เมชฌ สอดสองกฤษ.(2559) การพรรณนาภาษาเกอลาวในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน.
วารสารศาสนาและวัฒนธรรม.วิทยาลัยศาสนศึกษา.มหาวิทยาลัยมหิดล. ปีที่
10 ฉบับที่ 1 (มกราคม– มิถุนายน 2559) หน้า 53-82.
(ส่วนที่ 1)
(ส่วนที่ 1)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การพรรณนาภาษาเกอลาวในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
A
Description of Gelao Language in China
บทคัดย่อ
เกอลาว เป็นชื่อภาษาของชนกลุ่มน้อยชาวเกอลาวในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
นักวิชาการจีนจัดภาษาเกอลาวไว้ในตระกูลภาษาใหญ่จีน-ทิเบต แต่เนื่องจากข้อมูลระบบเสียงของภาษาเกอลาวใกล้ชิดกับภาษาสาขาเหมียว-เหยา
ส่วนคำศัพท์ใกล้ชิดกับภาษาสาขาจ้วง-ต้ง และไวยากรณ์คล้ายกับทั้งสองสาขาแต่มีแนวโน้มคล้ายกับภาษาสาขาจ้วง-ต้งมากกว่า
ในมุมมองของนักวิชาการจีนนั้น จึงยังไม่มีความชัดเจนในการจัดสาขาภาษาเกอลาว
บทความนี้นำเสนอข้อมูลทางภาษาศาสตร์ของชนกลุ่มน้อยชาวเกอลาวในประเทศจีน
โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากผลงานของนักวิชาการจีน มีประเด็นสำคัญสองเรื่อง
คือ 1.ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์เหมาหนาน และ 2.การพรรณนาทางภาษาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย (1) การจัดแบ่งตระกูลภาษา
(2) ระบบเสียง (3) ระบบคำ (4) ระบบไวยากรณ์
และ (5) ภาษาถิ่น จากการศึกษาพบว่ามุมมองการวิเคราะห์ภาษาเกอลาวของนักวิชาการต่างชาติกับนักวิชาการจีนยังมีข้อแตกต่างกันอยู่
ที่ผ่านมานักวิชาการไทยส่วนใหญ่ได้ศึกษาข้อมูลภาษาเกอลาวจากผลงานของนักภาษาศาสตร์ตะวันตก
และส่วนหนึ่งจากนักภาษาศาสตร์ไทยบ้าง ยังขาดข้อมูลการศึกษาจากนักวิชาการจีนผู้ซึ่งเป็นพลเมืองประเทศเดียวกันกับชาวเกอลาว บทความนี้ได้นำเสนอข้อมูลภาษาเกอลาวจากมุมมองของนักวิชาการชาวจีน
เพื่อให้นักวิชาการไทยได้ศึกษาต่อไป
คำสำคัญ : เกอลาว กัม-สุ่ย เหมียว-เหยา ภาษาตระกูลไท
ภาษาไทในประเทศจีน
Abstract
Gelao is a language spoken by Gelao ethnic group
in China. Chinese scholars have classified Gelao language into Sino – Tibetan
language family. Due to the phonology,Gelao is close to Miao-Yao branch, but its cognate
words is close to Zhuang-Dong branch. The grammar of Gelao is similar to both
Miao-Yao and Zhuang-Dong branch, but it is more closely to Zhuang-Dong branch. So from the Chinese scholar’s points of view, Gelao
is still an unbranched language.
This article is a description of Linguistic style of Gelao language. The data is mainly based on Chinese scholars’
researches. The
article presents two main issues: 1. Gelao ethnic information and 2. Gelao
Language description which consists of (1) Language category (2) Phonology (3)
word system (4) Grammar and (5) Dialects. From the
investigation, it is revealed that there are some of Gelao language
descriptions from the foreign and Chinese Linguistics. The previous Thai researchers mostly study some of Gelao language information
from foreign and some of Thai scholars’
researches, but scarcely from Chinese scholars. This article
will provide information about Gelao language from Chinese scholars for the Thai scholars who conduct further
research related to the topic in the future.
Keywords: Gelao,
Kam-Sui, Miao-Yao, Tai language family, Tai language in China
1.บทนำ
1.1 ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์เกอลาว
ชนเผ่าเกอลาว
ภาษาจีนเรียกว่า
เกอหล่าว(仡佬Gēlǎo) เป็นชนเผ่าเก่าแก่และดั้งเดิมที่สุดเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงหยวินกุ้ย
(云贵Yúnɡuì)
ส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่กระจัดกระจายบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ
ตะวันตกเฉียงใต้และทางตอนเหนือของมณฑลกุ้ยโจว โดยเฉพาะในเขตปกครองเฉพาะอานซุ่น(安顺 Ānshùn)
กับปี้เจี๋ย(毕节Bìjié)
มีประชากรชาวเกอลาวมากกว่า 80% ของประชากรทั้งหมด ชาวเกอลาวที่อาศัยอยู่ในมณฑลกุ้ยโจวคิดเป็น
97% ของชาวเกอลาวทั้งหมด นอกนั้นอาศัยอยู่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 20 เมือง เช่น
จุนอี้(遵义Zūnyì) เหรินหวย(仁怀Rénhuái) กวานหลิ่ง(关岭Guānlǐnɡ) ผู่อาน (普安Pǔ’ān) ชิงเจิ้น(清镇Qīnɡzhèn) ผิงป้า(平坝Pínɡbà) เฉียนซี(黔西Qiánxī) ต้าฟาง(大方Dàfānɡ) จือจิน(织金Zhījīn) จินซา (金沙Jīnshā)
เจินเฟิง(贞丰Zhēnfēnɡ) ฉิงหลง(晴隆Qínɡlónɡ) ลิ่วจือ(六枝Liùzhī)
สุ่ยเฉิง(水城Shuǐchénɡ) เป็นต้น มีบางส่วนกระจายอาศัยอยู่บริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงในมณฑลกว่างซี
และบริเวณกว่างหนาน(广南Guǎnɡnán) หม่าซง(马松Mǎsōnɡ) ฟู่หนิง (阜宁Fùnínɡ) ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตปกครองตนเองเผ่าจ้วงและเผ่าเหมียว
ในมณฑลยูนนาน การสำรวจของ เฮ่อเจียซ่าน (Hè Jiāshàn:1982) รายงานว่า ปี 1978 มีประชากรชาวเกอลาวสองหมื่นกว่าคน ข้อมูลจากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่
5 ของจีนในปี 2000 พบว่าชนกลุ่มน้อยเผ่าเกอลาวมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก คือ
580,000 คน(อู๋ซูหมิน:2011)
1.2
ประวัติศาสตร์
ชาวเกอลาวเป็นชนเผ่าที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มชนในอดีตชื่อ
“เหลียว” (僚Liáo) ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นเมืองกุ้ยโจวในปัจจุบัน
เริ่มมีการกล่าวถึงชนกลุ่มนี้ในพงศาวดารสมัยซ่ง และสมัยถังในชื่อ เก่อเหลียว (葛僚Gěliáo)
เก๋อหล่าว (革老Gélǎo) เกอหล่าว(仡佬Gēlǎo) เกอเหลียว(仡僚Gēliáo) แม้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่และภาษาของผู้เรียก
แต่ชื่อกลางที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ “เหลียว”
(僚Liáo) ในสมัยโบราณคำว่า “เหลียว”
เป็นคำที่ใช้เรียกรวมกลุ่มชนน้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองกุ้ยโจว
คาดว่าชนกลุ่มใหญ่ที่สุดในบรรดาชนเผ่าหลากหลายกลุ่มเหล่านั้นพัฒนามาเป็นชาวเกอลาวในปัจจุบัน ส่วนชื่อเรียกชนเผ่า “
เกอลาว” ปรากฏครั้งแรกในบทประพันธ์ของจูฝู่ (朱辅Zhū fǔ) เรื่อง “ซีหมาน ฉงเสี้ยว” 《溪蛮丛笑》 Xīmáncónɡxiào ในสมัยซ่ง นับตั้งแต่สมัยหมิงเป็นต้นมา บันทึกพงศาวดารโบราณต่างๆ
กล่าวตรงกันว่าคำว่า “ เกอลาว” เป็นชื่อเดิมของชนกลุ่ม
“เหลียว” ในช่วงสองสามร้อยปีมานี้
ชาวเกอลาวบางส่วนยังคงรักษาสืบทอดขนบธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมของชาวเหลียวอยู่ เช่น
หญิงสวมผ้าถุง เจาะฟัน และใช้โลงศพหิน
แสดงให้เห็นว่าชาวเกอลาวในปัจจุบันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวเหลียวในอดีต
