คำว่า ชี จื่อ (七子) หมายถึง “ลูกทั้งเจ็ด” ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง จิ่วหลงหรือเกาลูน มาเก๊า ไต้หวัน เวยไห่เว่ย อ่าวกวางตุ้ง และ หลวี่ต้า(คือหลี่ซุ่นและต้าเหลียน ) เหตุจากสงครามทำให้ดินแดนดังกล่าวตกไปอยู่ในการครอบครองของประเทศอาณานิคม ดังนี้
ภาพจาก http://guru.sanook.com/picfront/pedia/249505__03022009043715.jpg |
ฮ่องกงและเกาลูน ตามสนธิสัญญาจีนอังกฤษหนานจิง ปี ค.ศ. 1842 (中英南京条约Zhōnɡ Yīnɡ Nánjīnɡ tiáoyuē) และสนธิสัญญาจีนอังกฤษปักกิ่ง ปี ค.ศ. 1960 (中英北京条约Zhōnɡ Yīnɡ Běijīnɡ tiáoyuē) พื้นที่เกาะฮ่องกงและเกาลูนตกอยู่ในปกครองของอังกฤษ จนกระทั่ง ปี วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ครบสัญญาเช่า พื้นที่ดังกล่าวจึงกลับคืนสู่มาตุภูมิจีน จีนจัดตั้งให้เขตดังกล่าวเป็นเขตปกครองพิเศษฮ่องกง (Xiānɡ ɡǎnɡ tèbié xínɡzhènɡqū)
ภาพจาก http://www.tourhongkong-macau.com/wp-content/uploads/2011/06/Kowloon.jpg |
ภาพจาก http://www.nipponsysit.com/cms//HLIC/KunIamStatue21.jpg |
มาเก๊า ตกอยู่ในอาณัติปกครองของโปรตุเกสในปี ค.ศ.1553 จนกระทั่งวันที่ 20 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1999 มาเก๊ากลับคืนสู่อ้อมกอดมาตุภูมิจีนตามแถลงการณ์ร่วมจีนโปรตุเกส (中葡联合声明Zhōnɡ Pú liánhé shēnɡmínɡ) ประเทศจีนจัดตั้งให้พื้นที่ดังกล่าวเป็น เขตปกครองพิเศษมาเก๊า (澳门特别行政区 Àomén tèbié xínɡzhènɡqū)
ภาพจาก http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1445176 |
ไต้หวัน ถูกรุกล้ำจากหลายประเทศเป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี ได้แก่ ปี ค.ศ.1624 ถูกฮอลแลนด์รุกล้ำ ปี ค.ศ. 1626 ถูกสเปนรุกล้ำ ปี ค.ศ. 1662 จีนชิงดินแดนไต้หวันกลับคืนมาและจัดเข้าอยู่ในแผนที่เขตแดนของจีนในปี ค.ศ. 1983 สนธิสัญญาจีนญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1895 สูญเสียดินแดนไต้หวันให้ญี่ปุ่น เดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1945 จีนชนะสงครามชิงไต้หวันกลับคืนมา ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1949 ก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้ไต้หวัน จนปัจจุบัน จีนมุ่งมั่นดำเนินการรวมชาติไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของจีน
ภาพจาก http://www.hotsia.com/agoda-ssi/country/picture/191-79638-3.jpg |
