เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน ในเบื้องต้นนี้
ผู้เขียนตกลงว่าจะเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า “หยางหวง” (หรือเรียกชื่อเต็มว่า
ชาวเหมาหนาน-หยางหวง)
ตามที่นักวิชาการและทางการจีนเรียก
เรียกชื่อภาษาว่า “เท็น” (/tʰən˧˥/ แปลว่า “พื้นถิ่น”)
ตามที่นักวิชาการทั่วไปเรียก และเมื่อเอ่ยชื่อชาวเหมาหนาน
จะหมายถึงชนกลุ่มน้อยชาวเหมาหนานในมณฑลกว่างซี
ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ
56 กลุ่ม โดยมีชาวฮั่นเป็นชนกลุ่มใหญ่ จึงเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่น 55
กลุ่มว่าเป็น “ชนชาติส่วนน้อย” (少数民族Shǎoshù mínzú)
จากข้อมูลในเว็บไซด์ของคณะกรรมการกิจการชนชาติส่วนน้อยแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (中华人民共和国国家民族事务委员会
Zhōnghuá rénmín gònghéguó guójiā mínzú shìwù wěiyuánhuì, 2007) ระบุว่าเกณฑ์การจัดแบ่งชนกลุ่มน้อยทั้ง 55 กลุ่มนี้
มีหลักเกณฑ์สองประการ คือ (1) มีอัตลักษณ์
พิจารณาจากรายละเอียดปลีกย่อยหลายอย่าง เช่น ชื่อเรียกของกลุ่มชาติพันธุ์
การมีจุดกำเนิดที่ชัดเจนร่วมกัน มีประวัติความเป็นมาร่วมกัน
การตั้งถิ่นฐานและชุมชนที่อยู่อาศัยร่วมกันเป็นต้น (2) มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
พิจารณาจากรายละเอียดปลีกย่อยหลายอย่าง เช่น ภาษาที่ใช้การดำรงชีวิตประจำวัน
ศาสนาความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ข้าวของเครื่องใช้ สถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้าง
และการแต่งกายเป็นต้น
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวทำให้มีกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล
หยางหวง
(佯僙
Yáng huáng)
เป็นชื่อที่ทางการจีนเรียกทั้งชื่อภาษาและชื่อกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองชาวเหมียว
ชาวปู้อี จังหวัดเฉียนหนาน มณฑลกุ้ยโจว (贵州省黔南布依族苗族自治州 Guìzhōu shěng
Qiánnán Bùyī zú Miáo zú Zìzhìzhōu) ตั้งถิ่นฐานในอำเภอฮุ่ยสุ่ย (惠水县 Huìshuǐ xiàn)
อำเภอผิงถาง(平塘县
Píngtáng xiàn)
และเขตรอยต่อของพื้นที่ภูเขาและแม่น้ำในอำเภอตู๋ซาน (独山县 Dúshān xiàn)
กลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่ได้รับการรับรองสถานภาพให้เป็นชนกลุ่มน้อยที่เป็นเอกเทศเหมือนชนกลุ่มน้อยอื่น
แต่จัดให้เป็น “ชาวหยางหวง ชนชาติเหมาหนาน” (毛南族佯僙人 Máonán zú
Yánghuáng rén)
กระบวนการการรับรองชาวหยางหวงให้เป็นชนกลุ่มน้อย
เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1951 โดยคณะอนุกรรมการชาติพันธุ์ส่วนกลางได้ลงพื้นที่สำรวจชุมชนบ้านข่าผู
มณฑลกุ้ยโจว (贵州卡蒲乡Guìzhōu Kǎpú xiāng)
และรับปากด้วยวาจาเห็นชอบให้ชาวหยางหวงกรอกประวัติชาติพันธุ์ว่าเป็น “ชาวหยางหวง”
(佯僙人 Yánghuáng rén)
แต่เนื่องจากชื่อนี้ยังไม่ได้รับการรับรองในบัญชีรายชื่อชนกลุ่มน้อย ชื่อ
“ชาวหยางหวง”
จึงไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาล ต่อมาปี 1956
มีการก่อตั้งเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อยเผ่าปู้อี เผ่าเหมียวแห่งเฉียนหนาน
ชาวหยางหวงที่มีจำนวนน้อยมากและล้วนพูดภาษาปู้อีได้
จึงถูกเหมารวมว่าเป็นสมาชิกของชนกลุ่มน้อยเผ่าปู้อี (布依族 Bùyī zú)
