เมชฌ สอดส่องกฤษ (2552) “การศึกษาวิเคราะห์ระบบคำเครือญาติในภาษาจีน” วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม),หน้า41-66.
การศึกษาวิเคราะห์ระบบคำเรียกญาติในภาษาจีน
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาวิเคราะห์ระบบคำเรียกญาติในภาษาจีน โดยแยกเป็นประเด็นสำคัญ 6 ประเด็น ได้แก่ คำเรียกญาติและการใช้คำเรียกญาติ โครงสร้างของคำเรียกญาติ ลักษณะการประกอบคำเรียกญาติ ลักษณะทางความหมายของคำเรียกญาติ หน้าที่ของคำเรียกญาติ และหลักเกณฑ์การใช้คำเรียกญาติ
คำสำคัญ ภาษาจีน คำเรียกญาติ คำเรียกขาน เครือญาติ วัฒนธรรมจีน
The analysis of Chinese kinship terms system
Abstract
This article aims to analyze Chinese kinship terms system, There are six important issues in the analysis of Chinese kinship terms system ; kin terms and its usage, structure of kinship terms, composition of kinship terms, kinship terms meaning, kin terms function and rules of kinship terms usage.
Key words : Chinese, kinship terms, address terms , kinship, Chinese culture
การศึกษาวิเคราะห์ระบบคำเรียกญาติในภาษาจีน
บทนำ
คำเรียกญาติในระบบเครือญาติที่เจ้าของภาษากำหนดและสร้างขึ้นใช้ในภาษา ถือเป็นกลุ่มคำเรียกขานกลุ่มหนึ่งที่มีความชัดเจนและเป็นระบบมากที่สุด เพราะการบ่งชี้ถึงบุคคลมีความแน่นอน โดยปกติคำเรียกญาติแบ่งเป็น2 กลุ่มใหญ่ๆ คือญาติที่มีความสัมพันธ์โดยสายเลือด และญาติที่มีความสัมพันธ์โดยการแต่งงาน แต่ทว่าในแต่ละภาษามีวิธีการหรือปัจจัยในการกำหนดความเป็นญาติและคำเรียกญาติแตกต่างกัน บางภาษาใช้อายุเป็นเกณฑ์ บางภาษาใช้เพศเป็นเกณฑ์ บางภาษาใช้การสืบเชื้อสายเป็นเกณฑ์ บางภาษาใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างไปพร้อมๆกัน ดังนั้นคำเรียกญาติหนึ่งคำ ไม่เพียงสื่อความหมายในเรื่องความเกี่ยวดองเป็นญาติกันเท่านั้น แต่ยังแฝงความหมายทางวัฒนธรรมและสังคมที่สำคัญอีกมาก เช่น รุ่น อายุ เพศ การสืบเชื้อสาย ความเคารพเป็นต้น
ผลงานการศึกษาเรื่องคำเรียกญาติในภาษาจีนกลางล้วนเป็นผลงานการศึกษาของนักวิชาการในประเทศจีนทั้งสิ้น มีทั้งที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องระบบคำเรียกขาน (称谓语chēnɡ wèi yǔ) และการศึกษาเรื่องคำเรียกญาติ (亲属称谓语qīn shǔ chēnɡ wèi yǔ) โดยเฉพาะ โดยเป็นการศึกษาคำเรียกญาติในสมัยปัจจุบันและสมัยโบราณ หรือศึกษาคำเรียกญาติที่ปรากฏในแต่ละยุคสมัย หรือศึกษาคำเรียกญาติที่ปรากฏในวรรณกรรม หรือเป็นการจัดทำพจนานุกรมเกี่ยวกับคำเรียกญาติ อาทิ 胡士云 (2001)《汉语亲属称谓研究》冯汉骥(1989)《中国亲属称谓指南》吴茂萍(2002)《唐代称谓词研究》吉常宏(2000)《汉语称谓大词典》เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานที่ศึกษาความเปลี่ยนแปลง การเกิดใหม่ของคำเรียกขานและคำเรียกญาติในหลากหลายแง่มุม เช่น [韩]金炫兄(2002)《交际称谓语和委婉语》罗湘英(2002)《亲属称谓的词缀化现象》潘之欣,张迈曾(2001)《汉语亲属语扩展用法调查》潘攀(1998)《论亲属称谓语泛化》เป็นต้น หรือมีงานที่ให้ความสนใจศึกษาในหัวข้อการเปรียบเทียบกับภาษาอื่นๆ เช่น姜春霞(2002)《汉英称谓语对比与翻译》李红霞(2002)《称呼语的跨文化对比研究》เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทย นักวิชาการมีความสนใจศึกษาคำเรียกญาติและคำเรียกขานในภาษาจีนหลายแง่มุม แต่ด้วยเหตุที่ภาษาจีนมีหลากหลายสำเนียง ประชาชนชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยก็มาจากหลายพื้นที่ที่พูดภาษาสำเนียงต่างๆกัน ชาวจีนที่พูดภาษาสำเนียงเดียวกันมักตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นชุมชนเดียวกัน ทำให้การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคำเรียกญาติและคำเรียกขานภาษาจีนของไทยมุ่งไปที่ภาษาจีนของชาวจีนที่พูดสำเนียงใดสำเนียงหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น งานวิจัยของ ศุภมาส เอ่งฉ้วน (2526) เรื่อง คำเรียกญาติภาษาจีนฮกเกี้ยนในภาคใต้ของประเทศไทยและเกาะปีนัง เป็นการศึกษาวิเคราะห์คำเรียกญาติพื้นฐานและที่สัมพันธ์โดยการแต่งงานในภาษาจีนฮกเกี้ยน หรืองานวิจัยของ สุดา หัสสภาณุ (2545) เรื่อง วิเคราะห์รูปแบบของคำเรียกขานในภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งศึกษาวิเคราะห์รูปแบบของคำเรียกขานในภาษาจีนแต้จิ๋วที่ใช้โดยคนไทยเชื้อสายจีนในเยาวราช งานวิจัยของ ญาดาคุณัชญ์ หวังเสต(2545) เรื่อง การใช้คำเรียกขานของคนจีนแต้จิ๋วในกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษารูปแบบการใช้คำเรียกขานของคนแต้จิ๋วในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับวิทยานิพนธ์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการวิจัยของ ชนากานต์ ฉ่างทองคำ (2551) เรื่องการศึกษาคำเรียกญาติภาษาจีนแคะ (ฮากกา) ในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีในเชิงสังคมและวัฒนธรรม ก็เป็นการศึกษาคำเรียกญาติในเชิงสังคมและวัฒนธรรมของภาษาจีนแคะในท้องที่เฉพาะดังกล่าว
ส่วนการศึกษาวิเคราะห์ระบบคำเรียกญาติในภาษาจีนกลางยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน อาจเนื่องมา จากไม่มีชุมชนชาวจีนที่พูดภาษาจีนกลางอยู่ในประเทศไทย หรืออาจเนื่องด้วยภาษาจีนกลางเป็นสำเนียงภาษากลุ่มใหญ่ทำให้ผู้ศึกษาวิจัยคิดว่ามีผู้ศึกษาไว้แล้ว แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ปัจจุบันในประเทศไทยไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับระบบคำเรียกญาติในภาษาจีนกลาง ผู้เรียนภาษาจีนชาวไทยยังขาดข้อมูลความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับคำเรียกญาติในภาษาจีนที่เป็นระบบ จึงทำให้เกิดความสับสนและสร้างปัญหาความไม่เข้าใจในการใช้คำเรียกญาติภาษาจีนอยู่เป็นนิจ
วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลการใช้คำเรียกญาติจากการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง ข้อมูลเอกสาร แล้วนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างญาติ และระบบคำเรียกญาติ
ผลการศึกษา
บทความนี้วิเคราะห์ระบบคำเรียกญาติในภาษาจีน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆ 6 ประเด็น ได้แก่ 1.คำเรียกญาติและการใช้คำเรียกญาติ 2.โครงสร้างของคำเรียกญาติ 3.ลักษณะการประกอบคำเรียกญาติ 4.ลักษณะทางความหมายของคำเรียกญาติ 5.หน้าที่ของคำเรียกญาติ และ 6.หลักเกณฑ์การใช้คำเรียกญาติ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนภาษาจีนชาวไทยในการทำความเข้าใจวัฒนธรรมการใช้คำเรียกญาติในภาษาจีน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