ชาวเหลียวคือชนเผ่าโบราณกลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่งในประเทศเย่หลาง(夜郎国 Yèlánɡ
ɡuó) ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานราว 2,100 ปี
คือตั้งแต่สมัยซีฮั่นเป็นต้นมา มีชีวิตและตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองกุ้ยโจว
ยูนนาน ในอาณาเขตของประเทศเย่หลางประกอบด้วยชนเผ่าหลากหลายที่สำคัญคือ
ชาวเหลียว
ดำรงชีวิตด้วยการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
อยู่อาศัยกันเป็นชุมชน มีหัวหน้าเผ่าปกครอง ระบบสังคมเป็นแบบช่วงต่อระหว่างยุคปลายของสังคมบุพกาลเข้าสู่ยุคสังคมแบบแบ่งชนชั้นวรรณะ
ราว 130 ปีก่อนคริสตกาล
ราชสำนักฮั่นรวบรวมประเทศเย่หลางเข้ามาเป็นเขตหนึ่งในอำนาจการปกครอง ระบบสังคมศักดินาของชาวฮั่นในสมัยนั้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมของชาวเหลียวจนกลายมาเป็นระบบสังคมแบบศักดินาในที่สุด
ในศตวรรษที่ 7
ราชสำนักถังรวบรวมและก่อตั้งบริเวณตอนเหนือของเมืองกุ้ยโจวในปัจจุบันซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเหลียวเข้ามาเป็นเมืองประเทศราช
ในช่วงนี้ปริมาณการผลิตของชาวเหลียวมีจำนวนสูงขึ้น มีการปลูกข้าวเจ้า
ข้าวสาลีเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเพื่อการค้าขาย งานฝีมือปักผ้าของชาวเหลียวงดงามต้องตา
จนได้รับยกย่องให้ใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายและใช้ในราชสำนัก
1.3 ระบบเศรษฐกิจสังคม
นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง
ซ่งและชิงเป็นต้นมา ชาวเกอลาวถูกการกดขี่และขูดรีดจากชนชั้นสูงในสังคมศักดินามาตลอด
จนถึงสมัยหยวนและหมิงชาวเกอลาวส่วนใหญ่ถูกครอบงำ
และถูกกดขี่จากชนชั้นกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างหนัก
โดยเฉพาะการแต่งตั้งข้าราชการและทหารมาปกครองดูแล
ชีวิตของชาวเกอลาวลำบากยากแค้นมากขึ้น จนในสมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิยงเจิ้ง (雍正 Yōnɡzhènɡ) มีนโยบายรวบรวมที่ดินกลับคืนสู่รัฐ
ชีวิตของชาวเกอลาวตกอยู่ในอำนาจการปกครองของข้าราชการ
แต่ยังมีชาวเกอลาวบางส่วนโดยเฉพาะในบริเวณกุ้ยโจว เฉียนซี
ต้าฟางยังคงรักษาระบบสังคมแบบชนชั้นกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่
ชาวเกอลาวตกอยู่ในอำนาจของชนเผ่าที่เหนือกว่าอย่างชาวอี๋ (彝族Yí Zú)
มาจนกระทั่งก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
รัฐบาลในยุคนั้นยังคงกดขี่รังแกและขูดรีดประชาชนชาวเกอลาวอย่างแสนสาหัส
ชาวเกอลาวดำรงชีวิตด้วยการปลูกพืชการเกษตรเป็นหลัก ที่สำคัญมี ข้าว ข้าวโพด
ข้าวสาลีและมัน แต่ด้วยวิทยาการที่ล้าหลัง ผลผลิตต่ำมาก ชาวเกอลาวในขณะนั้นรู้จักใช้เครื่องมือจำพวกกระบุง ภาชนะที่ทำจากเปลือกไม้
เครื่องจักสานไม้ไผ่ รองเท้าฟาง หลังจากปี 1840 เป็นต้นมา
สินค้าจากภายนอกถาโถมเข้าสู่ประเทศจีนรวมทั้งชุมชนเกอลาวก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
งานฝีมือที่ผลิตขึ้นเองของชาวเกอลาวถูกมองข้ามและละเลย ไม่ได้รับความนิยม สภาวะเศรษฐกิจตามชนบทตกต่ำ
สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดำดิ่งสู่ภาวะยากจนแร้นแค้น
หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
รัฐบาลมีนโยบายให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิในการปกครองตนเอง
และได้ก่อตั้งเขตปกครองตนเองของชาวเกอลาวดังนี้
ปี 1953 ก่อตั้งอำเภอปกครองตนเองหลากเผ่าพันธุ์ที่ตำบลหลงหลิน
มณฑลกว่างซี (广西隆林各族自治县
Guǎnɡxī
Lónɡlín
ɡè
zú zìzhìxiàn) ซึ่งมีกลุ่มชนชาวเกอลาวรวมอยู่ด้วย
ปี 1956
ก่อตั้งหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยขึ้นที่เมืองจุนอี้และเหรินหวยในมณฑลกุ้ยโจว (贵州遵义和仁怀民族乡Guìzhōu Zūnyì hé Rénhuái mínzú xiānɡ)
คณะกรรมการตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มณฑลตลอดจนระดับ
ประเทศ มีชาวเกอลาวเป็นสมาชิก
หลังการปฏิวัติวัฒนธรรมและการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ดินทำกิน ตลอดจนผลผลิตของชาวเกอลาวพัฒนาเพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีการพัฒนาระบบการศึกษา
ก่อตั้งโรงเรียนให้แก่ลูกหลานชาวเกอลาว
อารยธรรมและวัฒนธรรมของชาวเกอลาวกลับฟื้นฟูและมีชีวิตขึ้นอีกครั้ง
1.4
ชีวิตความเป็นอยู่
ชาวเกอลาวตั้งบ้านเรือนอยู่ทั้งบนเขาและที่ราบเชิงเขา
ลักษณะบ้านเรือนไม่แตกต่างจากบ้านเรือนของชาวฮั่น ในบ้านแบ่งเป็นสามห้อง
คือห้องนอน ห้องครัว ห้องโถงหนึ่งห้อง
หรือบางบ้านแบ่งเป็นสองห้องคือห้องนอนกับห้องครัว
ชาวเกอลาวอาศัยอยู่ร่วมกับชาวฮั่นมาเป็นเวลานาน
ซึมซับรับเอาวัฒนธรรมของชาวฮั่นไปมาก ไม่ว่าจะเป็นการกินอยู่ การแต่งกาย ประเพณี
เทศกาลสำคัญ ล้วนกำหนดตามแบบอย่างชาวฮั่นทั้งสิ้น จนดูเหมือนว่าจะไม่มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมากนัก เดิมทีหญิงชาวเกอลาวสวมเสื้อลำตัวสั้น
กระโปรงยาว สวมรองเท้าหัวแหลม
แต่ในระยะสิบปีหลังมานี้ไม่พบการแต่งกายแบบนี้แล้ว อาหารหลักของชาวเกอลาวที่อาศัยอยู่บนภูเขาคือข้าวโพด ส่วนกลุ่มที่อยู่บนพื้นที่ราบกินข้าวเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ยังบริโภคข้าวสาลี ข้าวเกาเหลียง
ข้าวเหนียว ชอบอาหารรสเปรียวและเผ็ด
1.5 ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม
ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรมประจำเผ่าของชาวเกอลาวได้แก่ เพลง กลอน นิทาน
สุภาษิตคำพังเพย รูปแบบลักษณะคำกลอนมีสัมผัสคล้องจองกันเป็นวรรคๆ
เป็นกลอนสาม กลอนห้า กลอนเจ็ด
นิทานของชาวเกอลาวส่วนใหญ่มีเนื้อหายกย่องชาวนาผู้อดทน ชาญฉลาด
และมีจิตใจดีงาม
มีบางเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อต้านการกดขี่ข่มเหงรังแกของระบบศักดินา
การดนตรีของชาวเกอลาวเรียบง่ายแต่งดงาม เครื่องดนตรีมี ซอเอ้อร์หู ขลุ่ยผิว ปี่
โหม่ง กลอง บรรเลงประกอบการเต้นรำรื่นเริงประจำเผ่า
ชาวเกอลาวยึดถือการแต่งงานแบบมีสามีภรรยาคนเดียว
และอาศัยอยู่เป็นครอบครัวเล็ก
สถานภาพในครอบครัวของชายและหญิงเท่าเทียมกัน ในอดีตการแต่งงานของชาวเกอลาวเป็นแบบคลุมถุงชน นิยมแต่งงานระหว่างญาตินอกสายตระกูล
(ญาติในสายตระกูลคือญาติที่สืบเชื้อสายโดยตรงโดยเพศชาย
นอกจากนั้นถือเป็นญาตินอกสายตระกูล)
แต่ปัจจุบันหนุ่มสาวมีสิทธิเสรีในการเลือกคู่ครองด้วยตนเอง และแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย
บางรายพ่อแม่หมั้นหมายกันไว้ตั้งแต่เด็ก
วันแต่งงานฝ่ายเจ้าบ่าวส่งคนไปรับเจ้าสาวมาจากบ้าน
โดยต้องกางร่มให้เจ้าสาวจนถึงบ้านเจ้าบ่าว
เมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าว ไม่มีพิธีกราบไหว้ใดๆ ส่งตัวเข้าห้องหอได้เลย ในอดีตชาวเกอลาวบางกลุ่มยังคงรักษาประเพณีการแต่งงานแบบชาวเหลียวอยู่
นั่นคือหญิงที่จะแต่งงานออกเรือน
ในวันแต่งงานก่อนจะเข้าบ้านเจ้าบ่าวต้องถอนเขี้ยวฟันบนออกก่อน
