ปัจจุบันรัฐบาลจีนไม่ได้จัดให้ชาวชุนมีสถานภาพเป็นชนกลุ่มน้อย
หากแต่จัดไว้เป็นชาวฮั่น ชาวชุนเองก็ยอมรับว่าตนเองเป็นชาวฮั่น แต่ภาษาที่ชาวชุนพูดกลับไม่ใช่ภาษาถิ่นใดๆของภาษาจีน
หากแต่เป็นภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาตระกูลไท ชาวชุนเรียกตนเองว่า /Na:u1 fn1/ แปลเรียงตามคำคือ “คน-บ้าน” หมายถึง “คนพื้นบ้าน” ส่วนชนกลุ่มน้อยชาวหลี
[1] ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่ของมณฑลห่ายหนานเรียกชาวชุนว่า
/moi/ นอกจากนี้ชื่อที่คนส่วนใหญ่ใช้เรียกชาวชุนอย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือชื่อ
/k2 loN2/ แปลว่า “พี่หลวง” [2] แต่ไม่ได้หมายความว่าชาวชุนเป็น “พี่ใหญ่”
ของชนเผ่าอื่นๆแต่อย่างใด การเรียกด้วยคำว่า “หลวง”
นี้มีที่มาจากการที่ชาวชุนมักเรียกญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพยกย่องโดยมีคำว่า
“หลวง” เป็นคำประกอบเสมอ ชนกลุ่มอื่นจึงนำคำว่า /loN2/
มาเป็นชื่อเรียกขานชาวชุนเท่านั้น
อักษรจีนที่ใช้บันทึกชื่อชาวชุนที่แทนเสียงคำว่า /k2 loN2/ คือ 哥隆Gēlóng หรือ 仡隆 Gēlóng บางครั้งชาวจีนทั่วไปก็รู้จักชาวชุนในชื่อ “เกอหลง” ตามอักษรจีนนี้
ผลจากอักษรที่เลือกมาเป็นชื่อชาวชุนซึ่งเป็นอักษรตัวเดียวกันกับชื่อชนกลุ่มน้อยชาวเกอลาว
仡佬Gēlǎo ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันในฐานะภาษาในระดับสาขาเดียวกันแต่อยู่คนละแขนงกัน
เมื่อมีชื่อพ้องกัน ทำให้นักวิจัยเกิดความคิดเชื่อมโยงไปถึงชนกลุ่มน้อยชาวเกอลาว ทำให้มีการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางภาษา
ชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนาความเชื่อ ชีวิตวามเป็นอยู่ เพื่อหาหลักฐานความเชื่อมโยงทางชาติพันธุ์
และพบว่าทั้งสองกลุ่มมีส่วนที่เหมือนกันและต่างกัน ส่วนที่เหมือนกันอาจเป็นลักษณะร่วมของพวกที่พูดภาษาตระกูลไททั้งหมด
ส่วนที่ต่างกันอาจเป็นเพราะแยกกันอยู่เป็นเวลานาน
ต่างฝ่ายต่างพัฒนาเอกลักษณ์เฉพาะตน
ขณะเดียวกันก็ได้รับอิทธิพลจากชนกลุ่มอื่นที่อยู่แวดล้อม ทำให้ข้อมูลทางวัฒนธรรมก็ยังไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานที่ยืนยันตัวตนที่แท้จริงได้
ชาวชุนเป็นใครมาจากไหน
หรือเป็นชนติดแผ่นดินไม่มีบันทึกใดกล่าวถึงชนกลุ่มนี้
ชาวชุนเองบ้างก็บอกว่าตนเองอพยพมาจากฝูเจี้ยน บ้างก็ว่าอพยพมาจากเจียงซี
แต่ก็หามีหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ไม่ หรือหากเป็นชาวฮั่นตามการจัดการปกครองและอย่างที่ตนเองบอกก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ชาวฮั่นจะละทิ้งภาษาของตนไปใช้ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาถิ่นฮั่น
ขณะที่หากเปรียบเทียบกับชาวฮั่นพื้นถิ่นในบริเวณเดียวกันหลายถิ่นที่อพยพมาหลายร้อยปีอย่างถิ่นแคะ(客家Kèjiā) หมิ่นหนาน (闽南Mǐnnán) เยว่ (粤语Yuèyǔ) ม่ายฮว่า (迈话Màihuà) ตานโจว
(儋州Dānzhōu) ก็ยังคงรักษาภาษาฮั่นมาได้จนถึงปัจจุบัน
แม้แต่ชาวฮั่นพื้นถิ่นที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงพันคนอย่างชาวฮั่นที่บ้านฟู่หม่า (富马村Fùmǎ cūn) ก็ยังไม่ละทิ้งภาษาฮั่น
