตาม แต่นับถึงยุคก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระบบเศรษฐกิจของชาวยวี่กูร์ยังคงเป็นไปอย่างล้าหลัง การแลกเปลี่ยนสินค้ากันยังน้อยมาก ผู้ครอบครองที่ดินและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ยังคงมีจำนวนไม่มาก หัวหน้าชุมชนถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ส่วนประชาชนทั่วไปรับจ้างทำงานให้เจ้าของฝูงสัตว์และเจ้าของที่ดิน หรือไม่ก็เช่าที่ดินทำกิน ชนชั้นคนรวยเก็บค่าเช่าและดอกเบี้ยในอัตราสูงมาก ประชาชนทั่วไปถูกกดขี่ขูดรีดอย่างหนัก ซ้ำร้ายพรรคกว๋อหมินตั่งก็เก็บภาษีและใช้แรงงานประชาชนอย่างหนักด้วยเช่นกัน ในสถานการณ์เช่นนี้ ระบบสังคมของชาวยวี่กูร์ที่ซู่หนานเป็นแบบสังคมศักดินา หัวหน้าชุมชนมีอำนาจสูงสุดในการปกครองดูแลชุมชน ส่วนชาวยวี่กูร์ที่ด่านหวงหนีถูกปกครองโดยพรรคกว๋อหมินตั่งโดยตรง


หลังยุคปลดปล่อย สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้น ชาวยวี่กูร์ได้รับสิทธิในการปกครองดูแลตนเอง ปี 1954 ได้ก่อตั้งชุมชนปกครองตนเองชาวยวี่กูร์ขึ้นที่อำเภอซู่หนานและด่านหวงหนี ตั้งแต่ปี 1956 ถึง 1958 ก็เข้าสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเต็มตัว ตลอดเวลาที่ผ่านมาด้วยการสนับสนุนและช่วยเหลือของรัฐบาล ทำให้ชุมชนและคุณภาพชีวิตประชาชนชาวยวี่กูร์พัฒนาดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นับแต่ปี 1990 เป็นต้นมา ชาวยวี่กูร์เริ่มหันมาทำการปศุสัตว์และการเกษตรตามแบบวิทยาการสมัยใหม่ ทำให้ผลผลิตจากการปศุสัตว์และการเกษตรมีปริมาณสูงขึ้นมากกว่า 60 ล้านหยวนต่อปี นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาอุตสาหกรรมน้อยใหญ่เกิดขึ้นหลายๆด้าน การศึกษา สาธารณสุขก็ได้รับการพัฒนาขึ้น นำความอยู่ดีมีสุขมาสู่ชุมชนชาวยวี่กูร์ถ้วนหน้า


ด้านศิลปวัฒนธรรม บรรพบุรุษของชาวยวี่กูร์เคยมีอักษรเป็นของตนเอง แต่ขาดการสืบทอดและเลิกใช้ไปในที่สุด แต่ชาวยวี่กูร์ยังคงสืบทอดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่งดงามและทรงคุณค่ามาอย่างไม่ขาดสาย วรรณกรรมพื้นบ้านเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ เช่น ตำนาน สุภาษิต คำพังเพย เพลงพื้นเมือง นิทานกลอน เป็นต้น บทเพลงของชาวยวี่กูร์มีเอกลักษณ์โดดเด่น เนื้อหาหลากหลายทั้งเรื่องกิจการงาน การดำรงชีวิต ความรัก ความคิดจินตนาการ กล่าวได้ว่าชาวยวี่กูร์ทุกคนมีพรสวรรค์ในเรื่องการร้องเพลงมาก นับแต่ครั้งอดีตจนปัจจุบัน ในจำนวนนักร้องจีนที่มีชื่อเสียงเลื่องลือก็มีนักร้องชาวยวี่กูร์จำนวนไม่น้อย เพลงเอกภาษายวี่กูร์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักทั่วไป ได้แก่ เพลงชื่อ หวงไต้เฉิง《黄黛成》Huánɡdàichénɡ และเพลงชื่อ ซ่าน่าหมาเข่อ《萨娜玛可》Sànàmǎkě ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยบทเพลงและการร้องเพลงของชาวยวี่กูร์อย่างกว้างขวาง และพบว่าเพลงพื้นเมืองของชาวยวี่กูร์มีอายุกว่าสองพันปี บทเพลงเหล่านี้เดิมทีเป็นของกลุ่มชนซยงหนู (匈奴人Xiōnɡnúrén) ถ่ายทอดสู่ชนกลุ่มหุยเหอ จากนั้นชาวหุยเหอสืบทอดต่อให้ชาวยวี่กูร์และได้ร้องต่อกันมาจนปัจจุบัน ด้านงานฝีมือ ชาวยวี่กูร์เป็นนักออกแบบที่เก่งและมีจินตนาการสูงส่ง งานเย็บปักถักร้อยมีลวดลายวิจิตรงดงามไม่แพ้ใคร


ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวยวี่กูร์สร้างที่อยู่อาศัยเป็นกระโจมทรงสี่เหลี่ยม ใช้เสาไม้ค้ำ 6 ถึง 9 ต้น คลุมด้วยผ้าสักหลาดรอบด้าน การแต่งกาย ชายสวมเสื้อกี่เพ้ายาวผ่าอกคอตั้ง คาดเอวด้วยผ้าสีแดงหรือน้ำเงินไว้คล้องมีด กระเป๋าเล็กๆและกล่องยานัตถุ์ สวมหมวกสักหลาดทรงกระบอกเตี้ย สวมรองเท้าบู้ทหนัง สวมตุ้มหูด้านซ้าย หญิงสวมชุดกี่เพ้าคอตั้ง ลำตัวยาว สวมเสื้อกั๊กทับด้านนอก คาดเอวด้วยผ้าสีแดง ม่วงหรือเขียว สวมหมวกรูปแตรคว่ำ บนหมวกพันสร้อยลูกปัดรอบหมวก สวมรองเท้าบู้ท หญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานถักเปีย 5 – 7 เส้นเป็นสัญลักษณ์ ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้ว บนแผ่นอกของเสื้อคลุมจะใช้ลูกปัดหลากสีปักเป็นรูปหน้าคนเป็นสัญลักษณ์
ด้านอาหารการกินของชาวยวี่กูร์เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอาชีพปศุสัตว์อย่างใกล้ชิด โดยปกติแล้วชาวยวี่กูร์จะดื่มชานม 3 มื้อ และกินข้าว 1 มื้อ อาหารหลักคือข้าว บะหมี่ และอาหารจำพวกผัก ไม่กินเนื้อสัตว์จำพวกนก ปลา และไม่กินเนื้อสัตว์ที่ปากทรงแหลม กีบเท้ากลม เช่น ม้า ลา ล่อ สุนัขและไก่ เป็นต้น


การแต่งงานของชาวยวี่กูร์ยึดถือการมีสามีภรรยาคนเดียว ไม่แต่งงานกับคนนามสกุลเดียวกัน และสายตระกูลเดียวกัน ก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงยึดถือธรรมเนียมการแต่งงานแบบคลุมถุงชนอยู่ หลังจากนั้นเริ่มมีอิสระในการเลือกคู่ครอง
ชาวยวี่กูร์มีประเพณีการประกอบพิธีศพ 3 อย่าง คือ การฝัง การเผา และการทิ้งไว้บนเขาสูงให้นกเหยี่ยวกิน


เดิมทีชาวยวี่กูร์นับถือศาสนาลามะนิกายเก๋อหลู่ (喇嘛教格鲁派Lǎmɑjiào Gélǔpài) หรือเรียกว่า ศาสนาเหลือง (黄教huánɡjiāo) นอกจากนี้ชาวยวี่กูร์ในชุมชนหลายๆแห่งยังนับถือและบูชาเทพต่างๆตามธรรมชาติ เกรงกลัวฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เชื่อว่าเป็นลางร้าย เชื่อในเวทมนตร์ของพ่อมดหมอผีว่าสามารถเรียกลมเรียกฝนได้ แต่เมื่อศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามา ชาวยวี่กูร์ก็เริ่มหันมานับถือศาสนาพุทธกันเป็นส่วนใหญ่

52. 彝族 ชนกลุ่มน้อยเผ่าอี๋






























คัดลอกภาพจาก http://m1.aboluowang.com/life/data/uploadfile/200809/20080924235053317.jpg
http://a2.att.hudong.com/42/74/01300000093815121419747715102.jpg
http://www.huadongyou.com/upload/9412//Img248880355.jpg
http://img3.pchouse.com.cn/pchouse/1011/01/42470_4.jpg


เผ่าอี๋นับเป็นชนเผ่าที่มีประวัติศาสตร์วัฒนธรรมยาวนานที่สุดเผ่าหนึ่งของจีน มีชื่อเรียกตัวเองต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ เช่น นั่วซู (诺苏Nuòsū) น่าซู (纳苏Nàsū) หลัวอู่ (罗武Luówǔ) หมี่ซาโพ (米撒泼Mǐsāpō) ซาหนี (撒尼Sāní) อาซี (阿西Āxī) เป็นต้น มีถิ่นฐานอยู่ที่มณฑลยูนนาน เสฉวน กุ้ยโจว กว่างซี ชาวอี๋อาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้าง และแต่ละที่ก็มีอยู่ไม่มาก บริเวณที่มีชาวอี๋อาศัยอยู่มากได้แก่ มณฑลเสฉวนมีชาวอี๋อยู่ที่กลุ่มปกครองตนเองชาวอี๋เขาเหลียงซาน(凉山Liánɡshān) ที่มณฑลยูนนานมีชาวอี๋อยู่ที่กลุ่มปกครองตนเองชาวอี๋เมืองสยงอี๋ (雄彝Xiónɡyí) และกลุ่มปกครองตนเองเผ่าฮานีเมืองหงเหอ (红河Hónɡhé) ที่มณฑลกุ้ยโจวมีชาวอี๋อยู่ที่เมืองปี้เจี๋ย (毕节Bìjié) และลิ่วผานสุ่ย (六盘水Liùpánshuǐ) จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่าอี๋มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 7,762,286 คน

ชาวอี๋มีภาษาเป็นของตนเองชื่อว่า ภาษาอี๋ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า แขนงภาษาอี๋ มี 6 สำเนียงภาษา เดิมมีภาษาเขียนที่เป็นอักษรภาพ เรียกชื่อว่า อักษรหนาง (囊文 Nánɡwén) ในปี 1975 มณฑลเสฉวนได้พัฒนาอักษรภาษาอี๋ให้กับชาวอี๋ที่กลุ่มปกครองตนเองชาวอี๋เมืองเหลียงซาน

ที่อนุสาวรีย์บรรพชนชาวอี๋ ในอำเภอปกครองตนเองชาวอี๋อำเภอเอ๋อซาน มณฑลยูนนาน (云南省峨山彝族自治县Yúnnán shěnɡ Éshān Yí Zú zìzhìxiàn) มีอักษรสลักบนอนุสาวรีย์บรรยายเกี่ยวกับตำนานของบรรพบุรุษชาวอี๋ที่ชื่อ อาผู่ ตู่มู่ (阿普笃慕 Āpǔ dǔmù) และลูกชายทั้งหกที่เป็นผู้นำพาชาวอี๋เดินทางอพยพและตั้งถิ่นฐานในดินแดนของมณฑลยูนนาน กุ้ยโจว เสฉวน ตลอดจนเป็นผู้กำหนดชีวิตของชาวอี๋ในปัจจุบัน http://photo.chinaxinge.com/show.asp?id=31344


