ภาพนี้คัดลอกมาจาก http://www.13do.com/data/erhu13do/product/4054c1b238.jpg
ในอดีต ผีพา
ไม่ได้ใช้เรียกเครื่องดนตรีที่มีกล่องเสียงเป็นรูปน้ำเต้าขอบตรง ด้ามโค้ง
เพียงอย่างเดียว แต่เครื่องดีดหลายชนิดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ต่างขนาดกัน
เช่น หลิ่วฉิน เยว่ฉิน (พิณวงเดือน) หร่วน เป็นต้น ก็สามารถเรียกว่า ผีพาได้ ชื่อเรียก “ผี - พา”
ได้มาจากศัพท์ที่ใช้เรียกวิธีดีดเครื่องดนตรีชนิดนี้นั่นเอง
กล่าวคือ ดีดออกเรียกว่า “พี” ดีดเข้าเรียกว่า “ป่า”
ผีพา เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พีป่า มีเอกสารเก่าแก่ที่สุดที่มีบันทึกถึงผีพาคือหนังสือชื่อ
นามาธิบาย ภาคดนตรี เขียนโดย หลิวซี ในสมัยฮั่น ความว่า “ผีพามาจากต่างประเทศ ต่อมาใช้เป็นเครื่องดีดบนหลังม้า
(ชนชาวเลี้ยงสัตว์ในสมัยโบราณ เวลาขี่ม้านิยมดีดผีพา) ดีดไปข้างหน้าเรียกว่า พี ดีดกลับหลังเรียกว่า ป่า
ต่อมาจึงใช้เป็นชื่อเรียก”
จนกระทั่งสมัยเว่ยจิ้น จึงกำหนดเรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นที่แน่นอนว่า
ผีพา
บันทึกราชวงศ์สุยชื่อ
คีตจารึก กล่าวถึงผีพา ความว่า ศตวรรษที่ 5 – 6 แพร่หลายในภาคกลาง จากนั้นก็เผยแพร่สู่ภาคใต้ นับแต่สมัยหนานเป่ยถึงสุยและถัง
เป็นระยะเวลากว่า 500 ปี ผีพา 5 สาย
ได้รับความนิยมมาตลอด และยังเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมแพร่หลายไปยังประเทศและเมืองต่างๆ
เช่น ซีเหลียง กุจชา (Kucha) อินเดีย
ซูเล่อ (Yengisheher County
เมืองที่อยู่ในพื้นที่เขตปกครองตนเองเวยอูร์ ของมณฑลซินเจียง ประเทศจีนในปัจจุบัน) อานกว๋อ(ประเทศที่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันตกของจีนปัจจุบัน)
และเกาหลี อีกด้วย บทกวีในสมัยถัง เช่น
บทกวีไป๋จวีอี้ ของ จางคู่
ล้วนพรรณนาถึงความนิยมชมชอบผีพา 5 สายของผู้คนสมัยนั้น ผีพา 5 สาย
กับผีพาสี่สายที่มีมาแต่อดีต มีลักษณะไม่แตกต่างกัน จนถึงสมัยซ่งผีพา 5 สาย
ขาดการสืบทอดและไม่เป็นที่นิยม จึงถูกแทนที่ด้วยผีพาสี่สาย
และสืบทอดมาจนปัจจุบัน
ผีพาในปัจจุบันพัฒนามาจากผีพาด้ามงอกับผีพาด้ามตรง พัฒนาถึงขีดสุดในสมัยถัง ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า
ผีพาด้ามตรงเป็นเครื่องดนตรีกลุ่มผีพา(คือเครื่องดนตรีจำพวกพิณ) ชนิดแรกที่เกิดขึ้นในประเทศจีน
ในสมัยฉินและฮั่นมีเครื่องดนตรีชื่อ “ฉินฮั่นจื่อ” เป็นเครื่องดีดด้ามตรง กล่องเสียงกลม กล่องเสียงหน้าหลังขึงด้วยหนัง
เป็นเครื่องดีดที่พัฒนามาจากปลายสมัยฉิน “หร่วน” เป็นเครื่องดีดด้ามตรง กล่องเสียงทรงกลม
มีสี่สาย บรรเลงโดยอุ้มไว้ในอ้อมกอด ตั้งตรง
ด้วยเหตุที่มีวิธีการดีดที่คล้ายคลึงกัน
ในยุคนั้นจึงเรียกชื่ออย่างเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันคือเครื่องดีดชนิดหนึ่งชื่อ หร่วน
ในสมัยหนานเป่ย
เส้นทางสายไหมนับเป็นเส้นทางการติดต่อ