[1] เมื่อช่วงปี 1953-1980 นักภาษาศาสตร์จีนศึกษาภาษาหลี
ซึ่งเป็นผลงานการศึกษาในโครงการ “ชุมนุมปริทรรศน์ภาษาชนกลุ่มน้อยของสาธารณรัฐประชาชนจีน”
จัดภาษาหลีให้เป็นแขนงภาษาหลี ภายใต้สาขาภาษาจ้วง-ต้ง
และจัดภาษาชุนไว้เป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาหลี ชื่อถิ่นเหม่ยฝู มีจำนวนประชากรคิดเป็นเพียง 4% ของชาวหลีทั้งหมด ต่อมาช่วงปี 1983 เป็นต้นมา ได้มีโครงการต่อเนื่องจากชุดที่แล้ว
ชื่อโครงการ “สรรนิพนธ์รวมชุดการศึกษาวิจัยภาษาพบใหม่ในประเทศจีน”
นักภาษาศาสตร์จีนได้ศึกษาภาษาชุน และจัดภาษาชุนแยกออกมาจากภาษาหลี
โดยจัดให้เป็นภาษาหนึ่งคู่กับภาษาหลี
อยู่ภายใต้แขนงภาษาหลี
และเมื่อมีประเด็นเรื่องการพิสูจน์ดีเอ็นเอเกิดขึ้น
บางกระแสได้จัดภาษาชุนไว้ในแขนงเกอ-ยังร่วมกับภาษาเกอลาว
ถ้าเทียบกับภาษาไทยแล้ว ภาษาชุนดูจะห่างไกลจากภาษาไทยมาก
และไม่มีประเด็นอะไรที่
น่าสนใจศึกษาเปรียบเทียบกับภาษาไทยเท่าใดนัก
นอกเสียจากคำศัพท์ร่วมเชื้อสาย คำยืมภาษาจีนเก่า
ซึ่งก็พบได้เหมือนๆกันในภาษาตระกูลไทที่อยู่ในประเทศจีนทุกๆภาษา
ขึ้นอยู่กับว่าภาษาใดใกล้ชิดเป็นแขนงเดียวกันกับภาษาไทยมากก็จะมีปริมาณคำศัพท์ที่สัมพันธ์กันมาก
ส่วนภาษาที่เป็นแขนงที่อยู่ห่างออกไปจากภาษาไทยก็มีปริมาณคำศัพท์ร่วมเชื้อสายน้อยเพียงเท่านั้น
มูลเหตุทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าชาวชุนสืบเชื้อสายมาจากชาวเกอลาว ภาษาชุนจึงมีความสำคัญในการศึกษาภาษาเกอลาวเก่า
แต่ก็ไม่ได้มีคำศัพท์ภาษาเกอลาวหลงเหลืออยู่ในภาษาชุนมากนัก
เนื่องจากสาเหตุที่ชาวเกอลาวเก่าในช่วงที่อพยพหลบหนีนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนภาษาไปใช้ภาษาของชนกลุ่มน้อยข้างเคียงหรือภาษาจีนเพื่อความอยู่รอด
ทำให้ภาษาดั้งเดิมสูญหายไป หรือละทิ้งไปเสีย คำศัพท์ที่สอดคล้องกันก็เป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายในภาษาตระกูลไทที่มีในทุกๆภาษา
จากที่ได้อธิบายมา
สามารถสรุปลักษณะสำคัญของภาษาชุนได้ดังนี้
1.ระบบเสียง
- ภาษาชุนยังคงรักษาระบบเสียง //b, /d/ ซึ่งเป็นเสียงดั้งเดิมของภาษาตระกูลไทไว้ได้
แต่สูญเสียพยัญชนะต้นเสียงกัก /p, t/ ไป (เหลือเป็นเพียงพยัญชนะท้าย) โดยพยัญชนะ สองเสียงนี้กลายเป็นเสียง /b,d/ หรือ //b, /d / ไม่ก็ /ph,f/
-
ไม่มีพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก
และพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดานแข็ง ทำให้ภาษา
ชุนแตกต่างไปจากภาษาอื่นเกือบทุกภาษา
-
สระภาษาชุนสอดคล้องกับภาษาสาขาจ้วง-ต้ง คือ
มีสระเดี่ยว สระประสมกับสระ สระ
ประสมกับหางสระที่เป็นอรรธสระ
สระประสมกับพยัญชนะนาสิก และสระประสมกับพยัญชนะเสียงกัก
-
วรรณยุกต์ในคำพยางค์เปิดและวรรณยุกต์ในคำพยางค์ปิดไม่มีผลทำให้เกิดการเพิ่ม
จำนวนเสียงวรรณยุกต์
ซึ่งแตกต่างไปจากภาษาอื่นที่วรรณยุกต์ในคำทั้งสองแบบจะมีเสียงแตกต่างกันสองชุด
2. ระบบคำ
-
คำศัพท์ในภาษาชุนมีคำโดดพยางค์เดียว
คำโดดสองพยางค์และหลายพยางค์
-
การสร้างคำวิเคราะห์โดยใช้หลักทางไวยากรณ์ภาษาจีน พบว่าภาษาชุนมีวิธีการสร้างคำไม่ต่างไปจากภาษาอื่น
-
