วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การพรรณนาภาษาสุ่ยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. (ส่วนที่1)

เมชฌ สอดสองกฤษ.(2558) การพรรณนาภาษาสุ่ยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 16 ฉบับ ที่1 (เดือนมกราคม – มิถุนายน 2559)

(ส่วนที่ 1)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


การพรรณนาภาษาสุ่ยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
A Description of Shui Language in China
เมชฌ สอดส่องกฤษ[1]
Metcha Sodsongkrit

บทคัดย่อ
          สุ่ย เป็นชื่อภาษาของชนกลุ่มน้อยชาวสุ่ยในประเทศจีน นักวิชาการจีนจัดภาษาสุ่ยไว้ในตระกูลภาษาใหญ่จีน-ทิเบต สาขาจ้วง-ต้ง แขนงต้ง-สุ่ย บทความนี้นำเสนอข้อมูลทางภาษาศาสตร์ของชนกลุ่มน้อยชาวสุ่ยในประเทศจีน  โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากผลงานของนักวิชาการจีนเป็นหลัก มีประเด็นสำคัญสองเรื่อง คือ 1.ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์สุ่ย และ 2.การพรรณนาทางภาษาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย (1) การจัดแบ่งตระกูลภาษา (2) ระบบเสียง (3) ระบบคำ (4) ระบบไวยากรณ์ (5) ภาษาถิ่น และ (6) ตัวอักษรภาษาสุ่ย  จากการสำรวจพบว่าวงวิชาการภาษาศาสตร์มีคำพรรณนาภาษาสุ่ยไว้ให้ได้อ่านบ้างแล้ว ที่ผ่านมานักวิชาการไทยมีโอกาสศึกษาข้อมูลภาษาสุ่ยจากผลงานของนักภาษาศาสตร์ตะวันตก และจากนักภาษาศาสตร์ไทยบางส่วน แต่ยังขาดแคลนข้อมูลจากนักภาษาศาสตร์จีน บทความนี้จึงจะได้นำเสนอมุมมองจากนักภาษาศาสตร์จีนเพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการชาวไทยได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
คำสำคัญ : สุ่ย กัม-สุ่ย ต้ง-สุ่ย ภาษาตระกูลไท ภาษาไท-กะได    

Abstract
Shui is a language spoken by Shui ethnic group in China. Chinese scholars have classified Shui language into Sino – Tibetan language family, Zhuang-Dong branch, Dong-Shui group. This article is a description of linguistic style of Shui language. The data is mainly based on Chinese scholars’ researches. The article presents two main issues: 1. Shui ethnic information and 2. Shui Language description which consists of (1) Language category (2) Phonology (3) word system (4) Grammar (5) Dialects and (6) Shui Characters. From the investigation, it is revealed that there are some of language descriptions from the foreign and Chinese linguistics. The previous Thai researchers mostly study some of Shui language information from foreign and some of Thai scholars’ researches, but scarcely from Chinese scholars. This article will provide information about Shui language from Chinese scholars for the Thai scholars who conduct further research related to the topic in the future.      
Keywords: Shui (Sui), Kam-Shui(Sui),  Dong-Sui , Tai language family,Tai –Kadai       



บทนำ : ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์สุ่ย
ข้อตกลงเบื้องต้น คือ เนื่องจากเนื้อหาในบทความนี้เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารภาษาจีน ชื่อเรียกของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ ผู้เขียนจะเรียกว่า “สุ่ย” ตามที่นักวิชาการจีนเรียกว่า “水族Shuǐzú” ส่วนการอ้างอิง เช่น สุย Sui จะเรียกตามเอกสารต้นฉบับ   
ชาวสุ่ยเรียกตัวเองว่า “อาย ซุย” ถอดเสียงด้วยสัทอักษรว่า /ai3 sui3/ ภาษาจีนใช้อักษร Shuǐ ออกเสียงว่า “สุ่ย” เป็นชื่อเรียก (อักษรจีนตัวนี้แปลว่าน้ำ นักวิชาการจีนเลือกมาใช้เป็นอักษรแทนเสียง ไม่ได้มีความหมายถึงชื่อกลุ่มชาติพันธุ์แต่อย่างใด) คำว่า /ai3/ หมายความว่า “อ้าย หรือ ไอ้”[2] ใช้เป็นคำนำหน้าเรียกคน ส่วนคำว่า “สุ่ย” เป็นชื่อเฉพาะ ดังนั้นชื่อที่ชาวสุ่ยเรียกตัวเองก็แปลว่า “คนสุ่ย”   
“คนสุ่ย” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยของจีน มีถิ่นฐานอยู่ที่เขตปกครองตนเองชาวสุ่ย มณฑลกุ้ยโจว และมีกระจัดกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆของมณฑลกุ้ยโจว เช่น ลี่โป (荔波 Lìbō) ตู๋ซาน(独山 Dúshān)  ตูหยวิน (都匀 Dūyún) หรงเจียง(榕江 Rónɡjiānɡ) ฉงเจียง (从江 Cónɡjiānɡ) และมีส่วนน้อยที่กระจัดกระจายอยู่ในตำบลต่างๆของมณฑลกว่างซี เช่น หรงอาน(融安 Rónɡ’ān) หนานตาน(南丹 Nándān)  หวนเจียง(环江 Huánjiānɡ) เหอฉือ(河池 Héchí) เป็นต้น  ในหนังสือชื่อ “ปริทรรศน์ภาษาสุ่ย” จางจวินหรูได้เข้าไปศึกษาภาษาสุ่ย เมื่อปี 1978 รายงานว่าชาวสุ่ยมีประชากร 230,000 คน (จางจวินหรู:1980) ต่อมาการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 รัฐบาลจีนรายงานว่ามีชนกลุ่มน้อยเผ่าสุ่ยเพิ่มมากขึ้นเป็น 406,902 คน     
เนื่องจากศูนย์กลางที่มีชาวสุ่ยอาศัยรวมตัวกันมีจำนวนประชากรหนาแน่นและมีจำนวนมาก  ภาษาสุ่ยจึงนับว่าเป็นภาษากลางที่ชาวสุ่ยใช้ติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน  รวมไปถึงในสถานที่ราชการและการติดต่อกับชนเผ่าอื่นที่อาศัยอยู่ภายในแวดล้อมของชาวสุ่ย ก็ใช้ภาษาสุ่ยเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารกันเช่นเดียวกัน  ชาวสุ่ยจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะวัยกลางคนขึ้นไปซึ่งไม่ได้เรียนในโรงเรียนตามระบบของรัฐบาลจีนก็จะไม่สามารถพูดภาษาจีนได้  ส่วนชาวสุ่ยที่อาศัยอยู่ไกลออกไปหรือกระจัดกระจายออกไปจากศูนย์กลาง ก็จะใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ใหญ่กว่าหรือไม่ก็ใช้ภาษาฮั่นเป็นภาษากลาง ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม ลูกหลานชาวสุ่ยมีโอกาสเข้าโรงเรียนภาคบังคับของรัฐบาล ชาวสุ่ยในปัจจุบันรู้ภาษาจีนและใช้อักษรเป็นภาษากลางติดต่อกับชนเผ่าอื่น แต่สถานการณ์ทางภาษาในศูนย์กลางชุมชนชาวสุ่ยก็ยังคงใช้ภาษาสุ่ยติดต่อสื่อสารระหว่างกันมาตลอด เพียงแต่ว่าจะมีคำศัพท์ภาษาจีนใหม่ยืมไปใช้เป็นจำนวนมาก   
          
