ชาวไต
เป็นกลุ่มชนที่นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวไทย
ก่อนที่จะอพยพลงใต้มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน อาศัยอยู่ในมณฑลหยวินหนาน(Yunnan ) ในบริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าไตสิบสองปันนา
(Xi shauang ban na)
เขตปกครองตนเองเผ่าไต เผ่าจิ่งโพ เมืองเต๋อหง ตำบลปกครองตนเองเผ่าไต เผ่าว้า เมืองเกิ่งหม่า ตำบลปกครองตนเองเผ่าไตเผ่าลาหู่
เมืองเมิ่งเหลียน และมีกระจัดกระจายอยู่ตามเมืองอื่นๆ อีกกว่า 30 เมืองในมณฑลหยวินหนานเช่น
ซินผิง หยวนเจียง จินผิงเป็นต้น
ชาวไตตั้งบ้านเรือนอยู่ตามบริเวณเขตร้อนที่ราบหุบเขา ภาษาที่ใช้คือภาษาไต มีอักขระอักษรเป็นของตนเอง
ซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี 50 ของศตวรรษที่ 20
คนไทหรือคนไตมีชื่อเรียกตัวเองหลายชื่อ
เช่น ไตเล่อ ไตหย่า ไตน่า ไตเปิง ในสมัยฮั่นและจิ้นเรียกชนกลุ่มนี้ว่าเตียนเยว่
ต่าน ซ่าน เหลียว และจิวเหลียว ในสมัยถังและซ่งเรียกชนกลุ่มนี้ว่าจินฉื่อ เฮยฉื่อ
หมางหมาน ไป๋อี จนถึงสมัยราชวงศ์ชิง เรียกชนกลุ่มนี้ว่า ไป่อี๋ หลังปฏิวัติวัฒนธรรมรัฐบาลจีน
เรียกชื่อชนกลุ่มนี้ตามความสมัครใจของชนเผ่าว่า “ไต่จู๋” ซึ่งหมายถึงชนชนชาติไตนั่นเอง
ชนชาติไตในดินแดนจีนนี้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานมาก พงศาวดารจีนที่มีบันทึกถึงชนชาติไตเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่
1 ในปี ค.ศ. 109 จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้บุกเบิกพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงไต้ สร้างเมืองอี้โจว บริเวณที่ชาวไตตั้งถิ่นฐานอยู่คือบริเวณชายแดนทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอี้โจว
จนถึงศตวรรษที่ 6 ได้สร้างเมืองหย่งชาง พื้นที่อาศัยของชนชาติไตจัดอยู่ในเขตการปกครองของเมืองหย่งชางนี้เอง
ในเวลานั้นบรรพบุรุษชาวไตได้ส่งคณะทูตและคณะนักดนตรีนักแสดงเพื่อแสดงถวายแด่จักรพรรดิของราชวงศ์ตงฮั่นที่เมืองหลวงลั่วหยาง
ได้รับการยอมรับและโปรดปรานของจักรพรรดิราชวงศ์ตงฮั่นเป็นอย่างมาก จนได้รับพระราชทานรางวัลมากมาย
ที่สำคัญหัวหน้าที่นำคณะชาวไตมานั้นได้รับเชิญให้อยู่รับราชการเป็นนายพลของราชวงศ์ฮั่นอีกด้วย
ชนชาติไตและราชสำนักฮั่นมีสัมพันธ์อันดีต่อกันนับแต่นั้นเรื่อยมา จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 13
