ภาพนี้คัดลอกมาจาก http://news.folkw.com/Fuke_Files/BeyondPic/2007-10/26/W020060210537185099762.jpg
ชาวมองโกล เป็นหนึ่งใน 55 ชนกลุ่มน้อยของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกล และกลุ่มปกครองตนเองเผ่ามองโกล ในมณฑลซินเจียง ชิงไห่ กานซู่ เฮยหลงเจียง จี๋หลิน เหลียวหนิง และยังมีกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆของมณฑลหยวินหนาน เหอเป่ย เสฉวน หนิงเซี่ย ปักกิ่งเป็นต้น จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2,000 ชนกลุ่มน้อยเผ่ามองโกล มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,813,947 คน พูดภาษามองโกล
ชาวมองโกล เป็นหนึ่งใน 55 ชนกลุ่มน้อยของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกล และกลุ่มปกครองตนเองเผ่ามองโกล ในมณฑลซินเจียง ชิงไห่ กานซู่ เฮยหลงเจียง จี๋หลิน เหลียวหนิง และยังมีกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆของมณฑลหยวินหนาน เหอเป่ย เสฉวน หนิงเซี่ย ปักกิ่งเป็นต้น จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2,000 ชนกลุ่มน้อยเผ่ามองโกล มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,813,947 คน พูดภาษามองโกล
บรรพบุรุษของชาวมองโกลมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณลุ่มน้ำวั่งเจี้ยน
ปัจจุบันคือบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเอ๋อเอ่อร์กู่น่า ในอดีตชาวมองโกลดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์ตามทุ่งหญ้ามองโกลอันกว้างใหญ่
จนถึงในปี 1206
เตมูจินรวบรวมชนเผ่ามองโกลและก่อตั้งเป็นชาติมองโกลขึ้นในบริเวณฝั่งแม่น้ำโว่หนาน
ถือเป็นการก่อตั้งชาติมองโกลครั้งสำคัญ
นับเป็นชนชาติยิ่งใหญ่มั่นคงและมีกำลังเข้มแข็งมากชนชาติหนึ่งในบริเวณภาคเหนือของจีน
ทั้งยังขยายอาณาเขตความเจริญรุ่งเรืองออกไปไม่หยุดยั้ง อาณาเขตที่ชนชาติมองโกลปกครอง
รวมเรียกว่าอาณาจักรมองโกล และรวมเรียกประชาชนในพื้นที่ปกครองว่าชนชาวมองโกลทั้งหมด
นับตั้งแต่ปี 1219 – 1260 ภายใต้การนำของเจงกีสข่าน
ชนชาติมองโกลทำศึกสงครามขยายอาณาเขตไปทางตะวันตกและลงไปทางใต้
ก่อตั้งประเทศจีนเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และก่อตั้งราชวงศ์หยวนขึ้น จากนั้นได้ยังขยายอาณาเขตครอบครองไปถึงดินแดนทางธิเบตเป็นครั้งแรก
นับเป็นจุดเริ่มต้นของรากฐานความเป็นปึกแผ่นของแผ่นดินจีนมาจนปัจจุบัน
ชาวมองโกลพักอาศัยอยู่ในกระโจมทรงกลม มีฝาบ้านล้อมรอบซึ่งก่อขึ้นอย่างง่าย
ๆ เพื่อสะดวกต่อการอพยพโยกย้าย
ซึ่งเป็นผลพวงทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการดำรงชีวิตเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนมาแต่อดีตนั่นเอง ภายนอกคลุมด้วยผ้าสักหลาด
ปัจจุบันชาวมองโกลดำรงชีวิตเป็นหลักแหล่งด้วยอิฐ และไม้
แต่ยังคงรักษารูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขี่ม้า