การพรรณนาภาษาสุ่ยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
   ในลำดับต่อไป จะได้อธิบายรายละเอียดของภาษาสุ่ย ได้แก่ ผลงานการศึกษาภาษาสุ่ยและ
การจัดแบ่งตระกูลภาษา ระบบเสียง ระบบคำ ระบบไวยากรณ์ ภาษาถิ่นและตัวเขียน ดังต่อไปนี้
1. ผลงานการศึกษาภาษาสุ่ยและการจัดแบ่งตระกูลภาษา   
เอกสารภาษาจีนที่พรรณนาภาษาสุ่ยเล่มสำคัญคือ《水语简志Shuǐ yǔ jiǎn zhìปริทรรศน์ภาษาสุ่ย[3] ผู้เขียนชื่อจางจวินหรู (Zhang Junru:1980) นักภาษาศาสตร์รู้จักหนังสือเล่มนี้ในชื่อ Sui Yu Jianzhi และรู้จักชื่อผู้เขียนในชื่อ Zhang Junru ตรงกับชื่อภาษาจีนคือ 张均如  Zhāng Jūnrú นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาภาษาสุ่ยของนักวิชาการจีนที่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ที่สำคัญ เช่น ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การพรรณานาภาษาสุ่ย” ของ เหวยเสวียฉุน (韦学纯 Wei Xuechun:2011) รวมถึงบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของจีนและหนังสือก็มีออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น บทความเรื่อง “การศึกษาคำซ้ำเสียงในภาษาสุ่ย” ของเฝิงอิง (试读冯英Feng Ying:2008) บทความเรื่อง การศึกษาเสียงของวรรณยุกต์ภาษาสุ่ยสำเนียงซานต้ง ของวังเฝิงและ     ข่งเจียงผิง (Wang Feng, Kong Jiangping:2001) หนังสือชื่อ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาษาฮั่นกับภาษาสุ่ย ของ เจิงเสี่ยวหยวี (Zeng Xiaoyu:2004) นอกจากนี้ยังมีการทำงานที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ เมื่อปี 2007 มีการจัดทำพจนานุกรมชื่อ “พจนานุกรมมีเสียงภาษาสุ่ยของชนชาติสุ่ย” (水族水语有声词Shuǐzú Shuǐyǔ yǒushēng cídiǎn) ซึ่งเป็นผลงานของชาวสุ่ยอำเภอปกครองตนเองซานตูสองคน ชื่อ พานจงซีและพานเจิ้งโป (潘中西,潘政Pan Zhongxi , Panzhengbo) โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยภาษาและวัฒนธรรมชาติพันธุ์กลุ่มน้อยภาคตะวันตกเฉียงใต้  มหาวิทยาลัยกุ้ยโจว (贵州大学西南少数民族语言文化研究Guìzhōu dàxué xīnán shǎoshù mínzú yǔyán wénhuà yánjiū suǒ ) ร่วมกับ รัฐบาลอำเภอปกครองตนเองชาวสุ่ยซานตู (山都水族自治县Shān dū shuǐzú zìzhìxiàn) เผยแพร่เมื่อปี 2012 ผลงานนี้ได้รวบรวมคำศัพท์ภาษาสุ่ยไว้ 1,600 คำ เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเปิดอ่านบนคอมพิวเตอร์ได้ แต่ละคำมีข้อมูลสัทอักษรสากล คำอ่านภาษาสุ่ยและคำแปลภาษาจีน สามารถใช้เมาส์คลิกให้อ่านออกเสียงภาษาสุ่ยได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอักษรภาษาสุ่ยที่บรรพบุรุษชาวสุ่ยคิดค้นขึ้น  ซึ่งเป็นอักษรภาพคล้ายกับอักษรจีนโบราณที่ชาวสุ่ยใช้มาจนปัจจุบันอีกด้วย  นับว่าเป็นผลงานที่สร้างประโยชน์และอำนวยความสะดวกให้กับนักภาษาศาสตร์อย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของชาวสุ่ยอย่างมาก[4]  เนื้อหาในบทความนี้จะได้สังเคราะห์จากหนังสือ “ปริทรรศน์ภาษาสุ่ย” เป็นหลัก ประกอบกับเอกสารใหม่ต่างๆ ดังที่ได้ชี้แจงไว้นี้
ในส่วนของการจัดแบ่งตระกูลภาษานั้น นักวิชาการจีนจัดภาษาสุ่ยไว้ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาจ้วง-ต้ง  แขนงต้ง-สุ่ย มีภาษาที่ใกล้ชิดคือ ภาษาเหมาหนาน ภาษาต้ง(กัม) และภาษามู่หล่าว ความสำคัญของภาษาสุ่ย คือ เป็นหลักฐานที่มีอยู่จริงในการสืบสร้างหาระบบเสียงภาษาโบราณของภาษากะได ดังที่สุริยา(สุริยา:2548,หน้า134) ได้อธิบายว่า “ในภาษาสุย พยัญชนะทุกตัวสามารถมีการออกเสียงรองตามหลังได้ทั้งนั้น จึงมีผลให้เสียงพยัญชนะต้นในภาษาสุยมีจำนวนมากเป็นพิเศษ ซึ่งนักภาษาศาสตร์เห็นว่า ลักษณะของระบบเสียงของภาษาสุยลักษณะนี้เป็นประโยชน์เอื้ออำนวยต่อการสืบสร้างหาระบบเสียงภาษาโบราณที่เก่ากว่าภาษาตระกูลกัม-สุยขึ้นไป อันได้แก่ภาษากะได (Kadai) ”
การพรรณนาภาษาในบทความนี้ เนื่องจากคำภาษาสุยมีทั้งคำเฉพาะเผ่าพันธุ์ คำร่วมเชื้อสายใน
ตระกูลไท มีบางคำพ้องกับภาษาไทยถิ่นต่างๆ และคำพ้องที่คล้ายกับภาษาจีน ตลอดทั้งบทความนี้หากพบคำประเภทนี้จะได้ทำอรรถาธิบายไว้ โดยใช้รูปแบบดังนี้ ภาษาจีน (จ.= คำจีน พินอิน,ความหมาย) ภาษาจีนโบราณ (จ.โบ.=คำ, ความหมาย) ภาษาไทย(ท.=คำ, ความหมาย)  ภาษาไทยถิ่นอีสาน(อ.=คำ,ความหมาย) ภาษาไทยถิ่นเหนือ (น.=คำ, ความหมาย) ซึ่งในการระบุความหมายของคำนั้น หากมีความหมายต่างกันจะระบุความหมายของภาษาที่นำมาเปรียบเทียบ หากมีความหมายเหมือนกันก็จะไม่ระบุความหมาย   