“ชาวอี๋” คือชนเผ่าเชียงโบราณ(古羌人Gǔqiānɡrén) ที่อพยพลงใต้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผ่านการผสมผสานกลมกลืนทั้งทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์กับชนพื้นถิ่น และสืบทอดอารยธรรมต่อกันมาจนเกิดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่ขึ้น เมื่อหกพันปีก่อน ชนเผ่าเชียงโบราณที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณเมืองเหอหวง(河湟Héhuánɡ) เริ่มขยายถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นบริเวณกว้าง ในจำนวนนี้มีกลุ่มหนึ่งที่ขยายการตั้งถิ่นฐานไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน จนกระทั่งเมื่อ 3,000 ปีก่อน ชนกลุ่มนี้ก่อตั้งตนเองเป็นกลุ่มชนและเรียกชื่อตามถิ่นที่อยู่อาศัย ได้แก่ กลุ่ม “ลิ่วอี๋” (六夷Liùyí) “ชีเชียง” (七羌Qīqiānɡ) “จิ่วตี” (九氐Jiǔdī) ซึ่งก็คือกลุ่มชนที่บันทึกทางประวัติศาสตร์จีนเรียกชื่อตามถิ่นที่อยู่อาศัยว่ากลุ่ม “เยว่ซงอี๋” (越嵩夷Yuèsōnɡyí) “ชิงเชียง” (青羌Qīnɡqiānɡ) “อู๋” (侮Wǔ) “คุนหมิง” (昆明Kūnmínɡ) “เหลาจิ้น” (劳浸Láojìn) “หมีโม่” (靡莫Mímò) นั่นเอง ในยุคที่กลุ่มชนเชียงโบราณอพยพร่อนเร่มาถึงบริเวณตะวันตกเฉียงใต้นั้น ได้มีชนเผ่าโบราณกลุ่มต่างๆหลายต่อหลายกลุ่มอพยพมา และตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้ว ในประวัติศาสตร์จีนเรียกกลุ่มชนโบราณนี้ว่า “ป่ายเยว่” 百越族Bǎi yuè Zú, หมายถึง ชนร้อยเผ่า) เมื่อชนเชียงโบราณอพยพมาถึงบริเวณตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ก็ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ปะปนรวมกันกับชนร้อยเผ่า ระยะเวลาที่อยู่อาศัยร่วมกันเป็นเวลายาวนานนี้เอง ชนเผ่าเชียงโบราณได้มีปฏิสัมพันธ์ ซึมซับ ผสมผสานและกลมกลืนวัฒนธรรมของตนกับกลุ่มชนร้อยเผ่า จนถึงสมัยเว่ยจิ้นเป็นต้นมา (魏晋WèiJìn) ชนกลุ่มคุนหมิงหลอมรวมกับชนกลุ่มเฝินเกิดเป็นชนกลุ่มเหลียว (僚人Liáorén) นับจากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหกราชวงศ์ (汉至六朝Hàn zhì Liùcháo) อารยธรรมชาวฮั่นเข้มแข็งขึ้น เรียกชนที่อาศัยอยู่บริเวณตะวันออกของยูนนาน ตะวันตกของกุ้ยโจว และตอนใต้ของเสฉวนว่า “ชาวโส่ว” (叟人Sǒurén) บางครั้งก็เหมารวมเอาชาวผู (濮Pú) เข้ามาเป็นกลุ่มเดียวกันนี้ด้วย


ตั้งแต่สมัยสุยและถังเป็นต้นมา บรรพบุรุษของชาวอี๋แบ่งออกเป็นสองกลุ่มเรียกชื่อว่า “อูหมาน” (乌蛮Wū Mán หมายถึง “หมานดำ”) และ “ป๋ายหมาน” (白蛮Bái Mán หมายถึง “หมานขาว”) กลุ่มอูหมาน คือกลุ่มที่พัฒนามาจากชนเผ่าบริเวณคุนหมิง ส่วนชนส่วนใหญ่ของกลุ่มป๋ายหมานคือกลุ่มชนชาวโส่วและชาวผูเป็นหลัก นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงชนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยผสมกลมกลืนเข้ามาเป็นกลุ่มเดียวกันอีกด้วย ช่วงการพัฒนาและก่อตัวขึ้นของชาวอี๋นี้ มีวิถีชีวิตครอบคลุมอาณาบริเวณ 3 มณฑลได้แก่ ยูนนาน เสฉวน กุ้ยโจว และส่วนหนึ่งของมณฑลกว่างซี โดยมีศูนย์กลางของชนเผ่าอยู่ที่บริเวณที่เป็นเขตรอยต่อของทั้งสามมณฑลนั่นเอง
ประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของชาวอี๋คือ การรักษาระบอบการปกครองแบบทาสเป็นเวลาอันยาวนาน สองร้อยปีก่อนคริตศักราช คือก่อนยุคซีฮั่น (西汉Xī Hàn) ขึ้นไป บรรพบุรุษของชาวอี๋มีบางกลุ่มดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน บางกลุ่มเริ่มมีการตั้งชุมชนเป็นหลักแหล่งแล้ว นับแต่สมัยตงฮั่น (东汉Dōnɡhàn) จนถึงเว่ยจิ้น(魏晋Wèi Jìn) บรรพบุรุษของชาวอี๋เริ่มก่อตัวขึ้นเป็นกลุ่มชนต่างๆและตั้งตนเป็นหัวหน้ากลุ่มชน ดังปรากฏมีชื่อเรียกหัวหน้ากลุ่ม เช่น นายพลโส่ว (叟帅Sǒushuài) พระเจ้าอี๋ (夷王Yíwánɡ) เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบรรพบุรุษชาวอี๋ที่สามารถตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ และสามารถควบคุมชนกลุ่มอื่นๆ เช่น ชาวผู (濮人Púrén) ชาวคุนหมิง ในฐานะทาสได้ นับเป็นการเริ่มต้นและพัฒนาการสังคมจากเดิมที่เป็นสังคมบุพกาลเข้าสู่ระบบทาสขึ้นในประวัติศาสตร์ชาวอี๋


ศตวรรษที่ 8 ปีที่ 30 อาณาจักรเหมิงเส่อ (蒙舍诏Ménɡshě zhào) รวบรวมหกอาณาจักร (六诏Liùzhào)เป็นผลสำเร็จ บรรพบุรุษชาวอี๋และบรรพบุรุษชาวป๋าย (白族Bái Zú) ร่วมมือกันกับชนกลุ่มใหญ่น้อยต่างๆ ก่อตั้งอาณาจักรที่มีระบบการปกครองแบบชนชั้นศักดินากับทาสขึ้น เรียกว่าอาณาจักรน่านเจ้า (南诏Nánzhào) มีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่เขตปกครองตนเองเมืองต้าหลี่ของมณฑลยูนนานในปัจจุบัน โดยมีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนในปัจจุบันคือ ตะวันออกของมณฑลยูนนาน ตะวันตกของมณฑลกุ้ยโจว ตอนใต้ของมณฑลเสฉวน ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของชาวอี๋นั่นเอง


อาณาจักรน่านเจ้าปกครองบรรพบุรุษชาวอี๋มาเป็นเวลานานด้วยระบบสังคมแบบทาส การปกครองเช่นนี้ ทำให้ชีวิตและสังคมของชาวอี๋ได้รับความยากลำบากมาก จนถึงปี ค.ศ.902 ตรงกับปีที่สองแห่งรัชสมัยของพระเจ้าถังเทียนฟู่ (唐天复Tánɡ Tiānfù) อาณาจักรน่านเจ้าล่มสลาย แต่ระบบทาสในสังคมชาวอี๋ยังคงมีอยู่ ตลอดระยะเวลา 300 ปีแห่งราชวงศ์ซ่ง อาณาเขตเมืองหรง (戎Rónɡ ปัจจุบันคืออำเภออี๋ปิน宜宾Yíbīn) เมืองหลู (泸Lú ปัจจุบันคืออำเภอหลู泸县Lúxiàn) และหลี (黎Lí ปัจจุบันคือเมืองฮั่นหยวน汉原Hànyuán) ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวอี๋ ตกเป็นดินแดนที่ถูกแย่งชิงระหว่างราชสำนักซ่งกับเมืองต้าหลี่ ระบบทาสยังคงดำรงอยู่และเป็นพลังขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมของบริเวณดังกล่าว


ในปี ค.ศ. 1253 ตรงกับปีที่สามแห่งรัชสมัยพระเจ้าเมิ๋งเกอข่าน (蒙哥汗Ménɡɡēhàn) แห่งราชวงศ์มองโกล มองโกลได้ส่งกองกำลังทหารเข้ามาทางเสฉวนบุกโจมตียูนนาน กองทัพมองโกลได้เดินทัพผ่านอาณาเขตของชาวอี๋ เป็นเหตุให้ชาวอี๋ที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วบริเวณรวมตัวกันลุกขึ้นต่อต้านมองโกล ในยุคเริ่มแรกรวบรวมกันภายใต้ชื่อกลุ่มว่า “ชาวหลัวหลัว” (罗罗族Luóluó Zú) ชาวมองโกลเพิ่มกำลังและแย่งชิงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และพัฒนามาเป็นหัวหน้าชุมชนต่างๆ ในบริเวณซินเจียง นับตั้งแต่ปี 1263 ถึง ปี 1287 มีการก่อตั้งเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินขึ้นที่เมืองต่างๆ ได้แก่ เยว่ซี (越西Yuèxī) ซีชาง (西昌Xīchānɡ) ต้าฟาง (大方Dàfānɡ) ผิงซาน (屏山Pínɡshān) เจาทง(昭通Zhāotōnɡ) และเวยหนิง (威宁Wēinínɡ)

ในสมัยหมิง ช่วงปี ค.ศ. 276 ชาวอี๋ที่เมืองต่างๆ ของทั้งสามมณฑลคือ ยูนนาน กุ้ยโจวและเสฉวนที่เป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินรวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มก้อน รักษาระบบการปกครองแบบทาสไว้ สนับสนุนการปกครองซึ่งกันและกัน สบันสนุนการผลิตซึ่งกันและกัน สังคมชาวอี๋สามารถแบ่งเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่
1. ชนชั้นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดิน
2. ชนชั้นกระดูกดำ
3. ชนชั้นกระดูกขาวและชนชั้นทาส

การปกครองระบบทาสในสังคมชาวอี๋เป็นมาจนถึงสมัยหมิง บริเวณสำคัญที่ดำเนินการปกครองแบบทาส เช่น ชุมชนชาวอี๋ที่เมืองสุ่ยซี (水西Shuǐxī) เจี้ยนชาง (建昌Jiànchānɡ) อูเหมิง (乌蒙Wūménɡ) เป็นต้น

สมัยจักรพรรดิคังซีและยงเจิ้ง (康熙、雍正Kānɡxī、Yōnɡzhènɡ) ได้มีการดำเนินนโยบายรวมกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนสู่ราชสำนัก อันเป็นการโจมตีเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างหนัก จากนโยบายดังกล่าว ทำให้ระบบสังคมของชาวอี๋ได้ปรับเปลี่ยนจากระบบทาสมาสู่สังคมศักดินาอย่างรวดเร็ว