ชนชาติไตรวมทั้งชนชาติใกล้เคียงได้แก่เผ่าอี๋ เผ่าไป๋ รวมตัวกันก่อตั้งเป็นเขตการปกครองขึ้นที่หยวินหนานน่านเจ้า
ในสมัยหยวนพื้นที่ชนชาติไตอยู่ในเขตการปกครองของมณฑลหยวินหนาน
ที่สำคัญได้แก่เมืองเต๋อหง และ สิบสองปันนา
ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยส่วนใหญ่ของชนชาวไต
ถึงสมัยหมิงจัดการให้ชาวไตถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน อันเป็นจุดสำคัญในการรวมชนชาติไตเข้ามาอยู่ในการปกครองของจีน
ในสมัยราชวงศ์ชิงการปกครองชนชาติไตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก
คงยึดถือตามแบบการปกครองของราชวงศ์หมิง
แต่มีการยึดที่ดินที่มีการพัฒนาแล้วของชาวไตกลับคืนเป็นของรัฐ
โดยการส่งขุนนางเข้าไปในพื้นที่จัดการรวบรวมที่ดิน ในสมัยก๊กหมินตั๋งไตก่อตั้งเขตการปกครองในบริเวณชายแดนของชนชาติไต
ขูดรีดประชาชนในยุคนี้สร้างความทุกข์ยากให้กับชาวไตเป็นอย่างมาก
หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชาวไตก่อตั้งเขตปกครองตนเองได้สำเร็จ โดยในปี 1953
ก่อตั้งบริเวณปกครองตนเองชนชาติไตที่สิบสองปันนา
และยกระดับเป็นเขตปกครองตนเองชนชาติไตที่สิบสองปันนา ในปี 1955 ส่วนชุมชนชาวไตที่เมืองเต๋อหง ก่อตั้งเป็นบริเวณปกครองตนเองเมื่อปี
1953 และยกฐานะเป็นเขตปกครองตนเองเมืองเต๋อหงในปี 1956
ในด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่โดดเด่นได้แก่
การนับปฏิทินแบบชาวไต ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 638 มีตำราปฏิทินจันทรคติ
มีบันทึกพงศาวดารภาษาไตที่จารึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชนเผ่า เพลง
กลอน นิทาน ตำนานมากมาย ชาวไตมีวรรณกรรมขนาดยาวที่จดบันทึกไว้มากกว่าห้าร้อยเรื่อง
ถือว่าเป็นชนเผ่าที่มีอารยธรรม และวิวัฒนาการทางภาษาที่โดดเด่นมากที่สุดในบรรดาชนกลุ่มน้อยทั้งหมดของจีน
วรรณกรรมที่โดดเด่นเช่นเรื่องราวการกำเนิดพิภพ เช่นเรื่องปู้ซังก้ายกับหว่าซังก้าย
เรื่องคุณซา เรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกการทำมาหากินเช่น ปาอาลาอูยิงกวางทอง นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง
จ้าววังเซียงจ้าววังซั่ว สงครามเหมิงเหมากับจิงเชี่ยน
นวนิยายความรักเช่น หลางจิงปู้ เซี่ยนซิ่ว เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตชาวไตในสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองเช่น