พิธีนี้ชาวเกอลาวเรียกว่า “เปลี่ยนฟันเกอลาว” (换牙仡佬huàn
yá Gēlǎo)
พิธีศพของชาวเกอลาวส่วนใหญ่เหมือนกับชาวฮั่น
มีเพียงชาวเกอลาวที่อำเภอจุนอี้ (遵义 Zūnyì) เหรินหวย(仁怀Rénhuái) ยังคงยึดถือพิธีการ “ย่ำโบสถ์” อยู่ พิธีนี้คือ
ก่อนจะฝังศพจะมีพิธีร้องเพลงสรรเสริญผู้ตาย ญาติสนิทมิตรสหายมาเคารพศพ
ไม่มีการเลือกวันฝังศพ ไม่เลือกสถานที่ฝังศพ ถือเอาวันและสถานที่ที่สะดวก
และไม่ตั้งป้ายหลุมศพ
ชาวเกอลาวมีความเชื่อในเทพเจ้า เคารพบูชาบรรพบุรุษ และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความเชื่อหลายอย่าง เช่น วันขึ้นปีใหม่วันแรกจะไม่กวาดบ้าน
ไม่กระโดดน้ำ ไม่ต้มเนื้อ ไม่เทน้ำหน้าบ้าน ไม่ลงนาทำงาน เทศกาลตรุษจีนเป็นเทศกาลยิ่งใหญ่ของชาวเกอลาว
ช่วงเทศกาลปีใหม่จัดกิจกรรมรื่นเริงและการละเล่นบันเทิงมากมาย เช่น
การเล่นตีลูกมังกร ตีไข่ไก่ ลูกมังกรคือลูกบอลลูกเล็กๆ
ที่สานจากเปลือกต้นอ้อแล้วยัดในด้วยเศษกระเบื้องและเงินเหรียญสองสามเหรียญ เมื่อตีเหรียญที่อยู่ข้างในจะกระทบกันเป็นเสียง
เวลาเล่นแบ่งเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละสองคน แล้วตีลูกบอลไปมา ส่วนการเล่นตีไข่ไก่ คือ
ใช้ลูกบอลที่สานจากไม้ไผ่ลูกใหญ่ ข้างในยัดด้วยฟางข้าว วิธีการเล่นเหมือนกัน
เทศกาลสำคัญนอกจากจะมีการละเล่นสองอย่างนี้เป็นกิจกรรมหลักแล้ว
ยังมีการร้องรำทำเพลงอันถือเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนานของชาวเกอลาว
นอกจากนี้ในต้นเดือนตุลาคมจะมีเทศกาล “เทพเจ้าวัว”
เทศกาลนี้จะทำข้าวเหนียวแผ่นแขวนไว้ที่เขาวัว ตกแต่งสวยงาม
จูงวัวไปที่ริมน้ำ ให้วัวส่องดูเงาตัวเอง แล้วเอาข้าวเหนียวแผ่นนี้ป้อนให้วัวกิน
2.การพรรณนาทางภาษาศาสตร์
2.1 การจัดแบ่งตระกูลภาษา
หนังสือภาษาจีนที่พรรณนาภาษาเกอลาวเล่มสำคัญ
คือ “ปริทรรศน์ภาษาเกอลาว”《仡佬语简志Gēlǎo yǔ jiǎn zhì》 ผลงานของ เฮ่อเจียซ่าน (Hè Jiāshàn:1983) นับเป็นผลงานภาษาจีนเล่มแรกที่ศึกษาและพรรณนาภาษาเกอลาวด้วยวิธีทางภาษาศาสตร์สมัยใหม่
จากนั้นมาก็มีผลงานการศึกษาภาษาเกอลาวบ้างประปรายเช่นหนังสือชื่อ
การศึกษาภาษาเกอลาว ผลงานของจางจี้หมิน (Zhāng
Jìmín:1993) จนกระทั่งปี 2006 สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีของชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน
มหาวิทยาลัยชาติพันธุ์ส่วนกลางปักกิ่ง โดยศาสตราจารย์หลีจิ่นฟาง (Lǐ
Jǐnfāng: 2006) ได้ก่อตั้งเว็บไซต์สำหรับเผยแพร่ข้อมูลภาษาและวัฒนธรรมเกอลาวขึ้น
ชื่อว่า 壮侗---仡佬语言文化网Zhuàng Dòng---Gēlǎo Yǔyán Wénhuà Wǎng “จ้วง-ต้ง-----เว็บไซต์ภาษาและวัฒนธรรมเกอลาว” เข้าถึงได้ทาง http://www.ztgl.net/ เป็นเว็บไซต์ภาษาจีนที่ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการ The Endangered Languages Documentation Programme (ELDP) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ศาสตราจารย์หลี่ได้ลงพื้นที่ศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลชุมชนเกอลาวที่หมู่บ้านเหมาฉ่าว
ชุมชนปี่กง ตำบลติงฉี
อำเภอปกครองตนเองชาวเหมียวชาวปู้อีเจิ้นหนิง มณฑลกุ้ยโจว(贵州省镇宁布依族苗族自治县丁旗镇比工村茅草寨Guìzhōu shěng
Zhènníng Bùyī zú Miáozú Zìzhìxiàn Dīng qí zhèn Bǐ gōng cūn, Máocǎo zhài) และชุมชนเกอลาวที่บ้านหงเฟิง ชุมชนผูตี่ อำเภอต้าฟาง (大方县普底乡红丰村 Dàfāng xiàn Pǔdǐ
xiāng Hóngfēng cūn )ซึ่งภาษาเกอลาวทั้งสองแห่งนี้จัดเป็นภาษาเกอลาวถิ่นอาโอว หรือ
เรียกอีกชื่อว่า ถิ่นเฉียนซี (仡佬语阿欧(黔西)方言Gēlǎo yǔ
ā ōu (Qián xī) fāngyán) เว็ปไซต์แห่งนี้รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิของภาษาและวัฒนธรรมชาวเกอลาวไว้มากที่สุดในขณะนี้
ข้อมูลทางภาษา ได้แก่ ข้อมูลคำศัพท์ บทสนทนาในชีวิตประจำวัน ตำนาน นิทานพื้นบ้าน
เพลง กลอน เป็นต้น ข้อมูลทางวัฒนธรรมมีข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่
อาหารการกิน การก่อตั้งบ้านเรือน การแต่งกาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ข้อมูลต่างๆ
มีทั้งที่จดบันทึกโดยใช้สัทอักษร และมีข้อมูลบันทึกเสียงและวิดีทัศน์ด้วย
นอกจากนี้ยังรวบรวมบทความและงานวิจัยภาษาจีนเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์เกอลาวไว้จำนวนมาก
นับว่าเป็นแหล่งสืบค้นสารสนเทศที่เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้สนใจศึกษา
แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีความรู้ภาษาจีนด้วย เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ภาษาจีน
แหล่งข้อมูลข้างต้นให้ความรู้กับเราว่า
เหตุที่ชาวเกอลาวอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย
ชื่อเรียกตัวเองจึงมีหลายชื่อต่างๆกัน เช่น / klau55,
qqu24 , a55 ɣɤu55
, ha43 kei43 , to31 /lo33 / เป็นต้น ชาวเกอลาวที่เมืองผิงป้า เรียกตัวเองว่า /pɯ55 lau55, lau55/ ในหนังสือนานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาษาตระกูลไท (สุริยา:2548,หน้า 166) ก็มีข้อมูลชื่อเรียกภาษาเกอลาวหลายชื่อเช่นกัน
คือ เก้อหล่าว ชื่อที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษมี
Gelao,Kelao,Keh-lao,Keu-Lāō,T’ou-Lao,Thu’,Khi,Keu-lao
ในหนังสือเล่มนี้สุริยาให้ข้อมูลว่าภาษาเก้อหล่าวเป็นภาษาในกลุ่มกะไดรอบนอกที่มีความใกล้ชิดกับภาษาละติ(Lati) ซึ่งเป็นการจัดแบ่งของเบเนดิค (Benedict,Paul K:1942) และภาษานี้ไม่ใช่ภาษาลาว
ด้วยเหตุที่ชนชาวเกอลาวมีจำนวนประชากรไม่มากนัก
ประกอบกับการตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยมีความกระจัดกระจายมาก ทำให้ภาษาของชาวเกอลาวในแต่ละท้องที่แตกต่างกันมาก
ถึงขั้นที่ไม่สามารถสื่อสารกันรู้เรื่อง
ปัจจุบันมีชาวเกอลาวจำนวนน้อยมากที่พูดภาษาเกอลาวของตนได้
เพราะเหตุความแตกต่างของสำเนียงภาษาในแต่ละท้องถิ่น
ชาวเกอลาวจึงใช้ภาษาจีนเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารกัน มีบางส่วนที่อยู่ใกล้ชิดกับชนกลุ่มอื่นก็ใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ใกล้เคียง
เช่น ภาษาอี๋ ภาษาเหมียว ภาษาปู้อี ชาวเกอลาวบางที่สามารถพูดได้ถึง 4 ภาษา
แต่ภาษาที่เป็นภาษาดั้งเดิมของชาวเกอลาวชื่อ “ภาษาเกอลาว” ชาวเกอลาวบางแห่งมีจำนวนประชากรน้อย
อีกทั้งยังอยู่ร่วมกับชนเผ่าอื่นมาเป็นเวลานาน
ทำให้ชาวเกอลาวรุ่นหลังพูดภาษาเกอลาวไม่ได้แล้ว
โดยใช้ภาษาจีนและภาษาของชนเผ่าใกล้เคียงในการติดต่อสื่อสารกัน ภาษาเกอลาวไม่มีตัวอักษรใช้[1]
เกี่ยวกับการจัดแบ่งตระกูลภาษานั้น ในหนังสือและเอกสารทางวิชาการภาษาจีนส่วนมากเห็นพ้องทำนองเดียวกันว่า
ภาษาเกอลาวยังไม่สามารถจัดได้ว่าจะให้อยู่ในสาขาภาษาหรือแขนงภาษาใด เนื่องจากมีระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาเหมียวและเหยา
แต่ระบบไวยากรณ์ใกล้ชิดกับภาษาจ้วงและภาษาปู้อี ในขณะที่มีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันกับภาษาในสาขาจ้วง-ต้ง