ไม่ว่าเดินทางใกล้ไกล ชาวมองโกลจะใช้ม้าเป็นพาหนะคู่กาย
และมีวิถีชีวิตผูกพันกับม้าอยู่ตลอดเวลา จนมีคำกล่าวว่า ชาวมองโกลเกิดบนหลังม้า
โตบนหลังม้า และตายบนหลังม้า
ชีวิตชาวมองโกลที่ผูกพันกับม้ามายาวนาน ม้าจึงมีความสำคัญในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวมองโกลเป็นอย่างมาก
มีตำนานเรื่องเล่าของชาวมองโกลที่เกี่ยวข้องกับม้ามากมาย วัฒนธรรมดนตรีก็เช่นเดียวกัน ชาวมองโกลนำม้าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมดนตรีได้อย่างไร คำตอบที่นักดนตรีทั่วไปรู้กันคือ ใช้แส้ขนหางม้ามาทำเป็นคันชักซอ แต่วัฒนธรรมดนตรีของชาวมองโกลมีความผูกพันกับม้าลึกซึ้งกว่านั้นมากนัก
ซอหัวม้า ชื่อภาษาจีนเรียกว่า หม่าโถวฉิน (马头琴 Ma Tou Qin) เป็นเครื่องดนตรีประเภทสีของชาวมองโกลที่มีประวัติศาสตร์
ความเป็นมายาวนาน ที่ด้านบน หัวของซอแกะสลักเป็นรูปหัวม้า
จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกซอชนิดนี้ว่า “ซอหัวม้า” ซอหัวม้าถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 นับอายุได้ราว
1200 ปีมาแล้ว ซอหัวม้าอยู่คู่กับชาวมองโกล และเป็นที่นิยมชมชอบเรื่อยมา
มีความสำคัญเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชิวิตของชาวมองโกลที่จะขาดเสียมิได้
ด้วยเหตุที่ซอหัวม้านิยมแพร่หลายในกลุ่มชนชาวมองโกลที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลนี้เอง
ทำให้ชื่อเรียกของซอหัวม้า ตลอดจนรูปร่าง เสียงของซอ วิธีการบรรเลง แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ชาวมองโกเลียในทางตะวันออกเรียกชื่อว่า เฉาเอ๋อร์
ส่วนทางตะวันตกเรียกชื่อว่า
โม่วหลินหูอู้ร์
ประวัติความเป็นมา
ซอหัวม้าถือเป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่สำคัญที่สุดของชาวมองโกล
แม้จะเป็นเครื่องดนตรีของคีตกรชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน แต่ด้วยน้ำเสียงที่ลึกล้ำ
กินใจ สะท้อนจิตวิญญาณของชาวมองโกลให้ระบือกระฉ่อนไกลไปทั่วโลก
เหตุที่ซอหัวม้าเป็นเครื่องดนตรีของชนกลุ่มน้อยที่มีวิวัฒนาการมายาวนาน
ทำให้หลักฐานบันทึกเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาไม่ชัดเจนมากนัก
มีเพียงตำนานที่ประทับซึ้งตรึงใจเกี่ยวกับการสร้างซอหัวม้าเล่าสืบต่อกันมายาวนานหลายชั่วอายุคนในหมู่นักดนตรีมองโกล
ท่ามกลางความหนาวเหน็บของเหมันตฤดู ปาเธอร์
ชายหนุ่มลูกตระกูลขุนนางเลี้ยงม้าแห่งราชสำนักมองโกล
ออกเดินทางไกลร้อยลี้ตามหาม้าที่พลัดหลงออกจากฝูง
จนไปถึงริมบึงแห่งหนึ่ง พบลูกม้าสีขาวยืนโศกเศร้าอาลัยอยู่หน้าถ้ำน้ำแข็ง
ดวงตาทั้งสองข้างคลอด้วยน้ำตา
เสียงครางคร่ำอาลัย เป็นที่สลดใจยิ่งนัก
ปาเธอร์เห็นดังนั้นก็เข้าใจเรื่องราวทุกอย่าง
จึงจูงม้าตัวนั้นกลับบ้าน ทั้งม้าทั้งปาเธอร์ต่างดูแลซึ่งกันและกัน