1. คำเรียกญาติและการใช้คำเรียกญาติ
คำเรียกญาติในภาษาจีนแบ่งเป็น 5 กลุ่มคือ 1.คำเรียกกลุ่มญาติสายตรง(นามสกุลเดียวกัน) 2.คำเรียกกลุ่มญาติข้างเคียง (นามสกุลเดียวกัน) 3. คำเรียกกลุ่มญาตินอกสายตระกูล (ต่างนามสกุล) 4. คำเรียกกลุ่มญาติโดยการแต่งงาน (ต่างนามสกุล) 5. คำเรียกระหว่างสามีภรรยา ส่วนการใช้คำเรียกญาติทั้ง 5 กลุ่มดังกล่าวมีลักษณะเด่นคือ คำที่เรียกญาติคนเดียวกันจะมีคำเรียกหลายๆ คำ หรือมีวิธีเรียกหลายๆแบบ ตามข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ คำเรียกต่อหน้า คำเรียกลับหลัง คำเรียกแบบเคารพ คำเรียกแบบถ่อมตัว ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ตาราง 1 กลุ่มญาติสายตรง (นามสกุลเดียวกัน)
规则
หลักเกณฑ์
กลุ่ม
ญาติเป้าหมาย
对象 คำเรียกญาติภาษาจีน
คำเรียกต่อหน้า คำเรียกลับหลัง คำเรียกแบบเคารพ คำเรียกแบบถ่อมตัว
พ่อของปู่
祖父
之父 老爷爷lǎoyéye 太爷爷tàiyéye老祖lǎozǔ 曾祖父
zēnɡ zǔfù
老祖
lǎozǔ 令曾祖
lìnɡ
zēnɡzǔ 家曾祖
jiāzēnɡzǔ
แม่ของปู่
祖父
之母 老奶奶
lǎonǎinɑi
太奶奶
tàinǎinɑi
老祖奶奶
lǎozǔnǎinɑi 曾祖母
zēnɡ
zúmǔ
老祖奶奶
lǎozǔ
nǎinɑi 令曾祖母
lìnɡzēnɡ
zúmǔ 家曾祖母
jiāzēnɡ zúmǔ
พ่อของพ่อ
父之父 爷爷 yéye
祖爷zǔyé
爷爷yéye
祖父zǔ fù 令祖
lìnɡzǔ 家祖
jiāzǔ
แม่ของพ่อ
父之母 奶奶 nǎinɑi
祖母 zúmǔ
奶奶 nǎinɑi 令祖母
lìnɡzúmǔ 家祖母
jiāzúmǔ
พ่อ
父亲 爸 bà
爸爸bàbɑ
爹爹diēdiē 父亲
fùqīn
爸爸bàbɑ 令尊
lìnɡzūn
尊公
zūnɡōnɡ 家父jiāfù
家严jiāyán
แม่
母亲 妈mā
妈妈māmɑ
娘niánɡ 母亲 mǔqīn
妈妈 māmɑ 令堂
lìnɡtánɡ
令慈
lìnɡcí 家母jiāmǔ
家慈jiā cí
พี่ชาย
父母所生育长于自己的男性 哥ɡē 哥哥ɡēɡe
(นับตามลำดับเรียก
二哥 èrɡē
三哥sānɡē) เหมือนคำเรียกต่อหน้า 令兄
lìnɡxiōnɡ 家兄jiāxiōnɡ
愚兄yúxiōnɡ
น้องชาย
父母所生育幼于自己的男性 เรียกชื่อ、弟弟dì di(นับตาม ลำดับ เรียก 老二lǎoèr
老三lǎo sān)
เหมือนคำเรียกต่อหน้า 令弟
lìnɡdì
舍弟shědì
愚弟yúdì
พี่สาว
父母所生育长于自己的女性 เรียกชื่อ
姐jiě
姐姐jiějie เหมือนคำเรียกต่อหน้า 令姐
lìnɡjiě 家姐
jiājiě
น้องสาว
父母所生育幼于自己的女性 เรียกชื่อ
妹妹mèimei เหมือนคำเรียกต่อหน้า 令妹
lìnɡmèi 舍妹shěmèi
ลูกชาย
儿子 เรียกชื่อ 儿子
érzi 孩子
hái zi 令郎
lìnɡlánɡ
令公子
lìnɡɡōnɡzǐ
贵公子
ɡuìɡōnɡzǐ 小儿xiǎoér
小子xiǎozi
ลูกสาว
女儿 เรียกชื่อ 女儿nǚér
孩子
hái zi 令爱
lìnɡ ài
贵千金
ɡuìqiān
jīn … 小女xiǎonǚ
ลูกชายของลูกชาย
子之子
เรียกชื่อ 孙子
sūnzi 令孙子
lìnɡsūnzi 小孙xiǎosūn
舍孙shěsūn
ลูกสาวของลูกชาย
子之女
เรียกชื่อ 孙女
sūnnǚér
令孙女儿
lìnɡsūn
nǚér 舍孙女儿
shěsūnnǚér
ลูกชายของหลาน
孙之子 เรียกชื่อ重孙子
chónɡsūnzi 曾孙
zēnɡsūn
重孙 chónɡ
sūn 令曾孙子
lìnɡzēnɡ
sūnzi -
ลูกสาวของหลาน
孙之女 เรียกชื่อ、重孙女儿
chónɡsūnnǚér
曾孙女
zēnɡsūn nǚ
重孙女
chónɡ
sūnnǚ 令曾孙女
lìnɡzēnɡ
sūnnǚ -
ตาราง 2 กลุ่มญาติข้างเคียง (นามสกุลเดียวกัน(
规则
หลักเกณฑ์
กลุ่มญาติ
เ เป้าหมาย
对象 คำเรียกญาติภาษาจีน
คำเรียก
ต่อหน้า คำเรียก
ลับหลัง คำเรียกแบบเคารพ คำเรียกแบบถ่อมตัว
พี่ชายของพ่อ
父之兄 大伯dàbó
伯伯bóbo
大爷dàyé(นับตามลำดับ เรียก
大爷 dàyé
二大爷
èrdàyé 伯父 bófù
大爷 dàyé
นับตาม ลำดับ เรียก
大爷dàyé
二大爷 èrdàyé 令伯(父)lìnɡ bó(fù) 家伯(父)jiā bó(fù)
น้องชายของพ่อ
父之弟 叔叔shū shu
叔父shū fù、叔叔shū shu 令叔(父)
lìnɡshū
(fù) 家叔(父)jiāshū
(fù)
พี่สาวน้องสาวของพ่อ
父之姐妹 姑姑ɡūɡu
姑妈ɡūmā 姑姑 ɡūɡu
姑妈 ɡūmā
姑母 ɡūmǔ 令姑(母)
lìnɡɡū
(mǔ) 家姑(母)jiāɡū(mǔ)
พี่ชายที่เป็นลูกของลุงหรืออา
伯父或叔父之子年长于自己者 哥哥ɡēɡe
堂兄tánɡxiōnɡ
堂哥tánɡɡē 令堂兄
lìnɡtánɡ xiōnɡ 家堂兄
jiātánɡ xiōnɡ
น้องชายที่เป็นลูกของลุงหรืออา
伯父或叔父之子年幼于自己者 เรียกชื่อจริง
ชื่อเล่น 堂弟
tánɡdì 令堂弟
lìnɡtánɡdì 家堂弟
jiātánɡdì
พี่สาวที่เป็นลูกของลุงหรืออา
伯父或叔父之女年长于自己者 姐姐 jiějie 堂姐
tánɡjiě
令堂姐
lìnɡ
tánɡ jiě 家堂姐
jiā
tánɡ
jiě
น้องสาวที่เป็นลูกของลุงหรืออา
伯父或叔父之女年幼于自己者 妹妹 mèimei
小妹 xiǎomèi 堂妹tánɡmèi 令堂妹
lìnɡ
tánɡmèi 家堂妹
jiā
tánɡmèi
ลูกชายของพี่ชายน้องชาย
兄弟之子 เรียกชื่อ
侄儿zhízi
侄子zhízi 令侄子
lìnɡzhízi 舍侄
shězhí
ลูกสาวของพี่ชายน้องชาย
兄弟之女 เรียกชื่อ
侄女儿
zhínǚér 侄女zhínǚ 令侄女
lìnɡzhínǚ 舍侄女
shězhínǚ
ลูกชายของ
หลานที่เป็นลูกของพี่ชายน้องชาย
侄子之子 เรียกชื่อ
侄孙子
zhísūnzi 侄孙 zhísūn
令侄孙lìnɡ
zhísūn 舍侄孙shě
zhísūn
ลูกสาวของ
หลานที่เป็นลูกของพี่ชายน้องชาย
侄子之女 เรียกชื่อ、侄孙女儿zhí sūn
nǚ ér 侄孙女zhísūnnǚ 令侄孙女
lìnɡ
zhísūnnǚ 舍侄孙女
shě
zhísūnnǚ
ตาราง 3 กลุ่มญาตินอกสายตระกูล (ต่างนามสกุล)
规则
หลักเกณฑ์
กลุ่มญาติ
เป้าหมาย
对象 คำเรียกญาติภาษาจีน
คำเรียกต่อหน้า คำเรียกลับหลัง คำเรียกแบบเคารพ คำเรียกแบบถ่อมตัว
พ่อของแม่
母之父 老爷lǎoyé
外公wàigōng
老爷lǎoyé,外公wàigōng,
外祖父
wàizǔfù 令外祖父
lìng
wàizǔfù
家外祖父
jiā
wàizǔfù
แม่ของแม่
母之母 姥姥lǎolɑo
外婆 wàipó
姥姥lǎolao
外婆 wàipó
外祖母
wàizǔmǔ 令外祖母
lìng
wàizǔmǔ 家外祖母
jiā
wàizǔmǔ
พี่ชายน้องชายของแม่
母之兄弟 舅舅
jiùjiu 舅父 jiùfù
舅舅 jiùjiu 令舅(父)
lìng jiùfù 家舅(父)
jiā iùfù
พี่สาวน้องสาวของแม่
母之姐妹 姨 yí
姨妈yímā 姨母yímǔ
姨妈yímā 令姨母
lìng yímǔ 家姨母
jiā yímǔ
ลูกชายของพี่ชายน้องชายแม่ที่อายุมากกว่าตน
母的兄弟姐妹之子年长于自己者 表哥biǎogē
哥哥gēge 表兄
biǎoxiōng
表哥biǎogē 令表兄
lìng
biǎoxiōng
家表兄
jiā
biǎoxiōng
ลูกชายของพี่ชายน้องชายแม่ที่อายุน้อยกว่าตน
母的兄弟姐妹之子年幼于自己者
表弟
biǎodì 表弟
biǎodì 令表弟
lìng
biǎodì 家表弟
jiā biǎodì
ลูกสาวของพี่ชายน้องชายแม่ที่อายุมากกว่าตน
母的兄弟姐妹之女年长于自己者 表姐biǎojiě 表姐 biǎojiě 令表姐
lìng
biǎojiě 家表姐
jiā
biǎojiě
ลูกสาวของพี่ชายน้องชายแม่ที่อายุน้อยกว่าตน
母的兄弟姐妹之女年幼于自己者 เรียกชื่อ
表妹biǎomèi 表妹biǎomèi 令表妹lìng
biǎomèi 家表妹
jiā biǎomèi
ลูกชายของพี่สาวน้องสาว
姊妹之子 เรียกชื่อǔ 外甥
wài shēng 令(外)甥
lìng wài shēng 舍(外)甥
shě wài
shēng
ลูกสาวของพี่สาวน้องสาว
姊妹之女 เรียกชื่อ 外甥女
wài shēng
nǚ 令(外)甥女
lìng wài shēng nǚ 舍(外)甥女
shě wài
shēng nǚ
ลูกชายของลูกสาว
女儿之子 เรียกชื่อ 外孙wài sūn 令外孙lìng wài sūn 舍外孙
shě wài sūn
ลูกสาวของลูกสาว
女儿之女 เรียกชื่อ 外孙女
wài sūn nǚ 令外孙女
lìng wài
sūn nǚ 舍外孙女
shě wài
sūn nǚ
ตาราง 4 กลุ่มญาติโดยการแต่งงาน (ต่างนามสกุล)
规则
หลักเกณฑ์
กลุ่มญาติ
เป้าหมาย
对象 คำเรียกญาติภาษาจีน
คำเรียกต่อหน้า คำเรียกลับหลัง คำเรียกแบบเคารพ คำเรียกแบบถ่อมตัว
ภรรยาของพี่ชายพ่อ
父之兄的配偶 大妈 dàmā
大娘 dàniáng 伯母 bómǔ 令伯母
lìng bómǔ 家伯母
jiā bómǔ