ทั้งแขนงจ้วง–ไตและแขนงต้ง-สุ่ยจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันกับภาษาในสาขาเหมียว-เหยาด้วย เพียงแต่ว่ามีปริมาณน้อยกว่า
เฮ่อเจียซ่าน(Hè Jiāshàn:1983,2-8)
ได้วิเคราะห์ว่าภาษาเกอลาวควรจัดอยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต ด้วยเหตุผลดังนี้
1.ทุกพยางค์มีวรรณยุกต์
2.ทุกพยางค์ประกอบด้วยพยัญชนะ สระ
และวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะมีความสัมพันธ์อย่างมีกฎเกณฑ์กับเสียงวรรณยุกต์
3.คำประสมเกิดจากการนำหน่วยคำที่มีความหมายสองคำมาประสมกัน
การสร้างคำไม่มีการเติมหรือแปรหน่วยเสียงเพื่อทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป
4.มีรูปแบบคำซ้ำ หรือซ้อนสี่พยางค์
5.มีการใช้คำลักษณนาม
6.วิธีทางไวยากรณ์คือการเรียงคำต่อกัน
ไม่มีการแปรหน่วยเสียงในคำเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางไวยากรณ์
การเปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์ระบบเสียง พบว่า
ระบบเสียงภาษาเกอลาวใกล้เคียงกับภาษาเหมียวมากที่สุด
แต่ในบรรดาองค์ประกอบทางภาษาทั้งสามอันได้แก่ เสียง คำศัพท์ ไวยากรณ์นั้น
ระบบเสียงเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนได้ง่ายที่สุด
เฮ่อเจียซ่านจึงได้เปรียบเทียบวงคำศัพท์ และระบบไวยากรณ์ที่สำคัญ ๆ เพื่อที่จะได้วิเคราะห์ให้ลึกซึ้งมากขึ้น
ดังข้อมูลต่อไปนี้
จากการเปรียบเทียบวงคำศัพท์จำนวนห้าร้อยกว่าคำ
แล้วประมวลผลเป็นตัวเลขทางสถิติพบว่า
ภาษาเกอลาวกับภาษา
|
จ้วง
|
ไต
|
ต้ง
|
หลี
|
เหมียว
|
เหยา
|
ศัพท์ร่วมเชื้อสาย (%)
|
45
|
46
|
40
|
39
|
15
|
19
|
ศัพท์ไม่ร่วมเชื้อสาย(%)
|
55
|
54
|
60
|
61
|
85
|
11
|
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า ภาษาเกอลาวมีคำศัพท์ร่วมเชื้อสายใกล้ชิดกับภาษาในสาขาจ้วง-ต้ง
มากกว่าภาษาสาขาเหมียว-เหยา
โดยมีคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับภาษาไตมากที่สุด รองลงมาเป็นภาษาจ้วง
และภาษาต้ง ในขณะที่มีคำศัพท์ร่วมกับภาษาสาขาเหมียว-เหยาน้อยมาก เพียง 15%
และ 19%เท่านั้น
ตัวอย่างคำศัพท์เป็นดังนี้
ไทย
|
จ้วง
|
ไต
|
ปู้อี
|
ต้ง
|
มู่
หล่าว
|
เหมาหนาน
|
สุ่ย
|
หลี
|
เกอลาว
|
เหมียว
|
เหยา
|
ไฟ
|
fei2
|
fai2
|
vi2
|
pui1
|
fi1
|
vi1
|
vi1
|
fei1
|
pai33
|
teu4
|
tou4
|
ฟัน
|
fan2
|
xeu3*
|
van2
|
pjan1
|
fan1
|
hi:u3*
|
vjan1
|
fan1
|
pan33
|
n̻a3
|
na2
|
ปี
|
pi1
|
pi6
|
pi1
|
ȵin2
|
mɛ1
|
ᵐbɛ1
|
ᵐbe1
|
pou2
|
plei33
|
ɕoŋ5
|
ȵaŋ5
|
มือ
|
mɯ2
|
mɯ2
|
vɯŋ2
|
mja2
|
nja2
|
si:m3
|
mja1
|
meɯ1
|
mpau33
|
mo1
|
mo1
|
ตา(eye)
|
ta1
|
ta6
|
ta1
|
ta1
|
l̥a2
|
ⁿda1
|
ⁿda1
|
ts’a1
|
tau33
|
mua6
|
mwei6
|
* อ.=แข้ว
, น.=เขี้ยว
|
จากข้อมูลคำศัพท์จะเห็นว่า
คำศัพท์ภาษาเกอลาวออกเสียงใกล้เคียงกับตารางฝั่งซ้ายคือภาษาแขนงจ้วง-ไตและแขนงหลีมาก
ส่วนกับภาษาแขนงต้ง-สุ่ยจะเห็นว่าห่างออกมาเล็กน้อย แต่ก็ยังพอมองเห็นร่องรอยบ้าง
ในขณะที่ตารางฝั่งขวาคือตัวแทนสาขาเหมียว-เหยา จะเห็นว่าแตกต่างกันค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับภาษาสาขาจ้วง-ต้งมากก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันก็มีคำศัพท์อีกกว่าครึ่งที่ไม่ร่วมเชื้อสายกัน
ทำให้การใช้เกณฑ์ระบบเสียงและวงคำศัพท์
ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปในการจัดเข้าเป็นสมาชิกในสาขาภาษาใดได้
การเปรียบเทียบโดยใช้เกณฑ์เรื่องไวยากรณ์ พบว่า
ภาษาเกอลาวมีระบบไวยากรณ์คล้ายกับภาษาสาขาจ้วง-ต้ง
ข้อมูลต่อไปนี้เปรียบเทียบไวยากรณ์ภาษาจ้วงซึ่งเป็นตัวแทนของแขนงจ้วง-ไต
กับภาษาต้งซึ่งเป็นตัวแทนของแขนงต้ง-สุ่ย
และภาษาเหมียวกับภาษาเหยาซึ่งเป็นตัวแทนของสาขาภาษาเหมียว-เหยา[2] ดังนี้
ตัวอย่างรูปแบบไวยากรณ์
|
เกอลาว
|
จ้วง
|
ต้ง
|
เหมียว
|
เหยา
|
ความหมาย
|
|||||
1.ประโยคความเดียว
|
ü
|
i33 x33
mp«ɯ13
ฉัน กิน ข้าว
|
ü
|
kou1 kɯn1 hau4
ฉัน กิน ข้าว
|
ü
|
jau2 ȶi1 ǝu4
ฉัน กิน ข้าว
|
ü
|
vi1 noŋ31 ka35
ฉัน กิน ข้าว
|
ü
|
cuŋ3 nau2 ju4
ฉัน กิน ข้าว
|
ฉันกินข้าว
|
2.การขยายคำนาม
|
ü
|
qɚ33 mu33
เรือน ใหม่
|
ü
|
ɣa:n2 mo5
เรือน ใหม่
|
ü
|
ja:i2 m«i5’
เรือน ใหม่
|
ü
|
u55 xhi33
เสื้อ ใหม่
|
û
|
sja ŋ1.2 lu:i1
ใหม่
เสื้อ
|
บ้านใหม่/เสื้อใหม่
|
3.การแสดงความเป็นเจ้าของ
|
ü
|
qɚ33 i33
บ้าน ฉัน
|
ü
|
ɣa:n2 kou1
บ้าน ฉัน
|
ü
|
ja:i2 jau2
บ้าน ฉัน
|
û
|
vi11 pa55
ฉัน พ่อ
|
û
|
tsi1 pjau3
ฉัน บ้าน
|
บ้านของฉัน/พ่อของฉัน
|
4.ลักษณนาม
|
ü
|
ta33 san33 luŋ44
สาม ตัว
เสื้อ
|
ü
|
sa:m1 keu1 pu6
สาม ตัว
เสื้อ
|
ü
|
sa:m1’ m«i4
uk9
สาม ตัว
เสื้อ
|
ü
|
pi33 kaŋ31 «33
สอง
ถ้วย น้ำ
|
ü
|
fa1 u͂:n3 num4
สอง ถ้วย น้ำ
|
เสื้อสามตัว / น้ำสองถ้วย
|
5.คำบ่งชี้
|
ü
|
xen33 tɕ’i55 ni31
คน(cl.) คน นี้
|
ü
|
tu2 mou1 nei4
ตัว(cl.) หมู นี้
|
ü
|
muŋ4 ȵ«n2 na:i6
คน(cl.) คน นี้
|
ü
|
tɛ11 pa44 noŋ35
ตัว
หมู นี้
|
û
|
na:i3 tau2 ŋoŋ2
นี้
ตัว วัว
|
คนคนนี้ / (หมู)วัวตัวนี้
|
6.การเปรียบเทียบ
|
û
|
i44 pi33* mu31 vi44
ฉัน กว่า เธอ สูง
|
ü
|
kou1
sa:N1 kva5 mɯŋ2
ฉัน สูง
กว่า เธอ
|
ü
|
ja:u2 pha:ŋ1+ ta6 ȵa2
ฉัน สูง
กว่า เธอ
|
û
|
vi11
pi55* moŋ55 xhi33
ฉัน กว่า เธอ
สูง
|
û
|
je1 pei3* mwei2 ɬaŋ1
ฉัน กว่า
เธอ สูง
|
ฉันสูงกว่าเธอ
|
7.บุพบท
|
ü
|
hu33 tai33
บน ต้นไม้
|
ü
|
kɯn2 fai4
บน
ต้นไม้
|
ü
|
wu1 mǝi4
บน ต้นไม้
|
û
|
qa33 tǝ44
ต้นไม้ บน
|
û
|
djaŋ5 ke2ŋa:i6
ต้นไม้
ใต้
|
บนต้นไม้
|
8.คำวิเศษณ์
|
ü
|
ɒ33 hen33
ดี มาก(very)
|
ü
|
dei1 la:i1
ดี มาก
|
ü
|
ȵaŋ2 la:i1
ดี มาก
|
ü
|
ɣu44 va44
ดี มาก
|
ü
|
loŋ5 hai6
ดี มาก
|
ดีมาก
|
9.รูปประโยคปฏิเสธ
|
û
|
i33 xɒ33 mpəɯ a33
ฉัน
กิน ข้าว ไม่
|
ü
|
kou1 bou3 kɯn1 hau4
ฉัน ไม่ กิน
ข้าว
|
ü
|
ja:u2 kwe2 ȶi1 əu4
ฉัน ไม่ กิน
ข้าว
|
ü
|
pi33 a55 na ŋ55 l̥jhe53
ฉัน ไม่ กิน
ข้าว
|
ü
|
je1 n̞5 ȵen6 n̥a:ŋ5
ฉัน ไม่ กิน
ข้าว
|
ฉันไม่กินข้าว
|
* จ.= 比bǐ
กว่า 我比他高wǒ bǐ tā gāo ฉัน
กว่า เขา สูง “ฉันสูงกว่าเขา”
|
จากที่ได้นำเสนอข้างต้นว่าข้อมูลระบบเสียงของภาษาเกอลาวใกล้ชิดกับภาษาสาขาเหมียว-เหยา
ส่วนคำศัพท์ใกล้ชิดกับภาษาสาขาจ้วง-ต้ง
และไวยากรณ์ดังที่ได้นำเสนอข้างต้นนี้มีแนวโน้มคล้ายกับภาษาสาขาจ้วง-ต้ง ดังนั้นการจัดแบ่งภาษาเกอลาวจึงยังเป็นข้อกังขาอยู่
แผนภูมินี้ผู้เขียนสร้างขึ้นจากคำอธิบายการจัดภาษาเกอลาวของนักวิชาการจีนตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
โดยแยกภาษาเกอลาวออกไปเป็นแขนงใหม่ต่างหากภายใต้สาขาจ้วง-ต้ง แต่ใส่เครื่องหมาย? กำกับไว้)
แผนภูมิ 1 การจัดแบ่งภาษาเกอลาว
2.2 ระบบเสียง
ข้อมูลภาษาเกอลาวตลอดจนการวิเคราะห์ต่อไปนี้สืบค้นและสรุปมาจากหนังสือชื่อ
“ปริทรรศน์ภาษาเกอลาว” ผลงานของ เฮ่อเจียซ่าน(Hè Jiāshàn:1983) ซึ่งเป็นภาษาเกอลาวที่บ้านวานจื่อ