ด้านระบบเศรษฐกิจและสังคม ในอดีต ชุมชนชาวอี๋มีอาณาเขตครอบคลุมบริเวณมณฑลยูนนาน กุ้ยโจวและกว่างซี มีระบบเศรษฐกิจแบบเจ้าศักดินาถือครองที่ดิน เจ้าศักดินามีอำนาจปกครองชนชั้นชาวนา เจ้าของที่ดินกดขี่ข่มเหงเก็บค่าเช่าที่นาในราคาสูง แต่การใช้และจ้างแรงงานในชุมชนชาวอี๋ถูกกดขี่ค่าแรงมาก ยุคก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระบบสังคมของชนเผ่าอี๋ยังเป็นแบบสังคมศักดินาเป็นหลัก ในบางพื้นที่ยังคงมีระบบทาส และมีเจ้าทาสอยู่


เศรษฐกิจหลักของชาวอี๋คือการทำการเกษตร พืชเศรษฐกิจที่ปลูกเป็นหลักได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง ข้าวเจ้า ข้าวโอ๊ต เป็นต้น เครื่องมือการเกษตรยังไม่ทันสมัยนัก ยังคงใช้ไถ จอบ เสียมทำนาด้วยแรงงานคนและสัตว์ ในพื้นที่ราบสูงบนหุบเขาห่างไกล มีประชากรไม่มากนัก พืชพันธุ์ทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์ ชาวอี๋ในพื้นที่ดังกล่าวประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ทุ่งหญ้าเป็นหลัก สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ วัว ม้า หมู แกะ เป็นต้น ส่วนชาวอี๋ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาประกอบอาชีพเก็บของป่า ยาสมุนไพร ล่าสัตว์ และทำป่าไม้ ชาวอี๋ที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก ส่วนงานหัตถกรรมทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ภายในครัวเรือนเท่านั้น มีบางพื้นที่ที่มีการกำหนดเวลานำสินค้าออกมาแลกเปลี่ยนกันและกัน


กำลังการผลิตของสังคมชาวอี๋ตกอยู่ในภาวะล้าหลังอยู่เป็นเวลานาน ผลผลิตที่ได้เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวเท่านั้น ส่วนสินค้าอื่นๆ ไม่มีการพัฒนาเท่าใดนัก โดยเฉพาะการค้าขายแบบแลกเปลี่ยนสินค้ากัน เป็นเพียงการนำผลผลิตที่ได้มาแลกข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นเช่น เข็ม ด้าย เกลือเท่านั้น สิ่งที่ชาวอี๋ถือเป็นของมีค่าที่สุดคือวัวและแกะ ชาวอี๋ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องวัดความสามารถ ความแข็งแกร่ง ความอ่อนแอ ศักดิ์ศรีและความมีหน้ามีตาในชุมชน การได้เป็นเจ้าของครอบครองฝูงวัวแกะนับร้อย คือความปรารถนาอันสูงสุดของชาวอี๋


หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน 50 ปีแห่งก่อร่างสร้างตัว ชุมชนชาวอี๋พัฒนาไปมาก ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่น้อยเกิดขึ้นในชุมชนชาวอี๋มากมาย เช่น โรงงานเหล็กกล้า ถลุงเหล็ก ถลุงแร่ เหมืองแร่ โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงเลื่อยไม้ ปุ๋ยเคมี เครื่องจักรกล อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น เพื่อขนส่งสินค้าสู่ภายนอก รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างทางหลวง ทางรถไฟหลายต่อหลายสายสู่ชุมชนชาวอี๋ นำความเจริญมาสู่ชุมชนชาวอี๋อย่างไม่หยุดยั้ง


ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ชนเผ่าอี๋มีอารยธรรมยาวนาน สร้างสรรค์และสืบสานงานด้านวรรณกรรม ศิลปกรรมที่งดงาม ชุมชนชาวอี๋ในท้องที่ต่างๆ มีเอกสารโบราณที่จดบันทึกด้วยลายมือเป็นภาษาอี๋มากมายนับร้อยนับพัน ปัจจุบันมีการแปลเป็นฉบับภาษาจีน ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่เป็นคลังความรู้และหลักฐานด้านปรัชญา ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ศาสนาอีกนับไม่ถ้วน นอกจากนี้ยังมีศิลาจารึก โลหะจารึกภาษาอี๋ และวรรณกรรมมุขปาฐะอันทรงคุณค่ายิ่งนัก โดยเฉพาะการแพทย์แผนโบราณเผ่าอี๋ที่มีการบันทึกตำรายา ตำราการรักษา นับเป็นแบบฉบับการรักษาแผนโบราณของวงการแพทย์แผนจีนเลยทีเดียว นอกจากนี้นักวิชาการด้านวัฒนธรรมจีนในปัจจุบันเชื่อกันว่าชาวอี๋เป็นผู้บุกเบิกการใช้ปฏิทินสุริยคติเป็นกลุ่มแรก


ชาวอี๋เชี่ยวชาญการระบำรำร้อง บทเพลงของชาวอี๋มีท่วงทำนองหลากหลาย เช่น เพลงปีนเขา เพลงเยี่ยมบ้าน เพลงรับแขก เพลงเสพสุรา เพลงขอสาว เพลงร่ำโศก เป็นต้น บางทำนองเพลงมีเนื้อเพลงที่จำเพาะเจาะจง บางทำนองเพลงเป็นทำนองที่ใช้สำหรับร้องด้นเนื้อเพลงสดๆ เพลงภูเขาเป็นอีกทำนองเพลงหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอี๋ ในแต่ละชุมชนก็มีท่วงทำนองเพลงภูเขาแตกต่างกันไป เครื่องดนตรีของชาวอี๋ก็มีหลากหลายชนิด เช่น ปี่น้ำเต้า พิณเป่า พิณวงเดือน ขลุ่ย พิณสามสาย ระฆังพวง กลองเหล็ก กลองยาว ปี่รวง(เสียงคล้ายแคน ภาษาอี๋เรียกว่า ปาอู(巴乌Bāwū),ดูภาพประกอบ) เป็นต้น การเต้นรำของชาวอี๋ก็โดดเด่นเป็นหนึ่ง แบ่งเป็นการระบำแบบเดี่ยวและการระบำแบบหมู่ แต่ในเทศกาลรื่นเริงต่างๆ ชาวอี๋นิยมรวมตัวกันร้องเล่นเต้นรำ เริงระบำแบบหมู่อย่างสนุกสนาน ระบำที่นิยมเช่น ระบำเพลง ระบำดนตรี ระบำวงเดือน เป็นต้น ท่าทางการร่ายรำเร่งเร้า ท่วงทำนองเข้มแข็ง มีพลัง มักใช้เครื่องดนตรีจำพวกขลุ่ย พิณวงเดือน และพิณสามสายบรรเลงประกอบ เพลงที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางชื่อเพลง อี๋จู๋ อู๋ ฉวี่ 《彝族舞曲》Yí zú Wǔ qǔ “เพลงระบำเผ่าอี๋” ก็มีที่มาจากทำนองเพลงพื้นเมืองเผ่าอี๋นี่เอง


ศิลปะ หัตถกรรมของชาวอี๋มีการเขียนสี งานปัก เครื่องประดับเงิน งานแกะสลัก วาดภาพ เป็นต้น งานเขียนสีนิยมวาดลงบนถ้วยชามภาชนะเครื่องใช้ กาน้ำ กระบอกลูกธนู โล่ อานม้า เครื่องดนตรี ใช้สีดำ เหลืองและแดงเป็นหลัก ด้านงานปักถือเป็นงานฝีมือชิ้นเอกของหญิงชาวอี๋ ผ้าปักนิยมใช้เป็นผ้าโพกศีรษะ เสื้อผ้า กางเกง กระโปรง ผ้าคาดเอว กระเป๋า เป็นต้น


การแต่งกายของชาวอี๋แตกต่างกันในแต่ละท้องที่ ชาวอี๋ที่เมืองเหลียงซาน เฉียนซี ชายสวมเสื้อสีดำลำตัวแคบ ผ่าอกเฉียงลงทางขวา สวมกางเกงขาพอง จีบรอบ ยาวถึงตาตุ่ม บางท้องที่ก็สวมกางเกงขาลีบ ยาว ก็มี มวยผมเป็นกระจุกตรงกลางศีรษะ โพกด้วยผ้าสีขาวและติดกิ๊บที่มุมขวา ส่วนการแต่งกายของหญิงชาวอี๋ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชนเผ่า ศีรษะพันด้วยผ้าเป็นทรงกลมสูง พันรอบเอวด้วยผ้าทอมือและปักลวดลายงดงาม สวมกระโปรงจีบรอบยาวกรอมส้น สีสันฉูดฉาดเป็นลายขวางสลับสีรอบลำตัว สวมเครื่องประดับเงินและทองจำพวกตุ้มหู กำไล แหวน สร้อยระย้า เป็นต้น


ด้านอาหารการกิน ชาวอี๋นิยมบริโภคข้าวโพดเป็นอาหารหลัก รองลงมาได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า มันฝรั่ง ข้าวโอ๊ต อาหารเนื้อได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะและเนื้อไก่ ประกอบเป็นอาหารด้วยการหั่นเป็นก้อนใหญ่ ๆ แล้วต้มให้สุก ชาวฮั่นเรียกอาหารของชาวอี๋นี้ว่า “เนื้อลูกตุ้ม” (砣砣肉Tuótuóròu) ชาวอี๋ไม่กินเนื้อสุนัข เนื้อม้า รวมทั้งเนื้อสัตว์จำพวกกบและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ รสชาติที่ชาวอี๋โปรดปรานได้แก่ อาหารรสเปรี้ยวและเผ็ด นิยมใช้เหล้าในการต้อนรับแขกถือเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้มาเยือน เมื่อมีเหตุการณ์ขัดแย้งวิวาท จะใช้เหล้าเป็นสื่อประสานสัมพันธ์ นอกจากนี้ในการคบเพื่อน แต่งงาน งานศพ งานเฉลิมฉลองรื่นเริงต่างๆ ล้วนต้องมีเหล้าเป็นสื่อกลางในการทำพิธีและเชื่อมความสัมพันธ์ต่อกันเสมอ


บ้านเรือนของชาวอี๋ปลูกสร้างคล้ายคลึงกับบ้านเรือนของชาวฮั่น ชาวอี๋ที่เหลียงซานมุงหลังคาบ้านด้วยไม้แผ่น ก่อฝาบ้านด้วยอิฐฉาบด้วยโคลน ส่วนชาวอี๋ที่กว่างซีและบริเวณตะวันออกของยูนนานสร้างบ้านด้วยไม้