ภรรยาของน้องชายพ่อ
父之弟的配偶
婶子 shěnzi 婶母shěnmǔ 令婶 ling
shěnmǔ 家婶(母)
jiā shěnmǔ
สามีของพี่สาวน้องสาวพ่อ
父之姐妹的配偶 姑父(夫)
gūfù 姑父(夫)
gūfù 令姑父(夫)
lìng gūfù 家姑父(夫)
jiā gūfù
ภรรยาของพี่ชายน้องชายแม่
母之兄弟的配偶 舅妈jiùmā
妗子 jìnzi 舅母jiùmǔ
舅妈jiùmā
妗子 jìnzi 令舅母
lìng jiùmǔ 家舅母
jiā jiùmǔ
ภรรยาของพี่ชาย
兄的配偶 嫂子sǎozi
(นับตามลำดับ เรียก 大嫂(子)、二嫂(子)…) 嫂子
sǎozi
令嫂
lìng sǎo
家(愚)嫂子
jiā(yú) sǎozi
ภรรยาของน้องชาย
弟的配偶 弟妹 dìmèi 弟媳dìxí
弟妹dìmèi 令弟媳
lìngdìxí 家弟媳
jiā dìxí
สามีของพี่สาว
姐的配偶 姐夫 jiěfū 姐夫jiěfū 令姐夫
lìng jiěfū 家姐夫
jiā jiěfū
สามีของน้องสาว
妹的配偶 妹夫 mèifū 妹夫mèifū 令妹夫
lìng mèifū 家妹夫
jiā mèifū
พี่ชายสามี
夫之兄 哥哥gēge 大伯子
dàbózi 令大伯子
lìng dàbózi 家大伯子
jiā dàbózi
น้องชายสามี
夫之弟 弟弟 dìdi
เรียกชื่อ 小叔子
xiǎoshūzi 令小叔子lìng
xiǎoshūzi 家小叔子jiā
xiǎoshūzi
พี่ชายภรรยา
妻之兄 哥哥gēge 内兄
nèixiōng
大舅子
dàjiùzi 令内兄lìng
nèixiōng
大舅子
dàjiùzi 舍大舅子
shě dàjiùzi
น้องชายภรรยา
妻之弟 小弟 xiǎodì
เรียกชื่อ 内弟 nèidì
小舅子
xiǎojiùzi 令内弟
lìngnèidì
小舅子
xiǎojiùzi 舍小舅子
shě xiǎojiùzi
พี่สาวสามี
夫之姐 姐姐 jiějie 大姑子dàgūzi 令大姑子
lìngdàgūzi -
น้องสาวสามี
夫之妹 妹妹 mèimei
เรียกชื่อ 小姑子
xiǎogūzi 令大姑子
lìng
xiǎo gūzi -
พี่สาวภรรยา
妻之姐 姐姐jiějie 大姨子
dàyízi 令大姨子
lìng dàyízi
家大姨子
jiā dàyízi
น้องสาวภรรยา
妻之妹 小妹xiǎomèi
เรียกชื่อ 小姨子
xiǎoyízi 令小姨子
lìng
xiǎoyízi 家小姨子
jiā
xiǎoyízi
ภรรยาของลูกชาย
儿子的配偶 เรียกชื่อ 儿媳 érxí 令儿媳
lìng érxí 小媳xiǎoxí
สามีของลูกสาว
女儿的配偶 เรียกชื่อ 女婿 nǚxù 令女婿
lìng nǚxù 小(女)婿
xiǎo nǚxù
ภรรยาของหลานชาย(หลานอา)
侄子的配偶 เรียกชื่อ 侄媳 zhíxí 令侄媳
lìng zhíxí 舍侄媳
shě zhíxí
สามีของหลานสาว
(หลานอา)
侄女的配偶 เรียกชื่อ 侄婿zhíxù 令侄婿
lìng
zhíxù -
ภรรยาของหลานชาย
孙子的配偶 เรียกชื่อ 孙媳 sūnxí 令孙媳
lìngsūnxí 舍孙媳
shě sūnxí
สามีของหลานสาว
孙女的配偶 เรียกชื่อ 孙婿sūnxù 令孙婿
lìngsūnxù 舍孙婿
shě sūnxù
พ่อสามี
夫之父 爸爸 bàbɑ 公公
gōnggong - -
แม่สามี
夫之母 妈妈 māmɑ 婆婆 pópo - -
พ่อภรรยา
妻之父 爸爸bàbɑ 岳父 yuèfù - -
แม่ภรรยา
妻之母 妈妈māmɑ 岳母yuèmǔ - -
ตาราง 5 คำเรียกระหว่างสามีภรรยา
หลักเกณฑ์
กลุ่ม
ญาติเป้า
หมาย คำเรียกญาติภาษาจีน
คำเรียก
ต่อหน้า คำเรียก
ลับหลัง คำเรียกแบบเคารพ คำเรียกแบบถ่อมตัว
สามี
夫
เรียกชื่อ 老+แซ่、คำเรียกแบบสนิทสนม(老头子
Lǎotóuzi “ตาแก่”亲爱的
qīn ài de “ที่รัก”)
คำเรียกหักเห (孩子他爸 háizi tā bà “พ่อไอ้หนู”)老公 lǎogōng “ผัว”老伴儿
lǎobànr “คู่ชีวิต” 爱人 ài rén “คนรัก”丈夫zhàngfu “สามี”
先生 xiān shēng “สามี” 孩子他爸 háizi tā bà “พ่อไอ้หนู”老公lǎo gōng “ผัว” 先生
xiānshēng “สามี” 拙夫 zhuōfū
“คำเรียกสามีตนแบบถ่อมตัว (ผัวเขลา)”
ภรรยา
妻 เรียกชื่อ 老+แซ่、คำเรียกแบบสนิทสนม(老婆子
lǎopózi “ยายแก่”亲爱的 qīn ài de “ที่รัก”)คำเรียกหักเห(孩子他妈 háizi tā mā “แม่ไอ้หนู”)老婆lǎo pó “เมีย”老伴儿
lǎobànr “คู่ชีวิต” 爱人 ài rén “คนรัก”太太 tàitai “ภรรยา”孩子他妈háizi tā mā “แม่ไอ้หนู” 尊夫人zūnfūrén “ศรีภรรยา”、嫂夫人 sǎo fūrén “ภรรยา” 、太太tàitai “ภรรยา”、贤妻 xiánqī “ภรรยา”贤内助xián nèi zhù “ภรรยา” 内子 nèizi 贱人jiànrén “คำเรียกภรรยาตนแบบถ่อมตัว(หญิงไร้ค่า)” 愚妻yúqī “คำเรียกภรรยาตนแบบถ่อมตัว
( เมียเขลา )”
2. โครงสร้างของคำเรียกญาติ
โดยทั่วไปคำเรียกญาติในแต่ละภาษาสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ คำเรียกญาติเฉพาะ และคำเรียกญาติแบบอธิบายญาติ กล่าวคือ คำเรียกญาติเฉพาะแฝงความหมายในเรื่องของรุ่นต่างๆ ของญาติ ไม่แสดงความหมายในเรื่องสายตระกูลจำพวก สายพ่อ สายแม่ สายตรง สายเกี่ยวดอง ตลอดจนการเรียงลำดับต่างๆ เช่น 爷爷yéye “ปู่” 奶奶 nǎinɑi “ย่า” 爸爸bàbɑ “พ่อ” 妈妈māmɑ “แม่” ส่วนคำเรียกญาติแบบอธิบายญาติจะแฝงความหมายในเรื่องสายตระกูล สายพ่อ สายแม่ สายเกี่ยวดอง ตลอดจนลำดับญาติในแต่ละรุ่นอย่างชัดเจน เช่น คำเรียกญาติที่มีคำว่า 堂 tánɡ “แสดงความเป็นญาติในสายตระกูล” 表 biǎo “แสดงความเป็นญาตินอกสายตระกูล” เป็นต้น
สำหรับคำเรียกญาติในภาษาจีนนั้นจัดเป็น “คำเรียกญาติแบบอธิบายญาติ” ชุดคำเรียกญาติในภาษาจีนเกิดขึ้นบนพื้นฐานทางสังคมเป็นสำคัญ สังคมดั้งเดิมของจีนถือความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกเป็นปัจจัยสำคัญในการสืบสายตระกูล โครงสร้างลึกอันถือเป็นพื้นฐานหลักของโครงสร้างสังคมนี้เป็นความสัมพันธ์โดยการสืบสายเลือด มีผลต่อกฎหมายการสืบสกุลและการสืบสมบัติของวงศ์ตระกูล ซึ่งก็คือสายพ่อเพศชายนั่นเอง ดังนั้นระบบเครือญาติของสังคมจีนจะแบ่งญาติสายพ่อและญาติสายแม่ออกจากกันอย่างชัดเจน
ส่วนการเกี่ยวดองสัมพันธ์เป็นญาติเกิดจากการแต่งงานนั้น ญาติทั้งเพศหญิงและชายของคู่สามีภรรยาล้วนมีชุดคำเรียกญาติที่แสดงถึงความสัมพันธ์กันชัดเจน คำเรียกญาติเหล่านี้ถือเป็นคำเรียกญาติสายสามีภรรยา ภายในสายสกุลแต่ละชั้นยังแบ่งเพศชายหญิง อายุมากน้อย และรุ่นของญาติอีกด้วย เช่น รุ่นเดียวกันกับเรา มี 哥哥 ɡēɡe “พี่ชาย” 姐姐 jiějie “พี่สาว” 弟弟dìdi “น้องชาย” 妹妹 mèimei “น้องสาว”
ด้วยเหตุนี้ ระบบเครือญาติและคำเรียกญาติในภาษาจีนจึงเป็นระบบเครือญาติที่มีความสลับ ซับซ้อนและเคร่งครัด ดังนั้นการอธิบายระบบเครือญาติและคำเรียกญาติในภาษาจีนสามารถใช้ “สายตระกูล” ซึ่งแบ่งเป็น สายพ่อ สายแม่ และสายสามีภรรยาเป็นตัวตั้งในการอธิบาย ภายในสายตระกูลใช้เพศชายหญิง อายุมากน้อย และรุ่นของญาติเป็นข้อกำหนดในการแบ่งญาติอีกชั้นหนึ่ง ต่อไปจะได้อธิบายโครงสร้างระบบเครือญาติและคำเรียกญาติในภาษาจีนโดยใช้ “ตัวเอง”เป็นตัวตั้งแล้วนับญาติทั้งรุ่นก่อนและรุ่นหลัง 2 รุ่นดังนี้
แผนภูมิ 1 ญาติสายพ่อ
แผนภูมิที่ 2 ญาติสายแม่
แผนภูมิ 3 ญาติเกี่ยวดอง(โดยการแต่งงาน)
จากแผนภูมิโครงสร้างระบบเครือญาติ สามารถอธิบายได้ดังนี้
2.1 ญาติสายพ่อ สามารถแบ่งตามลำดับรุ่นได้ดังนี้
1) รุ่นสูงกว่าตัวเอง 2 รุ่น ได้แก่ 祖父zǔ fù “พ่อของพ่อ”, 祖母zǔ mǔ “แม่ของพ่อ”
2) สูงกว่าตน 1 รุ่น คือญาติรุ่นพ่อได้แก่ 父亲 fùqīn“พ่อ” 伯父 bófù “พี่ชายของพ่อ” 叔父 shūfù “น้องชายของพ่อ” 姑 ɡū “พี่สาวน้องสาวของพ่อ”