เขตปกครองเฉพาะอานซุ่น มณฑลกุ้ยโจว(贵州安顺专区湾子寨Guìzhōu Ānshùn Zhuānqū Wān zi zhài)
ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวเกอลาวอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด
จัดเป็นภาษาเกอลาวถิ่นก่าว
2.2.1 พยัญชนะ ภาษาเกอลาวมีพยัญชนะ
36 เสียง ดังนี้
p
|
p’
|
m
|
mp
|
pl
|
mpl
|
f
|
v
|
vl
|
w
|
t
|
t’
|
n
|
nt
|
l
|
|||||
ts
|
ts’
|
nts
|
s
|
z
|
|||||
ʨ
|
ʨ’
|
ȵ
|
ȵʨ
|
ɕ
|
ʑ
|
||||
k
|
k’
|
ŋ
|
ŋk
|
kl
|
ŋkl
|
x
|
|||
q
|
q’
|
h
|
คำอธิบายเสียงพยัญชนะ
1.เสียงพยัญชนะในภาษาเกอลาวมีความสัมพันธ์กับเสียงวรรณยุกต์อย่างใกล้ชิด
ในบรรดาเสียงพยัญชนะทั้งหมด เสียง /p’/ จะเกิดเฉพาะกับวรรณยุกต์ 55, 44, 33, 24
เท่านั้น เสียงพยัญชนะ /f/ และพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ
(ในหนังสือเล่มนี้วิเคราะห์ว่าพยางค์ที่มี /ʔ/ นำหน้า เป็นพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ)
จะเกิดเฉพาะกับวรรณยุกต์ 55, 33, 24 เท่านั้น
2.พยัญชนะที่เกิดกับวรรณยุกต์
13 , 31 จะแปรเป็นเสียงโฆษะ เช่น คำว่า “ข้าว”
/mpəɯ13/ จะออกเสียงเป็น / mpɦəɯ13/ คำว่า “กระดูก” /taŋ31/ จะออกเสียงเป็น / tɦaŋ31/
3.เสียงพยัญชนะควบกล้ำกับ
/l/ กำลังจะสูญหาย
ชาวเกอลาวรุ่นหลังไม่ออกเป็นเสียงควบกล้ำแล้ว บางเสียงตัดเสียงควบกล้ำออก
บางเสียงแปรไปเป็นเสียงอื่น เช่น คำว่า “บันได” /klai33/
ออกเสียงเป็น /kai33/ คำว่า “แปด” /vlai44/ ออกเสียงเป็น /zwai44/
4.เสียงพยัญชนะ
/w/ เป็นเสียงคำยืมจากภาษาจีนเท่านั้น
5.พยัญชนะ
/nts/ มีคำจำนวนน้อยเพียงไม่กี่คำ
ในภาษาถิ่นอื่นๆ ออกเสียงเป็น /nt/
6.วรรณยุกต์
44 เกิดกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ /s/ ซึ่งมีเพียงไม่กี่คำ คำเหล่านี้ในภาษาเกอลาวถิ่นอื่น ออกเสียงเป็น /ts/
2.2.2 สระ ภาษาเกอลาวมีสระ 31 เสียง แบ่งเป็น
สระเดี่ยว 7 เสียง และสระประสม 24 เสียง โดยที่การวิเคราะห์แบบจีนนั้น
วิเคราะห์ให้เสียงพยัญชนะ /n, ŋ/ ที่อยู่ท้ายพยางค์เป็นสระ เรียกว่า “หางสระ” ในจำนวนสระประสม 24 เสียงนั้น มีสระที่มี /n,
ŋ/
เป็นหางสระอยู่ 9 เสียง และที่เห็นได้ชัด คือ ไม่มีหางสระที่ เป็นเสียงกัก
/p,t,k/
ทำให้ภาษาเกอลาวไม่มีข้อแตกต่างของพยางค์ที่เรียกว่า
พยางค์ปิดและพยางค์เปิดเหมือนกับภาษาไทกลุ่มอื่น ดังนี้
สระเดี่ยว
|
i
|
u
|
||
e
|
ie
|
ue
|
uei
|
|
a
|
ai
|
ua
|
uai
|
|
au
|
||||
ɒ
|
iɒ
|
iau
|
uɒ
|
|
o
|
io
|
|||
ɚ
|
ei
|
əu
|
||
iu
|
əɯ
|
|||
สระประสมที่มีหางสระ/n, ŋ/
|
||||
en
|
in
|
un
|
||
an
|
ian
|
uan
|
||
aŋ
|
uŋ
|
|||
uaŋ
|
คำอธิบายเสียงสระ
1.หางสระ
/-n/ ออกเสียงเบามาก
กล่าวได้ว่าอยู่ในภาวะที่กำลังจะสูญเสียหางสระ /n/ เช่น /pan33/ ออกเสียงเป็น [paⁿ33] “ฟัน”
/tin55/
ออกเสียงเป็น [tiⁿ55] “หวาน”
2.สระ
/i/ ที่อยู่หลังพยัญชนะ /ts/
ออกเสียงเป็น [ ɿ ] ซึ่งเป็นเสียงสระและพยัญชนะที่ยืมมาจากภาษาจีน
วิธีการใช้อักษร /i/ ที่เกิดหลังพยัญชนะ /ts/ แทนเสียงสระ [ ɿ ]
นี้ก็คือหลักการเขียนอักษรพินอินของจีนนั่นเอง
3.พยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ
ก็คือพยัญชนะ /ʔ/
แต่ในหนังสือเล่มนี้ไม่ใส่ /ʔ/ ในตำแหน่งพยัญชนะต้น
4.สระ
/o, əu ,ie , io ,iau/
เป็นสระที่มาจากคำยืมภาษาจีน ไม่มีคำที่มีเสียงสระเหล่านี้ในคำภาษาเกอลาว
5.เสียงสระ
/u/
เกิดกับคำที่ยืมมาจากภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนคำในภาษาเกอลาวเสียงสระ /u/ เกิดขึ้นเฉพาะกับพยัญชนะ /k,kh’/ เท่านั้น
2.2.3 วรรณยุกต์
ภาษาเกอลาวมีวรรณยุกต์ 6 เสียง
ในหนังสือปริทรรศน์ภาษาเกอลาวใช้สัญลักษณ์ระดับเสียงแทนเสียงวรรณยุกต์ แต่เพื่อให้สอดคล้องกับการวิเคราะห์เสียงวรรณยุกต์ภาษาอื่น ในหนังสือนี้จะเลือกใช้สัญลักษณ์ตัวเลขในการบอกระดับเสียง
ดังข้อมูลต่อไปนี้
55 ˥
|
44˦
|
33˧
|
24 /|
|
13
|
31Ù
|
ta55
|
ta44
|
ta33
|
ta24
|
ta13
|
ta31
|
ร้อน
|
เหา
|
สาม
|
ถ่าน
|
อ่าน
|
ล้ม
|
2.2.4 โครงสร้างพยางค์ (C=Consonant
,V=vowel) จากข้อมูลคำศัพท์ท้ายเล่มของหนังสือปริทรรศน์ภาษาเกอลาวนำมาวิเคราะห์โครงสร้างพยางค์ได้ว่า
พยางค์ในภาษาเกอลาวประกอบด้วยพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์
ในส่วนของโครงสร้างพยัญชนะและสระ นอกจากพยัญชนะต้นเดี่ยวที่เกิดจากฐานกรณ์เดียวแล้ว
ยังมีพยัญชนะต้นเดี่ยวที่ออกเสียงแบบมีเสียงนาสิกนำพยัญชนะฐานกรณ์เดียวกัน
ได้แก่ /mp, nt, nts, ȵʨ, ŋk/ พยัญชนะควบกล้ำมีเสียงควบกล้ำเสียงเดียวคือ
/ l /
ซึ่งควบกล้ำกับพยัญชนะต้นเดี่ยว 5 เสียง ได้แก่ /pl, mpl, vl, kl, ŋkl / ดังนั้นพยัญชนะต้นในภาษาเกอลาวจึงมีสองเสียงคือ /CC/ ส่วนเสียงสระมีสระเดี่ยวกับสระประสม โดยนักวิชาการจีนวิเคราะห์ว่า
สระมีหัวสระ(V) ท้องสระ(V) และหางสระ
จะเห็นว่าส่วนที่เป็นหัวสระคือ /V/ ส่วนที่เป็นท้องสระคือ (V) แต่ส่วนที่เป็นหางสระอาจจะเป็นสระ/V/ คือ /u,i/ หรือเป็นพยัญชนะ /C/ คือ /n,ŋ/ ก็ได้
ดังข้อมูลต่อไปนี้
C V
|
ni31 “นี่”
|
ŋɒ13 “ห่าน”
|
mpi13 “แพะ”
|
ʑɒ13 “ย่า”
|
mpɚ44 “ผี”
|
P
|
1
|
C V V
(C V C)
|
q’ai33 “ไก่”
|
qei55 “มะเขือ”
|
ŋkau44 “งู”
|
ten24 “ตื้น”
|
faŋ44 “ฝั่ง”
|
P
|
2
|
C V V V
(C V V C)
|
kuai33 “ไกว, หมุน”
|
lian31
“เข็ม”
|
klau24
“หินผา”
|
kuaŋ44
“แสง”
(จ.=光guāng)
|
tsuan24
“อิฐ”
(จ.=砖Zhuān)
|
PO
|
3
|
C C V
|
kle24 “เล็บ”
|
klu24 “ถอด”
|
vlɒ44 “ปล่อย”
|
kla13 “ต่ำ”
|
vla44
“แปด”
|
P
|
4
|
C C V V
(C C V C)
|
klau55“เกอลาว”
|
klai33 “ไหล”
|
plei33 “ปี”
|
plei31 “กอด”
|
plai33 “ถักเปีย”
|
P
|
5
|
C C V V V
(C C V V C)
|
ไม่มี
|
O
|
6
|
จากการวิเคราะห์ข้างต้นจะเห็นว่า
โครงสร้างพยางค์ที่สามารถหาคำศัพท์ภาษาเกอลาวได้ คือ แบบที่ 1 – 5 ส่วนแบบที่ 6
ไม่สามารถหาคำศัพท์ได้ ในขณะที่แบบที่ 3 มีคำภาษาเกอลาวไม่มาก ส่วนใหญ่เป็น
คำยืมจากภาษาจีน
2.3 ระบบคำ
ภาษาเกอลาวมีคำศัพท์สองประเภท
คือ คำโดด และคำประสม นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาจีนจำนวนมากด้วย ดังนี้
2.3.1 คำโดด แบ่งเป็น คำโดดหนึ่งพยางค์ และคำโดดสองพยางค์
ดังนี้
1) คำโดดพยางค์เดียว
เป็นคำหนึ่งพยางค์ที่มีความหมายในตัวเอง
สามารถใช้โดยอิสระได้ ตัวอย่างคำต่อไปนี้เทียบกับภาษาสาขาจ้วง-ต้งสามแขนงคือ
แขนงจ้วง-ไต ได้แก่ ภาษาไต คัดจาก “ปริทรรศน์ภาษาไต” (Yù Cuìróng,Luō Měizhēn:1979)
ภาษาจ้วงคัดจาก “ปริทรรศน์ภาษาจ้วง”(Wéi Qìngwén,Tán Guóshēng:1980) ภาษาปู้อีคัดจาก
“ปริทรรศน์ภาษาปู้อี” (Yù Cuìróng:1980) แขนงต้ง-สุ่ย ได้แก่
ภาษาต้งคัดจาก
“ปริทรรศน์ภาษาต้ง” (Liáng Mǐn:1979) ภาษาสุ่ยคัดจาก “ปริทรรศน์ภาษาสุ่ย” (Zhāng Jūnrú:1980) ภาษาเหมาหนานคัดจาก “ปริทรรศน์ภาษาเหมาหนาน” (Liáng
Mǐn:1980) ภาษามู่หล่าวคัดจาก “ปริทรรศน์ภาษามู่หล่าว” (Wáng Jūn, Zhèng Guóqiáo:1979) และแขนงภาษาหลี ได้แก่ ภาษาหลี คัดจาก
“ปริทรรศน์ภาษาหลี” (Ōuyáng Juéyà,Zhèng Yíqīng:1979)
