วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ที่ราบสูงชิงจั้ง : นั่นคือทิเบต แดนสวรรค์

คัดลอกภาพนี้มาจาก http://data1.act3.qq.com/2011-04-02/17/f8b00d7d989ab4dbef56557b45064a10.jpg

http://www.youtube.com/watch?v=1jrsSi0OM4w

ในบรรดาเพลงจีนร่วมสมัยที่กล่าวถึงดินแดนทิเบต ชาวจีนทุกคนไม่มีใครไม่รู้จักเพลงชื่อ   ชิง จั้ง เกาหยวน《青藏高原》Qīnɡzànɡ ɡāoyuán เพลงนี้แปลเป็นภาษาไทยว่า  ที่ราบสูง ชิง จั้ง ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย จางเชียนอี (张千一Zhānɡ Qiānyī) เผยแพร่ครั้งแรกในปี  1997 ผู้ขับร้องคนแรกชื่อ หลี่น่า (李娜Lǐ Nà) เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เทียนลู่ 《天路》Tiānlùทางสายสวรรค์ เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในโลกและอยู่เหนือระดับน้ำทะเลสูงที่สุดในโลก นั่นก็คือ ทางรถไฟสายชิงไห่ - ทิเบต เนื้อหาของเพลงนี้บรรยายถึงทัศนียภาพอันงดงามของทิเบต ท่วงทำนองก็ใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองของทิเบต เป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการเพลงยอดนิยมของจีนที่นำทำนองเพลงแบบพื้นเมือง มาทำเป็นเพลงสมัยปัจจุบัน  ทะลายกำแพงภาษาและม่านแห่งหุบเขา ทำให้ผู้คนรู้จักเพลงทิเบตและเข้าใจชนชาวทิเบตมากขึ้นจากเพลงนี้
 ในช่วงที่แต่งเพลง จางเชียนอี ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองดุริยางค์ตำรวจ ความจริงแล้ว จางเชียนอี ทำงานด้านดนตรีมานานแล้ว นับตั้งแต่ปี  1981 เพลงที่บรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าวงใหญ่ชื่อเพลง เป่ยฟาง เซินหลิน《北方森林》Běifānɡ sēnlín ป่าลึกในแดนเหนือ ผลงานการประพันธ์ของ จางเชียนอี ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดวงออเคสตร้าแห่งชาติจีน ครั้งที่ 1 ซึ่งในขณะนั้น จางเชียนอี  มีอายุเพียง 22 ปี  จากผลงานและฝีมืออันเป็นที่ประจักษ์นี้เองจางเชียนอี ได้รับเชิญจากผู้กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง เทียนลู่ ให้แต่งเพลงประกอบละครเรื่องดังกล่าว  หลังจากได้อ่านบทละครแล้ว  ก็รู้สึกประทับใจเป็นที่สุด เนื่องจากบทละครเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของการส่งคณะวิศวกรรมทหารเข้าไปทำการก่อสร้างทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบต  ซึ่งการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ มิใช้งานวิศวกรรมสร้างทางทั่วไป หากแต่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และการนำความเจริญเข้าสู่ดินแดนทิเบต 
  จางเชียนอี รับปากแต่งเพลงประกอบละครเรื่อง เทียนลู่ สร้างความกังขาให้กับมิตรสหายเป็นอย่างมาก เนื่องจาก จางเชียนอี ยังไม่เคยไปทิเบตเลยสักครั้ง จะสามารถแต่งเพลงให้มีกลิ่นไอของความเป็นทิเบตได้อย่างไรกัน แต่ จางเชียนอี รู้สึกว่าหลังจากที่ได้อ่านบทละครแล้วเกิดความรู้สึกสนิทแน่นแฟ้นกับวัฒนธรรมทิเบตขึ้นในใจ ประกอบกับโดยส่วนตัวมีความสนใจดนตรีทิเบตเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว สัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของดินแดนหลังคาโลก ไม่ว่าจะเป็น ภูเขาหิมะสูงเสียดฟ้า พระราชวังปู้ลาตา (布达拉宫bùdálāɡōnɡ) เวิ้งฟ้าครามที่สูงและกว้างใหญ่ ความศักดิ์สิทธิ์ของพุทธธรรม ผุดขึ้นมาในใจชัดเจนดั่งภาพที่ฉายผ่านสายตาซ้ำไปซ้ำมา จางเชียนอี จึงได้แต่งเพลง  ชิง จั้ง เกาหยวน ขึ้นจากแรงบันดาลใจนี้
คำว่า หย่า ลา ซัว (呀啦索yɑ lā suǒ) ที่ปรากฏในเพลง เป็นภาษาทิเบต ใช้เป็นคำอุทานทั่วไป เหมือนคำจำพวก ลา ลัน ลา โฮ่ ฮิ้ว ฮา  ไม่มีความหมายเฉพาะ บ่งบอกถึงเสียงที่กู่ก้องสะท้อนไปในหุบเขาเวิ้งฟ้ากว้างไกล  
ความพิเศษที่น่าสนใจของเพลงนี้ นอกจากทำนองเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ เนื้อเพลงที่พรรณนาความงดงามของทิเบตแล้ว การใช้เลือกใช้เสียงโน้ตกับคำร้องมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เป็นลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของเพลงนี้ที่ต้องกล่าวถึง  โดยเฉพาะคำว่า เกา ( ɡāo) แปลว่า สูง  ที่อยู่ในวรรคสุดท้ายของเพลง ผู้แต่งใช้การลากเสียงยาวจากเสียงต่ำขึ้นไปสูงหนึ่งขั้นคู่แปดแล้วลากเสียงลงมาต่ำเป็นแนวโค้งนูนขึ้น คือเสียงโน้ต / 5 3 5 6 1* 2* 3* 5* 2* 1* 5 /  สื่อถึงภาพของขุนเขาที่สูงชันของทิเบตได้อย่างชัดเจน  ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้ยินเพลงนี้  นอกจากจะเห็นภาพความงามของทิเบตผ่านภาษาเพลงแล้ว ยังสามารถสัมผัสได้ถึงบรรยากาศและภาพพจน์ของทิเบตจากเสียงตัวโน้ตที่สูงๆ ต่ำ อันเป็นตัวแทนของภูเขาลูกแล้วลูกเล่า ทุกคนจดจำเพลงนี้ได้ติดตรึงใจ แม้จำเนื้อเพลงไม่ได้ แต่ทำนองที่ไพเราะรื่นหู และภาพพจน์ที่ปรากฏออกมาทางเสียงตัวโน้ต สามารถสะกดผู้ฟังให้เงียบกริบ ด้วยตะลึงในจินตภาพความงดงามของทั้งภาพทิเบต และความละเอียดอ่อนของเสียงเพลงที่แต่งด้วยความวิจิตรบรรจง
นับตั้งแต่เพลงนี้ออกเผยแพร่สู่ประชาชน ตราบจนปัจจุบันยังไม่เคยสิ้นเสียงไปจากแผ่นจีนเลยแม้เพียงเสี้ยววินาที ทุกตรอกซอกซอย งานเล็กงานใหญ่ ลูกเล็กเด็กแดง คนวัยหนุ่มสาว ผู้แก่เฒ่าล้วนรู้จักเพลงนี้ทั้งนั้น โดยเฉพาะเวทีประกวดร้องเพลง ไม่ว่าเวทีไหน เล็กหรือใหญ่ หญิงหรือชาย ผู้เข้าประกวดต้องเลือกเพลงนี้มาประกวด ด้วยเป็นเพลงที่สามารถแสดงพลังเสียง กลเม็ดเด็ดพรายเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ได้อย่างขาดลอย เดิมทีเพลงนี้เป็นเพลงที่ประสมประสานแบบพื้นเมืองกับเพลงสตริงสมัยใหม่ แต่ก็มีผู้นิยมนำไปขับร้องหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการขับร้องประสานเสียง การขับร้องแบบโอเปร่า การขับร้องแบบลูกทุ่ง หรือชาวทิเบตเองก็นำไปแต่งคำร้องเป็นภาษาทิเบต  ทำให้เพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงเรื่อยมา 
            สามารถอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับดินแดนทิเบตได้ใน บทความเรื่อง เทียนลู่,บทเพลงแห่งสายใยรักจีนทิเบต  วารสารเพลงดนตรี , วิทยาลัยดุริยางคศิลป์   มหาวิทยาลัยมหิดล, ปีที่ 14  ฉบับที่12.    
            สามารถชม MV เพลงนี้ได้ที่ http://www.youtube.com  โดยใช้คำค้นหาว่า TIBETAN PLATEAU SONG (คำร้องภาษาจีน) / Qinghai-Tibet Plateau (Tibetan) Soinam Wangmo  (คำร้องภาษาทิเบต)