2.ระบบเสียง
ระบบเสียงภาษาสุ่ยแต่ละท้องถิ่นโดยภาพรวมแล้วคล้ายคลึงกัน  โดยเฉพาะระบบเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นมีระบบเสียงวรรณยุกต์ไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งระดับเสียงสูงต่ำและการหักเหของเสียง ภาษาถิ่นในแต่ละพื้นที่สามารถสื่อสารกันรู้เรื่อง แต่ลักษณะพิเศษของภาษาสุ่ย อยู่ที่ระบบเสียงพยัญชนะที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีจำนวนมาก อันเป็นลักษณะเด่นของภาษาตระกูลกัม-สุ่ย หากเทียบกับภาษาในแขนงเดียวกันจะเห็นว่าภาษาสุ่ยมีเสียงพยัญชนะมากกว่าทุกภาษา กล่าวคือ ภาษาเหมาหนาน 66 เสียง ภาษาต้ง 31 เสียง และภาษามู่หล่าว 67 เสียง ส่วนภาษาสุ่ยพบว่าบางสำเนียงมี 50 เสียง บางสำเนียงก็มีมากถึง 71 เสียง ซึ่งถือว่าเป็นภาษาที่มีระบบเสียงพยัญชนะซับซ้อนและจำนวนมากที่สุดในภาษาแขนงเดียวกัน แต่หากตัดเสียงคำยืมภาษาจีนออกไป 4 เสียง คือ /tsh,tshj,tsw,tshw/ ก็จะเหลือ 67 เสียงใกล้เคียงกับภาษามู่หล่าวและภาษาเหมาหนาน แต่มากกว่าภาษาต้งกว่าครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ยังพบอีกว่าในบรรดาภาษาตระกูลไททั้งหมดที่อยู่ในประเทศจีน เสียงพยัญชนะ /ʁ/ เป็นเสียงที่มีเฉพาะในภาษาสุ่ยเท่านั้น ไม่พบในภาษาอื่น  
ในหนังสือ “ปริทรรศน์ภาษาสุ่ย” (Zhang Junru:1980,8-12) ศึกษาภาษาสุ่ยสำเนียงซานต้ง อำเภอซานตู (山都县山洞话Shān dū xiàn Shāndòng huà) มีข้อมูลการวิเคราะห์ระบบเสียงดังนี้  
2.1       พยัญชนะ  ภาษาสุ่ยมีพยัญชนะ 71 เสียง แบ่งเป็น
(1)    เสียงพยัญชนะเดี่ยว 42 เสียง
(2)    เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดาน ภาษาจีนเรียกว่า 腭化声母È huà shēngmǔ
ได้แก่พยัญชนะที่มีการออกเสียงฐานกรณ์ของพยัญชนะเดิมแล้วเลื่อนไปเพดาน เสียงชนิดนี้คล้ายกับการออกเสียงภาษาไทย พย- สย- พยัญชนะประเภทนี้มี 19 เสียง[5]   
(3)  เสียงพยัญชนะเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก ภาษาจีนเรียกว่า 唇化声母Chún huà
shēngmǔ ได้แก่พยัญชนะที่มีการออกเสียงฐานกรณ์ของพยัญชนะเดิมแล้วเลื่อนไปริมฝีปาก คล้ายกับพยัญชนะควบกล้ำ กว- คว- ในภาษาไทย พยัญชนะประเภทนี้มี 10 เสียง ดังข้อมูลในตารางต่อไปนี้    

พยัญชนะเดี่ยว
p
ph
b
ˀb
m̥
m
ˀm
f
v
ˀw
t
th
d
ˀd
n˳
n
ˀn

l

ts
tsh*





s
z

ȶ
ȶh


ȵ̥
ȵ
ˀȵ
ɕ
j
ˀj
k
kh


 ŋ̥
ŋ
ˀŋ

ɣ
ˀɣ
q
qh






ʁ

Ɂ








h
พยัญชนะเปลี่ยนเป็นเพดาน
pj
phj
bj
ˀbj
m̥j
mj

 fj
vj

tj
thj
dj
ˀdj
n̥j
nj
ˀnj

lj

ts
tshj*





sj


พยัญชนะเปลี่ยนเป็นริฝีปาก
tw

dw
ˀdw






tsw*
tshw*





sw
lw

kw
khw




ˀŋw



คำอธิบายเสียงพยัญชนะ
1.                        เสียงพยัญชนะกักเสียงก้อง / ˀb , ˀd/ แม้จะไม่ค่อยชัดเจนมาก และไม่มีคู่เปรียบต่าง
กับ /b ,d/ แต่ก็ไม่ใช่เสียงก้องบริสุทธิ์ ยังคงมีร่องรอยของเสียง /ˀ/ นำหน้า จึงวิเคราะห์ให้มี / ˀb, ˀd/ แม้จะไม่มี /b ,d/ มาเปรียบต่างก็ตาม
2.                        พยัญชนะเสียดแทรก / ɣ,  ˀɣ,, ʁ / เป็นเสียงปฏิภาคกับเสียงกัก /ɡ, ˀɡ,G/  สามารถ
แทนกันได้อย่างอิสระตามลำดับ  ไม่มีคำที่เปรียบต่างกัน
3.                         เสียงพยัญชนะที่มี * เป็นเสียงของคำยืมจากภาษาจีน  
4.    พบลักษณะเด่นของเสียงในภาษาสุ่ยถิ่นซานต้งอย่างหนึ่งคือ มีเสียงสระนาสิก เช่น
/e͂ ,o͂ ,u͂ /  แต่เสียงเหล่านี้พบในบางคำและเกิดกับคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระเท่านั้น เพื่อไม่เป็นการเพิ่มระบบเสียงสระนาสิก จึงจะวางสัญลักษณ์สระนาสิกนี้ไว้บนพยัญชนะ ตัวอย่างคำเช่น/ʔe͂3=ʔ͂e3/ “แมลงสาบ” /ʔo͂m3= ʔ͂om3/ “ค่อม” /ʔu͂n3=ʔ͂un3 / “บ้วน(ปาก)”   
                 5.บางท้องถิ่น เช่น หยางอาน (阳安Yáng’ ān) จิ่วเชียน(九阡Jiǔqiān) พานต้ง(潘洞Pāndòng) มีการเปรียบต่างของเสียงพยัญชนะ /ʔ͂ - h͂/ และเสียงเปลี่ยนที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะนี้ คือ /h͂j , h͂w/  ตัวอย่างคำเช่น /h͂u5/ “หมู” / h͂ja3/ “ธนู” / h͂wai5/ “ใหม่”
                 6.ชุดพยัญชนะกักเสียงก้องที่มีพยัญชนะเสียงกักนำ /ʔb, ʔd /และเสียงนาสิกนำ  / ͫ b ,d/ ภาษาสุ่ยมีครบทั้งชุดเหมือนภาษาอื่นๆในแขนงเดียวกัน ดังข้อมูลต่อไปนี้    
ตัวอย่างคำ
สุ่ย
เหมาหนาน
ต้ง
มู่หล่าว
ʔb, ʔd
ʔb, ʔd
m,l
ʔw,d
 ͫ b,d
  ͫ b,d
p,t
t,l
บาง
ʔba:ŋ1
ʔba:ŋ 2
ma:ŋ1
ʔwaŋ 1
ดี
ʔda:i1
ʔda:i2
la:i1
da:i1
ผู้ชาย
 ͫ ba:n1
  ͫ ba:n1
pa:n1
ti6 kɔŋ1
ตา(eye)
da1
da1
ta1
l̥a1
                 7.สืบเนื่องจากข้อ 6. นอกจากพยัญชนะกักเสียงก้องที่ภาษาสุ่ยมีครบชุดเหมือนภาษาอื่นๆแล้ว ภาษาสุ่ยยังมีกลุ่มเสียงพยัญชนะนาสิก ครบทั้ง 4 เสียง คือ /m,n,ȵ,ŋ/ เหมือนกับที่ทุกภาษาในแขนงเดียวกันมี แต่ข้อพิเศษคือเสียงนาสิกของภาษาสุ่ยแต่ละเสียงมีการเปรียบต่าง 3 แบบ คือ พยัญชนะนาสิกเสียงใส พยัญชนะนาสิกปกติ และพยัญชนะนาสิกมีเสียงกักนำ ทำให้พยัญชนะนาสิกในภาษาสุ่ยมี 12 เสียง ดังข้อมูลต่อไปนี้    