ไม่ว่าปาเธอร์จะไปที่ไหน ม้าน้อยก็จะวิ่งตามไปอยู่ข้างๆไม่ห่าง เวลากลางคืน ปาเธอร์หลับอยู่ในกระโจม ม้าน้อยก็จะยืนเฝ้ายามให้อยู่ด้านนอก หลายสิบปี ม้าน้อยโตขึ้นเป็นม้าที่งดงาม
ขนขาวพราวราวหิมะ
สง่างามและแสนรู้มาก
ในงานชุมนุมรื่นเริงประจำปี
เมื่อปาเธอร์ขี่ม้าคู่ใจออกสู่สนามประลองม้า ม้าขาวสีหมอกระยับเป็นที่จับตาต้องใจของผู้พบเห็นยิ่งนัก
โดยเฉพาะพระราชาแห่งแคว้น ม้าคู่ใจของปาเธอร์มีชัยในการแข่งขัน
และได้รับพระราชทานรางวัลอย่างงามจากพระราชา
แต่ปาเธอร์หารู้ไม่ว่าความหายนะกำลังจะมาถึงโดยไม่รู้ตัว
พระราชาถูกอกถูกใจม้าตัวนี้เป็นอย่างมาก
จึงสั่งให้ทหารไปชิงม้าของปาเธอร์ แต่เจ้าสีหมอกก็ไม่ยอมไปกับทหารง่าย
ๆอย่างที่คิด เมื่อทหารกลับมากราบทูล
พระราชาจึงเสด็จไปพร้อมกับทหารคนสนิทสี่นาย
พร้อมเชือกคล้องม้า อานม้า เพื่อจะจูงม้ากลับวังให้จงได้ พระราชากระโดดควบม้าด้วยพระองค์เอง
แต่ม้ากลับพยศวิ่งชนทหารทั้งสี่ แล้วห้อตะบึงออกนอกสนาม
สลัดพระราชากระเด็นตกจากหลังม้า พระราชาพิโรธมาก สั่งให้ทหารล้อมเจ้าสีหมอกตัวนี้ไว้
แล้วสั่งให้มือธนูยิงม้าให้ตายเสีย
ในที่สุด เจ้าสีหมอกสง่าทระนงก็ถูกศรธนูยิงเข้าหลายดอกจนสิ้นแรง
แต่ก็ฮึดใจเฮือกสุดท้ายวิ่งฝ่าวงล้อมออกไป
ดึกสงัด ปาเธอร์คิดถึงม้า
กระสับกระส่ายนอนไม่หลับ พลันก็ได้ยินเสียงฝีเท้าม้าดังมาแต่ไกล
และค่อยๆใกล้ขึ้นทุกขณะ จึงรีบลุกจากที่นอนวิ่งออกมานอกกระโจม ก็เห็นเจ้าสีหมอกคู่ใจนอนสิ้นแรงอยู่หน้ากระโจม ม้าค่อยๆเชิดหัวขึ้นอย่างยากลำบาก
น้ำตาคลอเบ้า
มองหน้าปาเธอร์ด้วยสายตาละห้อยอาลัย พยายามขยับขาพยุงตัวลุกขึ้น
แต่ก็ไร้สิ้นเรี่ยวแรง ได้แต่นอนหายใจรวยริน กระดิกพูหางสีขาวสะอาด
ราวจะอำลาเจ้าของอันเป็นที่รัก
ปาเธอร์ค่อยๆกอดหัวม้ามานอนที่ตัก พร่ำรำพันบอกม้าว่า “ข้าเข้าใจแล้วล่ะ ว่าเจ้าอยากจะบอกอะไร
หลับให้สบายเถิด” เจ้าสีหมอกค่อยๆ หลับตาลงและหมดลมหายใจลงในอ้อมกอดที่แสนอาลัยของปาเธอร์
ปาเธอร์กอดม้าร่ำให้อาลัย
จนไม่รู้ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าไร พระอาทิตย์ส่องแสงอบอุ่นแห่งรุ่งอรุณ ณ
ปลายฟ้าแสนไกลนั้น ปาเธอร์เก็บศพม้าไว้สามวันสามคืน
จึงตัดสินใจจัดการฝังศพม้า แต่ก่อนฝัง
ได้ตัดกระดูกท่อนขาม้า และหางม้าไว้เป็นที่ระลึกแขวนไว้ในกระโจม เวลาล่วงเลยไปถึง
99 วัน เจ้าสีหมอกยังคงวนเวียนอยู่ในความคิดของปาเธอร์ไม่เสื่อมคลาย เสียงของม้ายังคงดังก้องอยู่ในหู ปาเธอร์จึงคิดหาวิธีให้ม้าอยู่กับตนไปนานแสนนาน
จึงประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้นมาชิ้นหนึ่ง ใช้กระดูกขาม้าเป็นคันทวน
หัวม้าทำเป็นกล่องเสียง หนังม้าขึงเป็นหน้าซอ หางม้าทำเป็นสายซอ เสาคอกม้าทำเป็นคันชัก และแกะสลักหัวซอเป็นรูปหัวม้า เป็นซอหัวม้าคันแรกแห่งแคว้นมองโกล ทุกครั้งที่ปาเธอร์สีซอหัวม้า จะใช้เสียงซอพร่ำพรรณนาความทุกข์ระทมและความคิดถึงที่ตนมีต่อม้า
ในขณะเดียวกันก็ใช้เสียงซออันไพเราะนี้บอกความเป็นไปและเรื่องราวชีวิตของชนชาวมองโกลดังกังวาน