สายรุ้ง บทเพลงแห่งสายน้ำทราย
ศิลปะการร่ายรำของชาวไตที่มีชื่อเสียงเลื่องลืออย่าง
“ระบำนกยูง”
ที่เลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหว รำแพนของนกยูงก็สะท้อนวัฒนธรรมของชาวไตได้อย่างชัดเจนและงดงามเช่นกัน
เนื่องจากในบริเวณสิบสองปันนา มีนกยูงเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นนกยูงป่า
และนกยูงเลี้ยง ชาวไตนับถือนกยูงว่าเป็นนางพญาแห่งนก และนับถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำชนเผ่า
จนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของชาวไตสิบสองปันนาอย่างหนึ่ง จนได้รับขนานนามว่า “ดินแดนแห่งนกยูง”
ด้วยเหตุที่ชาวไตเป็นกลุ่มชนที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน
สั่งสมภูมิปัญญาและสืบทอดผ่านบรรพบุรุษมาหลายศตวรรษ
วัฒนธรรมทางดนตรีของชาวไตไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร เพลงและดนตรีของชาวไตไพเราะยิ่งนัก
จนเป็นที่กล่าวขานถึงทั่วไป ได้รับความนิยมชมชอบทั้งชุมชนกลุ่มน้อยใกล้เคียง
และขยายความนิยมสู่ชาวฮั่นทั่วแผ่นดินจีน
หูหลูเซียว หรือ ขลุ่ยน้ำเต้า
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าชนิดหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของชาวไต
ด้วยเสียงที่หวานใส และกังวาน ราวกับจะบอกให้รู้ว่าเป็นเสียงจากกลุ่มชนที่มีจิตใจซื่อตรง
งดงามและบริสุทธิ์ของผู้คนเผ่าไต หากมีโอกาสเดินทางไปที่มณฑลหยวินหนานอันเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไต
ก็จะได้ยินเสียงขลุ่ยน้ำเต้าอบอวนไปทั่วทุกมุมเมือง นอกจากจะเป็นเครื่องดนตรีประจำเผ่ากลุ่มน้อยชาวไตในสิบสองปันนาแล้ว
ด้วยความไพเราะของขลุ่ยน้ำเต้า และความใกล้ชิดกันของกลุ่มชนเผ่าต่างๆ มีการถ่ายเททางวัฒนธรรมกันมาตลอด ขลุ่ยน้ำเต้า จึงได้รับความนิยมชมชอบของชนเผ่ากลุ่มน้อยแถบภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนอีกหลายกลุ่ม
เช่น ชาวเผ่าอาชัง ชาวเผ่าว้า ชาวเผ่าจิ่งโพด้วย
ประวัติความเป็นมา มีเรื่องเล่าของชาวไต
เกี่ยวกับตำนานของขลุ่ยน้ำเต้าว่า
“นานมาแล้ว เกิดเหตุน้ำป่าทะลักไหลบ่า เด็กหนุ่มชาวไตคนหนึ่งเกาะน้ำเต้าลอยคอฝ่าคลื่นยักษ์ไปช่วยคนรักของตน
ความรักอันบริสุทธิ์ยังความประทับใจกับเทพคีตา จึงบันดาลให้พายุน้ำป่าสงบลง
หมู่ผกาเบ่งบาน นกยูงรำแพน อวยพรอันประเสริฐแด่คู่รักทั้งสอง นับแต่นั้น
น้ำเต้าจึงสืบทอดในเชื้อสายชาวไตเรื่อยมา”