m
n
ȵ
ŋ

สุ่ย
m̥
m
ˀm
n̥
n
ˀn
ȵ̥
ȵ
ˀȵ
ŋ̥
ŋ
ˀŋ
3
มู่หล่าว
m̥
m

n̥
n

ȵ̥
ȵ

ŋ̥
ŋ

2
เหมาหนาน

m
ˀm

n
ˀn

 ȵ
ˀȵ

ŋ
ˀŋ
2
ต้ง

m


n


ȵ


ŋ

1
                
ตัวอย่างคำเสียงนาสิก

ไทย
สุ่ย
มู่หล่าว
เหมาหนาน
ต้ง
m
m̥
หมา
m̥a1
ŋ̥wa
ma1
ŋwa1
ˀm
ผัก
ˀma1
ma1
ˀma1
ma1
m
ลิ้น
ma2
ma2
ma2
ma2
n
n̥
ธนู
n̥a3
cɔŋ1*¹
c1
na3
ˀn
หน้า
ˀna1
na3
ˀna1
na3
n
หนา
na3
na1
na1
na1
ȵ
ȵ̥
หญ้า
ȵ̥aŋ
ma: ŋ1
wɔk7
ȵa:ŋ3
ˀȵ
ฟ้าร้อง   
qam4 ˀȵa3
pɣa1
va1
pja3
ȵ
เธอ
ȵa2
ȵa2
ŋ2
ȵa2
ŋ
ŋ̥
เปิด
ŋ̥ai1
khai1 *²
khai1
əi1
ˀŋ
งา
ˀŋa1
ma6 *³
ˀŋa1
me2 *³
ŋ
ห่าน
ŋa2
ŋa:n6
ŋa:n6
ŋa:n6
*¹  (จ.=gōng)  *² (จ.=kāi)    *³ (จ.=芝麻zhīma)   
                     จากข้อมูลข้อ 6. และ 7. ชี้ให้เห็นว่า ระบบเสียงนาสิกในภาษาสุ่ยมีความสมบูรณ์ที่สุดในบรรดาภาษาที่อยู่แขนงเดียวกัน เสียงนาสิกฐานกรณ์เดียวกันภาษาสุ่ยมีวิธีการออกเสียง 3 แบบ แต่ ภาษาอื่นๆ รวมเป็นหนึ่งแบบหรือสองแบบ ลักษณะเช่นนี้ประกอบกับการออกเสียงรองต่างๆเป็นหลักฐานที่นักภาษาศาสตร์ให้ความสนใจภาษาสุ่ยว่าเป็นภาษาต้นแบบในการสืบสร้างหาระบบเสียงภาษาที่เก่าแก่กว่ากัม-สุย คือ ภาษากะได (Kadai)       
2.2  สระ ตามวิธีการวิเคราะห์ระบบเสียงแบบจีน ภาษาสุ่ยแบ่งเสียงสระเป็นสระเดี่ยวและสระ
ประสม ซึ่งสระประสมแบ่งได้สามแบบคือ สระประสมกับหางสระที่เป็นอัฒสระ /i,u/ สระประสมกับหางสระที่เป็นพยัญชนะนาสิก /m,n,ŋ/ และสระประสมกับหางสระที่เป็นพยัญชนะเสียงกัก/p,t,k/ รวมทั้งสิ้นมีเสียงสระจำนวน 50 เสียง ดังนี้
สระเดี่ยว

       หางสระ  
สระประสม
อัฒสระ
นาสิก
เสียงกักไม่ระเบิด
i
 u
m
n
ŋ
p
t
k
i

iu
im
in
iŋ
ip
it
ik


eu
em
en
eŋ
ep
et
ek
a
a:i
a:u
a:m
a:n
a:ŋ
a:p
a:t
a:k

ai
au
am
an
aŋ
ap
at
ak
o
oi

om
on
oŋ
op
ot
ok
u
ui

um
un
uŋ
up
ut
uk
ə



ən
əŋ

ət
ək
ɿ








คำอธิบายเสียงสระ
1.       สระเดี่ยวทุกเสียงเมื่อเกิดโดยลำพังจะออกเสียงยาว เมื่อมีหางสระมีเพียงสระ
/a/ เท่านั้นที่มีการเปรียบต่างของสระสั้นยาว ส่วนสระอื่นเมื่อมีหางสระ บางครั้งออกเสียงสั้น บางครั้งออกเสียงยาว แต่ไม่มีการเปรียบต่างทางความหมาย กล่าวคือ /i-,e-,o-/ เป็นสระเสียงยาว / ə-/ เป็นสระเสียงสั้น ส่วน /u-/ จะออกเสียงสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับหางสระ ถ้าเกิดกับ /-i,-t,-n/ ออกเสียงยาว ถ้าเกิดกับ /-m,,-p,-k/ ออกเสียงสั้น แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากสระ /a-, a:-/ แล้ว ความสั้นยาวของสระอื่นๆไม่มีการเปรียบต่างทางความหมาย ในที่นี้จึงไม่จำเป็นต้องระบุสัญลักษณ์สั้นยาวในสระกลุ่มดังกล่าว 
2.       สระ /ə , ɿ/   เป็นสระมาจากคำยืมภาษาจีน คำภาษาสุ่ยแท้ไม่มีเสียงสระเหล่านี้
เสียงสระปลายสิ้น /ɿ/ เกิดกับพยัญชนะคำยืมจากภาษาจีนเท่านั้น
            2.3 เสียงวรรณยุกต์ ตามหลักภาษาศาสตร์จีนแบ่งวรรณยุกต์เป็นสองแบบคือ วรรณยุกต์ในคำสระเปิด คือ คำที่มีสระเดี่ยว คำที่มีหางสระเป็นอัฒสระ และคำที่มีหางสระเป็นเสียงนาสิก กับอีกประเภทหนึ่งคือ วรรณยุกต์ในคำสระปิด ได้แก่ คำที่มีหางสระเป็นเสียงกัก /p,t,k/ จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถแบ่งเสียงวรรณยุกต์ในภาษาสุ่ยได้ 8 เสียง แบ่งเป็นวรรณยุกต์สระเปิด 6 เสียง และวรรณยุกต์สระปิด 2 เสียง นอกจากนี้ในกลุ่มวรรณยุกต์สระปิด ยังมีความแตกต่างของระดับเสียงที่เกิดจากความสั้นยาวของเสียงสระอีกด้วย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเสียงวรรณยุกต์ของภาษาในแขนงเดียวกัน ก็พบว่าภาษาเหมาหนานและภาษามู่หล่าวก็มีระบบเสียงวรรณยุกต์แบบเดียวกันนี้ จำนวนเสียงวรรณยุกต์ก็มี 8 เสียงเหมือนกันด้วย ส่วนภาษาต้งมี 9 เสียง วรรณยุกต์ของภาษาสุ่ยมีรายละเอียดต่อไปนี้                                                                                                                                      
เลขกำกับเสียง
สั้น-ยาว
ระดับเสียง
ตัวอย่างคำศัพท์
ตัวอย่างคำศัพท์
เสียงที่ 1