หวานแว่วไปทั่วเวิ้งทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งนั้น
ในปีค.ศ. 1206 เจงกีสข่านรวมอำนาจ และก่อตั้งประเทศมองโกลขึ้น ซอหูเอ่อร์ ซึ่งเป็นรูปร่างดั้งเดิมของซอหัวม้า มีหัวซอเป็นรูปมังกร เป็นที่นิยมชื่นชอบอย่างแพร่หลาย ในสมัยพระเจ้าเฉียนหลง มีการประดิษฐ์ซอหัวม้าด้ามยาวขึ้น กล่องเสียงสอบลง คลุมหนังหน้าหลัง ใช้สายที่ทำจากขนม้า และคันชักจากแส้ขนหางม้า วิวัฒนาการมากว่า 100 ปี จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 20 ซอใหม่ชื่อเฉาเอ่อร์ได้เปลี่ยนหัวจากหัวมังกรเป็นหัวม้า
ในปีค.ศ. 1206 เจงกีสข่านรวมอำนาจ และก่อตั้งประเทศมองโกลขึ้น ซอหูเอ่อร์ ซึ่งเป็นรูปร่างดั้งเดิมของซอหัวม้า มีหัวซอเป็นรูปมังกร เป็นที่นิยมชื่นชอบอย่างแพร่หลาย ในสมัยพระเจ้าเฉียนหลง มีการประดิษฐ์ซอหัวม้าด้ามยาวขึ้น กล่องเสียงสอบลง คลุมหนังหน้าหลัง ใช้สายที่ทำจากขนม้า และคันชักจากแส้ขนหางม้า วิวัฒนาการมากว่า 100 ปี จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 20 ซอใหม่ชื่อเฉาเอ่อร์ได้เปลี่ยนหัวจากหัวมังกรเป็นหัวม้า
ส่วนประกอบของซอหัวม้า
ซอหัวม้าแบบดั้งเดิมมีหัวซอเป็นรูปม้า ชาวมองโกล ประดิษฐ์ขึ้นและบรรเลงสืบทอดต่อกันมา
แบ่งเป็นสองชนิดคือ ซอใหญ่และซอเล็ก เพื่อใช้บรรเลงในและนอกสถานที่
ซอใหญ่เหมาะสำหรับบรรเลงนอกสถานที่ ตามสภาพท้องทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ของชาวมองโกล
ส่วนซอเล็กใช้บรรเลงภายในบ้าน ซอใหญ่ยาว
100 เซนติเมตร ซอเล็กยาว 70 เซนติเมตร
กล่องเสียงทำด้วยไม้เป็นกรอบรูปทรงสี่เหลี่ยม หน้าหลังคลุมด้วยหนังม้า หนังวัว หรือหนังแกะ บนหนังวาดรูปลวดลายประจำเผ่า หัวซอแกะสลักเป็นรูปหัวม้างดงาม
ลูกบิดเสียบเข้าสองข้างของหัวซอข้างละ 1 อัน
สายซอทำจากขนม้าความยาว 40 – 60 เซนติเมตร
สายเอกขวั้นจากขนหางม้า 120 เส้น สายทุ้ม 180 เส้น
คันชักทำจากหวายขึงด้วยแส้ขนหางม้า เมื่อแส้ขนหางม้าของคันชัก
สีเข้ากับสายซอที่ทำจากขนหางม้าเกิดเป็นเสียงขึ้น
เสียงซอหัวม้านุ่มนวล ลุ่มลึก ส่งเสียงกู่ก้องร้องเพรียกจากจิตวิญญาณและความหวังจากก้นบึ้งหัวใจของชนชาวเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่
ดังแว่วมาจากฟากฟ้าแดนไกล จับจิตตรึงใจผู้ได้ยินได้ฟัง
สะกดให้หลงใหลอยู่ในห้วงไออุ่นแห่งอ้อมกอดของทุ่งหญ้ามองโกล เสียงซอหัวม้าสำเนียง โหยหวน
แต่หนักแน่นไพเราะกินใจ เป็นเครื่องดนตรีที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวมองโกล
และได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน
การบรรเลง
ซอหัวม้าตั้งสายเป็นคู่ห้า
สายนอกเสียงสูง สายในเป็นเสียงต่ำ แต่การกำหนดเสียงประจำสายไม่แน่นอน
สามารถปรับเปลี่ยนไปตามเสียงสูงต่ำของผู้ร้อง เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบ
ตั้งตามเสียงสูงต่ำของบทเพลง และตั้งตามช่วงกว้างของเสียงในแต่ละเพลง อาจตั้งเสียงเป็น [2—6] , [1—5 ] , [3—7] , [6—
3] เป็นต้น ตำแหน่งการกดนิ้ว
และเสียงของซอหัวม้าดังแผนผังเสียงต่อไปนี้
ลักษณะการบรรเลงคือ ผู้บรรเลงนั่งบนเก้าอี้
หรือบนพื้นสูง ตั้งซอไว้ที่หว่างขา เหมือนกับการบรรเลงเชลโล
มือซ้ายประคองที่คันทวน ใช้นิ้วทั้งสี่กดหรือดันสายเพื่อกำหนดระดับเสียงสูงต่ำ กล่าวคือ
นิ้วชี้กับนิ้วกลางสอดลงไต้สายใช้เล็บดันสายบังคับเสียง
นิ้วนางใช้ปลายนิ้วกดสาย
นิ้วก้อยใช้ปลายนิ้วดันสาย
นอกจากนี้วิธีการบรรเลงยังมีการพรมนิ้ว ขย่มสาย เสียงคู่ประสาน ดึงสาย
โหยเสียง มือขวาถือคันชัก สีลงบนสายทั้งสองเป็นเสียงประสาน
หรือสายเดียวเป็นเสียงเดี่ยว วิธีการใช้คันชักนอกจากจะสีเข้าออกตามปกติแล้ว
ยังมีวิธีอื่น ๆ เช่น สีเป็นห้วงๆ ตีคันชัก สะบัด กระโดด กระจายเป็นต้น
เหตุที่การตั้งเสียงสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมนี้เอง
ทำให้ซอหัวม้าสามารถใช้บรรเลงเพลงที่คีตกวีชาวมองโกลแต่งขึ้นเอง
อันเป็นท่วงทำนองเพลงที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวของชาวมองโกลได้อย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันที่กระแสดนตรีภายนอกเผยแพร่เข้ามา
ชาวมองโกลก็มิได้ทิ้งซอหัวม้าไปแต่อย่างใด
ด้วยลักษณะเด่นของซอหัวม้าที่สามารถปรับเสียงบรรเลงกับดนตรีอื่นจึงสามารถใช้ซอหัวม้าบรรเลงได้อย่างไพเราะกลมกลืน วิวัฒนาการของการบรรเลงซอหัวม้าเกิดขึ้นพร้อมๆกับวิวัฒนาการด้านเพลงร้องของมองโกล
ท่วงทำนองดนตรีและการขับร้องจึงมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
เอกลักษณ์การขับร้องของชาวมองโกลคือการเอือนลูกคอยาว ๆ และใช้เสียงสั่งเครือ
การโหยเสียงต่ำแล้วขึ้นสูงทันที หรือจากเสียงสูงแล้วลงต่ำทันที บทเพลงของซอหัวม้ามีลักษณะเดียวกัน
ถือเป็นเอกลักษณ์ด้านเพลงและดนตรีของชาวมองโกลที่กินใจแก่ผู้ได้ยินได้ฟัง
เพลงเอกของซอหัวม้า
หม่าโถวฉินเตอฉวนซัว (ตำนานซอหัวม้า) หยงหย่วนเตอหม่าโถวฉิน
(ซอหัวม้าอันเป็นนิรันดร์) ว่านหม่าเปินเถิง (หมื่นม้าฮ้อตะบึง) ซีเหมิ่งเตอหลิวสิงอู่ (เพลงระบำมองโกล) ซื่อจี้ (เพลงสี่ฤดู) เหมิงกู่เสี่ยวเตี้ยว (เพลงเกร็ดมองโกล) เฮยจวิ้นหม่า (ม้าดำผู้องอาจ) ต้าฉ่าวหยวน (ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่) หว่อฉงฉ่าวหยวนหลาย (ข้ามาจากทุ่งหญ้า) เป็นต้น สามารถรับฟังเพลงบรรเลงด้วยซอหัวม้าได้ที่เวบไซต์แห่งนี้
http://www.youtube.com/watch?v=1TDd3tJvEAw
ข้างท้ายนี้เป็นตัวอย่างโน้ตเพลงเอกของซอหัวม้าเพลงหนึ่ง
ชื่อเพลง หม่าโถวฉินเตอฉวนซัว (ตำนานซอหัวม้า)
บรรณานุกรม
胡登跳《民族管弦乐法》上海:上海文艺出版社,1982。
林友仁《中国大百科全书音乐‧舞蹈》北京、上海:中国大百科全书出版社,1989。
袁靜芳《民族器乐》北京:人民音乐出版社,1987。
中国艺术研究院音乐研究所。《民族音乐概论》北京:人民音乐出版社,1983。
中国艺术研究院音乐研究所。《民族音乐概论》北京:人民音乐出版社,1983。
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น