แต่ตำนานก็เป็นเพียงเรื่องเล่าและอภินิหารที่เกินจริง
การเกิดของขลุ่ยน้ำเต้าหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ แม้จะสืบทอดผ่านบรรพบุรุษมายาวนานหลายชั่วอายุคน
แต่รูปร่างของขลุ่ยน้ำเต้ายังคงรักษารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เหมือนอย่างในอดีตไม่เปลี่ยนแปลง
ขลุ่ยน้ำเต้า สามารถสืบประวัติขึ้นไปถึงยุคก่อนสมัยฉิน (221 ปี ก่อนคริสตกาล) วิวัฒนาการมาจากเครื่องเป่าชนิดหนึ่งชื่อ หูหลูเซิง
เครื่องเป่าชนิดนี้ มีเลาหลายเลา แต่ละเลาเปล่งเสียงเดียว แต่ต่างเสียงกัน
บางเลามีรูบังคับเสียงรูเดียวเพื่อปิด-เปิดเสียงเวลาบรรเลง
บางเลาไม่มีรูบังคับเสียง แต่ทำหน้าที่เป็นเสียงยืนพื้นประสานเสียงเท่านั้น
ทั้งหมดรวมอยู่ในน้ำเต้าอันเดียวเป็นกะเปาะลม ลักษณะเหมือนอย่างแคน
เสียงทั้งหมดเป็นกลุ่มเสียงแบบ 5 เสียง แต่เลาหลัก มีรูบังคับเสียงที่สามารถบรรเลงเสียงได้ครบ
7 เสียง
เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงจุดกำเนิดของ ขลุ่ยน้ำเต้า
หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการดนตรีของจีนได้พัฒนาขลุ่ยน้ำเต้าเรื่อยมา
ในปี 1958 กรมศิลปากรมณฑลหยวินหนานพัฒนาขลุ่ยน้ำเต้าให้สามารถบรรเลงเสียงได้ถึง 14
เสียง ระยะเวลาไม่นานมานี้คณะศิลปากร
และนักคนตรีแห่งเมืองปักกิ่งได้ประดิษฐ์ขลุ่ยน้ำเต้าขึ้นใหม่ ให้ขลุ่ยน้ำเต้า 6
เลาสามารถเป่าเสียงเดี่ยว เสียงคู่
สามารถบรรเลงเสียงประสานเดี่ยวและเสียงประสานคู่ได้สำเร็จ
สามารถรักษาเอกลักษณ์เดิมของขลุ่ยน้ำเต้าไว้ได้
ทั้งยังขยายความกว้างและความดังของเสียงขลุ่ยให้เพิ่มมากขึ้น ในปี 1980
รัฐบาลจีนนำคณะศิลปินจากกรมศิลปากรเปิดการแสดงขลุ่ยน้ำเต้าที่ญี่ปุ่น
ได้รับความชื่นชอบอย่างแพร่หลาย
รูปลักษณ์และส่วนประกอบ ของหูหลูเซียว มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแปลกตาไม่เหมือนใคร
ความโดดเด่นมิได้อยู่ที่รูปลักษณ์หรือวิธีการบรรเลงที่แปลกประหลาด
แต่เป็นเครื่องดนตรีหนึ่งเดียวในโลกที่ทำจากน้ำเต้า โดยการใช้น้ำเต้าทั้งลูกเป็นกล่องเสียง ประกอบเข้ากับไม้ไผ่ 3 เลา มีโลหะทำเป็นลิ้น 3 แผ่น บนยอดของหูหลูเซียวเสียบไม้ไผ่อีก 1 ท่อนสั้นๆ เข้าในน้ำเต้าเป็นที่เป่าลม ลูกน้ำเต้าทำเป็นกล่องเสียง เลาไม้ไผ่ที่เสียบเข้ากับกล่องเสียงมี
3 เลา เลากลางมีขนาดใหญ่และยาว มีเลาเล็กและสั้นกว่าขนาบทั้งสองข้าง บนเลากลางด้านหน้ามีรูเรียงจากบนลงล่าง 6 รู