คำศัพท์ร่วมเชื้อสาย
|
||||||||||
ไทย
|
คำ(ทอง)
|
เงิน
|
ปี
|
ไฟ
|
ไก่
|
ลูก
|
ไถ
|
ช้าง
|
งู
|
|
จ้วง-ไต
|
ไต
|
xam2
|
xam2
|
pi1
|
fai2
|
kai5
|
luk8
|
thai1
|
tsa:ŋ4
|
ŋu2
|
จ้วง
|
kim1
|
kim1
|
pi6
|
fei2
|
kai5
|
lɯk8
|
ɕai1
|
tɕa:ŋ4
|
ŋɯ2
|
|
ปู้อี
|
tɕim1
|
tɕim1
|
pi1
|
vi2
|
kai5
|
lɯɁ8
|
tɕai1
|
tja:ŋ4
|
ŋɯ2
|
|
ต้ง-สุ่ย
|
ต้ง
|
ȶǝm1
|
ȶǝm1
|
ȵin2
|
pui1
|
a:i5
|
la:k10
|
khǝi1+
|
ɕa:ŋ5+
|
sui2
|
สุ่ย
|
cim1
|
ȶum1
|
mɛ1
|
vi1
|
qa:i5
|
la:k8
|
ȶoi1
|
tsa:ŋ4
|
hui2
|
|
เหมาหนาน
|
cǝm1
|
ȵan2
|
ᵐbɛ1
|
vi1
|
ka:i5
|
la:k8
|
kwai1
|
tsa:ŋ4
|
zu:i2
|
|
มู่หล่าว
|
ȶum1
|
cǝm1
|
ᵐbe1
|
fi1
|
ci1*
|
la:k8
|
khɣai1
|
tja:ŋ4
|
tui2
|
|
หลี
|
หลี
|
kim3
|
kan1
|
pou2
|
fei1
|
khai1
|
ɬɯ:Ɂ7
|
lai2
|
-
|
ɬa2
|
เกอลาว
|
xen33
|
ȵin33
|
plei33
|
pai33
|
q’ai33
|
lei31
|
lai13
|
ɕaŋ24
|
ŋkau44
|
|
*จ. = 鸡jī
|
||||||||||
คำศัพท์เฉพาะเผ่าพันธุ์ภาษาเกอลาว
|
||||||||||
ǝu55
|
น้ำ
|
tɕ’i55
|
คน
|
tse13
|
กว้าง
|
si33
|
หนึ่ง
|
|||
klei33
|
พระอาทิตย์
|
mpǝɯ24
|
ข้าว
|
vi44
|
สูง
|
pe24
|
สิบ
|
|||
klɒ24
|
หัว
|
xɒ33
|
กิน
|
plɒ13
|
สีแดง
|
ȵtɕau24
|
ม้า
|
2)
คำโดดสองพยางค์ แต่ละพยางค์หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพยางค์ไม่สามารถแยกออกจากกันและมีความหมายโดยอิสระได้
ไม่ใช่ลักษณะของการเติมหน่วยคำเติมเพื่อให้มีความหมายทางไวยากรณ์ใดๆ
และไม่ใช่คำประสม นอกจากนี้ยังพบว่าคำส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการซ้ำพยัญชนะ
หรือซ้ำสระ หรือซ้ำคำ ส่วนมากพบว่าเป็นคำเรียกสัตว์ โดยเฉพาะจำพวกแมลง และยังมีคำคุณศัพท์ที่แฝงอารมณ์ความรู้สึก
ลักษณะเช่นนี้พบในภาษาสาขาจ้วง-ไตเช่นเดียวกัน
รวมถึงภาษาไทยเองก็มีร่องรอยของลักษณะคำโดดสองพยางค์แบบนี้เหมือนกัน เช่น แมงมุม
จักจั่น อึ่งอ่าง คางคก ตัวอย่างคำเช่น
คำ
|
ความหมาย
|
คำ
|
ความหมาย
|
คำ
|
ความหมาย
|
||
tsuŋ31 tsuŋ24
|
กบ
|
tsuŋ33 tsuŋ33
|
แมลงปอ
|
tu24 ten33
|
มด
|
||
p’au31 p’au24
|
ผีเสื้อ
|
ŋau31 ŋe44
|
แมงมุม
|
t’aŋ31 laŋ44*
|
ตั๊กแตน
|
||
* จ.= 螳螂tángláng
|
2.3.2 คำที่มีการเติมหน่วยคำอื่น
(1)
หน่วยคำเติมหน้า หน่วยคำที่นำมาเติมบางคำมีความหมายในตัวเอง
บางคำไม่มีความหมายในตัวเอง เมื่อเติมแล้วไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย เป็นเพียงการเติมเพื่อบ่งชี้ลักษณะการรวมกลุ่มความหมายของคำเท่านั้น และเป็นลักษณะที่เกิดกับคำนามทั้งหมด มีได้ดังนี้
หน่วยคำเติมหน้า
|
คำ
หลัก
|
เปลี่ยน
เป็น
|
ตัวอย่างคำ
|
|||
/lei31/ ความหมายเดิมแปลว่า
“ลูก”
เติมหน้าคำนามบอก
ลักษณะเป็นลูก/ก้อน/ผล
|
นาม
|
นาม
|
lei31 klai55
|
ลูกชาย
|
lei31zau44
|
ตุ้มหู
|
lei31 mɒ13
|
เด็กสาว
|
lei31 tsu33
|
ดาว
|
|||
/tau55/
เติมหน้าสำหรับคำเรียกญาติเพศชาย
ฝ่ายพ่อ และหน้าคำเรียกขานที่แสดงความเคารพยกย่อง
|
นาม
|
นาม
|
tau55 kau55
|
ปู่ทวด
|
tau55 mpɚ44
|
บรรพบุรุษ
|
tau55 sai55
|
พี่/น้องชายพ่อ
|
tau55 pe31
|
พระโพธิสัตว์
|
|||
/ɒ55/ ความหมายเดิมแปลว่า
“เนื้อ” เติมหน้าคำว่า “ปลา”
และชื่อเฉพาะของปลาชนิดต่างๆ
|
นาม
|
นาม
|
ɒ55 lau44
|
ปลา
|
ɒ55 au24
|
ปลาช่อน
|
ɒ55 tsen13
|
ปลาไหล
|
ɒ55 ɕi24
|
ปลาทอง
|
|||
/p’i55/ เติมหน้าคำนามที่มีความหมายถึง
อวัยวะในร่างกายที่มีลักษณะแบน
|
นาม
|
นาม
|
p’i55 te24
|
ลิ้น
|
p’i55 qa24
|
ฝ่าเท้า
|
p’i55 lau31
|
แก้ม
|
p’i55 mpau44
|
ฝ่ามือ
|
|||
/qau55/ เติมหน้าคำนามที่มีความหมายถึง
อวัยวะในร่างกายที่มีลักษณะเป็นก้อนเป็นชิ้น
|
นาม
|
นาม
|
qau55 p’ɑ33
|
ไหล่
|
qau55 ts’ai33
|
ข้อศอก
|
qau55 ǝɯ55
|
ส้นเท้า
|
qau55 ts’ǝɯ55
|
กำปั้น
|
|||
/ma13/ ความหมายเดิมแปลว่า
“แม่”
เติมหน้าคำที่มีความหมายถึงเพศหญิง
ตัวเมีย
หรือสัตว์ สิ่งของที่จัดว่าเป็นเพศเมีย
|
นาม
|
นาม
|
ma13 paŋ55
|
แม่ชี
|
ma13 en55
|
น้องสาว
|
ma13 ntai44
|
วัวตัวเมีย
|
ma13 ntau31
|
นก
|
|||
/pu55/ ความหมายเดิมแปลว่า
“ปอด”
เติมหน้าคำที่มีความหมายถึงอวัยวะภายใน
|
นาม
|
นาม
|
pu55
|
ปอด
|
pu55 p’au33
|
กระเพาะ
|
pu55 tɕin55
|
ตับ
|
pu55p’ɑ24
|
กระเพาะปัสสาวะ
|
นอกจากนี้ยังมีหน่วยคำเติมหน้าอีกแบบหนึ่งซึ่งนักวิชาการจีนวิเคราะห์ว่าเป็นประเภทของการเติมหน่วยคำเติมหน้า
แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นลักษณะของคำประสม เนื่องจากคำเหล่านั้นมีความหมายในตัวเอง
สามารถปรากฏได้ตามลำพัง เมื่อประสมแล้วทั้งสองคำต่างแสดงความหมายร่วมกัน ได้แก่
/lu44/ แปลว่า ด้าน หรือ ข้าง
|
นาม
|
นาม
|
lu44 qǝɯ55
|
ข้างหน้า
|
lu44 ȵtɕe33
|
ข้างหลัง
|
lu44 klǝɯ55
|
ข้างใน
|
lu44 plei55
|
ข้างนอก
|
|||
/pǝɯ55/ แปลว่า “ผู้ / คน / ชาว”
|
นาม
|
นาม
|
pǝɯ55 tǝɯ55
|
คนตาบอด
|
pǝɯ55ǝɯ44
|
คนบ้า
|
pǝɯ55 ŋan13
|
คนหูหนวก
|
pǝɯ55 qei55
|
คนขาเป๋
|
|||
pǝɯ55 sɒ33
|
ชาวฮั่น
|
pǝɯ55 klau55
|
ชาวเกอลาว
|
(2) คำเติมหลังเสริมสร้อย ที่เรียกว่าคำเสริมสร้อยเพราะว่าส่วนที่เสริมเข้ามาข้างหลังคำแท้นั้นไม่ได้เป็นคำที่มีความหมายในตัวเอง
และไม่ได้เป็นหน่วยคำที่เติมเพื่อให้เกิดเป็นความหมายใหม่
หรือมีหน้าที่ทางไวยากรณ์เปลี่ยนไปแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะของเสียงที่ซ้อนกันเพื่อทำหน้าที่เป็นสร้อยคำกับพยางค์หน้า
โดยการซ้ำพยัญชนะต้นแล้วเปลี่ยนเสียงสระ นำมาต่อท้ายคำหน้าเพื่อทำให้คำเดิมเพิ่มความหมายกว้างขึ้น
เข้มข้นขึ้น ชัดเจนขึ้น ส่วนมากเป็นคำคุณศัพท์ ลักษณะเช่นนี้พบในภาษาตระกูลไทอื่นๆด้วยเช่นกัน
ในภาษาเกอลาวมีวิธีการสร้างคำเสริมสร้อยดังนี้
คำเดิม
|
ความหมาย
|
คำใหม่
|
คล้ายกับความหมายในภาษาไทย
|
plɒ24
|
แดง
|
plɒ24 plen33
|
แดงระเรื่อ
|
lan33
|
ดำ
|
lan33 lǝɯ24
|
ดำมะเมื่อม
|
ntei33
|
หนาว
|
ntei33 ntu24
|
หนาวเหน็บ / เย็นยะเยือก
|
pia24
|
อ่อน
|
pia24
pin55
|
อ่อนปวกเปียก
|
(3) การซ้ำคำสองพยางค์ เป็นลักษณะของการซ้ำโดยการพูดคำเดิมซ้ำสองครั้ง
พยางค์ที่สองไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย เมื่อซ้ำคำแล้วมีการแปรทางความหมายว่ามีปริมาณมากขึ้น
มีจำนวนมากขึ้น มีความเข้มข้นมากขึ้น คำที่สามารถซ้ำได้มีคำนาม คำคุณศัพท์ และยังมีการซ้ำคำกริยา
ซึ่งจะมีความหมายว่าขอลองดู หรือทำกริยานั้นดูสักหน่อย
แต่คำลักษณนามในภาษาเกอลาวไม่สามารถใช้วิธีการซ้ำคำได้
ลักษณะเช่นนี้แตกต่างไปจากภาษาแขนงจ้วง-ไต และ ต้ง-สุ่ย
ที่คำลักษณนามสามารถซ้ำคำได้ ตัวอย่างคำเช่น
ชนิดของคำ
|
คำเดิม
|
ความหมาย
|
คำใหม่
|
ความหมาย
|
การซ้ำคำนาม
|
ntai44
|
วัว
|
ntai44 ntai44
|
วัวเป็นฝูง
|
sen44
|
วัน
|
sen44 sen44
|
วันๆ (ทุกวัน)
|
|
การซ้ำคำกริยา
|
tsu24
|
ดู
|
tsu24 tsu13
|
ขอดูหน่อย
|
tǝɯ31
|
คิด
|
tǝɯ31 tǝɯ31
|
คิดๆดู(แล้วก็...)