เวยไห่เว่ย ถูกอังกฤษบังคับเช่าเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 กระทั่ง ปี ค.ศ. 1945 จีนชนะสงครามต่อต้านการรุกราน ชิงดินแดนเวยไห่เว่ยกลับสู่อาณัติของจีนดังเดิม
ภาพจาก http://www.bloggang.com/data/m/moonfleet/picture/1286006668.jpg |
อ่าวกว่างโจว ถูกฝรั่งเศสบังคับเช่าเมื่อปลาย ศตวรรษที่ 19 กระทั่ง ปี ค.ศ. 1945 จีนชนะสงครามต่อต้านการรุกราน ชิงดินแดนอ่าวกว่างโจวกลับสู่อาณัติของจีนดังเดิม
ภาพจาก http://www.merrylandtravel.com/file_upload/tour/images/big_18-20120512307586O.jpg |
หลวี่ต้า ถูกรัสเซียบังคับเช่าเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 สงครามญี่ปุ่นรัสเซียในปี ค.ศ. 1904 ดินแดนนี้ตกเป็นของญี่ปุ่น จนกระทั่งปี ค.ศ. 1945 จีนชนะสงครามต่อต้านการรุกราน ยึดดินแดนคืนมาได้
เพลงลำนำบุตรทั้งเจ็ด ประพันธ์คำร้องโดย เหวิน อี้ ตัว(闻一多) ประพันธ์ทำนองโดย หลี ไห่ อิง(李海英) เดิมเป็นกลอนกลุ่มหนึ่งที่กล่าวถึงดินแดนอาณานิคมทั้งเจ็ดของจีน ที่ถูกปกครองโดยชาติอื่น ประพันธ์ขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1925 กวีท่านนี้หลังจากที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิงหัว ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นได้สัมผัสกับวัฒนธรรมตะวันตก และรับรู้ถึงการดูถูกเหยียดหยามทางชาติพันธุ์ เป็นแรงผลักดันให้เกิดสำนึกรักในศักดิ์ศรีของตนอย่างแรงกล้า ภายใต้ความกดดันและดูแคลนอย่างหนักหน่วงนี้ กวีเหวิน อี้ ตัว ได้พรรณนาความรักในศักดิ์ศรีและความคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน โดยใช้วิธีการประพันธ์แบบบุคลาธิษฐาน ถ่ายทอดออกมาเป็นบทกวีชื่อ “ลำนำบุตรทั้งเจ็ด”
กลอนทั้งเจ็ดบทนี้ ผู้แต่งเปรียบเทียบดินแดนของจีนที่ถูกแบ่งแยก และครอบครองโดยประเทศอาณานิคมอื่นว่า เป็นลูกเจ็ดคนที่พลัดพรากจากอกแม่ไปตกอยู่ในความควบคุมดูแล และถูกกดขี่รังแกจากผู้อื่น เด็กน้อยร้องโยเยหาแม่เสียงหลง โหยหาละห้อยคอยวันค่ำเช้าที่จะกลับคืนสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของแม่ดังเดิม ถ้อยคำที่บาดลึกในหัวใจชาวจีนแผ่นดินใหญ่ให้รู้สึกโหยให้อาลัยในฐานะ “แม่” เกิดสงสารแผ่นดินและเพื่อร่วมชาติที่เป็นเสมือน “ลูก” ที่ถูกยึดครองโดยชาติอื่น โดยเฉพาะวรรคสุดท้ายของกลอนทุกบท จะลงท้ายด้วยถ้อยคำที่เป็นเสมือนเสียงร้องหาแม่ของลูกๆ ว่า
母亲!我要回来,母亲!