ด้านหลัง 1 รู เป็นที่ปิดเปิดควบคุมเสียง ส่วนเลาเล็กที่ขนาบข้างทั้งสองมีเสียงเดียวตลอด
ข้างหนึ่งเสียงสูง อีกข้างหนึ่งเสียงต่ำ ทำหน้าที่เป็นเสียงประสานกับเสียงของเลาใหญ่
ความยาวตลอดทั้งเลาขลุ่ยประมาณ 30 เซนติเมตร
ระบบเสียงของขลุ่ยน้ำเต้า
เสียงประจำเลากลางคือเสียง G มีช่วงกว้างของเสียง
1 ช่วงเสียงคือ จาก G
–G’ เรียกชื่อว่า
เลาหลัก ส่วนเลาประกอบทั้งสองข้าง ด้านในมีลิ้นโลหะ แต่ไม่มีรูบังคับเสียง
ทำหน้าทีเป็นเสียงประสาน
เสียงประจำเลาประกอบมีสองชนิด คือ ชนิดที่เลาหลักเสียง G เลาประกอบเสียง
a และอีกชนิดหนึ่งคือ
เลาหลักเสียง G เลาประกอบเสียง e’
วิธีการเป่าขลุ่ยน้ำเต้า
มือสองข้างถือขลุ่ยในแนวตั้ง อมปากขลุ่ยไว้ในมุมปากด้านใดด้านหนึ่ง ปิดริมฝีปากให้สนิท การจับขลุ่ยมือขวาอยู่บน
นิ้วหัวแม่มือปิดรูด้านหลัง นิ้วชี้ กลาง นาง ปิดเปิด 3 รูบน มือซ้ายอยู่ล่าง
นิ้วชี้ กลาง นาง กดรูที่เหลือ เป่าลมเข้าในน้ำเต้า
ส่งผ่านไปยังเลาขลุ่ยทั้งสามเลา
ลมเบาให้เสียงชุ่มชื่น นุ่มนวล เสียงของเลาประกอบทั้งสองข้างดังประสาน
เสียงสูงต่ำของตัวโน้ตเกิดจากการกดปิดเปิดรูเลาบรรเลงท่วงทำนองอันไพเราะ ระบบการกดเปิดปิดรูขลุ่ยน้ำเต้า
ดังแสดงในแผนภูมิต่อไปนี้
เสียงโน้ต
|
การปิดเปิดรู
|
แรงลม
|
ลา ต่ำ
|
● ● ● ● ● ● ●
|
เบา
|
โด
|
● ● ● ● ● ● ●
|
เร่งแรง
|
เร
|
● ● ● ● ● ● ○
|
แรง
|
มี
|
● ● ● ● ● ○ ○
|
แรง
|
ฟา
|
● ● ● ● ○ ○ ○
|
กลาง
|
ซอล
|
● ● ● ○ ○ ○ ○
|
กลาง
|
ลา
|
● ● ○ ○ ○ ○ ○
|
กลาง
|
ที
|
● ○ ● ● ○ ○ ○
|
เบา
|
● ○ ● ● ● ● ○
|
||
โด สูง
|
● ○ ○ ○ ○ ○ ○
|
เบา
|
เร สูง
|
○ ○ ○ ○ ○ ○ ○
|
เบามาก
|
ลักษณะการเป่าลมเข้ามีวิธีเป่าที่หลากหลาย ทำให้เกิดเสียงแบบต่างๆ ที่สำคัญมีดังนี้
1.
การพ่นลม มีสามแบบ คือ
พ่นลมเดี่ยว ใช้ปลายลิ้นกักปิดลมไว้กับเพดานบน
เวลาพ่นลมเปิดลิ้นเป็นช่องแล้วพ่นออกมาทันที เหมือนกับการออกเสียง “ถู่”
ลักษณะปลายลิ้นที่กัก และเปิด ทำให้เกิดเสียงเดี่ยว
ใช้เป่าเสียงโน้ตทีละตัว เมื่อต้องการเสียงสั้นหลังจากพ่นลมก็ปิดลิ้นทันที เมื่อต้องการเสียงยาว
หลังจากพ่นลมก็ปล่อยลมยาวก็จะได้เสียงยาวตามต้องการ
พ่นลมคู่
เป็นการเป่าลมเพื่อให้ได้เสียงคู่
ใช้วิธีการเป่าแบบพ่นลมเดี่ยวเป็นเสียงที่ 1 ส่วนเสียงที่สอง ใช้โคนลิ้นกักลมที่เพดานอ่อน
เหมือนจะออกเสียง คู กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ การพ่นลมคู่ เป่าให้ได้สองเสียงคู่กัน