ครอบครัวของชาวอี๋สืบสายตระกูลสายพ่อและก่อตั้งเป็นครอบครัวเล็กๆ ลูกคนสุดท้องอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ส่วนพี่ชายพี่สาวเมื่อแต่งงานแล้วจะแยกไปตั้งครอบครัวใหม่ สถานภาพของผู้หญิงในสังคมเผ่าอี๋ต่ำกว่าผู้ชายมาก การแบ่งมรดกของพ่อแม่จะแบ่งให้ลูกชายทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ไม่แบ่งให้ลูกสาว ชาวอี๋ยึดถือการตั้งชื่อของลูกชายแบบลูกโซ่ กล่าวคือ ใช้คำในชื่อของพ่อมาเป็นส่วนหนึ่งในการตั้งชื่อลูก และเมื่อมีลูกก็จะนำชื่อของตนไปเป็นส่วนหนึ่งในการตั้งชื่อลูกคล้องกันไปทุกๆรุ่น ธรรมเนียมเช่นนี้ ยึดถือปฏิบัติมาจนถึงยุคก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ค่อยๆลดความเคร่งครัดลง


สำหรับประเพณีเรื่องการแต่งงาน ชาวอี๋ยึดถือการแต่งงานแบบสามีภรรยาเดียว การแต่งสะใภ้เข้าบ้านฝ่ายชายต้องจ่ายค่าสินสอดให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงจำนวนที่สูงมาก การแต่งงานแบบแลกคู่สะใภ้กันระหว่างสองบ้านเป็นที่นิยมมาก หากสามีตายฝ่ายหญิงก็ไม่ถือว่าเป็นสะใภ้บ้านนั้นแล้ว ต้องย้ายออกไป


พิธีศพของชาวอี๋ยึดธรรมเนียมการเผาศพ โดยเฉพาะชาวอี๋ที่เหลียงซาน และยูนนาน แต่ชาวอี๋ที่บริเวณอื่นๆ หลังจากสมัยหมิงและชิงประกอบพิธีศพโดยการฝัง


ด้านศาสนาและความเชื่อ ความเชื่อของชาวอี๋สะท้อนถึงสีสันของความเชื่อแบบสังคมบุพกาลอย่างเด่นชัด ซึ่งก็คือการนับถือบูชาสรรพเทพ ชาวอี๋เชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกแม้ไม่มีชีวิต แต่มีวิญญาณสิงสถิตย์อยู่ ดังนั้นชาวอี๋จึงนับถือเทพที่มีอยู่ตามธรรมชาติทุกหนทุกแห่ง และยังบูชาวิญญาณบรรพบุรุษอีกด้วย เทพธรรมชาติที่ชาวอี๋นับถือหลักๆได้แก่ วิญญาณและผีสาง สิ่งของเครื่องใช้ของญาติผู้ใหญ่หรือญาติในบ้านที่เสียชีวิตไปแล้ว ล้วนมีวิญาณของเจ้าของสิงสถิตย์อยู่ เรียกวิญญาณเหล่านี้ว่า “จี๋เอ๋อร์” (吉尔jí’ěr) โดยเชื่อว่าสิ่งของเหล่านี้มีความขลังและสามารถปกปักรักษา อำนวยพรให้ครอบครัวคนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข แต่หลังจากมีการปฏิสัมพันธ์กับชนเผ่าภายนอก ศาสนาพุทธได้เริ่มเผยแผ่เข้าสู่ชุมชนชาวอี๋ ในช่วงตอนต้นสมัยราชวงศ์ชิงลัทธิเต๋าก็ได้เผยแผ่เข้าสู่ชุมชนชาวอี๋ด้วย หลังจากการรุกรานของประเทศจักรวรรดินิยม ศาสนาเยซูก็ได้เข้ามาเผยแผ่ในชุมชนชาวอี๋ด้วยเช่นกัน


เทศกาลสำคัญของชาวอี๋หลักๆ คือ เทศกาลคบเพลิงไฟ เทศกาลขึ้นปีใหม่อี๋ เทศกาลไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลระบำรำร้อง ในจำนวนนี้เทศกาลคบเพลิงไฟถือเป็นเทศกาลที่ชาวอี๋ให้ความสำคัญมากและจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ มำกำหนดจัดงานเดือนหกวันที่ 15 หรือ 24 ตามปฏิทินสุริยคติ ในงานเทศกาลคบเพลิงไฟนี้ชนชาวอี๋ถ้วนหน้าจะสวมชุดประจำเผ่าชุดใหม่เต็มยศมาร่วมพิธีเฉลิมฉลองและบูชาเทพต่างๆ จากนั้นร่วมกันร้องเพลง เต้นรำอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมรื่นเริงอื่นๆอีก เช่น แข่งม้า มวยปล้ำ เป็นต้น ตกกลางคืนชาวอี๋ทุกครัวเรือนจุดคบเพลิงสว่างไสวไปทั่วชุมชน ถึงเวลานัดหมายแต่ละคนจะถือคบเพลิงตรงไปที่ลานกลางแจ้งร่วมกันก่อกองไฟ จากนั้นร้องระบำรำเต้นกันอย่างสนุกสนาน


มีเพลงที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นเพลงที่มีที่มาจากเพลงเผ่าอี๋ชื่อว่า “อี๋จู๋ อู๋ฉวี่” (彝族舞曲Yí Zúwúqǔ,หมายถึง “เพลงระบำเผ่าอี๋”) ประพันธ์โดยหัวหน้ากองดุริยางค์กรมการรักษาดินแดน ชื่อ หวางฮุ่ยหราน (王惠然wánɡhuìrán) เมื่อปี ค.ศ. 1956 โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้เค้าโครงทำนองจากเพลงพื้นเมืองเดิมของชนเผ่าอี๋ ประพันธ์ขึ้นเป็นเพลงเอกสำหรับบรรเลงเดี่ยวของเครื่องดีดจีนชื่อ ผีพา จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1994 ศิลปินชาวไต้หวันชื่อ ถายเจิ้งเซียว (邰正宵Tái Zhènɡxiāo) ได้นำทำนองเพลงนี้ไปแต่งเป็นเพลงยอดนิยมชื่อ จิ๋วป่ายจิ่วสือจิ่วตั่ว เหมยกุ้ย (999朵玫瑰,999 duǒ méiɡui) “กุหลาบเก้าร้อยเก้าสิบเก้าดอก” ต่อมาศิลปินชาวไทยได้นำทำนองเพลงนี้มาแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาไทย ให้ชื่อเพลงว่า “กุหลาบแดง”

51. 瑶族ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหยา



































http://www.htd2000.com/uploads/allimg/c101115/12YL115223540-54508.jpg

ชนเผ่าเหยา(หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า เย้า) มีชื่อเรียกตัวเองหลายชื่อ อ่านตามเสียงอักษรจีนที่บันทึกไว้มี เหมี่ยน (勉Miǎn) จินเหมิน(金门Jīnmén) ปู้หนู่ (布努Bùnǔ) ปิ่งตัวโยว(炳多优Bǐnɡduōyōu) เฮยโหยวเหมิง(黑尤蒙Hēiyóuménɡ) ลาเจีย(拉珈Lājiā) นอกจากนี้ด้วยเหตุที่ชาวเหยาในแต่ละท้องที่มีวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และลักษณะที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน จึงมีชื่อเรียกตนเองแตกต่างกันไปด้วย เช่น ซานจื่อเหยา(山子瑶Shānzǐ Yáo) หมายถึงชาวเหยาภูเขา ป๋ายคู่เหยา (白裤瑶Báikù Yáo) หมายถึงชาวเหยากางเกงขาว หงเหยา (红瑶Hónɡ Yáo) หมายถึงชาวเหยาแดง หลานเตี้ยนเหยา(蓝靛瑶Lándiàn Yáo) หมายถึงชาวเหยาน้ำเงิน ผิงตี้เหยา(平地瑶Pínɡdì Yáo) หมายถึงชาวเหยาที่ราบ เอ้าเหยา (坳瑶Ào Yáo) หมายถึงชาวเหยาที่ราบเชิงเขา เป็นต้น หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน กำหนดเรียกชื่อชนเผ่านี้รวมกันว่า “เหยา” ชนเผ่าเหยาอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงในมณฑลกว่างซี และกระจายอยู่ตามมณฑลต่างๆเช่น

ยูนนาน กว่างซี กุ้ยโจว ลักษณะเด่นของการกระจายถิ่นฐานของชาวเหยาคืออาศัยอยู่กระจัดกระจายมาก และในแต่ละพื้นที่ก็มีจำนวนประชากรไม่มาก จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่าเหยา มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,637,421 คน พูดภาษาเหยา แต่การแบ่งสายตระกูลภาษาค่อนข้างซับซ้อน เพราะภาษาในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันมาก ถึงขั้นที่ภาษาเหยาในต่างพื้นที่กันไม่สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ บางกลุ่มพูดภาษาจีนและภาษาจ้วงไม่มีภาษาเขียน ส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีน ปัจจุบันนักวิชาการจีนส่วนใหญ่มีแนวโน้มยอมรับการจัดกลุ่มภาษาเหยาว่า จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาภาษาเหมียว-เหยา (แม้ว-เย้า)
เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชาวเหยา มีความเชื่อหลากหลายทฤษฎี บ้างเชื่อว่ามีกำเนิดมาจากชาว “ซานเยว่” (山越Shānyuè คำนี้มีความหมายว่า “ชาวเขา”) บ้างเชื่อว่ามาจากชาว “อู่ซีหมาน” (五溪蛮Wǔxī Mán) บ้างเชื่อว่าชาวเหยาเกิดจากชนหลายกลุ่มรวมตัวกัน แต่ทฤษฎีที่เป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับก็คือ ชาวเหยาในปัจจุบันมีความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ใกล้ชิดกับชนเผ่าโบราณชื่อ

“จิงหมาน” ( 荆蛮Jīnɡ Mán) และ “ฉางซาอู่หลิงหมาน” (长沙武陵蛮Chánɡshā Wǔlínɡ Mán)


หลังจากที่จิ๋นซีฮ่องเต้รวมชนหลากหลายชาติพันธุ์เข้าเป็นประเทศ ได้ส่งขุนนางชาวฮั่นจากราชสำนักกลางเข้าสู่พื้นที่ที่มีชนกลุ่มน้อยต่างๆอาศัยอยู่ ซึ่งได้นำความเจริญ ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเข้าไปเผยแพร่และถ่ายทอดให้กับชนกลุ่มน้อย ในช่วงนี้ชาวอู่หลิงหมานที่เมืองฉางซาก็ได้รับความเจริญและได้รับการพัฒนานี้ด้วยเช่นกัน จนถึงสมัยซีฮั่นชาวอู่หลิงหมานต้องส่งภาษีเข้าสู่ราชสำนัก ถึงสมัยโฮ่วฮั่น (后汉Hòu Hàn) ชาวหมานยังคงต้องส่งภาษีให้ราชสำนักอยู่ ในสมัยนั้นเรียกภาษีนี้ว่า “ภาษีเหยา” ถึงรัชสมัยพระเจ้าหย่งเหอ หยวน (ค.ศ.136) การเก็บภาษีจากชาวอู่หลิงหมานหนักหนาสาหัสมาก สร้างความไม่พอใจและความขัดแย้งเป็นอย่างมาก จนเกิดการลุกขึ้นต่อต้านอยู่หลายต่อหลายครั้ง