3) รุ่นเดียวกันกับตัวเอง ญาติสายพ่อรุ่นเดียวกันกับตัวเองที่เป็นพี่น้องพ่อแม่เดียวกันคือ 兄xiōnɡ “พี่ชาย” 姐jiě “พี่สาว” 弟 dì “น้องชาย ” 妹 mèi“น้องสาว” นอกจากนี้ยังมีพี่น้องที่เป็นลูกของพี่ชายพี่สาวและน้องชายน้องสาวของพ่ออีกด้วย คำเรียกพี่น้องเหล่านี้ใช้เหมือนกับพี่น้องของตนเองแต่มีคำว่า “堂” tánɡ วางไว้ข้างหน้าเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นญาติสายพ่อ นามสกุลเดียวกัน ได้แก่ 堂兄 tánɡ xiōnɡ 堂弟 tánɡ dì 堂姐 tánɡ jiě 堂妹 tánɡ mèiส่วนพี่น้องที่เป็นลูกของพี่สาว น้องสาวพ่อจะมีคำว่า “表” biǎo วางไว้ข้างหน้าเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นพี่น้องสายพ่อเพศหญิง (ต่างนามสกุล) ได้แก่ 表兄 biǎo xiōnɡ 表弟 biǎo dì 表姐 biáo jiě 表妹 biǎo mèi
4) รุ่นต่ำกว่าตัวเอง 1 รุ่น คือรุ่นลูกโดยแบ่งตามเพศ มี 2 คำเรียกได้แก่ 儿子 ér zi
“ลูกชาย” 女儿nǚ ér “ลูกสาว” 侄儿zhí ér “หลานชายที่เป็นลูกของพี่ชายน้องชาย”侄女zhínǚ “หลานสาวที่เป็นลูกของพี่ชายน้องชาย” 外甥wàishenɡ “หลานชายที่เป็นลูกของพี่สาวน้องสาว” 外甥女wài shenɡ nǚ “หลานสาวที่เป็นลูกของพี่สาวน้องสาว”
5) รุ่นต่ำกว่าตัวเอง 2 รุ่น คือรุ่นหลาน ได้แก่ 孙子sūn zi “หลานชายที่เป็นลูกของลูกชาย” 孙女sūn nǚ “หลานสาวที่เป็นลูกของลูกชาย” 外孙子 wài sūnzi “หลานชายที่เป็นลูกของลูกสาว” 外孙女 wài sūn nǚ “หลานสาวที่เป็นลูกของลูกสาว”
2. 2ญาติสายแม่ มี
1) ใช้เพศชายเป็นตัวตั้ง ได้แก่ 妻子qīzi “ภรรยา” 内兄弟nèi xiōnɡ di “พี่ชายน้องชายภรรยา” 大(小)姨子dà(xiǎo)yízi “พี่สาวน้องสาวภรรยา” 岳父母yuè fu mǔ “พ่อแม่ภรรยา” 嫂子sǎozi “ภรรยาของพี่ชาย” 弟媳dìxí“ภรรยาของน้องชาย” 姐夫jiěfu “สามีของพี่สาว” 妹夫mèifu “สามีของน้องสาว”
2) ใช้เพศหญิงเป็นตัวตั้ง ได้แก่ 丈夫 zhànɡfu “สามี” 公公 ɡōnɡɡonɡ “พ่อสามี” 大(小)姑子 dà(xiǎo)ɡūzi “พี่สาวน้องสาวสามี” 大伯子 dà bó zǐ“พี่ชายสามี” 小叔子 xiǎo shūzi “น้องชายสามี” 妯娌 zhóulǐ“ภรรยาของพี่ชายน้องชายสามี”儿媳 érxí “ลูกสะใภ้” 孙媳 sūnxí “หลานสะใภ้”
3. ลักษณะการประกอบคำเรียกญาติในภาษาจีน
คำเรียกญาติในภาษาจีนประกอบกันขึ้นด้วยหลากหลายปัจจัยรวมกัน แต่ละปัจจัยทำหน้าที่ชัดเจน ส่งผลให้การประกอบคำ การแบ่งคำชัดเจนและเป็นระบบมาก อันประกอบด้วย แบ่งเพศชายหญิง อายุมากน้อย และการสืบสายตระกูล นอกจากนี้หน้าที่ของคำศัพท์ก็มีการแบ่งที่ชัดเจนมากเช่นกัน กล่าวคือ มีการแบ่งคำที่ใช้เป็นคำเรียกบุรุษที่สองและคำเรียกบุรุษที่สามแยกออกจากกันอีกด้วย ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้
3.1 ความแตกต่างของเพศชายและเพศหญิง เพศไม่เพียงเป็นความแตกต่างทางกายภาพเท่านั้น หากแต่เป็นตัวกำหนดและสร้างเงื่อนไขต่างๆในสังคมที่สำคัญยิ่ง เพศมีบทบาทที่ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการประกอบและสร้างคำเรียกญาติในภาษาจีน เพราะความแตกต่างระหว่างเพศเป็นตัวกำหนดความแตกต่างในการแบ่งเครือญาติ การสืบสายตระกูลถือเอาเพศชาย จากปู่สู่พ่อ สู่ลูกชาย สู่หลานชายเป็นญาติสายตรงนามสกุลเดียวกัน ส่วนเพศหญิงเป็นจากยายสู่แม่ สู่ลูกสาว สู่หลานสาวเป็นญาตินอกสายตระกูลต่างนามสกุล การแบ่งสายตระกูลเช่นนี้เป็นผลมาจากการกำหนดความแตกต่างทางเพศของพ่อและแม่ ญาติสายพ่อที่เป็นเพศชายจะสืบต่อนามกุลเดียวกัน ส่วนญาติสายพ่อที่เป็นเพศหญิงจะใช้นามสกุลเดียวกัน แต่จะไม่สามารถสืบต่อนามสกุลได้ เนื่องจากลูกที่เกิดมาจะใช้นามสกุลฝ่ายพ่อของสายตระกูลเพศชายอีกสายตระกูลหนึ่ง
3.2 มีการเรียงลำดับตามความแตกต่างของรุ่น คำเรียกญาติในแต่ละรุ่น และคำเรียกญาติในรุ่นเดียวกันแต่ต่างอายุกันมีความแตกต่างและแบ่งแยกกันอย่างเคร่งครัด ดูเหมือนว่าเกณฑ์สำคัญในการแบ่งคำเรียกญาติในภาษาจีนจะใช้อายุเป็นหลัก อายุกับรุ่นดูจะสัมพันธ์กันเป็นเรื่องเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วอายุอาจไม่ใช่ข้อกำหนดเด่นชัดในการกำหนดคำเรียกญาติเลย ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนเช่น ก. เป็นลูกของปู่และย่า ที่เกิดหลังตนเอง มีอายุน้อยกว่าตนเอง หากเอาเกณฑ์อายุมาแบ่งต้องเรียก ก. ว่าน้อง แต่ ก มีศักดิ์เป็น อาของตนเอง เพราะใช้ “รุ่น” เป็นตัวแบ่งนั่นเอง ในภาษาจีนแบ่งคำเรียกญาติตามลำดับชั้นดังนี้
ชั้นที่หนึ่ง : 高祖 ɡāozǔ (สูงกว่า 4 รุ่น)
ชั้นที่สอง : 曾祖父 zēnɡzǔfù 曾祖母 zēnɡzúmǔ(สูงกว่า 3 รุ่น)
ชั้นที่สาม : 祖父zǔfù 祖母zúmǔ 外祖父wàizǔfù 外祖
母wài zúmǔ (สูงกว่า 2 รุ่น)
ชั้นที่สี่ : 父亲 fùqīn 母亲 mǔqīn 伯父 bófù 伯母
bómǔ 叔父 婶母 shénmǔ 姑父 ɡūfu 姑母 ɡūmǔ
舅父jiùfù 舅母 jiùmǔ 姨父 yífù 姨母 yímǔ
岳父 yuèfu 岳母 yuèmǔ (สูงกว่า 1 รุ่น)
ชั้นที่ห้า : (ตัวเอง)哥哥ɡēɡe嫂嫂sǎosǎo 姐姐jiějie 姐
夫jiěfu 弟弟dìdi 弟妹dìmèi 妹妹mèimei 妹夫
mèifu 堂兄tánɡxiōnɡ 堂嫂tánɡsǎo 表兄
biǎoxiōnɡ 表嫂 biǎosǎo 内兄nèi xiōnɡ 妻妹
qīmèi 襟兄 jīnxiōnɡ (รุ่นเดียวกันกับตนเอง)
ชั้นที่หก :儿子 érzi 女儿 nǚér 侄儿zhíér 外甥
wàishenɡ 内甥 nèishēnɡ 侄婿 zhíxù (ต่ำกว่า 1
รุ่น)
ชั้นที่เจ็ด :孙子sūnzi 孙女sūnnǚ 外孙 wàisūn 外孙女
wàisūnnǚ 侄孙 zhísūn 侄孙女 zhísūnnǚ 孙
媳 sūnxí 外孙媳 wàisūnxí (ต่ำกว่า 2 รุ่น)
ชั้นที่แปด :曾孙 zēnɡsūn 曾孙女 zēnɡsūnnǚ 曾外孙
zēnɡwàisūn 曾外孙女 zēnɡwàisūnnǚ (ต่ำกว่า3 รุ่น)
ชั้นที่เก้า :玄孙xuánsūn (ต่ำกว่า 4 รุ่น)
3.3 มีการแบ่งสายตระกูลชัดเจน การแบ่งสายตระกูลมีความสัมพันธ์กับการสืบนามสกุล ลูกของพี่ชายน้องชายพ่อ ใช้คำว่า “堂 ”tánɡ นำหน้าคำเรียกญาติ เพราะเป็นญาตินามสกุลเดียวกันและถือเป็นสายตระกูลเดียวกัน ส่วนลูกของพี่สาวน้องสาวพ่อกลับเติม “表” biǎo หน้าคำเรียกขานเพราะญาติเหล่านี้ถือเป็นญาตินอกสายตระกูลเหมือนกับลูกของพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาวแม่ ญาติกลุ่มนี้ต่างนามสกุลกับตน
3.4 มีการแบ่งคำเรียกญาติต่อหน้าและคำเรียกญาติลับหลังอย่างชัดเจน ในที่นี้คือคำเรียกญาติที่ใช้เรียกบุรุษที่หนึ่ง และคำเรียกญาติที่ใช้เป็นบุรุษที่สามมีคำเรียกที่แบ่งแยกกันชัดเจน ดังนั้นคำเรียกญาติในภาษาจีนจะมีอยู่สองชุด ชุดหนึ่งคือคำที่ใช้เป็นบุรุษที่หนึ่ง และอีกชุดหนึ่งคือคำที่ใช้เป็นบุรุษที่สาม ซึ่งคำทั้งสองชุดนี้ยังสามารถทำหน้าที่อื่นได้อีก กล่าวคือ คำที่ใช้เป็นบุรุษที่หนึ่งสามารถใช้เป็นภาษาพูด และคำที่ใช้เป็นบุรุษที่สามใช้เป็นภาษาหนังสือ ตัวอย่างเช่น 爷爷--祖父yéye--zǔfù “ปู่” 奶奶--祖母nǎinɑi--zúmǔ “ย่า” 爸爸--父亲 bàbɑ-- fùqīn “พ่อ” 妈妈--母亲māmɑ--mǔqīn “แม่” 哥--兄 ɡē -- xiōnɡ “พี่ชาย” ส่วนคำที่มีการเติมคำเพื่อบ่งบอกสายตระกูล หรือคำเรียกญาติที่มีคำบ่งความเป็นญาติแต่งงานจะใช้เป็นคำเรียกบุรุษที่สามเท่านั้น แต่เมื่อจะเรียกญาติเหล่านี้เป็นบุรุษที่หนึ่ง จะใช้วิธีเทียบอายุ และรุ่นกับญาติสายตรงแล้วเลือกคำเรียกญาติ