โดยใช้การเป่าเหมือนการออกเสียง / T K /
พ่นลมสาม คือการเป่าลมผสมผสานของ พ่นลมเดี่ยว
และพ่นลมคู่ ลักษณะการพ่นลม เหมือนการออกเสียง /T T K/ หรือ / T K T/
2. เสียงเชื่อม ใช้สัญลักษณ์ “⌒” วิธีการเป่าใช้การพ่นลมเดี่ยวที่เสียงแรก
เสียงต่อไปไม่ต้องพ่นลมอีกครั้ง แต่ใช้ลมที่เชื่อมต่อกันจากการพ่นลมครั้งแรก
เน้นการเชื่อมเสียงเป็นลมเดียวกัน ให้เสียงเชื่อมต่อกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว
3. เสียงโหย เป็นเสียงที่นิยม
และถือเป็นลักษณะเด่นของการเป่าขลุ่ยน้ำเต้า
เป็นการโหยเสียงเพื่อโยงเสียงให้เชื่อมต่อกัน สามารถเลียนแบบเสียงร้องของคน
หรือการโหยเสียงของเครื่องดนตรีประเภทดีด มีทั้งการโหยเสียงขึ้นสูง
และโหยเสียงลงต่ำ หรือโหยเสียงสูงต่ำประกอบกัน
4. เสียงเขย่า วิธีการเป่าเสียงเขย่า
เป่าเสียงเข้าเป็นระลอกเหมือนกับการร้องเพลงที่มีลูกคอกระทบเป็นระลอก ๆ ถ่ายทอดอารมณ์ลึกซึ้งจากเบื้องลึกของจิตใจ
5. เสียงเครือ เป็นการเป่าเสียงสองเสียงสลับกัน
วิธีการเป่าคือ ยืนเสียงที่ต้องการไว้ พรมนิ้ว ปิดเปิดอย่างรวดเร็ว
โดยใช้เสียงที่สูงกว่า 2 หรือ 3 รู
หูหลูเซียวมีเสียงเบาเหมือนกับเซียวชนิดอื่นๆ แต่เสียงหูหลูเซียวเลาหลักมีเสียงกลมกล่อม แจ่มชัด
ประกอบกับเสียงเลาเล็กที่เปล่งดังประสานตลอดเวลา ให้ความรู้สึกถึงจินตนาการอันงดงามที่แฝงเร้นลึกล้ำ ดุจแพรไหมที่สะบัดพัดพลิ้วริ้วเรื่อยตามลม เป็นที่มาของชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “น้ำเต้าแพรไหม”
ด้วยเหตุที่หูหลูเซียวเป็นเครื่องดนตรีที่แพร่หลายในชนเผ่ากลุ่มน้อยหลายกลุ่ม วิธีการบรรเลง บทเพลง ตลอดจนท่วงทำนองเพลง จึงมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป แต่ยังคงเอกลักษณ์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ นั่นก็คือนิยมใช้บรรเลงเพลงชาวเขาที่มีท่วงทำนองรื่นหู ในบทเพลงแต่ละเพลงมีเสียงยาวค่อนข้างมาก เสียงประสานแพรวพราว แต่ร้อยเรียงสอดคล้องกลมกล่อมนุ่มนวล ถ่ายทอดอารมณ์และจินตนาการของผู้บรรเลงได้ไพเราะกินใจ
ต่อมาคีตกร
และช่างเครื่องดนตรีได้ศึกษาวิจัยปรับปรุงและพัฒนาหูหลูเซียวขึ้น เครื่องดนตรีที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ นอกจากจะยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้แล้ว