ในสมัยหนานเป่ย (南北朝Nánběicháo) บรรพบุรุษของชาวเหยาได้ขยายอาณาเขตตั้งถิ่นฐานกว้างใหญ่ออกไปกว่าเดิม ทิศตะวันออกจรดโซ่วชุน (寿春Shòuchūn ปัจจุบันคือเขตมณฑลอานฮุย安徽Ānhuī) ทิศตะวันตกจรดซ่างลั่ว (上洛Shànɡluò ปัจจุบันคือเขตมณฑลส่านซี 陕西Shǎnxī) ทางตอนเหนือจรดหรูอิ่ง (汝颍Rǔyǐnɡ ปัจจุบันคือเขตตะวันออกของมณฑลเหอหนาน(河南东部Hénán dōnɡbù) และตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลอานฮุย安徽西北部Ānhuī xīběibù) ในยุคนี้ชาวฮั่นและเหยาติดต่อสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมกันอย่างใกล้ชิด ในสมัยถังชาวเหยาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณมณฑลหูหนาน (湖南Húnán) และมณฑลกว่างตง (广东 Guǎnɡdōnɡ) เป็นหลัก ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับชาวเหยาชื่อ “โม่เหยาหมาน” (莫徭蛮Mòyáomán) ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณมณฑลกว่างซี ชาวโม่เหยาดำรงชีพด้วยการทำการเกษตร สมัยซ่งราชสำนักได้ส่งขุนนางเข้าปกครอง ทำให้ชาวเหยาเริ่มเข้าสู่ระบบสังคมศักดินาในเวลาต่อมา


ในสมัยหยวน หมิง และชิง ชาวเหยาตั้งถิ่นฐานแผ่ขยายออกไปกว่าเดิมมาก ครอบคลุมพื้นที่ต่างฟของมณฑลกว่างตง กว่างซี หูหนาน ยูนนาน กุ้ยโจว ด้วยเหตุที่ตั้งชุมชนกระจัดกระจายกันมากนี้เอง เป็นเหตุให้ระบบเศรษฐกิจของชาวเหยาจึงขึ้นอยู่กับการพัฒนาของถิ่นที่ตั้งนั้นๆ บางแห่งพัฒนาไปอย่างรวดเร็วใกล้เคียงกับชาวฮั่น แต่บางแห่งก็ยังเป็นไปอย่างช้าๆ ยังคงทำการเกษตรเลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์ กระทั่งบางแห่งยังคงดำรงชีวิตแบบสังคมบุพกาลอยู่ก็มี ผลจากการกดขี่ข่มเหงของสังคมศักดินา ชาวเหยาถูกไล่ล่าและถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จนต้องถอยร่นหนีกระจัดกระจายอพยพไปอยู่บริเวณประเทศเวียดนาม ลาว และไทย กระทั่งศตวรรษที่ 20 มีชาวเหยาบางส่วนได้รับความช่วยเหลือและได้อพยพไปเป็นพลเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และแคนนาดา


ด้านเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของชาวเหยาในยุคก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นไปอย่างไม่สม่ำเสมอและราบรื่นนัก ชาวเหยาในขณะนั้นดำรงชีพด้วยการทำการเกษตรเพาะปลูกเป็นหลัก และทำป่าไม้เก็บของป่าเป็นอาชีพเสริม แต่ก็มีชาวเหยาบางกลุ่มที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาประกอบอาชีพป่าไม้ เก็บของป่าเป็นอาชีพหลัก แล้วทำการเกษตรเป็นอาชีพรองก็มี แต่ชาวเหยาจะประกอบอาชีพแบบพอกินพอใช้ในครอบครัวเท่านั้นไม่ได้ทำเพื่อจำหน่าย ถึงแม้ว่างานหัตถกรรม อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และการค้าได้มีการพัฒนาขึ้นมาบ้าง แต่ก็ทำเป็นเพียงอาชีพเสริมของครอบครัวเท่านั้น ระบบสังคมของชาวเหยาเริ่มพัฒนาเข้าสู่สังคมศักดินา เริ่มมีการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว ในบริเวณที่มีชาวเหยา ชาวจ้วง ชาวฮั่นและชาวไตอาศัยอยู่ปะปนกัน ที่ดินทำกินล้วนตกอยู่ในกำมือของชนเผ่าอื่น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และชนเผ่ามีความสลับซับซ้อนทวีความรุนแรงขึ้น อย่างเช่น ชาวเหยาที่ยูนนานตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวไตเป็นเวลานาน ชาวเหยาจึงมีชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพาอาศัยและรับจ้างเป็นเบี้ยล่างให้กับชนชั้นปกครองมาโดยตลอด
ชาวเหยาในบางพื้นที่โดยเพาะในพื้นที่ห่างไกล การทำการเกษตรยังใช้เครื่องไม้เครื่องมือแบบโบราณอยู่ ผลผลิตที่ได้ต่ำมาก ที่ดินทำกินก็เป็นกรรมสิทธิ์ของชนกลุ่มอื่นที่เข้มแข็งกว่าเช่น ชาวจ้วงและชาวฮั่น ชาวเหยาต้องรับจ้างหรือเช่าที่ดินจากชนสองกลุ่มนี้ ถูกกดขี่ข่มเหงและขูดรีดอย่างหนัก มีที่ดินส่วนเล็กน้อยที่เป็นที่ดินสาธารณะที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในชุมชน เช่น ชุมชนชาวเหยาที่หมู่บ้านหนานตาน(南丹Nándān) มณฑลกว่างซี (广西Guǎnɡxī) เรียกชื่อที่ดินนี้ว่า “โหยวกัวตี้” (油锅地Yóuɡuōdì) หรือ “โหยวกัวเถียน” (油锅田Yóuɡuōtián) มีความหมายตามภาษาเหยาว่า “หม้อข้าวของสายตระกูลพ่อ”
ในทุกๆ สายตระกูลของชาวเหยาประกอบไปด้วยครอบครัวย่อยๆ นับสิบครอบครัว สมาชิกของ “โหยวกัวเถียน” มีหน้าที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีหน้าที่รักษากฎข้อบังคับและขนบธรรมเนียมของกลุ่ม ในชุมชนชาวเหยามีธรรมเนียมการ “ยกย่องผู้อาวุโส” และธรรมเนียม “หลักศิลา” ซึ่งก็หมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดของชนเผ่า มีหน้าที่รับผิดชอบการรักษากฎระเบียบ แบบแผนธรรมเนียมประเพณี จัดการเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่และการทำมาหากิน การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนตัดสินคดีความและข้อพิพาทต่างๆ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของชุมชน ชาวเหยาจะร่วมกันคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็น “หลักศิลา” โดยจะคัดเลือกผู้อาวุโสที่เป็นที่ยอมรับและเคารพนับถือของชุมชนส่วนใหญ่ มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม มีความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย


ก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวเหยาที่ชุมชนจินซิ่ว (金秀Jīnxiù) มณฑลกว่างซี (广西Guǎnɡxī) จารึกกฎระเบียบและขนบธรรมเนียมข้อปฏิบัติของชนเผ่าโดยการแกะสลักลงบนแผ่นศิลาหรือแผ่นไม้ ใช้เป็นกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน หากมีผู้กระทำความผิด ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น “หลักศิลา” สามารถสืบสาวเอาความและลงโทษตามบทบังคับแห่งหลักศิลาได้ บทลงโทษมีตั้งแต่ขั้นต่ำจนถึงประหารชีวิต ต่อมาชนชั้นทางสังคมของชาวเหยาเริ่มแตกต่างและแบ่งแยกกันมากขึ้น ประกอบกับการปกครองของกว๋อหมินตั่ง มอบให้ “หลักศิลา” มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองชุมชน ในขณะที่หลักศิลาซึ่งนับได้ว่าเป็นชนชั้นสูงของชุมชนมิได้เป็นผู้มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมดังเดิม แต่กลับใช้อำนาจกดขี่รังแก ขูดรีดประชาชน เกิดการขัดแย้งและต่อต้านหลักศิลาขึ้น หลักศิลาไม่ได้เป็นผู้ที่สมาชิกชุมชนยอมรับนับถืออีกต่อไป ขนบปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายชนเผ่าที่มีมาแต่ดั้งเดิมจึงลดความศักดิ์สิทธิ์ลงไปในที่สุด


หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลมีนโยบายเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของสังคมชนกลุ่มน้อยต่างๆในประเทศ และด้วยเหตุที่ชาวเหยาตั้งชุมชนกระจัดกระจาย การปกครองแบบดั้งเดิมของชาวเหยาในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันมาก รัฐบาลพยายามทุกวิถีทางที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบสังคมและการปกครองของชนเผ่าเหยาในแต่ละท้องที่ ล้มล้างระบบสังคมศักดินา ช่วยเหลือในการประกอบอาชีพ เพิ่มพูนปริมาณการผลิต นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ปีที่ 60 เป็นต้นมา รัฐบาลก่อตั้งชุมชนที่มีชาวเหยาอาศัยอยู่ ทั้งที่อยู่รวมเป็นกลุ่มชนชาวเหยาเป็นหลัก และที่อยู่ปะปนกับชนกลุ่มอื่นก่อตั้งให้เป็นชุมชนปกครองตนเองขึ้นรวมทั้งสิ้น 12 แห่ง ได้แก่


มณฑลกว่างซี มี
เขตปกครองตนเองชาวเหยาอำเภอตูอาน
(都安瑶族自治县Dū’ān Yáo Zú zìzhìxiàn)
เขตปกครองตนเองชาวเหยาอำเภอจินซิ่ว
(金秀瑶族自治县Jīnxiù Yáo Zú zìzhìxiàn)
เขตปกครองตนเองชาวเหยาอำเภอปาหม่า
(巴马瑶族自治县Bāmǎ Yáo Zú zìzhìxiàn)
เขตปกครองตนเองชาวเหยาอำเภอฝูโจว
(富川瑶族自治县Fùchuān Yáo Zú zìzhìxiàn)

มณฑลกว่างตง มี
เขตปกครองตนเองชาวเหยาอำเภอเหลียนหนาน
(连南瑶族自治县Liánnán Yáo Zú zìzhìxiàn)
เขตปกครองตนเองชาวเหยาอำเภอหรู่หยวน
(乳源瑶族自治县Rǔyuán Yáo Zú zìzhìxiàn)

มณฑลหูหนาน มี
เขตปกครองตนเองชาวเหยาอำเภอเจียงหัว
(江华瑶族自治县Jiānɡhuá Yáo Zú zìzhìxiàn)

มณฑลยูนนาน มี
เขตปกครองตนเองชาวเหยาอำเภอเหอโข่ว
(河口瑶族自治县 Hékǒu Yáo Zú zìzhìxiàn)

มณฑลกว่างซี มี
เขตปกครองตนเองหลายเผ่าอำเภอหลงเซิ่ง อำเภอฝางเฉิง อำเภอหลงหลิน
(龙胜、防城、隆林各族自治县Lónɡshènɡ、Fánɡchénɡ、Lónɡlín ɡè
Zú zìzhìxiàn)

มณฑลกว่างตง มี
เขตปกครองตนเองชาวเหยาชาวจ้วงอำเภอเหลียนซาน
(连山壮族瑶族自治县Liánshān Zhuànɡ Zú Yáo Zú zìzhìxiàn)

นอกจากนี้หมู่บ้านชาวเหยาที่กระจัดกระจายในพื้นที่ต่างๆ ก็ได้ยกระดับให้เป็นหมู่บ้านชาวเหยาขึ้นด้วยเช่นกัน


ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ด้วยความช่วยเหลือและสนับสนุนของรัฐบาล ชุมชนชาวเหยาเริ่มพัฒนาที่ดินทำกิน สร้างระบบชลประทานเขื่อนและแหล่งน้ำ พัฒนาระบบไฟฟ้าพลังน้ำ ปลูกป่าพืชเศรษฐกิจ ตลอดจนระบบการจราจร ทำให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมของชาวเหยาพัฒนาดีขึ้นมาก ดังจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์อาหารและยาสูบที่มาจากเขตปกครองตนเองชาวเหยาอำเภอฝูโจวนับเป็นสินค้าอันดับต้นๆ ที่สำคัญของประเทศจีนเลยทีเดียว ในปี 1987 ปริมาณผลิตผลการเกษตรที่มาจากชุมชนชาวเหยาสูงถึงสองร้อยล้านหยวน ชาวเหยาที่อำเภอเหลียนหนาน หรู่หยวนของมณฑลกว่างตง พัฒนาเศรษฐกิจจนถึงขั้นส่งออกสินค้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่วนชาวเหยาที่อำเภอจินซิ่ว อำเภอเจียงหัว มีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ สินค้าด้านวัสดุก่อสร้างที่ทำจากไม้ ยางพารา เมล็ดพันธุ์ เห็ดหอม เห็ดหูหนู ส่งออกจากชุมชนชาวเหยาในทั้งสองอำเภอเพื่องานก่อสร้างและอาหารภายในประเทศทั่วทุกหนทุกแห่ง สภาพชีวิตของชาวเหยาจากเดิมที่เคยลำบากยากจน ขัดสนรายได้ ดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่าตามธรรมชาติเป็นอาหารประทังชีวิต ก่อไฟฟอนผิงกันหนาวกลับดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในด้านการศึกษามีการก่อตั้งโรงเรียนประถม มัธยมหลายแห่ง ทั้งยังมีการจัดให้มีห้องเรียนสำหรับชาวเหยาโดยเฉพาะ วันคืนที่ “มีเพียงเสียงหมูหมากาไก่ร้องขัน ไร้สำเนียงทำนองอักษรจำนรรจ์” ถูกความมุ่งมั่นและภูมิปัญญาของชาวเหยาขจัดปัดเป่า ขับไสให้อันตรธานเลือนลางจางหายไปจากชุมชนชาวเหยาสิ้นหนทางหวนกลับ ปัจจุบันการคมนาคม ไปรษณีย์ การสื่อสาร สถานีวิทยุโทรทัศน์พัฒนาขึ้น ชาวเหยามุ่งมั่นพัฒนาตนเองเพื่อชุมชนของตน นับเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศจีนที่ประมาณค่ามิได้


ด้านศิลปวัฒนธรรม รอยทางแห่งอารยธรรมที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ชาวเหยาได้สั่งสมงานด้านศิลปะวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมชนเผ่าที่ทั้งงดงามทั้งทรงคุณค่ามากมาย ชาวเหยามีตำนานเกี่ยวกับเทพผู้ให้กำเนิดจักรวาลมาแต่ครั้งบรรพกาล ตำนานตั้งแต่ก่อนยุคราชวงศ์ฉิน (秦Qín) ชื่อ《山海经》Shān hǎi jīnɡ “คัมภีร์ซานห่ายจิง” เป็นตำนานโบราณของชนเผ่าเหยาที่กล่าวถึงเทพผู้สร้างโลก สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและสังคมของชาวเหยาที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนสมัยฉิน นอกจากนี้ชาวเหยายังมีตำนานเกี่ยวกับการกำเนิดโลกและเทพผู้ให้กำเนิดมนุษย์อีกมากมาย ที่สำคัญได้แก่ เรื่อง《盘古开天地》Pánɡǔ kāi tiāndì “ผานกู่ผู้เบิกพิภพ” เรื่อง《伏羲子妹造人民》Fúxī zǐmèi zào rénmín “ฝูซีผู้ปั้นมนุษย์” เป็นต้น
“เพลง” มีความสำคัญสำหรับชาวเหยามาก มีการสั่งสม สืบสานและสืบทอดต่อกันมายาวนาน มีรูปแบบที่ล้ำลึกซับซ้อน มีเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น บทเพลงพรรณนาการกำเนิดของชาวเหยาและสรรพสิ่งบนโลก บทเพลงบันทึกตำนานเผ่าเหยา บทเพลงเกี่ยวกับการดำรงชีวิต เพลงล่าสัตว์ เพลงเพาะปลูก ตลอดจนเพลงที่เกี่ยวกับกิจกรรมและขนบธรรมเนียมต่างๆ รวมไปถึงเพลงรัก เพลงบูชา และเพลงออกศึก เป็นต้น บ้างก็บรรยายความยากลำบาก การทำมาหากิน การต่อต้านข้าศึกรุกราน บทเพลงสำคัญที่ได้รับยกย่องให้เป็นอัญมณีแห่งวรรณศิลป์ของชนเผ่าได้แก่ 《盘王歌》Pánwánɡ ɡē “เพลงพระเจ้าผานหวาง” บทเพลงนี้มีความยาวถึง 3,000 บรรทัด นอกจากนี้สมบัติด้านวรรณศิลป์ของชนชาวเหยายังมีอีกมาก เช่น นิทาน สุภาษิตคำพังเพย เรื่องเล่าขบขัน กลอนกระทู้ ปริศนาคำทาย เป็นต้น วรรณกรรมเหล่านี้นอกจากจะเป็นบทบันทึกเรื่องราวชนเผ่าได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นเครื่องสะท้อนภูมิปัญญา ความคิด ทัศนคติและจริยธรรมของชนชาวเหยาที่มีต่อโลกและสรรพสิ่ง เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ทั้งยังเป็นศิลปะด้านวรรณคดีที่เป็นแบบอย่างและทรงคุณค่าต่อวงการอักษรศาสตร์จีนอเนกอนันต์


ดนตรีนาฏศิลป์ของชาวเหยามีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นหนึ่ง การร่ายรำระบำฟ้อนมีที่มาจากการทำงานเพาะปลูก ล่าสัตว์ และจากศาสนา ระบำที่มีชื่อเสียงเช่น ระบำกลองยาว ระบำกลองเหล็ก ระบำบูชาพระเจ้าผาน นอกจากนี้ยังมีระบำพื้นบ้านที่มีความหลากหลายไปตามแต่ละชุมชน เช่น ระบำสิงโต ระบำมังกรยอดหญ้า ระบำดอกไม้ ระบำจุดธูป ระบำไหว้ครู ระบำบรรพบุรุษ เป็นต้น เพลงของชาวเหยาก็มีท่วงทำนอง ลีลา และเนื้อหาที่ล้ำลึก หลากหลาย เช่น เพลงเศร้าโศก เพลงทุกข์ยาก มีท่วงทำนองเศร้าสร้อย กดดัน บาดลึกจิตใจผู้ได้ยินได้ฟัง ส่วนเพลงรักใคร่มีท่วงทำนองสนุกสนาน เร่าร้อน สดใส ชื่นใจ ชวนให้หลงใหลยิ่งนัก ปัจจุบันทั้งเพลงเหยาและระบำเหยาได้รับความนิยมถึงขีดสุด ดนตรีนาฏศิลป์จีนปัจจุบันก็ได้ใช้ระบำและเพลงของชาวเหยาเป็นแบบอย่างในการแสดงไม่น้อย ในขณะเดียวกันเพลงและระบำชาวเหยาไม่ได้เป็นศิลปะการแสดงประจำเผ่าที่ละเล่นกันในหมู่บ้านห่างไกลอีกต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ขึ้นสู่เวทีใหญ่ระดับชาติและนานาชาติ ได้รับความนิยมชมชอบของมวลชนทั่วไป ตัวอย่างเพลงมีที่มาจากดนตรีของชนเผ่าเหยาก็คือ เพลงชื่อ 《瑶族舞曲》Yáo Zú wúqǔ “เพลงระบำเผ่าเหยา” ถือเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมชมชอบและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของวงการดนตรีจีนเลยทีเดียว
งานหัตถกรรมของชาวเหยา เช่น ผ้าพิมพ์ ผ้าย้อม ผ้าปัก ผ้าทอมือ งานจักสานไม้ไผ่ งานแกะสลัก วาดภาพ งานปั้นก็มีรูปแบบหลากหลายและงดงามไม่แพ้ใคร


ชาวเหยาเรียนรู้ภาษาฮั่นเพื่อจดบันทึกเรื่องราวและสร้างสรรค์งานด้านวรรณกรรมของชนเผ่ามาตั้งแต่สมัยถังและซ่งแล้ว เอกสารโบราณ วรรรณคดี ตำนาน ศาสนา คำสอน กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นล้วนได้รับการบันทึกเป็นภาษาฮั่น นับเป็นหลักฐานการศึกษาอารยธรรมของแผ่นดินจีนที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่ง


ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เครื่องแต่งกายของชาวเหยาทั้งชายและหญิงนิยมแต่งกายด้วยผ้าสีคราม และเขียว ชายนิยมสวมเสื้อผ่าอกแขนสั้น ไม่มีปก สวมกางเกงขายาว หรือขาสามส่วน ชายชาวเหยาที่อำเภอหนานตาน(南丹Nándān) มณฑลกว่างซี (广西Guǎnɡxī) นิยมสวมกางเกงสีขาว ปักลวดลายที่ชายกางเกง ส่วนชายชาวเหยาที่อำเภอเหลียนหนาน มณฑลกว่างตงนิยมไว้ผมมวย แล้วปักด้วยขนไก่ฟ้า หรือพันศีรษะด้วยผ้าสีแดง หญิงชาวเหยานิยมสวมเสื้อผ่าอก ไม่มีปก บ้างสวมกางเกงขายาว บ้างสวมกระโปรงสั้น หรือกระโปรงจีบรอบ ตามกระดุม ชายแขนเสื้อ ชายกระโปรง คอเสื้อนิยมปักลวดลายดอกไม้ด้วยสีสด เครื่องประดับศีรษะของชาวเหยามีความหลากหลายมาก แตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่โดยมากนิยมประดับด้วยเครื่องประดับเงิน เช่น ปิ่นปักผม แผ่นเงินรูปทรงต่างๆ หรือไม่ก็สร้อยลูกปัดเงิน และมีสร้อยไข่มุกพันรอบศีรษะ เป็นต้น


อาหารหลักของชาวเหยาได้แก่ ข้าวโพด ข้าวเจ้าและมัน อาหารประเภทพืชผักมีถั่วเหลือง ฟักทอง พริก อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ได้แก่ เป็ดไก่และหมูที่เลี้ยงเอง อาหารพิเศษที่ชาวเหยาในกวางตุ้งใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนคือ “นกจานเด็ด” ส่วนอาหารจานพิเศษของชาวเหยาที่อำเภอกุ้ยเป่ย (桂北Guìběi) คือ “ซุบชาทอด” ชาวเหยาจะใช้น้ำมันร้อนทอดใบชาให้กรอบ แล้วเอาไปต้มเป็นซุบใส่ขิงสดพริกสด เกลือปรุงรส เลิศรสยิ่งนักเมื่อกินกับข้าวทอด ข้าวโพดคั่ว โชยกรุ่นกลิ่นชาทอด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวเหยาอย่างแท้จริง