ซึ่งขัดแย้งกับความรู้สึกของทั้งชาวปู้อีและชาวหยางหวงเป็นอย่างมาก
เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างรู้สึกว่าไม่ใช่ชาติพันธุ์เดียวกัน ปี 1979
ตัวแทนชาวหยางหวงรวมตัวกันเขียนจดหมายถึงคณะกรรมการชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ ขอให้รับรองสถานภาพของตนเองว่าเป็นชาวหยางหวง
ปี 1981 รัฐบาลเขตเฉียนหนานลงพื้นที่สำรวจชุมชนชาวหยางหวงสามอำเภอ
ได้แก่ ผิงถาง ตู๋ซาน ฮุ่ยสุ่ย และมีมติว่า ชาวหยางหวงมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่สมควรได้รับการรับรองให้มีสถานภาพเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง แต่เมื่อรายงานไปยังรัฐบาลมณฑลกุ้ยโจว
กลับไม่ได้รับการอนุมัติ
ต่อมามีการประชุมหารือร่วมกันโดยตัวแทนชาวหยางหวงกับคณะกรรมการของทางการหลายครั้ง
ได้แก่ ปี 1988 คณะกรรมการชาติพันธุ์และตัวแทนชาว หยางหวงแห่งอำเภอผิงถางจำนวน 35
คน ปี 1989 การประชุมอีกครั้งร่วมกับตัวแทนชาวหยางหวง 19 คน
ล้วนลงความเห็นตามนโยบายของรัฐบาลที่ว่า “ชื่อมาจากเจ้าของ”
จึงได้เสนอคำร้องต่อทางการอีกครั้ง โดยครั้งนี้ให้เหตุผลว่า “ภาษาของชาวหยางหวง(มณฑลกุ้ยโจว)
ใกล้ชิดกับภาษาของชาวเหมาหนาน(มณฑลกว่างซี) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
สาขาภาษาจ้วง-ต้ง แขนงภาษาต้ง-สุ่ย เหมือนกัน จากการเปรียบเทียบวงคำศัพท์จำนวน 870
คำ พบว่ามีคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย 58.97%
ขอให้รับรองชาวหยางหวงเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง” (สรุปมาจาก
Xuéshù
Táng,
2014, 2)
แต่ข้อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของทางการเห็นว่า ชาวหยางหวงยังไม่มีอัตลักษณ์เพียงพอที่จะได้รับการรับรองให้เป็น
“ชนชาติส่วนน้อย” ที่เป็นเอกเทศจากกลุ่มอื่น
รัฐบาลมณฑลกุ้ยโจวจึงมีประกาศอย่างเป็นทางการในเอกสารราชการ ลงวันที่ 27 เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1990 (อ้างใน Liú
Shìbīn, 2009, 33-36) ว่ากลุ่มชาติพันธุ์หยางหวงที่อาศัยอยู่ในสามอำเภอ คือ ตู๋ซาน (独山Dú shān) ฮุ่ยสุ่ย (惠水Huìshuǐ)
และผิงถาง (平塘Píngtáng) เป็นสมาชิกของชนกลุ่มน้อย
“เหมาหนาน” และให้เรียกชื่อว่า “ชนกลุ่มน้อยเหมาหนาน-ชาวหยางหวง”
โดยมีจำนวนผู้พูดภาษานี้ในแต่ละอำเภอ คือ 455 คน 1,914 คน และ 29,475 คน ตามลำดับ รวมจำนวนผู้พูดภาษาเท็นตามประกาศอย่างเป็นทางการของรัฐบาลมณฑลกุ้ยโจว
ณ ปี 1990 รวมทั้งสิ้น 31,844 คน (รวมตัวกันอยู่ที่อำเภอผิงถางมากที่สุด)
นับเป็นชนกลุ่มน้อยชาวเหมาหนานเพียงกลุ่มเดียวที่แยกออกจากกลุ่มใหญ่ในมณฑลกว่างซี
แต่นั่นเป็นเพียงการจัดระเบียบการปกครองชนกลุ่มน้อยของทางราชการเท่านั้น
ในความเป็นจริงแล้วหากพิจารณาในทางภาษาศาสตร์จะเห็นว่า แม้ว่าภาษาเหมาหนานกับภาษาเท็นจะใกล้ชิดกันในระดับแขนงภาษาต้ง-สุ่ยเหมือนกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบรายละเอียดกันแล้วกลับมีความแตกต่างกันมาก
อาจจะมากเสียยิ่งกว่าความแตกต่างของภาษาจ้วง (แขนงจ้วง-ไต) กับภาษาเหมาหนาน
(แขนงต้ง-สุ่ย) เสียอีก
จึงมีความจำเป็นที่นักภาษาศาสตร์ต้องแยกภาษาเท็นออกมาจากภาษาเหมาหนานเป็นคนละภาษา