ยังแก้ไขเรื่องความเบาของเสียงให้ดังขึ้น มีช่วงเสียงกว้างขึ้น สามารถบรรเลงบทเพลงที่มีสีสันและอารมณ์ได้มากขึ้น ทำให้หูหลูเซียวที่แต่เดิมเป็นเพียงเครื่องดนตรีของชนเผ่ากลุ่มน้อย
ก้าวขึ้นสู่เวทีศิลปะดนตรีระดับโลกอย่างภาคภูมิใจ
เพลงเอกของหูหลูเซียวชื่อ “ เยว่
กวาง เซี่ย เตอะ ฟ่ง เหว่ย จู๋” (Yue guang xia de fengweizu) หมายความว่า ไผ่หางหงส์ใต้เงาจันทร์
ไผ่ห่างหงส์
เป็นพืชตระกูลไผ่ชนิดหนึ่ง คล้ายต้นหมากประดับของไทย เกิดและเจริญงอกงาม
ได้ดี
ปกคลุมไปทั่วพื้นที่ดินแดนชาวไต ในเมืองสิบสองปันนา และเมืองเต๋อหง ลักษณะใบเป็นแฉกเหมือนอย่างทางมะพร้าว
แต่เล็กกว่า มองดูลักษณะคล้ายกับหางของพญาหงส์ จึงเรียกชื่อว่า ไผ่หางหงส์ และถือเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำชนเผ่าไต
ตำนานของไผ่หางหงส์เล่าว่า
“ผู้ใดสามารถเด็ดขนพญาหงส์มาได้
ก็จะกลายร่างงดงามดุจพญาหงส์
ต้นไผ่อัปลักษณ์เมื่อรู้ข่าว คิดอยู่ในใจว่า
แม้ว่าฉันจะได้รับขนานนามร่วมกับพี่ต้นสน และน้องดอกเหมยว่าเป็น
ผู้เฒ่าแกร่งแห่งเหมันต์ แต่ฉันอยากจะงดงามเหมือนอย่างน้องดอกเหมยบ้าง
ก็เลยขอร้องให้น้องเหยี่ยวไปขอเด็ดขนพญาหงส์มาให้
น้องเหยี่ยวรับคำ ก็บินข้ามภูเขาเก้าลูก แม่น้ำเก้าสาย
จนในที่สุดก็บินไปจนพบพญาหงส์
พญาหงส์ผู้มีใจเมตตากรุณา ก็สลัดขนให้กับเหยี่ยว เหยี่ยวก็รีบเก็บขนพญาหงส์แล้วรีบบินถลาร่อนลมเอาไปให้เจ้าไผ่อัปลักษณ์โดยทันที
ไผ่อัปลักษณ์เมื่อได้ขนพญาหงส์มาก็ดีอกดีใจโยกย้ายโลดเต้น ทันใดนั้นเอง สายฟ้าแปลบปลาบส่องมาที่ต้นไผ่ ต้นไผ่ก็สูงขึ้นในทันใด ใบที่เคยห่อเหี่ยวหนาเตอะ ก็เรียวบาง
ตั้งใบชูช่อ ดุจดั่งหางพญาหงส์
ผู้คนจึงเรียกต้นไผ่นี้ว่า ไผ่หางหงส์”
ในปี 1979
คณะสำนักศิลปากรแห่งเมืองเทียนจิน
เดินทางสำรวจศิลปะดนตรีที่เมืองเต๋อหง
มณฑลหยวินหนาน
นักประพันธ์ในคณะเดินทางครั้งนั้น ชื่อ หนี เหวย เต๋อ (Ni Weide) เห็นภาพหนุ่มสาวชาวไตพลอดรำพันเกี้ยวพาราสีกัน
ใต้ป่าไผ่ในคืนจันทร์เพ็ญ ฝ่ายชายเป่าขลุ่ยน้ำเต้าเกี้ยวสาว
ลมรำเพยพัดโชยใบไผ่พลิ้วไหวเอนแผ่วเบา
สร้างแรงบันดาลใจให้ หนี เหวย
เต๋อ เขียนกลอนขึ้นมาหนึ่งบท ตั้งชื่อกลอนบทนี้ว่า “ไผ่หางหงส์ใต้เงาจันทร์”
ผู้ประพันธ์ทำนองคือ ซือ กวาง หนาน (Shi Guangnan) ข้างท้ายนี้เป็นเนื้อเพลงและโน้ตเพลง
“ไผ่หางหงส์ใต้เงาจันทร์”
月光啊下面的凤尾竹哟 轻柔啊美丽像绿色的雾哟
竹楼里的好姑娘 光彩夺目像夜明珠听啊
多少深情的葫芦笙 对你倾诉着心中的爱慕
哎金孔雀般的好姑娘 为什么不打开哎你的窗户
月光下的凤尾竹 轻柔啊美丽像绿色的雾哟
竹楼里的好姑娘 歌声啊甜润像果子露
痴情的小伙子 野藤莫缠槟榔树
姑娘啊我的心已经属于人 金孔雀要配金马鹿