ถ่ายทอดทางการค้าและการหลั่งไหลถ่ายเทวัฒนธรรมที่สำคัญ ผีพาด้ามงอของอินเดีย ถ่ายทอดสู่เปอร์เซียและเผยแพร่เข้ามาสู่ซินเจียง
จากนั้นเป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศจีนในเวลาต่อมา ผีพาด้ามงอมีสี่สาย มีที่ยึดสายสี่หมุด ทรงหลี (สาลี่ รูปทรงคล้ายน้ำเต้า
แต่ขอบเป็นเส้นตรง ไม่คอดกลาง)
บรรเลงโดยกอดไว้ในอ้อมกอดตามแนวขวาง
นิยมมากในสมัยหนานเป่ย
และแพร่ขยายความนิยมไปสู่ตอนใต้
และพื้นที่ตามแถบลุ่มน้ำแยงซีเกียงในช่วงกลางศตวรรษที่ 6
ในสมัยสุยและถัง
ผีพากลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญชนิดหนึ่ง
เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของพัฒนาการด้านศิลปะดนตรีของสมัยถัง
ปัจจุบัน ผีพา ได้รับขนานนามว่า “นางพญาแห่งเครื่องดีด”
ด้วยมีวิวัฒนาการที่ยาวนาน เป็นแม่แบบของเครื่องดีดจีนทุกประเภท
มีวิธีบรรเลงที่วิจิตร ล้ำลึก นอกจากนี้
ช่างดนตรีผีพาก็ได้พัฒนารูปแบบลักษณะเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีกหลากหลายประเภท
มีเสียงและลักษณะเด่นต่างๆ กันไป
ชนิดของผีพา
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า
ช่างทำเครื่องดนตรีผีผา ได้ประดิษฐ์คิดค้น พัฒนาปรับปรุงผีผา
จนเกิดเป็นลักษณะเด่นต่างๆกัน ปัจจุบันผีพาแบ่งได้ 4 ประเภทดังนี้
1.
ผีพาห้าสาย เป็นผีพาในยุคเริ่มแรก
ที่เดินทางมาตามเส้นทางสายไหม จากอินเดีย ผ่านเปอร์เซีย
เข้าสู่ดินแดนประเทศจีนตอนกลาง
จากนั้นเผยแพร่ไปสู่ตอนใต้ รวมทั้งประเทศต่างๆ เช่นเกาหลี ญี่ปุ่น จนถึงสมัยซ่ง
ผีพาห้าสายขาดการสืบทอดและเลิกใช้ไป ยุคที่ประเทศจีนปฏิวัติการปกครอง
ผีพาห้าสายได้สูญหายไปจากแผ่นดินจีน ปัจจุบันมีผีพาห้าสาย เป็นผีพาประดับหอยมุก
ไม้จื่อฉาน เก็บไว้ที่วัดนาระโตะ เป็นผีพาที่ประดับประดาประณีตงดงาม และยังมีภาพสลักคนขี่อูฐดีดผีพาไว้บนตัวผีพาด้วย
เป็นมรดกดนตรีตะวันออกที่ล้ำค่าชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่เข้ามาตั้งแต่สมัยฮั่น ในช่วงศตวรรษที่
20 – 30 คณะคีตกรเมืองเซี่ยงไฮ้ได้พยายามสืบเสาะจากเอกสารประวัติศาสตร์ จนได้ประดิษฐ์คิดค้นผีพาห้าสายเลียนแบบของโบราณขึ้น
โดยกำหนดให้สายที่เพิ่มเข้ามาเป็นเสียง D หรือ E ต่ำ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับผีพาสี่สาย
2.
ผีพาสำเนียงใต้ เมื่อผีพาเผยแพร่เข้ามาในตอนกลางของประเทศจีนแล้ว
ได้กระจายความนิยม
ลงใต้
ดังนั้น ผีพาสำเนียงใต้จึงได้ใช้บรรเลงประกอบอุปรากร
การขับร้องแบบทางใต้มาแต่โบราณ ทำให้สำเนียงผีพาของทางใต้มีเอกลักษณะเฉพาะตัวและเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่ง กล่าวคือ ปัจจุบันผีพาดีดในแนวตั้ง แต่ผีพาสำเนียงใต้ดีดในแนวนอน
ซึ่งเป็นวิธีดีดแบบดั้งเดิมตั้งแต่เมื่อครั้งที่เผยแพร่เข้ามาสู่แผ่นดินจีน
ลำตัวผีพามีความยาว 93 – 104 เซนติเมตร ใช้เส้นไหมเป็นสายพิณ การตั้งเสียงนับจากในสู่นอกคือ d / g /a /d1
3.