24
ˀna1
หนา
ha1
บ่า
เสียงที่ 2
31
na2
โคลน
ha2
ยา
เสียงที่ 3
33
ˀna3
หน้า
ha3
ฆ่า
เสียงที่ 4
42
ma4
ม้า
ha4
ส่าเหล้า
เสียงที่ 5
35
la5
ปริ แตก
ha5
หายใจ
เสียงที่ 6
55
ma6
ราคา
ȶa6
มะเขือ
เสียงที่ 7
สระสั้น
55
lak7
ซัก(ผ้า)
hak7
เบียด
สระยาว
35
la:k7
เชือก
ha:k7
ตำ
เสียงที่ 8
สระสั้น
43
luk8
ผึ้ง
kak8
ชั้น
สระยาว
43
la:k8
ลูก
ha:k8
พื้นห้อง
               คำอธิบายเสียงวรรณยุกต์
1.    จากตารางเสียงวรรณยุกต์ หากไม่คำนึงเรื่องเสียงสั้นยาวและหางสระ จะเห็นว่ามี
เสียงวรรณยุกต์ซ้ำกันอยู่สามคู่ คือ เสียงที่ 4 ซ้ำกับเสียงที่ 7 สระยาว คือ /35/  เสียงที่ 6 ซ้ำกับเสียงที่ 7 สระสั้น คือ /55/ และเสียงที่ 8 สระยาวกับสระสั้นเป็นระดับเสียงเดียวกัน เมื่อตัดคู่ซ้ำออกแล้ว ภาษาสุ่ยมีเสียงวรรณยุกต์ที่แท้จริงคือ เสียง  
                   2. มีลักษณะของวรรณยุกต์ที่ได้รับอิทธิพลจากคำยืมภาษาจีน คือ วรรณยุกต์เสียงเบา หมายถึงคำที่มีสองพยางค์ พยางค์แรกไม่ลงเสียงวรรณยุกต์ แต่จะออกเสียงสั้นและเบา (คล้ายๆกับเสียงควบไม่แท้ในภาษาไทย เช่น สบาย ขโมย)  ใช้สัญลักษณ์  “˚” เช่นคำว่า /to˚khup7/ “ตะขาบ” /ȶi˚ljen6/  “ตัวนิ่ม”(* คล้ายภาษาไทยคำว่า จิ้งเหลน)  /qa˚ɕak7/ “นกสาลิกา” เป็นต้น                   
              2.4 โครงสร้างพยางค์ (C=Consonant ,V=vowel) พยางค์ในภาษาสุ่ยประกอบด้วยพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ ในส่วนของโครงสร้างพยัญชนะและสระ นอกจากพยัญชนะต้นเดี่ยวแล้ว นักวิชาการจีนวิเคราะห์ให้พยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก /-w/ กับพยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นเพดาน /-j/ เป็นพยัญชนะต้นเดี่ยว เพราะมองว่าเป็นการออกเสียงของฐานกรณ์เดิมแล้วเปลี่ยนไปเป็นฐานกรณ์อื่นเท่านั้น แต่ฐานกรณ์ของเสียงพยัญชนะที่แท้จริงยังคงตัดสินว่าเป็นพยัญชนะเดิมอยู่ ไม่ใช่เกิดจากการควบกล้ำของพยัญชนะสองเสียง ดังนั้นพยัญชนะต้นในภาษาสุ่ยจึงมีเพียงเสียงเดียวคือ /C/  ส่วนเสียงสระมีสระเดี่ยวกับสระประสม โดยวิเคราะห์ว่าสระมีหัวสระ(V) ท้องสระ(V) และหางสระ จะเห็นว่าส่วนที่เป็นหัวสระคือ /V/ ส่วนที่เป็นท้องสระคือ (V) แต่ส่วนที่เป็นหางสระอาจจะเป็นสระ/V/  คือ /u,i/ หรือเป็นพยัญชนะ /C/ คือ /m,n, ŋ,p,t,k / ก็ได้ ดังข้อมูลต่อไปนี้    
C V
fa3 ฟ้า
lwa1  เรือ
ˀŋwa3 เงย
C V V
C+หัวสระ+หางสระ
tja:u5 เต่า
ȶoi1 ไถ(นาม)
ȵau6 เนา (อยู่)
C V V(C)
C+หัวสระ+หางสระ
la:m2 ลืม
tok7 ตก
doŋ3 ตรง(ตรงนี้)
3 ระบบคำ คำในภาษาสุ่ยมีคำที่พ้องกับภาษาในสาขาและแขนงเดียวกันเช่น สุ่ย ต้ง จ้วง ไต หลี เป็นต้น นอกจากคำศัพท์ร่วมเชื้อสายแล้ว ยังมีคำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ภาษาสุ่ยที่ไม่พ้องกับภาษาอื่นๆ คำศัพท์ส่วนใหญ่เป็นคำโดดพยางค์เดียวและมีคำสองพยางค์บ้างแต่ไม่มาก มีคำประสมสองพยางค์ที่เกิดจากการประสมคำของคำโดด และมีคำยืมจากภาษาจีนทั้งที่เป็นคำสงสัยว่าร่วมเชื้อสาย คำยืมเก่าและคำยืมใหม่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้     
                   3.1 คำโดด แบ่งได้ดังนี้  
(1)     คำโดดพยางค์เดียว  เป็นคำหนึ่งพยางค์ที่มีความหมายในตัวเอง  สามารถ
ใช้โดย อิสระได้ ตัวอย่างคำต่อไปนี้เทียบกับภาษาที่ใกล้ชิดกันสามแขนงคือ แขนงจ้วง-ไต ได้แก่ ภาษาไต คัดมาจาก “ปริทรรศน์ภาษาไต” (Yu Cuirong, Luo Meizhen.1979) ภาษาจ้วงคัดมาจาก “ปริทรรศน์ภาษาจ้วง”(Wei Qingwen,Tan Guosheng.1980) ภาษาปู้อีคัดมาจาก “ปริทรรศน์ภาษาปู้อี” (Yu Cuirong.1980)   แขนงต้ง-สุ่ย ได้แก่ ภาษาต้งคัดมาจาก “ปริทรรศน์ภาษาต้ง” (Liang Min.1979)   ภาษาสุ่ยคัดมาจาก “ปริทรรศน์ภาษาสุ่ย” (Zhang Junru.1980) ภาษาเหมาหนานคัดมาจาก “ปริทรรศน์ภาษาเหมาหนาน” (Liang Min.1980) ภาษามู่หล่าวคัดมาจาก “ปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว” (Wang Jun, Zheng Guoqiao.1979) และแขนงภาษาหลี ได้แก่ ภาษาหลี คัดมาจาก “ปริทรรศน์ภาษาหลี” (Ou Yang Jueya, Zheng Yiqing.1979)   
คำศัพท์ร่วมเชื้อสาย

ไทย
วัน
เดือน
ฝน
น้ำ
ไฟ
ไก่
น้อง
ลูก
มด
จ้วง-ไต
ไต
van2
dǝn1
fun1
nam4
fai2
kai5
nɔŋ4
luk8
mot8
จ้วง
ŋon2
dɯn1
fɯn1
nam4
fei2
kai5
nu: ŋ4
lɯk8
mot8
ปู้อี
ŋon2
dɯ:n1
vɯn1
zam4
vi2
kai5
nuaŋ4
lɯɁ8
mat8
ต้ง-สุ่ย
ต้ง
man1
ȵa:n1
pjǝn1
nam4
pui1
a:i5
noŋ4
la:k10
mǝt8
สุ่ย
van1
njen2
fǝn1
nam3
vi1
qa:i5
nu4
la:k8
mǝt8
เหมาหนาน
van1
njen2
fin1
nam3
vi1
ka:i5
nuŋ4
la:k8
mǝt8
มู่หล่าว
fan1
njen2
kwǝn1
nǝm4
fi1
ci1*¹
 nuŋ4
 la:k8
mƔǝt8*²
หลี
หลี
van1
ȵa:n1
fun1
nam3
fei1
khai1
ɡu:ŋ4
ɬɯ:Ɂ7
put8
*¹จ. = jī   *² จ. =蚂蚁mǎyǐ  
คำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ภาษาสุ่ย
คำ
ความ
หมาย

คำ
ความ
หมาย

คำ
ความ
หมาย

คำ
ความ
หมาย
nu2
ภูเขา
di3
ฟัง
pe1
ขาย
mum4
เสือ
hum5
ดิน
fan2
พูด
Ɂnaŋ1
มี
mon6
ลิง
ʁǝ1
น้ำลาย
sa:m3
เดิน
Ɂnaŋ5
เค็ม
mom6
ปลา
(2)     คำโดดสองพยางค์ แต่ละพยางค์หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพยางค์ไม่
สามารถแยกออกจากกันและมีความหมายโดยอิสระได้  ไม่ใช่ลักษณะของการเติมหน่วยคำเติมเพื่อให้มีความหมายทางไวยากรณ์ใดๆ และไม่ใช่คำประสม  นอกจากนี้ยังพบว่าคำส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการซ้ำพยัญชนะหรือสระ ส่วนมากพบว่าเป็นคำเรียกสัตว์ และคำคุณศัพท์ ตัวอย่างคำเช่น

คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย

คำ
ความหมาย
Ɂnjap7 Ɂnjiŋ3
หิ่งห้อย
bi6 bi3
ปลิง
qo˚lo3*
กลม
tu˚khup7
ตะขาบ
djo˚djoŋ1
ลูกอ๊อด
fui1 fa:ŋ5
ง่าย
*อ.=โข่โหล่/ข่อหล่อ, บอกลักษณะของสิ่งของที่เป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นเม็ด แต่ไม่สม่ำเสมอ
                   3.2 คำที่มีการเติมคำอื่น มีสามแบบคือ  
                             3.2.1 คำเติมหน้า มีทั้งแบบที่เติมแล้วไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย และแบบที่เติมแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย แบ่งได้ดังนี้  
หน่วยคำเติมหน้า
คำหลัก
เปลี่ยน
เป็น
ตัวอย่างคำ 
/la:k8/ ความหมายเดิมแปลว่า “ลูก” เติมหน้าคำนาม บอก ลักษณะเป็นลูกเป็นก้อน เป็นผล
นาม
นาม
la:k8 man3
สาลี่
la:k8 toŋ1
นิ้วมือ
la:k8 lja:n5
พริก
la:k8 ti3
ลูกชาย
/ni4/ เติมหน้าคำนาม แต่ไม่มีผลทำให้ความหมายและหน้าที่ทางไวยากรณ์เปลี่ยนแปลง   
นาม
นาม
ni4 ȵ̥ai1
สัตว์
ni4 kha:ŋ5
ลม
ni4 muŋ1
ชะมด
ni4 tin2
หิน
/tu3/เติมหน้าคำกริยา มีความ หมายเหมือนกับคำว่า “กัน”  
กริยา
กริยา
tu3 ͫ bjum1
รักกัน
tu3 a:u1
เอากัน  (แต่งงานกัน)
/mai4/ ความหมายเดิมแปลว่า “ไม้” เติมหน้าคำกริยา แปลว่าสิ่งของที่ใช้ทำกริยานั้น
กริยา
นาม
mai4 tjət7
ไม้กวาด
mai4 fu6 fuŋ3
กุญแจ
fu6 fuŋ3 ปิดกุญแจ
mai4 vat7 ma4
แส้ (ไม้ฟาดม้า)
/ai3/ เติมหน้าคำนามที่มีความหมายถึงบุคคล (คำนี้ไม่ได้แปลว่าคน)
นาม
นาม
ai3 va3
คนใบ้
ai3 ko4
คนตาบอด
ai3 ŋa:n5
คนบ้า
ai3 sau3
เจ้าของ
3.2.2 คำเสริมสร้อย (เติมหลัง) ที่เรียกว่าคำเสริมสร้อยเพราะว่าส่วนที่
เสริมเข้ามาข้างหลังคำแท้นั้นไม่ได้เป็นคำที่มีความหมายในตัวเอง และไม่ได้เป็นหน่วยคำที่เติมเพื่อให้เกิดเป็นความหมายใหม่ หรือมีหน้าที่ทางไวยากรณ์เปลี่ยนไปแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะของเสียงที่ซ้ำหรือซ้อน หรือเป็นสร้อยคำกับพยางค์หน้า นำมาต่อท้ายเพื่อทำให้คำเดิมเพิ่มความหมายกว้างขึ้น เข้มข้นขึ้น ชัดเจนขึ้น  ลักษณะเช่นนี้พบในภาษาตระกูลไทอื่นๆด้วยเช่นกัน ในภาษาสุ่ยมีวิธีการสร้างคำเสริมสร้อยดังนี้
(1)   คำซ้ำเพื่อเสียง  เป็นลักษณะของการซ้ำคำ โดยเสียงที่ซ้ำใน
พยางค์ที่สองเป็นการซ้ำพยัญชนะของพยางค์แรก แต่เปลี่ยนสระและ(หรือ)วรรณยุกต์  เมื่อซ้ำคำแล้วมีการแปรทางความหมายว่ามากขึ้น เข้มข้นขึ้น ตัวอย่างคำเช่น
คำเดิม
ความหมาย
คำใหม่
ความหมาย
va:ŋ1
สูง
va:ŋ1 va:u1
สูงๆ (สูงมากกว่าคำเดิม)
mai5
ใหม่
mai5 məŋ3
ใหม่ๆ (ใหม่มากกว่าคำเดิม)
ti3
เล็ก
ti3 ni3
เล็กๆ (เล็กกว่าคำเดิม)
fa:ŋ2
กว้าง
fa:ŋ2 lja:ŋ2
กว้างๆ (กว้างกว่าคำดิม)

(2)   การเติมพยางค์เสริมสร้อย พยางค์ที่เติมเข้ามานี้มีมากกว่า
สองพยางค์ อาจจะมีเสียงสัมผัสหรือไม่สัมผัสกับคำเดิมก็ได้ เป็นพยางค์ที่ไม่มีความหมายในตัวเอง  แต่การเติมนั้นมีผลทำให้ความหมายเข้มข้นขึ้น หรือเกิดภาพพจน์ชัดเจนขึ้น [6] ตัวอย่างคำเช่น   
คำเดิม
ความหมาย
คำใหม่
เทียบความหมาย
da:ŋ1
สว่าง
da:ŋ1 thəŋ1 thəŋ1
สว่างจ้าๆ
ɕu1
เขียว
ɕu1 la:p7 la:p7
เขียวปั๊ดๆ
va:ŋ1
สูง
va:ŋ1 qa:ŋŋa:ŋ3 qa:ŋ3
สูงชะลูด
qam5
ดำ
qam5 ȶa:t7 ȵa:t8 ȶa:t8
ดำมะเมื่อม
                   3.3 คำประสม คือการนำคำโดดที่มีความหมายในตัวเองมาประสมกัน แล้วเกิดเป็นคำที่มีความหมายที่ใกล้เคียงกับรากคำเดิม หรือเกิดความหมายใหม่ มีหลายวิธีได้แก่ 1.แบบรวมคำ คือการนำคำโดดสองคำที่มีความหมายในตัวเองมาประสมกัน  เมื่อประสมกันแล้วคำทั้งสองต่างแสดงความหมายเท่าๆกัน ความหมายใหม่ที่เกิดขึ้นใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกับคำเดิมทั้งสองคำ 2.แบบขยายความ คือการนำคำสองคำมาเรียงต่อกัน คำหน้าทำหน้าที่บอกความหมายหลัก คำหลังทำหน้าที่ขยายความหมายของคำหน้าให้ชัดเจนขึ้น 3. แบบกริยากรรม คือ คำประสมที่คำหน้าเป็นคำกริยาและคำที่ตามมาเป็นกรรมที่รับการกระทำของกริยาข้างหน้านั้น  เมื่อประสมแล้วเกิดเป็นความหมายใหม่ที่แปรมาจากความหมายเดิมของคำทั้งสอง 4.แบบประธานกริยา คือ คำประสมที่คำหน้าทำหน้าที่เป็นประธาน คำที่ตามมาเป็นภาคแสดงบอกลักษณะหรือการกระทำของประธานข้างหน้านั้น 5. แบบเสริมความ คือ คำประสมที่คำข้างหน้าเป็นคำที่แสดงความหมายหลักส่วนคำที่ตามมาทำหน้าที่เสริมความหมายของคำข้างหน้าให้ชัดเจนขึ้นแต่ไม่ใช่การขยายความ คำประสมชนิดนี้ในภาษาสุ่ยมีไม่มาก ส่วนมากเป็น [คำคุณศัพท์+คำนาม] ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้    
รูปแบบคำประสม
ตัวอย่างคำ
แบบรวมคำ
 Ɂna3 Ɂnaŋ3 “หน้าตา”
หน้า   ดั้ง(จมูก)j
tai1 ɕu3   “อย่างไรก็ตาม”
ตาย อยู่(เป็น)
lo5 ljek8k “ความสามารถ”
เสียง แรง
แบบขยายความ
to6l pa:k8m “เต้าหู้”
ถั่ว  ขาว
nam3 da:ŋ1n  “กระจก”
น้ำ      ใส
njen2 n̥o1  “ฤดูหนาว”
เดือน   หนาว
แบบกริยากรรม
tuk7 mja1  “ถุงมือ”
ห่อ   มือ
lui2 nam3  “ลุยน้ำ”
ลุย   น้ำ
pan5 da1  “ตาลาย”
เวียน  ตา
แบบประธานกริยา
qo6 ha:n3  “ตะกละ”
คอ  แดง
loŋ2 dən3o  “ใจร้อน”
ท้อง   สั้น
nam3 pja:u6 “น้ำเดือด”
น้ำ     เดือด
แบบเสริมความ
fa:n1 loŋ2  “โล่งสบาย”
หวาน ท้อง
pjeŋ2p loŋ“สบายใจ”
เรียบ  ท้อง
bja5 loŋ2  “กลัดกลุ้ม”  
วุ่น   ท้อง
j อ.=ดั้ง,จมูก k จ.= lจ.=dòu mจ.=bái n จ.=liàng oจ.=duǎn pจ.=píng