月光下面的凤尾竹哟 轻柔啊美丽像绿色的雾哟
竹楼里的好姑娘 为谁敞开门又开窗户
哦是农科站的小岩鹏 摘走这颗夜明珠
哎金孔雀跟着金马鹿 一起啊走向那绿色的雾哎
ไผ่หางหงส์ใต้เงาจันทร์เจ้าเอย พลิ้วไหวราวเมฆคราม
สาวน้อยในเรือนไผ่งาม ดั่งแก้วมณีวับวามยามราตรี
ฟังซิฟังพี่ส่งสำเนียงเสียงขลุ่ย ฝากเพลงแทนใจมาให้โฉมศรี
พญาหงส์ยังงามบ่เทียมน้องพี่ ใยไม่แง้มวจีรับพี่ยา
ไผ่หางหงส์ใต้เงาจันทร์เจ้าเอย พลิ้วไหวราวเมฆคราม
สาวน้อยในเรือนไผ่งาม ขับเพลงหวานดั่งน้ำตาลกล่อมโฉมสุดา
พี่นี้มีใจเปี่ยมรัก ดั่งเถาวัลย์ร้อยเกี่ยวพันพฤกษา
สาวเจ้าเอยใจพี่เป็นของน้องยา ดั่งยูงรำแพนคล้องใจม้าอัศวิน
ไผ่หางหงส์ใต้เงาจันทร์เจ้าเอย พลิ้วไหวราวเมฆคราม
สาวน้อยในเรือนไผ่งาม โอ้นงรามเจ้าเปิดหน้าต่างรับใครหรือไร
หรือจะเป็นพญาอินทรีย์เหิรทุ่ง เด็ดดาวประกายรุ้งไปจากพี่ชาย
โอ้.....อัศวินยูงทองคล้องใจมิวาย ไปกับพี่เถิดนะโฉมฉายที่ “ไผ่หางหงส์ใต้เงาจันทร์”
เสียงขลุ่ยน้ำเต้า บรรเลงเพลง “ไผ่หางหงส์ใต้เงาจันทร์
” บทเพลงที่มีท่วงทำนองอ่อนหวาน นุ่มนวล แสดงออกถึงความรักละมุนละไม หยวินหนาน ดินแดนที่เคยเป็นสมรภูมิเลือดในอดีต
กลายมาเป็นดินแดนแห่งช้างที่สง่างาม นกยูงขนเขียวมรกตรำแพน สาวชาวไตซ่อนความงามอันแสนบริสุทธิ์อยู่ในเรือนไม้ไผ่ ท่ามกลางขุนเขาและสายน้ำฉ่ำเย็น
สามารถฟังเพลง “ไผ่หางหงส์ใต้เงาจันทร์
” บรรเลงด้วยขลุ่ยน้ำเต้า
ได้ที่เว็บไซต์แห่งนี้ http://www.51wma.com/sort/10_4555_147784.html
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หนุ่มชาวไต
เป่าขลุ่ยน้ำเต้า เกี้ยวสาวงามด้วยบทเพลงหวานชื่น
http://www.yunnan.com.cn/2008page/yn/dh/images/attachement/jpg/site2/20090115/001cc43561e10ad94a9454.jpg
คณะนักดนตรีชาวไตรุ่นเยาว์ ร่วมบรรเลงขลุ่ยน้ำเต้า อันเป็นเครื่องดนตรีประจำเผ่าที่ไม่ว่าใครก็สามารถบรรเลงได้
ผลน้ำเต้า
วัสดุหลักในการทำขลุ่ยน้ำเต้า
http://www.ynlvu.cn/UpFiles/200922521564253545.jpg ชาวไตในสิบสองปันนานับถือและบูชาพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
เจดีย์ วัด และสถานที่ทางศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวไตเรื่อยมา
วัดพุทธในสิบสองปันนา
ข้อมูลอันมีค่ามากสำหรับคนเผ่าไต ไท ที่ รองศาสตราจาร์ย ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ ได้กรุณาให้ความรู้ ชนเผ่าไต ไท ซึ้งในความเมตตาของ ท่านอาจาร์ย์ รองศาสตราจาร์ย ดร.เมชฌฯ เป็นอย่างสูงครับ
ตอบลบ