3.5 มีการแบ่งคำเรียกญาติแบบสุภาพกับคำเรียกญาติทั่วไป ในมุมมองของความสุภาพ ภาษาจีนมีการแบ่งคำเรียกญาติแบบสุภาพกับคำเรียกญาติแบบทั่วไปอีกด้วย คำเรียกญาติแบบสุภาพใช้เรียกเป็นบุรุษที่สาม ในส่วนนี้ยังแบ่งออกเป็นสองชุด คือ คำเรียกญาติบุรุษที่สามเพื่อแสดงความเคารพ(เรียกญาติผู้ฟัง) กับคำเรียกญาติบุรุษที่สามเพื่อแสดงความถ่อมตัว(เรียกญาติตนเอง) คำที่ใช้แตกต่างจากคำที่ใช้เรียกบุรุษที่หนึ่งซึ่งถือเป็นคำเรียกญาติปกติ การเรียกแบบสุภาพนี้ใช้วิธีการเติมอุปสรรคหน้าคำเรียกญาติปกติ คือ “令” lìnɡ ใช้เป็นคำเรียกญาติบุรุษที่สามเพื่อแสดงความเคารพ(เรียกญาติผู้ฟัง) “家” jiā “舍” shě ใช้เป็นคำเรียกญาติบุรุษที่สามเพื่อแสดงความถ่อมตัว(เรียกญาติตนเอง) หรือบางคำอาจไม่ใช้วิธีเติมอุปสรรคเหล่านี้ แต่มีคำอื่นเพื่อใช้เรียกแบบสุภาพโดยเฉพาะแยกต่างหาก ตัวอย่างเช่น 母亲--令堂--家慈 mǔqīn--lìnɡtánɡ--jiācí “แม่” 祖父—祖爷--令祖 zǔfù--zǔyé--lìnɡzǔ “ปู่” 姐姐--令姐--家姐 jiějie--lìnɡjiě--jiājiě “พี่สาว” เป็นต้น
จะเห็นว่าถึงแม้คำเรียกญาติในภาษาจีนจะมีความซับซ้อน แต่ก็เป็นระบบระเบียบทั้งโครงสร้าง คำเรียกญาติในภาษาจีนมีปัจจัยควบคุมหลายอย่างที่ควบคุมทั้งระบบ อันได้แก่ เพศ รุ่น อายุ สายตระกูล คำเรียกต่อหน้าและลับหลัง คำเรียกแบบสุภาพและถ่อมตัว ทำให้คำเรียกญาติในภาษาจีนแต่ละคำแฝงความหมายที่ละเอียดหลากหลายมิติ
4. ลักษณะทางความหมายของคำเรียกญาติในภาษาจีน
จากการวิเคราะห์พบว่า คำเรียกญาติในภาษาจีนใช้ได้หลายลักษณะ เช่น คำเรียกต่อหน้า (บุรุษที่หนึ่ง) คำเรียกลับหลัง (บุรุษที่สอง) คำเรียกแบบถ่อมตัว(บุรุษที่หนึ่ง) คำเรียกแบบเคารพ (บุรุษที่สอง) ในภาษาจีนคำที่หมายถึงญาติคนเดียวกันแต่ใช้ในลักษณะและสถานการณ์ต่างกัน คำที่ใช้จะแตกต่างกันด้วย มีสองลักษณะคือ เป็นคำเรียกญาติเฉพาะและคำที่เป็นส่วนประกอบ อธิบายดังนี้
4.1 คำเรียกต่อหน้าและคำเรียกลับหลัง
“คำเรียกต่อหน้า” หมายถึงคำที่ใช้เรียกผู้พูดและผู้ฟังในขณะที่สนทนากันซึ่งก็คือบุรุษที่หนึ่งและบุรุษที่สอง ส่วน “คำเรียกลับหลัง” คือคำที่ใช้เรียกผู้ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งก็คือบุรุษที่สาม ดังจะอธิบายลักษณะเด่นของคำเรียกต่อหน้าและคำเรียกลับหลังดังนี้
4.1.1 จำนวนของคำเรียกต่อหน้าและคำเรียกลับหลังไม่เท่ากัน ญาติคนหนึ่งส่วนใหญ่จะมีคำเรียกต่อหน้าเพียงคำเดียว (มีเพียงบางคำที่มีเกิน 1 คำ เช่น คำเรียกพ่อ มีคำว่า 爸bà 、爹diē ) แต่หากเรียกญาติคนเดียวกันนั้นลับหลังสามารถเรียกได้สองคำหรือมากกว่านั้น เช่น คำเรียกพ่อที่เป็นคำเรียกต่อหน้า เรียกว่า “爸爸” bàbɑ แต่เมื่อเรียกพ่อลับหลังสามารถเรียกว่า “爸爸” bàbɑ “父亲” fùqīn “爹” diē “令尊” lìnɡzūn “尊公” zūnɡōnɡ ดังนั้นคำเรียกญาติในภาษาจีนสามารถแบ่งได้เป็นสองชุด จะเห็นว่าชุดที่เป็นคำเรียกลับหลังมิได้มีเพียงคำเดียว แต่มีคำหลายคำที่บ่งชี้ถึงญาติคนเดียว ซึ่งการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมเป็นสำคัญ เหตุผลที่มีการแบ่งคำเรียกญาติเป็นคำเรียกลับหลังและคำเรียกต่อหน้าคือ
1) คำเรียกต่อหน้าเกี่ยวพันถึงบุคคลเพียงสองคน คือ ผู้เรียกและผู้ถูกเรียก (ผู้ฟัง) ในที่นี้ผู้ถูกเรียกกับผู้ฟังเป็นคนเดียวกัน ดังนั้นปัจจัยของการเกิดคำเรียกต่อหน้าก็คือความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังโดยตรง ดังนั้นความหมายของคำเรียกต่อหน้าก็คือคำที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ฉันญาติโดยตรงนั่นเอง
2) ส่วนคำเรียกลับหลังเกี่ยวพันถึงความสัมพันธ์ของบุคคลสามคน คือ ผู้เรียก
ผู้ฟัง และผู้ถูกเรียกที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ในที่นี้ผู้ถูกเรียกกับผู้ฟังไม่ใช่คนเดียวกัน ผู้พูดอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์เป็นญาติกับผู้ฟัง หรือผู้ฟังอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์เป็นญาติกับผู้ถูกเรียก บุคคลทั้งสามอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์ฉันญาติกัน ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของบุคคลสามคนนี้เองทำให้เกิดคำเรียกที่หลากหลายขึ้น คำเรียกลับหลังจึงทำหน้าที่อีกอย่างที่นอกเหนือจากการบ่งบอกความเป็นญาติคือ “อธิบาย” ความสัมพันธ์ของผู้เรียก ผู้ฟัง และผู้ถูกเรียก เช่น น้องของผู้ฟังเรียกพ่อของตนเองว่า 爸bà “พ่อ” เพราะทั้งผู้พูดและผู้ฟังต่างมีความสัมพันธ์เป็นพ่อ-ลูกกับผู้ถูกเรียก แต่เมื่อพูดกับเพื่อน หรือกับผู้อื่นที่ไม่มีความสัมพันธ์เป็นญาติกับผู้ถูกเรียก อาจเรียกผู้ถูกเรียกว่า 父亲fùqīn บิดา 爸爸bàbɑ พ่อ 我爸爸wǒbàbɑ พ่อของฉัน 你爹nǐdiē พ่อเธอ ก็ได้
4.1.2 รูปแบบของคำเรียกญาติต่อหน้าและคำเรียกญาติลับหลังมีบางส่วนแตกต่างกัน คำเรียกญาติต่อหน้าบางครั้งไม่ใช้คำเรียกญาติเรียกขานกัน เช่น ญาติที่อายุน้อยกว่า จะไม่เรียกว่า儿子 érzi女儿 nǚér 侄子 zhízi甥子shēnɡzǐ 孙子sūnzi การเรียกญาติที่อายุน้อยกว่าเหล่านี้ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อเป็นคำเรียกขานหลัก ญาติที่มีความสัมพันธ์โดยการแต่งงานเมื่อเรียกขานต่อหน้าจะไม่ใช้คำเรียกที่แสดงถึงความสัมพันธ์เป็นญาติ เช่นไม่เรียกว่า 岳父yuèfu “พ่อตา” 岳母yuèmǔ “แม่ยาย” 儿媳 érxí “ลูกสะใภ้” 女婿nǚxu “ลูกเขย” แต่จะใช้วิธีเรียกแบบคล้อยตาม ตามสามีหรือภรรยาตนเองเมื่อเรียกญาติที่อายุมากกว่า และเรียกชื่อสำหรับญาติที่อายุน้อยกว่า
แต่คำเรียกลับหลังต่างกัน เพราะว่าคำเรียกลับหลังทำหน้าที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างญาติ ดังนั้นหากเรียกกันด้วยชื่อ หรือเรียกตามสามีหรือภรรยาของตนจะไม่สามารถระบุความเป็นญาติได้ จุดนี้เองเป็นข้อกำหนดที่ทำให้คำเรียกญาติแบบต่อหน้าและคำเรียกญาติแบบลับหลังมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าเมื่อผู้พูดเรียกบุคคลที่สามที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ผู้ฟังที่อยู่ในเหตุการณ์อาจไม่รู้จักชื่อของบุคคลที่สาม และไม่รู้ว่ามีความสัมพันธ์เป็นญาติอย่างไร จึงจำเป็นต้องเรียกบุคคลที่สามด้วยคำเรียกลับหลังที่ระบุถึงความสัมพันธ์เป็นญาติอย่างชัดเจน
4.2 คำเรียกญาติแบบแสดงความเคารพกับคำเรียกญาติแบบถ่อมตัว
ภาษาจีนมีการแบ่งคำเรียกญาติที่แสดงระดับความเคารพและความสุภาพ 3 แบบ คือ คำเรียกญาติปกติ( 一般称谓yì bān chēnɡ wèi) คำเรียกญาติแบบเคารพ (尊称zūn chēnɡ)คำเรียกญาติแบบถ่อมตัว (谦称qiān chēnɡ)