เนื้อเพลง
是谁带来远古的呼唤            是谁留下千年的祈盼
难道说还有无言的歌            还是那久久不能忘怀的眷恋
我看见一座座山一座座山川      一座座山川相连
呀啦索,那可是青藏高原         是谁日夜遥望着蓝天
是谁渴望永久的梦幻            难道说还有赞美的歌
还是那仿佛不能改变的庄严      我看见一座座山一座座山川
一座座山川相连                呀啦索,那就是青藏高原

 ความหมายของเนื้อเพลง
คือใครหนอแว่วเสียงเพรียกจากหนหลัง      ใครหนอทิ้งความหวังพันปีไว้
หรือมีเพลงไร้ภาษาหรืออย่างไร                  หรือเป็นความอาลัยไม่ลืมเลือน
ฉันมองเห็นภูเขาสูงเป็นทิวแถว                  ร้อยเขาเรียงร้อยเป็นแนวสูงสุดเอื้อม
หย่า ล่า ซัว ...                                        นั่นก็คือ ที่ราบสูงทิเบต แดนสวรรค์  

คือใครหนอทุกเช้าค่ำมองฟ้าคราม ใครหวังความเป็นนิรันดร์ในภาพฝัน 
หรือยังมีเพลงสรรเสริญอื่นใดกัน               หรือคล้ายความน่าเกรงขาม ไม่อาจกลาย
ฉันมองเห็นภูเขาสูงเป็นทิวแถว                  ร้อยเขาเรียงร้อยเป็นแนวเป็นริ้วสาย
หย่า ล่า ซัว ...                                        นั่นก็คือ ที่ราบสูงทิเบต แดนสวรรค์  


1.      โน้ตเพลง ที่ราบสูงชิงจั้ง (มี 2 หน้า) จาก  http://www.tiqinpu.com/html/yinsi/2010/1016/166.html


青藏高原小提琴谱


2. ที่ราบสูงทิเบต

 http://photocdn.sohu.com/20060808/Img244688187.jpg





http://www.zhg1.cn/geography/UploadFiles_2706/200901/20090113185454553.jpg



พระราชวังโปตาลา วัดที่เป็นศูนย์รวมใจชาวทิเบต



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น