ในช่วงปี 1965 เป็นต้นมา ด้วยเหตุที่ภาษาเท็นมีจำนวนผู้พูดน้อยมากเพียงสองสามหมู่บ้านเท่านั้น
ซึ่งอยู่ในภาวะใกล้จะสูญหาย จึงมีนักภาษาศาสตร์เขียนรายงานภาษานี้ออกมาให้ได้ทราบ
เช่น หลี่ฟางกุ้ย (Li Fanggui, 1966) เรียกชื่อภาษานี้ว่า T’en ส่วนโอดิกูรต์ (Haudricourt,
A.G., 1967) เรียกว่า Then สุริยา รัตนกุล (2548,
126-130) เรียกว่า เท็น
ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนบอกว่าเรียกตามชื่อที่ชาวหยางหวงเรียกตัวเอง
ในขณะที่เอกสารภาษาจีน
เช่น โป๋เหวินเจ๋อ (Bó Wénzé,1997, 2) สือกวางโหยว (Shí Guāng yóu, 2008, 1) หลิวซื่อปิน
(Liú Shìbīn, 2009,
34)
เป็นต้น รายงานว่าชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า /ai˩ raːu˩/[1] แปลว่า “หมู่คนพวกเรา” หรือ
“คนพื้นถิ่น” ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวหยางหวงทั้งหมดยอมรับร่วมกัน
เฉพาะชาวหยางหวงที่อำเภอฮุ่ยสุ่ย เรียกตัวเองว่า /ai˩ tʰən˧˥/ แปลว่า “คนถิ่น”[2] ชาวอี๋เรียกว่า /ja lai/[3] ชาวปู้อีเรียกว่า /pu roŋ/ หรือ /pu kam/[4]
เมื่อนักภาษาศาสตร์ทราบจากหลี่ฟางกุ้ยว่า
ภาษาเท็นมีจำนวนผู้พูดเหลือน้อยแล้วและอยู่ในภาวะกำลังจะสูญจึงเริ่มสนใจเข้าไปศึกษา
ทำให้วงการวิชาการภาษาศาสตร์ของจีนเริ่มสนใจศึกษาภาษาเท็นกันขึ้น
และมีรายงานให้กับวงวิชาการของจีนเพิ่มขึ้นอีกจำนวนนับสิบเรื่อง ที่สำคัญ เช่น
งานวิจัยของโป๋เหวินเจ๋อ (Bó
Wénzé,
1997) เรื่อง “การศึกษาวิจัยภาษาหยางหวง” และหนังสือของ
สือกวางโหยว (Shí Guāngyóu, 2008)
ซึ่งเป็นชาวหยางหวงแท้ๆ ได้เขียนหนังสือบอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่าตนเอง เรื่อง “วัฒนธรรมประเพณีชาวเหมาหนานชุมชนข่าผูและผิงถาง
มณฑลกุ้ยโจว” เป็นต้น
[1] จะเห็นว่าชื่อเรียกของชาวหยางหวงก็มีคำว่า “อ้าย”
นำหน้าเหมือนกันกับชาวเหมาหนาน
รวมไปถึงกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไทในประเทศจีนกลุ่มอื่นๆ
ก็มักจะมีชื่อเรียกที่นำหน้าด้วยคำว่า “อ้าย” ทั้งนั้น ที่น่าสนใจคือมีคำว่า / ai˩ raːu˩ /
ซึ่งพ้องกับคำเรียกชื่ออาณาจักร “อ้ายลาว”
เป็นประเด็นที่นักประวัติศาสตร์น่าจะได้ศึกษาต่อไป
[2] คำว่า / tʰən˧˥/
เป็นคำภาษาเท็น นอกจากจะแปลว่า “ถิ่น” แล้ว
ยังเป็นชื่อที่ชาวหยางหวงเรียกฝายน้ำขนาดใหญ่ในอำเภอฮุ่ยสุ่ย คือ ฝายลิ่วถง (六铜坝Liù tóng bà)
ชาวหยางหวงที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านต่างๆของอำเภอฮุ่ยสุ่ยล้วนแล้วแต่อพยพมาจากพื้นที่รอบฝายน้ำที่เรียกชื่อเป็นภาษาเท็นว่า
/ɣau4 thən2/ ดังนั้น
จึงเรียกตัวเองว่า “คนเท็น”
[3] ผู้เขียนขอบันทึกไว้เป็นข้อสังเกตเพื่อเป็นหัวข้อในการศึกษาต่อไปว่า
ชาวหยางหวงที่ชาวอี๋เรียกว่า /ja lai/ นี้
จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มชนที่พูดภาษา “จาราย”
ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยกลุ่มใหญ่ในภาคกลางของเวียดนามหรือไม่
เนื่องจากภาษาจารายจัดอยู่คนละตระกูลกับภาษาหยางหวง คือ
จัดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย แต่เมื่อพิจารณาต่อไปอีกถึงชื่อเรียก “อันหนาน
หรือ อันนัม” ซึ่งเป็นชื่อเรียกดินแดนภาคกลางของเวียดนาม
ก็เป็นชื่อเดียวกันกับที่ชาวเหมาหนาน-หยางหวงเรียกตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม
ประเด็นนี้ก็อาจจะเป็นเพียงความบังเอิญก็ได้
เนื่องจากไม่มีเหตุผลทางภาษาศาสตร์หรือประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่าสองชื่อนี้มีความเกี่ยวข้องกัน
[4] เป็นชื่อเดียวกันกับที่ชาวต้งเรียกตัวเองว่า /kam1/ นอกจากนี้ชื่อเรียก “กัม”
ยังมีความน่าสนใจต่อไปอีก เนื่องจากมีหลายภาษาในตระกูลไทเรียกชื่ออย่างภาษาไทกลุ่ม
ป.และภาษาไทกลุ่ม พ.ว่า ว่า “กำ (กัม)” หรือ “คำ” เช่น กำเมือง
(คำเมือง,ภาษาไทยถิ่นเหนือ) กำตี่
(คำตี่,ภาษาตระกูลไทในอินเดียและพม่า) กำยัง (คำยัง, ภาษาตระกูลไทในอินเดีย)
เป็นต้น
ภาษาเท็น
เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยที่พูดภาษาแขนงต้ง-สุ่ย
มีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากการเปรียบเทียบภาษาเท็นกับภาษาในสาขาจ้วง-ต้งแล้วพบลักษณะเด่นที่น่าสังเกตว่า
ภาษาเท็นมีระบบเสียงที่ครอบคลุมระบบเสียงของทุกภาษาในบรรดาตระกูลไท เหตุนี้เองทำให้นักภาษาศาสตร์สนใจภาษาเท็น
ในฐานะที่ใช้เป็นต้นแบบสืบสร้างระบบเสียงของแขนงภาษาต้ง-ไถ
รวมถึงแขนงอื่นในตระกูลภาษาไทด้วย ดังข้อสรุปต่อไปนี้
แขนงภาษา
»
|
จ้วง-ไต
|
ต้ง-สุ่ย
|
หลี
|
|||||
ลักษณะเด่นที่พบในภาษาเท็น
|
จ้วง
|
ไต
|
ปู้อี
|
ต้ง
|
มู่
หล่าว
|
เหมาหนาน
|
สุ่ย
|
หลี
|
1.มีเสียงนาสิกครบ
4 เสียง /m,n,ŋ,ȵ/
|
/
|
x
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
2.การเปรียบต่างของเสียงนาสิกปกติกับเสียงนาสิกที่มีเสียงกักนำ/m, n, ŋ, ȵ - ˀm, ˀn, ˀŋ, ˀȵ
/(หรือเปรียบต่างกัน)
|
x
|
x
|
x
|
x
|
/
|
/
|
/
|
x
|
3.การเปรียบต่างของเสียงอรรธสระปกติกับเสียงอรรธสระที่มีเสียงกักนำ
/w,j
- ˀw, ˀj /
|
x
|
x
|
/
|
x
|
x
|
/
|
/
|
x
|
4.มีการเปรียบต่างของพยัญชนะกลุ่ม/ป/
กับ กลุ่ม /พ/
|
x
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
5.มีการออกเสียงรอง /-w(v),-j/
|
/
|
x
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
6.มีการเปรียบต่างของพยัญชนะเสียงก้อง-ไม่ก้อง
|
/
|
/
|
/
|
x
|
x
|
/
|
/
|
/
|
7.มีเสียงควบกล้ำ
/r/
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
x
|
8.มีหางสระนาสิก
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
9.มีหางสระเสียงกัก
/p,t,k/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
10.มีการเปรียบต่างของสระสั้น-ยาว
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
/
|
ลักษณะทางระบบเสียงข้างต้น
ประกอบกับปริมาณคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย
และระบบไวยากรณ์ดังที่ได้อธิบายมาข้างต้นชี้ให้เห็นว่า
ภาษาเท็นใกล้ชิดกับภาษาแขนงต้ง-สุ่ย
โดยเฉพาะมีความใกล้ชิดกับภาษาเหมาหนานและภาษาสุ่ยมากที่สุด รองลงมาเป็นแขนงจ้วง-ไต
และแขนงหลีน้อยที่สุด จึงสมควรจัดภาษาเท็นไว้ในแขนงภาษาต้ง-สุ่ย
นอกจากนี้ยังเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทางการจีนจัดชาวหวงให้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เหมาหนานด้วย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.la.ubu.ac.th/2010/project/tathai2_1.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น