บ้านเรือนชาวเหยาบ้างสร้างเป็นกระท่อมไม้ไผ่ บ้างสร้างเป็นกระท่อมไม้ หลังคามุงหญ้า บางท้องที่สร้างบ้านด้วยปูน หลังคากระเบื้อง ชาวเหยาสร้างบ้านแบ่งเป็นสามห้อง ตรงกลางเป็นห้องโถง ส่วนห้องริมทั้งสองห้อง ด้านหน้าก่อเป็นเตาไฟ ด้านในเป็นห้องนอน ด้านข้างด้านหนึ่งสร้างเป็นเพิงสำหรับเป็นที่อาบน้ำและห้องน้ำ อีกด้านหนึ่งสร้างเป็นเพิงสำหรับคอกสัตว์เลี้ยง


ชาวเหยาจะไม่แต่งงานกับชนเผ่าอื่น ประเพณีการแต่งงานของชาวเหยาคือการแต่งลูกเขยเข้าบ้าน หนุ่มสาวมีอิสระในการเลือกคู่ครอง โดยในเทศกาลสำคัญหนุ่มๆจากต่างหมู่บ้านจะเดินทางมาเยือน รวมตัวกันในลานรื่นเริง ร้องเพลงโต้ตอบและเลือกคู่ หากถูกตาต้องใจกันก็มอบของขวัญให้กัน แล้วจึงขอความเห็นชอบจากพ่อแม่ เชิญแม่สื่อให้เป็นผู้สู่ขอทาบทามและแต่งงานกัน


ประเพณีงานศพของชาวเหยามีความแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละพื้นที่และตามแต่ละสาย ชาวเหยาเหมี่ยน (勉支Miǎnzhī) ประกอบพิธีศพโดยการฝัง ชาวเหยาปู้นู่ (布努支Bùnǔzhī) เดิมทิ้งศพไว้ตามหน้าผาให้สลายไปเอง ปัจจุบันก็ใช้วิธีฝัง ชาวเหยาลาเจีย (拉珈支Lājiāzhī) ศพของคนอายุหนุ่มสาวขึ้นไปใช้วิธีเผา แต่ศพเด็กทารกใช้วิธีแขวนไว้ให้แห้ง ชาวเหยาที่อำเภอเหลียนหนานมัดศพไว้กับเก้าอี้ แล้วหามเป็นเกี้ยวไปประกอบพิธีฝัง โดยบรรจุโลงก่อนแล้วฝัง


เทศกาลของชาวเหยามีมากมาย แบ่งเป็นเทศกาลใหญ่และเทศกาลเล็ก เทศกาลใหญ่ได้แก่ เทศกาลบูชาพระเจ้าผานหวาง (盘王节Pánwánɡjié) เทศกาลตรุษจีน เทศกาลต๋านู่(达努节Dánǔjié) เทศกาลจงหยวน(中元节Zhōnɡyuánjié) เทศกาลเชงเม้ง(清明节 Qīnɡmínɡjié) เป็นต้น เทศกาลเล็กมีแทบทุกเดือน เทศกาลต๋านู่ที่อำเภอตูอาน มณฑลกว่างซีจัดอย่างยิ่งใหญ่ เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงการต่อสู้เรื่องที่ดินทำกินของชาวเหยาในอดีต ส่วนเทศกาลบูชาพระเจ้าผานจัดสามปีหรือห้าปีครั้ง ช่วงเวลาจัดงานคือวันที่ 16 เดือนสิบ เทศกาลนี้จะเชิญหมอผีประจำเผ่าทำพิธีบูชาบวงสรวง มีการระบำกลองยาว ระบำกลองเหล็กเพื่อบูชา เพื่อเป็นการขอพรจากพระเจ้าผานให้ปกปักรักษาชาวเหยาให้อยู่เย็นเป็นสุข


การนับถือศาสนาของชาวเหยาค่อนข้างกระจัดระจายไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บางท้องที่เชื่อและนับถือผีที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งตามธรรมชาติ บ้างนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ และบ้างก็นับถือโทเทมประจำเผ่า บางท้องที่มีหมอผีประจำเผ่า แต่ชาวเหยาส่วนใหญ่นับถือลัทธิเต๋ามากกว่า พิธีกรรมเกี่ยวกับงานศพ การบูชาบวงสรวงล้วนประกอบพิธีตามข้อกำหนดของเต๋าทั้งสิ้น

50. 锡伯族 ชนกลุ่มน้อยเผ่าซีโป๋
































“ซีโป๋” เป็นชื่อที่ชนกลุ่มน้อยเผ่านี้เรียกตัวเอง แต่นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ภาษาจีนมีชื่อเรียกชนกลุ่มนี้โดยใช้อักษรจีนเขียนแทนเสียงหลายชื่อ เช่น ซีผี(犀毗Xīpí) ซือปี่ (师比Shībǐ) เซียนเปย(鲜卑Xiānbēi) สือปี่(矢比Shǐbǐ) สีป่าย (席百Xíbǎi) สีปี่(席比Xíbǐ) เป็นต้น ชาวซีโป๋มีถิ่นที่อยู่ที่เมืองเสิ่นหยาง (沈阳Shěnyánɡ) คายหยวน (开原Kāiyuán) อี้เซี่ยน (义县Yì xiàn) เป่ยเจิ้น (北镇Běizhèn) ซินหมิน (新民Xīnmín) เฟิ่งเฉิง (凤城Fènɡchénɡ) ของมณฑลเหลียวหนิง(辽宁Liáonínɡ) และในกลุ่มปกครองตนเองอุสเบค เขตปกครองตนเองอีหลีคาซัค เมืองชาปูชา มณฑลซินเจียง นอกจากนี้ยังมีส่วนน้อยกระจายอยู่ตามเขตปกครองตนเองชุมชนรัสเซีย และชุมชนมองโกลของมณฑลจี๋หลิน ที่เมืองหลวงปักกิ่งก็มีชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ประปราย จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่าซีโป๋ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 188,824 คน ชาวซีโป๋ที่มีถิ่นฐานอาศัยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้อักษรจีนและภาษามองโกล ชาวซีโป๋ที่มีถิ่นฐานอาศัยบริเวณมณฑลซินเจียงใช้ภาษาซีโป๋ จัดอยู่ในตระกูลภาษาอัลไต สาขาหม่าน-ทังกุส (Man -Tungus) แขนงภาษาหม่าน


ชาวซีโป๋ในปัจจุบันมีความเกี่ยวพันกับชนเผ่าโบราณชื่อ “เซียนเปย”(鲜卑Xiānbēi) ดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนอยู่แถบชายเขาต้าซิง (大兴Dàxīnɡ) ในยุคสิบหกประเทศ(十六国Shíliùɡuó ค.ศ. 304 - 439) ชนแถบมู่หรง(慕容Mùrónɡ) อพยพลงใต้ไปตั้งถิ่นฐานแห่งใหม่บริเวณลุ่มน้ำหวงเหอ(黄河Huánɡhé) และอยู่ร่วมผสมกลมกลืนกับชาวฮั่น แต่ก็ยังมีชาวเซียนเปยบางส่วนยังคงอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเนิ่น (嫩江Nènjiānɡ) แม่น้ำชั่วเอ่อร์ (绰尔河Chāo’ěrhé) แม่น้ำซงฮวา(松花江Sōnɡhuājiānɡ) และยังคงรักษาขนบธรรมเนียมและการดำรงชีวิตแบบเดิมอยู่ ชาวเซียนเปยกลุ่มนี้นี่เองคือบรรพบุรุษของชาวซีโป๋ในปัจจุบัน ก่อนสมัยราชวงศ์ชิงชาวเซียนเปยดำรงชีวิต ตั้งหลักปักฐาน และขยายเผ่าพันธุ์โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณที่เรียกว่า “โป๋ตูเน่อ” (伯都讷Bódūnè) ซึ่งก็คือบริเวณอำเภอฝูหยวี มณฑลจี๋หลินในปัจจุบัน เขตแดนการตั้งถิ่นฐานของชาวซีโป๋ในขณะนั้น ทิศตะวันตกจรดฮูหลุนเป้ยเอ่อร์ (呼伦贝尔Hūlún bèi’ěr) ทิศเหนือเริ่มต้นจากแม่น้ำนู่ (嫩江Nènjiānɡ) ทิศใต้จรดลุ่มแม่น้ำเหลียว (辽河Liáohé) ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และทำประมงสัตว์น้ำ อาหารที่ล่าหามาได้จะแบ่งให้สมาชิกอย่างเท่าเทียมกัน


ในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่ 17 ชาวซีโป๋ถูกโจมตีและปกครองโดยเมืองหม่านโจว (满洲Mǎnzhōu) จึงเข้าสมทบกับมองโกลแปดธง (八旗蒙古Bāqí Měnɡɡǔ) และเมืองหม่านโจวแปดธง(八旗满洲Bāqí Mǎnzhōu) ในช่วงระยะเวลาร้อยปี ชาวซีโป๋อพยพกระจัดกระจายไปตั้งถิ่นฐานอยู่หลายแห่ง ที่สำคัญคือยูนนาน ซินเจียง และบริเวณสามมณฑลทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ในช่วงปี 1764 มีชาวซีโป๋ถูกเกณฑ์เข้าสู่มณฑลซินเจียงร่วมพันคน รวมทั้งครอบครัวอีกกว่าสองพันคน นับแต่นั้นมาก็เริ่มมีชาวซีโป๋ตั้งถิ่นฐานอยู่ทั้งที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ชายฉกรรจ์ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร ผู้หญิงและเด็กอยู่บ้านเพาะปลูกทำการเกษตรเลี้ยงครอบครัว การปกครองแบบทูตแปดธง (八旗制度 Bāqí zhìdù) ทำให้ชาวซีโป๋ตกอยู่ในการปกครองของราชสำนักชิงโดยตรง ระบบเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก ชาวซีโป๋จากที่เคยประกอบอาชีพประมงจับสัตว์น้ำเร่ร่อน ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำการเกษตรเพาะปลูกเป็นหลักแหล่ง