mǔqīn!wǒ yào huílái,mǔqīn
“แม่จ๋า หนูอยากกลับมา แม่จ๋า”
หลังจากที่บทกวีนี้ออกเผยแพร่ ก็ตอกย้ำความเจ็บปวดและความคิดถึง โหยหา อาลัยอาวรณ์ของแม่และลูกสุดแสนจะพรรณนา หลังจากนั้นเจ็ดสิบกว่าปี คีตกวีผู้มีชื่อเสียงชื่อ หลี ไห่ อิง ได้แต่งทำนองให้กับบทกวีท่อน “มาเก๊า” เพื่อเฉลิมฉลองการกลับคืนสู่มาตุภูมิของมาเก๊าในปี ค.ศ. 1999
ด้วยเนื้อหาของกลอน และทำนองเพลงเรียบง่ายไม่ซับซ้อน แต่ทว่ามีความหมายลึกซึ้งกินใจ เสียงที่ใช้ร้องเพลงนี้ตั้งใจให้เป็นเสียงเด็กที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสา ยิ่งสร้างความประทับใจให้ชาวจีนเหลือคณา ใครที่ได้ยินเพลงนี้ต่างกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหว ด้วยความรู้สึกสงสารลูกที่พลัดพรากจากอกแม่ไป ต่อมาดินแดนต่างๆที่อยู่ในครอบครองของประเทศอาณานิคมได้ทยอยกลับคืนสู่แผ่นดินจีน กลอนทั้งเจ็ดบทนี้จึงได้ใช้เป็นเพลงที่ระลึกในเหตุการณ์ครั้งสำคัญดังกล่าว
ฮ่องกง (香港xiānɡɡǎnɡ)
| |
我好比凤阙阶前守夜的黄豹,
母亲呀,我身分虽微,地位险要。 如今狞恶的海狮扑在我身上, 啖着我的骨肉,咽着我的脂膏; 母亲呀,我哭泣号啕,呼你不应。 母亲呀,快让我躲入你的怀抱! 母亲!我要回来,母亲! |
ลูกเป็นเหมือนเสือดาวเฝ้าประเทศ
แม่จ๋า แม้เป็นเขต อันตราย ด้อยศักดิ์ศรี
สิงโตทะเล กระโจน เข้าโจมตี
ขย้ำกระดูก กลืนกิน สิ้นแรงกาย
แม่จ๋า ลูกเรียกแม่ แม่ไม่ตอบ
แม่จ๋า ลูกขอหมอบซุกในอกอุ่นไม่หาย
แม่จ๋าแม่ ลูกนี้ อยากกลับไป
(ไปหาแม่ อยากกลับบ้าน เกิดเมืองนอน)
|
เกาลูน (九龙jiǔlónɡ)
| |
我的胞兄香港在诉他的苦痛,
母亲呀,可记得你的幼女九龙? 自从我下嫁给那镇海的魔王, 我何曾有一天不在泪涛汹涌! 母亲,我天天数着归宁的吉日, 我只怕希望要变作一场空梦。 母亲!我要回来,母亲! |
พี่ฮ่องกง ร่ำไห้ เล่าความทุกข์
แม่จำลูกสาวคนเล็กนี้ได้ไหม
นับแต่ลูกถูกยกให้ปีศาจร้าย
ไม่มีแม้สักวันไม่หลั่งน้ำตา
แม่จ๋าแม่ ลูกคอยเฝ้านับคืนวัน
กลัวเพียงความหวังไม่เป็นอย่างฝันหา
แม่จ๋าแม่ ลูกอยากจะกลับมา
(กลับมาหา คืนมา หาแม่เอย)
|
มาเก๊า(澳门Àomén)
| |
你可知“妈港”("MACAU")不是我真名姓,
我离开你太久了,
母亲! 但是他们掳去的是我的肉体,
你依然保管我内心的灵魂,
三百年来梦寐不忘的生母啊,
请叫儿的乳名,
叫我一声“澳门”!
母亲!我要回来,母亲! |
แม่ก็รู้ “มาเก๊า” ไม่ใช่ชื่อจริงฉัน
จากวันนั้นจากแม่นานน่าใจหาย
แม่จ๋า พวกมันจับหนูไปเพียงร่างกาย
แต่วิญญาณอยู่ในใจแม่ดูแล
สามร้อยปีไม่ลืมแม่แม้หลับฝัน
เรียกชื่อเล่น ลูกนั้น เถิดนะแม่
เรียกชื่อหนูว่า อ้าวเหมิน อย่าเชือนแช
จะหาแม่ จะกลับบ้าน เกิดเมืองนอน
|
ไต้หวัน(台湾Táiwān)
| |
我们是东海捧出的珍珠一串,
琉球是我的群弟我就是台湾。 我胸中还氲氤着郑氏的英魂, 精忠的赤血点染了我的家传。 母亲,酷炎的夏日要晒死我了; 赐我个号令,我还能背城一战。 母亲!我要回来,母亲! |
เราหอบไข่มุกทะเลบูรพามาเป็นสาย