ผีพาเสียงสูง ผีพาไฟฟ้า หน้าผีพาเป็นรูปวงจันทร์
มีรูกระจายเสียงที่หน้าพิณ มีเสียงสูงกว่าผีพา
ธรรมดาแปดขั้นเสียง
ส่วนผีพาไฟฟ้าไม่แตกต่างไปจากผีพาธรรมดา
เพียงแต่ใส่เครื่องมือที่สามารถเชื่อมต่อกับไฟฟ้าได้ ผีพาไฟฟ้าเพิ่มความหนาของหน้าพิณ
ไม่ได้เจาะรูกระจายเสียงเหมือนผีพาปกติ และเป็นที่แน่นอนว่า
มีเสียงดังกว่าผีพาชนิดอื่น เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเป็นตัวกระจายเสียง
4.
ผีพาแก้ว
ใช้เทคนิคการเป่ากระจกคริสตัลสมัยใหม่ประดิษฐ์เป็นผีพาขึ้น
ติดเครื่องกระจายเสียง
ไฟฟ้าไว้ที่หน้าพิณ
ลักษณะเหมือนกับพิณไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ผีพาที่เป็นที่นิยม
ก็ยังคงเป็นผีพาสี่สายที่ทำด้วยไม้
ใช้สายลวด นมที่ติดอยู่บนด้าม บ้างใช้ไม้ บ้างใช้งา หรือกระดูกสัตว์
ส่วนประกอบของผีพา
ผีพาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ประกอบขึ้นด้วยส่วนประกอบสำคัญสองส่วนคือ ส่วนหัวและส่วนลำตัว ส่วนหัวประกอบด้วย
ลูกบิด 4 ตัว ช่องร้อยสาย ร่องวางสาย
ส่วนลำตัวประกอบด้วยนมกดบังคับเสียง หย่อง กล่องเสียง ที่ยึดสายด้านล่าง
ลำตัวของผีพา
ด้านบนเรียก “ยอด”
ซึ่งก็คือนมหยักที่แซะเนื้อไม้ให้เป็นรอยหยักลูกระนาดยอดแหลม เพื่อเป็นที่กดบังคับเสียง มีหมอนรองด้านบน
จากตรงกลางลงมาติดก้านไม้เป็นนมมีหลายชั้นเพื่อเป็นที่บังคับเสียงได้หลายเสียงต่างๆกัน
นมและหย่องนี้ในสมัยโบราณรวมเรียกเป็นชื่อเดียวว่า “เสา”
เป็นที่กดบังคับเสียง
ลำตัวผีพาจากกลางลงล่างเป็นลักษณะทรงแคบแล้วอ้วนลงล่างเป็นรูวงรี
ด้านในกลวงทำเป็นกล่องเสียง
หน้าผีพาเป็นไม้แผ่นทำจากไม้อูถง
สายทั้งสี่สายไม่ได้มัดพันไว้ที่ด้านล่างสุดของผีพาเหมือนเครื่องดีดชนิดอื่นๆ แต่มีมือยึดสายติดอยู่ที่ส่วนล่างของหน้าผีพา ที่มือยึดสายนี้มีรู 4 รูสำหรับร้อยสาย
ส่วนลำตัวของพื้นหลังของผีพาเรียกว่า หลังผีพา ด้านบนของหลังผีพาตรงกับด้านหัวของด้านหน้า
ด้านบนของหลังตรงข้ามกับแผ่นหน้า
หลังของผีพาใช้ไม้แดง ไม้ฮวาหลี
ไม้หล่าวหง เพราะให้คุณภาพเสียงที่ดี ใช้ไม้สีขาวทำเป็นหน้าผีพา
และนม
ผีพามีนมทั้งหมด 6
นมหยัก 25 นมปรับเสียง มีช่วงกว้างของเสียงทั้งหมด 12 เสียงมาตรฐาน เสียงที่ 1 ใช้สายลวด ส่วนสายที่ 2,3,4
ใช้สายลวดพันไนล่อน
(ด้านในเป็นสายลวดพันรอบด้วยสายไนล่อนหุ้มอยู่ชั้นนอกตลอดเส้น) เสียงของผีพามีความพิเศษมาก
และมีชื่อเสียงได้รับความนิยมไปทั่วทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ ไม่เพียงแต่มีเสียงดังฟังชัด แต่ยังมีน้ำเสียงกังวานใส ในขณะเดียวกัน