4.2.1 คำเรียกญาติปกติ เป็นคำเรียกญาติที่ไม่มีการแสดงอารมณ์ความรู้สึก หรือแฝงความหมายอื่นใดนอกเหนือไปจากความสัมพันธ์เป็นญาติ เช่น 爸爸bàbɑ 妈妈māmɑ 哥哥 ɡēɡe姐姐jiějie 弟弟dìdi เป็นต้น
4.2.2 คำเรียกญาติแบบเคารพ เป็นคำเรียกญาติที่แสดงความเคารพผู้ฟัง และผู้ถูกเรียก เช่น 令亲 lìnɡqīn令尊 lìnɡzūn令母 lìnɡmǔ 令兄 lìnɡxiōnɡ ส่วนประกอบที่แสดงให้เห็นว่าเป็นคำประเภทคำเรียกญาติแสดงความเคารพในภาษาจีน มีดังนี้
令lìnɡ: ใช้เรียกญาติของผู้ฟังที่อายุเท่ากันหรือมากกว่า เช่น 令亲lìnɡqīn令尊lìnɡ zūn令严lìnɡyán令翁lìnɡwēnɡ “พ่อของท่าน” 令妻 lìnɡqī 令室lìnɡ shì令春lìnɡchūn令正 lìnɡzhènɡ “ภรรยาของท่าน” 令兄lìnɡxiōnɡ “พี่ชายของท่าน” 令弟lìnɡdì“น้องชายของท่าน” 令子lìnɡzǐ “ลูกชายของท่าน” 令堂lìnɡtánɡ “แม่ของท่าน” 令祖母lìnɡzúmǔ “ย่าของท่าน” 令曾祖母lìnɡzēnɡzúmǔ “ย่าทวดของท่าน” 令叔lìnɡshū “อาของท่าน” เป็นต้น
尊 zūn : ใช้เรียกญาติของผู้ฟังที่มีอายุมากกว่า แต่ก็สามารถใช้เรียกญาติของผู้ฟังผู้ที่มีอายุเท่ากันได้ ความถี่การใช้น้อยกว่า เช่น “令” lìnɡ เช่น 尊兄 zūnxiōnɡ “พี่ชาย” 尊姊 zūnzǐ “พี่สาว” 尊慈 zūncí “แม่” 尊翁 zūnwēnɡ 尊父 zūnfù “พ่อ” 尊夫 zūnfū “สามี” 尊伯 zūnbó “ลุง” 尊婶 zūnshěn “ป้า” 尊丈 zūnzhànɡ “พ่อตา” เป็นต้น
贵 ɡuì : ใช้เรียกญาติของผู้ฟังหรือผู้ถูกเรียกที่อายุเท่ากันหรือน้อยกว่า เช่น 贵子ɡuìzǐ “ลูก” 贵子女 ɡuìzínǚ “ลูกชายลูกสาว” 贵兄 ɡuìxiōnɡ “พี่ชาย” เป็นต้น
贤 xián : ใช้เรียกผู้ฟังหรือผู้ถูกเรียกที่อายุเท่ากันหรือน้อยกว่า คนที่อายุน้อยกว่าเรียกคนที่อายุมากกว่าจะไม่ใช้รูปแบบเคารพนี้ เช่น 贤弟xiándì “น้องชาย” 贤妹 xiánmèi “น้องสาว” 贤妻 xiánqī “ภรรยา” 贤婿 xiánxù “ลูกเขย” 贤甥 xiánshēnɡ “หลาน” ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว เป็นต้น
高 ɡāo : คำเรียกที่แสดงความเคารพทั่วไป เช่น 高堂 ɡāotánɡ 高亲 ɡāo qīn “พ่อแม่” 高堂母ɡāotánɡmǔ 高堂 老母 ɡāotánɡlǎomǔ “แม่” เป็นต้น
仁rén : คำเรียกที่แสดงความเคารพทั่วไป เช่น 仁兄rénxiōnɡ “พี่ชาย” 仁弟 rén dì “น้องชาย” เป็นต้น
严yán : คำเติมหน้าใช้เรียกเฉพาะ “พ่อ” เพื่อแสดงความเคารพ
เช่น 严父yán fù 严君yánjūn严闱yánwéi严亲yánqīn “พ่อ”
慈 cí : คำเติมหน้าใช้เรียกเฉพาะ “แม่” เพื่อแสดงความเคารพ เช่น 慈母címǔ 慈闱 cíwéi 慈亲 cíqīn 慈颜 cíyán “แม่” เป็นต้น
世 shì : คำเรียกที่แสดงความเคารพทั่วไป เช่น 世兄shìxiōnɡ “พี่ชาย” 世伯shìbó “ท่านลุง” 世叔 shìshū “ท่านอา” 世侄 shìzhí “หลาน” เป็นต้น
4.2.3 คำเรียกญาติแบบถ่อมตัว เป็นคำเรียกญาติของตนเองเพื่อแสดงความถ่อมตัว ในกรณีที่ผู้พูดอาจมีสถานภาพต่ำกว่าผู้ฟัง ใช้คำเรียกประเภทนี้เพื่อแสดงความถ่อมตัว ในขณะเดียวกันก็แสดงความเคารพผู้ฟังไปในคราวเดียวกัน คำเรียกญาติแบบถ่อมตัวนี้จะมีส่วนประกอบที่แสดงถึงความถ่อมตัวเติมหน้าคำเรียกญาติปกติ ดังนี้
家jiā :ใช้เติมหน้าคำเรียกญาติของตนเอง ใช้กับการเรียกญาติที่เป็นรุ่นที่สูงกว่าตนหรืออายุมากกว่า เช่น 家父jiāfù 家严 jiāyán 家君jiājūn “พ่อของข้าพเจ้า” 家母jiāmǔ 家慈 jiācí “แม่ของข้าพเจ้า” 家兄jiāxiōnɡ “พี่ชายของข้าพเจ้า” 家姐 jiājiě “พี่สาวของข้าพเจ้า” 家嫂jiāsǎo “พี่สะใภ้ของข้าพเจ้า” 家伯父jiābófù “ลุงของข้าพเจ้า” 家伯母 jiābómǔ “ป้าของข้าพเจ้า” 家外祖父 “ตาของข้าพเจ้า” เป็นต้น
舍 shě : ใช้เติมหน้าคำเรียกญาติของตนเอง ใช้กับการเรียกญาติที่เป็นรุ่นที่ต่ำกว่าตนหรืออายุน้อยกว่า เช่น 舍弟shědì “น้องชาย” 舍妹shěmèi “น้องสาว” 舍甥shě shēnɡ “หลาน” (ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว) 舍甥女 shěshēnɡnǚ “หลานสาว” 舍孙媳 shěsūnxí “หลานเขย” (ของปู่ย่าตายาย) เป็นต้น
小 xiǎo : ใช้เติมหน้าคำเรียกญาติที่หมายถึงตนเอง เพื่อแสดงความถ่อมตัว เช่น 小弟 xiǎodì “น้องชาย” 小妹 xiǎomèi “น้องสาว” 小子 xiǎozǐ “ลูกชาย” 小侄xiǎo zhí “หลาน” 小女 xiǎonǚ “ลูกสาว” เป็นต้น
愚 yú : ใช้เติมหน้าคำเรียกญาติของตนเอง ใช้กับการเรียกญาติที่เป็นรุ่นที่เท่ากันกับตนขึ้นไป แสดงความถ่อมตัวเปรียบว่าเป็นญาติที่โง่เขลาของตน เช่น 愚兄yúxiōnɡ “พี่ชายผู้โง่เขลาของข้าน้อย” 愚姊 yúzǐ “พี่สาวผู้โง่เขลาของข้าน้อย” 愚夫 yúfū “สามีผู้โง่เขลาของข้าน้อย” 愚妻 yúqī “ภรรยาผู้โง่เขลาของข้าน้อย” เป็นต้น
5. หน้าที่ของคำเรียกญาติ
คำเรียกญาติในภาษาจีน แฝงความหมายดังนี้
5.1 แฝงความหมายในเรื่องการแบ่งรุ่นของญาติ ระบบเครือญาติในภาษาจีนใช้การสืบสายเลือดเป็นหลัก จากนั้นแบ่งรุ่นสูงกว่า ต่ำกว่าต่างๆกันไปเป็นลำดับขั้นเป็นชั้นๆ ซึ่งหมายถึงการแบ่งญาติเป็นรุ่นๆ เช่น 祖父 zǔfù 父亲 fùqīn 伯伯 bóbo 叔叔 shūshu เป็นคำเรียกญาติรุ่นสูงกว่า 哥 ɡē 姐 jiě 弟 dì 妹 mèi เป็นคำเรียกญาติรุ่นเดียวกัน 子 zǐ 孙 sūn เป็นคำเรียกญาติรุ่นที่ต่ำกว่า
5.2 แฝงความหมายในการแบ่งสายสกุล คำเรียกญาติในภาษาจีนมีการสืบสกุลสายตรง และสายสกุลข้างเคียง แบ่งเป็น สกุลสายตรง (นามสกุลเดียวกัน) และสายข้างเคียง(ต่างนามสกุล) เช่น ในรุ่นเดียวกันกับตัวเรา ลูกของลุงและอา (ชาย) เพศชายหญิงที่อายุมากกว่าตน และลูกของลุงและอา (ชาย) เพศชายหญิงที่อายุน้อยกว่าตนถือเป็นสายสกุลสายตรง นามสกุลเดียวกัน เรียกว่า “堂” tánɡ ส่วนลูกของป้าและอา (หญิง) หรือลูกของลุง ป้า น้าฝ่ายแม่ เพศชายหญิงที่อายุมากกว่าตน และลูกของป้าและอา (หญิง) หรือลูกของลุง ป้า น้าฝ่ายแม่ เพศชายหญิงที่อายุน้อยกว่าตนถือเป็นสายสกุลข้างเคียง ต่างนามสกุลกัน เรียกว่า “表”
5.3 มีความสมดุลทางความหมายและคำ การสร้างคำโดยใช้วิธีคู่สมดุลมีอยู่ในทุกๆภาษา คำเรียกญาติในภาษาจีนก็ใช้วิธีนี้เช่นเดียวกัน ปัจจัยกำหนดการสร้างคำคู่สมดุลเกิดจากข้อกำหนดของปัจจัยในการแบ่งญาติ ในภาษาจีนมี คำคู่โดยใช้เพศเป็นเกณฑ์ เช่น 爷爷 – 奶奶yéye - nǎinɑi “ปู่ - ย่า” , 哥哥 - 姐姐ɡēɡe - jiějie “พี่ชาย – พี่สาว” , 弟弟–妹妹dìdi-mèimei “น้องชาย – น้องสาว” หรือใช้อายุเป็นเกณฑ์ เช่น 伯伯–叔叔 bóbo-shūshu “ลุง – อา” ,哥哥 – 弟弟 ɡēɡe - dìdi “พี่ชาย – น้องชาย”, 姐姐 – 妹妹 “พี่สาว – น้องสาว” หรือใช้การแต่งงานเป็นเกณฑ์เช่น 伯父–伯母bófù-bómǔ “ลุง – ป้าสะใภ้” , 姨夫-姨母yífù - yímǔ “น้าเขย – น้า” ใช้ปัจจัยหลายอย่างเป็นเกณฑ์ เช่น 爸爸-妈妈bàbɑ-māmɑ “พ่อ - แม่”, 丈夫 - 妻子zhànɡfu-qīzi “สามี - ภรรยา” นอกจากนี้ในระดับภาษาที่ต่างกันก็มีคู่คำที่ใช้ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเป็นเกณฑ์เช่นกัน เช่น爸爸 - 妈妈bàbɑ-māmɑ “พ่อ - แม่” ใช้ในภาษาปกติทั่วไป 父亲- 母亲fùqīn - mǔqīn “บิดา - มารดา” ใช้เป็นภาษาสุภาพและภาษาหนังสือ 爹地 – 妈咪diēdì - māmī “มามี้” ใช้ในภาษาพูด จะเห็นว่าคำทั้งสามคู่นี้ล้วนบ่งชี้ถึงบุคคลเดียวกัน แต่ระดับภาษาแตกต่างกัน