ระบบเศรษฐกิจและสังคม ชาวซีโป๋ในยุคที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ชายเขาต้าซิง (大兴Dàxīnɡ) และทุ่งหญ้าฮูหลุนเป้ยเอ่อร์ต่อมาอพยพสู่ดินแดนลุ่มน้ำนู่ (嫩江Nènjiānɡ) และลุ่มน้ำซงฮวา (松花江Sōnɡhuājiānɡ) ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการทำประมง ในช่วงต้นราชวงศ์ชิงเป็นช่วงที่ชาวซีโป๋เข้าสมทบกับพวกปาฉี (กลุ่มแปดธง八旗Bāqí) และพัฒนาระบบสังคมแบบศักดินาขึ้น การแบ่งที่ดินของแต่ละธงถือเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ แบ่งปริมาณการถือครองตามลำดับชั้นศักดินา รัฐมีการจ่ายเงินเดือนที่เรียกว่า “เฟิ่งลู่”( 俸禄Fènɡlù) และ “จวินเสี่ยง” (军饷Jūnxiǎnɡ) ให้กับชนชั้นขุนนาง จนถึงปีที่สามสิบแห่งกษัตริย์เฉียนหลง (ค.ศ.767) ชาวซีโป๋ที่ซินเจียงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มธงหนิวลู่ (牛录旗Niúlùqí) ตั้งถิ่นฐานและรักษาดินแดนบริเวณลุ่มน้ำอีหลี(伊犁河Yīlíhé) รัชสมัยพระเจ้าเจียชิ่งปีที่เจ็ด (ค.ศ. 1802) ภายใต้การสนับสนุนของผู้นำถูเอ่อร์เกิน (图尔根Tú’ěrɡēn) ได้สร้างระบบคลองส่งน้ำจากเขาฉาปู้ฉาร์(察布查尔山Chábùchá’ěr shān) เข้าสู่ชุมชนซีโป๋ จึงตั้งชื่อคลองนี้ว่า “คลองฉาปู้ฉาร์” (察布查尔渠Chábùchá’ěr qú) ซึ่งหมายถึง “คลังเสบียง” ชาวซีโป๋เริ่มตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมคลองทั้งเหนือและใต้ จากนั้นก็ร่วมมือกันกับกลุ่มธงอื่นๆ ขยายการขุด คลองไปตามเมืองต่างๆ เช่น อีหลี (伊犁Yīlí) โปร์ตาลา (博尔塔拉Bó’ěr tǎlā) ถ่าเฉิง (塔城Tǎchénɡ) เป็นต้น ส่งน้ำเข้าสู่ไร่นากว่าแสนไร่ และยังถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรให้ชนเผ่าต่างๆในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย


ปีที่ 80 ของศตวรรษที่ 19 การปกครองแบบแปดธงเริ่มล่มสลาย พื้นที่ทำกินเริ่มตกเป็นกรรมสิทธิ์ในครอบครองกลุ่มอิทธิพล ชาวซีโป๋เริ่มประสบความยากลำบาก ต้องรับจ้างเป็นคนงานทำนาให้กับเจ้าศักดินาที่เป็นเจ้าของที่ดิน ตัวอย่างชุมชนชาวซีโป๋ที่ฉาปู้ฉาร์ มีเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง 5 % ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกินทั้งหมด ที่เหลือเป็นคนยากจนชาวซีโป๋ที่ต้องรับจ้างเจ้าของที่ดิน ไม่มีฝูงสัตว์เลี้ยงเป็นของตนเอง ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ชาวซีโป๋รุ่นแล้วรุ่นเล่าต้องมีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้น และพยายามหาทางให้หลุดพ้นจากระบบสังคมเช่นนี้ จนกระทั่งถึงยุคการรวมที่ดินของราชสำนักชิง หลังการรวบกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของราชสำนักแล้ว ทางการชิงแบ่งที่ดินทำกินให้ราษฎร ทำให้ราษฎรมีสิทธิ์ใช้ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน


หลังยุคปลดปล่อยชาวซีโป๋ได้รับเสรีภาพ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง โดยในปี 1954 รัฐบาลก่อตั้งอำเภอปกครองตนเองซีโป๋ขึ้นที่อำเภอฉาปู้ฉาร์ (察布查尔锡伯族自治县Chábùchá’ěr Xībó Zú zìzhìxiàn) เมื่อเข้าสู่การปกครองแบบสาธารณรัฐของรัฐบาลจีน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การเกษตรและการผลิตด้านอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างไม่หยุดยั้ง ชาวซีโป๋เริ่มใช้เทคโนโลยีและเครื่องไม้เครื่องมือการเกษตรสมัยใหม่ เพิ่มปริมาณการผลิตให้สูงขึ้นมาก มีการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นหลายแห่ง นำความอยู่ดีกินดี และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสู่ชุมชนชาวซีโป๋


ด้านศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรมของชาวซีโป๋หลากหลายลึกซึ้ง มีวรรณกรรมพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน เพลงภัตตาหาร เพลงบูชาเทพ รวมทั้งสุภาษิตคำพังเพยต่างๆ กลอนเรื่องที่เป็นที่ได้รับความนิยมมากได้แก่ 《率乡曲》Lǜxiānɡqǔ “เพลงคะนึงถิ่น” เพลง《喀什喀尔之歌》Kāshí kā’ěr zhī ɡē “บทเพลงแห่งคาสือคาร์” เพลง《三国之歌》Sānɡuó zhī ɡē “เพลงสามปฐพี” เพลงกลอนเหล่านี้สะท้อนชีวิตการต่อต้านการครอบงำของสังคมศักดินา บรรยายถึงจินตนาการและความปรารถนาแห่งความสุขของชาวซีโป๋ ศิลปะการเต้นรำของชาวซีโป๋ก็ไม่เป็นสองรองใคร ท่วงทำนองและจังหวะการร่ายรำเร่งเร้า โอ่อ่า สง่างาม การเต้นรำที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากคือ ระบำเป้ยหลุน (贝伦Bèilún) เครื่องดนตรีของชาวซีโป๋มีหลายชนิด ที่หลัก ๆ ได้แก่ กลองตงปู้ลา(东布拉Dōnɡbùlā) ขลุ่ยเหว่ยตี๋(苇笛Wěidí) และขลุ่ยโม่เค่อเน่อ (墨克讷Mòkènè) ด้านงานหัตถกรรมฝีมือ หญิงชาวซีโป๋มีความสามารถในการปักผ้าได้สวยงามมาก ในงานเทศกาลรื่นเริงชาวซีโป๋มีกิจกรรมการละเล่นพื้นเมืองที่สนุกสนานมากมาย เช่น กีฬา ยิงธนู แข่งม้า และมวยปล้ำ เป็นต้น


หลังยุคปลดปล่อย ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล ศิลปวัฒนธรรมและการอาชีพของชาวซีโป๋ได้ชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ มีการปลูกฝังและสนับสนุนให้บุตรหลานได้มีการศึกษาที่ดี ทั้งยังพัฒนาผู้มีความรู้ความสามารถออกสู่ระดับประเทศและโลกด้วย อย่างเช่น ฉางฉีหม่า นักกีฬายิงธนูทีมชาติจีน ที่ครองเหรียญชัยมากมายก็เป็นชนเผ่าซีโป๋นี่เอง ด้านการสาธารณสุขก็พัฒนาไปมาก เห็นได้จากอัตราการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด


ด้านขนบธรรมเนียม บ้านเรือนของชาวซีโป๋สร้างเป็นปราการรอบชุมชน บ้านแต่ละครัวเรือนสร้างอยู่ภายในปราการประมาณ 100 - 200 หลังคาเรือน บ้านแต่ละหลังยังมีกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากในสมัยการปกครองแบบแปดธง แต่ละธงก็คือแต่ละชุมชน และแต่ละชุมชนต้องป้องกันตนเองจากข้าศึกศัตรู ตัวบ้านสร้างด้วยดินโคลน ภายในบ้านมีสามห้อง ห้องนอน มีห้องครัวและห้องโถง ภายในบริเวณบ้านเป็นที่ปลูกพืชผักผลไม้ และเป็นคอกสัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร เช่น หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น


ก่อนการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ครอบครัวของชาวซีโป๋ยึดถือความอาวุโสเป็นหลักในการจัดการเรื่องต่างๆ ภายในครอบครัวแต่ละครอบครัวจะมีชนชั้นระดับผู้อาวุโสมีอำนาจสูงสุด ผู้อาวุโสน้อยต้องเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสมากกว่า ไม่แต่งงานกับคนแซ่เดียวกัน แต่มีธรรมเนียมการแต่งงานระหว่างลูกของป้า อาหญิง(ที่เป็นพี่สาวน้องสาวพ่อ) กับ ลุง น้าชาย(ที่เป็นพี่ชายน้องชายแม่) นอกจากนี้ยังสามารถแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์กับเผ่าอื่นๆก็ได้ ผู้สูงอายุยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการแต่งกายแบบปลายสมัยชิง คือการสวมชุดกี่เพ้ายาว กางเกงรัดข้อ


ด้านอาหารการกินนิยมบริโภคข้าวเจ้าและข้าวสาลีเป็นอาหารหลัก และนิยมอาหารแป้งแผ่นอบในเตาถ่านที่เรียกว่า “หนาง” มีข้อห้ามรับประทานเนื้อสุนัข ไม่สวมเสื้อผ้าหรือใช้สิ่งของที่ทำมาจากหนังสุนัข หนังหมาป่า ห้ามผิวปากในบ้าน หากในบ้านมีคนป่วย หรือมีการคลอดบุตร จะแขวนผ้าริ้วสีแดงไว้ที่ประตูหน้าบ้าน หรือแขวนหญ้าหนึ่งกำไว้ เพื่อเป็นการบอกห้ามผู้อื่นเข้ามาในบ้าน


การประกอบพิธีศพกระทำโดยการฝัง ทุกตระกูลจะมีสุสานประจำตระกูลของตนเอง ไม่ฝังรวมกับสุสานตระกูลอื่น


ด้านศาสนาความเชื่อและเทศกาลสำคัญ ด้วยเหตุที่ชาวซีโป๋อพยพโยกย้ายถิ่นฐานอยู่เป็นประจำ ดังนั้นจึงซึมซับรับเอาวัฒนธรรมความเชื่อมาจากชุมชนต่างๆมากมาย โดยมากนับถือศาสนาซ่าหม่าน (萨满教Sàmǎn jiào) ศาสนาลามะ (喇嘛教Lǎmɑ jiào) ต่อมาได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่น จึงมีการนับถือเทพเจ้าต่างๆอย่างชาวฮั่นด้วย ที่น่าสนใจก็คือจากการที่ได้รับอิทธิพลของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆมากมาย การนับถือศาสนาและเทพเจ้าของชาวซีโป๋จึงรวมเอาความเชื่อของแต่ละศาสนาเข้าด้วยกัน ดังเช่น วัดไท่ผิง ซึ่งเป็นวัดที่สร้างโดยชาวซีโป๋ เดิมเป็นวัดลามะ แต่นอกจากจะประดิษฐานพระอรหันตร์ 18 ปาง และพระพุทธรูป 3 ปางแล้ว ยังประดิษฐานเทพกวานกง(关公Guānɡōnɡ) เทพโจวฝู (周孚Zhōufú) ซึ่งเป็นเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาอื่น นอกจากนี้ในบ้านของชาวซีโป๋ยังมีแท่นบูชาบรรพบุรุษอีกด้วย


เทศกาลของชาวซีโป๋ไม่แตกต่างเทศกาลของชาวฮั่นและชาวหม่านเท่าใดนัก เช่น เทศกาลตรุษจีน เชงเม้ง ตวนอู่ แต่วิธีการเฉลิมฉลองในแต่ละเทศกาลอาจมีข้อแตกต่างกันบ้าง เช่น เทศกาลตวนอู่ ชาวซีโป๋มีการสาดน้ำกัน ปล่อยแกะ แข่งม้า เป็นต้น นอกจากนี้มีเทศกาลเฉพาะของเผ่าคือวันที่ 18 เดือนสี่เป็นวันที่ระลึกที่บรรพบุรุษชาวซีโป๋อพยพมาจากตะวันออกและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ซินเจียง ทุกๆปีจะจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่