3.4 คำยืมจากภาษาจีน จากการตรวจสอบข้อมูลคำศัพท์พบว่าภาษาสุ่ยมีทั้งคำที่
สัมพันธ์กับภาษาจีนและเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับตระกูลไทแต่ไม่สัมพันธ์กับภาษาจีน แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้  
(1)     คำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับคำศัพท์ยืมเก่า ในแวดวงนักวิชาการจีนตัดสินว่า
คำศัพท์ในภาษาของชนกลุ่มน้อยที่พ้องกันกับภาษาจีนนั้นเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองชุดคำคือ กลุ่มหนึ่งเป็นคำศัพท์ที่ยืมมาตั้งแต่อดีตเรียกว่า “คำยืมเก่า” เป็นคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์[7] และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นคำที่ยืมมาภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมจีน ค.ศ.1949 เรียกว่า “คำยืมใหม่” แต่ขณะเดียวกัน ในแวดวงนักวิชาการที่ศึกษาภาษาไท-จีน ก็มีผลงานการศึกษาส่วนหนึ่งที่พยายามพูดถึงคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน ซึ่งก็มีความเห็นว่ามีคำศัพท์ในภาษาไทหลายๆภาษากับคำศัพท์ภาษาจีนเป็นคำศัพท์ที่เคยใช้ร่วมกันในอดีตไม่ใช่คำยืม  คำศัพท์กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นคำโดดหนึ่งพยางค์ ซึ่งสามารถหาคำที่พ้องกันได้ในภาษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตระกูลไท ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (รายการคำศัพท์นี้คัดมาจากหนังสือปริทรรศน์ภาษาต่างๆ ดังที่ได้ชี้แจงรายชื่ออ้างอิงไว้ในหัวข้อ 3.1)
จ้วง-ไต
ไทย
คำ(ทอง)
ที่
เงิน
เปลี่ยน
ถอย
ถ่าน
นก
ช้าง
ไต
xam2
ti6
ŋǝn2
pin1
thɔi1
tha:n5
nok8
tsa:ŋ4
จ้วง
kim1
ti6
ŋǝn2
pi:n5
thoi5
tha:n5
ɣok8
ɕa:ŋ4
ปู้อี
tɕim1
zi6
ŋan2
pi:n5
tui1
tan5
zok8
tsa:ŋ4
ต้ง-สุ่ย
เหมาหนาน
cim1
ti6
ȵan2
pjen5
thɔ:i5
tha:n5
nɔk8
tsa:ŋ4
ต้ง
ȶǝm1
ti6
ȵan2
pjin5
thoi5+
tha:n5
mok8
ɕa:ŋ5+
สุ่ย
ȶum1
ti6
ȵan3
pjen5
dut7
tha:n5
nok8
tsa:ŋ4
มู่หล่าว
cǝm1
ti6
ȵan2
pjen5
thoi5
tha:n5
nɔk8
tja:ŋ4
หลี
หลี
kim3
ti:Ɂ8
kan1
ɬaɯ2
thui3
tsaɯ1
taȶ7
ไม่มีคำเรียก
จีน

jīn[8]
yín
biàn
退tuì
tàn
niǎo
xiàng
(2)     คำยืมใหม่ ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม รัฐบาลจีนปกครองและดูแลความ
เป็นอยู่ของประชาชนในประเทศอย่างทั่วถึง ทำให้คำศัพท์เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การศึกษา วิทยาการต่างๆ หลั่งไหลเข้าสู่ภาษาของชนกลุ่มน้อยเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง โดยที่ชนกลุ่มน้อยต่างๆยืมคำศัพท์ภาษาจีนมาจากภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นที่ใกล้เคียง ตัวอย่างคำยืมภาษาจีนใหม่แสดงในตารางต่อไปนี้
คำภาษาจีน
คำอ่านพินอิน
คำภาษาสุ่ย
ความหมาย
共产党
gòngchǎndǎng
kuŋ1 tsha:n6 ta:ŋ6
พรรคคอมมิวนิสต์
工人
gōngrén
kuŋ3  zən4
กรรมกร
国家
guójiā
kwe2 ȶa2
ประเทศ
革命
gémìng
ke2 min1
ปฏิวัติ
发展
fāzhǎn
fa2 tsa:n6
พัฒนา
(3)     คำยืมเก่าและคำเฉพาะศัพท์ภาษาสุ่ย       จากข้อมูลคำศัพท์พบว่า มีการ
ใช้คำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาจีนและคำศัพท์ภาษาสุ่ยควบคู่กันไป  โดยฉพาะในคนหนุ่มสาวที่ได้เรียนภาษาจีนมีแนวโน้มใช้คำยืมจากภาษาจีนมาก  ผู้ใหญ่วัยกลางคนใช้สลับไปมา แต่ผู้สูงอายุยังคงใช้คำศัพท์ภาษาสุ่ย ตัวอย่างคำศัพท์เช่น
 คำภาษาจีน
คำอ่านพินอิน
คำยืมในภาษาสุ่ย
คำภาษาสุ่ย
ความหมาย
mián
mjen2
fa:i5
ฝ้าย
lǎo
la:u4
ȶe5
แก่
cóng
tshuŋ4
ken4
จาก
duō
to1
kuŋ2
มาก
bìng
pjeŋ6
ȶit7
เจ็บป่วย
(4)     คำประสมภาษาจีนกับภาษาสุ่ย นอกจากนี้ยังพบลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง
คือ มีการสร้างคำประสมที่คำหนึ่งเป็นคำยืมจากภาษาจีน อีกคำหนึ่งเป็นคำภาษาสุ่ย มีสองลักษณะคือ (1) คำประสมที่คำหน้าและคำหลังมีความหมายเหมือนกัน (2) คำประสมที่คำหน้าและคำหลังความหมายต่างกัน ส่วนลำดับคำภาษาจีนและภาษาสุ่ยจะวางไว้ในตำแหน่งหน้าหรือหลัง เป็นไปตามรูปแบบคำประสมในหัวข้อ 3.3  ตัวอย่างคำเช่น  (จ.=คำภาษาจีน/ส.=คำภาษาสุ่ย)
ตำแหน่งที่1
ตำแหน่งที่2