|
|
การซ้ำคำคุณศัพท์
|
mpai31
|
ช้า
|
mpai31 mpai31
|
ช้าๆ / ค่อยๆ
|
ʨɒ55
|
เร็ว
|
ʨɒ55 ʨɒ55
|
เร็วๆ / รีบๆ
|
(4) การซ้ำคำสี่พยางค์ คือรูปแบบการซ้ำคำพยางค์ที่หนึ่งกับพยางค์ที่สอง รูปแบบ AABB พยางค์ที่หนึ่งกับพยางค์ที่สองไม่ใช่คำประสม
แต่เป็นการนำเอาคำโดดสองพยางค์มาซ้ำกัน มีผลทำให้ความหมายเข้มข้นขึ้น
เกิดภาพพจน์ชัดเจนขึ้น หรือมีปริมาณที่มากมายนับไม่ถ้วน ตัวอย่างคำเช่น
คำเดิม 1
|
คำเดิม 2
|
ความหมาย
|
ซ้ำคำแบบ AABB
|
คล้ายกับความหมายในภาษาไทย
|
ntai44
|
mpi13
|
วัว / แพะ
|
ntai44 ntai44 mpi13 mpi13
|
ฝูงวัวแพะเต็มทุ่งหญ้า
|
paŋ13
|
kun24
|
โถ / ไห
|
paŋ13
paŋ13
kun24 kun24
|
เรียงรายกันเป็นพรืด
|
ɚ55
|
au24
|
เบี้ยว/งอ
|
ɚ55 ɚ55
au24 au24
|
คดๆงอๆ โค้งๆงอๆ
|
ȵʨau24
|
vlai31
|
เขย่า / โยก
|
ȵʨau24 ȵʨau24
vlai31 vlai31
|
โยกๆเยกๆ / โอนๆเอนๆ
|
(5) กลุ่มคำเฉพาะ
เป็นลักษณะการรวมคำแบบสี่พยางค์ รูปแบบคำที่เรียงกันนี้ไม่สามารถสลับที่หรือพูดเป็นอย่างอื่นได้
บางชนิดมีความหมายตามคำที่นำมาเรียงกัน บางชนิดเป็นสำนวน มีดังนี้
รูปแบบ
|
คำ
|
ความหมาย
|
ABAC
|
tǝɯ31 qǝɯ33 tǝɯ31
ȵʨe33
คิด หน้า คิด
หลัง
|
คิดหน้าคิดหลัง
|
si44
ts’en44 si44 laŋ31
คืน
ยาว คืน ลึก
|
ค่ำมืดดึกดื่น
|
|
ABCD
|
ta33 luŋ33 si33 lǝɯ55
สาม ท้อง สอง
ใจ
|
เจ้าชู้หลายใจ
|
tsǝɯ31 tɒ33 en55
pai55
พี่ชาย
น้องชาย พี่สาว น้องสาว
|
พ่อแม่พี่น้อง / ญาติพี่น้อง
|
2.3.3 คำประสม คือการนำคำโดดที่มีความหมายในตัวเองมาประสมกัน
แล้วเกิดเป็นคำที่มีความหมายที่ใกล้เคียงกับรากคำเดิม หรือเกิดความหมายใหม่
มีหลายวิธีได้แก่ 1.แบบรวมคำ
คือการนำคำโดดสองคำที่มีความหมายในตัวเองมาประสมกัน
เมื่อประสมกันแล้วคำทั้งสองต่างแสดงความหมายเท่าๆกัน
ความหมายใหม่ที่เกิดขึ้นใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกับคำเดิมทั้งสองคำ 2.แบบขยายความ
คือการนำคำสองคำมาเรียงต่อกัน คำหน้าทำหน้าที่บอกความหมายหลัก คำหลังทำหน้าที่ขยายความหมายของคำหน้าให้ชัดเจนขึ้น
3. แบบกริยากรรม คือ
คำประสมที่คำหน้าเป็นคำกริยาและคำที่ตามมาเป็นกรรมที่รับการกระทำของกริยาข้างหน้านั้น
เมื่อประสมแล้วเกิดเป็นความหมายใหม่ที่แปรมาจากความหมายเดิมของคำทั้งสอง
4.แบบประธานกริยา คือ คำประสมที่คำหน้าทำหน้าที่เป็นประธาน
คำที่ตามมาเป็นภาคแสดงบอกลักษณะหรือการกระทำของประธานข้างหน้านั้น 5. แบบเสริมความ
คือ
คำประสมที่คำข้างหน้าเป็นคำที่แสดงความหมายหลักส่วนคำที่ตามมาทำหน้าที่เสริมความหมายของคำข้างหน้าให้ชัดเจนขึ้นแต่ไม่ใช่การขยายความ
ส่วนมากเป็นลักษณะของชื่อหลัก+ชื่อเฉพาะ(ชฉ.) ดังตัวอย่างคำต่อไปนี้
รูปแบบ
|
ตัวอย่างคำ
|
||
แบบรวมคำ
|
pǝɯ31 mɒ13 “ผัวเมีย”
ผัว เมีย
|
luŋ24 ŋku44 “วิญญาณ”
เงา ผี
|
luŋ33 lǝɯ55 “หัวใจ”
ท้อง ใจ
|
แบบขยายความ
|
qɚ33 tau33 “โรงเรียน”
เรือน หนังสือ
|
qɒ55 pai33 “ขี้เถ้า”
ขี้ ไฟ
|
q’au33 zu24 “งานศพ”
เรื่อง ขาว
|
แบบกริยากรรม
|
t’a44 mpɚ44 “หมอผี”
ทำ ผี
|
t’a44 ni44 “พ่อค้า”
ทำ ค้าขาย
|
ts’au44
ts’a44 “ล่า”
ไล่ ภูเขา
|
แบบประธานกริยา
|
mpǝɯ13
taŋ24 “โจ๊ก/ข้าวต้ม”
ข้าว ต้ม
|
mpau33
ts’au44 “หมาล่าเนื้อ”
หมา ไล่
|
|
แบบเสริมความ
ชื่อหลัก+ชื่อเฉพาะ
|
tai33
ts’an24 ȵʨau24
“ต้นสน”
ต้น หาง
ม้า
|
qɚ33 va13* บ้านอิฐ
เรือน อิฐ
|
ntau31
k’un44 “นกกระจิบ”
นก ชฉ.
|
*จ.=瓦wǎ
|
2.3.4 คำยืมจากภาษาจีน จากการตรวจสอบข้อมูลคำศัพท์พบว่า
ภาษาเกอลาวมีทั้งคำที่
สัมพันธ์กับภาษาจีน
และคำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับตระกูลไทแต่ไม่สัมพันธ์กับภาษาจีน แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ
ได้ดังนี้
2.3.4.1 คำศัพท์ร่วมเชื้อสายกับคำศัพท์ยืมเก่า
ในแวดวงนักวิชาการจีนตัดสินว่าคำศัพท์ในภาษาของชนกลุ่มน้อยที่พ้องกับภาษาจีนนั้นเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาจีน
ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองชุดคำคือ
กลุ่มหนึ่งเป็นคำศัพท์ที่ยืมมาตั้งแต่อดีตเรียกว่า “คำยืมเก่า”
เป็นคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาจีนยุคกลางประวัติศาสตร์ และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นคำที่ยืมมาภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมจีน
ค.ศ.1949 เรียกว่า “คำยืมใหม่” แต่ขณะเดียวกัน ในแวดวงนักวิชาการที่ศึกษาภาษาไท-จีน
ก็มีผลงานการศึกษาส่วนหนึ่งที่พยายามพูดถึงคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไท-จีน
ซึ่งก็มีความเห็นว่า มีคำศัพท์ในภาษาไทหลายๆภาษากับคำศัพท์ภาษาจีนเป็นคำศัพท์ที่เคยใช้ร่วมกันในอดีตไม่ใช่คำยืม ศัพท์กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นคำโดดหนึ่งพยางค์
ซึ่งสามารถหาคำที่พ้องกันได้ในภาษาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตระกูลไท
จากการเปรียบเทียบพบว่า
ภาษาที่เป็นสมาชิกแขนงจ้วง-ไตสามารถหาคู่คำร่วมเชื้อสายกับภาษาจีนได้มากที่สุด
รองลงมาเป็นแขนงต้ง-สุ่ย และหลีตามลำดับ ส่วนภาษาเกอลาวพบน้อยกว่าแขนงอื่นมาก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(รายการคำศัพท์นี้คัดมาจากหนังสือปริทรรศน์ภาษาต่างๆ
ดังที่ได้ชี้แจงรายชื่ออ้างอิงไว้ในหัวข้อ 2.3.1)
จ้วง-ไต
|
ไทย
|
คำ(ทอง)
|
ตื้น
|
เงิน
|
ไถ
|
เช้า
|
เจ็ด
|
นก
|
ช้าง
|
ไต
|
xam2
|
tɯn3
|
ŋǝn2
|
thai1
|
tsao4
|
tset7
|
nok8
|
tsa:ŋ4
|
|
จ้วง
|
kim1
|
ɕen3
|
ŋǝn2
|
ɕai1
|
tɕau4
|
tɕit7
|
ɣok8
|
ɕa:ŋ4
|
|
ปู้อี
|
tɕim1
|
boʔ7
|
ŋan2
|
tɕai1
|
zuam6
|
tsat7
|
zok8
|
tsa:ŋ4
|
|
ต้ง-สุ่ย
|
เหมาหนาน
|
cim1
|
djai6
|
ȵan2
|
khǝi1+
|
ta5
ji:t7
|
ɕit7
|
nɔk8
|
tsa:ŋ4
|
ต้ง
|
ȶǝm1
|
lin5
|
ȵan2
|
ȶoi1
|
tsa:u4
|
sǝt7+
|
mok8
|
ɕa:ŋ5+
|
|
สุ่ย
|
ȶum1
|
djai5
|
ȵan3
|
kwai1
|
ɕət7
|
ɕət7
|
nok8
|
tsa:ŋ4
|
|
มู่หล่าว
|
cǝm1
|
min5
|
ȵan2
|
khɣai1
|
khɣam1
|
thət7
|
nɔk8
|
tja:ŋ4
|
|
หลี
|
kim3
|
thɯn3
|
kan1
|
lai2
|
ka:u3
|
thou1