เสียงคู่แปดที่ยืนพื้นสร้างความหลากหลายของเสียงให้กับเสียงผีพาเป็นอย่างมาก คู่แปดของผีพา
ไม่เพียงสามารถทำให้การแผ่ขยายของเสียงลดน้อยลง
ยังสามารถส่งเสียงแผ่กระจายไปได้ไกล
เสียงบรรเลงผีพาสามารถส่งเสียงไปได้ไกลถึง 2 – 3 เมตร
การตั้งสายผีพา
สายผีพาตั้งเสียงเป็น
ลา เร มี ลา ซึ่งก็คือบันไดเสียง เร
นั่นเอง ผีพา 6 นมหยัก 25
นมมีช่วงกว้างเสียงเป็น ลาต่ำ ถึงเสียง มี ดังแผนผังข้างล่างนี้
การบรรเลงผีพา
การบรรเลงผีพา
วางผีพาไว้บนตัก มือซ้ายจับด้ามพิณ มือขวาติดเล็บดีดสายบริเวณหน้าพิณ
สามารถอธิบายการบรรเลงได้ 2 ส่วนสำคัญคือ มือซ้าย และมือขวา
1. การบรรเลงมือซ้าย
น่า (捺)
หมายถึงการกดสาย ใช้บริเวณปลายนิ้วจนถึงข้อนิ้วแรก กดสายลงบนนมที่ติดอยู่บนด้ามพิณ
เพื่อบังคับให้เกิดเสียงสูงต่ำ เมื่อต้องการดีดสายใด ก็กดลงบนสายนั้น
ไต้ (带) หมายถึงการสะกิดสาย
ใช้นิ้วมือซ้ายที่จับอยู่ที่ด้ามพิณ สะกิดสายคล้ายกับการดีด จะให้เสียงที่เบา บาง อ่อน ฟังดูสงบเงียบ
โส่ว (擞) หมายถึงการกระทุ้ง วิธีดีดคือ นิ้วชี้มือซ้ายกดลงบนสายใดสายหนึ่ง
แล้วใช้นิ้ว
กลาง
หรือนิ้วนางดีด สาย ที่อยู่ต่ำลงมา เสียงที่ได้ ก็จะเป็นเสียงที่เบา อ่อน
ฟังดูสงบเงียบ
2. การบรรเลงมือขวา มือขวาติดเล็บปลอม
ใช้ดีดสายทั้งสี่ บริเวณหน้าพิณ มีวิธีการดีด
สามประเภทหลักๆคือ
ประเภทดีด และประเภทรัววน และประเภทกวาด ดังนี้
2.1 ประเภทดีด
คือการใช้เล็บหรือนิ้วดีดสายทีละสาย หรือสายคู่ ให้ได้เสียงเดี่ยว ๆ
มีวิธีดังนี้
ถาน (弹) หมายถึง
ดีดเข้า คือใช้เล็บนิ้วชี้ดีดสายออก
เถี่ยว (挑) หมายถึงตวัด คือการดีดออก คือใช้เล็บนิ้วหัวแม่มือดีดเข้า
เจี๋ยถาน (夹弹) หมายถึง ดีดช่วงแคบ
การดีดโดยใช้เล็บสองนิ้วสลับกันไปมา
นิ้วขวาดีดออก
นิ้วชี้ดีดเข้า
กุ่น (滚) หมายถึง
กลิ้ง การดีดเหมือน เจี๋ยถาน
แต่ความเร็วเพิ่มเป็นเท่าตัว
ที (剔) หมายถึง แคะ
คือการใช้เล็บนิ้วกลางดีดออก
ฝู่ (抚) หมายถึง ลูบ ไล้ คือการใช้ปลายนิ้วกลางบริเวณเนื้อด้านใน ดีดเข้า
ซวงถาน (双弹) หมายถึง
ดีดคู่ คือการใช้เล็บนิ้วชี้ดีดออกพร้อมกันสองสาย
ซวงเถี่ยว (双挑) หมายถึง
ตวัดคู่
คือการใช้เล็บนิ้วหัวแม่มือดีดเข้าพร้อมกันสองสาย
เฟย (飞) หมายถึง บิน คือการใช้เล็บนิ้วนาง ดีดออก
ซวงเฟย (双飞) หมายถึง บินคู่ คือการรัวคู่ โดยนิ้วชี้รัวหนึ่งสาย
นิ้วหัวแม่มือรัวหนึ่งสาย
ไปพร้อมๆกัน
2.2 ประเภทรัววน คือการใช้มือทำเป็นอุ้ง