เกาะลิวชิวเป็นน้องชาย ฉันคือไต้หวัน
มุ่งมั่นชิงดินแดนกลับทุกคืนวัน
เลือดแดงฉานย้อมบันทึกภักดีไว้
แม่จ๋าแม่ อาทิตย์แผดแสงเผาร้อน
ขอแม่สอน ลูกยังรอน ราญศึกได้
แม่จ๋าแม่ ลูกนี้อยากกลับไป
(แม่จ๋าลูก จะกลับไป มาตุภูมิ)
|
เวยไห่เว่ย(威海卫Wēihǎiwèi)
| |
再让我看守着中华最古的海,
这边岸上原有圣人的丘陵在。 母亲,莫忘了我是防海的健将, 我有一座刘公岛作我的盾牌。 快救我回来呀,时期已经到了。 我背后葬的尽是圣人的遗骸! 母亲!我要回来,母亲! |
ขอฉันเป็นทะเลเก่าเฝ้าชาติจีน
แนวเขาริมฝั่งเคยมีปราชญ์เลื่องชื่อ
แม่อย่าลืม ยามเฝ้าฝั่ง มีฝีมือ
เกาะหลิวกง นี่คือ โล่กำบัง
แม่จ๋าแม่รีบเรียกหนูกลับบ้าน
โครงกระดูก วีรชน ฝังเบื้องหลัง
แม่จ๋าแม่ หนูอยาก กลับคืนรัง
(หนูคอยฟังแม่เรียก หนูกลับมา)
|
อ่าวกว่างโจว(广州湾Guǎnɡzhōuwān)
| |
东海和广州是我的一双管钥,
我是神州后门上的一把铁锁。 你为什么把我借给一个盗贼? 母亲呀,你千万不该抛弃了我! 母亲,让我快回到你的膝前来, 我要紧紧地拥抱着你的脚踝。 母亲!我要回来,母亲! |
ทะเลบูรพาและกว่างโจวกุญแจคู่
ฉันเฝ้าอยู่เป็นโซ่ล้อมแผ่นดินหลัง
เหตุใดให้ โจรชั่วยืม ไปผิดทาง
แม่จ๋าอย่า ปล่อยวาง ทิ้งลูกไป
แม่จ๋ารีบ ให้ลูกได้ กอดแทบเท้า
ลูกคุกเข่า กอดเท้า แม่เอาไว้
แม่จ๋าแม่ หนูอยาก จะกลับไป
(ขอหนูได้กลับไปหาแม่เอย)
|
หลวี่ซุ่น,ต้าเหลียน(旅顺,大连Lǚshùn,Dàlián)
| |
我们是旅顺,大连,孪生的兄弟。
我们的命运应该如何的比拟? 两个强邻将我来回的蹴蹋, 我们是暴徒脚下的两团烂泥。 母亲,归期到了,快领我们回来。 你不知道儿们如何的想念你! 母亲!我们要回来,母亲! |
ฉันคือแฝดหลวี่ซุ่น และ ต้าเหลียน
จะขีดเขียน เปรียบชีวิต อย่างไรหนา
สองเมืองแกร่ง เตะไล่ ฉันไปมา
ดั่งโคลนเลน ใต้บาทา เหล่าวายร้าย
แม่จ๋า ถึงครากลับ รีบรับลูก
ใจพันผูก คิดถึงแม่ มากแค่ไหน
แม่จ๋าแม่ ลูกจะ ได้กลับไป
(ลูกจะได้กลับไป หาแม่เอย )
|
โน้ตเพลง มาเก๊า
ภาพประกอบ
ประตูโบสถ์เซนต์ปอล ของโบสถ์มาแตร์ เดอี (Church of Mater Dei ) ที่สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1602-1640 ประมาณต้นศตวรรษที่ 17 เป็นสถานซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบสถ์แห่งนี้เคยเป็นโรงเรียนสอนศาสนาแห่งแรกของชาวตะวันตกในดินตะวันออกไกล เป็นประจักษ์พยานการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งตะวันตกในภูมิภาคตะวันออกไกล ซากโบสถ์เซนต์ปอลในปัจจุบัน นับเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองมาเก๊าที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ภาพบรรยากาศการเฉลิมฉลองการกลับคืนสู่อ้อมกอดมาตุภูมิของมาเก๊า เมือ วันที่ 20 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1999
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น