5.4 แฝงความหมายในเรื่องการแบ่งเพศ ภาษาแทบทุกภาษาใช้เพศเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินความแตกต่างทางสังคม ดังนั้นย่อมส่งผลโดยตรงต่อการแบ่งคำเรียกญาติ ในภาษาจีนเพศถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ดังนั้นคำเรียกญาติในภาษาจีนจึงแฝงความหมายในเรื่องความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจน เช่น 爷爷 yéye “ปู่” 外公 wàiɡōnɡ “ตา” 爸爸 bàbɑ “พ่อ” 伯伯bóbo “ลุง” 叔叔 shūshu “อา”哥哥ɡēɡe “พี่ชาย” เป็นคำเรียกญาติเพศชาย ส่วน 奶奶 nǎinɑi “ย่า” 外婆 wàipó “ยาย” 姨 yí “น้า” 姐姐 jiějie “พี่สาว” 妹妹 mèimei “น้องสาว” เป็นคำเรียกญาติเพศหญิงเป็นต้น
5.5 แฝงความหมายในเรื่องญาติโดยสายเลือดกับญาติโดยการแต่งงาน ในภาษาจีนคำเรียกญาติที่แสดงให้เห็นว่าเป็นญาติโดยการแต่งงาน แบ่งแยกจากญาติโดยสายเลือดอย่างชัดเจน โดยใช้วิธีแฝงความหมายไว้ในคำนั้นๆ มิใช่การใช้คำใดคำหนึ่งเพื่อการบ่งชี้ เช่น 嫂子sǎozi “พี่สะใภ้” 儿媳妇 érxífù “ลูกสะใภ้” 孙媳妇 sūnxífù “หลานสะใภ้” 公公ɡōnɡɡonɡ “พ่อปู่” 婆婆 pópo “แม่ย่า” แต่บางคำก็มีคำเรียกญาติปรากฏบ้าง เช่น 岳父 yuèfu “พ่อตา” 岳母 yuèmǔ “แม่ยาย”
5.6 ใช้เรียกคนที่ไม่มีความสัมพันธ์เป็นญาติได้ คำเรียกญาติสามารถใช้เรียกคนที่ไม่มีความสัมพันธ์เป็นญาติได้ ในภาษาจีนเมื่อจะใช้เรียกคนที่ไม่มีความสัมพันธ์เป็นญาติส่วนใหญ่จะแปรรูปก่อน เพื่อแยกว่าเป็นญาติโดยสายเลือดหรือผู้ที่ไม่ใช่ญาติ เช่น 爷爷yéye เป็นคำเรียกญาติสายเลือดใช้เรียก “พ่อของพ่อ” เมื่อจะใช้เรียกผู้ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับ “ปู่” ของตนจะแปรรูปเป็น 大爷 dàyé คำว่า 叔叔 shūshu เป็นคำเรียกญาติสายเลือดใช้เรียก “น้องชายของพ่อ”เมื่อจะใช้เรียกผู้ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับ “อา” ของตนจะแปรรูปเป็น 大叔dàshū เป็นต้น
นอกจากนี้ เหตุที่คนในสมัยโบราณเชื่อถือ เคารพในธรรมชาติ สิ่งเหนือธรรมชาติ เบื้องบนมีเทพเวหา ใต้หล้ามีเทพพิภพ พลังแห่งจักรวาล อาทิตย์ จันทร์ ดารา วายุ วิรุณ ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์เคารพบูชา คำเรียกสิ่งเหล่านี้ล้วนแฝง หรือเติมคำเรียกญาติไว้ด้วย เพื่อแสดงความสนิทสนม เคารพฉันญาติ และหวังที่จะได้รับความเมตตาจากสิ่งเหล่านั้นเหมือนกับที่ได้รับจากญาติผู้ใหญ่ของตน เช่น 土地爷 tǔdìyé “ท่านปู่ปฐพี” 土地奶奶 tǔdìnǎinɑi “ท่านย่าปฐพี” 太阳公公 tàiyánɡ ɡōnɡɡonɡ “ท่านตาอาทิตย์” 月母 yuèmǔ “ท่านแม่จันทร์” 风伯 fēnɡbó “ท่านลุงลม” 雪公 xuěɡōnɡ “ท่านตาหิมะ” 老爷 lǎoye คำนี้ใช้คำเรียกญาติที่หมายถึง “คุณปู่” มาใช้เรียกพระอาทิตย์โดยตรง
6. หลักเกณฑ์ใช้คำเรียกญาติในภาษาจีน
คำเรียกญาติในภาษาจีน สามารถสรุปหลักเกณฑ์การใช้ได้ดังนี้
6.1 การใช้อายุเป็นเกณฑ์ การเรียกญาติรุ่นสูงกว่าตนหรือญาติที่มีอายุมากกว่าตนใช้คำเรียกญาติเรียกขานกัน นอกจากนี้ญาติรุ่นเดียวกันที่อายุมากกว่าตนสามารถเรียกขานกันด้วยรูปแบบ [ชื่อ + คำเรียกญาติ] แต่เมื่อเรียกผู้ที่อายุน้อยกว่าตนจะเรียกขานกันด้วย “ชื่อ” ผู้ที่อายุน้อยกว่าจะไม่เรียกญาติอายุมากกว่าด้วยชื่อ ตัวอย่างเช่น ลูกเรียกพ่อแม่ด้วยคำเรียกญาติ ว่า “พ่อ แม่” ขณะที่พ่อแม่เรียกลูกด้วย “ชื่อ” ไม่เรียกด้วยคำเรียกญาติ
6.2 การใช้ลำดับเป็นเกณฑ์ หากญาติระดับเดียวกันมีมากกว่า1 คน จะใช้ คำว่า “ใหญ่” เรียกญาติที่อายุมากที่สุด จากนั้นใช้ตัวเลข สอง สาม เรียกญาติที่อายุลำดับรองลงมา จนถึงอายุน้อยที่สุดจะเรียกว่า “เล็ก” เช่น มีน้องของพ่อหลายคน น้องของพ่อคนที่ 1 เรียกว่า 大叔 dàshū “อาใหญ่” รองลงมาเรียกว่า 二叔 èrshū “อาที่สอง” 三叔 sānshū “อาที่สาม” 四叔 sìshū “อาที่สี่” 小叔 xiǎo shū “อาเล็ก”
6.3 การเรียกญาติแบบคล้อยตาม คำเรียกญาติแต่งงานต่อหน้าไม่เรียกกันด้วยคำเรียกญาติแต่งงาน แต่จะเรียกตามสามีหรือภรรยาของตัวเอง เช่น เรียกพ่อแม่ของสามีว่า 爸 bà “พ่อ” 妈 mā “แม่” ไม่เรียกว่า 公公 ɡōnɡɡonɡ “พ่อปู่” 婆婆 pópó “แม่ย่า” เรียกพี่ชายของภรรยาว่า 哥 ɡē “พี่ชาย” ไม่เรียกว่า 大舅子 dàjiùzǐ “พี่เขย”
6.4. การใช้คำบ่งชี้ญาติสายตระกูล คำเรียกญาติมีการเติมส่วนประกอบบ่งชี้ความเป็นสายตระกูล จำพวก 堂tánɡ, 表biǎo เมื่อเรียกญาติเหล่านี้ต่อหน้าจะใช้คำเรียกญาติตามปกติแบบไม่เติมคำบ่งชี้เหล่านี้ เช่น เรียกพี่ที่เป็นลูกชายของลุงว่า 哥ɡē “พี่ชาย” ไม่เรียกว่า 堂哥tánɡɡē เรียกพี่ที่เป็นลูกสาวของพี่สาวแม่ว่า 姐 jiě “พี่สาว” ไม่เรียกว่า 表姐 biáojiě
6.5 การเรียกญาติด้วยชื่อ ญาติที่รุ่นเดียวกัน หรือแม้กระทั่งต่างรุ่นกันที่มีอายุเท่าเทียมกันจะเรียกกันด้วยชื่อ มากกว่าเรียกด้วยคำเรียกญาติ
6.6 คำเรียกระหว่างสามีภรรยา ความสัมพันธ์ของสามีภรรยามีความเท่าเทียมกัน ไม่ได้รับอิทธิพลจากความแตกต่างของรุ่น อายุ ในการกำหนดการใช้คำเรียกขาน ดังนั้นคำเรียกขานระหว่างสามีภรรยาจึงมีความพิเศษ มีอิสระ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยที่สามารถเรียกกันด้วยชื่อ แซ่ หรือคำแสดงความเป็นสามีภรรยา เช่น 老头子 lǎotóuzi老公 lǎoɡōnɡ เรียก “สามี” 老婆子 lǎopozǐ 老婆lǎopo เรียก “ภรรยา” หรือสามารถเรียกตามชื่อลูกได้ เช่น [ชื่อลูก + 他爸tābà], [ชื่อลูก + 他妈tāmā]หรือสามารถเรียกกันเพื่อแสดงความเคารพแบบ [老+姓lǎo + xìnɡ] อย่างไรก็ตามยังมีการเรียกแบบล้อเลียนหรือเหยียดหยาม คำประเภทนี้เกิดจากวัฒนธรรมการกดขี่สตรีเพศ เช่น 屋里的wūlǐde “คนในห้อง” 做饭的zuòfànde “คนทำกับข้าว” เป็นต้น
6.7 คำเรียกแบบไม่สมดุล ญาติอายุมากกว่าเรียกตัวเองด้วยคำเรียกญาติ เรียกญาติอายุน้อยกว่าด้วยชื่อ แต่ญาติอายุน้อยกว่าจะเรียกตัวเองด้วยชื่อหรือสรรพนาม แต่เรียกญาติอายุมากกว่าด้วยคำเรียกญาติ
การอภิปรายผล
งานวิจัยนี้กล่าวถึงประเด็นสำคัญของคำเรียกญาติและการใช้คำเรียกญาติในภาษาจีน พบว่า ระบบคำเรียกญาติภาษาจีนแบ่งเป็นกลุ่มโครงสร้างหลัก ๆ 5 กลุ่มคือ 1.คำเรียกกลุ่มญาติสายตรง(นามสกุลเดียวกัน) 2.คำเรียกกลุ่มญาติข้างเคียง (นามสกุลเดียวกัน) 3. คำเรียกกลุ่มญาตินอกสายตระกูล (ต่างนามสกุล) 4. คำเรียกกลุ่มญาติโดยการแต่งงาน (ต่างนามสกุล) และ 5. คำเรียกระหว่างสามีภรรยา