เหมือนกรงเล็บ แล้วใช้เล็บทั้งห้านิ้วดีดสายไล่วน
เริ่มตั้งแต่นิ้วก้อยดีดเข้า
เรียงขึ้นมาจนถึงนิ้วหัวแม่มือดีดออก การรัววน จะรัววนสายเดียว หรือหลายสายก็ได้
จะทำให้ได้เสียงเดี่ยวยาว และเสียงประสานยาว วิธีการรัวนิ้วแบบนี้มีเฉพาะการดีดผีพาเท่านั้น
การดีดเครื่องสายชนิดอื่น ๆ ใช้วิธีการดีดเข้าออกโดยใช้นิ้วเดียว
หรือสองนิ้วเท่านั้น แต่ผีพาใช้ ครบทั้งห้านิ้ว
ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบรรเลงผีพา
2.3 การกวาด คือการดีดโดยใช้เล็บหนึ่ง
คู่ สาม สี่นิ้ว ดีดเข้าออก ทั้งสี่สายพร้อมกัน การดีด เข้าออกแต่ละครั้ง หรือหลายครั้ง
เป็นไปตามทำนองเพลง มีทั้งกวาดเดี่ยว กวาดคู่เข้าออก และกวาด รัว
สำนักผีพา
หลังจากที่ผีพาเผยแพร่และถ่ายทอดไปทั่วทั้งในและต่างประเทศ
ทำให้คีตกวีคิดค้นกลวิธี กลเม็ดการบรรเลงบทเพลงที่แตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละท้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นของตนเอง
สามารถแบ่งสำนักของผีพาได้ 4 สำนัก ดังนี้
1.
สำนักผีพาผิงหู มีเอกลักษณ์คือ มือขวานิยมใช้วิธีรัววน
คือใช้นิ้วทั้งห้าดีดแบบหมุนวน จะได้เสียงรัวที่ยาว และนุ่มนวล
ส่วนมือซ้ายนิยมใช้การดัน ดึง พรม ขยี้ เพลงเอกของสำนักนี้เช่น
ผิงซาลั่วเยี่ยน (หงส์ร่อนบนผืนทราย)
หยางชุนกู่ฉวี่ (เพลงแสงทอง) เป็นต้น
2.
สำนักผีพาอิ๋งโจว นิยมการดีดเข้าออก การรัวหมุนนิ้วน้อย มือซ้ายมีเทคนิคการกดสาย การเปลี่ยนขึ้นลง
สลับสายแพรวพราว เพลงเอกของสำนักนี้ เช่น เสี่ยว เยว่ เอ๋อร์ เกา
(จันทร์น้อยลอยเด่น) ชิง ถิงเตี๋ยน สุ่ย (แมงปอล้อเล่นน้ำ)
3.
สำนักผีพาผู่ตง เน้นการดีดสายเดี่ยว
รัวสายเดี่ยว ดึงสาย เพลงเอกของสำนักนี้
เช่น ไห่ ชิง หนา เอ้อ (ห่านฟ้าทะเลคราม) เป็นต้น
4.
สำนักผีพาเซี่ยงไฮ้ หรือเรียกอีกชื่อว่า วังพ่าย จุดเด่นคือ การรัววนสามนิ้ว สะกิด
การสะบัด การโหยเสียง
เพลงเอกของสำนักนี้เช่น หยาง ชุน ไป๋ เสวี่ย (แสงทองพราวหิมะ)
สือเมี่ยนหมายฝู เป็นต้น
เพลงเอกของผีพา
เพลงเอกที่ผีพานิยมบรรเลงเช่น หยางชุนไป๋เสวี่ย (หิมะขาวพราวแสงทอง阳春白雪) ฮั่นกงชิวเยว่ (จันทร์กระจ่างตำหนักฮั่น汉宫秋月) สือเมี่ยนหมายฝู《十面埋伏》เยว่เอ๋อร์เกา
(จันทร์แจ่มฟ้า月儿高) อี๋จู๋อู๋วี่ (เพลงระบำเผ่าอี๋彝族舞曲) เทียนซานจือชุน (ใบไม้ผลิบนเขาเทียนซาน天山之春) หัวป่าเจี๋ยจือเย่ (ราตรีแห่งคบเพลิง火把节之夜)
สามารถรับฟังการบรรเลงผีพาได้ที่เว็บไซต์ต่อไปนี้
ภาพผีพา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น