|
taȶ7
|
ไม่มีคำเรียก
|
|
เกอลาว
|
xen33
|
ten24
|
ȵin33
|
lai13
|
ntau44
|
ɕi24
|
ntau31
|
ɕaŋ24
|
|
จีน
|
浅qiǎn
|
银yín
|
犁lí
|
早zǎo
|
七qī
|
鸟niǎo
|
象xiàng
|
2.3.4.2 คำยืมใหม่ ภายหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม รัฐบาลจีนปกครองและดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศอย่างทั่วถึง
ทำให้คำศัพท์เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การศึกษา วิทยาการต่างๆหลั่งไหลเข้าสู่ภาษาของชนกลุ่มน้อยเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง
โดยที่ชนกลุ่มน้อยต่างๆ ยืมคำศัพท์ภาษาจีนมาจากภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นที่ใกล้เคียง
ตัวอย่างคำยืมภาษาจีนใหม่แสดงในตารางต่อไปนี้
คำภาษาจีน
|
คำอ่านพินอิน
|
คำภาษาเกอลาว
|
ความหมาย
|
共产党
|
gòngchǎndǎng
|
kuŋ24 ts’an33 taŋ33
|
พรรคคอมมิวนิสต์
|
工人
|
gōngrén
|
kuŋ44 zen31
|
กรรมกร
|
国家
|
guójiā
|
kue31 tɕa44
|
ประเทศ
|
革命
|
gémìng
|
ke31 min24
|
ปฏิวัติ
|
政府
|
zhèngfǔ
|
tsen24 fu33
|
รัฐบาล
|
2.3.4.3 คำประสมภาษาจีนกับภาษาเกอลาว ตามลักษณะทางไวยากรณ์แล้ว
คำประสมภาษาเกอลาวคำหลักจะอยู่ตำแหน่งหน้า แล้วส่วนขยายตามมาข้างหลัง นอกจากคำยืมภาษาจีนเก่ากับคำยืมใหม่แล้ว
ยังพบลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ มีการสร้างคำประสมที่คำหนึ่งเป็นคำยืมจากภาษาจีน
อีกคำหนึ่งเป็นคำภาษาเกอลาว แต่การวางตำแหน่งสลับที่หน้าหลัง
หมายความว่าแบบหนึ่งคำเกอลาวขยายคำยืมจีน อีกแบบหนึ่งคำยืมจีนขยายคำเกอลาว ดังนี้ (จ.=คำภาษาจีน/ก.=คำภาษาเกอลาว)
(1) คำประสมแบบขยายความที่คำหน้าเป็นคำจีนคำหลังเป็นคำเกอลาว
(2) คำประสมแบบขยายความที่คำหน้าเป็นคำเกอลาวคำหลังเป็นคำจีน
(3)
ยืมคำภาษาจีนทั้งสองคำแต่ประสมเป็นภาษาเกอลาว
คำประเภทนี้เป็นคำประสมที่ทั้งคำหน้าและคำหลังเป็นคำยืมภาษาจีน
อาจจะเป็นคำยืมเก่าหรือคำยืมใหม่ก็ได้ หลักการประสมเป็นไปตามไวยากรณ์ภาษาเกอลาว
แต่เมื่อประสมกันเป็นคำแล้ว เป็นคนละคำกับที่ภาษาจีนใช้
ตำแหน่งที่1
|
ตำแหน่งที่2
|
คำภาษา
เกอลาว
|
คำภาษาจีน
|
ความหมาย ใหม่
|
(1) คำประสมแบบขยายความที่คำหน้าเป็นคำจีนคำหลังเป็นคำเกอลาว
|
||||
kuɒ33
“จ.= 瓜guā , แตง”
|
qan44 “ก.=ขม”
|
kuɒ33
qan44
|
苦瓜
kǔguā
|
มะระ
|
k’ǝɯ24
“จ.= 扣kòu,ล็อค”
|
ŋka33 “ก.=ประตู”
|
k’ǝɯ24 ŋka33
|
门扣
mén kòu
|
กลอน
|
(2) คำประสมแบบขยายความที่คำหน้าเป็นคำเกอลาวคำหลังเป็นคำจีน
|
||||
luŋ44 “ก.=เสื้อ”
|
min44
“จ.= 棉mián,ฝ้าย”
|
luŋ44
min44
|
棉衣
miányī
|
เสื้อผ้าฝ้าย
|
ɒ55 “ก.=ปลา”
|
tsen13
“จ.=
鳝shàn ปลาไหล”
|
ɒ55 tsen13
|
鳝鱼
shàn yú
|
ปลาไหล
|
(3) ยืมคำภาษาจีนทั้งสองคำแต่ประสมเป็นภาษาเกอลาว
|
||||
min31
“จ.明míng,ใส/สว่าง”
|
tɕin24
“จ.镜jìng กระจก”
|
min31
tɕin24
|
镜子
jìngzi
|
กระจก
|
tsǝɯ44
“จ.抽chōu ชัก”
|
ɕaŋ44
“จ.箱xiāng ลัง”
|
tsǝɯ44 ɕaŋ44
|
抽屉
chōutì
|
ลิ้นชัก
|
2.3.4.4
การยืมแบบพ้องเสียงยืมความหมาย ลักษณะการยืมคำนี้ค่อนข้างซับซ้อน กล่าวคือ
เป็นการยืมคำพ้องเสียงของภาษาจีนมาเทียบกับคำที่มีความหมายอื่นในภาษาเกอลาว
เพื่อยืมความหมายจากภาษาจีนมาใช้ เช่น
คำภาษาจีน 1
|
คำภาษาจีน 2
|
ความหมายที่ต้องการ
|
คำภาษา
เกอลาว
|
ยืมมาใช้ในความหมายว่า
|
洋yáng “ต่างประเทศ”
|
羊yáng “แพะ”
|
ต่างประเทศ
|
mpi13
“แพะ”
|
ต่างประเทศ
|
尺chǐ “นิ้ว (หน่วยวัด)”
|
吃chī “กิน”
|
นิ้ว (หน่วยวัด)
|
xɒ33 “กิน”
|
นิ้ว (หน่วยวัด)
|
金jīn “ทอง”
|
京jīng “เมือง”
|
เมือง
|
xen33
“ทอง”
|
เมือง
|
2.3.4.5 สถานการณ์คำศัพท์แบบทวิภาษา
หมายถึงการใช้คำศัพท์ทั้งภาษาจีนและภาษาเกอลาวแทนกัน
คำศัพท์ภาษาเกอลาวดั้งเดิมยังใช้อยู่ในกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่คนรุ่นใหม่ที่ได้ศึกษาภาษาจีน
มีแนวโน้มเลือกใช้คำศัพท์ภาษาจีนแทนที่คำภาษาเกอลาว
คำภาษาจีน
|
คำภาษาเกอลาว
|
วัยกลางคนและผู้สูงอายุ
เลือกใช้คำภาษาเกอลาว
|
คนรุ่นใหม่เลือกใช้
คำยืมจากภาษาจีน
|
村子cūnzi
“หมู่บ้าน ชุมชน”
|
mɒ33
“หมู่บ้าน”
|
mɒ33
|
ts’en44
tsi33
|
老师lǎoshī
|
za44
tau33 “ครู ”
|
za44
tau33
|
lao33
si44
|
[1] มีข้อมูลการค้นพบอักษรของชาวเกอลาวในบทความของ
อู๋ซูหมิน (Wú Sūmín:2011,35-36) ว่าเมื่อปลายปี 2008 สมาคมการศึกษาชาติพันธุ์เกอลาวแห่งมณฑลกุ้ยโจว(贵州省仡佬学会Guìzhōu shěng gēlǎo xuéhuì) ได้ค้นพบเอกสารโบราณเล่มหนึ่งที่ ชื่อ “จารึกประวัติศาสตร์สวรรค์ชั้นเก้าของชาวผู” 《九天大濮史录Jiǔtiān dà pú shǐlù》เอกสารชิ้นนี้ได้รับยกย่องให้เป็นคัมภีร์ (天书Tiānshū)
ของชาวเกอลาว เนื่องจากเป็นเอกสารที่ชาวฮั่นกับชาวเกอลาวร่วมกันจดบันทึก
มีเนื้อหาพรรณนาเกี่ยวกับบรรพบุรุษและประวัติศาสตร์ของชาวเกอลาว
ในบันทึกเล่มนี้มีข้อความบางตอนที่ไม่ใช่อักษรจีน
และจากการศึกษาเปรียบเทียบแล้วก็พบว่า
ไม่ใช่อักษรของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดกัน เป็นรูปแบบอักษรภาพที่เขียนอย่างช่ำชองคล่องแคล่ว
นักวิชาการด้านอักษรศาสตร์จีนจึงลงความเห็นว่าเป็นอักษรภาษาเกอลาวที่ชาวเกอลาวมีใช้มาเป็นเวลานานแล้ว
และมีพัฒนาการถึงขีดสุดที่สามารถใช้สื่อสารกันตามปกติ
แต่มูลเหตุจากการตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายกันมาก ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนขาดการสืบทอด
อักษรจึงสูญหายไป ในขณะที่ภาษาพูดก็มีใช้ในชุมชนเกอลาวไม่มากแล้ว
[2] ข้อมูลภาษาจ้วงสืบค้นจาก เหวยชิ่งเหวิ่นและถานกว๋อเซิง (Wéi Qìngwén, Tán Guóshēng:1980)
ข้อมูลภาษาต้งสืบค้นจาก เหลียงหมิ่น (Liáng Mǐn:1979) ข้อมูลภาษาเหมียวสืบค้นจาก หวางฝู่ซื่อ (Wáng Fǔshì:1983)
ข้อมูลภาษาเหยาสืบค้นจาก เหมาจงอู่ (Máo
Zōngwǔ:1982)
[3] ภาษาจีนโบราณออกเสียงว่า [krim] ภาษาจีนถิ่นกว่างโจว [kam1] ภาษาถิ่นหมิ่นหนาน [gim1]
ภาษาถิ่นแคะ [gim1] ข้อมูลนี้สืบค้นจากเว็บไซต์ชื่อ
汉语方言发音字典Hànyǔ fāngyán
fāyīn zìdiǎn “พจนานุกรมเสียงภาษาถิ่นจีน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น