คำในภาษาชุนประกอบไปด้วยคำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ คำศัพท์ร่วมเชื้อสายสาขาจ้วง-ต้ง
คำยืมภาษาจีนเก่า (หรือที่เรียกว่าคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน) และคำยืมภาษาจีนใหม่
การสร้างคำประสมเลือกคำศัพท์มาจากวงคำศัพท์ดังกล่าวนี้
โดยมีหลักการสร้างคำที่ใช้ทั้งแบบภาษาตระกูลไท และแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาจีน
3.ระบบไวยากรณ์
ดังที่ได้อธิบายมาข้างต้นจะเห็นว่า
ภาษาชุนมีแนวโน้มใช้ไวยากรณ์แบบภาษาจีนมากกว่า
เนื่องจากว่าได้แยกตัวออกมาจากภาษาตระกูลไทเป็นเวลานาน
ประกอบกับการที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนเก่าก่อนที่จะอพยพมา
และอิทธิพลของภาษาจีนห่ายหนานเมื่ออพยพมาอยู่บนเกาะห่ายหนานแล้ว
ประกอบกับการพยายามเปลี่ยนภาษาของตนเพื่อหลบหนีการติดตามการปราบล้างของราชสำนักจีน
ทำให้ภาษาชุนพยายามที่จะละทิ้งภาษาและไวยากรณ์ดั้งเดิมของตน
แต่อย่างไรก็ตามคงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะละทิ้งภาษาแม่ได้อย่างหมดสิ้น
เราจึงยังพบระบบไวยากรณ์แบบที่สอดคล้องกับภาษาตระกูลไทหลงเหลืออยู่บ้าง
ดังจะเห็นว่าไวยากรณ์แบบเดียวกันแต่สามารถพูดได้ทั้งสองอย่าง คือ ทั้งแบบภาษาจีน
และแบบภาษาตระกูลไท เพียงแต่ว่าชาวชุนเลือกที่จะใช้แบบภาษาจีนมากกว่าเท่านั้น
นอกจากนี้
ด้วยเหตุที่คำยืมภาษาจีนเก่าในภาษาชุนมีเป็นจำนวนมาก
ตรวจสอบในรายการคำศัพท์ภาษาชุนพบว่ามีคำศัพท์ที่จัดว่าเป็นภาษาจีนเก่าอยู่มากถึง
28% ในขณะที่ภาษาไทยมีคำศัพท์ที่เรียกว่า
“คำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทย-จีน” อยู่ คำศัพท์กลุ่มนี้ก็คือคำศัพท์ภาษาจีนเก่าเช่นเดียวกันกับภาษาชุน
เราจึงสามารถใช้ภาษาชุนศึกษาคำศัพท์ภาษาจีนเก่าที่มีอยู่ในภาษาไทยได้เช่นเดียวกัน
จากที่ได้ตรวจสอบรายการคำศัพท์ภาษาชุน
ผู้เขียนพอจะมองเห็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ
คำศัพท์ภาษาไทโบราณที่ใช้อยู่ในภาษาชุน
คำเหล่านี้แฝงอยู่ในคำประสมหรือคำซ้อนภาษาไทย แต่อาจจะไม่แสดงความหมายหรือถ่ายโอนความหมายไปไว้ในอีกคำหนึ่ง
เมื่อสืบสาวต่อไปอีกก็จะพบว่า คำบางคำสอดคล้องกับภาษาจีน คำศัพท์เหล่านี้จึงน่าสนใจศึกษาให้ลึกซึ้งต่อไป
จะขอยกดังตัวอย่างไว้ส่งท้ายบทพรรณนาภาษาชุนต่อไปนี้
ภาษาชุน
|
ความหมาย
ในภาษาชุน
|
ภาษาไทย
|
ภาษาจีน
|
ความหมายภาษาจีน
|
dan5
|
ตัน
|
อุดตัน
|
-
|
|
diu1
|
ฉลาด
|
ฉลาดเฉลียว
|
-
|
|
fµn3
|
ตื้น
|
ตื้นเขิน
|
-
|
|
loN1
|
ใหญ่
|
ใหญ่หลวง
|
隆lóng
|
ยิ่งใหญ่
|
mi2
|
แป้ง
|
แป้งหมี่
|
米mǐ
|
ข้าวสาร
|
Nai3
|
ร้องไห้
|
ร้องไห้
|
-
|
|
si«N1
|
เมือง
|
เชียงใหม่
|
城chéng
|
เมือง
|
tθEk3
|
ฉีก
|
ฉีกขาด
|
-
|
|
khµt2
|
ขาด
|
ฉีกขาด
|
-
|
|
vuat3
|
ต้อน (ไล่ฝูงสัตว์)
|
กวาดต้อน
|
-
|
|
zam5
|
กลืน
|
กล้ำกลืน
|
-
|
|
vuat5
|
ตี ต่อย
|
ฟาดฟัน
|
-
|
|
Nai1
|
รัก
|
รักใคร่
|
爱ài
|
รัก
|
vi3
|
เล็ก
|
เล็กน้อย
|
-
|
|
tsi«N3
|
ตรง
|
เที่ยงตรง
|
正zhèng
|
ตรง
|
hit2
|
ใกล้
|
ใกล้ชิด
|
-
|
|
kEp5
|
แคบ
|
คับแคบ
|
-
|
|
u«n3
|
มั่นคง
|
มั่นคง
|
稳wěn
|
มั่นคง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น