ความหมายใหม่
คำประสมที่มีความหมายเหมือนกัน
fan2 “พูด” (ส.)
sot7 “บอก” (จ.=sù)
fan2 sot7
บอก
khuŋ1 ว่าง” (จ.=kōng)
ɣo2 “ขาว” (ส.)
khuŋ1 ɣo2
ขาวสะอาดหมดจด
un1 “แคร่, โต๊ะ” (ส.)
taŋ5 ตั่ง (จ.= dèng )
un1 taŋ5
โต๊ะหรือตั่งขนาดยาว
คำประสมที่มีความหมายต่างกัน
pən2 “อ่าง” (จ.=pén)
mai4 “ไม้(ส.)
pən2 mai4
อ่างไม้ (พานไม้)
to6 (จ.=dòu)
hum5 “ดิน” (ส.)
to6  hum5
ถั่วดิน (ถั่วลิสง)
da:u3 “เหมาะ” (ส.)
lje4  “เหตุผล” (จ.=lǐ )
da:u3 lje4
เหมาะสม
          3.5 ตัวอย่างคำศัพท์ภาษาสุ่ย ในตอนท้ายของหัวข้อที่เกี่ยวกับคำศัพท์นี้ จะให้ตัวอย่างคำศัพท์ภาษาสุ่ยเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป ดังต่อไปนี้       
ตัวอย่างคำศัพท์ภาษาสุ่ย
คำนาม       
ความหมาย
คำกริยา
ความหมาย
คำคุณศัพท์
ความหมาย
ˀna3
หน้า
ˀŋam1
อม
ˀna1
หนา
da1
ตา
ha3
ฆ่า
ba:N1
บาง
tin1
ตีน
thak7
เตะ
ɣo2
ขาว
fa3
ฟ้า
ta3(จ.=)
ตี
pi2
พี (อ้วน)
to1
ประตู
jat8
จูง(วัว)
qam1
ขม
คำบุพบท
ความหมาย
คำช่วยกริยา
ความหมาย
คำเชื่อม
ความหมาย
to:i5
(จ.=d)
ต่อ
sum3
เพิ่งจะ
kap7
กับ
ȵa:u6
เนา (อยู่)
qo3
ก็จะ
 ɣui6
เพราะว่า
ŋa:i4
(จ.=āi)
ถูก/โดน
pu3
ก็..เหมือนกัน
 han1
เพียง
ai5 (จ.=hái)
ยัง
 laN1
ถ้า
 si3
จึง
hai3
จะ
la:u3
แต่
คำบอกตัวเลข
ความหมาย
คำลักษณนาม
ความหมาย
คำลงท้าย
ความหมาย
(= คล้ายกับ)
to2 / ˀjət7
หนึ่ง / เอ็ด
ai3 “คน” (ใช้กับคน)
ha1
= ล่ะ
ɣa2
สอง
to2 “ตัว” (ใช้กับสัตว์)
ljeu2
= แล้วล่ะ
ŋo4
ห้า
ni4 “ต้น” (ใช้กับต้นไม้)
ni6
= น่ะ
ljok8
หก
phja3“ครั้ง/คราว” (ใช้กับการกระทำ) 
va2
= สิ ล่ะสิ
ȵi6 sup8 ȵi6
ยี่สิบสอง
lam1 (ใช้กับสิ่งของ)
ɣo2
= อ่ะ




[1] รองศาสตราจารย์ สาขาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
[2] คำนี้น่าสนใจ เนื่องจากคำเรียกชื่อภาษาตระกูลไทหรือชนเผ่าไทมักมีคำเรียกว่า /ai/ นำหน้า เช่น อ่ายตน (ภาษาตระกูลไทในอินเดีย) อายจาม (ภาษาตระกูลไทในประเทศจีน)  ai3 ma:k8/ (ภาษามาก เป็นภาษาตระกูลกัม-สุยในประเทศจีน) รวมไปถึงชื่อเรียกอาณาจักร “อ้ายลาว” และ “อ้ายไต” ซึ่งเป็นชื่อของอาณาจักรไทเดิมที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ชนชาติไทด้วย  นอกจากนี้คำเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทในประเทศจีนอีกหลายกลุ่มก็มีชื่อเรียกที่มีคำว่า / ai / นำหน้าเหมือนกัน เช่น ชาวเหมาหนานเรียกตัวเองว่า /ai1 na:n6/ ชาวหยางหวงที่พูดภาษาเท็น ซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้ชิดกับภาษาเหมาหนาน จัดอยู่ในแขนงต้ง-สุ่ย ก็เรียกตัวเองว่า /ai˩ raːu˩/ บ้างก็เรียกว่า /ai˩ tʰən˧/ ในขณะที่ชาวเหมาหนานเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ก็จะมีคำว่า /ai/ นำหน้า เช่น เรียกชาวจ้วงว่า   “อ้ายอี”  เรียกชาวจีนก็จะเรียกว่า “อ้ายจิน” เป็นต้น
[3] เป็นหนังสือภาษาจีนในโครงการ ชุมนุมสารานุกรมประเด็นชนกลุ่มน้อย 5 ประการ ของคณะกรรมการชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ《国家民委民族问题五种丛书 Guójiā mínwěi mínzú wèntí wǔzhǒnɡ cónɡshūโครงการย่อยเรื่อง สารานุกรมปริทรรศน์ภาษาชนกลุ่มน้อยของสาธารณรัฐประชาชนจีน” (中国少数民族语言简志丛书  Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú yǔyán jiǎnzhì cónɡshū)   นับเป็นโครงการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ในส่วนของ ปริทรรศน์ภาษาของชนกลุ่มน้อยเริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1956 โครงการย่อยอื่นๆ ได้แก่ 《中国少数民族Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzúชนกลุ่มน้อยของจีน《中国少数民族简史丛书Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú jiǎnshǐ cónɡshūสารานุกรมปริทรรศน์ประวัติศาสตร์ชนกลุ่มน้อยของจีน《中国少数民族自治地方概况丛书Zhōnɡɡuó shǎoshù mínzú zìzhì dìfɑnɡ ɡàikuànɡ cónɡshūสารานุกรมเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อยของจีนและ《中国少数民族社会历史调查资料丛刊Zhōnɡɡuó  shǎoshù mínzú shèhuì lìshǐ diàochá zīliào cónɡkānสรรนิพนธ์ข้อมูลการสำรวจประวัติศาสตร์ทางสังคมของชนกลุ่มน้อยของจีน    
[4] ผู้สนใจสามารถ download พจนานุกรมฉบับนี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่เว็บไซด์ของ อำเภอปกครองตนเองชาวสุ่ยซานตู  เข้าถึงได้ทาง http://www.pcxwxx.com   
[5] เสียงพยัญชนะแบบนี้ในหนังสือ “นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ : ภาษาตระกูลไท” (สุริยา,2548 : หน้า 134)  เรียกว่า “เสียงรอง”   (secondary articulations) เป็นลักษณะของการออกเสียงรองเสริมกับการออกเสียงหลัก เสียงที่ภาษาจีนเรียกว่าพยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นริมฝีปาก คือ labialization เป็นการออกเสียงแบบห่อปากไปพร้อมกัน และ เสียงที่ภาษาจีนเรียกว่าพยัญชนะชุดเปลี่ยนเป็นเพดาน คือ palatalization  เป็นการออกเสียงแบบยกลิ้นส่วนหน้าไปพร้อมกัน  
[6] ลักษณะเช่นนี้คล้ายกับวิธีการใช้คำเสริมสร้อยเพื่อขยายคำนามหรือคำคุณศัพท์ในภาษาไทยถิ่นอีสาน เช่น แจ้ง/รู/ขนาด มีคำเสริมสร้อยว่า จิงปิง (เล็กน้อย) จางปาง (ใหญ่มากขึ้น) แจงแปง (มากกว่าจางปาง) โจงโปง (ใหญ่ที่สุด) ดูเรื่องคำเสริมร้อยในภาษาไทยถิ่นอีสานในบทความเรื่อง การ ศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เรื่องความสัมพันธ์ของคำเสริมสร้อยสองพยางค์ในภาษาไทยถิ่นอีสานกับภาษาจีน (เมชฌ.2552:9-42)
[7] การแบ่งประวัติศาสตร์เสียงภาษาจีนโบราณมีสองยุคคือ ภาษาจีนยุคก่อนประวัติศาสตร์ (หมายถึงช่วงเวลานับตั้งแต่ 1046 - 256 ปีก่อนคริสตกาล ) ภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์(หมายถึงช่วงเวลา ค.ศ. 420 - 927
[8] ภาษาจีนโบราณออกเสียงว่า [krim] ภาษาจีนถิ่นกว่างโจว [kam1] ภาษาถิ่นหมิ่นหนาน [gim1] ภาษาถิ่นแคะ [gim1] ข้อมูลนี้สืบค้นจากเว็บไซต์ชื่อ 汉语方言发音字典Hànyǔ fāngyán fāyīn zìdiǎn “พจนานุกรมเสียงภาษาถิ่นจีน” 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น