คำเรียกญาติในภาษาจีนจัดเป็นคำเรียกญาติแบบ “อธิบายญาติ” ระบบเครือญาติและคำเรียกญาติเป็นตัวกำหนด “สายตระกูล” ที่ชัดเจน ซึ่งแบ่งเป็น สายพ่อ สายแม่ และสายสามีภรรยาเป็นตัวตั้ง ภายในสายตระกูลใช้เพศชายหญิง อายุมากน้อย และรุ่นของญาติเป็นข้อกำหนดในการแบ่งญาติอีกชั้นหนึ่ง จีนถือความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกเป็นสายใยสำคัญในการสืบสายตระกูล มีผลต่อกฎหมายการสืบสกุลและการสืบสมบัติของวงศ์ตระกูล ซึ่งก็คือสายพ่อเพศชายนั่นเอง
ลักษณะการประกอบคำเรียกญาติ ใช้เกณฑ์การแบ่งเพศชายหญิง อายุมากน้อย การสืบสายเลือด และการสืบสายตระกูล นอกจากนี้สมรรถนะของคำศัพท์ก็มีการแบ่งที่ชัดเจนมากเช่นกัน กล่าวคือ มีการแบ่งคำที่ใช้เป็นคำเรียกบุรุษที่สองและคำเรียกบุรุษที่สามแยกออกจากกันอีกด้วย
ลักษณะทางความหมายของคำเรียกญาติ คำเรียกญาติในภาษาจีนใช้ได้หลายลักษณะ เช่น คำเรียกต่อหน้า (บุรุษที่หนึ่ง) คำเรียกลับหลัง (บุรุษที่สอง) คำเรียกแบบถ่อมตัว(บุรุษที่หนึ่ง) คำเรียกแบบเคารพ (บุรุษที่สอง) ในภาษาจีนคำที่หมายถึงญาติคนเดียวกันแต่ใช้ในลักษณะต่างกัน คำที่ใช้จะแตกต่างกันด้วย มีสองลักษณะคือ เป็นคำที่มีความหมายเบ็ดเสร็จในตัวเองและเป็นคำที่เติมส่วนประกอบบ่งชี้
สมรรถนะของคำเรียกญาติ คำเรียกญาติ 1 คำ มีสมรรถนะมากกว่าเป็นคำเรียกเท่านั้น หากแต่แฝงความหมายล้ำลึก มากมาย กล่าวคือ คำเรียกญาติปกติ เป็นคำเรียกญาติที่ไม่มีการแสดงอารมณ์ความรู้สึก หรือแฝงความหมายอื่นใดนอกเหนือไปจากความสัมพันธ์เป็นญาติ คำเรียกญาติแบบเคารพ เป็นคำเรียกญาติที่แสดงความเคารพผู้ฟัง และผู้ถูกเรียก คำเรียกญาติแบบถ่อมตัว เป็นคำเรียกญาติของตนเองเพื่อแสดงความถ่อมตัว ในกรณีที่ผู้พูดอาจมีสถานภาพต่ำกว่าผู้ฟัง ใช้คำเรียกประเภทนี้เพื่อแสดงความถ่อมตัว ในขณะเดียวกันก็แสดงความเคารพผู้ฟังไปในคราวเดียวกัน
บทสรุป
สามารถสรุปกฎการใช้คำเรียกญาติในภาษาจีนได้ดังแผนภูมิต่อไปนี้
แผนภูมิ 6 แสดงหลักเกณฑ์การเลือกใช้คำเรียกญาติในภาษาจีน
เชิงอรรถ
ภาษาจีนแบ่งสำเนียงภาษาเป็น 8 สำเนียงได้แก่ 1. สำเนียงภาษาผู่ทงฮว่า (官话) 2.สำเนียงภาษาอู๋ (吴语) 3.สำเนียงภาษาเค่อเจีย (客家话) 4.สำเนียงภาษาหมิ่น (闽语) 5.สำเนียงภาษาเยว่ (粤语) 6. สำเนียงภาษาเซียง (湘语) 7.สำเนียงภาษากั้น (赣语)
2 คำเรียกต่อหน้า(面称)คือ คำที่ใช้เป็นบุรุษที่หนึ่ง คำเรียกลับหลัง(背称)คือคำที่ใช้เป็นบุรุษที่สาม คำเรียกแบบเคารพจะเป็นคำที่ใช้เรียกเป็นบุรุษที่สอง ส่วนคำเรียกแบบถ่อมตัวจะเป็นคำที่ใช้เรียกเป็นบุรุษที่หนึ่ง และบุรุษที่สาม
3 คำเรียกหักเห หมายถึง การเรียกบุรุษที่สามโดยผ่านบุคคลอื่น เพื่อบ่งชี้ไปถึงบุคคลที่ต้องการเรียก
4 ภาพแผนผังเครือญาติคัดลอกจาก 马宏基,长庆丰《称谓语》清华出版社,1998年。第83页。
5 การเรียกแบบคล้อยตาม คือ การเรียกบุรุษที่สามตามที่บุรุษที่สองเรียก หรือเรียกตามที่คนที่เราพูดด้วยเรียกบุรุษที่สาม
6 การใช้คำบ่งชี้ญาติแต่งงาน ตัวอย่างในภาษาไทยมีคำว่า เขย สะใภ้
7 รูปแบบคำเรียกญาติ ในบทความนี้หมายถึงคำเรียกญาติที่ประกอบกับคำเรียกขานประเภทอื่น เช่น ชื่อ คำบ่งชี้ คำเรียกอาชีพ ยศ ตำแหน่ง จะใช้เครื่องหมาย [ ]
8 คัดลอกจาก 马宏基、长庆丰《称谓语》清华出版社,1998年。第83页。
เอกสารอ้างอิง
ชนากานต์ ฉ่างทองคำ. (2551)การศึกษาคำเรียกญาติภาษาจีนแคะ(ฮากกา)ในอำเภอท่ามะกา จังหวัด
กาญจนบุรี ในเชิงสังคมและวัฒนธรรม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ญาดาคุณัชญ์ หวังเสต.(2545)การใช้คำเรียกขานของคนจีนแต้จิ๋วในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลป
ศาสตรมหาบัณฑิต.นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภมาส เอ่งฉ้วน. (2526) คำเรียกญาติภาษาจีนฮกเกี้ยนในภาคใต้ของประเทศไทยและเกาะปีนัง.
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.) กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดา หัสสภาณุ. (2545) วิเคราะห์รูปแบบของคำเรียกขานในภาษาจีนแต้จิ๋ว. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหา
บัณฑิต (อ.ม.)กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
蔡希芹《中国称谓辞典》北京语言学院出版, 1994年,北京。
冯汉骥《中国亲属称谓指南》上海文艺出版社,1989年,上海。
胡士云《汉语亲属称谓研究》博士学位论文,暨南大学,2001年。
吉常宏《汉语称谓大词典》河北教育出版社,2000年,石家庄。
姜春霞《汉英称谓语对比与翻译》 广西大学硕士学位论文,2002年
[韩]金炫兄《交际称谓语和委婉语》台海出版社,2002年,北京。
李红霞《称呼语的跨文化对比研究》硕士毕业论文,西北师范大学硕士学位论文,2002年。
罗湘英《亲属称谓的词缀化现象》,《汉语学习》2002年,第4期。
马宏基,长庆丰《称谓语》清华出版社,1998年。
潘之欣,张迈曾《汉语亲属语扩展用法调查》,《语言教学与研究》, 2001年第2期。
潘 攀《论亲属称谓语泛化》,《语言文字应用》,1998年 第2期。
吴茂萍《唐代称谓词研究》四川大学硕士学位论文,2002年,四川。
เนื้อหาน้อยไปไหมคะ เยอๆก็จะดีมากเพราะคำศัทพ์บางคำที่ต้องการจะศึกษา"ไม่มี"
ตอบลบบทความส่วนนี้เป็นบทความวิชาการครับ ซึ่งวารสารแต่ละเล่มก็จะกำหนดให้เขียนไม่เกิน 15 - 20 หน้า
ตอบลบวารสารแต่ละเล่มก็จะพิมพืบทความได้ประมาณ 10 เรื่องก็หนามากแล้ว
หากสนใจเรื่องนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ตามรายการนี้นะครับ
Metcha Sodsongkrit (2004) . A comparative of Addressing terms in Chinese and Thai. Ph.D Dissertation, Nanjing Normal University, China.
Metcha Sodsongkrit(2005) “On the kinship addressing terms of related words in Chinese and Thai languages”Journal of Chinese Study ,vol.1 ,Faculty of Humanities,Kasetsart University ,Thailand.
Metcha Sodsongkrit(2006) Acomparison of modern Thai and Chinese address terms usage, Chinese Journal of Humanities&Social Sciences. Vol.4. China.
เมชฌ สอดส่องกฤษ (2550) “การใช้คำเรียกขานในภาษาไทยและภาษาจีนในสมัยปัจจุบัน : การศึกษาเปรียบเทียบ” วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี,ปีที่ 3 ฉบับที่ 2.
เมชฌ สอดส่องกฤษ (2551) “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ภาษา” วารสารวิชาการรมยสาร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1.
เมชฌ สอดส่องกฤษ (2553) วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทยและภาษาจีน : ระบบคำเรียกขาน.โครงการร่วมแต่งตำราการสอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ Faculty of Southeast Asia and South Asia Language and culture Yunnan Nationalities University, China. อุบลราชธานี :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
และมีพจนานุกรมคำเรียกขานของจีนนะครับ ชื่อว่า 称谓语大词典 หนา 1000 กว่าหน้า ขนาด เอ 4 อันนี้มีคำศัพท์จุใจแน่นอนครับ